อัปเดตล่าสุด
  • ระบบการ ศึกษาของไทยที่มีปัญหา
    ช่วงนี้ผมเป็นห่วงเห็นพ่อแม่หลายคนให้เด็กติว กันหนักมาก
    บางคนอยู่ ม. 1 แต่ว่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์จนจบ เนื้อหาม.3แล้ว
    บางคนอยู่ ม.1 ก็เริ่มเรียนพิเศษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แล้ว
    บางคนอยู่ ม.3 แต่เรียน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เนื้อหาของ ม.ปลาย จบแล้ว…..
    ถามว่าทำไปเพื่ออะไร?
    แน่นอนว่าเด็กกลุ่มนี้อยากเป็นหมอ และอยากเข้ามหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศ ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามเด็กคิดเองหรือพ่อแม่บังคับ หรือกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ พ่อแม่ก็จะดันเต็มที่ ปลายทางคืออยากให้เข้าคณะแพทย์คณะที่ดีที่สุดของประเทศไทยซึ่งแน่นอนว่าคือจุฬากับมหิดล และความฝันในการเรียน ม.ปลายของเด็กกลุ่มนี้ก็ต้องเป็นโรงเรียนชั้นนำเช่นกัน
    คะแนนสอบต่างๆก็ต้องคาดหวังเต็ม 100 หรืออันดับ 1
    ทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องติวกันหนักมาก เลิกเรียนกลับมา ติวต่อแน่นอน , เสาร์ - อาทิตย์ ติวทั้งวัน เช้าถึงเย็น
    แล้วเด็กกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นยังไง?
    น้องเรียนอย่างเดียว ไม่มีกิจกรรมอื่นๆเลยหรือ กีฬา , ดนตรี หรืองานอดิเรกอื่นๆ มีมั้ย
    ผมคิดว่าน่าเป็นห่วงมากๆ เพราะการจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ ต้องหล่อหลอมจากประสบการณ์รอบด้าน ไม่ใช่เรียนหนักเพียงอย่างเดียว
    แน่นอนผมเชื่อว่าปลายทางของเด็กกลุ่มนี้ ถ้าเรียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ เขาได้เป็นหมอสมใจแน่ๆ
    เผลอๆได้เกียรตินิยมอีก แต่… เค้าจะจบมาแบบไม่เคยทำอะไรอย่างอื่นเลย ประสบการณ์การใช้ชีวิตในวัยเด็กของเขา การได้ลองผิดลองถูก การได้ลองทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่การเรียน เค้าเสียตรงนี้ไปโดยที่ย้อนกลับมาไม่ได้แล้ว
    ผมชวนคิดอีกแบบ ถ้าเด็กอยากเป็นหมอ เหมือนกัน เราสอนวิธีการเรียนอีกแบบดีมั้ย?
    คะแนนไม่ต้องเต็ม 100 ก็ได้ เอาแค่พอผ่านเกณฑ์เป็นหมอได้ หรือเข้ามหาวิทยาลัยอันดับ 1 ไม่ได้ ก็ไปอันดับรองๆ หรือถ้ายังไม่ได้อีกก็ภาคเอกชนไปเลย เน้นเข้าเรียนในสถาบันที่เหมาะสมกับตัวเด็กที่สุด มีติวบ้างนิดหน่อย เพราะระบบการศึกษาของไทยที่ผมว่ามีปัญหา ทำให้เด็กๆต้องไปหาความรู้ตามที่เรียนพิเศษกันเยอะ (ไว้จะเล่าประเด็นนี้ให้ฟังวันหลัง) เอาแค่เท่าที่จำเป็นจริงๆ
    แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนคือต้องมีความรับผิดชอบ ส่งการบ้านหรือทำงานตามกำหนดทุกชิ้นหรือไม่ มีการช่วยเหลือครูและเพื่อนในห้องบ้างไหม และเราต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักการวางแผนการเรียนที่ดีอย่างมีระบบ รู้ว่าติวแค่ไหนพอ ไม่มากไป ไม่น้อยไป
    และส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากการเรียนบ้าง ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลองทำกิจกรรมให้หลากหลาย ฝึกให้มีความรับผิดชอบ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ระหว่างเรียน มีสอบตกบ้าง หรือมีความผิดพลาดบ้าง ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ก็ไม่ต้องกดดันลูก แค่เข้าใจและให้กำลังใจ ไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น
    ผมว่าปลายทางของเด็กกลุ่มหลังนี้ก็จบหมอได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้เกียรตินิยม หรืออาจจะไม่ได้เรียนสถานบันการศึกษาอันดับ 1 ของประเทศ

    แต่ที่สำคัญคือเค้าได้ใช้ชีวิตวัยเด็กคุ้มค่าเลย ได้มีการทำกิจกรรมที่หลากหลายนอกเหนือจากการเรียนอย่างเดียว และได้ค้นหาตัวตนไปด้วย แน่นอน….โตขึ้นเค้าก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพมากๆ

    ผมอยากให้นึกภาพถึงเด็กที่เรียนเก่งมากๆ จบการศึกษาสูง แต่ทำอะไรไม่เป็น……กับคนที่เรียนจบเหมือนกันคะแนนอาจจะไม่ได้เต็มร้อย แต่ทำงานเก่งมาก เข้ากับสังคมได้ดี

    หมอคนที่เรียนเก่งมาก กับคนที่เรียนปกติ พอไปทำงานจริงๆแล้ว คนไข้ไม่เคยถามหรอกครับว่าหมอได้เกรดอะไรมา คนไข้ดูแค่ว่าหมอท่านนั้นรักษาหายมั้ย พูดจาแนะนำหรืออัธยาศัยดีมั้ย เท่านี้ครับ และลูกเราก็จะเป็นหมออย่างมีความสุข
    ระบบการ ศึกษาของไทยที่มีปัญหา ช่วงนี้ผมเป็นห่วงเห็นพ่อแม่หลายคนให้เด็กติว กันหนักมาก บางคนอยู่ ม. 1 แต่ว่าเรียนพิเศษคณิตศาสตร์จนจบ เนื้อหาม.3แล้ว บางคนอยู่ ม.1 ก็เริ่มเรียนพิเศษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ แล้ว บางคนอยู่ ม.3 แต่เรียน ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เนื้อหาของ ม.ปลาย จบแล้ว….. ถามว่าทำไปเพื่ออะไร? แน่นอนว่าเด็กกลุ่มนี้อยากเป็นหมอ และอยากเข้ามหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศ ไม่แน่ใจว่าด้วยเหตุผลใดก็ตามเด็กคิดเองหรือพ่อแม่บังคับ หรือกระตุ้นด้วยวิธีการต่างๆ พ่อแม่ก็จะดันเต็มที่ ปลายทางคืออยากให้เข้าคณะแพทย์คณะที่ดีที่สุดของประเทศไทยซึ่งแน่นอนว่าคือจุฬากับมหิดล และความฝันในการเรียน ม.ปลายของเด็กกลุ่มนี้ก็ต้องเป็นโรงเรียนชั้นนำเช่นกัน คะแนนสอบต่างๆก็ต้องคาดหวังเต็ม 100 หรืออันดับ 1 ทำให้เด็กกลุ่มนี้ต้องติวกันหนักมาก เลิกเรียนกลับมา ติวต่อแน่นอน , เสาร์ - อาทิตย์ ติวทั้งวัน เช้าถึงเย็น แล้วเด็กกลุ่มนี้จะใช้ชีวิตในวัยเด็กจนถึงวัยรุ่นยังไง? น้องเรียนอย่างเดียว ไม่มีกิจกรรมอื่นๆเลยหรือ กีฬา , ดนตรี หรืองานอดิเรกอื่นๆ มีมั้ย ผมคิดว่าน่าเป็นห่วงมากๆ เพราะการจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ ต้องหล่อหลอมจากประสบการณ์รอบด้าน ไม่ใช่เรียนหนักเพียงอย่างเดียว แน่นอนผมเชื่อว่าปลายทางของเด็กกลุ่มนี้ ถ้าเรียนแบบนี้ไปเรื่อยๆ เขาได้เป็นหมอสมใจแน่ๆ เผลอๆได้เกียรตินิยมอีก แต่… เค้าจะจบมาแบบไม่เคยทำอะไรอย่างอื่นเลย ประสบการณ์การใช้ชีวิตในวัยเด็กของเขา การได้ลองผิดลองถูก การได้ลองทำกิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่การเรียน เค้าเสียตรงนี้ไปโดยที่ย้อนกลับมาไม่ได้แล้ว ผมชวนคิดอีกแบบ ถ้าเด็กอยากเป็นหมอ เหมือนกัน เราสอนวิธีการเรียนอีกแบบดีมั้ย? คะแนนไม่ต้องเต็ม 100 ก็ได้ เอาแค่พอผ่านเกณฑ์เป็นหมอได้ หรือเข้ามหาวิทยาลัยอันดับ 1 ไม่ได้ ก็ไปอันดับรองๆ หรือถ้ายังไม่ได้อีกก็ภาคเอกชนไปเลย เน้นเข้าเรียนในสถาบันที่เหมาะสมกับตัวเด็กที่สุด มีติวบ้างนิดหน่อย เพราะระบบการศึกษาของไทยที่ผมว่ามีปัญหา ทำให้เด็กๆต้องไปหาความรู้ตามที่เรียนพิเศษกันเยอะ (ไว้จะเล่าประเด็นนี้ให้ฟังวันหลัง) เอาแค่เท่าที่จำเป็นจริงๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดในการเรียนคือต้องมีความรับผิดชอบ ส่งการบ้านหรือทำงานตามกำหนดทุกชิ้นหรือไม่ มีการช่วยเหลือครูและเพื่อนในห้องบ้างไหม และเราต้องส่งเสริมให้เด็กรู้จักการวางแผนการเรียนที่ดีอย่างมีระบบ รู้ว่าติวแค่ไหนพอ ไม่มากไป ไม่น้อยไป และส่งเสริมให้เด็กได้ทำกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากการเรียนบ้าง ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ลองทำกิจกรรมให้หลากหลาย ฝึกให้มีความรับผิดชอบ เรียนรู้การทำงานเป็นทีม ระหว่างเรียน มีสอบตกบ้าง หรือมีความผิดพลาดบ้าง ให้เขาได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง พ่อแม่ก็ไม่ต้องกดดันลูก แค่เข้าใจและให้กำลังใจ ไม่ต้องเปรียบเทียบกับคนอื่น ผมว่าปลายทางของเด็กกลุ่มหลังนี้ก็จบหมอได้เหมือนกัน แต่อาจจะไม่ได้เกียรตินิยม หรืออาจจะไม่ได้เรียนสถานบันการศึกษาอันดับ 1 ของประเทศ แต่ที่สำคัญคือเค้าได้ใช้ชีวิตวัยเด็กคุ้มค่าเลย ได้มีการทำกิจกรรมที่หลากหลายนอกเหนือจากการเรียนอย่างเดียว และได้ค้นหาตัวตนไปด้วย แน่นอน….โตขึ้นเค้าก็จะเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพมากๆ ผมอยากให้นึกภาพถึงเด็กที่เรียนเก่งมากๆ จบการศึกษาสูง แต่ทำอะไรไม่เป็น……กับคนที่เรียนจบเหมือนกันคะแนนอาจจะไม่ได้เต็มร้อย แต่ทำงานเก่งมาก เข้ากับสังคมได้ดี หมอคนที่เรียนเก่งมาก กับคนที่เรียนปกติ พอไปทำงานจริงๆแล้ว คนไข้ไม่เคยถามหรอกครับว่าหมอได้เกรดอะไรมา คนไข้ดูแค่ว่าหมอท่านนั้นรักษาหายมั้ย พูดจาแนะนำหรืออัธยาศัยดีมั้ย เท่านี้ครับ และลูกเราก็จะเป็นหมออย่างมีความสุข
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 495 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 193 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 171 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม