วัคซีนไม่ช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด
5 กันยายน 2024
ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
มหาวิทยาลัยรังสิต

อาการของลองโควิด (long covid) เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ติดเชื้อไปแล้วไม่ว่าจะรุนแรงหรืออาการน้อยนิดก็ตาม
และปรากฏได้หลังจากที่ฉีดวัคซีนไปแล้วโดยเรียกกันว่าเป็นลองวัคซีน หรือ ลองแวกซ์ (long vax) และอาการดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่าสามเดือนและทอดยาวเป็นปี

โดยออกมาในรูปแบบของ
• ระบบหัวใจและการหายใจ (cardiorespiratory) เหนื่อยแม้กระทั่งเวลาจะเดิน ยังเดินไม่ไหว ชีพจรและความดันผันผวน สูงลิบสลับกับต่ำเตี้ย จนกระทั่งเป็นลม ต้องนอนหรือนั่งเอนอนตลอดอาการในข้อนี้ ตรวจด้วยเครื่องมือและวิธีการต่างๆกลับไม่พบหรือหาสาเหตุไม่ได้ และในที่สุดถูกส่งไปรักษากับจิตแพทย์
• ระบบสมองและประสาท รวมจิตอารมณ์ (neuropsychiatric) ทั้งสมองเสื่อม ความจำสั้นเลอะเลือน การนอนผิดปกติ อารมณ์หดหู่ ไปจนกระทั่งถึงอาการกระตุก มีโรคลมชักเกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น และเกิดความบกพร่องทางฮอร์โมนการควบคุมประจำเดือน ความต้องการทางเพศจนกระทั่งถึงความล้มเหลวของการมีเพศสัมพันธ์ และภาวะอสุจิน้อยลงหรือผิดปกติ ทั้งนี้มีส่วนของการทำลายที่ระบบสืบพันธุ์โดยตรงด้วยเช่น ลูกอัณฑะ รังไข่ ความแปรปรวนทางด้านฮอร์โมนยังเกิดกับการควบคุมฮอร์โมนที่มาจากสมองส่งมายังต่อมไร้ท่อต่างๆ แต่ทั้งนี้ยังมีกลไกของการแพ้ภูมิตนเองทำให้เกิดเบาหวาน ที่ดื้ออินซูลิน จนกระทั่งถึงกลไกการทำลายตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน
• ระบบเส้นประสาทกล้ามเนื้อ (neuromuscular) ทั้งชา เจ็บแสบ คัน ตามแขนขาและบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย และ/หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือตะคริว ตามมือแขนขา และส่วนต่างๆของร่างกายแม้กระทั่งใบหน้า
• ภาวะอักเสบง่าย (proinflammatory) เกิดผื่นตุ่มหนองผมร่วง ปวดข้อเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ การอักเสบยังรวมไปถึงลูกตาเปลือกตาหนังตา เจ็บแสบริมฝีปาก กระพุงแก้ม ลิ้นลำคอ ทั้งนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวนเพิ่มสูงมากไปทำร้ายตัวเอง และระบบป้องกันเชื้อโรค ไม่ว่า จะเป็นไวรัสแบคทีเรียก็ตาม และที่ควบคุม เชื้อที่ซ่อนอยู่บกพร่องไม่ว่าจะเป็น เริม งูสวัด
• ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดหัวใจ สมอง และทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดดำหรือแดงก็ตาม เกิดเลือดหนืดข้นผนังหลอดเลือดอักเสบ และกระทบกล้ามเนื้อหัวใจ ก่อให้เกิดเส้นเลือดตันหรือแตกโดยเฉพาะสมอง และกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หัวใจวายหรือ ทำให้ขัดขวางจังหวะการเต้นของหัวใจเกิดเสียชีวิตกระทันหันทั้งทั้งที่อายุน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคประจำตัวก็ตามและถ้าสูงวัยและมีโรคประจำตัวด้วยจะยิ่งง่าย เข้าไปอีก
• ความผิดปกติของการทำงานระบบทางเดินอาหาร เกิดลำไส้หงุดหงิด ท้องผูกอย่างรุนแรง สลับท้องเสีย เป็นผลจากการควบคุม จากสมองผ่านระบบประสาทลงมาอย่างกระเพาะอาหารและลำไส้

วัคซีนโควิดที่ใช้นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันการติดเชื้อ การแพร่เชื้อ และการอาการหนัก เข้าโรงพยาบาลหรือลดอัตราตาย แต่ทั้งหมดนี้ได้รับการยืนยันและเผยแพร่ทั่วไปแล้วว่าไม่สามารถป้องกันได้ (รายละเอียดได้มีการเผยแพร่ก่อนหน้านี้)
อย่างไรก็ตามยังมีจุดประสงค์ที่จะสามารถลดอาการของลองโควิด ที่จะเกิด ตามมาและสามารถทอดยาวได้เป็นปี
การศึกษานี้รายงานใน วารสาร open Forum Infectious Diseases ซึ่งเป็นวารสารทางการของ สมาคมโรคติดเชื้อของอเมริกา (IDSA) และ สมาคม HIV เป็น accepted manuscript แล้ว ในเดือน กันยายนนี้
จากคณะทำงาน Mayo Clinic
สาระสำคัญนั้นอยู่ที่การรายงานก่อนหน้านี้พบว่าการฉีดวัคซีนนั้นสามารถลดอัตราที่จะเกิดลองโควิดได้ แต่ข้อจำกัดก็คือรายงานเหล่านี้เป็นการสืบจากอาการสอบถาม ซึ่งอาจทำให้คลาดเคลื่อน แต่การศึกษานี้เป็นการยืนยันจากแพทย์ที่ได้ทำการวินิจฉัยวิเคราะห์และมีบันทึก ทางการแพทย์เป็นอิเล็กทรอนิกส์เรคคอร์ด
การวิเคราะห์นี้ทำจากข้อมูลของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดโควิดจำนวนทั้งหมด 41,000 ราย และใช้โมเดลทางสถิติ multi variable logistic regression เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีนและภาวะการเกิดลอง โควิด ทั้งนี้โดยการควบคุมตัวแปรทั้งหมด เช่นอายุ เพศเชื้อชาติ และโรคประจำตัวที่มีอยู่แล้ว
ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถยืนยันและสรุปได้ชัดเจนว่าไม่มีความแตกต่างในการเกิดภาวะ ลองโควิด หรือที่เรียกอีกชื่อในทางการแพทย์ post acute sequelae of COVID-19 (PASC) ในระหว่างกลุ่มที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย กลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA สองเข็มและกลุ่มที่ได้รับวัคซีนมากกว่าสองเข็ม

และต่างกับรายงานก่อนหน้านี้อย่างชัดเจนที่สรุปว่าภาวะลองโควิดนั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพหรือโรคประจำตัวก่อนที่ได้รับวัคซีน
ทั้งนี้ปรากฏว่า ผู้ติดเชื้อทั้งหมดจะมี 6.9% ที่พัฒนาการเกิดภาวะ ลองโควิด
และประการที่สำคัญยังพบว่าการฉีดวัคซีนนั้นไม่ป้องกันภาวะการเกิดลองโควิด ไม่ว่าเชื้อที่แพร่กระจายในขณะนั้นจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม ทั้ง อัลฟ่า เดลต้า และโอไมครอน
แต่มีข้อสังเกตว่าในสายพันธุ์โอไมครอนนั้นจะเกิดภาวะลองโควิด ต่ำกว่า
ดังนั้น สามารถที่จะได้หลักฐานข้อมูลว่าวัคซีนนั้นน่าจะไม่สามารถป้องกันการติด การแพร่ การพัฒนาการเกิดอาการหนัก รวมทั้งไม่สามารถป้องกันการเกิดลอง โควิดด้วย
และที่สำคัญก็คือตัววัคซีนเองนั้นยังทำให้เกิดภาวะลอง วัคซีนได้โดยมีอาการเหมือนกับลองโควิดทุกประการ









Open Forum Infectious Diseases is published by Oxford University Press on behalf of the Infectious Diseases Society of America (IDSA) and the HIV Medicine Association.

The study, led by Dr. Melanie D. Swift and her team at Mayo Clinic, analyzed data from over 41,000 patients who tested positive for COVID.
Researchers used multivariable logistic regression models to evaluate the correlation between vaccination status and long COVID, controlling for factors such as age, sex, race, and comorbidity index.

According to the study, “No difference in the development of diagnosed PASC was observed between unvaccinated patients, those vaccinated with 2 doses of an mRNA vaccine, and those with >2 doses.”

In contrast to earlier studies that relied on symptom surveys to assess long COVID risk, this study used electronic health records to track medically diagnosed cases of long COVID.
“Most studies using symptom surveys found an association between pre-infection vaccination status and PASC symptoms, but studies of medically attended PASC are less common and have reported conflicting findings,” the study explained.
The researchers found that approximately 6.9% of the patients developed long COVID, with no significant protection offered by the vaccine.

the study noted that the risk of developing long COVID was lower for those infected during the Omicron variant period.
However, “No interaction was found between vaccination status and predominant circulating SARS-CoV-2 variant (p=0.79).”



chrome://external-file/Ofae495.pdf
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 50 มุมมอง 0 รีวิว