• LEADEROLOGY (ลีดเดอร์โอลอจี) โดย 10X Consulting
    LEADEROLOGY (ลีดเดอร์โอลอจี) โดย 10X Consulting
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 160 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 110 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 132 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีกลุ่ม BRICS 100% : Sondhitalk EP271 VDO

    โลกเปลี่ยนไป อเมริกาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง
    ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีกลุ่ม BRICS 100%

    #sondhitalk #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #อเมริกาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง #โดนัลด์ทรัมป์ #กลุ่มBRICS #ขู่ขึ้นภาษีกลุ่มBRICS
    ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีกลุ่ม BRICS 100% : Sondhitalk EP271 VDO โลกเปลี่ยนไป อเมริกาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง ทรัมป์ขู่ขึ้นภาษีกลุ่ม BRICS 100% #sondhitalk #สนธิลิ้มทองกุล #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #อเมริกาไม่ยอมเปลี่ยนแปลง #โดนัลด์ทรัมป์ #กลุ่มBRICS #ขู่ขึ้นภาษีกลุ่มBRICS
    Like
    Love
    Haha
    Angry
    13
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 5313 มุมมอง 212 1 รีวิว
  • สวัสดีครับ
    สวัสดีครับ
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล รอดพ้นจากลงมติถอดถอนในรัฐสภาในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) จากกรณีที่เขาพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ แต่ผู้นำพรรคของเขาเอง ยังเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วประธานาธิบดีรายนี้จะลาออกจากตำแหน่งเอง
    .
    พรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ของยุน บอยคอตต์การลงมติถอดถอน ที่ผลักดันโดยพรรคประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านหลัก แต่ญัตติถูกคว่ำหลังจากมีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมไม่มากพอ
    .
    อย่างไรก็ตาม หลังจากการโหวต ฮาน ดองฮูน ผู้นำพรรคพีพีพี บอกว่าพรรคตัดสินใจแล้วว่า ยูน จะลาออกจากตำแหน่ง "การประกาศกฎอัยการศึกเป็นการละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจนและร้ายแรง" ฮาน บอกกับผู้สื่อข่าว
    .
    กระนั้นก็ตาม ฮาน เคยมีประวัติกระทบกระทั่งกับยุน และไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้พูดคุยกับสมาชิกพรรคพีพีพีทั้งหมดแล้วหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยุน ก็ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับคำพูดของ ฮาน
    .
    ประธานาธิบดียุน สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศเมื่อช่วงเย็นวันอังคาร (3 ธ.ค.) ด้วยการประกาศกฎอัยการศึก มอบอำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่ทหาร ในการขุดรากถอนโคนสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็น "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และกำราบการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง
    .
    อย่างไรก็ตาม เขาถอนกฎอัยการศึกในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังรัฐสภาที่ขัดขืนการปิดล้อมของทหารและตำรวจ ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์คัดค้านประกาศดังกล่าว
    .
    อย่างไรก็ตาม การประกากฎอัยการศึกของยุน ได้ฉุดเกาหลีใต้ ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย และพันธมิตรทางทหารสำคัญของสหรัฐฯ เข้าสู่วิกฤตทางการเมืองใหญ่หลวงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ คุกคามทำลายชื่อเสียงของประเทศ ในเรื่องราวแห่งความสำเร็จในด้านประชาธิปไตย
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ยุน ปราศรัยถึงประชาชนทั่วไปประเทศ ผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐ ขอโทษต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าว และบอกว่าเขาจะเผชิญหน้าไม่ว่าผลสนองจะตามมาเช่นไร อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้เสนอตัวขอลาออกแต่อย่างใด
    .
    ยุน บอกว่าเขาวางชะตากรรมไว้ในมือของพรรคพีพีพี ซึ่ง ฮาน กล่าวในเวลาต่อมาว่ามันเท่ากับเป็นการสัญญาว่าผู้นำรายนี้จะลาออกจากตำแหน่งก่อนกำหนด
    .
    "พรรคพลังประชาชนจะหาทางให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่งด้วยความเป็นระบบระเบียบ เพื่อลดความสับสนของประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด" ฮานกล่าว พร้อมบอกว่าจนกว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่ง ผู้นำรายนี้จะถูกกันจากการทำหน้าที่ และนายกรัฐมนตรีจะปรึกษาหารือกับทางพรรคในการบริการจัดการกิจการต่างๆ ของรัฐ
    .
    พรรคดีพี พรรคฝ่ายค้าน หัวเราะเยาะแนวคิดดังกล่าวว่าเป็นเรื่องไร้สาระและไม่ชอบด้วยกฎหมาย "ทั้งประชาชนและกฎหมาย ไม่มีใครให้อำนาจ ฮาน เขี่ย ยุน พ้นจากเก้าอี้" พรรคดีพีพีระบุในถ้อยแถลง พร้อมบอกว่าการถอดถอนเป็นเพียงหนทางเดียว
    .
    การลงมติครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่พวกผู้ประท้วงหลายหมื่นคนชูเทียนและหลอดไฟ ไหลบ่าลงท้อถนนบริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภาในคืนวันศุกร์ (6 ธ.ค.) และวันเสาร์ (7 ธ.ค.) เรียกร้องให้ถอดถอน ยุน พ้นจากตำแหน่ง
    .
    อ้างอิงผลสำรวจความคิดห็นที่จัดทำโดยสำนักโพล Real Meter ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (5 ธ.ค.) พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 73.6% อยากให้ถอดถอน ยุน ส่วนที่คัดค้านมีอยู่ 24%
    .
    ชอย ยองโฮ ผู้ประท้วงรายหนึ่งวัย 60 ปี แสดงความเดือดดาลต่อแนวโน้มที่การยื่นถอนถอนจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ประกาศจะเดินหน้าเข้าร่วมต่อการประท้วงใดๆ ในอนาคต "เราจะส่งเสียงจนกว่าพวกเขาจะได้ยิน" เขากล่าว
    .
    การปราศรัยต่อสถานีโทรทัศน์ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ถือเป็นการปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกของยุน นับตั้งแต่เขายกเลิกประกาศอัยการศึก "ผมปล่อยให้ทางพรรคของผมใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพแก่สถานการณ์ทางการเมืองในอนาคต ในนั้นรวมถึงประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งของผม" เขากล่าว พร้อมให้สัญญาจะไม่มีความพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกเป็นครั้งที่ 2
    .
    ในเวลาต่อมา ฮาน บอกว่าประธานาธิบดีไม่อยู่ในสถานะที่จะปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป และเวลานี้การลาออกของเขาเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หลังจากเมื่อวันศุกร์ (6 ธ.ค.) ฮาน เคยพูดอย่างโกรธเกรี้ยว่า ยุน เป็นอันตรายต่อประเทศ และจำเป็นต้องถูกถอดพ้นจากอำนาจ ความเคลื่อนไหวที่เพิ่มแรงกดดันให้ ยุน ลาออกจากตำแหน่ง
    .
    อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้ว สมาชิกพรรคพีพีพีเกือบทั้งหมดบอยคอตต์การลงมติ และหนึ่งในสมาชิกที่เข้าร่วมการโหวตเผยว่าตนเองลงมติคัดค้านการถอดถอน แม้เชื่อว่า ยุน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงตำแหน่งอีกต่อไป
    .
    ถ้า ยุน ออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 5 ปี ในเดือนพฤษภาคม 2027 รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้กำหนดไว้ว่าจะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ที่เขาพ้นจากเก้าอี้
    .
    เคยมีการประกาศกฎอัยการศึกมาแล้วหลายสิบครั้ง นับตั้งแต่มีการสถาปนาเกาหลีใต้ในฐานะสาธารณรัฐ ในปี 1948 โดยหนสุดท้ายเกิดขึ้นในปี 1980
    .
    ในการประกาศอัยการศึกเมื่อวันอังคาร (3 ธ.ค.) ยุน ให้อำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่กองทัพ ในการจัดการกับภัยคุกคามอย่างไม่เจาะจงจาก "กองกำลังคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ" และ "เพื่อกำจัดกองกำลังต่อต้านรัฐที่ฝักใฝ่เกาหลีเหนือ"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117845
    ..................
    Sondhi X
    ประธานาธิบดี ยุน ซ็อกยอล รอดพ้นจากลงมติถอดถอนในรัฐสภาในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) จากกรณีที่เขาพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกช่วงสั้นๆ เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ แต่ผู้นำพรรคของเขาเอง ยังเชื่อว่าท้ายที่สุดแล้วประธานาธิบดีรายนี้จะลาออกจากตำแหน่งเอง . พรรคพลังประชาชน (พีพีพี) ของยุน บอยคอตต์การลงมติถอดถอน ที่ผลักดันโดยพรรคประชาธิปไตย พรรคฝ่ายค้านหลัก แต่ญัตติถูกคว่ำหลังจากมีสมาชิกรัฐสภาเข้าร่วมไม่มากพอ . อย่างไรก็ตาม หลังจากการโหวต ฮาน ดองฮูน ผู้นำพรรคพีพีพี บอกว่าพรรคตัดสินใจแล้วว่า ยูน จะลาออกจากตำแหน่ง "การประกาศกฎอัยการศึกเป็นการละเมิดกฎหมายอย่างชัดเจนและร้ายแรง" ฮาน บอกกับผู้สื่อข่าว . กระนั้นก็ตาม ฮาน เคยมีประวัติกระทบกระทั่งกับยุน และไม่เป็นที่ชัดเจนว่าเขาได้พูดคุยกับสมาชิกพรรคพีพีพีทั้งหมดแล้วหรือไม่ ขณะเดียวกัน ยุน ก็ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับคำพูดของ ฮาน . ประธานาธิบดียุน สร้างความตกตะลึงไปทั่วประเทศเมื่อช่วงเย็นวันอังคาร (3 ธ.ค.) ด้วยการประกาศกฎอัยการศึก มอบอำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่ทหาร ในการขุดรากถอนโคนสิ่งที่เขาเรียกว่าเป็น "กองกำลังต่อต้านรัฐ" และกำราบการทำตัวเป็นอุปสรรคขัดขวางของฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง . อย่างไรก็ตาม เขาถอนกฎอัยการศึกในอีก 6 ชั่วโมงต่อมา หลังรัฐสภาที่ขัดขืนการปิดล้อมของทหารและตำรวจ ลงมติอย่างเป็นเอกฉันท์คัดค้านประกาศดังกล่าว . อย่างไรก็ตาม การประกากฎอัยการศึกของยุน ได้ฉุดเกาหลีใต้ ชาติเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของเอเชีย และพันธมิตรทางทหารสำคัญของสหรัฐฯ เข้าสู่วิกฤตทางการเมืองใหญ่หลวงที่สุดในรอบหลายทศวรรษ คุกคามทำลายชื่อเสียงของประเทศ ในเรื่องราวแห่งความสำเร็จในด้านประชาธิปไตย . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ยุน ปราศรัยถึงประชาชนทั่วไปประเทศ ผ่านสถานีโทรทัศน์แห่งรัฐ ขอโทษต่อความเคลื่อนไหวดังกล่าว และบอกว่าเขาจะเผชิญหน้าไม่ว่าผลสนองจะตามมาเช่นไร อย่างไรก็ตาม เขาไม่ได้เสนอตัวขอลาออกแต่อย่างใด . ยุน บอกว่าเขาวางชะตากรรมไว้ในมือของพรรคพีพีพี ซึ่ง ฮาน กล่าวในเวลาต่อมาว่ามันเท่ากับเป็นการสัญญาว่าผู้นำรายนี้จะลาออกจากตำแหน่งก่อนกำหนด . "พรรคพลังประชาชนจะหาทางให้ประธานาธิบดีพ้นจากตำแหน่งด้วยความเป็นระบบระเบียบ เพื่อลดความสับสนของประชาชนให้เหลือน้อยที่สุด" ฮานกล่าว พร้อมบอกว่าจนกว่าเขาจะลาออกจากตำแหน่ง ผู้นำรายนี้จะถูกกันจากการทำหน้าที่ และนายกรัฐมนตรีจะปรึกษาหารือกับทางพรรคในการบริการจัดการกิจการต่างๆ ของรัฐ . พรรคดีพี พรรคฝ่ายค้าน หัวเราะเยาะแนวคิดดังกล่าวว่าเป็นเรื่องไร้สาระและไม่ชอบด้วยกฎหมาย "ทั้งประชาชนและกฎหมาย ไม่มีใครให้อำนาจ ฮาน เขี่ย ยุน พ้นจากเก้าอี้" พรรคดีพีพีระบุในถ้อยแถลง พร้อมบอกว่าการถอดถอนเป็นเพียงหนทางเดียว . การลงมติครั้งนี้มีขึ้นในขณะที่พวกผู้ประท้วงหลายหมื่นคนชูเทียนและหลอดไฟ ไหลบ่าลงท้อถนนบริเวณด้านนอกอาคารรัฐสภาในคืนวันศุกร์ (6 ธ.ค.) และวันเสาร์ (7 ธ.ค.) เรียกร้องให้ถอดถอน ยุน พ้นจากตำแหน่ง . อ้างอิงผลสำรวจความคิดห็นที่จัดทำโดยสำนักโพล Real Meter ที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสบดี (5 ธ.ค.) พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 73.6% อยากให้ถอดถอน ยุน ส่วนที่คัดค้านมีอยู่ 24% . ชอย ยองโฮ ผู้ประท้วงรายหนึ่งวัย 60 ปี แสดงความเดือดดาลต่อแนวโน้มที่การยื่นถอนถอนจะไม่ประสบความสำเร็จ แต่ประกาศจะเดินหน้าเข้าร่วมต่อการประท้วงใดๆ ในอนาคต "เราจะส่งเสียงจนกว่าพวกเขาจะได้ยิน" เขากล่าว . การปราศรัยต่อสถานีโทรทัศน์ในวันเสาร์ (7 ธ.ค.) ถือเป็นการปรากฏตัวต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกของยุน นับตั้งแต่เขายกเลิกประกาศอัยการศึก "ผมปล่อยให้ทางพรรคของผมใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพแก่สถานการณ์ทางการเมืองในอนาคต ในนั้นรวมถึงประเด็นวาระการดำรงตำแหน่งของผม" เขากล่าว พร้อมให้สัญญาจะไม่มีความพยายามบังคับใช้กฎอัยการศึกเป็นครั้งที่ 2 . ในเวลาต่อมา ฮาน บอกว่าประธานาธิบดีไม่อยู่ในสถานะที่จะปฏิบัติหน้าที่อีกต่อไป และเวลานี้การลาออกของเขาเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หลังจากเมื่อวันศุกร์ (6 ธ.ค.) ฮาน เคยพูดอย่างโกรธเกรี้ยว่า ยุน เป็นอันตรายต่อประเทศ และจำเป็นต้องถูกถอดพ้นจากอำนาจ ความเคลื่อนไหวที่เพิ่มแรงกดดันให้ ยุน ลาออกจากตำแหน่ง . อย่างไรก็ตาม ในท้ายที่สุดแล้ว สมาชิกพรรคพีพีพีเกือบทั้งหมดบอยคอตต์การลงมติ และหนึ่งในสมาชิกที่เข้าร่วมการโหวตเผยว่าตนเองลงมติคัดค้านการถอดถอน แม้เชื่อว่า ยุน ไม่เหมาะสมต่อการดำรงตำแหน่งอีกต่อไป . ถ้า ยุน ออกจากตำแหน่งก่อนครบวาระ 5 ปี ในเดือนพฤษภาคม 2027 รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้กำหนดไว้ว่าจะต้องจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีภายใน 60 วัน นับตั้งแต่ที่เขาพ้นจากเก้าอี้ . เคยมีการประกาศกฎอัยการศึกมาแล้วหลายสิบครั้ง นับตั้งแต่มีการสถาปนาเกาหลีใต้ในฐานะสาธารณรัฐ ในปี 1948 โดยหนสุดท้ายเกิดขึ้นในปี 1980 . ในการประกาศอัยการศึกเมื่อวันอังคาร (3 ธ.ค.) ยุน ให้อำนาจฉุกเฉินอย่างกว้างขวางแก่กองทัพ ในการจัดการกับภัยคุกคามอย่างไม่เจาะจงจาก "กองกำลังคอมมิวนิสต์เกาหลีเหนือ" และ "เพื่อกำจัดกองกำลังต่อต้านรัฐที่ฝักใฝ่เกาหลีเหนือ" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117845 .................. Sondhi X
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 890 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 53 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
  • โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังพ้นตำแหน่ง มีข่าวว่ากำลังพูดคุยในความเป็นไปได้ในการอภัยโทษอย่างครอบคลุมให้พวกคนดังทั้งหลายที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อปกป้องคนเหล่านี้ จากความเป็นไปได้ที่จะถูกตามประหัตประหารในอนาคต ตามรายงานข่าวของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวการเมืองอเมริกาและซีบีเอสนิวส์
    .
    เมื่อเร็วๆนี้ ไบเดน เพิ่งอภัยโทษให้ลูกชาย ไม่ใช่แค่ที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญาต่างๆนานา แต่ยังรวมทุกๆอย่างที่เขาอาจกระทำผิดมาตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ขอบเขตการอภัยโทษอย่างกว้างขวางที่ไม่ปกติดังกล่าว เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งจากคนในพรรคของประธานาธิบดีเอง
    .
    เว็บไซต์ข่าวโพลิติโก รายงานอ้างแหล่งข่าวคนวงในภายในพรรค ว่าพรรคเดโมแครตต้องการปกป้องคนกลุ่มหนึ่งจากการถูก ทรัมป์ แก้แค้น ครั้งที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยเวลานี้ เจฟฟรีย์ ไซอ็องส์ หัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาวและ เอ็ด ซิสเคิล หัวหน้าที่ปรึกษา กำลังหารือเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม และบรรดาบุคคลที่อาจอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ตามรายงานของซีบีเอสเมื่อวันศุกร์(6ธ.ค.)
    .
    ในบรรดาชื่อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงคือนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งช่วยวางแผนมาตรการล็อคดาวน์โควิด-19 และบังคับสวมหน้ากาก ครั้งที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งสมัยแรก และหลังจากนั้นก็ช่วยวางแผนบังคับฉีดวัคซีน ในฐานะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับสูงของไบเดน
    .
    รายงานของสภาคองเกรสเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของโควิด-19 ได้กล่าวหา เฟาซี ปกปิดบทบาทของเขา ในการให้เงินสนับสนุนห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน บริเวณที่เชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของไวรัส โดยดำเนินการผ่านมือที่ 3
    .
    ส่วนอีกคนที่อาจได้รับการอภัยโทษคือ มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ ที่เคยเรียกทรัมป์ว่า "พวกฟาสซิสต์" และ "พวกกระสันเป็นเผด็จการ" โดยอดีตประธานเสนาธิการทหารร่วมรายนี้ เคยพูดระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า เขาต่อสายหาประธานเสนาธิการทหารร่วมของจีน ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 และอีกครั้งหลังจากเหตุจลาจลจู่โจมอาคารรัฐสภาอเมริกา วันที่ 6 มกราคม 2021 เรียกร้องให้ทำงานร่วมกับพรรคเดโมโครต เพราะเขาคิดว่า ทรัมป์ "เป็นคนบ้า"
    .
    ทรัมป์ ประณามการออกมาเปิดเผยดังกล่าว โดยชี้ว่าพฤติกรรมของมิลลีย์ ควรถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อกบฏ "เขาจะเริ่มโยนผู้คนเข้าห้องขัง และผมจะมีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆในบัญชีดังกล่าว" มิลลีย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดิ แอตแลนติก ในเดือนกันยายน 202 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการในการหวนคืนสู่อำนาจของทรัมป์
    .
    ลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาคองเกรสหญิงจากรีพับลิกัน จากรัฐไวโอมิง ซึ่งหันมาเข้าร่วมกับพรรคเดโมแครต ในคณะกรรมการสืบสวนเหตุการณ์ 6 มกราคม และร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ กมลา แฮร์ริส ในปีนี้ ก็มีข่าวลือว่าจะอยู่ในรายชื่อได้รับการอภัยโทษเช่นกัน เช่นเดียวกับ อดัม ชิฟฟ์ ว่าที่วุฒิสภาจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นแกนนำในการยื่นถอดถอน ทรัมป์ 2 รอบ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก
    .
    ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษผู้คนที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายรัฐบาลกลาง แต่ไม่ใช่กับข้อกล่าวหาในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่น ส่วนรูปแบบการอภัยโทษล่วงหน้าที่กล่าวอ้างว่ากำลังมีการพูดคุยกันอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ไม่พบเห็นบ่อยนัก แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
    .
    ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งลาออกจากตำแหน่งในปี 1974 ก่อนหน้าการลงมติถอดถอนในวุฒิสภา ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ในคดีวอเตอร์เกต ดักฟังฝ่ายตรงข้าม
    .
    จากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ให้อภัยโทษอย่างครอบคลุมต่อทุกคนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารระหว่างสงครามเวียดนาม และในปี 1992 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช อภัยโทษให้ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ ก่อนที่เขาอาจถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาว "อิหร่าน-คอนทรา" (Iran-Contra)
    .
    กรณีอื้อฉาวดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐสมัย ประธนาธิบดีโรัลด์ เรแกน ลักลอบขายอาวุธให้กับอิหร่าน แล้วนำเงินที่ได้จากอิหร่านส่งไปช่วยกลุ่มกบฏคอนทราที่ต่อสู้กับรัฐบาลสังคมนิยมในนิคารากัว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117847
    ..................
    Sondhi X
    โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯที่กำลังพ้นตำแหน่ง มีข่าวว่ากำลังพูดคุยในความเป็นไปได้ในการอภัยโทษอย่างครอบคลุมให้พวกคนดังทั้งหลายที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เพื่อปกป้องคนเหล่านี้ จากความเป็นไปได้ที่จะถูกตามประหัตประหารในอนาคต ตามรายงานข่าวของโพลิติโก เว็บไซต์ข่าวการเมืองอเมริกาและซีบีเอสนิวส์ . เมื่อเร็วๆนี้ ไบเดน เพิ่งอภัยโทษให้ลูกชาย ไม่ใช่แค่ที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดในคดีอาญาต่างๆนานา แต่ยังรวมทุกๆอย่างที่เขาอาจกระทำผิดมาตั้งแต่ปี 2014 ทั้งนี้ขอบเขตการอภัยโทษอย่างกว้างขวางที่ไม่ปกติดังกล่าว เรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักหน่วง แม้กระทั่งจากคนในพรรคของประธานาธิบดีเอง . เว็บไซต์ข่าวโพลิติโก รายงานอ้างแหล่งข่าวคนวงในภายในพรรค ว่าพรรคเดโมแครตต้องการปกป้องคนกลุ่มหนึ่งจากการถูก ทรัมป์ แก้แค้น ครั้งที่เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม โดยเวลานี้ เจฟฟรีย์ ไซอ็องส์ หัวหน้าคณะทำงานทำเนียบขาวและ เอ็ด ซิสเคิล หัวหน้าที่ปรึกษา กำลังหารือเกี่ยวกับการนิรโทษกรรม และบรรดาบุคคลที่อาจอยู่ในรายชื่อดังกล่าว ตามรายงานของซีบีเอสเมื่อวันศุกร์(6ธ.ค.) . ในบรรดาชื่อที่ถูกหยิบยกมาพูดถึงคือนายแพทย์แอนโทนี เฟาซี อดีตเจ้าหน้าที่สาธารณสุขระดับสูงของสหรัฐฯ ผู้ซึ่งช่วยวางแผนมาตรการล็อคดาวน์โควิด-19 และบังคับสวมหน้ากาก ครั้งที่ ทรัมป์ ดำรงตำแหน่งสมัยแรก และหลังจากนั้นก็ช่วยวางแผนบังคับฉีดวัคซีน ในฐานะที่ปรึกษาทางการแพทย์ระดับสูงของไบเดน . รายงานของสภาคองเกรสเมื่อเร็วๆนี้ เกี่ยวกับแหล่งต้นกำเนิดของโควิด-19 ได้กล่าวหา เฟาซี ปกปิดบทบาทของเขา ในการให้เงินสนับสนุนห้องปฏิบัติการในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน บริเวณที่เชื่อว่าเป็นบ่อเกิดของไวรัส โดยดำเนินการผ่านมือที่ 3 . ส่วนอีกคนที่อาจได้รับการอภัยโทษคือ มาร์ค มิลลีย์ นายพลปลดเกษียณ ที่เคยเรียกทรัมป์ว่า "พวกฟาสซิสต์" และ "พวกกระสันเป็นเผด็จการ" โดยอดีตประธานเสนาธิการทหารร่วมรายนี้ เคยพูดระหว่างให้สัมภาษณ์ว่า เขาต่อสายหาประธานเสนาธิการทหารร่วมของจีน ก่อนหน้าศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯปี 2020 และอีกครั้งหลังจากเหตุจลาจลจู่โจมอาคารรัฐสภาอเมริกา วันที่ 6 มกราคม 2021 เรียกร้องให้ทำงานร่วมกับพรรคเดโมโครต เพราะเขาคิดว่า ทรัมป์ "เป็นคนบ้า" . ทรัมป์ ประณามการออกมาเปิดเผยดังกล่าว โดยชี้ว่าพฤติกรรมของมิลลีย์ ควรถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อกบฏ "เขาจะเริ่มโยนผู้คนเข้าห้องขัง และผมจะมีชื่ออยู่ในลำดับต้นๆในบัญชีดังกล่าว" มิลลีย์ ให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ดิ แอตแลนติก ในเดือนกันยายน 202 เมื่อถูกถามเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการในการหวนคืนสู่อำนาจของทรัมป์ . ลิซ เชนีย์ อดีตสมาชิกสภาคองเกรสหญิงจากรีพับลิกัน จากรัฐไวโอมิง ซึ่งหันมาเข้าร่วมกับพรรคเดโมแครต ในคณะกรรมการสืบสวนเหตุการณ์ 6 มกราคม และร่วมรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งให้ กมลา แฮร์ริส ในปีนี้ ก็มีข่าวลือว่าจะอยู่ในรายชื่อได้รับการอภัยโทษเช่นกัน เช่นเดียวกับ อดัม ชิฟฟ์ ว่าที่วุฒิสภาจากแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นแกนนำในการยื่นถอดถอน ทรัมป์ 2 รอบ ครั้งที่ดำรงตำแหน่งสมัยแรก . ภายใต้รัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ ประธานาธิบดีมีอำนาจอภัยโทษผู้คนที่ถูกพิพากษาว่ากระทำผิดตามกฎหมายรัฐบาลกลาง แต่ไม่ใช่กับข้อกล่าวหาในระดับรัฐหรือระดับท้องถิ่น ส่วนรูปแบบการอภัยโทษล่วงหน้าที่กล่าวอ้างว่ากำลังมีการพูดคุยกันอยู่นี้ เป็นสิ่งที่ไม่พบเห็นบ่อยนัก แต่ไม่ใช่สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน . ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ซึ่งลาออกจากตำแหน่งในปี 1974 ก่อนหน้าการลงมติถอดถอนในวุฒิสภา ได้รับการอภัยโทษจากประธานาธิบดีเจรัลด์ ฟอร์ด ผู้สืบทอดตำแหน่งจากเขา ในคดีวอเตอร์เกต ดักฟังฝ่ายตรงข้าม . จากนั้นอีก 3 ปีต่อมา ประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ให้อภัยโทษอย่างครอบคลุมต่อทุกคนที่หลบหนีการเกณฑ์ทหารระหว่างสงครามเวียดนาม และในปี 1992 ประธานาธิบดีจอร์จ เอช.ดับเบิลยู. บุช อภัยโทษให้ แคสปาร์ ไวน์เบอร์เกอร์ ก่อนที่เขาอาจถูกดำเนินคดีเกี่ยวกับกรณีอื้อฉาว "อิหร่าน-คอนทรา" (Iran-Contra) . กรณีอื้อฉาวดังกล่าวเป็นเรื่องเกี่ยวกับรัฐบาลสหรัฐสมัย ประธนาธิบดีโรัลด์ เรแกน ลักลอบขายอาวุธให้กับอิหร่าน แล้วนำเงินที่ได้จากอิหร่านส่งไปช่วยกลุ่มกบฏคอนทราที่ต่อสู้กับรัฐบาลสังคมนิยมในนิคารากัว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117847 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1566 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 63 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 60 มุมมอง 0 รีวิว
  • กองกำลังรัฐบาลซีเรียล่าถอยจากฮอมส์ เมืองสำคัญ ไม่ถึงวันของการสู้รบ ที่ทำให้ระบอบการปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 24 ปี แขวนอยู่บนเส้นด้าย ในขณะที่พวกกบฏกำลังรุกคืบอย่างต่อเนื่อง ในนั้นรวมถึงการเดินหน้าเข้าหากรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศ
    .
    นับตั้งแต่พวกกบฏบุกจู่โจมสายฟ้าแลบเข้าสู่เมืองอเลปโปเมื่อสัปดาห์ก่อน กองกำลังป้องกันตนเองต้องดิ้นรนรับมือกับความรวดเร็วของฝ่ายกบฏที่จู่โจมยึดเมืองหลักๆและจุดประกายการก่อขบถตามพื้นที่ต่างๆในดูเหมือนจะมอดไหม้มาช้านานแล้ว
    .
    การล่มสลายของเมืองฮอมส์และภัยคุกคามที่มีต่อเมืองหลวง เวลานี้เสี่ยงก่ออันตรายต่อความอยู่รอดของอำนาจการปกครองซีเรียของอัสซาด ที่เขาครอบครองมานานกว่า 5 ทศวรรษ เช่นเดียวกับความอยู่รอดของอิทธิพลของอิหร่าน ผู้สนับสนุนหลักในภูมิภาคแห่งนี้ของซีเรีย
    .
    อาบู โมฮัมเมด อัล-โกลานี หัวหน้ากลุ่มกบฏที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ระบุในถ้อยแถลงว่าพวกกบฏกำลังอยู่บนจุดสูงสุดของการยึดครองทั่วประเทศ และ "จุดจบของระบอบการปกครองอาชญากรใกล้มาถึงแล้ว"
    .
    รอยเตอร์อ้างคำกล่าวของพวกเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามระบุรัฐบาลของอัสซาด อาจกำลังอยู่บนขอบเหวแห่งการล่มสลาย โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯรายหนึ่งถึงขั้นคาดการณ์กรอบเวลาราวๆ 5 ถึง 10 วัน ส่วนอีกคนบอกว่า อัสซาด อาจถูกโค่นอำนาจในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตะวันตกรายหนึ่งก็เห็นด้วยกับคำประเมินดังกล่าว
    .
    การยึดเมืองฮอมส์ ซึ่งเป็นเส้นทางจุดตัดสำคัญระหว่างเมืองหลวงกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เท่ากับเป็นการตัดขาดกรุงดามัสกัสออกจากชายฝั่งทะเล อันเป็นป้อมปราการของชนกลุ่มนิกายชีอะห์อะลาไวต์ ที่สนับสนุนอัสซาด และจากฐานทัพและฐานทัพเรือของรัสเซีย
    .
    บรรดาผู้บัญชาการกองทัพซีเรียและผู้บัญชาการด้านความมั่นคง ออกจากเมืองฮอมส์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ในวันเสาร์(7ธ.ค.) ส่วนขบวนทหารขนาดใหญ่ล่าถอยด้วยการเดินเท้า จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ในขณะที่ฝ่ายกบฏบอกว่าพวกเขากำลังรุกเข้าไปยังย่านใจกลางเมือง
    .
    พวกกบฏอ้างว่าสามารถยึดพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ได้เกือบทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง และพวกเขารุกคืบเข้าไปอยู่ในรัศมีห่างจากกรุงดามัสกัส ไม่ถึง 30 กิโลเมตร หลังจากกองกำลังรัฐบาลล่าถอยไป
    .
    ในสถานการณ์ที่ตอกย้ำความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือในเมืองหลวง พวกผู้ประท้วงลงสู่ท้องถนสายต่างๆในแถบชานเมืองหลายแห่งของกรุงดามัสกัส ฉีกโปสเตอร์ภาพของอัสซาดและช่วยกันโค่นรูปปั้นของอดีตประธานาธิบดีฮาเฟซ อัล-อัสซาด บิดาของเขา โดยไม่มีทหารหรือตำรวจเข้ามาห้ามปรามแต่อย่างใด ขณะที่ชาวบ้านหลายคนบอกว่าทหารบางส่วนถึงขั้นเปลี่ยนชุดเป็นชุดพลเรือนเข้าร่วมด้วย
    .
    อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวแห่งรัฐรายงานว่า อัสซาด ยังคงอยู่ในกรุงดามัสกัส และกองทัพเผยว่าพวกเขากำลังเสริมกำลังรอบเมืองหลวงและทางใต้
    .
    ความคืบหน้าของสถานการณ์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว สร้างความตกตะลึงแก่เหล่าประเทศอาหรับ และโหมกระพือความกังวลเกี่ยวกับภาวะไร้เสถียรภาพระลอกใหม่ในภูมิภาค
    .
    กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, อียิปต์, อิรัก, อิหร่าน, ตุรกีและรัสเซีย ออกถ้อยแถลงร่วม บอกว่าวิกฤตนี้กำลังมีวิวัฒนาการที่อันตราย และเรียกร้องให้หาทางออกทางการเมือง อย่างไรก็ตามไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าพวกเขาเห็นพ้องในก้าวย่างที่เป็นรูปธรรมใดๆ ในฐานะสถานการณ์ภายในซีเรีย เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเป็นรายชั่วโมง
    .
    สงครามกลางเมืองของซีเรีย ซึ่งปะทุขึ้นในปี 2011 เป็นการลุกฮือต่อต้านการปกครองของอัสซาด ก่อนที่ต่อมามันจะลากบรรดามหาอำนาจจากสงนอกเข้าร่วมวงด้วย ก่อพื้นที่ให้พวกนักรบญิฮาดวางแผนโจมตีทั่วโลแและก่อคลื่นผู้ลี้ภัยหลายล้านคนไหลบ่าเข้าสู่บรรดาประเทศเพื่อนบ้าน
    .
    อัสซาด พึ่งพิงเหล่าพันธมิตรมาช้านานในการกำราบฝ่ายกบฏ โดยมีฝูงบินรบรัสเซียปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ส่วนอิหร่านส่งกองกำลังพันธมิตร ในนั้นรวมถึงฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอนและกลุ่มติดอาวุธในอิรัก เข้าเสริมกำลังแก่กองทัพซีเรียและบุกจู่โจมป้อมปราการของกบฏ
    .
    อย่างไรก็ตามด้วยที่รัสเซียต้องหันไปโฟกัสกับสงครามยูเครนมาตั้งแต่ปี 2022 และฮิซบอลเลาะห์ประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ในการทำสงครามกองโจรกับอิสราเอล มันจึงจำกัดศักยภาพของพวกเขาหรือของอิหร่าน ในการสนับสนุนอัสซาด
    .
    ด้าน โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บอกว่าอเมริกาจะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และควรปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินไปด้วยตัวมันเอง
    .
    รัสเซีย มีฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศในซีเรีย ซึ่งไม่ได้มีความสำคัญแก่สนับสนุนอัสซาดเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการสำแดงอิทธิพลของพวกเขาในเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกา
    .
    ที่ผ่านมา มอสโกให้การสนับสนุนกองกำลังรัฐบาลซีเรียด้วยปฏิบัติการโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วง แต่สำหรับหนนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาจะยกระดับยุทธการได้อย่างง่ายๆหรือไม่ ส่วนอิหร่านบอกว่าพวกเขาจะพิจารณาส่งกองกำลังไปยังซีเรีย แต่ความช่วยเหลือพิเศษในช่วงเร็วๆนี้ ดูเหมือนจะต้องพึ่งพวกฮิซบอลเลาะห์และกลุ่มติดอาวุธในอิรักไปก่อน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117846
    ..................
    Sondhi X
    กองกำลังรัฐบาลซีเรียล่าถอยจากฮอมส์ เมืองสำคัญ ไม่ถึงวันของการสู้รบ ที่ทำให้ระบอบการปกครองของประธานาธิบดีบาชาร์ อัล-อัสซาด ที่อยู่ในอำนาจมานานกว่า 24 ปี แขวนอยู่บนเส้นด้าย ในขณะที่พวกกบฏกำลังรุกคืบอย่างต่อเนื่อง ในนั้นรวมถึงการเดินหน้าเข้าหากรุงดามัสกัส เมืองหลวงของประเทศ . นับตั้งแต่พวกกบฏบุกจู่โจมสายฟ้าแลบเข้าสู่เมืองอเลปโปเมื่อสัปดาห์ก่อน กองกำลังป้องกันตนเองต้องดิ้นรนรับมือกับความรวดเร็วของฝ่ายกบฏที่จู่โจมยึดเมืองหลักๆและจุดประกายการก่อขบถตามพื้นที่ต่างๆในดูเหมือนจะมอดไหม้มาช้านานแล้ว . การล่มสลายของเมืองฮอมส์และภัยคุกคามที่มีต่อเมืองหลวง เวลานี้เสี่ยงก่ออันตรายต่อความอยู่รอดของอำนาจการปกครองซีเรียของอัสซาด ที่เขาครอบครองมานานกว่า 5 ทศวรรษ เช่นเดียวกับความอยู่รอดของอิทธิพลของอิหร่าน ผู้สนับสนุนหลักในภูมิภาคแห่งนี้ของซีเรีย . อาบู โมฮัมเมด อัล-โกลานี หัวหน้ากลุ่มกบฏที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด ระบุในถ้อยแถลงว่าพวกกบฏกำลังอยู่บนจุดสูงสุดของการยึดครองทั่วประเทศ และ "จุดจบของระบอบการปกครองอาชญากรใกล้มาถึงแล้ว" . รอยเตอร์อ้างคำกล่าวของพวกเจ้าหน้าที่ต่างประเทศ ที่ไม่ประสงค์เอ่ยนามระบุรัฐบาลของอัสซาด อาจกำลังอยู่บนขอบเหวแห่งการล่มสลาย โดยเจ้าหน้าที่สหรัฐฯรายหนึ่งถึงขั้นคาดการณ์กรอบเวลาราวๆ 5 ถึง 10 วัน ส่วนอีกคนบอกว่า อัสซาด อาจถูกโค่นอำนาจในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า ซึ่งเจ้าหน้าที่ตะวันตกรายหนึ่งก็เห็นด้วยกับคำประเมินดังกล่าว . การยึดเมืองฮอมส์ ซึ่งเป็นเส้นทางจุดตัดสำคัญระหว่างเมืองหลวงกับทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เท่ากับเป็นการตัดขาดกรุงดามัสกัสออกจากชายฝั่งทะเล อันเป็นป้อมปราการของชนกลุ่มนิกายชีอะห์อะลาไวต์ ที่สนับสนุนอัสซาด และจากฐานทัพและฐานทัพเรือของรัสเซีย . บรรดาผู้บัญชาการกองทัพซีเรียและผู้บัญชาการด้านความมั่นคง ออกจากเมืองฮอมส์ด้วยเฮลิคอปเตอร์ในวันเสาร์(7ธ.ค.) ส่วนขบวนทหารขนาดใหญ่ล่าถอยด้วยการเดินเท้า จากการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ในขณะที่ฝ่ายกบฏบอกว่าพวกเขากำลังรุกเข้าไปยังย่านใจกลางเมือง . พวกกบฏอ้างว่าสามารถยึดพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ได้เกือบทั้งหมดภายใน 24 ชั่วโมง และพวกเขารุกคืบเข้าไปอยู่ในรัศมีห่างจากกรุงดามัสกัส ไม่ถึง 30 กิโลเมตร หลังจากกองกำลังรัฐบาลล่าถอยไป . ในสถานการณ์ที่ตอกย้ำความเป็นไปได้ของการเกิดการลุกฮือในเมืองหลวง พวกผู้ประท้วงลงสู่ท้องถนสายต่างๆในแถบชานเมืองหลายแห่งของกรุงดามัสกัส ฉีกโปสเตอร์ภาพของอัสซาดและช่วยกันโค่นรูปปั้นของอดีตประธานาธิบดีฮาเฟซ อัล-อัสซาด บิดาของเขา โดยไม่มีทหารหรือตำรวจเข้ามาห้ามปรามแต่อย่างใด ขณะที่ชาวบ้านหลายคนบอกว่าทหารบางส่วนถึงขั้นเปลี่ยนชุดเป็นชุดพลเรือนเข้าร่วมด้วย . อย่างไรก็ตาม สำนักข่าวแห่งรัฐรายงานว่า อัสซาด ยังคงอยู่ในกรุงดามัสกัส และกองทัพเผยว่าพวกเขากำลังเสริมกำลังรอบเมืองหลวงและทางใต้ . ความคืบหน้าของสถานการณ์ที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว สร้างความตกตะลึงแก่เหล่าประเทศอาหรับ และโหมกระพือความกังวลเกี่ยวกับภาวะไร้เสถียรภาพระลอกใหม่ในภูมิภาค . กาตาร์, ซาอุดีอาระเบีย, จอร์แดน, อียิปต์, อิรัก, อิหร่าน, ตุรกีและรัสเซีย ออกถ้อยแถลงร่วม บอกว่าวิกฤตนี้กำลังมีวิวัฒนาการที่อันตราย และเรียกร้องให้หาทางออกทางการเมือง อย่างไรก็ตามไม่มีสิ่งบ่งชี้ว่าพวกเขาเห็นพ้องในก้าวย่างที่เป็นรูปธรรมใดๆ ในฐานะสถานการณ์ภายในซีเรีย เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเป็นรายชั่วโมง . สงครามกลางเมืองของซีเรีย ซึ่งปะทุขึ้นในปี 2011 เป็นการลุกฮือต่อต้านการปกครองของอัสซาด ก่อนที่ต่อมามันจะลากบรรดามหาอำนาจจากสงนอกเข้าร่วมวงด้วย ก่อพื้นที่ให้พวกนักรบญิฮาดวางแผนโจมตีทั่วโลแและก่อคลื่นผู้ลี้ภัยหลายล้านคนไหลบ่าเข้าสู่บรรดาประเทศเพื่อนบ้าน . อัสซาด พึ่งพิงเหล่าพันธมิตรมาช้านานในการกำราบฝ่ายกบฏ โดยมีฝูงบินรบรัสเซียปฏิบัติการโจมตีทางอากาศ ส่วนอิหร่านส่งกองกำลังพันธมิตร ในนั้นรวมถึงฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอนและกลุ่มติดอาวุธในอิรัก เข้าเสริมกำลังแก่กองทัพซีเรียและบุกจู่โจมป้อมปราการของกบฏ . อย่างไรก็ตามด้วยที่รัสเซียต้องหันไปโฟกัสกับสงครามยูเครนมาตั้งแต่ปี 2022 และฮิซบอลเลาะห์ประสบความสูญเสียครั้งใหญ่ในการทำสงครามกองโจรกับอิสราเอล มันจึงจำกัดศักยภาพของพวกเขาหรือของอิหร่าน ในการสนับสนุนอัสซาด . ด้าน โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ บอกว่าอเมริกาจะไม่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง และควรปล่อยให้เรื่องนี้ดำเนินไปด้วยตัวมันเอง . รัสเซีย มีฐานทัพเรือและฐานทัพอากาศในซีเรีย ซึ่งไม่ได้มีความสำคัญแก่สนับสนุนอัสซาดเท่านั้น แต่ยังมีศักยภาพในการสำแดงอิทธิพลของพวกเขาในเมดิเตอร์เรเนียนและแอฟริกา . ที่ผ่านมา มอสโกให้การสนับสนุนกองกำลังรัฐบาลซีเรียด้วยปฏิบัติการโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วง แต่สำหรับหนนี้ไม่เป็นที่ชัดเจนว่าพวกเขาจะยกระดับยุทธการได้อย่างง่ายๆหรือไม่ ส่วนอิหร่านบอกว่าพวกเขาจะพิจารณาส่งกองกำลังไปยังซีเรีย แต่ความช่วยเหลือพิเศษในช่วงเร็วๆนี้ ดูเหมือนจะต้องพึ่งพวกฮิซบอลเลาะห์และกลุ่มติดอาวุธในอิรักไปก่อน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000117846 .................. Sondhi X
    Like
    Sad
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1047 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 58 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เอาเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐมาจากไหน?"
    กลุ่มก่อการร้าย HTS เสนอรางวัลตามจับ ปธน. Bashar al-Assad ของซีเรีย 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเขาหายตัวไปจากดามัสกัส
    "เอาเงิน 10 ล้านเหรียญสหรัฐมาจากไหน?" กลุ่มก่อการร้าย HTS เสนอรางวัลตามจับ ปธน. Bashar al-Assad ของซีเรีย 10 ล้านเหรียญสหรัฐ หลังจากเขาหายตัวไปจากดามัสกัส
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 129 มุมมอง 0 รีวิว
  • ขอไปนะอำนาจแห่งบุญที่ทำไว้ ยามทุกข์ขอบุญที่สร้างนั้นแหละมาช่วย
    ขอไปนะอำนาจแห่งบุญที่ทำไว้ ยามทุกข์ขอบุญที่สร้างนั้นแหละมาช่วย
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 59 มุมมอง 0 รีวิว
  • 1/
    มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องบิน Ilyushin Il-76T รหัสเรียกขาน SYR9218 ของสายการบิน Syrian Airways (สายการบินของรัฐบาลซีเรีย) ซึ่งออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดามัสกัสเมื่อชั่วโมงก่อน ทิศทางการบินของเครื่องบินลำนี้ผิดปกติอย่างมาก มีการหักเลี้ยวอย่างกะทันหันก่อนจะหลุดจากเรดาร์

    ข้อมูลจาก flightradar24 ระบุว่าเครื่องบินอาจตก
    1/ มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องบิน Ilyushin Il-76T รหัสเรียกขาน SYR9218 ของสายการบิน Syrian Airways (สายการบินของรัฐบาลซีเรีย) ซึ่งออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดามัสกัสเมื่อชั่วโมงก่อน ทิศทางการบินของเครื่องบินลำนี้ผิดปกติอย่างมาก มีการหักเลี้ยวอย่างกะทันหันก่อนจะหลุดจากเรดาร์ ข้อมูลจาก flightradar24 ระบุว่าเครื่องบินอาจตก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 238 มุมมอง 0 รีวิว
  • 2/
    มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องบิน Ilyushin Il-76T รหัสเรียกขาน SYR9218 ของสายการบิน Syrian Airways (สายการบินของรัฐบาลซีเรีย) ซึ่งออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดามัสกัสเมื่อชั่วโมงก่อน ทิศทางการบินของเครื่องบินลำนี้ผิดปกติอย่างมาก มีการหักเลี้ยวอย่างกะทันหันก่อนจะหลุดจากเรดาร์

    ข้อมูลจาก flightradar24 ระบุว่าเครื่องบินอาจตก
    2/ มีเหตุการณ์ผิดปกติเกิดขึ้นกับเครื่องบิน Ilyushin Il-76T รหัสเรียกขาน SYR9218 ของสายการบิน Syrian Airways (สายการบินของรัฐบาลซีเรีย) ซึ่งออกเดินทางจากสนามบินนานาชาติดามัสกัสเมื่อชั่วโมงก่อน ทิศทางการบินของเครื่องบินลำนี้ผิดปกติอย่างมาก มีการหักเลี้ยวอย่างกะทันหันก่อนจะหลุดจากเรดาร์ ข้อมูลจาก flightradar24 ระบุว่าเครื่องบินอาจตก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 397 มุมมอง 10 0 รีวิว
  • 1/
    เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว

    ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    1/ เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 475 มุมมอง 5 0 รีวิว
  • 2/
    เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว

    ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    2/ เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 494 มุมมอง 7 0 รีวิว
  • 3/
    เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว

    ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    3/ เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 511 มุมมอง 7 0 รีวิว
  • 4/
    เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว

    ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    4/ เกิดความโกลาหลวุ่นวายที่สนามบินดามัสกัส เมื่อผู้ก่อการร้ายเข้ายึดครองเมืองหลวงซีเรียได้แล้ว ผู้โดยสารหลายคนต้องติดค้างที่สนามบินนานาชาติดามัสกัส เนื่องจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลและเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยหลบหนีไปหมดแล้ว ไม่มีใครแม้แต่จะประทับตราหนังสือเดินทาง
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 540 มุมมอง 7 0 รีวิว
  • มีรายงานว่า เจ้าหน้าตำรวจของเกาหลีใต้จับกุมอดีตรัฐมนตรีกลาโหม คิม ยอง ฮยอน ในข้อหาก่อกบฏ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล
    มีรายงานว่า เจ้าหน้าตำรวจของเกาหลีใต้จับกุมอดีตรัฐมนตรีกลาโหม คิม ยอง ฮยอน ในข้อหาก่อกบฏ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบสวนสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกของประธานาธิบดี ยุน ซอก ยอล
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 186 มุมมอง 0 รีวิว
  • https://youtu.be/D1bEb-a4VSg?si=L6pwmH1qVnW1mXw4
    https://youtu.be/D1bEb-a4VSg?si=L6pwmH1qVnW1mXw4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 57 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 183 มุมมอง 0 รีวิว