• พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน
    .
    ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ
    .
    บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย
    .
    มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้
    .
    ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน
    .
    ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน
    .
    กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย
    .
    นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้
    .
    ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่
    .
    สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว
    .
    อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ
    .
    มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน
    .
    นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364
    ..............
    Sondhi X
    พวกผู้นำยุโรปที่ร่วมประชุมฉุกเฉินในกรุงปารีส มองต่างมุมเกี่ยวกับการหาวิธีรับมือการกลับลำนโยบายต่อยูเครนของทรัมป์ ฝรั่งเศสและอังกฤษพยายามผลักดันการรับประกันความมั่นคงของเคียฟ โดยที่ผู้นำลอนดอนยอมรับต้องรออเมริกาออกหน้าก่อน แต่เยอรมนีค้านข้อเสนอส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครน . ประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส เป็นเจ้าภาพจัดประชุมฉุกเฉินที่ปารีสในวันจันทร์ ขณะที่ยุโรปกังวลว่า ตนเองจะถูกตัดออกจากการเจรจาสันติภาพในยูเครน ซึ่งแม้แต่เคียฟก็ยังถูกเทเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ส่งคณะผู้แทนระดับสูงไปประชุมกับคณะเจ้าหน้าที่รัสเซียที่ซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีกำหนดเริ่มต้นในวันอังคาร (18 ก.พ.) โดยที่ทั้งเคียฟและยุโรปไม่ได้รับเชิญ . บรรดาผู้นำยุโรปถกเถียงกันในปารีสเกี่ยวกับการเพิ่มงบประมาณกลาโหมเพื่อลดการพึ่งพิงอเมริกา การรับประกันความมั่นคงของยูเครน ตลอดจนการจัดส่งทหารไปรักษาสันติภาพในยูเครนหากมีทำข้อตกลงหยุดยิงกับรัสเซีย . มาครงเผยเมื่อเช้าวันอังคาร (18 ก.พ.) ว่า ได้หารือทางโทรศัพท์กับทรัมป์ และประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี และได้เรียกร้องการรับประกันความมั่นคงที่เข้มแข็งและเชื่อถือได้สำหรับยูเครน เพื่อให้ข้อตกลงสันติภาพไม่จบแบบเดียวกับข้อตกลงมินสก์ในปี 2014 และ 2015 ที่ไม่สามารถแก้ไขความขัดแย้งในดินแดนด้านตะวันออกของยูเครนได้ . ผู้นำฝรั่งเศสบอกว่า การกลับสู่ทำเนียบขาวของทรัมป์เทียบได้กับการช็อตด้วยไฟฟ้า แต่เตือนว่าข้อตกลงสันติภาพไม่ควรจบลงที่การยอมจำนน . ด้านเซเลนสกีประกาศว่า ยูเครนจะไม่ยอมรับข้อตกลงสันติภาพใดๆ ที่มีการหารือลับหลังโดยที่เคียฟไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง . สำหรับนายกรัฐมนตรีดิค ชูฟ ของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเข้าร่วมประชุมที่ปารีสด้วย โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ว่า ทุกประเทศรับรู้ถึงความจำเป็นเร่งด่วน และในช่วงเวลาที่สำคัญต่อความมั่นคงของยุโรปขณะนี้ ยุโรปต้องสนับสนุนยูเครนต่อไปด้วยการเป็นแกนนำในการรับประกันข้อตกลงใดๆ ก่อนสำทับว่า การร่วมมือกับอเมริกามีความสำคัญเช่นเดียวกัน . กระนั้น ยังไม่ชัดเจนว่ายุโรปจะโน้มน้าววอชิงตันอย่างไร หลังจากที่ทรัมป์ทำยูเครนและพันธมิตรยุโรปอึ้งไปตามๆ กันเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ด้วยการโทรศัพท์คุยกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ที่ถูกตะวันตกโดดเดี่ยวมาหลายปี โดยไม่ปรึกษาใครในยุโรปเลย . นายกรัฐมนตรีเคียร์ สตาร์เมอร์ของอังกฤษที่เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาประกาศว่า พร้อมส่งทหารอังกฤษไปยูเครนถ้าจำเป็น ล่าสุดกลับแบะท่าว่า อเมริกาต้องรับประกันความปลอดภัยก่อน ยุโรปจึงจะสามารถส่งกองกำลังไปยูเครนได้ . ทว่า ภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีโอลาฟ ชอลซ์ของเยอรมนี ตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะถกเถียงกันเกี่ยวกับการส่งกองกำลังสันติภาพไปยูเครน เนื่องจากยังคงมีการสู้รบกันอยู่ . สำหรับนายกรัฐมนตรีโดนัลด์ ทุสค์ของโปแลนด์ กล่าวว่า ทุกคนในที่ประชุมรับรู้ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปและอเมริกาได้ก้าวเข้าสู่เฟสใหม่ ขณะที่ตัวเขาเองพูดไว้ตั้งแต่ก่อนเข้าประชุมว่า โปแลนด์จะไม่ส่งทหารเข้าไปในดินแดนยูเครน โดย "โปแลนด์จะสนับสนุนยูเครนแบบเดียวกับที่ทำมาจนถึงตอนนี้ โปแลนด์ให้การสนับสนุนยูเครนอย่างเป็นระบบและสอดคล้องกับศักยภาพทางการเงินของเรา ทั้งในแง่ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและด้านการทหาร" เขากล่าว . อัวร์ซูลา ฟอน แดร์ ไลเอิน ประธานของคณะกรรมาธิการยุโรป ที่เป็นองค์กรบริหารของอียู ระบุว่า ยูเครนสมควรมีสันติภาพด้วยสถานะที่เข้มแข็ง รวมทั้งได้รับการรับประกันความมั่นคง นอกจากนั้น ความเป็นเอกราช อธิปไตย และบูรณาภาพแห่งดินแดนของยูเครนควรได้รับการเคารพ . มาร์ค รึตเตอ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) ประกาศว่า ยุโรปมีความมุ่งมั่นชัดเจนในการสนับสนุนยูเครน . นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเทอ เฟรเดริกเซิน กล่าวว่า เดนมาร์กเปิดกว้างในประเด็นการส่งทหารไปยูเครน แต่เตือนว่า คำถามสำคัญคืออเมริกาจะสนับสนุนเรื่องนี้หรือไม่ พร้อมสำทับว่า รัสเซียกำลังคุกคามยุโรปทั้งหมด และเตือนวอชิงตันว่า การเร่งรัดข้อตกลงหยุดยิงจะเปิดโอกาสให้มอสโกระดมพลอีกครั้งเพื่อกลับไปโจมตียูเครนหรือประเทศอื่นในยุโรป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016364 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1678 มุมมอง 0 รีวิว
  • การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ

    - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย

    - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้

    - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้

    - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว

    - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง

    - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    การประชุมฉุกเฉินของประธานาธิบดีมาครงแห่งฝรั่งเศส ดูเหมือนจะเป็นเพียงแค่เด็กเล่นขายของ - การประชุมสุดยอดครั้งนี้มีเลขาธิการนาโต้ นายกรัฐมนตรีจากอังกฤษ เดนมาร์ก สเปน โปแลนด์ และอิตาลี รวมถึงนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีเข้าร่วมด้วย - สำนักข่าวหลายแห่งรายงานพร้อมเพรียงกันก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้นว่า นี่เป็นความหวังเดียวของเซเลนสกี ที่จะทำให้เขายืนหยัดในการทำสงครามกับรัสเซียต่อไปได้ - แต่หลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง นายกรัฐมนตรีโปแลนด์ ออกมากล่าวว่า ยังไม่มีการตัดสินใจใดๆ เกี่ยวกับยูเครนในการประชุมสุดยอดฉุกเฉินครั้งนี้ - "การประชุมดังกล่าวยังไม่มีผลในการตัดสินใจ เนื่องจากองค์กรนี้ไม่มีความสามารถในการตัดสินใจผูกมัดหรือตัดสินใจขั้นสุดท้ายได้" ทัสก์กล่าวในการแถลงข่าว - สำหรับชอลซ์ กล่าวไว้ชัดเจนตั้งแต่ก่อนการเริ่มประชุมแล้วว่า เบอร์ลินจะไม่ส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปยังยูเครน จนกว่าสหรัฐฯ จะรับปากดำเนินการแบบเดียวกันกับกองกำลังของตนเอง - มีเพียงอังกฤษเท่านั้น ที่แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าพร้อมพิจารณาส่งกองกำลังเข้าสู่ยูเครน แต่ก็มีเงื่อนไขว่า เพื่อเป็นการปกป้องยูเครน และต้องหลังสงครามสิ้นสุดลงเท่านั้น!
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 146 มุมมอง 0 รีวิว
  • กลุ่มระดมทุนสาธารณะแห่งหนึ่งในเดนมาร์ก เสนอให้ประเทศของพวกเขาขอซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ และแนวคิดที่เป็นการตอบโต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของอเมริกา ที่แสดงความคิดเห็นไม่หยุดว่ามีความสนใจอยากได้เกาะกรีนแลนด์ไว้ในครอบครอง
    .
    ทรัมป์ พูดซ้ำๆ เกี่ยวกับแนวคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก อ้างว่าเกาะแห่งนี้มีค่ายิ่งทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของอเมริกา
    .
    แม้เดนมาร์กและชาวกรีนแลนด์ปฏิเสธความคิดดังกล่าวโดยสิ้นเชิง แต่ ทรัมป์ บ่งชี้ว่าเขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและการบีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนดังกล่าว ในขณะที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำเช่นกันเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าการซื้อเกาะกรีนแลนด์เป็นเป้าหมายที่จริงจังและไม่ใช่เรื่องล้อเล่น
    .
    ในการตอบโต้ความสนใจอย่างไม่ลดละของทรัมป์ ทางกลุ่มระดมทุนสาธารณะ วางกรอบข้อเสนอของตนเองถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯเช่นกัน โดยได้จัดทำหนังสืออุทธรณ์ออนไลน์สำหรับขอให้ซื้อรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ที่ใช้ชื่อว่า "Denmarkification" และภายใต้คำประกาศก้อง "ทำให้แคลิฟอร์เนียยิ่งใหญ่อีกครั้ง (Make California Great Again)"
    .
    หนังสืออุทธรณ์เสียดสีถากถางนี้ ร้องขอระดมทุนสาธารณะเป็นเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย และอ้างว่าจนถึงตอนเช้าวันอังคาร (11 ก.พ.) สามารถ รวบรวมรายชื่อได้แล้วเกือบ 200,000 คน จากประชากรทั้งหมดของประเทศราว 6 ล้านคน
    .
    ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก เชอร์ลีย์ เว็บสเตอร์ เลขาธิการรัฐแคลิฟอร์เนีย อนุญาตให้เปิดแคมเปญหนึ่ง ในการเริ่มรวบรวมรายชื่อสำหรับโหวตแยกตัวออกจากสหรัฐฯ และกลายเป็นประเทศเอกราช ในการลงมติในปี 2028
    .
    แคลิฟอร์เนียจะกลายเป็น "นิวเดนมาร์ก" เว็บไซต์ของแคมเปญระดมทุนระบุ พร้อมบอกว่าสวนสนุกชื่อก้องโลก "ดิสนีย์แลนด์" ในรัฐแห่งนี้ จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน"
    .
    ในหนังสืออุทธรณ์ยังบอกด้วยว่าผลประโยชน์อื่นๆ ที่เดนมาร์กจะได้รับจากการซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมไปถึง "ความเป็นเจ้าทางเทคโนโลยี" และ "มีขนมปังปิ้งหน้าอะโวคาโดรับประทานไปตลอดกาล"
    .
    "คุณเคยมองไปยังแผนที่แล้วคิดหรือไม่ว่า คุณรู้หรือเปล่าว่าเดนมาร์กต้องการอะไร แสงแดดมากกว่าเดิม ต้นปาล์ม และโรลเลอร์สเก็ต" เว็บไซต์ระดมทุนระบุ "แน่นอน เรามีโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะทำให้ฝันนั้นกลายเป็นจริง"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013982
    ..............
    Sondhi X
    กลุ่มระดมทุนสาธารณะแห่งหนึ่งในเดนมาร์ก เสนอให้ประเทศของพวกเขาขอซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย เป็นเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ และแนวคิดที่เป็นการตอบโต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของอเมริกา ที่แสดงความคิดเห็นไม่หยุดว่ามีความสนใจอยากได้เกาะกรีนแลนด์ไว้ในครอบครอง . ทรัมป์ พูดซ้ำๆ เกี่ยวกับแนวคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก อ้างว่าเกาะแห่งนี้มีค่ายิ่งทั้งในด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของอเมริกา . แม้เดนมาร์กและชาวกรีนแลนด์ปฏิเสธความคิดดังกล่าวโดยสิ้นเชิง แต่ ทรัมป์ บ่งชี้ว่าเขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและการบีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อให้ได้มาซึ่งดินแดนดังกล่าว ในขณะที่ มาร์โก รูบิโอ รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ เน้นย้ำเช่นกันเมื่อเดือนที่แล้ว ว่าการซื้อเกาะกรีนแลนด์เป็นเป้าหมายที่จริงจังและไม่ใช่เรื่องล้อเล่น . ในการตอบโต้ความสนใจอย่างไม่ลดละของทรัมป์ ทางกลุ่มระดมทุนสาธารณะ วางกรอบข้อเสนอของตนเองถึงประธานาธิบดีสหรัฐฯเช่นกัน โดยได้จัดทำหนังสืออุทธรณ์ออนไลน์สำหรับขอให้ซื้อรัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ที่ใช้ชื่อว่า "Denmarkification" และภายใต้คำประกาศก้อง "ทำให้แคลิฟอร์เนียยิ่งใหญ่อีกครั้ง (Make California Great Again)" . หนังสืออุทธรณ์เสียดสีถากถางนี้ ร้องขอระดมทุนสาธารณะเป็นเงิน 1 ล้านล้านดอลลาร์ สำหรับซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย และอ้างว่าจนถึงตอนเช้าวันอังคาร (11 ก.พ.) สามารถ รวบรวมรายชื่อได้แล้วเกือบ 200,000 คน จากประชากรทั้งหมดของประเทศราว 6 ล้านคน . ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจาก เชอร์ลีย์ เว็บสเตอร์ เลขาธิการรัฐแคลิฟอร์เนีย อนุญาตให้เปิดแคมเปญหนึ่ง ในการเริ่มรวบรวมรายชื่อสำหรับโหวตแยกตัวออกจากสหรัฐฯ และกลายเป็นประเทศเอกราช ในการลงมติในปี 2028 . แคลิฟอร์เนียจะกลายเป็น "นิวเดนมาร์ก" เว็บไซต์ของแคมเปญระดมทุนระบุ พร้อมบอกว่าสวนสนุกชื่อก้องโลก "ดิสนีย์แลนด์" ในรัฐแห่งนี้ จะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น "ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์เซน" . ในหนังสืออุทธรณ์ยังบอกด้วยว่าผลประโยชน์อื่นๆ ที่เดนมาร์กจะได้รับจากการซื้อรัฐแคลิฟอร์เนีย รวมไปถึง "ความเป็นเจ้าทางเทคโนโลยี" และ "มีขนมปังปิ้งหน้าอะโวคาโดรับประทานไปตลอดกาล" . "คุณเคยมองไปยังแผนที่แล้วคิดหรือไม่ว่า คุณรู้หรือเปล่าว่าเดนมาร์กต้องการอะไร แสงแดดมากกว่าเดิม ต้นปาล์ม และโรลเลอร์สเก็ต" เว็บไซต์ระดมทุนระบุ "แน่นอน เรามีโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตที่จะทำให้ฝันนั้นกลายเป็นจริง" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000013982 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1850 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ"
    .
    "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว
    .
    ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี
    .
    เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี
    .
    ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก"
    .
    ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป
    .
    สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล
    .
    ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน
    .
    นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์
    .
    อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก
    .
    "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ" . "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว . ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี . เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี . ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก" . ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป . สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย . อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล . ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน . นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์ . อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก . "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    10
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1842 มุมมอง 0 รีวิว
  • ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เน้นย้ำข้อเสนอของเขาที่เรียกร้องให้แคนาดา เข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา รับปากว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะนำมาซึ่ง "การไม่รีดภาษี" และ ชาวแคนาดา ถูกเรียกเก็บภาษีน้อยลงอย่างมาก แม้แคนาดาปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อแนวคิดดังกล่าว เน้นย้ำถึงภาระหน้าที่ของประเทศที่มีต่ออำนาจอธิปไตยแห่งชาติ
    .
    ในข้อความที่โพสต์บนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเองเมื่อวันอาทิตย์(2ก.พ.) "เราจ่ายเงินหลายแสนล้านดอลลาร์เพื่ออุดหนุนแคนาดา แล้วทำไม ถึงจะไม่มีเหตุผล" ทรัมป์ระบุ
    .
    นอกจากนี้แล้ว ทรัมป์ บอกต่อว่าหากปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐฯแล้ว เพื่อนบ้านทางเหนือแห่งนี้ก็คงต้องกระเสือกกระสนอย่างหนักในการอยู่รอด และหยิบยกข้อเสนอความเป็นรัฐเป็นทางออก โดยสัญญาว่า "ภาษีจะลดลงอย่างมาก และชาวแคนาดาจะได้รับการปกป้องทางทหารที่ดีกว่าเดิมมาก และไม่มีการรีดภาษี"
    .
    ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นตามหลังเขาตัดสินใจกำหนดเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก อ้างถึงการลักลอบเข้าเมืองผิดฎหมายและลักลอบขนยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยอมรับว่าประชาชนชาวอเมริกาอาจต้องประสบ "ความเจ็บปวดบ้าง" จากมาตรการเหล่านี้ แต่เน้นย้ำว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ในระยะยาว
    .
    ไม่นานหลังจากนั้น เพื่อนบ้านทั้ง 2 ชาติของสหรัฐฯ แถลงมาตรการรีดภาษีตอบโต้เช่นกัน โดย จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา เตือนว่า "มันจะส่งผลสนองกลับอย่างแท้จริงสำหรับคุณ ประชาชนชาวอเมริกา" บ่งชี้ว่าผลลัพธ์ของการตอบโต้ทางภาษี ก็คือราคาของชำและสินค้าอื่นๆพุ่งสูงขึ้น
    .
    ทรูโด เน้นย้ำคำปฏิเสธข้อเสนอให้แคนาดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ เน้นย้ำว่าไม่มีทางเป็นไปได้แม้แต่น้อยที่เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้น
    .
    ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ หยิบยกเกี่ยวกับการขยายเขตแดนของสหรัฐฯขึ้นมา โดยหลังจากกลับสู่ทำเนียบขาว เขายังได้รื้อฟื้นความพยายามซื้อเกาะกรีนแลนด์และเข้าควบคุมคลองปานามา อ้างถึงความจำเป็นด้านความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตามข้อเสนอเหล่านี้ก็เจอกับเสียงปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวเช่นกัน จากรัฐบาลปานามาและเดนมาร์ก
    .
    ข้อเสนอที่เรียกร้องให้แคนาดากลายมาเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ โหมกระพือเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากพวกเจ้าหน้าที่แคนาดาในทั่วทุกขอบเขตทางการเมือง โดย ปิแอร์ พอยลิเยฟร์ หัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ เน้นว่า "แคนาดาจะไม่มีวันเป็นรัฐที่ 51 เราเป็นประเทศเอกราชที่ยิ่งใหญ่" ส่วน แจ็กมีต ซิงห์ หัวหน้าพรรคนิวเดโมแครต ปฏิเสธข้อเสนอว่าไร้สาระ และบอกว่าไม่มีชาวแคนาดาคนไหนที่ปรารถนาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นในแคนาดาเมื่อเร็วๆนี้ บ่งชี้ว่าชาวแคนาดาคัดค้านอย่างแข็งกร้าวต่อความคิดเข้าร่วมกับสหรัฐฯ โดยพบว่ามีชาวแคนาดาแค่ 13% ที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว และมีถึง 82% ที่คัดค้าน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010782
    ..................
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เน้นย้ำข้อเสนอของเขาที่เรียกร้องให้แคนาดา เข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา รับปากว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะนำมาซึ่ง "การไม่รีดภาษี" และ ชาวแคนาดา ถูกเรียกเก็บภาษีน้อยลงอย่างมาก แม้แคนาดาปฏิเสธอย่างหนักแน่นต่อแนวคิดดังกล่าว เน้นย้ำถึงภาระหน้าที่ของประเทศที่มีต่ออำนาจอธิปไตยแห่งชาติ . ในข้อความที่โพสต์บนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเองเมื่อวันอาทิตย์(2ก.พ.) "เราจ่ายเงินหลายแสนล้านดอลลาร์เพื่ออุดหนุนแคนาดา แล้วทำไม ถึงจะไม่มีเหตุผล" ทรัมป์ระบุ . นอกจากนี้แล้ว ทรัมป์ บอกต่อว่าหากปราศจากการสนับสนุนของสหรัฐฯแล้ว เพื่อนบ้านทางเหนือแห่งนี้ก็คงต้องกระเสือกกระสนอย่างหนักในการอยู่รอด และหยิบยกข้อเสนอความเป็นรัฐเป็นทางออก โดยสัญญาว่า "ภาษีจะลดลงอย่างมาก และชาวแคนาดาจะได้รับการปกป้องทางทหารที่ดีกว่าเดิมมาก และไม่มีการรีดภาษี" . ถ้อยแถลงนี้มีขึ้นตามหลังเขาตัดสินใจกำหนดเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติม 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก อ้างถึงการลักลอบเข้าเมืองผิดฎหมายและลักลอบขนยาเสพติด อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ยอมรับว่าประชาชนชาวอเมริกาอาจต้องประสบ "ความเจ็บปวดบ้าง" จากมาตรการเหล่านี้ แต่เน้นย้ำว่ามันเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อประโยชน์ในระยะยาว . ไม่นานหลังจากนั้น เพื่อนบ้านทั้ง 2 ชาติของสหรัฐฯ แถลงมาตรการรีดภาษีตอบโต้เช่นกัน โดย จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดา เตือนว่า "มันจะส่งผลสนองกลับอย่างแท้จริงสำหรับคุณ ประชาชนชาวอเมริกา" บ่งชี้ว่าผลลัพธ์ของการตอบโต้ทางภาษี ก็คือราคาของชำและสินค้าอื่นๆพุ่งสูงขึ้น . ทรูโด เน้นย้ำคำปฏิเสธข้อเสนอให้แคนาดาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ เน้นย้ำว่าไม่มีทางเป็นไปได้แม้แต่น้อยที่เรื่องดังกล่าวจะเกิดขึ้น . ไม่ใช่ครั้งแรกที่ ทรัมป์ หยิบยกเกี่ยวกับการขยายเขตแดนของสหรัฐฯขึ้นมา โดยหลังจากกลับสู่ทำเนียบขาว เขายังได้รื้อฟื้นความพยายามซื้อเกาะกรีนแลนด์และเข้าควบคุมคลองปานามา อ้างถึงความจำเป็นด้านความมั่นคงแห่งชาติ อย่างไรก็ตามข้อเสนอเหล่านี้ก็เจอกับเสียงปฏิเสธอย่างแข็งกร้าวเช่นกัน จากรัฐบาลปานามาและเดนมาร์ก . ข้อเสนอที่เรียกร้องให้แคนาดากลายมาเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐฯ โหมกระพือเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางจากพวกเจ้าหน้าที่แคนาดาในทั่วทุกขอบเขตทางการเมือง โดย ปิแอร์ พอยลิเยฟร์ หัวหน้าพรรคคอนเซอร์เวทีฟ เน้นว่า "แคนาดาจะไม่มีวันเป็นรัฐที่ 51 เราเป็นประเทศเอกราชที่ยิ่งใหญ่" ส่วน แจ็กมีต ซิงห์ หัวหน้าพรรคนิวเดโมแครต ปฏิเสธข้อเสนอว่าไร้สาระ และบอกว่าไม่มีชาวแคนาดาคนไหนที่ปรารถนาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ . ผลสำรวจความคิดเห็นในแคนาดาเมื่อเร็วๆนี้ บ่งชี้ว่าชาวแคนาดาคัดค้านอย่างแข็งกร้าวต่อความคิดเข้าร่วมกับสหรัฐฯ โดยพบว่ามีชาวแคนาดาแค่ 13% ที่สนับสนุนข้อเสนอดังกล่าว และมีถึง 82% ที่คัดค้าน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000010782 .................. Sondhi X
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1167 มุมมอง 0 รีวิว
  • หลังจากที่เดนมาร์กอนุญาตให้ซ่อมแซมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม สหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันถึงการเริ่มซื้อก๊าซจากรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อยื่นข้อเสนอให้กับรัสเซียในการตกลงยุติสงครามกับยูเครน

    แนวคิดนี้ได้รับการรับรองจากเยอรมนีและฮังการี รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากยุโรปอีกบางประเทศ ที่มองว่าเป็นหนทางที่จะลดต้นทุนพลังงานของยุโรปได้

    ผู้สนับสนุนการซื้อก๊าซจากรัสเซียให้เหตุผลว่าจะทำให้ราคาพลังงานที่สูงในยุโรปลดลง กระตุ้นให้มอสโกเข้าร่วมโต๊ะเจรจา และให้เหตุผลแก่ทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการและรักษาการหยุดยิง

    ดูเหมือนว่าสงครามในยูเครนกำลังจะสิ้นสุดลง และการเจรจาที่จริงจังกำลังเกิดขึ้นเบื้องหลัง
    หลังจากที่เดนมาร์กอนุญาตให้ซ่อมแซมท่อส่งก๊าซนอร์ดสตรีม สหภาพยุโรปกำลังถกเถียงกันถึงการเริ่มซื้อก๊าซจากรัสเซียอีกครั้ง ซึ่งอาจใช้เป็นเงื่อนไขเพื่อยื่นข้อเสนอให้กับรัสเซียในการตกลงยุติสงครามกับยูเครน แนวคิดนี้ได้รับการรับรองจากเยอรมนีและฮังการี รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากยุโรปอีกบางประเทศ ที่มองว่าเป็นหนทางที่จะลดต้นทุนพลังงานของยุโรปได้ ผู้สนับสนุนการซื้อก๊าซจากรัสเซียให้เหตุผลว่าจะทำให้ราคาพลังงานที่สูงในยุโรปลดลง กระตุ้นให้มอสโกเข้าร่วมโต๊ะเจรจา และให้เหตุผลแก่ทั้งสองฝ่ายในการดำเนินการและรักษาการหยุดยิง ดูเหมือนว่าสงครามในยูเครนกำลังจะสิ้นสุดลง และการเจรจาที่จริงจังกำลังเกิดขึ้นเบื้องหลัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 214 มุมมอง 0 รีวิว
  • กรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ควรเข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย สืบเนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองของเกาะและประชากรอินูอิตของรัสเซีย มีความเกี่ยวดองกันทางภาษาพูด จากคำชี้แนะของวิตาลี มีโลนอฟ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแดนหมีขาวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์
    .
    ความเห็นล่าสุดของเขามีขึ้นตามหลังถ้อยแถลงอันเป็นที่ถกเถียงเป็นชุดๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับแผนผนวกกรีนแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา แม้มีเสียงปฏิเสธอย่างหนักแน่นจากผู้นำฝักใฝ่เอกราชของเกาะและเดนมาร์ก
    .
    "เราได้ยินถ้อยแถลงต่างๆ จากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าแคนาดา ในข้อเท็จจริงคือ เป็นมลรัฐที่ยากจนที่สุดในอเมริกา ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง แต่ตัวอเมริกาเองก็อยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากการปกครองของโจ ไบเดน" มิโลนอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Gazeta สื่อมวลชนรัสเซียเมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.)
    .
    "สถานการณ์เช่นนี้ รัสเซียจึงอยู่ในฐานะรัฐปกติเพียงรัฐเดียว ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะสนับสนุนชนพื้นเมืองชาวกรีนแลนด์ ผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับประชากรอินูอิตของรัสเซีย ทั้ง 2 กลุ่มพูดภาษาพื้นเมืองในภาษาเดียวกัน" เขากล่าวอ้าง
    .
    มิโลนอฟ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้สนับสนุนตัวยง "ค่านิยมรัสเซียดั้งเดิม" และส่งสียงคัดค้านในสิ่งที่เขาเรียกว่าความเสื่อมทรามของตะวันตก ในนั้นรวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ LGBT และอุดมการณ์ที่ไม่ต้องการมีลูก บ่อยครั้งเขาตกเป็นข่าวพาดหัวในแนวคิดอันเป็นที่ถกเถียงต่างๆ อย่างเช่นเรียกร้องให้ปิดเซ็กซ์ชอปทั้งหมดในรัสเซีย และเอาเซ็กซ์ทอยส์ที่ยึดมาเหล่านั้นไปทิ้งบอมบ์ใส่ยูเครน
    .
    จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่าราว 70% ของพลเมืองราว 60,000 คนของกรีนแลนด์ พูดภาษากรีนแลนดิก "ภาษาเอสกิโม-อะลิวต์" ซึ่งแตกออกมาเป็นภาษาอินูอิต ขณะที่นักภาษาศาสตร์ ณ ศูนย์ภาษาแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เน้นว่าภาษากรีนแลนกิด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับภาษายูปิก ที่ใช้พูดกันในไซบีเรีย
    .
    "กรีนแลนด์อาจกลายมาเป็นดินแดนใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนกรีนแลนดิก" มิโลนอฟเสนอ พร้อมอ้างว่าดินแดนแห่งนี้ต้องการแรงสนับสนุนและการปกป้องจากรัสเซีย หลังถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ภายใต้บังเหียนของเดนมาร์ก "ผู้รุกราน"
    .
    ทั้งนี้ กรีนแลนด์ อดีตอาณานิคมของเดนมาร์ก ได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 ขณะที่ มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีของเกาะแห่งนี้ เน้นย้ำเมื่อช่วงกลางเดือนว่า เกาะกำลังเสาะหาความเป็นเอกราช และอยู่ระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ แต่ไม่ได้ให้กรอบเวลาอย่างเจาะจง
    .
    "กรีนแลนด์มีไว้สำหรับประชาชนชาวกรีนแลนดิก เราไม่ต้องการเป็นคนเดนมาร์ก เราไม่อยากเป็นคนอเมริกา" เอเกเด ตอบโต้ความเคลื่อนไหวของทรัมป์ก่อนหน้านั้น ที่เสนอซื้อหรือผนวกเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009490
    ..............
    Sondhi X
    กรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ควรเข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย สืบเนื่องจากชนเผ่าพื้นเมืองของเกาะและประชากรอินูอิตของรัสเซีย มีความเกี่ยวดองกันทางภาษาพูด จากคำชี้แนะของวิตาลี มีโลนอฟ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแดนหมีขาวเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ . ความเห็นล่าสุดของเขามีขึ้นตามหลังถ้อยแถลงอันเป็นที่ถกเถียงเป็นชุดๆ ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เกี่ยวกับแผนผนวกกรีนแลนด์เข้าเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา แม้มีเสียงปฏิเสธอย่างหนักแน่นจากผู้นำฝักใฝ่เอกราชของเกาะและเดนมาร์ก . "เราได้ยินถ้อยแถลงต่างๆ จากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าแคนาดา ในข้อเท็จจริงคือ เป็นมลรัฐที่ยากจนที่สุดในอเมริกา ต้องพึ่งพิงสหรัฐฯ โดยสิ้นเชิง แต่ตัวอเมริกาเองก็อยู่ในวิกฤตเศรษฐกิจและการเมืองอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นผลจากการปกครองของโจ ไบเดน" มิโลนอฟ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Gazeta สื่อมวลชนรัสเซียเมื่อวันอังคาร (28 ม.ค.) . "สถานการณ์เช่นนี้ รัสเซียจึงอยู่ในฐานะรัฐปกติเพียงรัฐเดียว ที่มีระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะสนับสนุนชนพื้นเมืองชาวกรีนแลนด์ ผู้ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ร่วมกับประชากรอินูอิตของรัสเซีย ทั้ง 2 กลุ่มพูดภาษาพื้นเมืองในภาษาเดียวกัน" เขากล่าวอ้าง . มิโลนอฟ เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้สนับสนุนตัวยง "ค่านิยมรัสเซียดั้งเดิม" และส่งสียงคัดค้านในสิ่งที่เขาเรียกว่าความเสื่อมทรามของตะวันตก ในนั้นรวมถึงโฆษณาชวนเชื่อ LGBT และอุดมการณ์ที่ไม่ต้องการมีลูก บ่อยครั้งเขาตกเป็นข่าวพาดหัวในแนวคิดอันเป็นที่ถกเถียงต่างๆ อย่างเช่นเรียกร้องให้ปิดเซ็กซ์ชอปทั้งหมดในรัสเซีย และเอาเซ็กซ์ทอยส์ที่ยึดมาเหล่านั้นไปทิ้งบอมบ์ใส่ยูเครน . จากข้อมูลของสหประชาชาติพบว่าราว 70% ของพลเมืองราว 60,000 คนของกรีนแลนด์ พูดภาษากรีนแลนดิก "ภาษาเอสกิโม-อะลิวต์" ซึ่งแตกออกมาเป็นภาษาอินูอิต ขณะที่นักภาษาศาสตร์ ณ ศูนย์ภาษาแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เน้นว่าภาษากรีนแลนกิด มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดที่สุดกับภาษายูปิก ที่ใช้พูดกันในไซบีเรีย . "กรีนแลนด์อาจกลายมาเป็นดินแดนใหม่ของสหพันธรัฐรัสเซีย ยกตัวอย่างเช่น สาธารณรัฐประชาชนกรีนแลนดิก" มิโลนอฟเสนอ พร้อมอ้างว่าดินแดนแห่งนี้ต้องการแรงสนับสนุนและการปกป้องจากรัสเซีย หลังถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ภายใต้บังเหียนของเดนมาร์ก "ผู้รุกราน" . ทั้งนี้ กรีนแลนด์ อดีตอาณานิคมของเดนมาร์ก ได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 ขณะที่ มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีของเกาะแห่งนี้ เน้นย้ำเมื่อช่วงกลางเดือนว่า เกาะกำลังเสาะหาความเป็นเอกราช และอยู่ระหว่างดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำประชามติ แต่ไม่ได้ให้กรอบเวลาอย่างเจาะจง . "กรีนแลนด์มีไว้สำหรับประชาชนชาวกรีนแลนดิก เราไม่ต้องการเป็นคนเดนมาร์ก เราไม่อยากเป็นคนอเมริกา" เอเกเด ตอบโต้ความเคลื่อนไหวของทรัมป์ก่อนหน้านั้น ที่เสนอซื้อหรือผนวกเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009490 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2019 มุมมอง 0 รีวิว
  • นาโต ปะทะ สหรัฐ (นาโต)!!!

    “พันธมิตรที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความท้าทายด้านความมั่นคงครั้งใหญ่” - Mette Frederiksen กล่าวในการพบกับเลขาธิการนาโต

    มาร์ค รุตเต(Mark Rutte) เลขาธิการนาโต และ เมตเต เฟรเดอริกเซน (Mette Frederiksen) นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก แสดงความเห็นคล้อยตามกันว่า จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการปกป้องอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่กระสันอยากผนวกดินแดนของเกาะกรีนแลนด์ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กไว้ในครอบครอง

    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ

    ทางด้าน เอลินา วัลโทเนน (Elina Valtonen) รมว.ต่างประเทศฟินแลนด์ ยืนยันว่ากรีนแลนด์ได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรา 5 ของนาโต้ ในฐานะดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก หลังทรัมป์แสดงความต้องการยึดครอง

    ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก
    นาโต ปะทะ สหรัฐ (นาโต)!!! “พันธมิตรที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความท้าทายด้านความมั่นคงครั้งใหญ่” - Mette Frederiksen กล่าวในการพบกับเลขาธิการนาโต มาร์ค รุตเต(Mark Rutte) เลขาธิการนาโต และ เมตเต เฟรเดอริกเซน (Mette Frederiksen) นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก แสดงความเห็นคล้อยตามกันว่า จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการปกป้องอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่กระสันอยากผนวกดินแดนของเกาะกรีนแลนด์ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กไว้ในครอบครอง เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ ทางด้าน เอลินา วัลโทเนน (Elina Valtonen) รมว.ต่างประเทศฟินแลนด์ ยืนยันว่ากรีนแลนด์ได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรา 5 ของนาโต้ ในฐานะดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก หลังทรัมป์แสดงความต้องการยึดครอง ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 345 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง
    .
    แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท"
    .
    การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
    .
    "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม
    .
    ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต
    .
    ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก
    .
    โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ
    .
    เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง
    .
    สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง . แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท" . การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา . "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม . ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว . ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต . ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ . ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก . โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ . เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง . สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2171 มุมมอง 0 รีวิว
  • เสียงปืนต่อสู้ดังตลอดทั่วบางส่วนของพื้นที่เมืองโกมา (Goma) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่โดนกบฏ M23 ร่วมกับกำลังทหารรวันดาบุกยึดแบบสายฟ้าแลบ ขณะที่ผู้ประท้วงบุกโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ เบลเยียม รวันดาในกรุงคินชาซา ส่วนสถานทูตฝรั่งเศสโดนบุกเผาถึงด้านใน
    .
    เอเอฟพีรายงานวันนี้ (27 ม.ค.) ว่า กลุ่มกบโ M23 ที่ย่อมาจากกลุ่ม “23 มีนาคม” ซึ่งมีรวันดาให้การสนับสนุนในวันจันทร์ (26) อ้างว่า สามารถยึดเมืองโกมา (Goma) ทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสำเร็จ
    .
    โกมาของดีอาร์คองโกถือเป็นเมืองสำคัญที่อุดมด้วยแร่ธาตุไม่ต่างจากเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กที่ผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการอยากได้ เพราะโกมามีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ทั้งแร่แทนทาลัมและโคลบอลต์ที่สำคัญสำหรับแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า และยังมีแร่โคลแทน (coltan) และทองคำ
    .
    โคลแทนซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กล้อง รวมแบตเตอรี่รถไฟฟ้า
    .
    เอพีรายงานว่า ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มกบฏ M23 สามารถยึดเมืองโกมาได้มากน้อยเพียงใด
    .
    อย่างไรก็ตาม รัฐบาลดีอาร์คองโกยืนยันการปรากฏตัวของกลุ่มกบฏ M23 ในเมืองโกมาซึ่งห่างจากกรุงคินชาฮา (Kinshasa)ไปทางตะวันออกราว 1,500 กม.
    .
    โฆษกรัฐบาลดีอาร์คองโกออกแถลงการณ์ยืนยันทางแพลตฟอร์ม X จะไม่ยอมเสียพื้นไปแม้แต่ตารางเซนเดียว แต่ไม่ยอมกล่าวว่า กลุ่มกบฏกำลังเข้ายึดเมืองโกมา เอพีรายงาน
    .
    เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มกบฏ M23 ซึ่งมีทหารจากรวันดาเข้าช่วยเดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองโกมาในคืนวันอาทิตย์ (26) หลังใช้เวลาแค่สัปดาห์ในการรุกคืบอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาค
    .
    ขณะเดียวกัน ที่กรุงคินชาซา กลุ่มผู้ประท้วงบุกโจมตีสถานทูตต่างชาติที่ตั้งอยู่ในกลางกรุงทั้งสถานทูตสหรัฐฯ สถานทูตเบลเยียม สถานทูตรวันดา รวมถึงสถานทูตฝรั่งเศส
    .
    เอเอฟพีรายงานว่า สถานทูตสหรัฐฯ ได้ออกคำแนะนำให้พลเมืองสหรัฐฯ หลบอยู่ในที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเดินทาง
    .
    ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ (Jean-Noel Barrot) ออกมาประณามว่า เป็นการโจมตีอย่างรับไม่ได้ พร้อมเปิดเผยว่า ไฟที่ไหม้ในตึกที่ทำการสถานทูตในเวลานี้อยู่ในการควบคุมแล้ว
    .
    ล่าสุด กลุ่มกบฏ M23 และกองกำลังทหารรวันดาสามารถควบคุมสนามบินโกมาได้สำเร็จในวันอังคาร (28) แหล่งข่าวทางความมั่นคงให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี
    .
    “พวกเขาเข้ายึดสนามบิน พวกนักรบกลุ่ม M23 อยู่ที่นั่น” แหล่งข่าวเปิดเผย พร้อมเสริมต่อว่า มีทหารดีอาร์คองโกไม่ต่ำกว่า 1,200 นายยอมจำนน และถูกควบคุมที่ฐานทัพของกองกำลังสหประชาชาติ MONUSC ที่สนามบิน
    .
    โดยในวันอังคาร (28) เสียงปืนต่อสู้ยังคงได้ยินถึงแม้ว่าความหนักหน่วงในการสู้รบจะน้อยลง
    .
    มีนักรบกลุ่ม M23 หลายสิบคนเดินมาร์ชผ่านถนนสายหลักในโกมา มีบางส่วนสวมเสื้อเกราะกันกระสุนและถืออาวุธของทหารดีอาร์คองโก
    .
    เอเอฟพีรายงานว่า ชาวโกมาไม่กี่คนออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาโดนปล้นสะดมจากทหารดีอาร์คองโกหรือจากกลุ่มกบฏ
    .
    ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าส่วนใดของโกมาที่โดนยึดโดยกบฏที่ออกมาอ้างว่ายึดได้ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ (26)
    .
    มีไม่ต่ำกว่า 17 คนเสียชีวิต และอีก 367 คนได้รับบาดเจ็บระหว่างการต่อสู้ 2 วันอ้างอิงจากโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่
    .
    องค์การกาชาดออกมาเตือนความเสี่ยงหากตัวอย่างเชื้อไวรัสอีโบลาที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตหลังเลือดไหลออกไม่หยุดจากทั้งปาก จมูก หู ตา ที่มีสาเหตุจากการกินค้างคาวหรือลิง ที่เกิดระบาดอย่างรุนแรงเมื่อปี 2014-2016 ในไลบีเรียจนเห็นคนตายกลาดเกลื่อนถนน และหมออเมริกัน 2 คนซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นหมอมิชชันนารีต้องถูกหามส่งกลับสหรัฐฯ อย่างเร่งด่วนเพราะติดเชื้อนั้นอาจหลุดออกไปจากห้องแล็บได้เนื่องมาจากการสู้รบระหว่างกบฏ M23 และทหารรัฐบาลดีอาร์คองโก
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009082
    ..............
    Sondhi X
    เสียงปืนต่อสู้ดังตลอดทั่วบางส่วนของพื้นที่เมืองโกมา (Goma) สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ที่โดนกบฏ M23 ร่วมกับกำลังทหารรวันดาบุกยึดแบบสายฟ้าแลบ ขณะที่ผู้ประท้วงบุกโจมตีสถานทูตสหรัฐฯ เบลเยียม รวันดาในกรุงคินชาซา ส่วนสถานทูตฝรั่งเศสโดนบุกเผาถึงด้านใน . เอเอฟพีรายงานวันนี้ (27 ม.ค.) ว่า กลุ่มกบโ M23 ที่ย่อมาจากกลุ่ม “23 มีนาคม” ซึ่งมีรวันดาให้การสนับสนุนในวันจันทร์ (26) อ้างว่า สามารถยึดเมืองโกมา (Goma) ทางตะวันออกของสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกสำเร็จ . โกมาของดีอาร์คองโกถือเป็นเมืองสำคัญที่อุดมด้วยแร่ธาตุไม่ต่างจากเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์กที่ผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ต้องการอยากได้ เพราะโกมามีทรัพยากรธรรมชาติสำคัญ ทั้งแร่แทนทาลัมและโคลบอลต์ที่สำคัญสำหรับแบตเตอรี่ของรถไฟฟ้า และยังมีแร่โคลแทน (coltan) และทองคำ . โคลแทนซึ่งเป็นแร่ที่มีคุณสมบัติทนความร้อนและเป็นวัตถุดิบพื้นฐานในการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ กล้อง รวมแบตเตอรี่รถไฟฟ้า . เอพีรายงานว่า ไม่เป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มกบฏ M23 สามารถยึดเมืองโกมาได้มากน้อยเพียงใด . อย่างไรก็ตาม รัฐบาลดีอาร์คองโกยืนยันการปรากฏตัวของกลุ่มกบฏ M23 ในเมืองโกมาซึ่งห่างจากกรุงคินชาฮา (Kinshasa)ไปทางตะวันออกราว 1,500 กม. . โฆษกรัฐบาลดีอาร์คองโกออกแถลงการณ์ยืนยันทางแพลตฟอร์ม X จะไม่ยอมเสียพื้นไปแม้แต่ตารางเซนเดียว แต่ไม่ยอมกล่าวว่า กลุ่มกบฏกำลังเข้ายึดเมืองโกมา เอพีรายงาน . เอเอฟพีรายงานว่า กลุ่มกบฏ M23 ซึ่งมีทหารจากรวันดาเข้าช่วยเดินทางเข้าสู่ย่านใจกลางเมืองโกมาในคืนวันอาทิตย์ (26) หลังใช้เวลาแค่สัปดาห์ในการรุกคืบอย่างรวดเร็วทั่วภูมิภาค . ขณะเดียวกัน ที่กรุงคินชาซา กลุ่มผู้ประท้วงบุกโจมตีสถานทูตต่างชาติที่ตั้งอยู่ในกลางกรุงทั้งสถานทูตสหรัฐฯ สถานทูตเบลเยียม สถานทูตรวันดา รวมถึงสถานทูตฝรั่งเศส . เอเอฟพีรายงานว่า สถานทูตสหรัฐฯ ได้ออกคำแนะนำให้พลเมืองสหรัฐฯ หลบอยู่ในที่ปลอดภัยและหลีกเลี่ยงการเดินทาง . ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ (Jean-Noel Barrot) ออกมาประณามว่า เป็นการโจมตีอย่างรับไม่ได้ พร้อมเปิดเผยว่า ไฟที่ไหม้ในตึกที่ทำการสถานทูตในเวลานี้อยู่ในการควบคุมแล้ว . ล่าสุด กลุ่มกบฏ M23 และกองกำลังทหารรวันดาสามารถควบคุมสนามบินโกมาได้สำเร็จในวันอังคาร (28) แหล่งข่าวทางความมั่นคงให้สัมภาษณ์กับเอเอฟพี . “พวกเขาเข้ายึดสนามบิน พวกนักรบกลุ่ม M23 อยู่ที่นั่น” แหล่งข่าวเปิดเผย พร้อมเสริมต่อว่า มีทหารดีอาร์คองโกไม่ต่ำกว่า 1,200 นายยอมจำนน และถูกควบคุมที่ฐานทัพของกองกำลังสหประชาชาติ MONUSC ที่สนามบิน . โดยในวันอังคาร (28) เสียงปืนต่อสู้ยังคงได้ยินถึงแม้ว่าความหนักหน่วงในการสู้รบจะน้อยลง . มีนักรบกลุ่ม M23 หลายสิบคนเดินมาร์ชผ่านถนนสายหลักในโกมา มีบางส่วนสวมเสื้อเกราะกันกระสุนและถืออาวุธของทหารดีอาร์คองโก . เอเอฟพีรายงานว่า ชาวโกมาไม่กี่คนออกมาเปิดเผยว่า พวกเขาโดนปล้นสะดมจากทหารดีอาร์คองโกหรือจากกลุ่มกบฏ . ทั้งนี้ ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าส่วนใดของโกมาที่โดนยึดโดยกบฏที่ออกมาอ้างว่ายึดได้ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ (26) . มีไม่ต่ำกว่า 17 คนเสียชีวิต และอีก 367 คนได้รับบาดเจ็บระหว่างการต่อสู้ 2 วันอ้างอิงจากโรงพยาบาลต่างๆ ในพื้นที่ . องค์การกาชาดออกมาเตือนความเสี่ยงหากตัวอย่างเชื้อไวรัสอีโบลาที่ทำให้มนุษย์เสียชีวิตหลังเลือดไหลออกไม่หยุดจากทั้งปาก จมูก หู ตา ที่มีสาเหตุจากการกินค้างคาวหรือลิง ที่เกิดระบาดอย่างรุนแรงเมื่อปี 2014-2016 ในไลบีเรียจนเห็นคนตายกลาดเกลื่อนถนน และหมออเมริกัน 2 คนซึ่งหนึ่งในนั้นเป็นหมอมิชชันนารีต้องถูกหามส่งกลับสหรัฐฯ อย่างเร่งด่วนเพราะติดเชื้อนั้นอาจหลุดออกไปจากห้องแล็บได้เนื่องมาจากการสู้รบระหว่างกบฏ M23 และทหารรัฐบาลดีอาร์คองโก . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009082 .............. Sondhi X
    Like
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2170 มุมมอง 0 รีวิว
  • "ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและยุโรปกำลังพังทลาย!!"

    ฝรั่งเศสประกาศพร้อมส่งทหารไปกรีนแลนด์เพื่อต่อต้านสหรัฐในการผนวกดินแดน
    - รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส

    ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก

    "หากเดนมาร์กร้องขอความช่วยเหลือ ฝรั่งเศสจะอยู่ที่นั่นร่วมกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่แสดงการสนับสนุนเดนมาร์กอย่างแข็งขันในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปเมื่อไม่นานนี้ โดยหลายประเทศกำลังพิจารณาส่งทหารไปกรีนแลนด์ด้วยเช่นกัน" ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ กล่าว
    "ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐและยุโรปกำลังพังทลาย!!" ฝรั่งเศสประกาศพร้อมส่งทหารไปกรีนแลนด์เพื่อต่อต้านสหรัฐในการผนวกดินแดน - รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก "หากเดนมาร์กร้องขอความช่วยเหลือ ฝรั่งเศสจะอยู่ที่นั่นร่วมกับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปอื่นๆ ที่แสดงการสนับสนุนเดนมาร์กอย่างแข็งขันในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรปเมื่อไม่นานนี้ โดยหลายประเทศกำลังพิจารณาส่งทหารไปกรีนแลนด์ด้วยเช่นกัน" ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ กล่าว
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 248 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เดนมาร์กตัดสินใจซ่อมท่อส่งก๊าซ Nord Stream ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐเรื่องเกาะกรีนแลนด์"

    กระทรวงพลังงานของเดนมาร์กได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท Nord Stream AG ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งก๊าซ Nord Stream เพื่อเข้าดำเนินงานซ่อมแซม และรักษาท่อส่วนที่เสียหาย

    ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ Nord Stream 2 ทอดยาวจากเมืองวีบอร์ก(Vyborg) ประเทศรัสเซีย ไปยังเมืองลูบมิน(Lubmin) ใกล้กับเมืองไกรฟส์วัลด์(Greifswald) ประเทศเยอรมนี และทอดผ่านน่านน้ำอาณาเขตของรัสเซีย เดนมาร์ก และเยอรมนี ถูกวางระเบิดจนได้รับความเสียหายเมื่อปี 2022

    ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ 2 ที่ได้รับความเสียหายนั้นคาดว่ายังมีก๊าซที่ค้างในท่ออยู่ ซึ่งอยู่ในสถานะที่เป็นอันตราย

    เพื่อให้แน่ใจว่าท่อส่งดังกล่าวจะทำงานได้อย่างปลอดภัย สำนักงานพลังงานเดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ตัดสินใจออกอนุญาตให้แก่ Nord Stream 2 AG เพื่อเข้าดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งที่เสียหาย ให้กลับมาอยู่สถานะปกติ เพื่อป้องกันการระเบิดของก๊าซ

    Nord Stream 2 AG มีแผนจะดำเนินการดังกล่าวในไตรมาสที่สองหรือสามของปี 2025 โดยคาดว่าจะใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์

    บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมือง Zug ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยบริษัท 5 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 เพื่อวางแผน ก่อสร้าง และดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งสองแห่ง ผู้ถือหุ้นทั้ง 5 ราย ได้แก่ Gazprom, Wintershall Dea, PEG Infrastruktur (E.ON), N.V. Nederlandse Gasunie และ ENGIE
    "เดนมาร์กตัดสินใจซ่อมท่อส่งก๊าซ Nord Stream ท่ามกลางความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดกับสหรัฐเรื่องเกาะกรีนแลนด์" กระทรวงพลังงานของเดนมาร์กได้ออกใบอนุญาตให้บริษัท Nord Stream AG ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อส่งก๊าซ Nord Stream เพื่อเข้าดำเนินงานซ่อมแซม และรักษาท่อส่วนที่เสียหาย ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ Nord Stream 2 ทอดยาวจากเมืองวีบอร์ก(Vyborg) ประเทศรัสเซีย ไปยังเมืองลูบมิน(Lubmin) ใกล้กับเมืองไกรฟส์วัลด์(Greifswald) ประเทศเยอรมนี และทอดผ่านน่านน้ำอาณาเขตของรัสเซีย เดนมาร์ก และเยอรมนี ถูกวางระเบิดจนได้รับความเสียหายเมื่อปี 2022 ท่อส่งก๊าซ Nord Stream 1 และ 2 ที่ได้รับความเสียหายนั้นคาดว่ายังมีก๊าซที่ค้างในท่ออยู่ ซึ่งอยู่ในสถานะที่เป็นอันตราย เพื่อให้แน่ใจว่าท่อส่งดังกล่าวจะทำงานได้อย่างปลอดภัย สำนักงานพลังงานเดนมาร์กเป็นหนึ่งในประเทศที่อยู่ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ ได้ตัดสินใจออกอนุญาตให้แก่ Nord Stream 2 AG เพื่อเข้าดำเนินการซ่อมแซมท่อส่งที่เสียหาย ให้กลับมาอยู่สถานะปกติ เพื่อป้องกันการระเบิดของก๊าซ Nord Stream 2 AG มีแผนจะดำเนินการดังกล่าวในไตรมาสที่สองหรือสามของปี 2025 โดยคาดว่าจะใช้เวลาสองถึงสามสัปดาห์ บริษัทซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในเมือง Zug ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นกลุ่มบริษัทระหว่างประเทศที่ประกอบด้วยบริษัท 5 แห่งที่ก่อตั้งขึ้นในปี 2005 เพื่อวางแผน ก่อสร้าง และดำเนินการท่อส่งก๊าซธรรมชาติทั้งสองแห่ง ผู้ถือหุ้นทั้ง 5 ราย ได้แก่ Gazprom, Wintershall Dea, PEG Infrastruktur (E.ON), N.V. Nederlandse Gasunie และ ENGIE
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 341 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเทคโนโลยี แนะนำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อช่องแคบอังกฤษเป็น "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา หลังจากก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่งเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา
    .
    ในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ของเขาเองเมื่อวันเสาร์ (25 ม.ค.) มัสก์ เสนอ "ชื่อใหม่สำหรับน่านน้ำที่กั้นกลางระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส" โดยแชร์ภาพถ่ายของช่องแคบแห่งนี้ พร้อมกับเขียนข้อความ "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" ทับบนช่องแคบ
    .
    ดูเหมือนว่าโพสต์ข้อมัสก์จะเป็นการล้อเล่นขำๆ แต่มันมีขึ้นไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ พันธมิตรทางการเมืองใกล้ชิดของมัสก์ ออกคำสั่งให้เปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และเปลี่ยนชื่อยอดเขาเดนาลี ในรัฐอะแลสกา กลับมาเป็นภูเขาแม็คคินลีย์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมช่วงก่อนหน้าปี 2015 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านั้น ได้รับการยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยของอเมริกาเมื่อวันศุกร์ (24 ม.ค.)
    .
    นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังประกาศซ้ำๆ ถึงความตั้งใจให้ได้มาซึ่งเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวที่จะเป็นการขยายชายฝั่งทะเลอาร์กติกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุด ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันเสาร์ (25 ม.ค.) หลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ เมตเต เฟรเดอริกเซน​​ นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ว่า "ผมคิดว่าเรากำลังได้มันมา"
    .
    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังชี้แนะหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐหนึ่งของอเมริกา
    .
    ชาวโรมันเรียกช่องแคบอังกฤษว่า "Mare Britannicum" หรือ "ทะเลของชาวบริตัน" มันถูกเรียกกันทั่วไปว่าช่องแคบอังกฤษตั้งแต่ยุคกลาง แม้ว่าในฝรั่งเศสจะเรียกว่า "La Manche" หรือ "The Sleeve" เนื่องจากรูปทรงของมัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008691
    ..............
    Sondhi X
    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเทคโนโลยี แนะนำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อช่องแคบอังกฤษเป็น "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา หลังจากก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่งเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา . ในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ของเขาเองเมื่อวันเสาร์ (25 ม.ค.) มัสก์ เสนอ "ชื่อใหม่สำหรับน่านน้ำที่กั้นกลางระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส" โดยแชร์ภาพถ่ายของช่องแคบแห่งนี้ พร้อมกับเขียนข้อความ "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" ทับบนช่องแคบ . ดูเหมือนว่าโพสต์ข้อมัสก์จะเป็นการล้อเล่นขำๆ แต่มันมีขึ้นไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ พันธมิตรทางการเมืองใกล้ชิดของมัสก์ ออกคำสั่งให้เปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และเปลี่ยนชื่อยอดเขาเดนาลี ในรัฐอะแลสกา กลับมาเป็นภูเขาแม็คคินลีย์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมช่วงก่อนหน้าปี 2015 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านั้น ได้รับการยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยของอเมริกาเมื่อวันศุกร์ (24 ม.ค.) . นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังประกาศซ้ำๆ ถึงความตั้งใจให้ได้มาซึ่งเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวที่จะเป็นการขยายชายฝั่งทะเลอาร์กติกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุด ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันเสาร์ (25 ม.ค.) หลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ เมตเต เฟรเดอริกเซน​​ นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ว่า "ผมคิดว่าเรากำลังได้มันมา" . ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังชี้แนะหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐหนึ่งของอเมริกา . ชาวโรมันเรียกช่องแคบอังกฤษว่า "Mare Britannicum" หรือ "ทะเลของชาวบริตัน" มันถูกเรียกกันทั่วไปว่าช่องแคบอังกฤษตั้งแต่ยุคกลาง แม้ว่าในฝรั่งเศสจะเรียกว่า "La Manche" หรือ "The Sleeve" เนื่องจากรูปทรงของมัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008691 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1137 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้
    .
    ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้
    .
    หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง
    .
    ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า
    .
    ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ
    .
    รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้
    .
    ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้
    .
    ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
    .
    ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส
    .
    ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    .
    "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692
    ..............
    Sondhi X
    เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้ . ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ . หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง . ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า . ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ . รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ . ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้ . ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา . ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย . ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส . ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน . "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1237 มุมมอง 0 รีวิว
  • "จะเอาให้ได้!"

    มีรานงานว่า ทรัมป์โทรหานายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเต้ เฟรเดอริกเซน และกดดันให้เดนมาร์กยอมมอบกรีนแลนด์ให้กับสหรัฐอเมริกา

    ตามรายงานของสื่อ การสนทนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่เลวร้ามาก มีรายงานว่าทรัมป์แสดงท่าทีก้าวร้าวอย่างซึ่งหน้า โดยปฏิเสธข้อเสนอความร่วมมือทั้งหมดที่เดนมาร์กพยายามยื่นให้ และมุ่งเน้นแต่เพียงการครอบครองกรีนแลนด์ด้วยการซื้อขาด

    เจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์บรรยายถึงบรรยากาศว่า "แย่มาก" และตกตะลึงกับน้ำเสียงและพฤติกรรมของทรัมป์อย่างมาก หลังจากที่ข่าวออกมาในช่วงแรก ทุกคนเชื่อว่านี่เป็นเพียงกลยุทธทางการเมืองของทรัมป์ แต่ตอนนี้มันทำให้เดนมาร์ก ซึ่งเป็นพันธมิตรในยุโรปวิตกกังวลอย่างมาก เนื่องจากหลายคนเชื่อว่าทรัมป์จริงจังกับการผนวกเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้

    นี่เป็นความอับอายครั้งใหญ่สำหรับสหรัฐอเมริกาบนเวทีโลก เดนมาร์กเป็นพันธมิตรสำคัญของ NATO และการกระทำของทรัมป์ที่ต้องการผนวกดินแดนของประเทศอื่น ถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยหรือไม่! แม้ว่ามันยังไปไม่ถึงขั้นใช้กำลังทหารก็ตามที แต่มีผลลัพธ์เดียวกัน
    "จะเอาให้ได้!" มีรานงานว่า ทรัมป์โทรหานายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมตเต้ เฟรเดอริกเซน และกดดันให้เดนมาร์กยอมมอบกรีนแลนด์ให้กับสหรัฐอเมริกา ตามรายงานของสื่อ การสนทนาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่เลวร้ามาก มีรายงานว่าทรัมป์แสดงท่าทีก้าวร้าวอย่างซึ่งหน้า โดยปฏิเสธข้อเสนอความร่วมมือทั้งหมดที่เดนมาร์กพยายามยื่นให้ และมุ่งเน้นแต่เพียงการครอบครองกรีนแลนด์ด้วยการซื้อขาด เจ้าหน้าที่ในเหตุการณ์บรรยายถึงบรรยากาศว่า "แย่มาก" และตกตะลึงกับน้ำเสียงและพฤติกรรมของทรัมป์อย่างมาก หลังจากที่ข่าวออกมาในช่วงแรก ทุกคนเชื่อว่านี่เป็นเพียงกลยุทธทางการเมืองของทรัมป์ แต่ตอนนี้มันทำให้เดนมาร์ก ซึ่งเป็นพันธมิตรในยุโรปวิตกกังวลอย่างมาก เนื่องจากหลายคนเชื่อว่าทรัมป์จริงจังกับการผนวกเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งนี้ นี่เป็นความอับอายครั้งใหญ่สำหรับสหรัฐอเมริกาบนเวทีโลก เดนมาร์กเป็นพันธมิตรสำคัญของ NATO และการกระทำของทรัมป์ที่ต้องการผนวกดินแดนของประเทศอื่น ถือเป็นการรุกล้ำอธิปไตยหรือไม่! แม้ว่ามันยังไปไม่ถึงขั้นใช้กำลังทหารก็ตามที แต่มีผลลัพธ์เดียวกัน
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 318 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีอเมริกันชนราว 47% ที่เห็นชอบการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของทรัมป์ หลังจากเขาคืนสู่เก้าอี้ทำเนียบขาวเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สัญญาณบ่งชี้ว่าประเทศแห่งนี้ยังคงเต็มไปด้วยการแบ่งขั้ว หลังตัวแทนจากรีพับลิกันคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน จากผลโพลของรอยเตอร์/อิปซอส ที่ปิดการสำรวจในวันอังคาร (21 ม.ค.)
    .
    ผลสำรวจที่ดำเนินการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) และวันอังคาร (21 ม.ค.) ตามหลัง ทรัมป์ สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี แสดงให้เห็นว่าคะแนนนิยมของเขาสูงกว่าตลอดช่วงเวลาเกือบทั้งหมดในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017-2021
    .
    อย่างไรก็ตาม ผลโพลพบด้วยว่าชาวอเมริกาพากันขุ่นเคืองต่อความเคลื่อนไหวแรกๆ บางอย่างของประธานาธิบดีรายนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 58% บอกว่า ทรัมป์ ไม่ควรนิรโทษกรรมทุกคนที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดทางอาญา ระหว่างเหตุจลาจลบุกจู่โจมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021
    .
    ทรัมป์ ดำเนินการดังกล่าว นิรโทษกรรมเหล่าผู้สนับสนุนเกือบ 1,600 ราย ที่ถูกดำเนินคดีตามข้อกล่าวหา ร่วมกันปิดล้อมอาคารรัฐสภา ไม่กี่ชั่วโมงหลังดำรงตำแหน่งสมัย 2 อย่างเป็นทางการ ในระหว่างที่กำลังจัดทำโพล
    .
    มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 29% ที่เห็นชอบแนวทางของทรัมป์ ในการจัดการกับสิ่งที่รับรู้กันว่าเป็นระบบตุลาการเชิงการเมือง ทรัมป์กล่าวหา โจ ไบเดน ผู้นำคนก่อนก่อความบิดเบี้ยวแก่กระบวนการยุติธรรม ด้วยความพยายามดำเนินคดีต่างๆ กับเขา ในเจตนาขัดขวางเขาจากการดำรงตำแหน่ง ข้อกล่าวหาที่ทางฝั่งเดโมแครตปฏิเสธ นอกจากนี้แล้ว ทรัมป์ ยังบอกว่าเขาอาจใช้ระบบยุติธรรมหาทางแก้แค้นคู่ปรับทางการเมืองด้วย
    .
    พวกผู้ตอบแบบสอบถามให้การสนับสนุนแนวทางทรัมป์ มากกว่าในการจัดการกับประเด็นอื่นๆ โดยมี 46% ที่เห็นชอบแนวทางการรับมือพวกผู้อพยพของทรัมป์ ประเด็นที่อเมริกันชนจำนวนมากอยากเห็นมันเป็นประเด็นที่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญในลำดับสูงสุด
    .
    ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้ง 2024 เหนือ กมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากเดโมแครต ด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 312 ต่อ 226 เสียง แต่ในส่วนของคะแนนป็อบปูลาร์โหวตนั้น เขาได้คะแนนเสียงแค่ 49.8% เฉือน แฮร์ริส ที่ได้ไป 48.3%
    .
    ผลสำรวจเท่ากับเป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับทรัมป์ ผู้ซึ่งเริ่มต้นวาระดำรงตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017 ด้วยคะแนนนิยม 43% ก่อนคะแนนนิยมจะดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 49% ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ปิดฉากการเป็นประธานาธิบดี ด้วยคะแนนนิยม 34% ตามหลังเหตุปิดล้อมอาคารรัฐสภา พยายามโค่นล้มผลเลือกตั้งปี 2020 ที่เขาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
    .
    คล้ายกับ ไบเดน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) คะแนนนิยมของทรัมป์ ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 45% ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำรงตำแหน่งสมัยแรก และเคยดำดิ่งลงไปในระดับต่ำสุดเหลือแค่ 33% ในเดือนธันวาคม 2017
    .
    ไบเดน เริ่มต้นทำหน้าที่ประธานาธิบดี ด้วยคะแนนนิยม 55% แต่เรตติ้งของเขาปักหัวลงอย่างรวดเร็ว และเคยดำดิ่งแตะระดับแค่ 35% ในช่วงก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ภาวะที่ไม่ได้รับความนิยมของตัวแทนจากพรรคเดโมแครตรายนี้ ถูกมองอย่างกว้างขวางว่ากลายเป็นตัวส่งเสริมคะแนนนิยมของทรัมป์ ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง
    .
    การคืนสู่อำนาจของทรัมป์ เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาชาติเพื่อนบ้านและทั่วโลก แต่ผลสำรวจพบว่ามีอเมริกันชนเพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนแผนขยายเขตแดนอเมริกาของทรัมป์ เช่นเดียวกับมาตรการรีดภาษีที่อาจทำให้ราคาเชื้อเพลิงดีดตัวสูงขึ้น
    .
    ผลสำรวจพบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 16% ที่เห็นด้วยกับถ้อยแถลงของทรัมป์ที่ว่า สหรัฐฯ ควรกดดันให้เดนมาร์ก ยอมขายเกาะกรีนแลนด์แก่อเมริกา
    .
    เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ กล่าวว่าสหรัฐฯ มีความจำเป็นต้องควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก เพื่อรับประกันความมั่นคงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เดนมาร์ก และ กรีนแลนด์ บอกว่าเกาะยักษ์แห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    ขณะเดียวกัน มีเพียงราว 29% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่บอกว่าสหรัฐฯ ควรทวงคืนการควบคุมคลองปานามา มาจากปานามา อีกหนึ่งเป้าหมายระหว่างประเทศของทรัมป์ อเมริกายอมปล่อยมือการควบคุมน่านน้ำยุทธศาสตร์แห่งนี้ให้แก่แคนาดาในปี 1999 แต่ ทรัมป์ กล่าวหา ปานามา ยกให้จีนดูแลปฏิบัติการต่างๆ ของคลองแห่งนี้ คำกล่าวหาที่ทางรัฐบาลปานามาปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเช่นกัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006615
    ..............
    Sondhi X
    มีอเมริกันชนราว 47% ที่เห็นชอบการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ของทรัมป์ หลังจากเขาคืนสู่เก้าอี้ทำเนียบขาวเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สัญญาณบ่งชี้ว่าประเทศแห่งนี้ยังคงเต็มไปด้วยการแบ่งขั้ว หลังตัวแทนจากรีพับลิกันคว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤศจิกายน จากผลโพลของรอยเตอร์/อิปซอส ที่ปิดการสำรวจในวันอังคาร (21 ม.ค.) . ผลสำรวจที่ดำเนินการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) และวันอังคาร (21 ม.ค.) ตามหลัง ทรัมป์ สาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดี แสดงให้เห็นว่าคะแนนนิยมของเขาสูงกว่าตลอดช่วงเวลาเกือบทั้งหมดในช่วงดำรงตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017-2021 . อย่างไรก็ตาม ผลโพลพบด้วยว่าชาวอเมริกาพากันขุ่นเคืองต่อความเคลื่อนไหวแรกๆ บางอย่างของประธานาธิบดีรายนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ตอบแบบสอบถามราว 58% บอกว่า ทรัมป์ ไม่ควรนิรโทษกรรมทุกคนที่ถูกพิพากษาว่ามีความผิดทางอาญา ระหว่างเหตุจลาจลบุกจู่โจมอาคารรัฐสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2021 . ทรัมป์ ดำเนินการดังกล่าว นิรโทษกรรมเหล่าผู้สนับสนุนเกือบ 1,600 ราย ที่ถูกดำเนินคดีตามข้อกล่าวหา ร่วมกันปิดล้อมอาคารรัฐสภา ไม่กี่ชั่วโมงหลังดำรงตำแหน่งสมัย 2 อย่างเป็นทางการ ในระหว่างที่กำลังจัดทำโพล . มีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 29% ที่เห็นชอบแนวทางของทรัมป์ ในการจัดการกับสิ่งที่รับรู้กันว่าเป็นระบบตุลาการเชิงการเมือง ทรัมป์กล่าวหา โจ ไบเดน ผู้นำคนก่อนก่อความบิดเบี้ยวแก่กระบวนการยุติธรรม ด้วยความพยายามดำเนินคดีต่างๆ กับเขา ในเจตนาขัดขวางเขาจากการดำรงตำแหน่ง ข้อกล่าวหาที่ทางฝั่งเดโมแครตปฏิเสธ นอกจากนี้แล้ว ทรัมป์ ยังบอกว่าเขาอาจใช้ระบบยุติธรรมหาทางแก้แค้นคู่ปรับทางการเมืองด้วย . พวกผู้ตอบแบบสอบถามให้การสนับสนุนแนวทางทรัมป์ มากกว่าในการจัดการกับประเด็นอื่นๆ โดยมี 46% ที่เห็นชอบแนวทางการรับมือพวกผู้อพยพของทรัมป์ ประเด็นที่อเมริกันชนจำนวนมากอยากเห็นมันเป็นประเด็นที่รัฐบาลใหม่ให้ความสำคัญในลำดับสูงสุด . ทรัมป์ คว้าชัยชนะในศึกเลือกตั้ง 2024 เหนือ กมลา แฮร์ริส ตัวแทนจากเดโมแครต ด้วยคะแนนคณะผู้เลือกตั้ง 312 ต่อ 226 เสียง แต่ในส่วนของคะแนนป็อบปูลาร์โหวตนั้น เขาได้คะแนนเสียงแค่ 49.8% เฉือน แฮร์ริส ที่ได้ไป 48.3% . ผลสำรวจเท่ากับเป็นการเริ่มต้นใหม่สำหรับทรัมป์ ผู้ซึ่งเริ่มต้นวาระดำรงตำแหน่งสมัยแรกในปี 2017 ด้วยคะแนนนิยม 43% ก่อนคะแนนนิยมจะดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 49% ในช่วงปลายเดือนมกราคมปีเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ ปิดฉากการเป็นประธานาธิบดี ด้วยคะแนนนิยม 34% ตามหลังเหตุปิดล้อมอาคารรัฐสภา พยายามโค่นล้มผลเลือกตั้งปี 2020 ที่เขาเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ . คล้ายกับ ไบเดน ซึ่งพ้นจากตำแหน่งในวันจันทร์ (20 ม.ค.) คะแนนนิยมของทรัมป์ ทรงตัวอยู่ในระดับต่ำกว่า 45% ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของการดำรงตำแหน่งสมัยแรก และเคยดำดิ่งลงไปในระดับต่ำสุดเหลือแค่ 33% ในเดือนธันวาคม 2017 . ไบเดน เริ่มต้นทำหน้าที่ประธานาธิบดี ด้วยคะแนนนิยม 55% แต่เรตติ้งของเขาปักหัวลงอย่างรวดเร็ว และเคยดำดิ่งแตะระดับแค่ 35% ในช่วงก่อนหน้าศึกเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน ทั้งนี้ภาวะที่ไม่ได้รับความนิยมของตัวแทนจากพรรคเดโมแครตรายนี้ ถูกมองอย่างกว้างขวางว่ากลายเป็นตัวส่งเสริมคะแนนนิยมของทรัมป์ ระหว่างรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง . การคืนสู่อำนาจของทรัมป์ เพิ่มความเป็นไปได้ที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับบรรดาชาติเพื่อนบ้านและทั่วโลก แต่ผลสำรวจพบว่ามีอเมริกันชนเพียงเล็กน้อยที่สนับสนุนแผนขยายเขตแดนอเมริกาของทรัมป์ เช่นเดียวกับมาตรการรีดภาษีที่อาจทำให้ราคาเชื้อเพลิงดีดตัวสูงขึ้น . ผลสำรวจพบว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามเพียงแค่ 16% ที่เห็นด้วยกับถ้อยแถลงของทรัมป์ที่ว่า สหรัฐฯ ควรกดดันให้เดนมาร์ก ยอมขายเกาะกรีนแลนด์แก่อเมริกา . เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ทรัมป์ กล่าวว่าสหรัฐฯ มีความจำเป็นต้องควบคุมเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก เพื่อรับประกันความมั่นคงระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม เดนมาร์ก และ กรีนแลนด์ บอกว่าเกาะยักษ์แห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย . ขณะเดียวกัน มีเพียงราว 29% ของผู้ตอบแบบสอบถาม ที่บอกว่าสหรัฐฯ ควรทวงคืนการควบคุมคลองปานามา มาจากปานามา อีกหนึ่งเป้าหมายระหว่างประเทศของทรัมป์ อเมริกายอมปล่อยมือการควบคุมน่านน้ำยุทธศาสตร์แห่งนี้ให้แก่แคนาดาในปี 1999 แต่ ทรัมป์ กล่าวหา ปานามา ยกให้จีนดูแลปฏิบัติการต่างๆ ของคลองแห่งนี้ คำกล่าวหาที่ทางรัฐบาลปานามาปฏิเสธโดยสิ้นเชิงเช่นกัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006615 .............. Sondhi X
    Like
    Love
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1548 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยสองอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) โดยกล่าวปราศรัยประกาศว่า “ยุคทอง” ของอเมริกาเริ่มต้นขึ้นแล้ว จากนั้นก็ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารที่มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกจำนวนหลายสิบฉบับ ซึ่งมีทั้งการให้อภัยโทษพวกผู้สนับสนุนเขาที่ใช้ความรุนแรงบุกโจมตีอาคารรัฐสภา ไปจนถึงการออกมาตรการคุมเข้มผู้อพยพ และการยุตินโยบายรับมือปัญหาโลกร้อน และถึงแม้ยังไม่มีการขึ้นภาษีศุลกากรใดๆ ในวันแรกของการครองตำแหน่งคราวนี้ แต่เขาก็ขู่รีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ.ขณะที่แสดงท่าทีแปลกกรณีสงครามยูเครน โดยหันมาวิพากษ์วลาดิมีร์ ปูติน ว่ากำลังทำลายรัสเซียจากการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติศึก
    .
    ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวปราศรัยหลังทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งต้องจัดขึ้นภายในอาคารรัฐสภา เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวจัด โดยบอกว่า การตกต่ำของอเมริกายุติลงแล้ว ซึ่งหมายถึงช่วงเวลา 4 ปีภายใต้คณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครต และประกาศการเริ่มต้นยุคทองของอเมริกาซึ่งจะมีความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพของทั่วโลกอีกครั้ง
    .
    จากนั้น ทรัมป์ซึ่งอยู่ในวัย 78 ปี จึงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดขณะสาบานตนรับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังที่ชุมนุมของพวกผู้สนับสนุนเขา ณ สนามกีฬาในร่มแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเขาได้กล่าวปราศรัยในสไตล์หาเสียง ก่อนโยนปากกาที่ใช้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับในรอบแรกไปแล้วหมาดๆ ให้ฝูงชนที่อัดแน่นคอยต้อนรับเขา
    .
    ถัดมา ทรัมป์จึงได้เดินทางกลับไปยังทำเนียบในแบบผู้พิชิต 4 ปีหลังจากที่เขาต้องจากไปด้วยความเสื่อมเสียเกียรติ เป็นการเสร็จสิ้นครบถ้วนการหวนกลับคืนมาได้อย่างโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐฯ
    .
    ณ ห้องทำงานรูปไข่ ของทำเนียบขาว ทรัมป์จัดให้มีการแถลงข่าวเป็นเวลาราว 50 นาทีโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า พร้อมกับลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพิ่ม ซึ่งรวมถึงการอภัยโทษผู้ก่อจลาจลราว 1,500 คนที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อพยายามขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน
    .
    ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนติดกับเม็กซิโก และระบุว่า จะส่งทหารไปจัดการการลักลอบเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นหาเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะอดีตรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต
    .
    ทรัมป์ยังไฟเขียวให้ขยายการขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้งยกเลิกกฎระเบียบที่ต้องการโน้มน้าวให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า
    .
    นอกจากนั้น เขาประกาศนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก และข้อตกลงปารีสที่นานาประเทศรวมทั้งอเมริกาให้สัญญาระบุเป้าหมายของตนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
    .
    ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันผู้นี้แสดงการเชิดชูลัทธิชาตินิยม ด้วยการประกาศเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และขู่ยึดคลองปานานาคืนหลังจากยกสิทธิการควบคุมให้ปานามาตั้งแต่ปี 1999 โดยอ้างว่า จีนเป็นผู้ควบคุมคลองปานามาตัวจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงคือ บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงซึ่งชนะการประมูล ได้สิทธิเข้าบริหารดำเนินงานคลองสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้
    .
    ทรัมป์ยังประกาศว่าไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกับอเมริกา ขณะที่รัสเซียเข้าไปดำเนินการในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นหลังจากน้ำแข็งละลายอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    .
    อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ลดความขึงขังเรื่องยูเครนจากที่เคยสัญญาว่า จะผลักดันข้อตกลงสันติภาพให้ลุล่วงก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยชื่นชมก็มาวิจารณ์ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียว่า กำลังทำลายรัสเซียด้วยการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติสงครามในยูเครน โดยเขาอ้างอิงสถานะเศรษฐกิจและการสูญเสียในสนามรบของรัสเซีย แต่ยังคงยืนยันว่า จะพบปะหารือกับปูตินโดยเร็ว
    .
    ขณะเดียวกัน เมื่อผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวถามว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทุกประเทศอย่างที่ประกาศเอาไว้หรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า อาจจะ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ และเมื่อถามถึงการขึ้นภาษีศุลกากรจากสินค้าของแคนาดาและเม็กซิโก ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ตอบว่า เล็งเรียกเก็บภาษีราว 25% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เนื่องจากสองประเทศนี้ปล่อยให้มีผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวนมากแอบเดินทางเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งปล่อยให้มีการการขนส่งยาเสพติดเฟนทานิล เข้าสู่อเมริกา
    .
    ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในบันทึกช่วยจำของประธานาธิบดีนั้น ทรัมป์สั่งให้กระทรวงการคลังและพาณิชย์ รวมถึงสำนักงานการค้าสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติจากการขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล พร้อมเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เช่น การเรียกเก็บภาษีศุลกากรทั่วโลกหรือนโยบายอื่นๆ เพื่อแก้ไขการขาดดุลการค้า
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006612
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ สาบานตัวเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยสองอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ (20 ม.ค.) โดยกล่าวปราศรัยประกาศว่า “ยุคทอง” ของอเมริกาเริ่มต้นขึ้นแล้ว จากนั้นก็ลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารที่มีเนื้อหาสร้างความแตกแยกจำนวนหลายสิบฉบับ ซึ่งมีทั้งการให้อภัยโทษพวกผู้สนับสนุนเขาที่ใช้ความรุนแรงบุกโจมตีอาคารรัฐสภา ไปจนถึงการออกมาตรการคุมเข้มผู้อพยพ และการยุตินโยบายรับมือปัญหาโลกร้อน และถึงแม้ยังไม่มีการขึ้นภาษีศุลกากรใดๆ ในวันแรกของการครองตำแหน่งคราวนี้ แต่เขาก็ขู่รีดภาษีแคนาดาและเม็กซิโก 25% ตั้งแต่ 1 ก.พ.ขณะที่แสดงท่าทีแปลกกรณีสงครามยูเครน โดยหันมาวิพากษ์วลาดิมีร์ ปูติน ว่ากำลังทำลายรัสเซียจากการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติศึก . ประธานาธิบดีทรัมป์ กล่าวปราศรัยหลังทำพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งต้องจัดขึ้นภายในอาคารรัฐสภา เนื่องจากอากาศข้างนอกหนาวจัด โดยบอกว่า การตกต่ำของอเมริกายุติลงแล้ว ซึ่งหมายถึงช่วงเวลา 4 ปีภายใต้คณะบริหารของอดีตประธานาธิบดีโจ ไบเดนจากพรรคเดโมแครต และประกาศการเริ่มต้นยุคทองของอเมริกาซึ่งจะมีความมั่งคั่งรุ่งเรืองและเป็นที่เคารพของทั่วโลกอีกครั้ง . จากนั้น ทรัมป์ซึ่งอยู่ในวัย 78 ปี จึงสร้างประวัติศาสตร์ด้วยการเป็นประธานาธิบดีที่มีอายุมากที่สุดขณะสาบานตนรับตำแหน่ง ได้เดินทางไปยังที่ชุมนุมของพวกผู้สนับสนุนเขา ณ สนามกีฬาในร่มแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน ซึ่งเขาได้กล่าวปราศรัยในสไตล์หาเสียง ก่อนโยนปากกาที่ใช้ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารหลายฉบับในรอบแรกไปแล้วหมาดๆ ให้ฝูงชนที่อัดแน่นคอยต้อนรับเขา . ถัดมา ทรัมป์จึงได้เดินทางกลับไปยังทำเนียบในแบบผู้พิชิต 4 ปีหลังจากที่เขาต้องจากไปด้วยความเสื่อมเสียเกียรติ เป็นการเสร็จสิ้นครบถ้วนการหวนกลับคืนมาได้อย่างโดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของสหรัฐฯ . ณ ห้องทำงานรูปไข่ ของทำเนียบขาว ทรัมป์จัดให้มีการแถลงข่าวเป็นเวลาราว 50 นาทีโดยไม่มีการเตรียมการล่วงหน้า พร้อมกับลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพิ่ม ซึ่งรวมถึงการอภัยโทษผู้ก่อจลาจลราว 1,500 คนที่บุกอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค.2021 เพื่อพยายามขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน . ทรัมป์ยังลงนามคำสั่งประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนติดกับเม็กซิโก และระบุว่า จะส่งทหารไปจัดการการลักลอบเข้าเมือง ซึ่งเป็นประเด็นหาเสียงสำคัญที่ทำให้เขาชนะอดีตรองประธานาธิบดีกมลา แฮร์ริส ผู้สมัครจากพรรคเดโมแครต . ทรัมป์ยังไฟเขียวให้ขยายการขุดเจาะน้ำมัน รวมทั้งยกเลิกกฎระเบียบที่ต้องการโน้มน้าวให้ผู้ขับขี่เปลี่ยนไปใช้รถยนต์ไฟฟ้า . นอกจากนั้น เขาประกาศนำสหรัฐฯ ถอนตัวออกจากองค์การอนามัยโลก และข้อตกลงปารีสที่นานาประเทศรวมทั้งอเมริกาให้สัญญาระบุเป้าหมายของตนในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อช่วยกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ . ประธานาธิบดีจากรีพับลิกันผู้นี้แสดงการเชิดชูลัทธิชาตินิยม ด้วยการประกาศเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และขู่ยึดคลองปานานาคืนหลังจากยกสิทธิการควบคุมให้ปานามาตั้งแต่ปี 1999 โดยอ้างว่า จีนเป็นผู้ควบคุมคลองปานามาตัวจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงคือ บริษัทที่จดทะเบียนในฮ่องกงซึ่งชนะการประมูล ได้สิทธิเข้าบริหารดำเนินงานคลองสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ . ทรัมป์ยังประกาศว่าไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นสมาชิกนาโตเช่นเดียวกับอเมริกา ขณะที่รัสเซียเข้าไปดำเนินการในบริเวณดังกล่าวมากขึ้นหลังจากน้ำแข็งละลายอันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ . อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ลดความขึงขังเรื่องยูเครนจากที่เคยสัญญาว่า จะผลักดันข้อตกลงสันติภาพให้ลุล่วงก่อนเข้ารับตำแหน่ง และเปลี่ยนท่าทีจากที่เคยชื่นชมก็มาวิจารณ์ประธานาธิบดีปูตินของรัสเซียว่า กำลังทำลายรัสเซียด้วยการไม่ยอมทำข้อตกลงยุติสงครามในยูเครน โดยเขาอ้างอิงสถานะเศรษฐกิจและการสูญเสียในสนามรบของรัสเซีย แต่ยังคงยืนยันว่า จะพบปะหารือกับปูตินโดยเร็ว . ขณะเดียวกัน เมื่อผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบขาวถามว่า จะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากทุกประเทศอย่างที่ประกาศเอาไว้หรือไม่ ทรัมป์ตอบว่า อาจจะ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้ และเมื่อถามถึงการขึ้นภาษีศุลกากรจากสินค้าของแคนาดาและเม็กซิโก ผู้นำคนใหม่ของสหรัฐฯ ตอบว่า เล็งเรียกเก็บภาษีราว 25% ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. เนื่องจากสองประเทศนี้ปล่อยให้มีผู้อพยพผิดกฎหมายจำนวนมากแอบเดินทางเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งปล่อยให้มีการการขนส่งยาเสพติดเฟนทานิล เข้าสู่อเมริกา . ทั้งนี้ ตามรายละเอียดในบันทึกช่วยจำของประธานาธิบดีนั้น ทรัมป์สั่งให้กระทรวงการคลังและพาณิชย์ รวมถึงสำนักงานการค้าสหรัฐฯ ตรวจสอบความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงแห่งชาติจากการขาดดุลการค้าจำนวนมหาศาล พร้อมเสนอแนะมาตรการที่เหมาะสม เช่น การเรียกเก็บภาษีศุลกากรทั่วโลกหรือนโยบายอื่นๆ เพื่อแก้ไขการขาดดุลการค้า . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006612 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1578 มุมมอง 0 รีวิว
  • ทรัมป์เตรียมสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 ให้สัญญาปิดฉากความตกต่ำนาน 4 ปีและนำอเมริกาสู่ยุคทอง ลั่นพร้อมเริ่มทำงาน “รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์” เพื่อแก้ไขทุกวิกฤตที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่นับจากวันแรกที่กลับสู่ทำเนียบขาว ซึ่งรวมถึงการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าเมืองนับล้าน และการปรับบทบาทใหม่ของอเมริกาในเวทีโลก
    .
    การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นการกลับมาอย่างผู้ชนะเต็มตัวของ “ดิสรัปเตอร์ทางการเมือง” ที่รอดจากการถูกรัฐสภาไต่สวนเพื่อถอดถอนถึงสองครั้ง รวมถึงการถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญาร้ายแรงหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังเผชิญความพยายามในการลอบสังหารสองครั้ง และการถูกฟ้องร้องจากความพยายามล้มล้างผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 ที่ตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
    .
    ทรัมป์ วัย 78 ปี สร้างประวัติศาสตร์ใหม่แทนที่ โจ ไบเดน ในการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอายุมากที่สุดขณะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ขณะที่เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์อเมริกัน ถัดจากโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ (ปี 1885-1889 และปี1893-1897) ที่ดำรงตำแหน่งสองวาระแบบไม่ต่อเนื่อง
    .
    พิธีสาบานตนกำหนดเริ่มต้นขึ้นเวลา 12.00 น. วันจันทร์ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน (ตรงกับเวลา เที่ยงคืน คืนวันจันทร์ ตามเวลาเมืองไทย) ภายในอาคารรัฐสภา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่มีการจัดพิธีภายในอาคาร ทั้งนี้ เนื่องจากพยากรณ์อากาศระบุว่าสภาพอากาศจะหนาวเย็นจัด
    .
    ก่อนหน้าที่พิธีจะเริ่มต้นหนึ่งวัน ทรัมป์ได้ไปกล่าวปราศรัยท่ามกลางผู้สนับสนุนที่อัดแน่นในสนามกีฬาแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน โดยให้สัญญาว่า จะปิดฉากความตกต่ำที่ดำเนินมานาน 4 ปี ซึ่งก็คือหมายถึงสมัยการเป็นประธานาธิบดีของโจ ไบเดน และเริ่มต้นอเมริกายุคใหม่ที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง รวมทั้งเริ่มทำงาน “รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์” เพื่อแก้ไขทุกวิกฤตที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่นับจากวันแรกที่กลับสู่ทำเนียบขาว
    .
    ทรัมป์ใช้เวลาจำนวนมากในการปราศรัยนานหนึ่งชั่วโมงคราวนี้โฟกัสที่ปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยประธานาธิบดีคนที่ 45 และ 47 ของอเมริกาผู้นี้ ประกาศว่า จะหยุดยั้งการบุกรุกข้ามแดนและจัดการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าเมืองทันที
    .
    ทรัมป์สัญญาว่า จะใช้อำนาจฝ่ายบริหารตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนทางใต้ติดกับเม็กซิโก ยกเลิกนโยบาย “การตื่นรู้” ที่รวมถึง “ความบ้าคลั่งของการยอมรับคนข้ามเพศ” ในโรงเรียน ทั้งนี้รอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เขาจะเซ็นประกาศใช้อำนาจฝ่ายบริหารถึงราว 200 ฉบับ
    .
    เขายังย้ำคำสัญญาในการเผยแพร่ไฟล์ข้อมูลการลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ และน้องชาย บ็อบบี้ เคนเนดี้ รวมทั้งมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง
    .
    ทรัมป์สำทับว่า จะอภัยโทษผู้ต้องหาจำนวนมาก จากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับการบุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน
    .
    สำหรับทางด้านไบเดนเดินทางไปรัฐเซาท์แคโรไลนาเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา และกล่าวเรียกร้องให้คนอเมริกันเชื่อมั่นว่า วันที่ดีกว่านี้กำลังจะมาถึง พร้อมให้สัญญา “จะไม่ไปไหน” โดยไบเดนมีกำหนดกลับไปกรุงวอชิงตันเพื่อร่วมพิธีส่งมอบตำแหน่งให้ทรัมป์ที่เขาเคยตราหน้าว่า เป็นภัยคุกคามประชาธิปไตย อีกทั้งยังถือเป็นการ “ตบหน้า” ทรัมป์กลายๆ เนื่องจาก ทรัมป์นั้นไม่ยอมรับเลยว่าพ่ายแพ้แก่ไบเดนในการเลือกตั้งปี 2020 และไม่ยอมร่วมพิธีสาบานตนของไบเดนในเดือนมกราคม 2021
    .
    ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเสียอีก ทรัมป์ก็แสดงบทบาทเข้าสู่กรณีระดับโลก หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ ติ๊กต็อก แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยม ยกความดีความชอบว่า “ความชัดเจน” ของทรัมป์ทำให้ติ๊กต็อกกลับมาให้บริการอีกครั้งในอเมริกา หลังขึ้นจอดำนานหลายชั่วโมง
    .
    วันเดียวกันนั้น ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอล 3 คนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงในกาซาที่ทีมงานของทรัมป์มีส่วนร่วมผลักดันโดยทำงานร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ในคณะบริหารของไบเดน
    .
    ขณะเดียวกัน ทั่วโลกต่างมองการกลับมาของทรัมป์ ว่าจะต้องเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยที่ทรัมป์ประกาศเอาไว้แล้วว่าเตรียมเขย่าระเบียบโลกอีกคำรบหนึ่ง ด้วยการให้สัญญาเก็บภาษีศุลกากรแบบเหวี่ยงแหจากทั้งประเทศอริอย่างเช่นจีน และประเทศที่เป็นมิตรอย่างแคนาดาและเม็กซิโก นอกจากนั้นเขายังข่มขู่เข้ายึดคลองปานานา กดดันให้แคนาดายอมถูกผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐอเมริกา และบีบคั้นให้เดนมาร์กยอมขายเกาะกรีนแลนด์แก่สหรัฐฯ ตลอดจนตั้งข้อสงสัยในการให้ความช่วยเหลือยูเครนของอเมริกา โดยที่มีแผนจะทำให้เกิดสันติภาพขึ้นอย่างรวดเร็ว และบีบให้ยูเครนยอมสละดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดไป
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006227
    ..............
    Sondhi X
    ทรัมป์เตรียมสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยที่ 2 ให้สัญญาปิดฉากความตกต่ำนาน 4 ปีและนำอเมริกาสู่ยุคทอง ลั่นพร้อมเริ่มทำงาน “รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์” เพื่อแก้ไขทุกวิกฤตที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่นับจากวันแรกที่กลับสู่ทำเนียบขาว ซึ่งรวมถึงการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าเมืองนับล้าน และการปรับบทบาทใหม่ของอเมริกาในเวทีโลก . การสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของโดนัลด์ ทรัมป์ ถือเป็นการกลับมาอย่างผู้ชนะเต็มตัวของ “ดิสรัปเตอร์ทางการเมือง” ที่รอดจากการถูกรัฐสภาไต่สวนเพื่อถอดถอนถึงสองครั้ง รวมถึงการถูกศาลตัดสินว่ากระทำความผิดทางอาญาร้ายแรงหนึ่งครั้ง นอกจากนั้นยังเผชิญความพยายามในการลอบสังหารสองครั้ง และการถูกฟ้องร้องจากความพยายามล้มล้างผลการเลือกตั้งเมื่อปี 2020 ที่ตนเองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ . ทรัมป์ วัย 78 ปี สร้างประวัติศาสตร์ใหม่แทนที่ โจ ไบเดน ในการเป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯอายุมากที่สุดขณะสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง ขณะที่เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ในประวัติศาสตร์อเมริกัน ถัดจากโกรเวอร์ คลีฟแลนด์ (ปี 1885-1889 และปี1893-1897) ที่ดำรงตำแหน่งสองวาระแบบไม่ต่อเนื่อง . พิธีสาบานตนกำหนดเริ่มต้นขึ้นเวลา 12.00 น. วันจันทร์ตามเวลาในกรุงวอชิงตัน (ตรงกับเวลา เที่ยงคืน คืนวันจันทร์ ตามเวลาเมืองไทย) ภายในอาคารรัฐสภา ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 40 ปีที่มีการจัดพิธีภายในอาคาร ทั้งนี้ เนื่องจากพยากรณ์อากาศระบุว่าสภาพอากาศจะหนาวเย็นจัด . ก่อนหน้าที่พิธีจะเริ่มต้นหนึ่งวัน ทรัมป์ได้ไปกล่าวปราศรัยท่ามกลางผู้สนับสนุนที่อัดแน่นในสนามกีฬาแห่งหนึ่งในกรุงวอชิงตัน โดยให้สัญญาว่า จะปิดฉากความตกต่ำที่ดำเนินมานาน 4 ปี ซึ่งก็คือหมายถึงสมัยการเป็นประธานาธิบดีของโจ ไบเดน และเริ่มต้นอเมริกายุคใหม่ที่เข้มแข็งและมั่งคั่ง รวมทั้งเริ่มทำงาน “รวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์” เพื่อแก้ไขทุกวิกฤตที่ประเทศชาติกำลังเผชิญอยู่นับจากวันแรกที่กลับสู่ทำเนียบขาว . ทรัมป์ใช้เวลาจำนวนมากในการปราศรัยนานหนึ่งชั่วโมงคราวนี้โฟกัสที่ปัญหาผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมาย โดยประธานาธิบดีคนที่ 45 และ 47 ของอเมริกาผู้นี้ ประกาศว่า จะหยุดยั้งการบุกรุกข้ามแดนและจัดการเนรเทศผู้ลักลอบเข้าเมืองทันที . ทรัมป์สัญญาว่า จะใช้อำนาจฝ่ายบริหารตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน ซึ่งรวมถึงการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแห่งชาติบริเวณชายแดนทางใต้ติดกับเม็กซิโก ยกเลิกนโยบาย “การตื่นรู้” ที่รวมถึง “ความบ้าคลั่งของการยอมรับคนข้ามเพศ” ในโรงเรียน ทั้งนี้รอยเตอร์รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า เขาจะเซ็นประกาศใช้อำนาจฝ่ายบริหารถึงราว 200 ฉบับ . เขายังย้ำคำสัญญาในการเผยแพร่ไฟล์ข้อมูลการลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ และน้องชาย บ็อบบี้ เคนเนดี้ รวมทั้งมาร์ติน ลูเธอร์ คิง จูเนียร์ ผู้นำขบวนการเคลื่อนไหวสิทธิพลเมือง . ทรัมป์สำทับว่า จะอภัยโทษผู้ต้องหาจำนวนมาก จากกว่า 1,500 คนที่เกี่ยวข้องกับการบุกโจมตีอาคารรัฐสภาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 2021 เพื่อขัดขวางการรับรองชัยชนะในการเลือกตั้งของไบเดน . สำหรับทางด้านไบเดนเดินทางไปรัฐเซาท์แคโรไลนาเมื่อวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันสุดท้ายในตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา และกล่าวเรียกร้องให้คนอเมริกันเชื่อมั่นว่า วันที่ดีกว่านี้กำลังจะมาถึง พร้อมให้สัญญา “จะไม่ไปไหน” โดยไบเดนมีกำหนดกลับไปกรุงวอชิงตันเพื่อร่วมพิธีส่งมอบตำแหน่งให้ทรัมป์ที่เขาเคยตราหน้าว่า เป็นภัยคุกคามประชาธิปไตย อีกทั้งยังถือเป็นการ “ตบหน้า” ทรัมป์กลายๆ เนื่องจาก ทรัมป์นั้นไม่ยอมรับเลยว่าพ่ายแพ้แก่ไบเดนในการเลือกตั้งปี 2020 และไม่ยอมร่วมพิธีสาบานตนของไบเดนในเดือนมกราคม 2021 . ตั้งแต่ก่อนเข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการเสียอีก ทรัมป์ก็แสดงบทบาทเข้าสู่กรณีระดับโลก หลังจากเมื่อวันอาทิตย์ ติ๊กต็อก แพลตฟอร์มวิดีโอสั้นยอดนิยม ยกความดีความชอบว่า “ความชัดเจน” ของทรัมป์ทำให้ติ๊กต็อกกลับมาให้บริการอีกครั้งในอเมริกา หลังขึ้นจอดำนานหลายชั่วโมง . วันเดียวกันนั้น ฮามาสปล่อยตัวประกันอิสราเอล 3 คนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงในกาซาที่ทีมงานของทรัมป์มีส่วนร่วมผลักดันโดยทำงานร่วมกับคณะเจ้าหน้าที่ในคณะบริหารของไบเดน . ขณะเดียวกัน ทั่วโลกต่างมองการกลับมาของทรัมป์ ว่าจะต้องเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้ โดยที่ทรัมป์ประกาศเอาไว้แล้วว่าเตรียมเขย่าระเบียบโลกอีกคำรบหนึ่ง ด้วยการให้สัญญาเก็บภาษีศุลกากรแบบเหวี่ยงแหจากทั้งประเทศอริอย่างเช่นจีน และประเทศที่เป็นมิตรอย่างแคนาดาและเม็กซิโก นอกจากนั้นเขายังข่มขู่เข้ายึดคลองปานานา กดดันให้แคนาดายอมถูกผนวกเข้าเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐอเมริกา และบีบคั้นให้เดนมาร์กยอมขายเกาะกรีนแลนด์แก่สหรัฐฯ ตลอดจนตั้งข้อสงสัยในการให้ความช่วยเหลือยูเครนของอเมริกา โดยที่มีแผนจะทำให้เกิดสันติภาพขึ้นอย่างรวดเร็ว และบีบให้ยูเครนยอมสละดินแดนที่ถูกรัสเซียยึดไป . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000006227 .............. Sondhi X
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1081 มุมมอง 0 รีวิว
  • ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์
    .
    เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์
    .
    ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4%
    .
    เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009
    .
    ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง
    .
    ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673
    ..............
    Sondhi X
    ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ . เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว . อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค . ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์ . ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4% . เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009 . ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง . ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1553 มุมมอง 0 รีวิว
  • พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด
    .
    ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ
    .
    ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ
    .
    เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ
    .
    ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284
    ..............
    Sondhi X
    พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด . ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ . ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง" . กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ . เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้" . กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ . ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1631 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง
    .
    หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021
    .
    “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ
    .
    ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?”
    .
    และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก
    .
    อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้
    .
    ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย”
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา”
    .
    ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง
    .
    ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก
    .
    ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้
    .
    มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้
    .
    ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด
    .
    รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง
    .
    แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง
    .
    เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง
    .
    และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้
    .
    ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน
    .
    ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni)
    .
    ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
    .
    เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน”
    .
    เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค.
    .
    สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน
    .
    เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916
    ..............
    Sondhi X
    เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง . หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021 . “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ . ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?” . และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก . อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้ . ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย” . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา” . ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง . ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก . ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้ . มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ . ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด . รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง . แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง . เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง . และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ . ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน . ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni) . ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ . เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน” . เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค. . สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน . เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Yay
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1871 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดนมาร์กส่งสารอย่างลับๆ ไปถึงคณะทำงานของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าพวกเขามีความตั้งใจพูดคุยหารือเกี่ยวกับการยกระดับความมั่นคงในกรีนแลนด์ หรือเพิ่มประจำการกำลังพลอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะแห่งนี้ ตามรายงานของ Axios เว็บไซต์ข่าวสหรัฐฯ โดยอ้างแหล่งข่าว 2 คน
    .
    ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พูดซ้ำๆ ว่าการเข้าควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก คือ "สิ่งจำเป็นอย่างที่สุด" เขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือวิถีทางทางเศรษฐกิจ ในนั้นรวมถึงมาตรการรีดภาษีกับเดนมาร์ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเกาะแห่งนี้
    .
    เว็บไซต์ข่าว Axios รายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ทรัมป์ ว่าความกังวลของเขาจะได้รับการจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์
    .
    อย่างไรก็ตาม โฆษกทีมเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวของ Axios
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เปิดเผยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เธอขอพบปะพูดคุยกับทรัมป์ แต่ไม่คาดหมายว่ามันจะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง ส่วน มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ระบุว่าเขาพร้อมพุดคุยกับทรัมป์ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้เคารพต่อความปรารถนาที่จะเป็นเอกราชของเกาะแห่งนี้
    .
    ก่อนหน้านี้ เดนมาร์กยืนกรานมาตลอดว่า กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003315
    ..............
    Sondhi X
    เดนมาร์กส่งสารอย่างลับๆ ไปถึงคณะทำงานของโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าพวกเขามีความตั้งใจพูดคุยหารือเกี่ยวกับการยกระดับความมั่นคงในกรีนแลนด์ หรือเพิ่มประจำการกำลังพลอเมริกา โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะแห่งนี้ ตามรายงานของ Axios เว็บไซต์ข่าวสหรัฐฯ โดยอ้างแหล่งข่าว 2 คน . ทรัมป์ ซึ่งมีกำหนดเข้ารับตำแหน่งในวันที่ 20 มกราคม พูดซ้ำๆ ว่าการเข้าควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก คือ "สิ่งจำเป็นอย่างที่สุด" เขาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือวิถีทางทางเศรษฐกิจ ในนั้นรวมถึงมาตรการรีดภาษีกับเดนมาร์ก เพื่อให้ได้มาซึ่งเกาะแห่งนี้ . เว็บไซต์ข่าว Axios รายงานว่ารัฐบาลเดนมาร์กต้องการสร้างความเชื่อมั่นแก่ทรัมป์ ว่าความกังวลของเขาจะได้รับการจัดการ โดยไม่จำเป็นต้องกล่าวอ้างกรรมสิทธิ์ใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์ . อย่างไรก็ตาม โฆษกทีมเปลี่ยนผ่านของทรัมป์ ยังไม่ออกมาแสดงความคิดเห็นใดๆ เกี่ยวกับรายงานข่าวของ Axios . เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เปิดเผยเมื่อช่วงกลางสัปดาห์ เธอขอพบปะพูดคุยกับทรัมป์ แต่ไม่คาดหมายว่ามันจะเกิดขึ้นก่อนพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง ส่วน มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ระบุว่าเขาพร้อมพุดคุยกับทรัมป์ แต่ขณะเดียวกันก็เรียกร้องให้เคารพต่อความปรารถนาที่จะเป็นเอกราชของเกาะแห่งนี้ . ก่อนหน้านี้ เดนมาร์กยืนกรานมาตลอดว่า กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003315 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Angry
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 998 มุมมอง 0 รีวิว
  • "เอ๊ะยังไง!!" กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย! แต่สามารถทำให้เป็นฐานทัพแห่งใหม่ของสหรัฐได้นะ

    ท่ามกลางแรงกดดันทุกมิศทาวจากทรัมป์ และกระแสของประชาชนบนเกาะกรีนแลนด์เริ่มส่งสัญญาณอยากผนวกเข้ากับอเมริกา

    มีรายงานจากสื่อว่า เดนมาร์กหาวิธีป้องกันไม่ให้ทรัมป์ครอบครองกรีนแลนด์ได้แล้ว โดยการติดต่อทีมงานบริหารของทรัมป์ เพื่อแสดงเจตจำนงความพร้อมในการเปิดกว้างให้เสริมกำลังทหารสหรัฐในกรีนแลนด์ได้ เพื่อที่ทรัมป์จะได้ยุติการอ้างสิทธิ์เหนือเกาะนี้ เพราะอย่างน้อยสิทธิการควบคุมกรีนแลนด์ยังคงอยู่ที่เดนมาร์ก
    "เอ๊ะยังไง!!" กรีนแลนด์ไม่ได้มีไว้ขาย! แต่สามารถทำให้เป็นฐานทัพแห่งใหม่ของสหรัฐได้นะ ท่ามกลางแรงกดดันทุกมิศทาวจากทรัมป์ และกระแสของประชาชนบนเกาะกรีนแลนด์เริ่มส่งสัญญาณอยากผนวกเข้ากับอเมริกา มีรายงานจากสื่อว่า เดนมาร์กหาวิธีป้องกันไม่ให้ทรัมป์ครอบครองกรีนแลนด์ได้แล้ว โดยการติดต่อทีมงานบริหารของทรัมป์ เพื่อแสดงเจตจำนงความพร้อมในการเปิดกว้างให้เสริมกำลังทหารสหรัฐในกรีนแลนด์ได้ เพื่อที่ทรัมป์จะได้ยุติการอ้างสิทธิ์เหนือเกาะนี้ เพราะอย่างน้อยสิทธิการควบคุมกรีนแลนด์ยังคงอยู่ที่เดนมาร์ก
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 292 มุมมอง 0 รีวิว
  • อังกฤษและลัตเวียประกาศจัดส่งโดรนตรวจการณ์และโจมตี 30,000 ลำ ให้กับยูเครน!

    การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประชุมของ Ukraine Defense Contact Group ที่ฐานทัพอากาศ Ramstein ในเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 มกราคม ตามที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร "เงินทุนสำหรับโดรน 30,000 ลำ จะมาจากการสนับสนุนของสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ลัตเวีย และสวีเดน"

    โดยที่โดรนทั้งหมดมีมูลค่ารวม 45 ล้านปอนด์ (55 ล้านดอลลาร์) จะทำการผลิตจากองค์กร Drone Coalition ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2024 เป็นโครงการริเริ่มที่ลัตเวียร่วมมือกับสหราชอาณาจักร
    อังกฤษและลัตเวียประกาศจัดส่งโดรนตรวจการณ์และโจมตี 30,000 ลำ ให้กับยูเครน! การประกาศดังกล่าวเกิดขึ้นหลังการประชุมของ Ukraine Defense Contact Group ที่ฐานทัพอากาศ Ramstein ในเยอรมนีเมื่อวันที่ 9 มกราคม ตามที่ระบุไว้ในแถลงการณ์ที่เผยแพร่โดยกระทรวงกลาโหมของสหราชอาณาจักร "เงินทุนสำหรับโดรน 30,000 ลำ จะมาจากการสนับสนุนของสหราชอาณาจักร เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ ลัตเวีย และสวีเดน" โดยที่โดรนทั้งหมดมีมูลค่ารวม 45 ล้านปอนด์ (55 ล้านดอลลาร์) จะทำการผลิตจากองค์กร Drone Coalition ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2024 เป็นโครงการริเริ่มที่ลัตเวียร่วมมือกับสหราชอาณาจักร
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 302 มุมมอง 0 รีวิว
  • เริ่มนับหนึ่ง!
    "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ"
    ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก

    หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ
    "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ"
    (but it is unlikely to become a U.S. state)
    เริ่มนับหนึ่ง! "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ" ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ" (but it is unlikely to become a U.S. state)
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 683 มุมมอง 0 รีวิว
Pages Boosts