ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง

อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย

ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย

สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร

ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร

(ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org)

#Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
ท่วมแล้วไปไหน? จับตาอีสาน 7 จังหวัดริมโขง อิทธิพลของพายุยางิ ที่อ่อนกำลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำ แต่ฝนตกทั้งวันอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 8 ก.ย. ที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มวลน้ำจากประเทศเมียนมา ไหลเข้าท่วมพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยแม่น้ำสายและแม่น้ำรวก เข้าท่วมเขตเทศบาลตำบลแม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา ตามมาด้วยแม่น้ำกก เข้าท่วมเขตเทศบาลนครเชียงราย ข้อมูลสะสม ณ วันที่ 12 ก.ย. จังหวัดเชียงรายได้รับความเสียหายรวม 6 อำเภอ 25 ตำบล 125 หมู่บ้าน 1 เทศบาลนคร (22 ชุมชน) ตลาดชุมชนเศรษฐกิจ 2 แห่ง ร้านค้าและสถานประกอบการ 92 แห่ง ราษฎรได้รับผลกระทบ 51,353 ครัวเรือน เสียชีวิต 4 ราย บาดเจ็บ 2 ราย ปลายทางของมวลน้ำทั้งสองสายอยู่ที่อำเภอเชียงแสน โดยแม่น้ำรวกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สามเหลี่ยมทองคำ ส่วนแม่น้ำกกไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่สบกก (ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน) แต่การระบายน้ำเป็นไปด้วยความยากลำบาก เนื่องจากแม่น้ำโขงมีระดับน้ำที่สูงขึ้น และเข้าท่วมเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมทองคำ เมืองต้นผึ้ง แขวงบ่อแก้ว สปป.ลาว นอกจากนี้ ยังมีมวลน้ำสาขาจาก สปป.ลาว ไหลลงสู่แม่น้ำโขง โดยเฉพาะแม่น้ำทาจากแขวงหลวงน้ำทา ไหลลงสู่แม่น้ำโขงที่เมืองปากทา แขวงบ่อแก้ว รวมทั้งแขวงหลวงพระบาง แขวงอุดมไซ และแขวงไชยบุรี ยังประสบภัยน้ำท่วมอีกด้วย สิ่งที่น่าเป็นห่วงนับจากนี้ คือ 7 จังหวัดภาคอีสานที่อยู่ริมแม่น้ำโขง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) แจ้งเตือนระดับน้ำในแม่น้ำโขงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ได้แก่ อ.เชียงคาน จ.เลย ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.00-3.60 เมตร คาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 0.50-1.50 เมตร ในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. อ.เมือง จ.หนองคาย และ อ.เมือง จ.บึงกาฬ ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 3.50-3.90 เมตร และคาดว่าระดับน้ำจะมีแนวโน้มสูงกว่าตลิ่ง 1.50-2.50 เมตรในช่วงวันที่ 13-16 ก.ย. จ.นครพนม จ.มุกดาหาร จ.อำนาจเจริญ และ จ.อุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ประมาณ 2.00-2.60 เมตร ยังคงต่ำกว่าตลิ่ง 0.50-1.30 เมตร ด้านเทศบาลเมืองหนองคาย ยกระดับการแจ้งเตือนภัยน้ำท่วมเป็นธงสีแดง (มากกว่า 12 เมตร) สภาวะน้ำอยู่ในเกณฑ์ที่มีความเสี่ยงอันตรายต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน ให้อาศัยอยู่ในสถานที่ปลอดภัยและปฏิบัติตามข้อสั่งการ โดยระดับน้ำยังคงมีระดับสูงขึ้นอย่างช้าๆ ล่าสุดเมื่อเวลา 00.00 น. วันนี้ (13 ก.ย.) ระดับน้ำที่ส่วนอุทกวิทยาหนองคาย กรมทรัพยากรน้ำ มีระดับอยู่ที่ 12.82 เมตร สูงกว่าระดับค่าเฉลี่ยของตลิ่งถึง 62 เซนติเมตร (ระบบติดตามสถานการณ์แม่น้ำโขง https://monitoring.tnmc-is.org) #Newskit #น้ำท่วม #แม่น้ำโขง
Like
Sad
7
1 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 1131 มุมมอง 0 รีวิว