บุคคลเปราะบาง เหยื่อคอนเทนต์
การเสียชีวิตของนายธนาคาร คันธี หรือแบงค์ เลสเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์วัย 27 ปี เมื่อเวลา 03.40 น. วันที่ 26 ธ.ค. 2567 หลังรับคำท้าดื่มสุรา 350 มิลลิลิตรแบบรวดเดียวหมดแบน เพื่อแลกกับเงิน 30,000 บาท แล้วเกิดพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน ภายในงานเลี้ยงร้านออมสินการเกษตร ของนายเอกชาติ มีพร้อม หรือเอ็ม เอกชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุ แบงค์ เลสเตอร์ มากับนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือเบิร์ด วันว่างๆ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง
ที่น่าเศร้าก็คือ ครั้งหนึ่งแบงค์ เลสเตอร์ เคยโพสต์ข้อความว่า "ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ ผมยอมโดนแกล้ง ยอมโดนดูถูก เพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว" พร้อมกับคลิปที่ตัวเองโดนแกล้งเอาแตงโมมาลูบหน้าบนช่องติ๊กต็อกเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 สังคมไทยเริ่มตื่นรู้กับพฤติกรรมที่เรียกว่าสวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) ยุคนี้หมายถึงการนำบุคคลเปราะบางมากลั่นแกล้งแล้วผลิตคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง แลกกับชื่อเสียงในวงการและรายได้ที่ตามมา
ที่ผ่านมามีวีดีโอคลิปที่แบงค์ เลสเตอร์ ถูกอินฟลูเอนเซอร์บางคนกลั่นแกล้งเพื่อความสนุกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือปะทะด้วยสิ่งของ การบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินเจลหล่อลื่นที่ใช้ในการเพศสัมพันธ์ การนำปัสสาวะผสมเบียร์แล้วหลอกให้ดื่ม ต่างกรรมต่างวาระ แม้จะอ้างได้ว่าแบงค์ เลสเตอร์ ยินยอม แต่เป็นการยินยอมในลักษณะทำเพื่อเงิน ถูกบังคับทางอ้อมเพราะเป็นบุคคลเปราะบาง
ที่น่าเศร้าก็คือ ยังมีคนที่เสพคอนเทนต์แบบนี้ เคยเหยียดบุคคลเปราะบาง เคยกดถูกใจ กดไลค์กดแชร์เพราะตลกขบขัน สะใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน ไร้การกลั่นกรอง ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ผู้กระทำมีชื่อเสียงขึ้นมา โซเชียลมีเดียตะวันตกแทบทุกค่าย ล้วนคัดเลือกคอนเทนต์เฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจ หรืออยากรู้อยากเห็น แล้วระบบจะปรับจูนให้ ในขณะที่คอนเทนต์ดีๆ ถ้าไม่ใช้เงินซื้อจำนวนมากก็แทบถูกปิดกั้น
เมื่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บางคนหิวกระหาย ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีคนดู แต่ลืมความเป็นมนุษย์ จึงเกิดเหตุสลดขึ้นถึงขั้นพรากชีวิตไป แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อเยาวชนและสังคม หันมาสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ดีๆ แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ดันให้ หนำซ้ำสังคมไทยเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล ปากบอกว่าไม่แต่ใจถลำลึก วันเวลาผ่านไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกลืมจากสังคม จางหายไปกับสายลมเช่นเคย
#Newskit
การเสียชีวิตของนายธนาคาร คันธี หรือแบงค์ เลสเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์วัย 27 ปี เมื่อเวลา 03.40 น. วันที่ 26 ธ.ค. 2567 หลังรับคำท้าดื่มสุรา 350 มิลลิลิตรแบบรวดเดียวหมดแบน เพื่อแลกกับเงิน 30,000 บาท แล้วเกิดพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน ภายในงานเลี้ยงร้านออมสินการเกษตร ของนายเอกชาติ มีพร้อม หรือเอ็ม เอกชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุ แบงค์ เลสเตอร์ มากับนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือเบิร์ด วันว่างๆ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง
ที่น่าเศร้าก็คือ ครั้งหนึ่งแบงค์ เลสเตอร์ เคยโพสต์ข้อความว่า "ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ ผมยอมโดนแกล้ง ยอมโดนดูถูก เพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว" พร้อมกับคลิปที่ตัวเองโดนแกล้งเอาแตงโมมาลูบหน้าบนช่องติ๊กต็อกเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 สังคมไทยเริ่มตื่นรู้กับพฤติกรรมที่เรียกว่าสวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) ยุคนี้หมายถึงการนำบุคคลเปราะบางมากลั่นแกล้งแล้วผลิตคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง แลกกับชื่อเสียงในวงการและรายได้ที่ตามมา
ที่ผ่านมามีวีดีโอคลิปที่แบงค์ เลสเตอร์ ถูกอินฟลูเอนเซอร์บางคนกลั่นแกล้งเพื่อความสนุกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือปะทะด้วยสิ่งของ การบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินเจลหล่อลื่นที่ใช้ในการเพศสัมพันธ์ การนำปัสสาวะผสมเบียร์แล้วหลอกให้ดื่ม ต่างกรรมต่างวาระ แม้จะอ้างได้ว่าแบงค์ เลสเตอร์ ยินยอม แต่เป็นการยินยอมในลักษณะทำเพื่อเงิน ถูกบังคับทางอ้อมเพราะเป็นบุคคลเปราะบาง
ที่น่าเศร้าก็คือ ยังมีคนที่เสพคอนเทนต์แบบนี้ เคยเหยียดบุคคลเปราะบาง เคยกดถูกใจ กดไลค์กดแชร์เพราะตลกขบขัน สะใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน ไร้การกลั่นกรอง ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ผู้กระทำมีชื่อเสียงขึ้นมา โซเชียลมีเดียตะวันตกแทบทุกค่าย ล้วนคัดเลือกคอนเทนต์เฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจ หรืออยากรู้อยากเห็น แล้วระบบจะปรับจูนให้ ในขณะที่คอนเทนต์ดีๆ ถ้าไม่ใช้เงินซื้อจำนวนมากก็แทบถูกปิดกั้น
เมื่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บางคนหิวกระหาย ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีคนดู แต่ลืมความเป็นมนุษย์ จึงเกิดเหตุสลดขึ้นถึงขั้นพรากชีวิตไป แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อเยาวชนและสังคม หันมาสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ดีๆ แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ดันให้ หนำซ้ำสังคมไทยเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล ปากบอกว่าไม่แต่ใจถลำลึก วันเวลาผ่านไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกลืมจากสังคม จางหายไปกับสายลมเช่นเคย
#Newskit
บุคคลเปราะบาง เหยื่อคอนเทนต์
การเสียชีวิตของนายธนาคาร คันธี หรือแบงค์ เลสเตอร์ อินฟลูเอนเซอร์วัย 27 ปี เมื่อเวลา 03.40 น. วันที่ 26 ธ.ค. 2567 หลังรับคำท้าดื่มสุรา 350 มิลลิลิตรแบบรวดเดียวหมดแบน เพื่อแลกกับเงิน 30,000 บาท แล้วเกิดพิษแอลกอฮอล์เฉียบพลัน ภายในงานเลี้ยงร้านออมสินการเกษตร ของนายเอกชาติ มีพร้อม หรือเอ็ม เอกชาติ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 ต.ทุ่งเบญจา อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งวันเกิดเหตุ แบงค์ เลสเตอร์ มากับนายธีระวัฒน์ ศรีรอด หรือเบิร์ด วันว่างๆ อินฟลูเอนเซอร์ชื่อดัง
ที่น่าเศร้าก็คือ ครั้งหนึ่งแบงค์ เลสเตอร์ เคยโพสต์ข้อความว่า "ชีวิตคนเราไม่สามารถเลือกเกิดได้ ผมยอมโดนแกล้ง ยอมโดนดูถูก เพื่อแลกกับเงินมาจุนเจือครอบครัว" พร้อมกับคลิปที่ตัวเองโดนแกล้งเอาแตงโมมาลูบหน้าบนช่องติ๊กต็อกเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2566 สังคมไทยเริ่มตื่นรู้กับพฤติกรรมที่เรียกว่าสวนสัตว์มนุษย์ (Human Zoo) ยุคนี้หมายถึงการนำบุคคลเปราะบางมากลั่นแกล้งแล้วผลิตคอนเทนต์เพื่อความบันเทิง แลกกับชื่อเสียงในวงการและรายได้ที่ตามมา
ที่ผ่านมามีวีดีโอคลิปที่แบงค์ เลสเตอร์ ถูกอินฟลูเอนเซอร์บางคนกลั่นแกล้งเพื่อความสนุกในรูปแบบต่างๆ ทั้งการทำร้ายร่างกายหรือปะทะด้วยสิ่งของ การบังคับให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กินเจลหล่อลื่นที่ใช้ในการเพศสัมพันธ์ การนำปัสสาวะผสมเบียร์แล้วหลอกให้ดื่ม ต่างกรรมต่างวาระ แม้จะอ้างได้ว่าแบงค์ เลสเตอร์ ยินยอม แต่เป็นการยินยอมในลักษณะทำเพื่อเงิน ถูกบังคับทางอ้อมเพราะเป็นบุคคลเปราะบาง
ที่น่าเศร้าก็คือ ยังมีคนที่เสพคอนเทนต์แบบนี้ เคยเหยียดบุคคลเปราะบาง เคยกดถูกใจ กดไลค์กดแชร์เพราะตลกขบขัน สะใจ ให้ความบันเทิงสนุกสนาน ไร้การกลั่นกรอง ปราศจากความรับผิดชอบ หนำซ้ำอัลกอริทึม (Algorithm) ของแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ผู้กระทำมีชื่อเสียงขึ้นมา โซเชียลมีเดียตะวันตกแทบทุกค่าย ล้วนคัดเลือกคอนเทนต์เฉพาะสิ่งที่ผู้ใช้งานสนใจ หรืออยากรู้อยากเห็น แล้วระบบจะปรับจูนให้ ในขณะที่คอนเทนต์ดีๆ ถ้าไม่ใช้เงินซื้อจำนวนมากก็แทบถูกปิดกั้น
เมื่อยอดไลค์ ยอดแชร์ ยอดวิว ทำให้อินฟลูเอนเซอร์บางคนหิวกระหาย ทำอะไรก็ได้เพื่อให้มีคนดู แต่ลืมความเป็นมนุษย์ จึงเกิดเหตุสลดขึ้นถึงขั้นพรากชีวิตไป แม้จะมีเสียงเรียกร้องให้เลิกสนับสนุนอินฟลูเอนเซอร์ที่ไร้ความรับผิดชอบต่อเยาวชนและสังคม หันมาสนับสนุนคนทำคอนเทนต์ดีๆ แต่แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียไม่ดันให้ หนำซ้ำสังคมไทยเป็นพวกมือถือสากปากถือศีล ปากบอกว่าไม่แต่ใจถลำลึก วันเวลาผ่านไปเมื่อมีเหตุการณ์ใหม่เข้ามา สุดท้ายเรื่องนี้ก็ถูกลืมจากสังคม จางหายไปกับสายลมเช่นเคย
#Newskit