อัปเดตล่าสุด
  • หกปีผ่านไป ไวเกิ๊น
    หกปีผ่านไป ไวเกิ๊น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 8 มุมมอง 0 รีวิว
  • นายแบงก์ผีหิวเงิน บนความทุกข์ยากประชาชน
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 9 มุมมอง 2113 0 รีวิว
  • ”มาโรนี“ร้อนๆจากเตาถ่าน หอมหวาน หน้าสถานีรถไฟเมืองBrig🇨🇭
    ”มาโรนี“ร้อนๆจากเตาถ่าน หอมหวาน หน้าสถานีรถไฟเมืองBrig🇨🇭
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 10 มุมมอง 0 รีวิว
  • 🙏ขอแสดงความขอบคุณคุณสนธิลิ้มทองกุล สำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์แห่งนี้ คุณสนธิสร้างไทยไทม์เพื่อคนไทย
    🇹🇭 ประเทศไทย
    ได้มีความอิสระ ทั้งในด้านความคิด ความรู้ ความสัมพันธ์ การสร้างสรรค์ ฯ ล้วนเป็นสิ่งดีงาม 🙏

    #หนักแน่นดั่งหินผา
    🙏ขอแสดงความขอบคุณคุณสนธิลิ้มทองกุล สำหรับแพลตฟอร์มออนไลน์แห่งนี้ คุณสนธิสร้างไทยไทม์เพื่อคนไทย 🇹🇭 ประเทศไทย ได้มีความอิสระ ทั้งในด้านความคิด ความรู้ ความสัมพันธ์ การสร้างสรรค์ ฯ ล้วนเป็นสิ่งดีงาม 🙏 #หนักแน่นดั่งหินผา
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2203 มุมมอง 0 รีวิว
  • Sondhitalk EP 259 : หนุ่มไทยใจอ่อน กับ สาวเกาหลีเห็นแก่ตัว 13-09-67 (Full)
    - กามิน - ชาลี บทเรียนหนุ่มขี้สงสาร
    - ทีวีดิจิทัลใกล้สูญพันธุ์
    - “CIA – MI6” ส่งสัญญาณอะไร?
    - “จีน” รุกฆาต จับมือ “แอฟริกา”

    #สนธิทอล์ค #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิลิ้มทองกุล #sondhiapp #thaitime #ชาลี #กามิน #ดรามาชาลีกามิน #แบนเกาหลี #ทีวีดิจิทัล #คนไทยไม่ดูทีวี #CIA #MI6 #แอฟริกา
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 43 มุมมอง 9530 0 รีวิว
  • ชิ้นงานการถักโครเชต์ที่ผ่านมา ไม่เน้นสวยค่ะ เน้นฝึกจิต #hobbies #crochet #knitting #ammsarosha #แอ้มสโรชา
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 47 มุมมอง 0 รีวิว
  • Elon Musk เตือนสหรัฐกำลังจะล้มละลายอย่างรวดเร็ว ในบทสัมภาษณ์กับพอดแคสต์ All-In Elon Musk ซีอีโอของ Tesla และ SpaceX ได้อ้างว่า ดอกเบี้ยหนี้สาธารณะของสหรัฐฯ ตอนนี้ คิดเป็นมูลค่าเกินงบกลาโหมไปแล้ว และประเทศกำลังจะล้มละลายอย่างรวดเร็ว โดยกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ได้ประกาศในปลายเดือนกรกฎาคมว่าหนี้สาธารณะของประเทศเกิน 35 ล้านล้านดอลลาร์หรือ 1,176 ล้านล้านบาทแล้ว เพิ่มขึ้นหนึ่งล้านล้านดอลลาร์ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมา

    เมื่อเดือนมิถุนายน ส.ส.สหรัฐฯ ได้ผ่านร่างกฎหมายนโยบายกลาโหมประจำปี ซึ่งอนุญาตให้จ่ายงบได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 8.9 แสนล้านดอลลาร์ (29 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับปีงบประมาณก่อนหน้า Musk จึงเตือนว่า " ดอกเบี้ยจากหนี้สาธารณะตอนนี้สูงกว่างบประมาณทั้งหมดของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ เสียอีก และกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ"

    เขาเน้นย้ำด้วยว่า หนี้ที่เพิ่มขึ้น ทุก ๆ ล้านล้านดอลลาร์ เป็นเงินที่ "ลูกหลานของพวกเรา จะต้องจ่ายคืนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง" โดยเมื่อต้นสัปดาห์นี้ Muskได้แชร์โพสต์บนแพลตฟอร์ม X (เดิมคือ Twitter) ระบุว่าสหรัฐฯ จะต้องจ่ายดอกเบี้ยหนี้มากกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ (40 ล้านล้านบาท) ในช่วง 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งเท่ากับประมาณ 25% ของรายรับรัฐบาล

    ต้นเดือนนี้ Musk ยังเตือนอีกว่าอัตราการใช้จ่ายของรัฐบาลในปัจจุบันกำลังทำให้สหรัฐฯ เข้าใกล้ภาวะล้มละลายอย่างรวดเร็ว และการใช้จ่ายเกินดุลของรัฐบาลกำลังกระตุ้นเงินเฟ้อด้วย โดยในเดือนสิงหาคม กระทรวงแรงงานสหรัฐฯ รายงานว่าอัตราเงินเฟ้อรายปีลดลงต่ำกว่า 3% ในเดือนก่อนหน้าเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2021 ราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น 2.9% ขณะที่เงินเฟ้อ ซึ่งไม่รวมอุตสาหกรรมอาหารและพลังงาน เพิ่มขึ้น 3.2% ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา

    12/9/2024
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 45 มุมมอง 0 รีวิว
  • วัคซีนไม่ช่วยป้องกันการเกิดลองโควิด
    5 กันยายน 2024
    ศ นพ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา
    ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก
    มหาวิทยาลัยรังสิต

    อาการของลองโควิด (long covid) เป็นอาการที่เกิดขึ้นหลังจากที่ติดเชื้อไปแล้วไม่ว่าจะรุนแรงหรืออาการน้อยนิดก็ตาม
    และปรากฏได้หลังจากที่ฉีดวัคซีนไปแล้วโดยเรียกกันว่าเป็นลองวัคซีน หรือ ลองแวกซ์ (long vax) และอาการดำเนินต่อเนื่องยาวนานกว่าสามเดือนและทอดยาวเป็นปี

    โดยออกมาในรูปแบบของ
    • ระบบหัวใจและการหายใจ (cardiorespiratory) เหนื่อยแม้กระทั่งเวลาจะเดิน ยังเดินไม่ไหว ชีพจรและความดันผันผวน สูงลิบสลับกับต่ำเตี้ย จนกระทั่งเป็นลม ต้องนอนหรือนั่งเอนอนตลอดอาการในข้อนี้ ตรวจด้วยเครื่องมือและวิธีการต่างๆกลับไม่พบหรือหาสาเหตุไม่ได้ และในที่สุดถูกส่งไปรักษากับจิตแพทย์
    • ระบบสมองและประสาท รวมจิตอารมณ์ (neuropsychiatric) ทั้งสมองเสื่อม ความจำสั้นเลอะเลือน การนอนผิดปกติ อารมณ์หดหู่ ไปจนกระทั่งถึงอาการกระตุก มีโรคลมชักเกิดขึ้นใหม่ เป็นต้น และเกิดความบกพร่องทางฮอร์โมนการควบคุมประจำเดือน ความต้องการทางเพศจนกระทั่งถึงความล้มเหลวของการมีเพศสัมพันธ์ และภาวะอสุจิน้อยลงหรือผิดปกติ ทั้งนี้มีส่วนของการทำลายที่ระบบสืบพันธุ์โดยตรงด้วยเช่น ลูกอัณฑะ รังไข่ ความแปรปรวนทางด้านฮอร์โมนยังเกิดกับการควบคุมฮอร์โมนที่มาจากสมองส่งมายังต่อมไร้ท่อต่างๆ แต่ทั้งนี้ยังมีกลไกของการแพ้ภูมิตนเองทำให้เกิดเบาหวาน ที่ดื้ออินซูลิน จนกระทั่งถึงกลไกการทำลายตับอ่อนที่ผลิตอินซูลิน
    • ระบบเส้นประสาทกล้ามเนื้อ (neuromuscular) ทั้งชา เจ็บแสบ คัน ตามแขนขาและบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย และ/หรือ มีกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือตะคริว ตามมือแขนขา และส่วนต่างๆของร่างกายแม้กระทั่งใบหน้า
    • ภาวะอักเสบง่าย (proinflammatory) เกิดผื่นตุ่มหนองผมร่วง ปวดข้อเส้นเอ็นกล้ามเนื้อ การอักเสบยังรวมไปถึงลูกตาเปลือกตาหนังตา เจ็บแสบริมฝีปาก กระพุงแก้ม ลิ้นลำคอ ทั้งนี้เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันแปรปรวนเพิ่มสูงมากไปทำร้ายตัวเอง และระบบป้องกันเชื้อโรค ไม่ว่า จะเป็นไวรัสแบคทีเรียก็ตาม และที่ควบคุม เชื้อที่ซ่อนอยู่บกพร่องไม่ว่าจะเป็น เริม งูสวัด
    • ความผิดปกติของระบบหลอดเลือดหัวใจ สมอง และทั่วร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหลอดเลือดดำหรือแดงก็ตาม เกิดเลือดหนืดข้นผนังหลอดเลือดอักเสบ และกระทบกล้ามเนื้อหัวใจ ก่อให้เกิดเส้นเลือดตันหรือแตกโดยเฉพาะสมอง และกล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติ หัวใจวายหรือ ทำให้ขัดขวางจังหวะการเต้นของหัวใจเกิดเสียชีวิตกระทันหันทั้งทั้งที่อายุน้อยแข็งแรงสมบูรณ์ไม่มีโรคประจำตัวก็ตามและถ้าสูงวัยและมีโรคประจำตัวด้วยจะยิ่งง่าย เข้าไปอีก
    • ความผิดปกติของการทำงานระบบทางเดินอาหาร เกิดลำไส้หงุดหงิด ท้องผูกอย่างรุนแรง สลับท้องเสีย เป็นผลจากการควบคุม จากสมองผ่านระบบประสาทลงมาอย่างกระเพาะอาหารและลำไส้

    วัคซีนโควิดที่ใช้นั้น มีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันการติดเชื้อ การแพร่เชื้อ และการอาการหนัก เข้าโรงพยาบาลหรือลดอัตราตาย แต่ทั้งหมดนี้ได้รับการยืนยันและเผยแพร่ทั่วไปแล้วว่าไม่สามารถป้องกันได้ (รายละเอียดได้มีการเผยแพร่ก่อนหน้านี้)
    อย่างไรก็ตามยังมีจุดประสงค์ที่จะสามารถลดอาการของลองโควิด ที่จะเกิด ตามมาและสามารถทอดยาวได้เป็นปี
    การศึกษานี้รายงานใน วารสาร open Forum Infectious Diseases ซึ่งเป็นวารสารทางการของ สมาคมโรคติดเชื้อของอเมริกา (IDSA) และ สมาคม HIV เป็น accepted manuscript แล้ว ในเดือน กันยายนนี้
    จากคณะทำงาน Mayo Clinic
    สาระสำคัญนั้นอยู่ที่การรายงานก่อนหน้านี้พบว่าการฉีดวัคซีนนั้นสามารถลดอัตราที่จะเกิดลองโควิดได้ แต่ข้อจำกัดก็คือรายงานเหล่านี้เป็นการสืบจากอาการสอบถาม ซึ่งอาจทำให้คลาดเคลื่อน แต่การศึกษานี้เป็นการยืนยันจากแพทย์ที่ได้ทำการวินิจฉัยวิเคราะห์และมีบันทึก ทางการแพทย์เป็นอิเล็กทรอนิกส์เรคคอร์ด
    การวิเคราะห์นี้ทำจากข้อมูลของผู้ที่ได้รับการยืนยันว่าติดโควิดจำนวนทั้งหมด 41,000 ราย และใช้โมเดลทางสถิติ multi variable logistic regression เพื่อประเมินความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซีนและภาวะการเกิดลอง โควิด ทั้งนี้โดยการควบคุมตัวแปรทั้งหมด เช่นอายุ เพศเชื้อชาติ และโรคประจำตัวที่มีอยู่แล้ว
    ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถยืนยันและสรุปได้ชัดเจนว่าไม่มีความแตกต่างในการเกิดภาวะ ลองโควิด หรือที่เรียกอีกชื่อในทางการแพทย์ post acute sequelae of COVID-19 (PASC) ในระหว่างกลุ่มที่ไม่เคยได้รับวัคซีนเลย กลุ่มที่ได้รับวัคซีน mRNA สองเข็มและกลุ่มที่ได้รับวัคซีนมากกว่าสองเข็ม

    และต่างกับรายงานก่อนหน้านี้อย่างชัดเจนที่สรุปว่าภาวะลองโควิดนั้น ขึ้นอยู่กับสุขภาพหรือโรคประจำตัวก่อนที่ได้รับวัคซีน
    ทั้งนี้ปรากฏว่า ผู้ติดเชื้อทั้งหมดจะมี 6.9% ที่พัฒนาการเกิดภาวะ ลองโควิด
    และประการที่สำคัญยังพบว่าการฉีดวัคซีนนั้นไม่ป้องกันภาวะการเกิดลองโควิด ไม่ว่าเชื้อที่แพร่กระจายในขณะนั้นจะเป็นสายพันธุ์ใดก็ตาม ทั้ง อัลฟ่า เดลต้า และโอไมครอน
    แต่มีข้อสังเกตว่าในสายพันธุ์โอไมครอนนั้นจะเกิดภาวะลองโควิด ต่ำกว่า
    ดังนั้น สามารถที่จะได้หลักฐานข้อมูลว่าวัคซีนนั้นน่าจะไม่สามารถป้องกันการติด การแพร่ การพัฒนาการเกิดอาการหนัก รวมทั้งไม่สามารถป้องกันการเกิดลอง โควิดด้วย
    และที่สำคัญก็คือตัววัคซีนเองนั้นยังทำให้เกิดภาวะลอง วัคซีนได้โดยมีอาการเหมือนกับลองโควิดทุกประการ









    Open Forum Infectious Diseases is published by Oxford University Press on behalf of the Infectious Diseases Society of America (IDSA) and the HIV Medicine Association.

    The study, led by Dr. Melanie D. Swift and her team at Mayo Clinic, analyzed data from over 41,000 patients who tested positive for COVID.
    Researchers used multivariable logistic regression models to evaluate the correlation between vaccination status and long COVID, controlling for factors such as age, sex, race, and comorbidity index.

    According to the study, “No difference in the development of diagnosed PASC was observed between unvaccinated patients, those vaccinated with 2 doses of an mRNA vaccine, and those with >2 doses.”

    In contrast to earlier studies that relied on symptom surveys to assess long COVID risk, this study used electronic health records to track medically diagnosed cases of long COVID.
    “Most studies using symptom surveys found an association between pre-infection vaccination status and PASC symptoms, but studies of medically attended PASC are less common and have reported conflicting findings,” the study explained.
    The researchers found that approximately 6.9% of the patients developed long COVID, with no significant protection offered by the vaccine.

    the study noted that the risk of developing long COVID was lower for those infected during the Omicron variant period.
    However, “No interaction was found between vaccination status and predominant circulating SARS-CoV-2 variant (p=0.79).”



    chrome://external-file/Ofae495.pdf
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
  • ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 47 มุมมอง 0 รีวิว
  • “ไพบูลย์” ฟ้องกราวรูด “หมาแก่" และรักษาการ ผอ.อสมท ฐานหมิ่นประมาท เรียกค่าเสียหาย 50 ล้านบาททำเสียชื่อเสียง หลังแฉคลิป ”ลุงบ้านป่า“ จ่อฟ้อง กสทช.ระงับออกอากาศรายการ
    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9670000085423

    #News1feed #News1 #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 44 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม