BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น

เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง

และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582

มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน

ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า

อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน

#Newskit
BEM x SIEMENS เรารู้กันอยู่ 3 ตู้...3 ตู้เท่านั้น เมื่อไม่นานมานี้ กลุ่มบริษัทซีเมนส์ โมบิลิตี้ ประเทศเยอรมนี ได้รับการว่าจ้างจาก บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK และบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ให้ดำเนินโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ของระบบเครื่องกลและไฟฟ้าในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (MRT) สายสีส้ม บางขุนนนท์-มีนบุรี ระยะทาง 35.9 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ 32 ขบวน รวมถึงการบูรณาการระบบเครื่องกลและไฟฟ้า พร้อมสัญญาซ่อมบำรุง และโครงการปรับปรุงรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน หลักสอง-ท่าพระ ระยะทาง 48 กิโลเมตร ครอบคลุมการส่งมอบรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้เพิ่มเติม 21 ขบวน รวมถึงการปรับปรุงระบบเครื่องกลและไฟฟ้าเดิม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถี่การเดินรถพร้อมสัญญาซ่อมบำรุง อีกทั้งยังได้เซ็นสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรสำหรับขบวนรถไฟใหม่ที่เพิ่มเติมมา รวมถึงการขยายสัญญาการบำรุงรักษาครบวงจรที่มีอยู่เดิม สิ้นสุดสัญญาในปี 2582 มีคนสงสัยว่าทำไม BEM ยังคงใช้ขบวนรถไฟฟ้าขนาด 3 ตู้ กับสายสีน้ำเงินและสายสีส้ม ทั้งๆ ที่คู่แข่งอย่างรถไฟฟ้าบีทีเอสได้เพิ่มตู้รถไฟฟ้าของซีเมนส์จากแบบ 3 ตู้ เป็น 4 ตู้ทั้ง 35 ขบวน ส่วนรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงก็มีทั้ง 4 ตู้ต่อขบวน และ 6 ตู้ต่อขบวน คำตอบอย่างไม่เป็นทางการก็คือ ต้องไปแก้ไขระบบอาณัติสัญญาณ (Signaling) และประตูกั้นชานชาลา (PSD) ถ้าเพิ่มขบวนรถไม่ต้องแก้ไข และช่วยเพิ่มความถี่ให้ผู้โดยสารไม่ต้องรอนาน ในตอนหนึ่งการประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น BEM ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 31 ต.ค. 2567 ชี้แจงว่าเนื่องจากสายทางของโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออก (ศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี) มีจุดเชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานีร่วม ดังนั้นเมื่อรถไฟฟ้าสายสีส้มตะวันออกเปิดให้บริการในปี 2571 จะส่งต่อผู้โดยสารจำนวนมากเข้าสู่รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องจัดหาขบวนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินเพิ่มเติมอีก 21 ขบวน และปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการให้บริการทั้งในปัจจุบันและอนาคต โดยมีแนวทางในการจัดซื้อขบวนรถไฟฟ้าแบบ 3 ตู้ประกอบต่อขบวน ซึ่งจะสามารถเพิ่มความถี่ในการให้บริการมากขึ้น มีความยืดหยุ่นได้ตลอดเส้นทาง ไม่เกิดผลกระทบต่อการให้บริการเดินรถในช่วงปรับปรุงระบบรถไฟฟ้า อนึ่ง ปัจจุบันรถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงินมีทั้งหมด 54 ขบวน แบ่งเป็นรถไฟฟ้ารุ่นแรก 19 ขบวน และรถไฟฟ้ารุ่นใหม่ 35 ขบวน ขบวนละ 3 ตู้ หากมีขบวนรถไฟฟ้าเพิ่มเติม 21 ขบวน จะทำให้มีรถไฟฟ้ารวม 75 ขบวน #Newskit
Like
2
0 Comments 0 Shares 248 Views 0 Reviews