Marry Now, Pay Later แพ็คเกจมาเลย์นิกะห์ไทย
เป็นที่ฮือฮาของชาวเน็ตมาเลเซีย เมื่อมีคลิปในติ๊กต็อกโฆษณาแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทย สำหรับคู่รักชาวมุสลิมมาเลเซียในราคาต่ำกว่า 2,000 ริงกิต (ประมาณ 15,200 บาทเศษ) ในคอนเซปต์ Marry Now, Pay Later หรือแต่งก่อนจ่ายทีหลัง ทำเอาแซวอย่างตลกขบขัน เช่น จะใช้ Atome (แอปฯ ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) เพื่อผ่อนชำระรายเดือนได้หรือไม่ บางคนสงสัยว่าในมาเลเซียถูกกฎหมายหรือเปล่า ทำไมผู้คนถึงแต่งงานกันที่นั่น
จากการสอบถามชาวมาเลเซียรายหนึ่ง ระบุว่า คู่รักที่นิยมไปทำพิธีนิกะห์ หรือพิธีแต่งงานแบบชาวมุสลิมที่ประเทศไทย ส่วนใหญ่แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง คนที่สาม หรือคนที่สี่ เพราะฝ่ายชายเจอภรรยาคนที่หนึ่งไม่อนุญาต
การแต่งงานในไทยของชาวมุสลิมมาเลเซียเกิดขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากกฎหมายของมาเลเซียถ้าจะแต่งงงานกับภรรยาคนที่สอง ต้องได้รับอนุญาตจากภรรยาคนแรก ต้องมีสถานะการเงิน และความเป็นอยู่ที่มั่นคง รวมทั้งต้องทำตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง ฝ่ายชายที่พบรักกับผู้หญิงคนใหม่ จึงอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายออกนอกประเทศ เพื่อประกอบพิธีนิกะห์ตามมัสยิดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ขั้นตอนก็คือ เมื่อคู่รักมาถึงไทยแล้ว จะประกอบพิธีนิกะห์ที่มัสยิด จากนั้นองค์กรศาสนาอิสลามในไทย เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จะออกหนังสือรับรองการแต่งงาน แล้วไปลงทะเบียนที่สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เมื่อได้เอกสารแล้วกลับมาเลเซีย คู่รักทั้งสองคนไปจ่ายค่าปรับที่ศาลอิสลามคนละ 1,000 ริงกิต หรือประมาณ 7,700 บาท แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับสภาศาสนาของมาเลเซีย
เมื่อเกิดกระแส Buy Now, Pay Later สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค จึงมีผู้ประกอบการหัวใสจัดแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทยแบบ "แต่งก่อน จ่ายทีหลัง" เพื่อให้คู่รักสามารถตัดสินใจแต่งงานได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายโมฮัมหมัด นาอิม มุคธาร์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านกิจการศาสนา) ของมาเลเซีย เตือนว่าผู้ประกอบการที่จัดแพ็คเกจแต่งงานในไทย อาจถูกดำเนินคดีภายใต้พระราชบัญญัติครอบครัวศาสนาอิสลาม แม้ว่าการแต่งงานในไทยอาจตรงตามข้อกำหนดของศาสนา เช่น การมีวะลีย์ (ผู้ปกครองเจ้าสาว) และพยาน แต่ถือเป็นการละเมิดกฎหมายของมาเลเซีย พร้อมเตือนว่าให้ประชาชนระวังและอย่าหลงเชื่อโฆษณาเหล่านี้
ทั้งนี้ มาเลเซียต้องการสร้างสังคมมุสลิม ที่เคารพทั้งกฎหมายศาสนาและระบบกฎหมายของประเทศ หากรีบแต่งงาน ไม่เพียงแต่สูญเสียเงิน แต่ยังสูญเสียแผนการแต่งงานด้วย ผู้ประกอบการบางคนแสวงหาผลผลกำไรอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
#Newskit
เป็นที่ฮือฮาของชาวเน็ตมาเลเซีย เมื่อมีคลิปในติ๊กต็อกโฆษณาแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทย สำหรับคู่รักชาวมุสลิมมาเลเซียในราคาต่ำกว่า 2,000 ริงกิต (ประมาณ 15,200 บาทเศษ) ในคอนเซปต์ Marry Now, Pay Later หรือแต่งก่อนจ่ายทีหลัง ทำเอาแซวอย่างตลกขบขัน เช่น จะใช้ Atome (แอปฯ ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) เพื่อผ่อนชำระรายเดือนได้หรือไม่ บางคนสงสัยว่าในมาเลเซียถูกกฎหมายหรือเปล่า ทำไมผู้คนถึงแต่งงานกันที่นั่น
จากการสอบถามชาวมาเลเซียรายหนึ่ง ระบุว่า คู่รักที่นิยมไปทำพิธีนิกะห์ หรือพิธีแต่งงานแบบชาวมุสลิมที่ประเทศไทย ส่วนใหญ่แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง คนที่สาม หรือคนที่สี่ เพราะฝ่ายชายเจอภรรยาคนที่หนึ่งไม่อนุญาต
การแต่งงานในไทยของชาวมุสลิมมาเลเซียเกิดขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากกฎหมายของมาเลเซียถ้าจะแต่งงงานกับภรรยาคนที่สอง ต้องได้รับอนุญาตจากภรรยาคนแรก ต้องมีสถานะการเงิน และความเป็นอยู่ที่มั่นคง รวมทั้งต้องทำตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง ฝ่ายชายที่พบรักกับผู้หญิงคนใหม่ จึงอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายออกนอกประเทศ เพื่อประกอบพิธีนิกะห์ตามมัสยิดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ขั้นตอนก็คือ เมื่อคู่รักมาถึงไทยแล้ว จะประกอบพิธีนิกะห์ที่มัสยิด จากนั้นองค์กรศาสนาอิสลามในไทย เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จะออกหนังสือรับรองการแต่งงาน แล้วไปลงทะเบียนที่สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เมื่อได้เอกสารแล้วกลับมาเลเซีย คู่รักทั้งสองคนไปจ่ายค่าปรับที่ศาลอิสลามคนละ 1,000 ริงกิต หรือประมาณ 7,700 บาท แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับสภาศาสนาของมาเลเซีย
เมื่อเกิดกระแส Buy Now, Pay Later สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค จึงมีผู้ประกอบการหัวใสจัดแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทยแบบ "แต่งก่อน จ่ายทีหลัง" เพื่อให้คู่รักสามารถตัดสินใจแต่งงานได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายโมฮัมหมัด นาอิม มุคธาร์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านกิจการศาสนา) ของมาเลเซีย เตือนว่าผู้ประกอบการที่จัดแพ็คเกจแต่งงานในไทย อาจถูกดำเนินคดีภายใต้พระราชบัญญัติครอบครัวศาสนาอิสลาม แม้ว่าการแต่งงานในไทยอาจตรงตามข้อกำหนดของศาสนา เช่น การมีวะลีย์ (ผู้ปกครองเจ้าสาว) และพยาน แต่ถือเป็นการละเมิดกฎหมายของมาเลเซีย พร้อมเตือนว่าให้ประชาชนระวังและอย่าหลงเชื่อโฆษณาเหล่านี้
ทั้งนี้ มาเลเซียต้องการสร้างสังคมมุสลิม ที่เคารพทั้งกฎหมายศาสนาและระบบกฎหมายของประเทศ หากรีบแต่งงาน ไม่เพียงแต่สูญเสียเงิน แต่ยังสูญเสียแผนการแต่งงานด้วย ผู้ประกอบการบางคนแสวงหาผลผลกำไรอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
#Newskit
Marry Now, Pay Later แพ็คเกจมาเลย์นิกะห์ไทย
เป็นที่ฮือฮาของชาวเน็ตมาเลเซีย เมื่อมีคลิปในติ๊กต็อกโฆษณาแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทย สำหรับคู่รักชาวมุสลิมมาเลเซียในราคาต่ำกว่า 2,000 ริงกิต (ประมาณ 15,200 บาทเศษ) ในคอนเซปต์ Marry Now, Pay Later หรือแต่งก่อนจ่ายทีหลัง ทำเอาแซวอย่างตลกขบขัน เช่น จะใช้ Atome (แอปฯ ซื้อก่อนจ่ายทีหลัง) เพื่อผ่อนชำระรายเดือนได้หรือไม่ บางคนสงสัยว่าในมาเลเซียถูกกฎหมายหรือเปล่า ทำไมผู้คนถึงแต่งงานกันที่นั่น
จากการสอบถามชาวมาเลเซียรายหนึ่ง ระบุว่า คู่รักที่นิยมไปทำพิธีนิกะห์ หรือพิธีแต่งงานแบบชาวมุสลิมที่ประเทศไทย ส่วนใหญ่แต่งงานกับภรรยาคนที่สอง คนที่สาม หรือคนที่สี่ เพราะฝ่ายชายเจอภรรยาคนที่หนึ่งไม่อนุญาต
การแต่งงานในไทยของชาวมุสลิมมาเลเซียเกิดขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากกฎหมายของมาเลเซียถ้าจะแต่งงงานกับภรรยาคนที่สอง ต้องได้รับอนุญาตจากภรรยาคนแรก ต้องมีสถานะการเงิน และความเป็นอยู่ที่มั่นคง รวมทั้งต้องทำตามหลักศาสนาที่ถูกต้อง ฝ่ายชายที่พบรักกับผู้หญิงคนใหม่ จึงอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายออกนอกประเทศ เพื่อประกอบพิธีนิกะห์ตามมัสยิดใน 5 จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล สงขลา ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
ขั้นตอนก็คือ เมื่อคู่รักมาถึงไทยแล้ว จะประกอบพิธีนิกะห์ที่มัสยิด จากนั้นองค์กรศาสนาอิสลามในไทย เช่น สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด จะออกหนังสือรับรองการแต่งงาน แล้วไปลงทะเบียนที่สถานกงสุลใหญ่มาเลเซีย ประจำจังหวัดสงขลา เมื่อได้เอกสารแล้วกลับมาเลเซีย คู่รักทั้งสองคนไปจ่ายค่าปรับที่ศาลอิสลามคนละ 1,000 ริงกิต หรือประมาณ 7,700 บาท แล้วไปจดทะเบียนสมรสกับสภาศาสนาของมาเลเซีย
เมื่อเกิดกระแส Buy Now, Pay Later สำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค จึงมีผู้ประกอบการหัวใสจัดแพ็คเกจแต่งงานในประเทศไทยแบบ "แต่งก่อน จ่ายทีหลัง" เพื่อให้คู่รักสามารถตัดสินใจแต่งงานได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตาม นายโมฮัมหมัด นาอิม มุคธาร์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านกิจการศาสนา) ของมาเลเซีย เตือนว่าผู้ประกอบการที่จัดแพ็คเกจแต่งงานในไทย อาจถูกดำเนินคดีภายใต้พระราชบัญญัติครอบครัวศาสนาอิสลาม แม้ว่าการแต่งงานในไทยอาจตรงตามข้อกำหนดของศาสนา เช่น การมีวะลีย์ (ผู้ปกครองเจ้าสาว) และพยาน แต่ถือเป็นการละเมิดกฎหมายของมาเลเซีย พร้อมเตือนว่าให้ประชาชนระวังและอย่าหลงเชื่อโฆษณาเหล่านี้
ทั้งนี้ มาเลเซียต้องการสร้างสังคมมุสลิม ที่เคารพทั้งกฎหมายศาสนาและระบบกฎหมายของประเทศ หากรีบแต่งงาน ไม่เพียงแต่สูญเสียเงิน แต่ยังสูญเสียแผนการแต่งงานด้วย ผู้ประกอบการบางคนแสวงหาผลผลกำไรอย่างรวดเร็วโดยไม่คำนึงถึงผู้อื่น
#Newskit