อัปเดตล่าสุด
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    ทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวไร่ชาวนาผู้ผลิตอาหาร ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของมนุษย์
    จึงทรงพระราชดำริที่จะจัดหาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรเหล่านี้ เพื่อให้เกษตรกรมีกำลังใจที่จะทำนาทำไร่ต่อไป ไม่ต้องขายที่ดิน ไม่ต้องเป็นหนี้สิน และไม่ต้องทิ้งถิ่นไปทำมาหากินตามเมืองใหญ่
    สิ่งที่จะเป็นอาชีพเสริมนั้น จะต้องเป็นอาชีพที่ประกอบอยู่ที่บ้านได้ในเวลาที่ว่างจากการทำไร่ทำนา หรือเมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้เพาะปลูก หรือแม้แต่ผู้ไม่มีดินจะเพาะปลูก ก็จะสามารถประกอบอาชีพเสริมนี้ได้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน และด้วยภูมิปัญญาตลอดจนด้วยฝีมือของเขาเอง
    นี่คือที่มาของพระราชดำริในการนำศิลปหัตถกรรมมาเป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวไร่ชาวนาไทย
    ■■■■■■■■■■□
    #พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง #เทิดทูลสถาบันพระมหากษัติริย์ #พระมหากรุณาธิคุณเพื่อปวงชนชาวไทย #ทรงพระเจริญ #ร้อยดวงใจคนไทยภักดี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระพันปีหลวงของปวงไทย #ศิลปาชีพ #thaitimes #thaitimesmanowjourney #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesเทิดทูลสถาบันพระมหากษัติริย์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 12 มุมมอง 358 0 รีวิว
  • สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
    ทรงตระหนักถึงความสำคัญของชาวไร่ชาวนาผู้ผลิตอาหาร ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของมนุษย์
    จึงทรงพระราชดำริที่จะจัดหาอาชีพเสริมให้แก่เกษตรกรเหล่านี้ เพื่อให้เกษตรกรมีกำลังใจที่จะทำนาทำไร่ต่อไป ไม่ต้องขายที่ดิน ไม่ต้องเป็นหนี้สิน และไม่ต้องทิ้งถิ่นไปทำมาหากินตามเมืองใหญ่
    สิ่งที่จะเป็นอาชีพเสริมนั้น จะต้องเป็นอาชีพที่ประกอบอยู่ที่บ้านได้ในเวลาที่ว่างจากการทำไร่ทำนา หรือเมื่อดินฟ้าอากาศไม่อำนวยให้เพาะปลูก หรือแม้แต่ผู้ไม่มีดินจะเพาะปลูก ก็จะสามารถประกอบอาชีพเสริมนี้ได้ด้วยทรัพยากรธรรมชาติหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นของตน และด้วยภูมิปัญญาตลอดจนด้วยฝีมือของเขาเอง
    นี่คือที่มาของพระราชดำริในการนำศิลปหัตถกรรมมาเป็นอาชีพเสริมให้แก่ชาวไร่ชาวนาไทย
    ■■■■■■■■■■■■
    #พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง #เทิดทูลสถาบันพระมหากษัติริย์ #พระมหากรุณาธิคุณเพื่อปวงชนชาวไทย #ทรงพระเจริญ #ร้อยดวงใจคนไทยภักดี #เรารักสถาบันพระมหากษัตริย์ #พระพันปีหลวงของปวงไทย #ศิลปาชีพ #thaitimes #thaitimesมะนาวก้าวเดิน #thaitimesmanowjourney #thaitimesเทิดทูลสถาบันพระมหากษัติริย์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 12 มุมมอง 381 0 รีวิว
  • การ์ตูนการเมือง: บัญชา/คามิน
    ที่มา : ผู้จัดการออนไลน์
    #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • เหล้าเก่าในขวดใหม่ ฝรั่งเศสได้คณะรัฐบาลชุดใหม่ที่เป็นรัฐมนตรีหน้าเดิมของมาครงเป็นแกนหลักครองอำนาจต่อไป

    22 กันยายน 2567-รายงานข่าวต่างประเทศระบุว่า ฝรั่งเศสได้รัฐบาลชุดใหม่แล้ว หลังจากยืดเยื้อมานานตั้งแต่การเลือกตั้งที่ไม่มีผู้ชนะเด็ดขาด หลังจากประธานาธิบดีมาครงได้ประกาศยุบสมัชชาแห่งชาติ (Assemblée nationale) หรือสภาผู้แทนราษฎรของฝรั่งเศส และประกาศให้มีการเลือกตั้งใหม่ชนิดที่ไม่ทันตั้งตัว (snap election) ในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 และวันที่ 7 กรกฎาคม 2024

    โดยคณะรัฐบาลชุดใหม่ส่วนใหญ่เป็นรัฐมนตรีหน้าเดิมที่ทำงานให้กับมาครงเป็นแกนหลัก ขณะที่ผู้ประท้วงฝ่ายซ้ายออกมาเดินขบวนบนท้องถนนเพื่อประณามสิ่งที่พวกเขากล่าวว่าเป็นการปฏิเสธผลการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม ที่ต้องไม่มีมาครง

    สำหรับคณะรัฐบาลใหม่ที่นำโดย มีแชล บาร์นีเย อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศวัย 73 ปี เป็นนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆอีก 19 คน อันได้แก่

    -รัฐมนตรีต่างประเทศ : ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ พันธมิตรของมาครงมายาวนานและรัฐมนตรีกระทรวงยุโรปในรัฐบาลชุดก่อน
    - รัฐมนตรีกระทรวงยุโรป: เบนจามิน ฮัดดาด อดีตโฆษกพรรคของมาครง
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ: แอนน์ เจเนเตต์ อดีตวุฒิสมาชิกพรรคของมาครง (เธอใช้ชีวิตทางการเมืองทั้งหมดอยู่ฝ่ายของมาครง)
    - รัฐมนตรีกลาโหม: เซบาสเตียน เลอกอร์นู ไม่เปลี่ยนแปลงตำแหน่ง เขาเคยเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในรัฐบาลชุดก่อน...
    -รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: อักเนส ปานเนียร์-รูนาเชร์ เธอเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรในรัฐบาลชุดก่อน
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม: ราชิดา ดาติ เหมือนเดิม ไม่มีการเปลี่ยนแปลง เธอเคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในรัฐบาลชุดก่อน
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจ: อองตวน อาร์ม็อง พันธมิตรเก่าแก่ของมาครงอีกคนหนึ่ง เขาดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครของมาครงในช่วงหาเสียงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2022
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม: มาร์ก เฟอร์ราซี นี่อาจเป็นเรื่องที่น่าตกตะลึงที่สุด เพราะเขาคือเพื่อนเจ้าบ่าวของมาครงในงานแต่งงานของเขา
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงราชการ: กีโยม คาสบาเรียน เขาเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่อยู่อาศัยในรัฐบาลชุดก่อน
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงงบประมาณ: Laurent Saint-Martin พันธมิตรอีกคนหนึ่งของ Macron ซึ่งเคยเป็นหัวหน้าหน่วยงาน "Business France" ในรัฐบาลก่อน
    - รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว: มาริน่า เฟอร์รารี เธอเป็นรัฐมนตรีกระทรวงดิจิทัลในรัฐบาลชุดก่อน
    - โฆษกของรัฐบาล: Maud Bregeon เธอเป็น ส.ส. จากพรรคของ Macron ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้ง

    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมีรัฐมนตรีที่ไม่ใช่คนของมาครงอยู่บ้าง เช่น บรูโน รีเทลโล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย แต่ส่วนใหญ่มาจากพรรค Les Républicains ของนายกรัฐมนตรีบาร์นิเยร์ ซึ่งได้คะแนนเสียงเพียง 5% ในการเลือกตั้ง ดังนั้น พวกเขาจึงยิ่งมีความชอบธรรมน้อยลงไปอีก

    "นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของสาธารณรัฐของเราที่มีรัฐบาลที่ไม่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตยเลย"อดีตเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสกล่าว
    #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 13 มุมมอง 0 รีวิว
  • อนุรา กุมาร ดิสสานายาเก สส.จากพรรคมาร์กซิสต์ ชนะเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกา สามารถโค่น นายนรานิล วิกรมสิงห์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันออกไปได้

    22 กันยายน 2567-รายงานข่าวเอพีระบุว่า นายดิสซานายาเกรณรงค์หาเสียงสนับสนุนจากชนชั้นแรงงานและต่อต้านชนชั้นนำทางการเมือง ทำให้เขาเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นหนุ่มสาว เป็นผู้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงร้อยละ 39 ตามมาด้วยนายสาจิธ เปรมทาสา ผู้นำฝ่ายค้านได้คะแนนร้อยละ 34 ตามผลการนับคะแนนที่เผยแพร่โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง

    การเลือกตั้งจัดขึ้นในวันเสาร์ที่21 กันยายนมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากประเทศกำลังพยายามฟื้นตัวจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์และ ความวุ่นวายทางการเมืองที่เกิดขึ้นตามมาโดยมีผู้สมัคร 38 คนลงแข่งขัน แต่โดยส่วนใหญ่จะเน้นที่ผู้สมัครสามคนคือ Dissanayake, Wickremesinghe และPremadasa

    สำหรับนาย ดิสสานายาเก วัย 55 ปี เป็นผู้นำของกลุ่มแนวร่วมฝ่ายซ้ายที่เรียกว่า National People's Power ซึ่งเป็นกลุ่มพันธมิตรที่ประกอบด้วยกลุ่มประชาสังคม นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ พระสงฆ์ และนักศึกษาหัวก้าวหน้า

    เมื่อปี 2562 นาย ดิสซานายาเกะ ลงสมัครการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งก่อนเคะแนได้เสียงเพียง 3% ผิดกับวันนี้ที่ได้คะแนนเสียงถึง 39%ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง17ล้านคน ถือเป็นผลงานที่แข็งแกร่ง และบ่งชี้ว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งเริ่มเบื่อหน่ายกับนโยบายเดิม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าผลักให้เศรษฐกิจไม่มั่นคง

    วิกฤตเศรษฐกิจของศรีลังกาเกิดจากการกู้ยืมเงินมากเกินไปสำหรับโครงการที่ไม่สร้างรายได้ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และความดื้อรั้นของรัฐบาลในการใช้เงินสำรองต่างประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่อพยุงสกุลเงินรูปี ส่งผลให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างหนัก

    ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำส่งผลให้ขาดแคลนสิ่งจำเป็น เช่น ยาอาหาร แก๊สหุงต้ม และเชื้อเพลิงอย่างรุนแรง ทำให้ประชาชนต้องยืนรอคิวเป็นเวลานานหลายวันเพื่อซื้อสิ่งของเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดการจลาจล ผู้ประท้วงบุกยึดอาคารสำคัญๆ รวมถึงบ้านของประธานาธิบดี สำนักงานของเขา และสำนักงานของนายกรัฐมนตรี จนทำให้โกตาบายา ราชปักษา ประธานาธิบดีในขณะนั้นต้องหลบหนีออกนอกประเทศและลาออก

    วิกรมสิงห์ได้รับเลือกโดยการลงคะแนนเสียงของรัฐสภาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2565 เพื่อดำรงตำแหน่งแทนราชปักษาในช่วงเวลาที่เหลือ

    รัฐบาลวิกรมสิงห์ประกาศเมื่อวันพฤหัสบดีว่าได้ผ่านอุปสรรคสุดท้ายในการปรับโครงสร้างหนี้แล้วด้วยการบรรลุข้อตกลงในหลักการกับผู้ถือพันธบัตรเอกชน

    ศรีลังกาผิดนัดชำระหนี้ ทั้งหนี้ในประเทศและต่างประเทศมียอดรวม 83,000 ล้านดอลลาร์ รัฐบาลระบุว่าขณะนี้ได้ปรับโครงสร้างหนี้แล้วมากกว่า 17,000 ล้านดอลลาร์

    หากรัฐบาลใหม่ภายใต้การนำของ Dissanayake ที่กล่าวว่าเขาจะเจรจาข้อตกลงกับ IMF ใหม่เพื่อให้มาตรการรัดเข็มขัดมีความเหมาะสมมากขึ้น แต่รัฐบาลวิกรมสิงห์เตือนว่าการเคลื่อนไหวใดๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของข้อตกลงอาจทำให้การอนุมัติเงินงวดที่ 4 มูลค่าเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการรักษาเสถียรภาพล่าช้าออกไป

    #Thaitimes
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 11 มุมมอง 0 รีวิว
  • 0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 15 มุมมอง 0 รีวิว
เรื่องราวเพิ่มเติม