ญี่ปุ่น 5 : ชินกันเซ็น

วันก่อนผมมีโอกาสได้นั่งรถไฟชินกันเซ็นครับ

ด้วยความที่ว่าห้องโดยสารของชินกันเซ็นนั้นสวยงาม สบาย และเงียบกริบราวกับว่าไม่ได้วิ่งอยู่ด้วยความเร็ว 300 กม./ชม.

ผมนั่งหลับตาไปก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่า “วิศวกรญี่ปุ่นมีความสามารถสร้างรถไฟได้ดีเลิศขนาดนี้ ถ้าได้สร้างเครื่องบินโดยสารขึ้นมา ก็จะต้องดีกว่าพวกโบอิ้งหรือแอร์บัสแน่นอน แล้วทำไมญี่ปุ่นถึงไม่สร้างล่ะ?“

ว่าแล้วผมก็ไปหาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ
.
.
.
หลังจากญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1945นั้น ฝ่ายผู้ชนะที่นำโดยอเมริกานั้นได้บังคับให้ฝ่ายญี่ปุ่นลงชื่อในเอกสารยอมจำนน

ซึ่งในเอกสารฉบับนี้มีรายละเอียดมากมาย และประเด็นที่สำคัญคือมาตรา 9 ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถมีกองทัพได้อีกต่อไป รวมถึงให้ยุติการสร้างยานพาหนะที่เกี่ยวกับการสงคราม เช่น เรือ เครื่องบิน รถรบทุกชนิด

โรงงานสร้างเครื่องบินรบทั้งหลาย เช่น มิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรี้, นากาชิมาแอร์คราฟท์ และคาวาซากิแอร์คราฟท์ ต้องเลิกกิจการ

ทั้งโรงงานและวิศวกรต้องเปลี่ยนมาผลิตรถยนต์แทน

กิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีอากาศยานของญี่ปุ่นถูกแช่แข็งอยู่ราว 7 ปึ คือ 1945-1952 เพื่อกำราบไม่ให้จักรวรรดิญี่ปุ่นฟื้นขึ้นมาแผลงฤทธิ์ได้อีก

อันนี้ก็ต้องบอกว่าเยอรมันก็โดนแบบเดียวกันกับญี่ปุ่นนี่ละครับ และเยอรมันนี่หนักกว่าด้วยซ้ำคือ ถูกแบ่งประเทศเป็นฝั่งตะวันตกกับตะวันออก

ทีนี้ในปี 1952 ก็ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น ฝ่ายอเมริกาและสหประชาชาติต้องการใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานสำหรับส่งทหารไปรบเพื่อช่วยเกาหลีใต้

เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปแบบนี้ ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นพันธมิตรกับอเมริกา อเมริกาจึงไม่สามารถปล่อยให้ญี่ปุ่นอยู่ในสภาพ “ผู้ถูกปกครอง” อันจะเป็นภาระแก่ตัวอเมริกาเองด้วยซ้ำ

อเมริกาจึงได้ปลดล็อคข้อห้ามทั้งหลาย ทำให้ญี่ปุ่นสามารถมีกำลังตำรวจ มีกองกำลังป้องกันตนเองได้ สามารถสร้างเรือ เครื่องบินได้

แต่ก็ยังไม่สามารถสะสมอาวุธหรือมีกองทัพแบบฟูลออปชั่นได้

อุตสาหกรรมสร้างอากาศยานจึงเริ่มฟื้นกลับมาอีกครั้ง แต่ก็ถือว่าเริ่มช้าแล้วเพราะโบอิ้งเขาพัฒนาไปไกลแล้ว
.
.
.
ในเวลานั้นญี่ปุ่นเลือกเส้นทางที่จะเอาดีทางสร้างรถยนต์และรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า

ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องบินนั้น ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีความสามารถที่จะทำได้ดี แต่ญี่ปุ่นเลือกที่จะเล่นบทฝ่ายสนับสนุนอเมริกา

คือ มิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรี้ กลายมาเป็นผู้ผลิตอะไหล่และปีกเครื่องบินให้โบอิ้งมาตลอด

และอเมริกายังเคยออกไลเซนส์ให้ญี่ปุ่นสร้างเครื่องบินบางรุ่นให้ด้วย เช่น F-86

สำหรับเครื่องบินรบไฮเทค อย่าง 6th generation นั้น ปัจจุบันมิตซูบิชิก็ไปจับมือกับอังกฤษและชาติยุโรปช่วยกันพัฒนาอยู่
.
.
.
ทีนี้บางคนคงเคยได้ยินเครื่องบิน “ฮอนด้าเจ็ท” ใช่ไหมครับ

ฮอนด้าเจ็ทนั้นเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก แม้จะแบรนด์ฮอนด้าแต่ก็ไม่ได้สร้างขึ้นบนแผ่นดินญี่ปุ่น

เพราะฮอนด้าเลือกจะไปสร้างโรงงานอยู่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกาโน่น

เรื่องฮอนด้าเจ็ทนี้ก็เป็นประเด็นที่คนคลางแคลงใจว่า ผู้บริหารฮอนด้ากลัวอเมริกาจะจับตามองว่าเริ่มสร้างอากาศยานได้เองหรือเปล่า ก็จึงไปเปิดโรงงานที่อเมริกากันเสียเลย
.
.
.
ญี่ปุ่นมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งมันสมอง ความรู้ ความมุ่งมั่นและระบบซัพพลายเชนที่จะสร้างได้ทั้งเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินรบครับ

แต่ญี่ปุ่นเขาเลือกเส้นทางที่จะเป็นเด็กดีเป็นผู้ช่วยมือรองให้อเมริกา

จะด้วยความกลัวระเบิดนิวเคลียร์ที่ฝังลึกในใจหรือเปล่าก็ไม่รู้

แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล


นัทแนะ
ญี่ปุ่น 5 : ชินกันเซ็น วันก่อนผมมีโอกาสได้นั่งรถไฟชินกันเซ็นครับ ด้วยความที่ว่าห้องโดยสารของชินกันเซ็นนั้นสวยงาม สบาย และเงียบกริบราวกับว่าไม่ได้วิ่งอยู่ด้วยความเร็ว 300 กม./ชม. ผมนั่งหลับตาไปก็เกิดสงสัยขึ้นมาว่า “วิศวกรญี่ปุ่นมีความสามารถสร้างรถไฟได้ดีเลิศขนาดนี้ ถ้าได้สร้างเครื่องบินโดยสารขึ้นมา ก็จะต้องดีกว่าพวกโบอิ้งหรือแอร์บัสแน่นอน แล้วทำไมญี่ปุ่นถึงไม่สร้างล่ะ?“ ว่าแล้วผมก็ไปหาข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ครับ . . . หลังจากญี่ปุ่นตกอยู่ในสภาพผู้แพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1945นั้น ฝ่ายผู้ชนะที่นำโดยอเมริกานั้นได้บังคับให้ฝ่ายญี่ปุ่นลงชื่อในเอกสารยอมจำนน ซึ่งในเอกสารฉบับนี้มีรายละเอียดมากมาย และประเด็นที่สำคัญคือมาตรา 9 ที่ระบุว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถมีกองทัพได้อีกต่อไป รวมถึงให้ยุติการสร้างยานพาหนะที่เกี่ยวกับการสงคราม เช่น เรือ เครื่องบิน รถรบทุกชนิด โรงงานสร้างเครื่องบินรบทั้งหลาย เช่น มิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรี้, นากาชิมาแอร์คราฟท์ และคาวาซากิแอร์คราฟท์ ต้องเลิกกิจการ ทั้งโรงงานและวิศวกรต้องเปลี่ยนมาผลิตรถยนต์แทน กิจการเกี่ยวกับเทคโนโลยีอากาศยานของญี่ปุ่นถูกแช่แข็งอยู่ราว 7 ปึ คือ 1945-1952 เพื่อกำราบไม่ให้จักรวรรดิญี่ปุ่นฟื้นขึ้นมาแผลงฤทธิ์ได้อีก อันนี้ก็ต้องบอกว่าเยอรมันก็โดนแบบเดียวกันกับญี่ปุ่นนี่ละครับ และเยอรมันนี่หนักกว่าด้วยซ้ำคือ ถูกแบ่งประเทศเป็นฝั่งตะวันตกกับตะวันออก ทีนี้ในปี 1952 ก็ได้เกิดสงครามเกาหลีขึ้น ฝ่ายอเมริกาและสหประชาชาติต้องการใช้ญี่ปุ่นเป็นฐานสำหรับส่งทหารไปรบเพื่อช่วยเกาหลีใต้ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไปแบบนี้ ญี่ปุ่นจึงกลายเป็นพันธมิตรกับอเมริกา อเมริกาจึงไม่สามารถปล่อยให้ญี่ปุ่นอยู่ในสภาพ “ผู้ถูกปกครอง” อันจะเป็นภาระแก่ตัวอเมริกาเองด้วยซ้ำ อเมริกาจึงได้ปลดล็อคข้อห้ามทั้งหลาย ทำให้ญี่ปุ่นสามารถมีกำลังตำรวจ มีกองกำลังป้องกันตนเองได้ สามารถสร้างเรือ เครื่องบินได้ แต่ก็ยังไม่สามารถสะสมอาวุธหรือมีกองทัพแบบฟูลออปชั่นได้ อุตสาหกรรมสร้างอากาศยานจึงเริ่มฟื้นกลับมาอีกครั้ง แต่ก็ถือว่าเริ่มช้าแล้วเพราะโบอิ้งเขาพัฒนาไปไกลแล้ว . . . ในเวลานั้นญี่ปุ่นเลือกเส้นทางที่จะเอาดีทางสร้างรถยนต์และรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องบินนั้น ถึงแม้ญี่ปุ่นจะมีความสามารถที่จะทำได้ดี แต่ญี่ปุ่นเลือกที่จะเล่นบทฝ่ายสนับสนุนอเมริกา คือ มิตซูบิชิเฮฟวี่อินดัสตรี้ กลายมาเป็นผู้ผลิตอะไหล่และปีกเครื่องบินให้โบอิ้งมาตลอด และอเมริกายังเคยออกไลเซนส์ให้ญี่ปุ่นสร้างเครื่องบินบางรุ่นให้ด้วย เช่น F-86 สำหรับเครื่องบินรบไฮเทค อย่าง 6th generation นั้น ปัจจุบันมิตซูบิชิก็ไปจับมือกับอังกฤษและชาติยุโรปช่วยกันพัฒนาอยู่ . . . ทีนี้บางคนคงเคยได้ยินเครื่องบิน “ฮอนด้าเจ็ท” ใช่ไหมครับ ฮอนด้าเจ็ทนั้นเป็นเครื่องบินโดยสารขนาดเล็ก แม้จะแบรนด์ฮอนด้าแต่ก็ไม่ได้สร้างขึ้นบนแผ่นดินญี่ปุ่น เพราะฮอนด้าเลือกจะไปสร้างโรงงานอยู่ที่รัฐนอร์ธแคโรไลน่า สหรัฐอเมริกาโน่น เรื่องฮอนด้าเจ็ทนี้ก็เป็นประเด็นที่คนคลางแคลงใจว่า ผู้บริหารฮอนด้ากลัวอเมริกาจะจับตามองว่าเริ่มสร้างอากาศยานได้เองหรือเปล่า ก็จึงไปเปิดโรงงานที่อเมริกากันเสียเลย . . . ญี่ปุ่นมีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งมันสมอง ความรู้ ความมุ่งมั่นและระบบซัพพลายเชนที่จะสร้างได้ทั้งเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินรบครับ แต่ญี่ปุ่นเขาเลือกเส้นทางที่จะเป็นเด็กดีเป็นผู้ช่วยมือรองให้อเมริกา จะด้วยความกลัวระเบิดนิวเคลียร์ที่ฝังลึกในใจหรือเปล่าก็ไม่รู้ แต่ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม เรื่องก็เป็นเช่นนี้แล นัทแนะ
0 Comments 0 Shares 198 Views 0 Reviews