นักวิทยาการคอมพิวเตอร์รู้จักแนวคิดนี้ในชื่อ “ปัญหานายพล ไบแซนไทน์” (Byzantine generals problem) ลองนึกภาพนายพลสองคนที่อยู่คนละฝั่งของหุบเขาและในหุบเขานั้นมีศัตรูของพวกเขาอยู่ ทั้งสองพยายามประสานการโจมตี พวกเขาจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อจู่โจมในเวลาเดียวกันเป๊ะเท่านั้น การบุกเข้าไปคนเดียวคือการฆ่าตัวตายที่แย่ไปกว่านั้นข้อความใด ๆ จากนายพลคนหนึ่งจะไปถึงอีกคนได้โดยการส่งกับมือผ่านภูมิประเทศที่มีศัตรูอยู่ ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสที่ข้อมูลนั้นๆอาจไปไม่ถึงจุดหมาย นายพลคนแรกจะกำหนดเวลาจู่โจมแต่ไม่กล้าลงมือจนกว่าเขาจะรู้ว่าสหายของเขากำลังเคลื่อนไหวด้วย นายพลคนที่สองได้รับคำสั่งและส่งข้อความกลับไปเพื่อยืนยันแต่ก็ไม่กล้าโจมตีจนกว่าจะรู้ว่านายพลคนแรกได้รับข้อความยืนยันแล้ว(เพราะไม่อย่างนั้นนายพลคนแรกก็จะไม่ขยับ) นายพลคนแรกรับข้อความยืนยันแต่ก็ยังไม่จู่โจมจนกว่าเขาจะแน่ใจว่านายพลคนที่สองรู้ว่าเขาได้รับข้อความแล้ว ถ้าใช้ตรรกะนี้ก็จำเป็นต้องสื่อสารตอบโต้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น การสื่อสารเป็นเรื่องของการใช้งานจริงเท่านั้นการใช้ทฤษฎีไม่ช่วยอะไร

จากหนังสือ Algorithms to live by
นักวิทยาการคอมพิวเตอร์รู้จักแนวคิดนี้ในชื่อ “ปัญหานายพล ไบแซนไทน์” (Byzantine generals problem) ลองนึกภาพนายพลสองคนที่อยู่คนละฝั่งของหุบเขาและในหุบเขานั้นมีศัตรูของพวกเขาอยู่ ทั้งสองพยายามประสานการโจมตี พวกเขาจะประสบความสำเร็จก็ต่อเมื่อจู่โจมในเวลาเดียวกันเป๊ะเท่านั้น การบุกเข้าไปคนเดียวคือการฆ่าตัวตายที่แย่ไปกว่านั้นข้อความใด ๆ จากนายพลคนหนึ่งจะไปถึงอีกคนได้โดยการส่งกับมือผ่านภูมิประเทศที่มีศัตรูอยู่ ซึ่งหมายความว่ามีโอกาสที่ข้อมูลนั้นๆอาจไปไม่ถึงจุดหมาย นายพลคนแรกจะกำหนดเวลาจู่โจมแต่ไม่กล้าลงมือจนกว่าเขาจะรู้ว่าสหายของเขากำลังเคลื่อนไหวด้วย นายพลคนที่สองได้รับคำสั่งและส่งข้อความกลับไปเพื่อยืนยันแต่ก็ไม่กล้าโจมตีจนกว่าจะรู้ว่านายพลคนแรกได้รับข้อความยืนยันแล้ว(เพราะไม่อย่างนั้นนายพลคนแรกก็จะไม่ขยับ) นายพลคนแรกรับข้อความยืนยันแต่ก็ยังไม่จู่โจมจนกว่าเขาจะแน่ใจว่านายพลคนที่สองรู้ว่าเขาได้รับข้อความแล้ว ถ้าใช้ตรรกะนี้ก็จำเป็นต้องสื่อสารตอบโต้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดและเราไม่ต้องการให้เป็นแบบนั้น การสื่อสารเป็นเรื่องของการใช้งานจริงเท่านั้นการใช้ทฤษฎีไม่ช่วยอะไร จากหนังสือ Algorithms to live by
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 18 มุมมอง 0 รีวิว