บิ๊กดาต้า-เอไอ ขับเคลื่อนเมืองเก่าภูเก็ต

ปัจจุบันมีหน่วยงานขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ชื่อว่า "สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)" หรือบีดีไอ (BDI) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนสายเทคโนโลยี 80% ที่มีเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูล แม้จะเป็นหน่วยงานใหม่ที่ก่อตั้งไม่นาน แต่ก็ได้มีความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนเชื่อมโยงและส่งเสริมข้อมูล โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต ที่ภาคเอกชนและภาครัฐเข้มแข็ง

ที่ผ่านมาบีดีไอพัฒนา 3 แพลตฟอร์ม ใช้ภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ได้แก่ แพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Envi Link) แพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านท่องเที่ยวแห่งชาติ (Travel Link) และแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ (City Data Platform) โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตอย่างมีทิศทาง และประยุกต์ใช้แก่จังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยได้แถลงทิศทางการดำเนินงานและความร่วมมือไปเมื่อวันก่อน

แพลตฟอร์ม Envi Link ได้นำมาใช้กับโครงการของมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน ภายใต้ชื่อ “Phuket Old Town Carbon Neutrality 2030” เพื่อผลักดันย่านเมืองเก่าภูเก็ต ให้ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 โดยตั้งเป้าลดปริมาณคาร์บอน 30% ภายใน 3 ปี ที่ผ่านมาได้จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ และประมวลผลกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลสำคัญของคาร์บอนฟุตพรินท์ ทั้งไฟฟ้า ประปา ขยะ และเชื้อเพลิง

พร้อมกันนี้ บีดีไอยังได้นำเทคโนโลยีเอไอมาใช้กับกล้องซีซีทีวีในการประมาณการต่างๆ เช่น การใช้เอไอนับจำนวนรถและคัดแยกประเภทรถ ประเภทเชื้อเพลิง ก่อนคำนวณเป็นคาร์บอนฟุตพรินท์ การใช้เอไอนับจำนวนคนที่เข้ามาย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อประมาณการความหนาแน่นของนักท่องเที่ยว บริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม และร่วมกับ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) ใช้เอไอนับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ฟรี Smart Bus EV เพื่อจัดตารางเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ล่าสุด มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน จัดซื้อเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ โดยนำขยะเศษอาหารและไขมันจากถังดักไขมันในชุมชนมาแปลงให้เป็นก๊าซชีวภาพ คิดเป็นกระแสไฟฟ้าได้ 33.75 กิโลวัตต์ และน้ำหมักใช้กับต้นไม้ พืชผลทางการเกษตรวันละ 500 ลิตร ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่นำไปฝังกลบซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทน หรือนำเข้าสู่เตาเผาขยะที่ย่านสะพานหิน ทำให้เตาเผาขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาเชื่อมโยงเพื่อวางแนวทางลดปริมาณคาร์บอนต่อไป

#Newskit
บิ๊กดาต้า-เอไอ ขับเคลื่อนเมืองเก่าภูเก็ต ปัจจุบันมีหน่วยงานขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ที่ชื่อว่า "สถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ (องค์การมหาชน)" หรือบีดีไอ (BDI) หน่วยงานในกำกับของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มคนสายเทคโนโลยี 80% ที่มีเป้าหมายขับเคลื่อนประเทศด้วยข้อมูล แม้จะเป็นหน่วยงานใหม่ที่ก่อตั้งไม่นาน แต่ก็ได้มีความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชนเชื่อมโยงและส่งเสริมข้อมูล โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ต ที่ภาคเอกชนและภาครัฐเข้มแข็ง ที่ผ่านมาบีดีไอพัฒนา 3 แพลตฟอร์ม ใช้ภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่อง ได้แก่ แพลตฟอร์มบริการข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Envi Link) แพลตฟอร์มข้อมูลอัจฉริยะด้านท่องเที่ยวแห่งชาติ (Travel Link) และแพลตฟอร์มข้อมูลเมืองอัจฉริยะ (City Data Platform) โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อขับเคลื่อนจังหวัดภูเก็ตอย่างมีทิศทาง และประยุกต์ใช้แก่จังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยได้แถลงทิศทางการดำเนินงานและความร่วมมือไปเมื่อวันก่อน แพลตฟอร์ม Envi Link ได้นำมาใช้กับโครงการของมูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน ภายใต้ชื่อ “Phuket Old Town Carbon Neutrality 2030” เพื่อผลักดันย่านเมืองเก่าภูเก็ต ให้ก้าวสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี 2573 โดยตั้งเป้าลดปริมาณคาร์บอน 30% ภายใน 3 ปี ที่ผ่านมาได้จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ และประมวลผลกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งผลสำคัญของคาร์บอนฟุตพรินท์ ทั้งไฟฟ้า ประปา ขยะ และเชื้อเพลิง พร้อมกันนี้ บีดีไอยังได้นำเทคโนโลยีเอไอมาใช้กับกล้องซีซีทีวีในการประมาณการต่างๆ เช่น การใช้เอไอนับจำนวนรถและคัดแยกประเภทรถ ประเภทเชื้อเพลิง ก่อนคำนวณเป็นคาร์บอนฟุตพรินท์ การใช้เอไอนับจำนวนคนที่เข้ามาย่านเมืองเก่าภูเก็ต เพื่อประมาณการความหนาแน่นของนักท่องเที่ยว บริหารจัดการพื้นที่อย่างเหมาะสม และร่วมกับ บริษัท ภูเก็ตพัฒนาเมือง จำกัด (PKCD) ใช้เอไอนับจำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการรถเมล์ฟรี Smart Bus EV เพื่อจัดตารางเดินรถให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ล่าสุด มูลนิธิพัฒนาการท่องเที่ยวยั่งยืน จัดซื้อเครื่องย่อยขยะอินทรีย์ โดยนำขยะเศษอาหารและไขมันจากถังดักไขมันในชุมชนมาแปลงให้เป็นก๊าซชีวภาพ คิดเป็นกระแสไฟฟ้าได้ 33.75 กิโลวัตต์ และน้ำหมักใช้กับต้นไม้ พืชผลทางการเกษตรวันละ 500 ลิตร ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์ที่นำไปฝังกลบซึ่งก่อให้เกิดก๊าซมีเทน หรือนำเข้าสู่เตาเผาขยะที่ย่านสะพานหิน ทำให้เตาเผาขยะมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้จะนำมาเชื่อมโยงเพื่อวางแนวทางลดปริมาณคาร์บอนต่อไป #Newskit
Like
1
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 628 มุมมอง 0 รีวิว