เส้นกาญจนาฯ เตรียมอัมพาต สร้างมอเตอร์เวย์ M9

โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้านตะวันตก ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการก่อสร้างมายาวนาน ตั้งแต่โครงการทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี กระทบกับทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ส่วนถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงผิวทางเป็นคอนกรีตช่วงบางขุนเทียน-บางแค ตั้งแต่ปี 2563 ยังไม่แล้วเสร็จเพราะแก้ไขแบบเพิ่มเติม

มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ธ.ค. เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) ตามหลักการที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก และเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษรอบกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2571

จุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กทม. จุดสิ้นสุดบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost (ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) กรอบวงเงินร่วมลงทุน 47,521.04 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,253.30 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดิน 3 จุด รวม 33 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา

ส่วนการเก็บค่าผ่านทาง ใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) คิดค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ คิด 10 บาท + 1.50 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์ 6 ล้อ คิด 15 บาท + 2.40 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ คิด 25 บาท + 3.45 บาทต่อกิโลเมตร โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง ปรับขึ้นค่าผ่านทางทุก 5 ปี ระยะเวลาโครงการรวม 34 ปี แบ่งเป็นก่อสร้าง 4 ปี ดำเนินงานและบำรุงรักษา 30 ปี

ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเริ่มต้นก่อสร้างก็คือ ถนนกาญจนาภิเษกตั้งแต่บางขุนเทียนถึงบางบัวทอง โดยเฉพาะทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ทางแยกต่างระดับฉิมพลี และทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นคอขวดอาจติดขัด บางวันถึงขั้นเป็นอัมพาต หากบริหารจัดการจราจรไม่ดี ส่วนถนนราชพฤกษ์ต้องแบกรับการจราจรมากขึ้น และอุบัติเหตุจากการก่อสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เฉกเช่นถนนพระรามที่ 2 อาจซ้ำรอยเกิดขึ้นกับถนนกาญจนาภิเษก โดยที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบอย่างกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม ทำได้แค่ วัวหายแล้วล้อมคอก

#Newskit
เส้นกาญจนาฯ เตรียมอัมพาต สร้างมอเตอร์เวย์ M9 โซนกรุงเทพมหานครและปริมณฑลด้านตะวันตก ประสบปัญหาการจราจรติดขัดเนื่องจากการก่อสร้างมายาวนาน ตั้งแต่โครงการทางยกระดับถนนพระรามที่ 2 โครงการก่อสร้างสะพานข้ามคลองมหาสวัสดิ์ ถนนราชพฤกษ์ โครงการขยายถนนชัยพฤกษ์ โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) หมายเลข 81 บางใหญ่-กาญจนบุรี กระทบกับทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ส่วนถนนกาญจนาภิเษก ปรับปรุงผิวทางเป็นคอนกรีตช่วงบางขุนเทียน-บางแค ตั้งแต่ปี 2563 ยังไม่แล้วเสร็จเพราะแก้ไขแบบเพิ่มเติม มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 3 ธ.ค. เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ทางยกระดับสายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง (M9) ตามหลักการที่คณะกรรมการนโยบายการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนได้ให้ความเห็นชอบแล้ว มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยแบ่งเบาปริมาณจราจรบนถนนกาญจนาภิเษกด้านตะวันตก และเชื่อมต่อโครงข่ายทางหลวงพิเศษรอบกรุงเทพมหานคร คาดว่าจะก่อสร้างในปี 2568 แล้วเสร็จในปี 2571 จุดเริ่มต้นบริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กทม. จุดสิ้นสุดบริเวณจุดตัดทางแยกต่างระดับบางบัวทอง จ.นนทบุรี ระยะทาง 35.85 กิโลเมตร เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร มีทางขึ้น 8 จุด ทางลง 6 จุด ทางแยกต่างระดับ 5 แห่ง เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในรูปแบบ PPP NET Cost (ให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ) กรอบวงเงินร่วมลงทุน 47,521.04 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลจะจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 4,253.30 ล้านบาท มีการเวนคืนที่ดิน 3 จุด รวม 33 ไร่ 2 งาน 75 ตารางวา ส่วนการเก็บค่าผ่านทาง ใช้ระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) คิดค่าผ่านทางรถยนต์ 4 ล้อ คิด 10 บาท + 1.50 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์ 6 ล้อ คิด 15 บาท + 2.40 บาทต่อกิโลเมตร รถยนต์มากกว่า 6 ล้อ คิด 25 บาท + 3.45 บาทต่อกิโลเมตร โดยเอกชนเป็นผู้จัดเก็บค่าผ่านทาง ปรับขึ้นค่าผ่านทางทุก 5 ปี ระยะเวลาโครงการรวม 34 ปี แบ่งเป็นก่อสร้าง 4 ปี ดำเนินงานและบำรุงรักษา 30 ปี ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากเริ่มต้นก่อสร้างก็คือ ถนนกาญจนาภิเษกตั้งแต่บางขุนเทียนถึงบางบัวทอง โดยเฉพาะทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน ทางแยกต่างระดับฉิมพลี และทางแยกต่างระดับบางใหญ่ ที่มีลักษณะเป็นคอขวดอาจติดขัด บางวันถึงขั้นเป็นอัมพาต หากบริหารจัดการจราจรไม่ดี ส่วนถนนราชพฤกษ์ต้องแบกรับการจราจรมากขึ้น และอุบัติเหตุจากการก่อสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำซาก เฉกเช่นถนนพระรามที่ 2 อาจซ้ำรอยเกิดขึ้นกับถนนกาญจนาภิเษก โดยที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบอย่างกรมทางหลวง และกระทรวงคมนาคม ทำได้แค่ วัวหายแล้วล้อมคอก #Newskit
Like
2
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 378 มุมมอง 0 รีวิว