โรงเรียนแพทย์แบก มะเร็งรักษาทุกที่

การประกาศของ 4 โรงพยาบาลใหญ่ ศิริราช รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ และภูมิพล ให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค) ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยบริการต้นสังกัดทุกครั้ง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป เนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผู้ป่วยโรคมะเร็ง ตามโครงการมะเร็งรักษาทุกที่ (Cancer Anywhere)

โดยรับผิดชอบเฉพาะค่ายาเคมีบําบัด และฮอร์โมนที่ใช้รักษามะเร็ง รังสีที่ใช้รักษามะเร็ง และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาที่ใช้เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงยาอื่นๆ เช่น ยาความดัน ยาแก้คลื่นไส้ ยาระบาย และไม่รับผิดชอบค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจเลือด และไม่ครอบคลุมโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน โรคร่วม หรือการรักษาต่อเนื่อง

ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผอ.รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น ระบุว่า จํานวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ Cancer Anywhere เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลเสียต่อระบบการบริการผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคน ทุกสิทธิการรักษา และผู้ป่วยโรคอื่นๆ ขณะเดียวกัน สปสช.จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเรียกเก็บต่ำมากๆ และมีจํานวนหนึ่งที่ไม่จ่ายเลย ทําให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระด้านการเงินไม่ไหว เป็นแบบนี้มา 3 ปี ไม่มีการแก้ไข เคยสัญญาว่าจะจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทําตามสัญญา จำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาจํานวนมาก ส่งผลกระทบต่อการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน แพทย์ต่อยอด และนักศึกษาแพทย์ และไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษาที่ควรจะเป็นได้ เนื่องจากเกินกําลังในการให้บริการ

"สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขควรเลิกนโยบายนี้ กลับไปเป็นระบบเดิม เพราะส่วนใหญ่ของผู้ป่วยนั้น โรงพยาบาลจังหวัด ศูนย์มะเร็งก็รักษาได้ ถ้าเกินศักยภาพของโรงพยาบาลจังหวัด หรือศูนย์มะเร็ง จึงส่งต่อมารักษาที่โรงเรียนแพทย์ และ สปสช.ควรจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ครบด้วย"

ขณะที่ชมรมโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป และคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือส่งถึงเลขาธิการ สปสช.ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพราะสร้างปัญหาให้ทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานบริการ ล่าสุด นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับผู้บริหารโรงพยาบาล 5 แห่ง มีมติให้ชะลอการบังคับใช้หลักเกณฑ์ออกไปอีก 3 เดือน แล้วตั้งคณะกรรมการร่วมที่มี นพ.สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย รอง ผอ.รพ.ศิริราช เป็นประธาน ซึ่งจะประชุมนัดแรกวันที่ 15 ม.ค. 2568

#Newskit
โรงเรียนแพทย์แบก มะเร็งรักษาทุกที่ การประกาศของ 4 โรงพยาบาลใหญ่ ศิริราช รามาธิบดี จุฬาลงกรณ์ และภูมิพล ให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค) ต้องมีหนังสือส่งตัวรับรองค่ารักษาพยาบาลจากหน่วยบริการต้นสังกัดทุกครั้ง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2568 เป็นต้นไป เนื่องจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ประกาศเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการจ่ายค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข กรณีผู้ป่วยโรคมะเร็ง ตามโครงการมะเร็งรักษาทุกที่ (Cancer Anywhere) โดยรับผิดชอบเฉพาะค่ายาเคมีบําบัด และฮอร์โมนที่ใช้รักษามะเร็ง รังสีที่ใช้รักษามะเร็ง และค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการ เฉพาะที่เกี่ยวข้องกับยาที่ใช้เท่านั้น ไม่ครอบคลุมถึงยาอื่นๆ เช่น ยาความดัน ยาแก้คลื่นไส้ ยาระบาย และไม่รับผิดชอบค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าเอกซเรย์ ค่าตรวจเลือด และไม่ครอบคลุมโรคประจำตัว ภาวะแทรกซ้อน โรคร่วม หรือการรักษาต่อเนื่อง ศ.นพ.สมศักดิ์ เทียมเก่า ผอ.รพ.ศรีนครินทร์ ม.ขอนแก่น ระบุว่า จํานวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการ Cancer Anywhere เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นอย่างมาก ส่งผลเสียต่อระบบการบริการผู้ป่วยโรคมะเร็งทุกคน ทุกสิทธิการรักษา และผู้ป่วยโรคอื่นๆ ขณะเดียวกัน สปสช.จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลเรียกเก็บต่ำมากๆ และมีจํานวนหนึ่งที่ไม่จ่ายเลย ทําให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระด้านการเงินไม่ไหว เป็นแบบนี้มา 3 ปี ไม่มีการแก้ไข เคยสัญญาว่าจะจ่ายเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ทําตามสัญญา จำนวนผู้ป่วยที่มารับการรักษาจํานวนมาก ส่งผลกระทบต่อการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้าน แพทย์ต่อยอด และนักศึกษาแพทย์ และไม่สามารถให้การรักษาผู้ป่วยตามมาตรฐานการรักษาที่ควรจะเป็นได้ เนื่องจากเกินกําลังในการให้บริการ "สปสช. และกระทรวงสาธารณสุขควรเลิกนโยบายนี้ กลับไปเป็นระบบเดิม เพราะส่วนใหญ่ของผู้ป่วยนั้น โรงพยาบาลจังหวัด ศูนย์มะเร็งก็รักษาได้ ถ้าเกินศักยภาพของโรงพยาบาลจังหวัด หรือศูนย์มะเร็ง จึงส่งต่อมารักษาที่โรงเรียนแพทย์ และ สปสช.ควรจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ครบด้วย" ขณะที่ชมรมโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป และคณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สาขาโรคมะเร็ง กระทรวงสาธารณสุข ทำหนังสือส่งถึงเลขาธิการ สปสช.ให้ยกเลิกหลักเกณฑ์ดังกล่าว เพราะสร้างปัญหาให้ทั้งผู้ป่วย ญาติ และสถานบริการ ล่าสุด นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ได้หารือร่วมกับผู้บริหารโรงพยาบาล 5 แห่ง มีมติให้ชะลอการบังคับใช้หลักเกณฑ์ออกไปอีก 3 เดือน แล้วตั้งคณะกรรมการร่วมที่มี นพ.สนั่น วิสุทธิศักดิ์ชัย รอง ผอ.รพ.ศิริราช เป็นประธาน ซึ่งจะประชุมนัดแรกวันที่ 15 ม.ค. 2568 #Newskit
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 203 มุมมอง 0 รีวิว