• ใจอริยา (聖人心)

    ใจแห่งพระอริยเจ้าจะนิจครองมั่นในสุญตา ตราบแม้ฟ้าดินพังทลายอยู่ตรงหน้า ใจแห่งพระอริยเจ้าก็จะยังคงนิ่งสงบอยู่เช่นนั้น หรือต่อแม้สัปตรัตนะดารดาษทั่วดินฟ้า ใจของพระอริยเจ้าก็จะยังคงเป็นอยู่เช่นนั้น

    แม้นใจแห่งพระอริยเจ้าจะดำรงมั่นในสุญตาอย่างหนักแน่น จนเสมือนว่าเป็นก้อนดินหินกรวดที่ไร้ชีวิตจิตใจก็จริง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่

    ดังเหลาจื่อที่กล่าวว่า “เต๋านั้นนิจอกรรม หากแต่ไม่มีสิ่งที่ไม่กระทำ” ดังนั้นแม้นเต๋าจะว่างเปล่า หากแต่เต๋าก็สร้างสรรค์สรรพสิ่งนานา แม้นนภากาศจะว่างเปล่า แต่นภากาศก็โอบอุ้มสุริยันจันทรา แม้นแผ่นดินจะว่างเปล่า แต่แผ่นดินก็แบกรับภูผาธารา แม้นแก้วน้ำจะว่างเปล่า แต่แก้วน้ำก็ยังทำหน้าที่บรรจุสิ่งของโดยไม่เคยอิดเอื้อน

    สิ่งเหล่านี้เป็นฉันใด ใจอันว่างเปล่าแห่งพระอริยเจ้าก็เป็นฉันนั้น

    ใจอริยา (聖人心) ใจแห่งพระอริยเจ้าจะนิจครองมั่นในสุญตา ตราบแม้ฟ้าดินพังทลายอยู่ตรงหน้า ใจแห่งพระอริยเจ้าก็จะยังคงนิ่งสงบอยู่เช่นนั้น หรือต่อแม้สัปตรัตนะดารดาษทั่วดินฟ้า ใจของพระอริยเจ้าก็จะยังคงเป็นอยู่เช่นนั้น แม้นใจแห่งพระอริยเจ้าจะดำรงมั่นในสุญตาอย่างหนักแน่น จนเสมือนว่าเป็นก้อนดินหินกรวดที่ไร้ชีวิตจิตใจก็จริง แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ดังเหลาจื่อที่กล่าวว่า “เต๋านั้นนิจอกรรม หากแต่ไม่มีสิ่งที่ไม่กระทำ” ดังนั้นแม้นเต๋าจะว่างเปล่า หากแต่เต๋าก็สร้างสรรค์สรรพสิ่งนานา แม้นนภากาศจะว่างเปล่า แต่นภากาศก็โอบอุ้มสุริยันจันทรา แม้นแผ่นดินจะว่างเปล่า แต่แผ่นดินก็แบกรับภูผาธารา แม้นแก้วน้ำจะว่างเปล่า แต่แก้วน้ำก็ยังทำหน้าที่บรรจุสิ่งของโดยไม่เคยอิดเอื้อน สิ่งเหล่านี้เป็นฉันใด ใจอันว่างเปล่าแห่งพระอริยเจ้าก็เป็นฉันนั้น
    0 Comments 0 Shares 77 Views 0 Reviews
  • 憶江南
    คิดถึงเจียงหนัน
    白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲
    ป๋ายจวีอี้
    ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน
    ทำนอง : หลิวจั๋ว
    แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน

    江南好 風景舊曾諳
    เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ
    日出江花紅勝火 春來江水綠如藍
    จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล
    能不憶江南
    ไม่คิดถึงได้ไย
    最悠閒系舟古渡口
    สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า
    最灑脫騎鶴下揚州
    สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว
    人若問江南何所有
    หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม
    小橋流水船家櫓聲幽幽
    สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา
    江南憶 最憶是杭州
    คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว
    山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭
    วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม
    何日更重遊
    วันใดได้เยือนโฉม
    最得意是畫舫載酒
    สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา
    最傷懷是獨上層樓
    ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย
    你問我為何事勾留
    หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย
    湖光山色微雨一船菱藕
    ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย
    江南憶 其次憶吳宮
    คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋
    吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉
    หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่
    早晚復相逢
    เช้าค่ำพบโฉมตรู
    最流連是秉燭夜遊
    สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี
    最銷魂她眼波含秋
    หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม
    別夢中似風景依舊
    แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม
    花橋水閣月照半城煙柳
    เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย

    https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    憶江南 คิดถึงเจียงหนัน 白居易、辛曉娟作詞,劉卓作曲,沈忱編曲 ป๋ายจวีอี้ ปรับเนื้อร้อง : ซินเสี่ยวเจวียน ทำนอง : หลิวจั๋ว แต่งทำนอง : เสิ่นเฉิน 江南好 風景舊曾諳 เจียงหนันงาม งดงามภาพทรงจำ 日出江花紅勝火 春來江水綠如藍 จาวน้ำยามเช้าแดงยิ่งไฟ วสันต์ธารใสดุจครามไหล 能不憶江南 ไม่คิดถึงได้ไย 最悠閒系舟古渡口 สุดสำราญผูกเรือเทียบท่าเก่า 最灑脫騎鶴下揚州 สุดเริงเร้าลอยล่องลงหยางโจว 人若問江南何所有 หากใครถามเจียงหนันไยเฉิดโฉม 小橋流水船家櫓聲幽幽 สะพานธารใสชาวเรือเสียงพายเบาเบา 江南憶 最憶是杭州 คิดเจียงหนัน มากสุดคือหังโจว 山寺月中尋桂子 郡亭枕上看潮頭 วัดดอยจันทร์ลอยหมื่นลี้หอม ขึ้นจวนหนุนหมอนชมคลื่นโหม 何日更重遊 วันใดได้เยือนโฉม 最得意是畫舫載酒 สุดวิลาสเรือศิลป์ปิ่นสุรา 最傷懷是獨上層樓 ทุกข์อุราเอกาขึ้นหอคอย 你問我為何事勾留 หากเธอถามเรื่องใดเหนี่ยวใจลอย 湖光山色微雨一船菱藕 ผิวธารบรรพตฝนโปรยดารณีน้อย 江南憶 其次憶吳宮 คิดเจียงหนัน ยิ่งนึกถึงวังอู๋ 吳酒一杯春竹葉 吳娃雙舞醉芙蓉 หนึ่งจอกไผ่เขียวสุราอู๋ รำร่ายพริ้มพรายสุดาคู่ 早晚復相逢 เช้าค่ำพบโฉมตรู 最流連是秉燭夜遊 สุดคะนึงถือเทียนท่องราตรี 最銷魂她眼波含秋 หลุดฤดีแววตาเธอหยาดเยิ้ม 別夢中似風景依舊 แม้หลับฝันยังซึ้งทรวงดังเดิม 花橋水閣月照半城煙柳 เรือนน้ำสะพานจันทร์ฉายเมืองหมอกหลิวพราย https://youtu.be/WUUYAumzvvE?si=YmOgjxHlcZek-85P
    0 Comments 0 Shares 94 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 49 Views 0 Reviews
  • ผู้ทรงปัญญาไม่พูด (知者不言)

    เหตุใดเหลาจื่อจึงกล่าวว่า "ผู้ทรงปัญญาไม่พูด"

    เพราะ...

    ถังน้ำที่กลวงเปล่า ย่อมจะเคาะส่งเสียงดังกังวานกว่าถังน้ำที่มีน้ำเต็มเป็นฉันใด

    อันผู้ไร้ปัญญา ก็ย่อมจะชอบพูดจาโอ้อวดมากกว่าผู้ทรงปัญญา ฉันนั้น
    ผู้ทรงปัญญาไม่พูด (知者不言) เหตุใดเหลาจื่อจึงกล่าวว่า "ผู้ทรงปัญญาไม่พูด" เพราะ... ถังน้ำที่กลวงเปล่า ย่อมจะเคาะส่งเสียงดังกังวานกว่าถังน้ำที่มีน้ำเต็มเป็นฉันใด อันผู้ไร้ปัญญา ก็ย่อมจะชอบพูดจาโอ้อวดมากกว่าผู้ทรงปัญญา ฉันนั้น
    0 Comments 0 Shares 48 Views 0 Reviews
  • บทละครนี้ ใครยัดเยียดให้
    #ปกป้องภัยเท่าจำเป็น
    บทละครนี้ ใครยัดเยียดให้ #ปกป้องภัยเท่าจำเป็น
    0 Comments 0 Shares 239 Views 1 0 Reviews
  • จีน copy + delvelopment ...ต่อยอดไปได้ไกลกว่า ต้นฉบับอีก .. (บางอย่าง) ....หันมาดูแถวนี้...ลอกอย่างเดียว...และไม่ดูด้วยว่า คนที่ลอกเขานั้น ..ของจริง หรือเปล่า? แต่เชื่อหมดใจ..และถ่ายทอดส่งต่อสู่ผู้อื่น ถ้าคุณอ่านหลักคิดของคนรวยทั่วโลก จะมีวิธีนี้เป็นหลักเลย คือ หาช่องว่าง และทำให้ดีกว่าเดิม...มันง่ายกว่าการ สร้างสรรค์าิ่งใหม่เสียอีก....
    จีน copy + delvelopment ...ต่อยอดไปได้ไกลกว่า ต้นฉบับอีก .. (บางอย่าง) ....หันมาดูแถวนี้...ลอกอย่างเดียว...และไม่ดูด้วยว่า คนที่ลอกเขานั้น ..ของจริง หรือเปล่า? แต่เชื่อหมดใจ..และถ่ายทอดส่งต่อสู่ผู้อื่น ถ้าคุณอ่านหลักคิดของคนรวยทั่วโลก จะมีวิธีนี้เป็นหลักเลย คือ หาช่องว่าง และทำให้ดีกว่าเดิม...มันง่ายกว่าการ สร้างสรรค์าิ่งใหม่เสียอีก....
    0 Comments 0 Shares 86 Views 0 Reviews
  • 塵緣
    โลกมายา
    作詞:娃娃
    作曲:徐日勤
    ทำนอง : หวาวา
    เนื้อร้อง : สวียื่อฉวิน

    塵緣如夢 幾番起伏總不平
    โลกดุจความฝัน ผันผวนปรวนแปรแต่ไหนมา
    到如今都成煙雲
    บัดนี้เป็นเพียงหมอกเมฆา
    情也成空 宛如揮手袖底風
    รักหายลับตา ดุจลมมือโบกปัดไปมา
    幽幽一縷香 飄在深深舊夢中
    หอมหวนสุคนธา ลอยสู่ฝันเก่าแต่นานมา
    繁花落盡 一身憔悴在風裡
    มาลีร่วงลา เหนื่อยล้ากลางสายลมเอกา
    回頭時無晴也無雨
    เหลียวมองไปไร้สุขไร้โศกา
    明月小樓 孤獨無人訴情衷
    เรือนใต้จันทรา ไร้คนฟังคำเปลี่ยวเหว่ว้า
    人間有我殘夢未醒
    มีเพียงฉันไม่ตื่นฝันมายา
    漫漫長路起伏不能由我
    ยาวไกลมรรคา ลุ่มดอนเกินแรงไขว่คว้า
    人海漂泊 嚐盡人情淡泊
    คลื่นคนลอยวน ลองสิ้นน้ำใจเฉยชา
    熱情熱心 換冷淡冷漠
    ไออุ่นกลับได้ ความเย็นชาแลกมา
    任多少深情獨向寂寞
    แม้รักเท่าไหร่ก็หันสู่เอกา
    人隨風過 自在花開花又落
    คนไหลตามลม ดุจมาลาบานแล้วโรยรา
    不管世間滄桑如何
    ช่างโลกที่ผกผันอนาถา
    一城風絮 滿腹相思都沉默
    ดอกหญ้าลอยมา แรงคนึงกลายเป็นเฉยชา
    只有桂花香暗飄過
    มีเพียงหมื่นลี้หอมพัดผ่านมา

    https://youtu.be/RsT5ZUzncg0?si=LHOndBqH59NysPUM


    cr. https://www.youtube.com/results?search_query=%E9%99%B3%E6%95%8F
    塵緣 โลกมายา 作詞:娃娃 作曲:徐日勤 ทำนอง : หวาวา เนื้อร้อง : สวียื่อฉวิน 塵緣如夢 幾番起伏總不平 โลกดุจความฝัน ผันผวนปรวนแปรแต่ไหนมา 到如今都成煙雲 บัดนี้เป็นเพียงหมอกเมฆา 情也成空 宛如揮手袖底風 รักหายลับตา ดุจลมมือโบกปัดไปมา 幽幽一縷香 飄在深深舊夢中 หอมหวนสุคนธา ลอยสู่ฝันเก่าแต่นานมา 繁花落盡 一身憔悴在風裡 มาลีร่วงลา เหนื่อยล้ากลางสายลมเอกา 回頭時無晴也無雨 เหลียวมองไปไร้สุขไร้โศกา 明月小樓 孤獨無人訴情衷 เรือนใต้จันทรา ไร้คนฟังคำเปลี่ยวเหว่ว้า 人間有我殘夢未醒 มีเพียงฉันไม่ตื่นฝันมายา 漫漫長路起伏不能由我 ยาวไกลมรรคา ลุ่มดอนเกินแรงไขว่คว้า 人海漂泊 嚐盡人情淡泊 คลื่นคนลอยวน ลองสิ้นน้ำใจเฉยชา 熱情熱心 換冷淡冷漠 ไออุ่นกลับได้ ความเย็นชาแลกมา 任多少深情獨向寂寞 แม้รักเท่าไหร่ก็หันสู่เอกา 人隨風過 自在花開花又落 คนไหลตามลม ดุจมาลาบานแล้วโรยรา 不管世間滄桑如何 ช่างโลกที่ผกผันอนาถา 一城風絮 滿腹相思都沉默 ดอกหญ้าลอยมา แรงคนึงกลายเป็นเฉยชา 只有桂花香暗飄過 มีเพียงหมื่นลี้หอมพัดผ่านมา https://youtu.be/RsT5ZUzncg0?si=LHOndBqH59NysPUM cr. https://www.youtube.com/results?search_query=%E9%99%B3%E6%95%8F
    0 Comments 0 Shares 105 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 44 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/UAvMe3hEiow?si=1SyqFfF-8l5KA_IQ
    https://youtu.be/UAvMe3hEiow?si=1SyqFfF-8l5KA_IQ
    0 Comments 0 Shares 45 Views 0 Reviews
  • ว่าด้วยความโลภ

    ท้องพระคลังแม้จะยิ่งใหญ่ สามารถจุทรัพย์ศฤงคารได้มากมาย แต่ก็ยังหาได้ใหญ่เท่ากระเพาะแห่งความอยากที่กัดกินสิ่งของลงไปอย่างไม่มีวันเต็มไม่

    หุบเหวแม้จะยิ่งใหญ่ สามารถบรรจุน้ำในสาครได้อย่างมากมาย แต่ความยิ่งใหญ่ของหุบเหวก็ยังหาเทียบได้กับความลึกแห่งความอยากของคนเราไม่

    โลกนี้แม้จะยิ่งใหญ่ สามารถจุสรรพสิ่งนานาได้มากมาย แต่ก็ยังหาได้ใหญ่เท่าจิตใจดวงน้อยที่มีความละโมบไม่รู้พอดวงนี้ไม่
    ว่าด้วยความโลภ ท้องพระคลังแม้จะยิ่งใหญ่ สามารถจุทรัพย์ศฤงคารได้มากมาย แต่ก็ยังหาได้ใหญ่เท่ากระเพาะแห่งความอยากที่กัดกินสิ่งของลงไปอย่างไม่มีวันเต็มไม่ หุบเหวแม้จะยิ่งใหญ่ สามารถบรรจุน้ำในสาครได้อย่างมากมาย แต่ความยิ่งใหญ่ของหุบเหวก็ยังหาเทียบได้กับความลึกแห่งความอยากของคนเราไม่ โลกนี้แม้จะยิ่งใหญ่ สามารถจุสรรพสิ่งนานาได้มากมาย แต่ก็ยังหาได้ใหญ่เท่าจิตใจดวงน้อยที่มีความละโมบไม่รู้พอดวงนี้ไม่
    0 Comments 0 Shares 74 Views 0 Reviews
  • ว่าด้วยชี่ (氣)

    ชี่มีความหมายที่หลากหลาย ขอสรุปสังเขปดังนี้ คือ
    ๑.ลม
    ๒.อารมณ์โกรธ
    ๓.พลัง แรง
    ๔.ลมปราณ
    ๕.บรรยากาศ
    ๖.เทวโลก

    และเราสามารถกำหนดคำนิยามชี่ ได้สามประการคือ

    ๑.แบ่งตามห้วงเวลาการกำเนิด
    ๑.๑ก่อนกำเนิด (先天)
    ๑.๒หลังกำเนิด (後天)

    ๒.แบ่งตามแหล่งกำเนิด
    ๒.๑เอวี๋ยนชี่ (元氣 ; พลังต้นกำเนิด)
    ๒.๒จงชี่ (宗氣)
    ๒.๓อิ๋งชี่ (營氣 ; พลังสารอาหาร)
    ๒.๔เว่ยชี่ (衛氣 ; พลังปกป้อง)

    ๓.แบ่งตามหน้าที่ เช่น
    ชี่หัวใจหรือพลังหัวใจ (心氣)
    ชี่ตับหรือพลังตับ (肝氣)
    ชี่ปอดหรือพลังปอด (肺氣)
    ชี่ม้ามหรือพลังม้าม (脾氣)
    ชี่เส้นลมปราณหรือพลังเส้นลมปราณ (經氣)
    และอื่นๆๆ

    และมีหน้าที่ดังนี้
    ๑.หน้าที่ในการผลักดัน (推動作用)
    ๒.หน้าที่ในการอบอุ่น (溫煦作用)
    ๓.หน้าที่ในการป้องกัน (防禦作用)
    ๔.หน้าที่ในการเหนี่ยวรัด (固攝作用)
    ๕.หน้าที่ในการแปรสภาพ (氣化作用)
    ๖.หน้าที่ในการหล่อเลี้ยง (營養作用)
    ว่าด้วยชี่ (氣) ชี่มีความหมายที่หลากหลาย ขอสรุปสังเขปดังนี้ คือ ๑.ลม ๒.อารมณ์โกรธ ๓.พลัง แรง ๔.ลมปราณ ๕.บรรยากาศ ๖.เทวโลก และเราสามารถกำหนดคำนิยามชี่ ได้สามประการคือ ๑.แบ่งตามห้วงเวลาการกำเนิด ๑.๑ก่อนกำเนิด (先天) ๑.๒หลังกำเนิด (後天) ๒.แบ่งตามแหล่งกำเนิด ๒.๑เอวี๋ยนชี่ (元氣 ; พลังต้นกำเนิด) ๒.๒จงชี่ (宗氣) ๒.๓อิ๋งชี่ (營氣 ; พลังสารอาหาร) ๒.๔เว่ยชี่ (衛氣 ; พลังปกป้อง) ๓.แบ่งตามหน้าที่ เช่น ชี่หัวใจหรือพลังหัวใจ (心氣) ชี่ตับหรือพลังตับ (肝氣) ชี่ปอดหรือพลังปอด (肺氣) ชี่ม้ามหรือพลังม้าม (脾氣) ชี่เส้นลมปราณหรือพลังเส้นลมปราณ (經氣) และอื่นๆๆ และมีหน้าที่ดังนี้ ๑.หน้าที่ในการผลักดัน (推動作用) ๒.หน้าที่ในการอบอุ่น (溫煦作用) ๓.หน้าที่ในการป้องกัน (防禦作用) ๔.หน้าที่ในการเหนี่ยวรัด (固攝作用) ๕.หน้าที่ในการแปรสภาพ (氣化作用) ๖.หน้าที่ในการหล่อเลี้ยง (營養作用)
    0 Comments 0 Shares 115 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 45 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/sm9eZFgB4fg
    https://youtu.be/sm9eZFgB4fg
    0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/iLYxTUSidGA
    https://youtu.be/iLYxTUSidGA
    0 Comments 0 Shares 67 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/iLG7KVfcJ3M
    https://youtu.be/iLG7KVfcJ3M
    0 Comments 0 Shares 52 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/On4RAEz84rk
    https://youtu.be/On4RAEz84rk
    0 Comments 0 Shares 54 Views 0 Reviews
  • ความดัน(ทุรัง)สูง
    มาช่า-หนุ่ย
    ความดัน(ทุรัง)สูง มาช่า-หนุ่ย
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 225 Views 6 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • จังหวัดลพบุรี ขอเชิญทุกท่าน
    เที่ยวงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 37
    ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 14-23 กุมภาพันธ์ 2568
    "นุ่งโจงห่มสไบ แต่งไทยทั้งเมือง"
    ในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี

    #งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
    #ลพบุรี #เมืองลิง #เที่ยวลพบุรี
    #shwsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #ถามสาวเมืองลิง
    จังหวัดลพบุรี ขอเชิญทุกท่าน เที่ยวงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ครั้งที่ 37 ประจำปี 2568 ระหว่างวันที่ 14-23 กุมภาพันธ์ 2568 "นุ่งโจงห่มสไบ แต่งไทยทั้งเมือง" ในงานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี #งานแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช #ลพบุรี #เมืองลิง #เที่ยวลพบุรี #shwsherryduck #ชอว์เชอร์รี่ดั๊ก #ถามสาวเมืองลิง
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 317 Views 10 0 Reviews
  • เคล็ดลับของคนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    เคล็ดลับของคนที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด
    0 Comments 0 Shares 69 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 51 Views 0 Reviews
  • เหลาจื่อกล่าวว่า "ความสงบยังใต้หล้าเที่ยง (清靜為天下正)"
    ความสงบยังใต้หล้าเที่ยงได้อย่างไร

    เพราะเบื้องหลังแห่งคมดาบอันแข็งแกร่ง ย่อมต้องมีสันดาบที่อ่อนนุ่มคอยประคองมิใช่หรือ
    หาไม่แล้ว คมดาบที่แข็งแกร่งย่อมหักสะบั้นในไม่ช้า

    เพราะเบื้องหลังแห่งเสียงกัมปนาทอันกึกก้อง ย่อมต้องมีความเงียบเป็นฉากหลังมิใช่หรือ
    หาไม่แล้ว เสียงกัมปนาทนี้มิอาจได้กังวาน

    เพราะเบื้องหลังแห่งศิลปะที่มีสีสันอันสวยสด ย่อมต้องมีความขาวเป็นพื้นหลังมิใช่หรือ
    หาไม่แล้ว สีสันแห่งงานศิลป์จะมิสามารถได้เฉิดฉาย

    เพราะเบื้องหลังแห่งปัญญาอันแหลมคม ย่อมต้องมีความว่างเปล่าคอยผลักดันมิใช่หรือ
    หาไม่แล้ว ปัญญาญาณจะไม่สามารถหลั่งไหลไม่ขาดสาย
    เหลาจื่อกล่าวว่า "ความสงบยังใต้หล้าเที่ยง (清靜為天下正)" ความสงบยังใต้หล้าเที่ยงได้อย่างไร เพราะเบื้องหลังแห่งคมดาบอันแข็งแกร่ง ย่อมต้องมีสันดาบที่อ่อนนุ่มคอยประคองมิใช่หรือ หาไม่แล้ว คมดาบที่แข็งแกร่งย่อมหักสะบั้นในไม่ช้า เพราะเบื้องหลังแห่งเสียงกัมปนาทอันกึกก้อง ย่อมต้องมีความเงียบเป็นฉากหลังมิใช่หรือ หาไม่แล้ว เสียงกัมปนาทนี้มิอาจได้กังวาน เพราะเบื้องหลังแห่งศิลปะที่มีสีสันอันสวยสด ย่อมต้องมีความขาวเป็นพื้นหลังมิใช่หรือ หาไม่แล้ว สีสันแห่งงานศิลป์จะมิสามารถได้เฉิดฉาย เพราะเบื้องหลังแห่งปัญญาอันแหลมคม ย่อมต้องมีความว่างเปล่าคอยผลักดันมิใช่หรือ หาไม่แล้ว ปัญญาญาณจะไม่สามารถหลั่งไหลไม่ขาดสาย
    0 Comments 0 Shares 99 Views 0 Reviews
  • https://youtu.be/c47MI5lGd9Q?si=MGgiQ-lXZsrsGNG1
    https://youtu.be/c47MI5lGd9Q?si=MGgiQ-lXZsrsGNG1
    0 Comments 0 Shares 76 Views 0 Reviews
  • 0 Comments 0 Shares 52 Views 0 Reviews
  • 77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา

    📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม

    หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้

    🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้

    📌 ภารกิจของหะยีสุหลง
    ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก
    ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา
    ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย

    แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย

    📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490
    ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้

    📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง
    1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง
    2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80%
    3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ
    4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา
    5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา
    6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น
    7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม

    💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ"

    ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ

    📅 เหตุการณ์สำคัญ
    16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี
    30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ

    หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม

    🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497
    หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา

    ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป...
    หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า

    เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ

    🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้

    📌 ผลกระทบที่สำคัญ
    ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย
    ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น
    ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา

    แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม

    📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎

    ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้
    ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์
    ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง
    ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ

    📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️

    ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568

    #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    77 ปี จับ “หะยีสุหลง” จากโต๊ะอิหม่าม นักเคลื่อนไหว ปลายด้ามขวาน สู่สี่ชีวิตถูกอุ้มฆ่า ถ่วงทะเลสาบสงขลา 📅 ย้อนไปเมื่อ 77 ปี ที่ผ่านมา วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 วันที่ชื่อของ "หะยีสุหลง โต๊ะมีนา" ถูกจารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ไทย ในฐานะนักเคลื่อนไหว เพื่อสิทธิของชาวมลายูมุสลิม ในพื้นที่ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทว่าการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม และสิทธิของประชาชนของเหะยีสุหลง กลับจบลงอย่างโศกนาฏกรรม หะยีสุหลงพร้อมกับผู้ติดตามอีก 3 คน หายตัวไปหลังจากเดินทางไปยัง กองบัญชาการตำรวจสันติบาล จังหวัดสงขลา ก่อนถูกสังหาร และถ่วงน้ำในทะเลสาบสงขลา เหตุการณ์นี้กลายเป็น หนึ่งในกรณีการอุ้มฆ่าทางการเมือง ที่สำคัญที่สุดของไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความขัดแย้ง ระหว่างอำนาจรัฐ กับกลุ่มชนพื้นเมืองในภาคใต้ 🔍 "หะยีสุหลง บิน อับดุลกาเคร์ ฒูฮัมมัด เอล ฟาโทนิ" หรือที่รู้จักในนาม "หะยีสุหลง" เป็นผู้นำศาสนาและนักเคลื่อนไหวทางสังคม ของชาวมลายูมุสลิม ในภาคใต้ของไทย เป็นประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี และเป็นบุคคลสำคัญ ในการเรียกร้องให้รัฐไทย ให้ความเป็นธรรมแก่ชาวมุสลิมใน 4 จังหวัดภาคใต้ 📌 ภารกิจของหะยีสุหลง ✅ ปรับปรุงระบบการศึกษา โดยก่อตั้ง "ปอเนาะ" หรือโรงเรียนสอนศาสนาอิสลามแห่งแรก ✅ ส่งเสริมศาสนาอิสลามที่ถูกต้อง ต่อต้านความเชื่อที่ขัดกับหลักศาสนา ✅ เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรม ให้ชาวมลายูมุสลิม ภายใต้กรอบของรัฐไทย แต่... เส้นทางการต่อสู้ กลับนำไปสู่ความขัดแย้งกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่หะยีสุหลงเสนอ "7 ข้อเรียกร้อง" ต่อรัฐบาลไทย 📜 7 ข้อเรียกร้องของหะยีสุหลง พ.ศ. 2490 ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2490 หะยีสุหลงได้เสนอข้อเรียกร้อง 7 ประการต่อ พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ซึ่งเป็นข้อเสนอ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม แก่ประชาชนมุสลิม ในภาคใต้ 📝 รายละเอียดของ 7 ข้อเรียกร้อง 1. ให้แต่งตั้งผู้ว่าราชการ ที่เป็นชาวมลายูมุสลิม และมาจากการเลือกตั้ง 2. ข้าราชการในพื้นที่ ต้องเป็นมุสลิมอย่างน้อย 80% 3. ให้ใช้ภาษามลายูและภาษาไทย เป็นภาษาราชการ 4. ให้ภาษามลายูเป็นภาษากลาง ในโรงเรียนระดับประถมศึกษา 5. ให้ใช้กฎหมายอิสลาม ในการพิจารณาคดีของศาลศาสนา 6. รายได้จากภาษีใน 4 จังหวัด ต้องถูกใช้ในพื้นที่นั้น 7. ให้จัดตั้งคณะกรรมการมุสลิม เพื่อดูแลกิจการของชาวมุสลิม 💡 แต่กลับเกิดผลกระทบ เนื่องจากข้อเรียกร้องนี้ถูกมองว่า เป็นการพยายามแบ่งแยกดินแดน นำไปสู่การจับกุม และกล่าวหาหะยีสุหลงว่าเป็น "กบฏ" ⚖️ หลังการรัฐประหารในวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 ซึ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล มาเป็นฝ่ายของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม แนวคิด "7 ข้อเรียกร้อง" ของหะยีสุหลง ถูกตีความว่า เป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ 📅 เหตุการณ์สำคัญ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2491 → หะยีสุหลงถูกจับกุมที่ปัตตานี 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2493 → ศาลฎีกาตัดสินจำคุก 4 ปี 8 เดือน ในข้อหาปลุกระดม ให้ประชาชนต่อต้านรัฐ หลังจากพ้นโทษ หะยีสุหลงยังคงถูกจับตามอง และเผชิญกับการคุกคามจากฝ่ายรัฐ จนนำไปสู่เหตุการณ์ "การอุ้มหาย" ที่สร้างความตื่นตัวในสังคม 🚨 การอุ้มหายและสังหาร 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากได้รับคำสั่ง ให้เข้าพบเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สงขลา หะยีสุหลงพร้อมลูกชายวัย 15 ปี ซึ่งเป็นล่าม และพรรคพวกอีก 2 คน ได้เดินทางไปยัง สำนักงานตำรวจสันติบาลจังหวัดสงชลา ❌ แล้วพวกเขาก็หายตัวไป... หลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า พวกเขาถูกสังหารในบังกะโล ริมทะเลสาบสงขลา โดยใช้เชือกรัดคอ คว้านท้องศพ แล้วผูกกับแท่งซีเมนต์ก่อนถ่วงน้ำ มีหลักฐานโยงไปถึง พล.ต.อ. เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น ว่าเป็นผู้บงการอุ้มฆ่า เหตุการณ์นี้ กลายเป็นหนึ่งในคดีอุ้มหาย ที่สะเทือนขวัญที่สุดของไทย และแม้ว่าจะมีการรื้อฟื้นคดี ในปี พ.ศ. 2500 แต่สุดท้าย... ก็ไม่มีใครต้องรับผิดชอบ 🏛️ เหตุการณ์การอุ้มหายของหะยีสุหลง ส่งผลให้เกิดกระแสต่อต้านรัฐบาล และสร้างแรงบันดาลใจ ให้ขบวนการเคลื่อนไหวในภาคใต้ 📌 ผลกระทบที่สำคัญ ✅ จุดชนวนความไม่พอใจ ของชาวมลายูมุสลิมต่อรัฐไทย ✅ ทำให้ปัญหาความขัดแย้งใน 4 จังหวัดภาคใต้รุนแรงขึ้น ✅ กระตุ้นให้เกิดขบวนการเคลื่อนไห วและกลุ่มติดอาวุธในเวลาต่อมา แม้ว่าปัจจุบันปัญหาภาคใต้ จะมีพัฒนาการที่ซับซ้อนขึ้น แต่เหตุการณ์ของหะยีสุหลง ยังคงเป็นเครื่องเตือนใจ ถึงความจำเป็นในการแก้ไขปัญหา ด้วยสันติวิธีและความเป็นธรรม 📌 กรณีของหะยีสุหลง แสดงให้เห็นถึงความซับซ้อน ของปัญหาชายแดนใต้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ วัฒนธรรม และการปกครองของรัฐไทย 🔎 ⚖️ สิ่งที่รัฐควรเรียนรู้ ✅ การให้สิทธิทางวัฒนธรรมและศาสนา แก่กลุ่มชาติพันธุ์ ✅ การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง ✅ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยกระบวนการสันติ 📌 เหตุการณ์นี้ เป็นหนึ่งในบทเรียนสำคัญ ของประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งยังคงมีอิทธิพล ต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน ⬇️ ป้อม-อัครวัฒน์ ธนันฐ์กิตติกุล 161122 ก.พ. 2568 #หะยีสุหลง #ชายแดนใต้ #อุ้มหาย #77ปีหะยีสุหลง #ประวัติศาสตร์ไทย
    0 Comments 0 Shares 367 Views 0 Reviews