ดรามา Car Free Day กทม.ออกมาแถลงผลทดลองละเลงกิจกรรมที่บรรทัดทอง ประชุมสรุปแล้วนำผลลัพธ์ไปต่อยอดพัฒนาย่านอื่นต่อไป ท่ามกลางเสียงสะท้อนปัญหาผลกระทบต่อชุมชนหลังจบงาน
26 กันยายน 2567 -นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขาฯ ผู้ว่าฯ กทม. และโฆษก กทม. ได้เปิดเผยถึงการจัดการจราจร Car Free Day บรรทัดทองที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายนนี้ว่า ตามที่สังคมตั้งข้อสังเกตหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือเรื่องงบประมาณว่า กิจกรรมดังกล่าวสำเร็จได้ เพราะความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน เป็นต้น โดย กทม. เป็นเพียงแกนกลางประสานสนับสนุนเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ โดยไม่ได้ใช้งบจัดกิจกรรมแม้แต่บาทเดียว รวมถึงสีก็ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน ไม่ใช่สีทาถนน เพราะตั้งใจให้ล้างออกง่าย เพื่อคืนสภาพถนนที่สมบูรณ์ให้ประชาชนใช้งานตามปกติ ย้ำไม่ได้ลาดยางมะตอยทับ แต่จุดใดที่ควรซ่อมแซมก็จะดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
โฆษก กทม. กล่าวต่อว่า การทาสีถนนเป็นการทดลองลดขนาดถนน (Street Diet) และการเดินข้ามถนนทแยงมุม เป็นการทดลองโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมการดำเนินนโยบายเพื่อเมืองอย่างยั่งยืน เป้าหมายระยะสั้นคือ การทดลองทำถนนคนเดิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Bangkok Car Free 2024 ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดระเบียบทางเท้าและร้านค้า สร้างกิจกรรมนันทนาการ
ขณะที่เพจ หวังสร้างเมืองก็ได้ลงสรุปปัญหาไว้ว่า
“การทดลอง Car Free ที่บรรทัดทองจบแล้วครับ แต่ผลลัพธ์จะถูกนำไปพัฒนาย่านอย่างถาวรกันต่อ ทีมกำลังสรุปผลทั้งแบบสอบถาม พูดคุยกับร้านค้า ผู้อยู่อาศัย และจะมีการประชุมสรุปผลสัปดาห์นี้เพื่อต่อยอดการพัฒนาย่านต่อไปครับ นอกจากเสียงตอบรับที่มีผู้มาร่วมงานมากมายแล้ว ผมอยากทดปัญหาเบื้องต้นเอาไว้ด้วยในนี้ครับ ว่าเราเห็นปัญหาอะไรบ้างหากต้องทำต่อเนื่องที่นี่ และขยายผลไปเขตอื่นๆ
1. ผลกระทบกับคนอยู่อาศัย
ถึงแม้การปิดถนนจะทำให้เดินอย่างปลอดภัยมากขึ้นก็จริง แต่ผู้อยู่อาศัยในละแวกที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านและจำเป็นต้องใช้รถยนต์ก็ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กัน การปิดถนนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เลย สร้างความลำบากให้ผู้อยู่อาศัยไม่น้อย และเสียงจากดนตรีและความสนุกเกินไปของย่าน ที่อาจรบกวนผู้อยู่อาศัย หากมีการทำต่อเนื่องน่าจะต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น
2. ปริมาณคนมาด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น
การจัดการขยะของร้านค้าทุกร้าน เช่น ให้แยกขยะเศษอาหาร การเข้าร่วมโครงการไม่เทรวม การคัดแยกขยะต้นทางร่วมกับทางจุฬาฯ
3. การจัดระเบียบร้านค้า การปรับปรุงทางเท้า และการนำสายไฟลงดิน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเสียงเรื่องการทาสี มีความกังวลเรื่องสีผิดประเภทที่อาจทำให้รถยนต์ลื่น สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เราได้ข้อมูลแนะนำจากช่างเชี่ยวชาญของบริษัทผู้สนับสนุน เลยอยากขอใช้พื้นที่นี้ชี้แจงด้วยครับ
1. สีที่ทาไม่เหมาะกับการเป็นสีทาผิวถนน และเป็นสีทนทาน 10 ปี ล้างไม่ออก
เป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ เพราะจุดประสงค์ของการทาสีคือการทดลองลดเลนถนน (Street Diet) และการเดินข้ามถนนแทยงมุมในเวลากลางวัน พอหมดงานทีมก็ตั้งใจจะล้างออกทั้งหมด สีที่ใช้จึงเป็นสีที่จะไม่อยู่คงทนตลอด เราได้ขอคำปรึกษากับช่างเทคนิคของบริษัทผู้บริจาค และเลือกสีชนิดนี้ก่อนมาใช้ ด้วยเป็นสีทาอาคารไม่ใช่สีทาถนน สีฯ ดังกล่าว มีลักษณะการปกป้องพื้นผิว ประเภทอาคาร มีฟิล์มที่บางกว่า สีจราจร อย่างมาก ไม่ทนต่อแรงเสียดทาน ในการบดอัดของล้อยานพาหนะ ที่จะเสื่อมสภาพ ผิวฟิล์มหลุดล่อนได้ง่าย และ ไม่ทนต่อความชื้นของพื้นผิวถนน ที่จะเสื่อมสภาพในเวลาอันรวดเร็ว และทางทีมได้ล้างออกทั้งหมดในวันจันทร์แล้วครับ
2. กรณีสีมีพิษ จากข้อมูลของบริษัทผู้บริจาค สีชนิดนี้เมื่อแห้งจะเป็นแผ่นฟิล์มและจะถูกกรองได้ ไม่ละลายลงแหล่งน้ำ และสีได้รับมาตรฐานที่ได้รับฉลากเขียวจาก สมอ. แต่อย่างไรจะขอนำความคิดเห็นนี้ไปพัฒนาต่อ และจะระวังไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ครับ
3. เป็นการผลาญงบประมาณ
งานนี้เกิดจากความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ได้ใช้เงินจากภาครัฐเลยครับ สีที่ทา เราได้รับสีบริจาคจากบริษัทเอกชน และทั้งงานเป็นความร่วมมือภาคประชาสังคมหลายภาคมาก กทม.เป็นเพียงส่วนหนึ่ง รับหน้าที่ดูแลหลังงาน ใช้อุปกรณ์ที่มี เจ้าหน้าที่รักษาฯ และได้ทำการล้างถนนไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแล้วครับ ต้องขอบคุณพี่ๆข้าราชการที่ช่วยกันด้วยครับ
อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอน้อมรับทุกความเห็นไปปรับปรุง อยากย้ำวัตถุประสงค์หลักของงานที่เลือกที่นี่ คือ “การพัฒนาย่านบรรทัดทองระยะยาว” ไม่ใช่เพียงการจัดงานนี้ครั้งเดียวแล้วผ่านไปครับ เราจะมีการประชุมสรุปผลสัปดาห์นี้ร่วมกับจุฬาฯ และจะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง จะทาสีทางข้ามถาวรเลยหรือไม่ จะทำการลดเลนถนน (Street Diet) บ้างไหม หรือจะเป็นการปิดถนนบางเวลาเพื่อทำถนนคนเดิน
ขอน้อมรับทุกความผิดพลาดและทุกอย่างไปปรับปรุงครับ หากใครมีความเห็นอย่างไรก็พิมพ์แจ้งไว้ได้เลยครับ
ปล. รูปนี้คือภาพเมื่อเช้าหลังจากทีมงานล้างออกตั้งแต่เมื่อวานครับ
ปล2. เพิ่มเติมที่มีคนถามเรื่องทายางมะตอยทับ เราเพียงล้างออกเท่านั้นครับ ไม่มีการเทยางมะตอยทับแต่อย่างใด พื้นถนนหลายจุดมีความชำรุดอยู่เดิมก็จะใช้โอกาสหลังจากนี้ซ่อมแซมด้วยครับ”
ที่มา
https://www.facebook.com/100086260703100/posts/pfbid02bHbrNVyqnsKQtz6bf2aStu9eR5MmkCGd3XcxMo4gtc4LZ4NR4G8TtshXa2XyMS7Ql/? #Thaitimes ดรามา Car Free Day กทม.ออกมาแถลงผลทดลองละเลงกิจกรรมที่บรรทัดทอง ประชุมสรุปแล้วนำผลลัพธ์ไปต่อยอดพัฒนาย่านอื่นต่อไป ท่ามกลางเสียงสะท้อนปัญหาผลกระทบต่อชุมชนหลังจบงาน
26 กันยายน 2567 -นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขาฯ ผู้ว่าฯ กทม. และโฆษก กทม. ได้เปิดเผยถึงการจัดการจราจร Car Free Day บรรทัดทองที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 22 กันยายนนี้ว่า ตามที่สังคมตั้งข้อสังเกตหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือเรื่องงบประมาณว่า กิจกรรมดังกล่าวสำเร็จได้ เพราะความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ทั้งรัฐ เอกชน ประชาชน เป็นต้น โดย กทม. เป็นเพียงแกนกลางประสานสนับสนุนเจ้าหน้าที่และอุปกรณ์ โดยไม่ได้ใช้งบจัดกิจกรรมแม้แต่บาทเดียว รวมถึงสีก็ได้รับการสนับสนุนจากเอกชน ไม่ใช่สีทาถนน เพราะตั้งใจให้ล้างออกง่าย เพื่อคืนสภาพถนนที่สมบูรณ์ให้ประชาชนใช้งานตามปกติ ย้ำไม่ได้ลาดยางมะตอยทับ แต่จุดใดที่ควรซ่อมแซมก็จะดำเนินการซ่อมแซมต่อไป
โฆษก กทม. กล่าวต่อว่า การทาสีถนนเป็นการทดลองลดขนาดถนน (Street Diet) และการเดินข้ามถนนทแยงมุม เป็นการทดลองโดยผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้าร่วมการดำเนินนโยบายเพื่อเมืองอย่างยั่งยืน เป้าหมายระยะสั้นคือ การทดลองทำถนนคนเดิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม Bangkok Car Free 2024 ทั้งยังกระตุ้นเศรษฐกิจ จัดระเบียบทางเท้าและร้านค้า สร้างกิจกรรมนันทนาการ
ขณะที่เพจ หวังสร้างเมืองก็ได้ลงสรุปปัญหาไว้ว่า
“การทดลอง Car Free ที่บรรทัดทองจบแล้วครับ แต่ผลลัพธ์จะถูกนำไปพัฒนาย่านอย่างถาวรกันต่อ ทีมกำลังสรุปผลทั้งแบบสอบถาม พูดคุยกับร้านค้า ผู้อยู่อาศัย และจะมีการประชุมสรุปผลสัปดาห์นี้เพื่อต่อยอดการพัฒนาย่านต่อไปครับ นอกจากเสียงตอบรับที่มีผู้มาร่วมงานมากมายแล้ว ผมอยากทดปัญหาเบื้องต้นเอาไว้ด้วยในนี้ครับ ว่าเราเห็นปัญหาอะไรบ้างหากต้องทำต่อเนื่องที่นี่ และขยายผลไปเขตอื่นๆ
1. ผลกระทบกับคนอยู่อาศัย
ถึงแม้การปิดถนนจะทำให้เดินอย่างปลอดภัยมากขึ้นก็จริง แต่ผู้อยู่อาศัยในละแวกที่มีผู้สูงอายุอยู่ที่บ้านและจำเป็นต้องใช้รถยนต์ก็ได้รับผลกระทบมากไม่แพ้กัน การปิดถนนแบบร้อยเปอร์เซ็นต์เลย สร้างความลำบากให้ผู้อยู่อาศัยไม่น้อย และเสียงจากดนตรีและความสนุกเกินไปของย่าน ที่อาจรบกวนผู้อยู่อาศัย หากมีการทำต่อเนื่องน่าจะต้องคิดให้ละเอียดถี่ถ้วนมากขึ้น
2. ปริมาณคนมาด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้น
การจัดการขยะของร้านค้าทุกร้าน เช่น ให้แยกขยะเศษอาหาร การเข้าร่วมโครงการไม่เทรวม การคัดแยกขยะต้นทางร่วมกับทางจุฬาฯ
3. การจัดระเบียบร้านค้า การปรับปรุงทางเท้า และการนำสายไฟลงดิน ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีเสียงเรื่องการทาสี มีความกังวลเรื่องสีผิดประเภทที่อาจทำให้รถยนต์ลื่น สร้างมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เราได้ข้อมูลแนะนำจากช่างเชี่ยวชาญของบริษัทผู้สนับสนุน เลยอยากขอใช้พื้นที่นี้ชี้แจงด้วยครับ
1. สีที่ทาไม่เหมาะกับการเป็นสีทาผิวถนน และเป็นสีทนทาน 10 ปี ล้างไม่ออก
เป็นข้อมูลที่ถูกต้องครับ เพราะจุดประสงค์ของการทาสีคือการทดลองลดเลนถนน (Street Diet) และการเดินข้ามถนนแทยงมุมในเวลากลางวัน พอหมดงานทีมก็ตั้งใจจะล้างออกทั้งหมด สีที่ใช้จึงเป็นสีที่จะไม่อยู่คงทนตลอด เราได้ขอคำปรึกษากับช่างเทคนิคของบริษัทผู้บริจาค และเลือกสีชนิดนี้ก่อนมาใช้ ด้วยเป็นสีทาอาคารไม่ใช่สีทาถนน สีฯ ดังกล่าว มีลักษณะการปกป้องพื้นผิว ประเภทอาคาร มีฟิล์มที่บางกว่า สีจราจร อย่างมาก ไม่ทนต่อแรงเสียดทาน ในการบดอัดของล้อยานพาหนะ ที่จะเสื่อมสภาพ ผิวฟิล์มหลุดล่อนได้ง่าย และ ไม่ทนต่อความชื้นของพื้นผิวถนน ที่จะเสื่อมสภาพในเวลาอันรวดเร็ว และทางทีมได้ล้างออกทั้งหมดในวันจันทร์แล้วครับ
2. กรณีสีมีพิษ จากข้อมูลของบริษัทผู้บริจาค สีชนิดนี้เมื่อแห้งจะเป็นแผ่นฟิล์มและจะถูกกรองได้ ไม่ละลายลงแหล่งน้ำ และสีได้รับมาตรฐานที่ได้รับฉลากเขียวจาก สมอ. แต่อย่างไรจะขอนำความคิดเห็นนี้ไปพัฒนาต่อ และจะระวังไม่ให้กระทบกับสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้ครับ
3. เป็นการผลาญงบประมาณ
งานนี้เกิดจากความร่วมมือจากหลายภาคส่วน ไม่ได้ใช้เงินจากภาครัฐเลยครับ สีที่ทา เราได้รับสีบริจาคจากบริษัทเอกชน และทั้งงานเป็นความร่วมมือภาคประชาสังคมหลายภาคมาก กทม.เป็นเพียงส่วนหนึ่ง รับหน้าที่ดูแลหลังงาน ใช้อุปกรณ์ที่มี เจ้าหน้าที่รักษาฯ และได้ทำการล้างถนนไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาแล้วครับ ต้องขอบคุณพี่ๆข้าราชการที่ช่วยกันด้วยครับ
อย่างไรก็ตาม ผมต้องขอน้อมรับทุกความเห็นไปปรับปรุง อยากย้ำวัตถุประสงค์หลักของงานที่เลือกที่นี่ คือ “การพัฒนาย่านบรรทัดทองระยะยาว” ไม่ใช่เพียงการจัดงานนี้ครั้งเดียวแล้วผ่านไปครับ เราจะมีการประชุมสรุปผลสัปดาห์นี้ร่วมกับจุฬาฯ และจะนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง จะทาสีทางข้ามถาวรเลยหรือไม่ จะทำการลดเลนถนน (Street Diet) บ้างไหม หรือจะเป็นการปิดถนนบางเวลาเพื่อทำถนนคนเดิน
ขอน้อมรับทุกความผิดพลาดและทุกอย่างไปปรับปรุงครับ หากใครมีความเห็นอย่างไรก็พิมพ์แจ้งไว้ได้เลยครับ
ปล. รูปนี้คือภาพเมื่อเช้าหลังจากทีมงานล้างออกตั้งแต่เมื่อวานครับ
ปล2. เพิ่มเติมที่มีคนถามเรื่องทายางมะตอยทับ เราเพียงล้างออกเท่านั้นครับ ไม่มีการเทยางมะตอยทับแต่อย่างใด พื้นถนนหลายจุดมีความชำรุดอยู่เดิมก็จะใช้โอกาสหลังจากนี้ซ่อมแซมด้วยครับ”
ที่มา https://www.facebook.com/100086260703100/posts/pfbid02bHbrNVyqnsKQtz6bf2aStu9eR5MmkCGd3XcxMo4gtc4LZ4NR4G8TtshXa2XyMS7Ql/?
#Thaitimes