ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน
น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน
ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น
ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568
อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ
เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ
สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล
#Newskit
อ่านเพิ่มเติม น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน
ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น
ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568
อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ
เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ
สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล
#Newskit
ลูกหนี้ชั้นดี จ่ายภาษีบุคคลธรรมดา คือเดอะแบกของแผ่นดิน
น่าผิดหวังสำหรับโครงการคุณสู้เราช่วย มาตรการแก้หนี้ครัวเรือนของกระทรวงการคลัง ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย กลายเป็นว่ามุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียของสถาบันการเงินเท่านั้น เพราะคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้ที่มีหนี้เสีย ส่วนลูกหนี้ที่ดีชำระตรงเวลาไม่มียอดคงค้างกลับไม่ได้มรรคผลอะไรเลย ทั้งที่เศรษฐกิจซบเซา ค่าครองชีพสูงขึ้น ลูกหนี้ที่ดีซึ่งมีทั้งมนุษย์เงินเดือนและผู้ประกอบอาชีพอิสระกำลังจะไปไม่ไหวเช่นกัน
ที่ผ่านมาลูกหนี้ที่ดีส่วนหนึ่งเคยบอบช้ำจากโควิด-19 เจอเศรษฐกิจซบเซาในยุครัฐบาลแพทองธาร ชินวัตรอย่างต่อเนื่อง พยายามหาทางออกกับสถาบันการเงินเพื่อหวังจ่ายหนี้น้อยลง มีเงินไว้เสริมสภาพคล่อง แต่ก็ไม่ง่าย พนักงานธนาคารบางคนแนะให้ไปเป็นหนี้เสียก่อนค่อยคุยกันก็มี ทั้งที่ผ่านมาพยายามไม่ให้ตัวเองเสียเครดิต เจอแบบนี้ถึงกับไปไม่เป็น ที่น่าตลกก็คือมาตรการจ่าย ปิด จบ ช่วยลูกหนี้รายย่อยที่มีหนี้เสียไม่เกิน 5,000 บาทเท่านั้น
ย้อนกลับไปในช่วงที่ผ่านมา แบงก์ชาติออกแคมเปญโลกสวย เช่น คลีนิกแก้หนี้ มาตรการปิดจบหนี้เรื้อรัง แก้ปัญหาเฉพาะคนที่เริ่มเป็นหนี้เสีย ส่วนคนที่พยายามรักษาเครดิตนอกจากจะไม่ช่วยแล้วยังจะซ้ำเติม โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตเตรียมปรับอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ (Minimum Pay) จาก 8% เป็นอัตราปกติ 10% โดยอ้างว่าส่งผลดีปิดจบหนี้ได้เร็วขึ้น มนุษย์เงินเดือนเกือบกระอักเลือด โชคดีที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน ออกมาทักท้วงจึงเลื่อนออกไปเป็น 31 ธ.ค. 2568
อีกด้านหนึ่งประชากรไทยมี 66 ล้านคน ยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.) 14.1 ล้านคน แต่มีผู้เสียภาษีจริงเพียง 4.53 ล้านคน หรือ 32.2% มีรายได้ 3.99 แสนล้านบาท แม้จะมีคนอ้างภาษีกู เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) แต่เป็นภาษีที่ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องจ่าย เทียบกันไม่ได้กับ ภงด.ที่บังคับต้องยื่นแบบ และถ้าต้องเสียภาษีก็ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากจะไม่เคยได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีแล้ว บางมาตรการรัฐก็ไม่มีสิทธิได้รับ
เช่น โครงการเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ตัดสิทธิผู้ที่มีรายได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท หรือเงินเดือน 70,000 บาทขึ้นไป ทั้งที่อาจเป็นเดอะแบกของครอบครัว เมื่อเสียภาษี ภงด.ก็หลายหมื่นบาทเข้าไปแล้ว หนำซ้ำยังตัดสิทธิผู้ที่มีเงินฝากในบัญชีเกิน 500,000 บาท ทั้งที่อาจเป็นเงินเก็บสำรอง เงินที่ครอบครัวฝากไว้ ไม่ได้เรียกว่ามีฐานะร่ำรวยเมื่อเทียบกับเงินฝาก 1-2 ล้านบาทที่ธนาคารอาจปรับสถานะให้เป็นลูกค้าพิเศษ
สุดท้ายได้แต่อดทนทำหน้าที่พลเมืองดีแบบที่ไม่มีใครเหลียวแล
#Newskit
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
499 มุมมอง
0 รีวิว