• ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย
    .
    ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน
    .
    เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้”
    .
    “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว
    .
    ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน
    .
    "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน
    .
    "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว
    .
    ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก
    .
    "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ"
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น
    .
    ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด
    .
    ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต
    .
    ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ
    .
    สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ
    .
    ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776
    ..............
    Sondhi X
    ประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี ของยูเครนกล่าวหา โดนัลด์ ทรัมป์ ว่า เอาแต่เชื่อฟัง “ข้อมูลข่าวสารเท็จ” ของฝ่ายรัสเซีย เป็นการตอบโต้ผู้นำสหรัฐฯ ที่พูดเมื่อ 1 วันก่อนหน้านั้น โจมตีประมุขเคียฟกลายๆ ว่า เขาเป็นต้นตอปล่อยให้ความขัดแย้งกับรัสเซียเริ่มต้นขึ้นมาและลุกลามบานปลายอย่างไม่จำเป็น การโจมตีใส่กันเช่นนี้ส่อแสดงให้เห็นว่ายูเครนกับคณะบริหารใหม่ของอเมริกายิ่งมองหน้ากันไม่ติด หลังจากคณะผู้แทนทางการทูตระดับสูงของสหรัฐฯ และรัสเซียเปิดการหารือกันอย่างชื่นมื่นที่ซาอุดีอาระเบีย ในเรื่องหนทางยุติสงครามในยูเครนและการปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างแดนอินทรีกับแดนหมีขาว โดยที่ไม่เชิญยูเครนหรือชาติยุโรปซึ่งหนุนหลังเคียฟเข้าร่วมด้วย . ระหว่างการแถลงข่าวสื่อมวลชนเมื่อวันอังคาร (18) ประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวย้ำประเด็นจำนวนมากที่ฝ่ายรัสเซียได้พูดเอาไว้ในช่วง 3 ปีที่เกิดสงครามในยูเครน โดยประณามเคียฟว่าเป็นผู้เริ่มต้นทำให้เกิดการสู้รบขึ้นมาอย่างไม่จำเป็น พร้อมกับย้ำว่า บรรดาผู้นำในเคียฟไม่ควรปล่อยให้เกิดการสู้รบขัดแย้งขึ้นมาตั้งแต่แรก ทั้งนี้คำพูดเช่นนี้ของเขาอาจตีความได้ว่า เขาเห็นว่ายูเครนน่าจะยอมโอนอ่อนผ่อนตามแดนหมีขาว ก่อนที่รัสเซียจะยกทัพบุกเมื่อต้นปี 2022 นอกจากนั้น ทรัมป์ยังเสนอแนะว่าเซเลนสกีกำลังไม่เป็นที่นิยมชมชื่นของประชาชนชาวยูเครน . เซเลนสกีกล่าวตอบโต้กลับในวันพุธ โดยบอกว่า “โชคร้าย ท่านประธานาธิบดีทรัมป์ ผู้ซึ่งเรามีความเคารพอย่างใหญ่หลวงในฐานะเป็นผู้นำของประชาชนชาวอเมริกัน ... มีชีวิตอยู่ในท่ามกลางแวดวงข้อมูลข่าวสารเท็จเช่นนี้” . “ผมเชื่อว่าสหรัฐฯ ได้ช่วยเหลือให้ปูตินสามารถทลายการถูกโดดเดี่ยวมาเป็นเวลาหลายปี” เซเลนสกี กล่าว . ในวันอังคาร ทรัมป์กล่าวตำหนิทางยูเครนที่ส่งเสียงคร่ำครวญกรณีถูกกีดกันออกจากการเจรจาของสหรัฐฯ กับรัสเซีย ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย ในวันเดียวกัน . "ผมผิดหวังอย่างมาก ผมได้ยินว่าพวกเขาอารมณ์เสียที่ไม่มีที่นั่งบนโต๊ะเจรจา" ทรัมป์บอกกับพวกผู้สื่อข่าวที่รีสอร์ตมาร์-อา-ลาโก ของเขาในฟลอริดา หลังถูกสอบถามเกี่ยวกับปฏิกิริยาของยูเครน . "วันนี้ผมได้ยิน (ทางยูเครนพูด) ว่า โอ้ เราไม่ได้รับเชิญ ก็แน่นอนล่ะ คุณอยู่ตรงนั้นมา 3 ปี แต่คุณไม่เคยเริ่มมันเลย คุณควรทำข้อตกลง (กับรัสเซีย)" เขากล่าว . ในการแถลงข่าว ทรัมป์ยังส่งสัญญาณว่า อาจพบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ก่อนสิ้นเดือนนี้ที่ซาอุดีอาระเบีย เวลาเดียวกันเขาก็เพิ่มความกดดันให้เซเลนสกีต้องจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อเรียกร้องสำคัญของรัสเซีย ทั้งนี้ เนื่องจากเซเลนสกีรับตำแหน่งเกิน 5 ปีตามกำหนดวาระแล้ว แต่ยังไม่จัดการเลือกตั้งโดยอ้างว่า ยูเครนยังคงอยู่ภายใต้กฎอัยการศึก . "พวกเขา (พวกผู้นำยูเครน) ต้องการเก้าอี้บนโต๊ะเจรจา แต่คุณสามารถพูดได้ว่า มันอาจไม่ใช่เสียงของประชาชนชวยูเครน มันนานมาแล้วนะที่เขามีการเลือกตั้ง" ทรัมป์ระบุ พร้อมกับกล่าวว่า "นี่ไม่ใช่เรื่องของรัสเซีย มันเป็นบางอย่างที่ออกมาจากเรา มาจากประเทศอื่นๆ" . ผู้นำสหรัฐฯ ยังบอกว่า มีความมั่นใจมากยิ่งขึ้นว่า ตนเองมีอำนาจในการหยุดยั้งสงครามในยูเครน ภายหลังการหารือของคณะผู้แทนของสหรัฐฯ และรัสเซียที่กรุงริยาด ซึ่งเป็นการประชุมระดับสูงอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับจากเดือนกุมภาพันธ์ 2022 ที่รัสเซียยกทัพบุกยูเครนนั้น . ขณะที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ แถลงว่า ในการหารือที่ริยาดที่ใช้เวลายาวนานราว 4 ชั่วโมงครึ่ง รัฐมนตรีต่างประเทศ มาร์โค รูบิโอ ของสหรัฐฯ ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายอเมริกา และรัฐมนตรีต่างประเทศ เซียร์เก ลาฟรอฟ ของรัสเซีย ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะของฝ่ายแดนหมีขาว ได้ตกลงที่จะจัดตั้งคณะทำงานระดับสูงเพื่อหารือกันถึงเกี่ยวกับวิธีการยุติสงครามในยูเครนโดยเร็วที่สุด แต่ยังไม่ระบุชัดเจนว่าจะประชุมกันครั้งแรกเมื่อใด . ทั้งสองฝ่ายยังเห็นพ้องสร้างกลไกการหารือเพื่อจัดการ “สิ่งที่สร้างความระคายเคือง” ต่อความสัมพันธ์สองประเทศ และวางรากฐานสำหรับการร่วมมือในอนาคต . ด้าน ไมค์ วอลซ์ ที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ ซึ่งร่วมเจรจาที่ริยาดด้วย เสริมว่า ประเด็นด้านดินแดนและการรับประกันความมั่นคงจะเป็นส่วนหนึ่งในการหารือ . สำหรับ คิริลล์ ดมิทริฟ ผู้เจรจาด้านเศรษฐกิจของรัสเซีย กล่าวว่า ความพยายามของตะวันตกในการโดดเดี่ยวรัสเซียล้มเหลวอย่างชัดเจน และเสริมว่า รัสเซียและอเมริกาควรพัฒนาโครงการพลังงานร่วมกัน ซึ่งรวมถึงในอาร์กติกและภูมิภาคอื่นๆ . ด้านลาฟรอฟแสดงความเชื่อมั่นว่า อเมริกาเข้าใจจุดยืนของรัสเซียดีขึ้น และยังย้ำว่า มอสโกคัดค้านการนำกองกำลังนาโตไปประจำการในยูเครนภายใต้ข้อตกลงหยุดยิงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้นำยุโรปกำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000016776 .............. Sondhi X
    Like
    12
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1391 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา
    .
    ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ"
    .
    "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว
    .
    ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี
    .
    เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี
    .
    ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก"
    .
    ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป
    .
    สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย
    .
    อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล
    .
    ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน
    .
    นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์
    .
    อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก
    .
    "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการใหญ่องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) เน้นย้ำความตึงเครียดระหว่างยุโรปกับสหรัฐฯในประเด็นการค้า ภายใต้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการป้องปรามร่วมของพันธมิตรแห่งนี้ แต่ยอมรับว่าพวกเขาไม่อาจยืนหยัดรับมือภัยคุกคามแต่เพียงฝ่ายเดียว หากปราศจากอเมริกา . ระหว่างให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวในกรุงบรัสเซลส์เมื่อวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ ยังได้ปฏิเสธความคิดใดๆที่ว่ายุโรปอาจละทิ้งความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงใดๆกับสหรัฐฯ ท่ามกลางประเด็นพิพาทต่างๆนานา โดยเลขาธิการใหญ่นาโต ยอมรับว่ายุทธศาสตร์การป้องกันตนเองใดๆของยุโรปที่ปราศจากอเมริกานั้น เป็น "ความคิดที่โง่เขลามากๆ" . "เราจำเป็นต้องคงความเชื่อมต่อกัน" รุตต์บอกกับผู้สื่อข่าว อ้างถึงภัยคุกคามต่างๆนานาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ในนั้นรวมถึงรัสเซีย "สิ่งที่ดีที่สุดคือตะวันตกสามารถทำมันได้ด้วยการคงความเป็นหนึ่งเดียวกัน และผมรู้ว่าความคิดแบบเดียวกันนี้ยังคงมีมากกว่าในสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงในทำเนียบขาว" เขากล่าว . ความเห็นของ รุตต์ มีขึ้นหลังจากที่ ทรัมป์ กล่าวหาพันธมิตรนาโตของสหรัฐฯบ่อยครั้ง เกี่ยวกับการไม่ใช้จ่ายเงินมากพอในด้านการป้องกันตนเอง และขู่ว่าจะไม่ปกป้องพวกเขาในกรณีที่ถูกโจมตี . เร็วนี้สมาชิกยุโรปหลายชาติของนาโต ได้เคลื่อนไหวเพิ่มการใช้จ่ายด้านกลาโหมสู่ระดับ 2% ของจีดีพี ตามกรอบคำแนะนำขั้นต่ำสุดในปัจจุบันของนาโต อย่างไรก็ตาม ทรัมป์ เรียกร้องให้ทุ่มงบประมาณกว่ามากนี้อีก เรียกร้องให้ใช้จ่ายเงินในเรื่องดังกล่าว แตะระดับ 5% ของจีดีพี . ในขณะที่ รุตต์ ยอมรับว่าการป้องกันตนเองของยุโรปโดยปราศจากสหรัฐฯ "จะไม่ได้ผล" เขาได้เน้นย้ำว่าความตึงเครียดทางการค้าที่ปลุกปั่นโดยทรัมป์ "จะไม่เข้าแทรกกลางความมุ่งมั่นร่วมกันของเรา ในการรักษาไว้ซึ่งความเข้มแข็งของการป้องกันตนเอง ระหว่างพันธมิตรแล้ว มันมักมีประเด็นปัญหาอยู่ตลอด แต่มันไม่เคยสงบหรือมีความสุขตลอดเวลาหรอก" . ทรัมป์ ก่อความสั่นคลอนแก่พันธมิตรใกล้ชิดที่สุดของวอชิงตันบางส่วน ด้วยการแถลงรีดภาษี 25% สินค้านำเข้าจากแคนาดา ชาติสมาชิกนาโต และขู่ดำเนินการแบบเดียวกันกับสหภาพยุโรป . สหรัฐฯ ซึ่งใช้เงินไปเกือบ 850,000 ล้านดอลลาร์ ในด้านการป้องกันตนเองเมื่อปีที่แล้ว คือชาติมหาอำนาจทางทหารใหญ่สุดของนาโต ขณะเดียวกันวอชิงตัน ซึ่งมีทหารประจำการอยู่ทั่วยุโรป ยังมีบทบทสำคัญในการมอบความช่วยเหลือทางทหารและทางการเงินแก่ยูเครน ในความพยายามขับไล่การรุกรานของรัสเซีย . อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา ทรัมป์ ก่อคำถามเกี่ยวกับคำมั่นสัญญาของสหรัฐฯต่อนโยบายป้องกันตนเองร่วมของนาโต ซึ่งเน้นว่าการโจมตีรัฐสมาชิกหนึ่งๆ เท่ากับเป็นการโจมตีรัฐสมาชิกทั้งมวล . ไม่นานหลังจากเริ่มดำรงตำแหน่งสมัย 2 ในวันที่ 20 มกราคม ทรัมป์ยังได้ระงับเงินช่วยเหลือต่างประเทศทั้งหมด ส่วนหนึ่งในวาระ "อเมริกาต้องมาก่อน" ความเคลื่อนไหวที่อาจส่งผลกระทบต่อเงินสนับสนุนยูเครน . นอกเหนือจากคำขู่ทางการค้าและตัดเงินช่วยเหลือแล้ว ทรัมป์ยังคุกคามเดนมาร์ก ชาติสมาชิกนาโต ด้วยการประกาศจะยึดเกาะกรีนแลนด์ . อย่างไรก็ตามในวันจันทร์(3ก.พ.) รุตต์ กลบกระแสความกังวลเกี่ยวกับคำประกาศซื้อเกาะกรีนแลนด์ของทรัมป์ โดยแนะนำให้นาโตแสดงบทบาทมากขึ้นในการยกระดับการป้องกันตนเองในภูมิภาคอาร์กติก . "ประธานาธิบดีทรัมป์เตือนเราในข้อเท็จจริงที่ว่า เมื่อมันเป็นเรื่องของขั้วโลกเหนือ มันมีประเด็นด้านภูมิรัฐศาสตร์และยุทธศาสตร์เป็นเดิมพัน" รัตต์กล่าว "ภายใต้ความร่วมมือร่วมกันในฐานะพันธมิตร เราจะมองหาหนทางที่ดีที่สุด ทำให้แน่ใจว่าเราจะสามารถจัดการกับความท้าทายต่างๆนานาเหล่านี้" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000011157 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    10
    2 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1835 มุมมอง 0 รีวิว
  • นาโต ปะทะ สหรัฐ (นาโต)!!!

    “พันธมิตรที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความท้าทายด้านความมั่นคงครั้งใหญ่” - Mette Frederiksen กล่าวในการพบกับเลขาธิการนาโต

    มาร์ค รุตเต(Mark Rutte) เลขาธิการนาโต และ เมตเต เฟรเดอริกเซน (Mette Frederiksen) นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก แสดงความเห็นคล้อยตามกันว่า จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการปกป้องอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่กระสันอยากผนวกดินแดนของเกาะกรีนแลนด์ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กไว้ในครอบครอง

    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ

    ทางด้าน เอลินา วัลโทเนน (Elina Valtonen) รมว.ต่างประเทศฟินแลนด์ ยืนยันว่ากรีนแลนด์ได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรา 5 ของนาโต้ ในฐานะดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก หลังทรัมป์แสดงความต้องการยึดครอง

    ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก
    นาโต ปะทะ สหรัฐ (นาโต)!!! “พันธมิตรที่แข็งแกร่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีความท้าทายด้านความมั่นคงครั้งใหญ่” - Mette Frederiksen กล่าวในการพบกับเลขาธิการนาโต มาร์ค รุตเต(Mark Rutte) เลขาธิการนาโต และ เมตเต เฟรเดอริกเซน (Mette Frederiksen) นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก แสดงความเห็นคล้อยตามกันว่า จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการปกป้องอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่กระสันอยากผนวกดินแดนของเกาะกรีนแลนด์ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์กไว้ในครอบครอง เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ ทางด้าน เอลินา วัลโทเนน (Elina Valtonen) รมว.ต่างประเทศฟินแลนด์ ยืนยันว่ากรีนแลนด์ได้รับความคุ้มครองภายใต้มาตรา 5 ของนาโต้ ในฐานะดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก หลังทรัมป์แสดงความต้องการยึดครอง ฌอง-โนเอล บาร์โรต์ รัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศส กล่าวว่า ฝรั่งเศสได้หารือกับเดนมาร์กถึงความเป็นไปได้ในการส่งทหารไปกรีนแลนด์ เพื่อตอบโต้คำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ที่จะผนวกดินแดนของเดนมาร์ก
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 338 มุมมอง 0 รีวิว
  • มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง
    .
    แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท"
    .
    การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา
    .
    "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม
    .
    ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
    .
    ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต
    .
    ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก
    .
    โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ
    .
    เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง
    .
    สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085
    ..............
    Sondhi X
    มาร์ค รุตต์ เลขาธิการองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ(นาโต) และ เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีหญิงเดนมาร์ก เห็นพ้องระหว่างการพบปะประชุมกันว่าพันธมิตรแห่งนี้จำเป็นต้องมุ่งเน้นเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองในอาร์กติก ท่ามกลางการแสดงออกอย่างชัดเจนของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ที่ปรารถนาอยากได้เกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก ไว้ในครอบครอง . แหล่งข่าวใกล้ชิดกับการหารือ เปิดเผยหลังการประชุมระหว่าง รุตต์ กับ เฟรเดอริกเซน ว่า "ทั้ง 2 คน เห็นพ้องกันว่าในความพยายามนี้ พันธมิตรทั้งมวลต้องมีบทบาท" . การพบปะพูดคุยครั้งนี้เกิดขึ้นท่ามกลางความกังวลอย่างกว้างขวาง เกี่ยวกับกรณีที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจมาตั้งแต่ได้รับเลือกตั้งกลับมาดำรงตำแหน่งอีกสมัยในเดือนพฤศจิกายน ในการทำให้เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอเมริกา . "เราหารือเกี่ยวกับแนวทางที่เราจะทำงานร่วมกันเพื่อเสริมความมั่นคงในทะเลบอลติก สนับสนุนยูคเรน และลงทุนเพิ่มเติมในด้านกลาโหม ในนั้นรวมถึงในแถบอาร์กติก" รุตต์เขียนบนแพลตฟอร์มเอ็กซ์หลังเสร็จสิ้นการประชุม . ทรัมป์ บอกว่าเกาะกรีนแลนด์ มีความสำคัญต่อความมั่นคงของสหรัฐฯและเดนมาร์กควรยอมสละการควบคุมเกาะยุทธศาสตร์สำคัญในอาร์กติกแห่งนี้ ทั้งนี้ผู้นำอเมริกาไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารหรือพลังอำนาจทางเศรษฐกิจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว . ที่ผ่านมา ทรัมป์ ก็อยู่ในความขัดแย้งกับบรรดาพันธมิตรนาโตและยุโรป เกี่ยวกับการใช้จ่ายด้านกลาโหม และบอกว่าภายใต้การเป็นประธานาธิบดีของเขา สหรัฐฯจะทบทวนโดยพื้นฐานกี่ยวกับวัตถุประสงค์และภารกิจของนาโต . ในส่วนของเดนมาร์ก ได้แถลงเมื่อวันจันทร์(27ม.ค.) จะใช้จ่ายงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . เมตเต เฟรเดอริกเซน ยังได้พบปะกับ เอ็มมานูเอล มาครง ประธานาธิบดีฝรั่งเศส และบอกว่าพวกผู้นำทางการเมืองในยุโรปและที่อื่นๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่กับหลักการแห่งการธำรงไว้ซึ่งความเคารพเขตแดนระหว่างประเทศ . ผลสำรวจความคิดเห็นหนึ่งที่เผยแพร่ในวันอังคาร(28ม.ค.) พบว่ามีชาวกรีนแลนด์ถึง 85% ที่ไม่ปรารถนาให้เกาะแอตแลนติกแห่งนี้ ซึ่งเป็นดินแดนกึ่งปกครองตนเองของเดนมาร์ก เข้าเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ตามรายงานของ Berlingske หนังสือพิมพ์เดนมาร์ก . โพลที่จัดทำโดย Verian ตามที่ได้รับมอบหมายจาก Berlingske พบว่ามีชาวกรีนแลนด์แค่ 6% ที่อยากเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ ส่วนที่เหลืออีก 9% บอกว่ายังไม่ตัดสินใจ . เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็กซิโก และมีประชากร 57,000 คน ได้รับอำนาจในการปกครองตนเองอย่างกว้างขวางในปี 2009 ในนั้นรวมถึงสิทธิในการประกาศเอกราชจากเดนมาร์กผ่านการทำประชามติ . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งยกระดับผลักดันความเป็นเอกราช เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย และขึ้นอยู่กับประชาชนของเกาะที่จะตัดสินใจอนาคตของตนเอง . สำหรับกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000009085 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Love
    14
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2165 มุมมอง 0 รีวิว
  • อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเทคโนโลยี แนะนำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อช่องแคบอังกฤษเป็น "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา หลังจากก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่งเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา
    .
    ในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ของเขาเองเมื่อวันเสาร์ (25 ม.ค.) มัสก์ เสนอ "ชื่อใหม่สำหรับน่านน้ำที่กั้นกลางระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส" โดยแชร์ภาพถ่ายของช่องแคบแห่งนี้ พร้อมกับเขียนข้อความ "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" ทับบนช่องแคบ
    .
    ดูเหมือนว่าโพสต์ข้อมัสก์จะเป็นการล้อเล่นขำๆ แต่มันมีขึ้นไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ พันธมิตรทางการเมืองใกล้ชิดของมัสก์ ออกคำสั่งให้เปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และเปลี่ยนชื่อยอดเขาเดนาลี ในรัฐอะแลสกา กลับมาเป็นภูเขาแม็คคินลีย์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมช่วงก่อนหน้าปี 2015 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านั้น ได้รับการยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยของอเมริกาเมื่อวันศุกร์ (24 ม.ค.)
    .
    นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังประกาศซ้ำๆ ถึงความตั้งใจให้ได้มาซึ่งเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวที่จะเป็นการขยายชายฝั่งทะเลอาร์กติกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุด ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันเสาร์ (25 ม.ค.) หลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ เมตเต เฟรเดอริกเซน​​ นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ว่า "ผมคิดว่าเรากำลังได้มันมา"
    .
    ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังชี้แนะหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐหนึ่งของอเมริกา
    .
    ชาวโรมันเรียกช่องแคบอังกฤษว่า "Mare Britannicum" หรือ "ทะเลของชาวบริตัน" มันถูกเรียกกันทั่วไปว่าช่องแคบอังกฤษตั้งแต่ยุคกลาง แม้ว่าในฝรั่งเศสจะเรียกว่า "La Manche" หรือ "The Sleeve" เนื่องจากรูปทรงของมัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008691
    ..............
    Sondhi X
    อีลอน มัสก์ มหาเศรษฐีเทคโนโลยี แนะนำให้สหรัฐฯ เปลี่ยนชื่อช่องแคบอังกฤษเป็น "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีคนแรกของอเมริกา หลังจากก่อนหน้านี้ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ เพิ่งเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา . ในข้อความที่โพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ของเขาเองเมื่อวันเสาร์ (25 ม.ค.) มัสก์ เสนอ "ชื่อใหม่สำหรับน่านน้ำที่กั้นกลางระหว่างอังกฤษกับฝรั่งเศส" โดยแชร์ภาพถ่ายของช่องแคบแห่งนี้ พร้อมกับเขียนข้อความ "ช่องแคบจอร์จ วอชิงตัน" ทับบนช่องแคบ . ดูเหมือนว่าโพสต์ข้อมัสก์จะเป็นการล้อเล่นขำๆ แต่มันมีขึ้นไม่ถึง 1 สัปดาห์หลังจากประธานาธิบดีทรัมป์ พันธมิตรทางการเมืองใกล้ชิดของมัสก์ ออกคำสั่งให้เปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา และเปลี่ยนชื่อยอดเขาเดนาลี ในรัฐอะแลสกา กลับมาเป็นภูเขาแม็คคินลีย์ ซึ่งเป็นชื่อเดิมช่วงก่อนหน้าปี 2015 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เหล่านั้น ได้รับการยืนยันจากกระทรวงมหาดไทยของอเมริกาเมื่อวันศุกร์ (24 ม.ค.) . นอกจากนี้ ทรัมป์ ยังประกาศซ้ำๆ ถึงความตั้งใจให้ได้มาซึ่งเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวที่จะเป็นการขยายชายฝั่งทะเลอาร์กติกของสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ล่าสุด ทรัมป์ บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันเสาร์ (25 ม.ค.) หลังพูดคุยทางโทรศัพท์กับ เมตเต เฟรเดอริกเซน​​ นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ ว่า "ผมคิดว่าเรากำลังได้มันมา" . ขณะเดียวกัน ทรัมป์ ยังชี้แนะหลายต่อหลายครั้งในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐหนึ่งของอเมริกา . ชาวโรมันเรียกช่องแคบอังกฤษว่า "Mare Britannicum" หรือ "ทะเลของชาวบริตัน" มันถูกเรียกกันทั่วไปว่าช่องแคบอังกฤษตั้งแต่ยุคกลาง แม้ว่าในฝรั่งเศสจะเรียกว่า "La Manche" หรือ "The Sleeve" เนื่องจากรูปทรงของมัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008691 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1133 มุมมอง 0 รีวิว
  • เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้
    .
    ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้
    .
    หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย
    .
    "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง
    .
    ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง
    .
    ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า
    .
    ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ
    .
    รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้
    .
    ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้
    .
    ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้
    .
    ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
    .
    ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย
    .
    ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส
    .
    ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
    .
    "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา"
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692
    ..............
    Sondhi X
    เดนมาร์กเปิดเผย จะทุ่มงบประมาณ 14,600 ล้านโครเนอเดนมาร์ก (ประมาณ 2,050 ล้านดอลลาร์ หรือ 69,000 ล้านบาท) เสริมประจำการทางทหารในอาร์กติก ตามหลังประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ แสดงความสนใจซ้ำๆ ที่จะเข้าควบคุมกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก และเย้ยหยันโคเปนเฮเกน ว่าไม่มีศักยภาพพอที่จะปกป้องเกาะแห่งนี้ . ในเดือนนี้ ทรัมป์ บอกว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเดนมาร์กต้องปล่อยมือจากการควบคุมเกาะอาร์กติกที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์แห่งนี้ . หลังจากปรับลดการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองลงอย่างมากมานานกว่า 1 ทศวรรษ เดนมาร์ก แถลงในวันจันทร์ (27 ม.ค.) ว่าจะใช้จ่ายเงิน 14,600 ล้านโครเนอ ในการเสริมความมั่นคงในภูมิภาคอาร์กติก ดินแดนยุทธศาสตร์ใกล้กับทั้งสหรัฐฯ และรัสเซีย . "เราต้องเผชิญหน้ากับข้อเท็จจริงที่ว่า มีความท้าทายร้ายแรงในเรื่องความมั่นคงและด้านการป้องกันตนเองในอาร์กติกและนอร์ทแอตแลนติก" โทรเอลส์ ลุนด์ โพลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุในถ้อยแถลง . ในขณะที่ เดนมาร์ก รับผิดชอบมอบความมั่นคงและการป้องกันตนเองแก่กรีนแลนด์ แต่พวกเขากลับมีแสนยานุภาพทางทหารอย่างจำกัดบนเกาะที่ใหญ่โตแห่งนี้ จนถึงมองอย่างกว้างว่าเป็นหลุมดำด้านความมั่นคง . ณ ปัจจุบัน ศักยภาพของเดนมาร์กนั้นมีเพียงแค่เรือตรวจการณ์เก่าเก็บ 4 ลำ เครื่องบินลาดตระเวนชาลเลนเจอร์ 1 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 12 ตัว ซึ่งทั้งหมดมีหน้าที่รับผิดชอบตรวจการณ์ทั่วเกาะ ที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าฝรั่งเศสถึง 4 เท่า . ในงบประมาณใหม่นี้ รวมไปถึงเงินทุนสำหรับเรือราชนาวีอาร์กติกใหม่ 3 ลำ เพิ่มโดรนตรวจการณ์ระยะไกลที่วางแผนไว้อีกเท่าตัวเป็น 4 ลำ เช่นเดียวกับดาวเทียวสอดแนม ถ้อยแถลงรัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์กระบุ . รายงานข่าวระบุว่า บรรดาพรรคการเมืองต่างๆ ของเดนมาร์ก เห็นพ้องกันจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับอาร์กติก ในข้อตกลงหนึ่งๆ ที่จะนำเสนอในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ . ในด้านกองทัพสหรัฐฯ พวกเขามีกำลังพลประจำการถาวรอยู่ ณ ฐานทัพอวกาศพิทัฟฟิก ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะกรีนแลนด์ ตำแหน่งยุทธศาสตร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของระบบแจ้งเตือนขีปนาวุธล่วงหน้า ในขณะที่จุดดังกล่าวเป็นเส้นทางที่สั้นที่สุดสำหรับเดินทางจากยุโรปไปยังอเมริกาเหนือ ผ่านเกาะแห่งนี้ . ก่อนหน้านี้ในวันเสาร์ (25 ม.ค.) ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ ให้สัมภาษณ์กับพวกผู้สื่อข่าวบนเครื่องบินแอร์ฟอร์ซวัน บอกว่า เดนมาร์กไม่มีแสนยานุภาพเพียงพอที่จะปกป้องเกาะกรีนแลนด์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ ความเคลื่อนไหวที่ดูเหมือนเป็นการเย้ยยันข่าวลือที่หลุดออกมาว่า เดนมาร์กมีแผนเพิ่มประจำการทางทหารบนเกาะในอาร์กติกแห่งนี้ . ทรัมป์ เคยหยิบยกความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์ ครั้งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และรื้อฟื้นความคิดดังกล่าวหลังได้รับชัยชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายนที่ผ่านมา . ผู้นำอเมริการายนี้เน้นย้ำว่ากรีนแลนด์มีความสำคัญในด้านความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังเพื่อให้ได้มันมาครอบครอง ในขณะที่เดนมาร์กปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่าเกาะแห่งนี้ไม่ได้มีไว้ขาย . ทรัมป์ กล่าวว่า "ผมเชื่อว่าเกาะกรีนแลนด์ เราจะได้มันมา เพราะว่ามันเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำจริงๆ เพื่อเสรีภาพของโลก มันไม่เกี่ยวข้องอะไรกับสหรัฐฯ เหนือสิ่งอื่นใดที่เรามีคือ สามารถมอบเสรีภาพ เดนมาร์กไม่สามารถมอบให้ได้ พวกเขาส่งสุนัขลากเลื่อนเข้าไปอีก 2 ตัวเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน พวกเขาคิดหรือว่านั่นเป็นการป้องกัน" ทรัมป์บอกกับไฟแนนเชียลไทม์ส . ดูเหมือนว่า ทรัมป์ จะพาดพิงถึงถ้อยแถลงของรัฐมนตรีกลาโหมของเดนมาร์ก ที่บอกว่าโคเปนเฮเกนมีแผนเพิ่มเติมเรือตรวจการณ์ 2 ลำ โดรน 2 ลำ และสุนัขลากเลื่อนลาดตระเวน 2 ตัว เข้าไปเสริมกองกำลังพล 75 นาย เรือ 4 ลำ และเครื่องบินลาดตระเวน 1 ลำ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน . "ผมไม่รู้ว่า เดนมาร์ก จะอ้างว่าอย่างไร แต่มันจะเป็นการกระทำที่ไม่เป็นมิตรมากๆ หากพวกเขาไม่ปล่อยให้มันเกิดขึ้น" ทรัมป์บอกเมื่อช่วงสุดสัปดาห์ พร้อมอ้างว่า "ประชาชนชาวกรีนแลนด์ต้องการเข้าร่วมกับเรา" . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000008692 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Wow
    8
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1229 มุมมอง 0 รีวิว
  • มีรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลง 78 คำสั่งในยุคของรัฐบาลไบเดน

    เอกสารสำคัญที่ลงนาม เช่น:

    ➡️คำสั่งถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

    ➡️ยกเลิกคำสั่งการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลในเรื่องการแสดงความเห็น โดยทรัมป์ลงนามคืนเสรีภาพในการพูด

    ➡️เอกสารที่ยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของไบเดนในปี 2023 เกี่ยวกับนโยบายปัญญาประดิษฐ์และคำสั่งในการเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030

    ➡️ยกเลิกคำสั่งของไบเดนในการห้ามขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก

    ➡️ยกเลิกคำสั่งไบเดนในการถอดคิวบาออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายของสหรัฐฯ

    หลังจากนั้น ทรัมป์โยนปากกาที่เตรียมมาให้กับผู้เข้าร่วมพิธี
    มีรายงานว่า ปธน.ทรัมป์ ลงนามคำสั่งฝ่ายบริหารเพื่อเปลี่ยนแปลง 78 คำสั่งในยุคของรัฐบาลไบเดน เอกสารสำคัญที่ลงนาม เช่น: ➡️คำสั่งถอนสหรัฐออกจากข้อตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ➡️ยกเลิกคำสั่งการเซ็นเซอร์ของรัฐบาลในเรื่องการแสดงความเห็น โดยทรัมป์ลงนามคืนเสรีภาพในการพูด ➡️เอกสารที่ยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของไบเดนในปี 2023 เกี่ยวกับนโยบายปัญญาประดิษฐ์และคำสั่งในการเพิ่มยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าเป็น 50% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมดภายในปี 2030 ➡️ยกเลิกคำสั่งของไบเดนในการห้ามขุดเจาะน้ำมันในอาร์กติก ➡️ยกเลิกคำสั่งไบเดนในการถอดคิวบาออกจากรายชื่อรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้ายของสหรัฐฯ หลังจากนั้น ทรัมป์โยนปากกาที่เตรียมมาให้กับผู้เข้าร่วมพิธี
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 342 มุมมอง 37 0 รีวิว
  • ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์
    .
    เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว
    .
    อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค
    .
    ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์
    .
    ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4%
    .
    เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009
    .
    ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง
    .
    ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673
    ..............
    Sondhi X
    ดูเหมือนความตั้งใจของ โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ของเดนมาร์ก เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติ จะไม่ได้รับแรงสนับสนุนจากประชาชนชาวอเมริกาสักเท่าไหร่ จากผลสำรวจความคิดเห็นรอบใหม่ที่จัดทำโดยยูเอสเอทูเดย์ และเผยแพร่เมื่อช่วงกลางสัปดาห์ . เกาะในอาร์กติกแห่งนี้เป็นดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ทรัมป์เคยนำเสนอความคิดที่จะซื้อกรีนแลนด์มาแล้ว ครั้งดำรงตำแหน่งประธนาธิบดีสหรัฐฯ สมัยแรก และคืนชีพความประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาเมื่อเดือนที่แล้ว . อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ยูเอสเอทูเดย์ ระบุในวันพุธ (15 ม.ค.) ว่าความคิดดังกล่าวของทรัมป์ ได้ก่อความรู้สึกช็อกเป็นวงกว้าง อ้างอิงผลสำรวจความคิดเห็นที่สื่อมวลชนแห่งนี้จัดทำให้กับมหาวิทยาลัยซัฟฟอล์ค . ผลสำรวจความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับผู้ตอบแบบสอบถาม 1,000 คน และจัดทำระหว่างวันที่ 7 ถึง 11 มกราคม พบว่ามีแค่ 11% ที่บอกว่า ว่าที่รัฐบาลของทรัมป์ ควรทำทุกอย่างเท่าที่สามารถทำได้ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ ส่วน 29% บอกว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มองสภาพความเป็นจริง และมีถึง 53% ที่ไม่สนับสนุนให้ซื้อเกาะกรีนแลนด์ . ในรายละเอียดของโพล พบว่ามีชาวเดโมแครตถึง 86% ที่คัดค้านแผนของทรัมป์ในการซื้อเกาะกรีนแลนด์ และมีชาวรีพับลิกันเพียง 23% ที่สนับสนุนแนวคิดดังกล่าว ส่วน 21% มองว่าไม่ใช่เรื่องดี และอีก 48% คิดว่ามันเป็นความคิดที่ดี แต่ไม่มีความเป็นไปได้จริง . ก่อนหน้านี้เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ ผลสำรวจที่จัดทำโดยบริษัทวิจัย Patriot Polling พบว่ามีชาวกรีนแลนด์มากถึง 57% ที่อยากให้เกาะแห่งนี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯ ส่วนที่คัดค้านมี 37.4% . เกาะกรีนแลนด์ มีประชากรราว 57,000 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชนเผ่าอินูอิต การปกครองเกาะแห่งนี้ของเดนมาร์ก ได้รับการรับรองจากนานาชาติมาตั้งแต่ยุคทศวรรษ 1800 แต่กรีนแลนด์ ได้สิทธิปกครองตนเองในปี 2009 . ในพื้นที่ 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร เกาะกรีนแลนด์อุดมไปด้วยทรัยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามีแหล่งน้ำมันสำรองมหาศาลในน่านน้ำของพวกเขา อย่างไรก็ตามราว 80% ของพื้นผิวของดินแดนแห่งนี้ถูกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง . ทรัมป์ อ้างว่าการควบคุมของสหรัฐฯ เหนือเกาะกรีนแลนด์ เป็นเรื่องสำคัญสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ ในขณะที่สมาชิกรีพับลิกันในสภาคองเกรส ได้ร่างกฎหมาย "ทำให้กรีนแลนด์ยิ่งใหญ่อีกครั้ง" ขึ้นมาแล้ว ซึ่งมันจะเปิดทางให้ ทรัมป์ เจรจากับเดนมาร์ก เพื่อของซื้อเกาะแห่งนี้ . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004673 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1550 มุมมอง 0 รีวิว
  • พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด
    .
    ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง
    .
    "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ
    .
    ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ
    .
    เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้"
    .
    กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ
    .
    ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284
    ..............
    Sondhi X
    พันธมิตรรีพับลิกันของว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ในสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ นำเสนอร่างกฎหมายที่มีเป้าหมายให้อำนาจการเจรจา กรณีที่อเมริกาจะซื้อเกาะกรีนแลนด์จากเดนมาร์ก ความเคลื่อนไหวนี้มีขึ้นหลังจากผู้นำโปรเอกราชของเกาะแบะท่าพร้อมเจรจา หลัง ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเข้ายึด . ร่างกฎหมายดังกล่าวที่ส่งต่อในวันจันทร์ (13 ม.ค.) โดย แอนดี ออกเลส สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกนับสิบคน จะเปิดทางให้ ทรัมป์ สามารถเริ่มเจรจากับเดนมาร์ก ได้ทันทีที่เขาสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง . "ด้วยเหตุนี้ คองเกรสให้อำนาจประธานาธิบดี เริ่มตั้งแต่ 00.01 น. ตามเวลามาตรฐานตะวันออก ของวันที่ 20 มกราคม 2025 ในการหาทางเข้าสู่การเจรจากับประเทศเดนมาร์ก เกี่ยวกับการซื้อเกาะกรีนแลนด์" ร่างกฎหมายระบุ . ข้อเสนอนี้มีขึ้นหลังจาก ทรัมป์ รื้อฟื้นความสนใจในการดึงเกาะกรีนแลนด์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐฯ อ้างว่ามันมีความจำเป็นอย่างที่สุดสำหรับความมั่นคงแห่งชาติ และไม่ตัดความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารและมาตรการกดดันทางเศรษฐกิจเพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว "ประชาชนไม่รู้ด้วยซ้ำว่า เดนมาร์ก มีสิทธิโดยชอบธรรมทางกฎหมายใดๆ เหนือเกาะกรีนแลนด์หรือไม่ แต่ถ้าพวกเขามี พวกเขาควรปล่อยมือ เพราะเราต้องการมัน" ทรัมป์ กล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เน้นย้ำว่าเกาะแห่งนี้มีความทะเทอทะยานอยากเป็นเอกราชแยกออกจากเดนมาร์ก พร้อมระบุประชาชนชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นทั้งคนเดนมาร์กหรืออเมริกันชน นอกจากนี้ เขายังแสดงถึงความพร้อมที่จะพูดคุยกับทรัมป์ และยอมรับว่าการที่ ทรัมป์ ไม่ตัดความเป็นไปได้ในการบีบบังคับขอซื้อเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งที่ "น่าเคร่งเครียดอย่างยิ่ง" . กรีนแลนด์ เป็นเกาะใหญ่ที่สุดในโลก มีชายฝั่งทั้งด้านแอตแลนติกและอาร์กติก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 ถึงปี 1950 มันเป็นดินแดนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของเดนมาร์กโดยสมบูรณ์ แต่ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาะแห่งนี้ถูกยึดครองโดยสหรัฐฯ หลังจากเดนมาร์ก ถูกยึดโดยนาซีเยอรมนี ปัจจุบันเกาะแห่งนี้เป็นที่ตั้งฐานทัพทหารอเมริกาแห่งหนึ่ง และมีระบบแจ้งเตือนล่วงหน้าสำหรับภัยคุกคามจากขีปนาวุธ . เกาะแห่งนี้เป็นอิสระมากขึ้นเรื่อยๆ และได้รับอนุมัติให้ปกครองตนเองในปี 1979 พร้อมได้รับสิทธิในปี 2009 ในการประกาศเอกราช หากว่าประชามติผ่านความเห็นชอบ "ความปรารถนาเป็นเอกราช ความปรารถนาที่จะมีบ้านของตนเอง คงได้รับความเข้าใจจากประชาชนทั่วโลก" เอเกเด กล่าว พร้อมระบุว่าการลงประชามติประกาศเอกราช "จะมีขึ้นเร็วๆ นี้" . กรีนแลนด์ เป็นถิ่นพำนักของประชาชนไม่ถึง 57,000 คน และ 80% ปกคลุมไปด้วยน้ำแข็ง แต่มันอุดมไปด้วยทรัพยากรทองคำ เงิน ทองแดงและอะลูมิเนียม และเชื่อว่ามันมีแหล่งสำรองน้ำมันมหาศาลอยู่ในเขตน่านน้ำ . ผลสำรวจเมื่อเร็วๆ นี้ของ Patriot Polling สถาบันวิจัยสหรัฐฯ พบว่ามีพลเมืองเกาะกรีนแลนด์ 57% สนับสนุนข้อเสนอของทรัมป์ โดยโพลดังกล่าวเป็นการสอบถามผู้ตอบแบบสอบถาม 416 คน และจัดทำเมื่อช่วงต้นเดือนนี้ ในช่วงที่ โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เดินทางไปเยือนเกาะกรีนแลนด์ ในทริปส่วนตัวพอดี . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000004284 .............. Sondhi X
    Like
    Sad
    Love
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1626 มุมมอง 0 รีวิว
  • "การลงทุนที่คุ้มค่าของทรัมป์"

    ไม่ว่าอเมริกาต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ในการได้เกาะกรีนแลนด์ที่มีประชากรเพียง 57,000 คนมาครอบครอง แต่คงไม่มากไปกว่างบประมาณด้านกองทัพที่อเมริกาต้องจ่ายอยู่ทุกวันนี้

    แลกกับจุดยุทธศาสตร์ ทรัพยากร และเส้นทางเดินเรือในอาร์กติกที่สหรัฐฯ จะได้รับแล้ว ถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก

    นอกจากนี้ จำนวนเงินที่ใส่ลงไป คนที่รับเงินก็คือชาวกรีนแลนด์ที่อาจได้สัญชาติอเมริกันต่ออีกด้วย และเงินเหล่านี้จะยังอยู่ในวงจรเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไป
    "การลงทุนที่คุ้มค่าของทรัมป์" ไม่ว่าอเมริกาต้องจ่ายเงินเท่าไหร่ในการได้เกาะกรีนแลนด์ที่มีประชากรเพียง 57,000 คนมาครอบครอง แต่คงไม่มากไปกว่างบประมาณด้านกองทัพที่อเมริกาต้องจ่ายอยู่ทุกวันนี้ แลกกับจุดยุทธศาสตร์ ทรัพยากร และเส้นทางเดินเรือในอาร์กติกที่สหรัฐฯ จะได้รับแล้ว ถือว่าคุ้มค่าอย่างมาก นอกจากนี้ จำนวนเงินที่ใส่ลงไป คนที่รับเงินก็คือชาวกรีนแลนด์ที่อาจได้สัญชาติอเมริกันต่ออีกด้วย และเงินเหล่านี้จะยังอยู่ในวงจรเศรษฐกิจของอเมริกาต่อไป
    Haha
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 338 มุมมอง 0 รีวิว
  • เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง
    .
    หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021
    .
    “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ
    .
    ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?”
    .
    และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก
    .
    อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้
    .
    ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย”
    .
    ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา”
    .
    ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง
    .
    ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก
    .
    ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้
    .
    มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้
    .
    ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด
    .
    รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง
    .
    แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง
    .
    เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง
    .
    และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้
    .
    ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน
    .
    ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni)
    .
    ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ
    .
    เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน”
    .
    เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค.
    .
    สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน
    .
    เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์
    สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916
    ..............
    Sondhi X
    เชื่อว่าอดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ อาจได้ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์จากทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) เพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัย นายกรัฐมนตรีอิตาลีฟันธง เหมือนสัญญาณเตือนไป “ปักกิ่ง” ไม่กี่วันหลังวอชิงตันล็อบบี้ไม่ให้ขายบริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) ของกรีนแลนด์ไปให้ปักกิ่ง . หนังสือพิมพ์ดิอินดีเพนเดนท์ของอังกฤษรายงานวันพุธ (8 ม.ค.) ว่า มีการเชื่อว่า ความคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์อาจมาจากเพื่อนสมัยเรียนมหาวิทยาลัยของทรัมป์ ทายาทเครื่องสำอาง ESTÉE LAUDER “โรแนลด์ ลอเดอร์” (Ronald Lauder) อ้างจากหนังสือ The Divider ของปีเตอร์ เบเกอร์ (Peter Baker) จากหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทม์ส และซูซาน กลาสเซอร์ (Susan Glasser) จาก The New Yorker ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอดีตผู้นำสหรัฐฯ โดนัลด์ ทรัมป์ ในขณะที่อยู่ในทำเนียบขาวระหว่างปี 2017-2021 . “เพื่อนคนหนึ่งของผมที่เป็นนักธุรกิจที่มีประสบการณ์มากๆ คิดว่าเราควรได้เกาะกรีนแลนด์” ทรัมป์กล่าวต่อที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติในเวลานั้น อ้างอิงจากหนังสือ . ทรัมป์ ผู้นำสหรัฐฯ ในเวลานั้นถามย้ำว่า “คุณคิดว่าอย่างไร?” . และส่งผลทำให้มีการตั้งทีมศึกษา การหาทางออกต่างๆ เป็นต้นว่า ข้อเสนอขอเช่าเกาะ ที่คล้ายข้อตกลงอสังหาริมทรัพย์นิวยอร์ก . อ้างอิงจากนิวยอร์กไทม์ส มีความวิตกในกลุ่มผู้ช่วยทรัมป์ว่า หากแนวคิดการซื้อเกาะกรีนแลนด์หากรั่วออกไปอาจส่งผลกระทบทางการทูตได้ . ทรัมป์ให้มสัมภาษณ์กับผู้แต่งว่า “ผมพูดว่า ทำไมพวกเราไม่ครอบครองมัน” และเสริมว่า “คุณมองไปที่แผนที่สิ ผมเป็นนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ผมมองไปที่ตรงมุม ผมพูดว่า ผมจะต้องมีร้านสำหรับตึกที่ผมกำลังจะสร้างและอื่นๆ มันไม่ต่างกันเลย” . ผู้นำสหรัฐฯ ย้ำว่า “ผมรักแผน และผมมักพูดว่า มองไปที่ขนาดของมันสิ มันใหญ่มหึมามาก มันสมควรเป็นส่วนหนึ่งของสหรัฐอเมริกา” . ดิอินดีเพนเดนท์รายงานว่า อ้างอิงจากหนังสือพบว่า ทายาท Estée Lauder ได้หารือกับทรัมป์เกี่ยวกับเกาะกรีนแลนด์มาตั้งแต่เริ่มแรกของสมัยการดำรงตำแหน่งเมื่อปี 2017 และแม้กระทั่งเสนอตัวเองเป็นประตูหลังติดต่อรัฐบาลเดนมาร์กสำหรับการเจรจาต่อรอง . ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ จอห์น โบลตัน (John Bolton) ในเวลานั้นได้สั่งผู้ช่วยของเขา ฟิโอนา ฮิลล์ (Fiona Hill) ให้ตั้งทีมงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ และพบมีการแอบหารือลับร่วมกับเอกอัครราชทูตเดนมาร์ก พร้อมกับเมโมเสนอช่องทางตัวเลือก . ทั้งนี้ โบลตันวิตกการแผ่อิทธิพลของ "ปักกิ่ง" มายังภูมิภาคอาร์กติก ขั้วโลกเหนือ และเชื่อว่าการที่สหรัฐฯ จะเพิ่มอิทธิพลปรากฏตัวบนเกาะกรีนแลนด์จะเป็นความคิดที่ดี แต่อย่างไรก็ตาม โบลตันเชื่อว่า ความคิดซื้อเกาะกรีนแลนด์นั้นไม่มีความเป็นไปได้ . มีการสานสัมพันธ์ระหว่างกรีนแลนด์และจีน อ้างอิงจาก highnorthnews รายงานเมื่อวันที่ 30 พ.ย.ปี 2021 ว่า เกาะกรีนแลนด์ได้เปิดสำนักงานตัวแทนขึ้นที่กรุงปักกิ่ง เพื่อโปรโมตทางเศรษฐกิจ การค้า วัฒนธรรมระหว่างกรีนแลนด์และเอเชีย โดยมีเป้าหมายไปที่ "จีน" แต่ยังครอบคลุมไปถึงญี่ปุ่น และ เกาหลีใต้ . ความกังวลของโบลตันเกี่ยวกับกรีนแลนด์ในเวลานั้นยังสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของวอชิงตันเมื่อล่าสุด . รอยเตอร์รายงานวันศุกร์ (10) ล่าสุดว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ที่กำลังจะหมดสมัยได้ร่วมกับโคเปนเฮเกนแอบล็อบบี้บริษัทเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ (Rare Earth) Tanbreez Mining ของกรีนแลนด์ที่มีนโยบายว่า ทำเหมืองเพื่อเทคโนโลยีสะอาดกว่า (Mining for Greener Technologies) ไม่ให้ถูกขายไปให้ปักกิ่ง . แร่แรร์เอิร์ธนั้นมีคุณสมบัติความเป็นแม่เหล็กสูงและมีความสำคัญต่อการพัฒนาตั้งแต่รถยนต์ไฟฟ้าไปจนถึงจรวดมิสไซล์ที่ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างแข่งขันเพื่อครอบครอง . เกร็ก บาร์นส์ (Greg Barnes) ซีอีโอบริษัท Tanbreez Mining ที่ขัดสนเงินให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า เจ้าหน้าที่อเมริกันปีที่แล้วเดินทางมาที่ทางใต้ของเกาะกรีนแลนด์ถึง 2 ครั้งเพื่อเตือนไม่ให้ขายไปให้ผู้ซื้อที่เชื่อมโยงกับปักกิ่ง . และในท้ายที่สุดเขาจำเป็นต้องขายบริษัทเหมืองแร่กรีนแลนด์ไปให้บริษัทเหมืองแร่ Critical Metals ที่มีฐานในนิวยอร์กในข้อตกลงที่สลับซับซ้อนและได้เงินน้อยกว่า ซึ่งสัญญาจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปีนี้ . ทั้งนี้บาร์นส์จะได้เงินสด 5 ล้านดอลลาร์และหุ้นใน Critical Metals สำหรับ Tanbreez Mining เป็นมูลค่า 211 ล้านดอลลาร์ เป็นมูลค่าสัญญาขายน้อยกว่ามากเมื่อเปรียบเทียบออกมาจากฝั่งของบริษัทจีน . ทรัมป์ต้องการได้เกาะกรีนแลนด์เพื่อกันจีนนั้นยังออกมาจากความเห็นของนายกรัฐมนตรีอิตาลี จอร์เจีย เมโลนี (Giorgia Meloni) . ฟรานซ์24 ของฝรั่งเศสรายงานวันพฤหัสบดี (9) ว่า ผู้นำหญิงอิตาลีเปิดเผยว่า เธอมองว่าการที่ว่าที่ประธานาธิบดีอเมริกันคนใหม่ข่มขู่จะใช้กำลังทหารเข้ายึดเกาะกรีนแลนด์หรือคลองปานามาเป็นเสมือนคำเตือนไปยังประเทศฝ่ายตรงข้ามเป็นต้นว่า “จีน” ที่สมควรทำตัวออกห่างจากพื้นที่ทางยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯ . เดลีเมลของอังกฤษรายงานวันเสาร์ (11) ว่า นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ Múte Egede ในวันศุกร์ (10) ที่เดนมาร์ก ได้แสดงความปรารถนาจะเข้าสู่การเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับผลประโยชน์ร่วมกัน พร้อมย้ำว่า “ชาวกรีนแลนด์ไม่ต้องการเป็นอเมริกันชน” . เกิดขึ้นหลังแอ็กซิออส (Axios) รายงานว่า เจ้าหน้าที่เดนมาร์กได้สื่อสารในทางลับกับทีมของทรัมป์ประเด็นเกาะกรีนแลนด์ก่อนหน้าวันพิธีสาบานตนในวันที่ 20 ม.ค. . สหรัฐฯ ที่ตั้งชาติมาอย่างหลากหลายวิธีทั้งสู้รบในสงครามปฏิวัติอเมริกากับอังกฤษ และการสู้รบสเปน และเม็กซิโกในการขยายดินแดน และยังรวมไปถึงการใช้เงินเพื่อซื้อดินแดน . เดลีเมลของอังกฤษประเมินว่า หากสหรัฐฯ เดินหน้าซื้อเกาะกรีนแลนด์จริงอาจต้องจ่ายแพงกว่าตอนซื้อรัฐอะแลสกาจากรัสเซียเมื่อปี 1867 ในราคา 7.2 ล้านดอลลาร์ หรือเท่ากับ 153.5 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . โดยชี้ว่า เกาะกรีนแลนด์ใหญ่กว่ารัฐอะแลสกา 150 เท่า คาดว่าอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายถึง 230.25 ล้านดอลลาร์ สหรัฐฯ เคยซื้อเกาะเวอร์จินจากเดนมาร์กเมื่อปี 1917 ด้วยทองคำมูลค่า 25 ล้านดอลลาร์ เทียบเท่ากับ 616.2 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . และรัฐบาลลุงแซมยังเคยทุ่มซื้อรัฐลุยเซียนาจากฝรั่งเศสเมื่อปี 1803 ในราคา 15 ล้านดอลลาร์ หรือตกราว 418.8 ล้านดอลลาร์ในปัจจุบัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000003916 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Yay
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1855 มุมมอง 0 รีวิว
  • ผู้นำกรีนแลนด์ มูเต เอเกเด กล่าวว่าเขาพร้อมเจรจากับทรัมป์เกี่ยวกับอนาคตของดินแดนอาร์กติกแห่งนี้
    ผู้นำกรีนแลนด์ มูเต เอเกเด กล่าวว่าเขาพร้อมเจรจากับทรัมป์เกี่ยวกับอนาคตของดินแดนอาร์กติกแห่งนี้
    Like
    Haha
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 321 มุมมอง 0 รีวิว
  • เริ่มนับหนึ่ง!
    "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ"
    ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก

    หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ
    "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ"
    (but it is unlikely to become a U.S. state)
    เริ่มนับหนึ่ง! "กรีนแลนด์อาจกลายเป็นเอกราชได้ แต่จะไม่ใช่รัฐของสหรัฐ" ลาร์ส ล็อกเก้ ราสมุสเซน (Lars Løkke Rasmussen) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเดนมาร์ก หลังจากโดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ปฏิเสธที่จะตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังเข้าควบคุมเกาะอาร์กติก รัฐมนตรีต่างประเทศเดนมาร์กกล่าวเมื่อวันพุธว่า กรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่อุดมไปด้วยแร่ธาตุและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของเดนมาร์ก อาจกลายเป็นเอกราชได้ หากประชาชนต้องการ "แต่มันไม่น่าจะกลายเป็นรัฐหนึ่งของสหรัฐ" (but it is unlikely to become a U.S. state)
    Like
    Haha
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 682 มุมมอง 0 รีวิว
  • New York Post เผยถึงเหตุที่ #ทรัมป์ ต้องการ #กรีนแลนด์ ถึงขั้นบอกว่าถ้าจำเป็น ก็อาจจะต้องใช้กำลังทหารเพื่อผนวกกรีนแลนด์ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหลายคนตั้งคำถามว่า “แต่ทำไมล่ะ”

    ทั้งนี้ เพราะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ริมเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ และมีวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ยากจากที่อื่น

    ปัจจุบัน #สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับ #จีน และ #รัสเซีย เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของ #ภูมิภาคอาร์กติก เช่น ลิเธียม โคบอลต์ และกราไฟต์

    มี 2 เหตุผลหลัก ที่สหรัฐฯต้องการผนวกกรีนแลนด์
    - ประการแรกคือ แหล่งแร่หายากจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันประเทศและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ

    - ประการที่สอง กรีนแลนด์มีสิทธิใน #อาร์กติก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯ มีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากการแข่งขันด้านการเดินเรือและทรัพยากรกำลังทวีความรุนแรงขึ้น

    สหรัฐฯ แข่งขันอย่างเงียบๆ กับจีนและรัสเซียในการเข้าถึงอาร์กติกมาหลายปีแล้ว โดยส่งเรือตัดน้ำแข็งทางทหารไปยังภูมิภาคนี้เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจทุ่งทุนดราที่อุดมด้วยทรัพยากร

    ปัจจุบันสหรัฐฯ พึ่งพาแร่ธาตุหายากจากจีนอย่างมาก

    ขณะที่แร่ธาตุหายากก็พบในอาร์กติกนอกเหนือจากในเอเชีย และใช้ในทุกอย่างตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงอาวุธทำลายล้างสูง

    “ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานหมุนเวียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้น สหรัฐฯ จึงพึ่งพาวัสดุที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลก”

    “[แร่ธาตุหายาก] ถูกใช้ในการป้องกันประเทศ เทคโนโลยี ขีปนาวุธ รถถัง ดาวเทียม เรือรบ เครื่องบินขับไล่ และด้วยเหตุนี้ การรักษาความปลอดภัยจึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ”

    การแข่งขันในอาร์กติกทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่เคยทำให้ทรัพยากรต่างๆ แทบจะเข้าถึงไม่ได้ละลายลง

    "ภาวะโลกร้อนทำให้การเดินเรือในอาร์กติกมีอิสระมากขึ้น"

    แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ก็ยังถูกแซงหน้าโดยฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ เข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้จำกัด และมีเรือตัดน้ำแข็งจำนวนค่อนข้างน้อย

    ปัญหานี้สร้างความรำคาญให้กับสมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนมานานแล้ว รวมถึง ส.ส. ไมค์ วอลซ์ (R-Fla.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์

    “ในอาร์กติกที่เราต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากรธรรมชาติ กองกำลังชายฝั่งต้องการเรือตัดน้ำแข็งมากกว่าหนึ่งลำ! รัสเซียมีเป็นโหล!” เขาโพสต์บน X เมื่อปี 2017

    ปัจจุบัน กองกำลังชายฝั่งของสหรัฐฯมีเรือตัดน้ำแข็งเพียงสองลำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ วอลซ์ได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันให้มีเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มขึ้นในรัฐสภาชุดที่ 119 ในการตอบกลับโพสต์บน X ที่เรียกร้องให้มีเรือตัดน้ำแข็ง “เพิ่มอีกสิบลำ”
    “นั่นคือแผน!” วอลซ์ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม

    การจัดหาเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มเติมและการซื้อกรีนแลนด์ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังสร้างโรงงานแปรรูปแร่ธาตุหายากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการพึ่งพาจีน
    แต่เนื่องจากสหรัฐฯ มีแร่ธาตุหายากเพียง 1.3% ของโลก ในขณะที่จีนมีมากถึง 70% "ตอนนี้เราจำเป็นต้องหาแร่ธาตุหายากเหล่านี้จากที่ใดสักแห่งเพื่อแปรรูปในประเทศ ... ซึ่งทำให้กรีนแลนด์มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เนื่องจากกรีนแลนด์อาจเป็นแหล่งแร่ธาตุหายาก"

    ทรัมป์ ได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาสำหรับซีกโลกตะวันตกในงานแถลงข่าวที่มาร์อาลาโก
    🎯กรีนแลนด์
    ทรัมป์บอกจะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังทางเศรษฐกิจหรือการทหารเพื่อยึดกรีนแลนด์หรือคลองปานามาออกไป “ไม่ ผมรับรองคุณไม่ได้หรอกว่าจะใช้กำลังทั้งสองอย่าง แต่ผมบอกได้ว่าเราต้องการมันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ”

    🎯อ่าวเม็กซิโก
    ทรัมป์บอกจะขยายการขุดเจาะนอกชายฝั่ง “เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงข้ามกับการที่ไบเดนปิดทุกอย่างและกำจัดทรัพย์สินมูลค่า 50 ถึง 60 ล้านล้านดอลลาร์ เราจะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา ซึ่งมีความหมายที่สวยงาม”

    🎯แคนาดา
    ทรัมป์บอก #แคนาดา อาจกลายเป็นรัฐที่ 51 โดยมีเวย์น เกรตสกี้ นักฮ็อกกี้ชื่อดังเป็นผู้ว่าการรัฐ “คุณสามารถกำจัดเส้นแบ่งที่วาดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาตินั้นได้ และลองดูว่ามันเป็นอย่างไร และมันจะดีขึ้นมากสำหรับความมั่นคงของชาติด้วย “พวกเขาเป็นคนดี แต่เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านที่นี่เพื่อปกป้องมัน เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านต่อปีเพื่อดูแลแคนาดา เราสูญเสียดุลการค้า”

    🎯คลองปานามา
    “จีนเป็นผู้ดำเนินการ! จีน! และเรามอบคลองปานามาให้ปานามา” ทรัมป์กล่าว “เราไม่ได้มอบคลองนี้ให้จีน และพวกเขาใช้คลองนี้ในทางที่ผิด พวกเขาใช้ของขวัญนั้นในทางที่ผิด”

    ❌“ไม่ขาย”
    ความทะเยอทะยานของทรัมป์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีในเดนมาร์ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเมตเต้ เฟรเดอริกเซน ย้ำเมื่อวันอังคารว่าดินแดนนี้ “ไม่ขาย”

    “กรีนแลนด์เป็นของชาวกรีนแลนด์” นายกรัฐมนตรีเมตเตอ เฟรเดอริกเซนแห่งเดนมาร์ก ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เดนมาร์ก TV 2 “ในแง่หนึ่ง ผมยินดีที่อเมริกาสนใจกรีนแลนด์มากขึ้น แต่แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่ชาวกรีนแลนด์เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต”

    “ในแง่ของการเป็นเจ้าของ เราอาจเห็นต่างกันได้มาก เพราะเรากำลังดำเนินการสร้างประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยซึ่งก็คือกรีนแลนด์ และเราต้องการสร้างรัฐกรีนแลนด์” เฟนเคอร์กล่าว พร้อมเสริมว่ารัฐบาลอาณาเขตอาจเต็มใจทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในข้อตกลงการค้าโดยเสรี
    .
    ลิ้งค์ต้นทาง:
    https://web.facebook.com/share/p/15nuKPRz54/
    New York Post เผยถึงเหตุที่ #ทรัมป์ ต้องการ #กรีนแลนด์ ถึงขั้นบอกว่าถ้าจำเป็น ก็อาจจะต้องใช้กำลังทหารเพื่อผนวกกรีนแลนด์ ซึ่งทำให้ชาวอเมริกันหลายคนตั้งคำถามว่า “แต่ทำไมล่ะ” ทั้งนี้ เพราะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ริมเส้นทางเดินเรือที่สำคัญ และมีวัตถุดิบสำคัญที่หาได้ยากจากที่อื่น ปัจจุบัน #สหรัฐฯ กำลังต่อสู้กับ #จีน และ #รัสเซีย เกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของ #ภูมิภาคอาร์กติก เช่น ลิเธียม โคบอลต์ และกราไฟต์ มี 2 เหตุผลหลัก ที่สหรัฐฯต้องการผนวกกรีนแลนด์ - ประการแรกคือ แหล่งแร่หายากจำนวนมากที่จำเป็นสำหรับการผลิตอุปกรณ์ป้องกันประเทศและอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ - ประการที่สอง กรีนแลนด์มีสิทธิใน #อาร์กติก อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งจะช่วยให้สหรัฐฯ มีสถานะที่แข็งแกร่งขึ้น เนื่องจากการแข่งขันด้านการเดินเรือและทรัพยากรกำลังทวีความรุนแรงขึ้น สหรัฐฯ แข่งขันอย่างเงียบๆ กับจีนและรัสเซียในการเข้าถึงอาร์กติกมาหลายปีแล้ว โดยส่งเรือตัดน้ำแข็งทางทหารไปยังภูมิภาคนี้เพื่อปฏิบัติภารกิจสำรวจทุ่งทุนดราที่อุดมด้วยทรัพยากร ปัจจุบันสหรัฐฯ พึ่งพาแร่ธาตุหายากจากจีนอย่างมาก ขณะที่แร่ธาตุหายากก็พบในอาร์กติกนอกเหนือจากในเอเชีย และใช้ในทุกอย่างตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงอาวุธทำลายล้างสูง “ด้วยความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า ระบบพลังงานหมุนเวียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ขั้นสูงที่เพิ่มมากขึ้น สหรัฐฯ จึงพึ่งพาวัสดุที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนการสร้างสรรค์นวัตกรรมและรักษาความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจระดับโลก” “[แร่ธาตุหายาก] ถูกใช้ในการป้องกันประเทศ เทคโนโลยี ขีปนาวุธ รถถัง ดาวเทียม เรือรบ เครื่องบินขับไล่ และด้วยเหตุนี้ การรักษาความปลอดภัยจึงกลายมาเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงของชาติ” การแข่งขันในอาร์กติกทวีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งส่งผลให้แผ่นน้ำแข็งที่เคยทำให้ทรัพยากรต่างๆ แทบจะเข้าถึงไม่ได้ละลายลง "ภาวะโลกร้อนทำให้การเดินเรือในอาร์กติกมีอิสระมากขึ้น" แต่จนถึงขณะนี้ สหรัฐฯ ก็ยังถูกแซงหน้าโดยฝ่ายตรงข้าม ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ เข้าถึงพื้นที่ดังกล่าวได้จำกัด และมีเรือตัดน้ำแข็งจำนวนค่อนข้างน้อย ปัญหานี้สร้างความรำคาญให้กับสมาชิกพรรครีพับลิกันบางคนมานานแล้ว รวมถึง ส.ส. ไมค์ วอลซ์ (R-Fla.) ซึ่งได้รับแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติของทรัมป์ “ในอาร์กติกที่เราต้องแข่งขันกันเพื่อทรัพยากรธรรมชาติ กองกำลังชายฝั่งต้องการเรือตัดน้ำแข็งมากกว่าหนึ่งลำ! รัสเซียมีเป็นโหล!” เขาโพสต์บน X เมื่อปี 2017 ปัจจุบัน กองกำลังชายฝั่งของสหรัฐฯมีเรือตัดน้ำแข็งเพียงสองลำ แต่เมื่อไม่นานมานี้ วอลซ์ได้ให้คำมั่นว่าจะผลักดันให้มีเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มขึ้นในรัฐสภาชุดที่ 119 ในการตอบกลับโพสต์บน X ที่เรียกร้องให้มีเรือตัดน้ำแข็ง “เพิ่มอีกสิบลำ” “นั่นคือแผน!” วอลซ์ให้คำมั่นเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม การจัดหาเรือตัดน้ำแข็งเพิ่มเติมและการซื้อกรีนแลนด์ถือเป็นโอกาสที่น่าสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากสหรัฐฯ กำลังสร้างโรงงานแปรรูปแร่ธาตุหายากเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามล่าสุดของสหรัฐฯ ที่ต้องการลดการพึ่งพาจีน แต่เนื่องจากสหรัฐฯ มีแร่ธาตุหายากเพียง 1.3% ของโลก ในขณะที่จีนมีมากถึง 70% "ตอนนี้เราจำเป็นต้องหาแร่ธาตุหายากเหล่านี้จากที่ใดสักแห่งเพื่อแปรรูปในประเทศ ... ซึ่งทำให้กรีนแลนด์มีเสน่ห์ดึงดูดใจ เนื่องจากกรีนแลนด์อาจเป็นแหล่งแร่ธาตุหายาก" ทรัมป์ ได้สรุปวิสัยทัศน์ของเขาสำหรับซีกโลกตะวันตกในงานแถลงข่าวที่มาร์อาลาโก 🎯กรีนแลนด์ ทรัมป์บอกจะไม่ตัดความเป็นไปได้ที่จะใช้กำลังทางเศรษฐกิจหรือการทหารเพื่อยึดกรีนแลนด์หรือคลองปานามาออกไป “ไม่ ผมรับรองคุณไม่ได้หรอกว่าจะใช้กำลังทั้งสองอย่าง แต่ผมบอกได้ว่าเราต้องการมันเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ” 🎯อ่าวเม็กซิโก ทรัมป์บอกจะขยายการขุดเจาะนอกชายฝั่ง “เราจะเปลี่ยนแปลง ซึ่งตรงข้ามกับการที่ไบเดนปิดทุกอย่างและกำจัดทรัพย์สินมูลค่า 50 ถึง 60 ล้านล้านดอลลาร์ เราจะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโกเป็นอ่าวอเมริกา ซึ่งมีความหมายที่สวยงาม” 🎯แคนาดา ทรัมป์บอก #แคนาดา อาจกลายเป็นรัฐที่ 51 โดยมีเวย์น เกรตสกี้ นักฮ็อกกี้ชื่อดังเป็นผู้ว่าการรัฐ “คุณสามารถกำจัดเส้นแบ่งที่วาดขึ้นอย่างไม่เป็นธรรมชาตินั้นได้ และลองดูว่ามันเป็นอย่างไร และมันจะดีขึ้นมากสำหรับความมั่นคงของชาติด้วย “พวกเขาเป็นคนดี แต่เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านที่นี่เพื่อปกป้องมัน เราใช้เงินหลายร้อยพันล้านต่อปีเพื่อดูแลแคนาดา เราสูญเสียดุลการค้า” 🎯คลองปานามา “จีนเป็นผู้ดำเนินการ! จีน! และเรามอบคลองปานามาให้ปานามา” ทรัมป์กล่าว “เราไม่ได้มอบคลองนี้ให้จีน และพวกเขาใช้คลองนี้ในทางที่ผิด พวกเขาใช้ของขวัญนั้นในทางที่ผิด” ❌“ไม่ขาย” ความทะเยอทะยานของทรัมป์ไม่ได้รับการตอบรับที่ดีในเดนมาร์ก ซึ่งนายกรัฐมนตรีเมตเต้ เฟรเดอริกเซน ย้ำเมื่อวันอังคารว่าดินแดนนี้ “ไม่ขาย” “กรีนแลนด์เป็นของชาวกรีนแลนด์” นายกรัฐมนตรีเมตเตอ เฟรเดอริกเซนแห่งเดนมาร์ก ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์เดนมาร์ก TV 2 “ในแง่หนึ่ง ผมยินดีที่อเมริกาสนใจกรีนแลนด์มากขึ้น แต่แน่นอนว่าสิ่งสำคัญคือเรื่องนี้ต้องเกิดขึ้นในลักษณะที่ชาวกรีนแลนด์เป็นผู้ตัดสินใจเองว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต” “ในแง่ของการเป็นเจ้าของ เราอาจเห็นต่างกันได้มาก เพราะเรากำลังดำเนินการสร้างประเทศที่มีอำนาจอธิปไตยซึ่งก็คือกรีนแลนด์ และเราต้องการสร้างรัฐกรีนแลนด์” เฟนเคอร์กล่าว พร้อมเสริมว่ารัฐบาลอาณาเขตอาจเต็มใจทำงานร่วมกับสหรัฐฯ ในข้อตกลงการค้าโดยเสรี . ลิ้งค์ต้นทาง: https://web.facebook.com/share/p/15nuKPRz54/
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 797 มุมมอง 0 รีวิว
  • ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ข่มขู่ใช้กำลังทหารเข้ายึดคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเขาอ้างว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา ขณะเดียวกันก็ประกาศใช้มาตรการบีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อผนวกแคนาดาเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐอเมริกา
    .
    ภายหลังรัฐสภาสหรัฐฯประกาศรับรองอย่างเป็นทางการในวันอังคาร (7) ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้มีชัยในการเลือกตั้งซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่าน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้นี้ได้เชิญพวกผู้สื่อข่าวไปที่รีสอร์ตส่วนตัว มาร์-อา-ลาโก ของเขา ในรัฐฟลอริดา เพื่อประกาศโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีในสหรัฐฯมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ก่อนที่บรรยากาศของการแถลงข่าวจะเปลี่ยนไปจนคล้ายกับช่วงการหาเสียงอย่างรวดเร็ว
    .
    ทรัมป์ที่จะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ที่จะถึงนี้ เริ่มต้นด้วยการอวดอ้างว่า นับจากที่เขาชนะการเลือกตั้ง ความคิดของทั่วโลกก็เปลี่ยนไป และผู้คนจากประเทศต่างๆ โทรศัพท์มาขอบคุณเขา
    .
    มหาเศรษฐีจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผู้นี้ประกาศว่า จะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโก เป็น “อ่าวอเมริกา” พร้อมขู่รีดภาษี ถ้าเม็กซิโกไม่จัดการปัญหาผู้อพยพลักลอบข้ามพรมแดนเข้าสู่อเมริกา
    .
    ทรัมป์ยังไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเพื่อยึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนในอธิปไตยของเดนมาร์ก ตลอดจนคลองปานามา ที่เขาระบุว่าอยากได้มานานแล้ว ซ้ำยังวิพากษ์วิจารณ์อดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ผู้เพิ่งล่วงลับ ที่อนุญาตให้ปานามาเข้าควบคุมคลองปานามาแทนที่สหรัฐฯ เมื่อตอนที่เป็นประธานาธิบดี
    .
    เกี่ยวกับแคนาดาที่ทรัมป์คุยฟุ้งมาหลายหนแล้วว่า จะทำให้ประเทศนี้กลายเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกานั้น ล่าสุดเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามว่า จะใช้กำลังทหารบุกแคนาดาหรือไม่ ว่าที่ประมุขทำเนียบขาวตอบว่า จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ และสำทับว่า การลบ “เส้นเขตแดนที่มนุษย์กำหนดขึ้น” ระหว่างพรมแดนอเมริกากับแคนาดาน่าจะเป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ
    .
    แม้มีความยากลำบากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการมุ่งโอ้อวดและปล่อยมุกมุ่งสร้างอารมณ์ขันของทรัมป์ กับการมุ่งมั่นดำเนินนโยบายที่แท้จริง แต่การประกาศเหล่านี้อีกคำรบหนึ่งของเขา ก็ถูกมองว่า เป็นการตอกย้ำวาทกรรมเกี่ยวกับการขยายดินแดน และทำให้ถูกต่อต้านจากพวกประเทศที่ถูกพาดพิงถึง
    .
    เริ่มจากนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ของแคนาดา ที่ตอบโต้ว่า ไม่มีทางที่แคนาดาจะผนวกกับอเมริกา
    .
    ด้าน ฌาเวียร์ มาร์ติเนซ-อาชา รัฐมนตรีต่างประเทศปานามา ยืนกรานว่า อธิปไตยคลองปานามาเป็นสิ่งที่ไม่อาจต่อรองได้ และสำทับว่า ผู้ที่ควบคุมคลองปานามาในเวลานี้มีเพียงปานามาเท่านั้นและจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ซึ่งเป็นการตอบโต้การกล่าวหาอย่างเป็นเท็จของทรัมป์ที่ว่า ปัจจุบันทหารจีนเป็นผู้ควบคุมคลองแห่งนี้ ที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับแปซิฟิก
    .
    ทั้งนี้ อเมริกาเป็นผู้ขุดคลองปานามา และตั้งแต่เมื่อ 25 ปีก่อนในสมัยประธานาธิบีดคาร์เตอร์ ได้ยินยอมมอบสิทธิในการควบคุมดูแลคืนให้รัฐบาลปานามา
    .
    ไม่เพียงเท่านั้น ทรัมป์ยังทำให้ยุโรปขุ่นเคืองด้วยการเสนอซื้อกรีนแลนด์ เกาะใหญ่ในอาร์กติกซึ่งปัจจุบันมีฐานทัพของอเมริกาตั้งอยู่ด้วย
    .
    ก่อนที่ทรัมป์จะพูดพาดพิงถึงกรีนแลนด์ในครั้งนี้ไม่กี่วัน โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายคนโตของทรัมป์ได้เดินทางไปยังเกาะนี้ โดยระบุว่า เป็นทริปส่วนตัวและไม่มีกำหนดการพบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแต่อย่างใด
    .
    กรีนแลนด์เป็นเขตปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นพันธมิตรของอเมริกา และสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต)
    .
    นายกรัฐมนตรีเมตเทอ เฟรเดริกเซน ของเดนมาร์ก แสดงปฏิกิริยาโดยให้สัมภาษณ์สถานีทีวี2 ของแดนโคนมว่า อเมริกาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและสำคัญที่สุดของเดนมาร์ก และเธอไม่เชื่อว่า อเมริกาจะใช้อำนาจทางทหารหรือเศรษฐกิจเพื่อเข้ายึดกรีนแลนด์
    .
    ไม่เพียงระรานดินแดนของหลายประเทศ ในการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวครั้งนี้ ทรัมป์ยังโจมตีประธานาธิบดีโจ ไบเดน เรื่องถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ความขัดแย้งในยูเครนและซีเรีย รวมทั้งย้ำข้อกล่าวอ้างอย่างผิดข้อเท็จจริงที่ว่า ระหว่างที่ตนเองเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกนั้น อเมริกา “ไม่เคยมีสงคราม”
    .
    เขายังกล่าวหาพวกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวในปัจจบันพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจ โดยไม่เอ่ยถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้วจนกระทั่งถึงตอนนี้ ตัวเขาเองไม่เคยยอมรับว่าพ่ายแพ้การเลือกตั้งแก่ ไบเดน อีกทั้งไม่ยอมไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของไบเดน
    .
    ทรัมป์ยังกล่าวหาไบเดนว่า อยู่เบื้องหลังการฟ้องร้องทางกฎหมายมากมายหลายคดีที่ตนเองเผชิญอยู่ และขู่ว่า จะยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของผู้นำเดโมแครตในการห้ามการพัฒนาโครงการก๊าซและน้ำมันนอกชายฝั่งอเมริกา
    .
    ทรัมป์ปิดท้ายค่ำวันอังคารด้วยการโพสต์มีมภาพแคนาดาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯอเมริกา
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002351
    ..............
    Sondhi X
    ว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ข่มขู่ใช้กำลังทหารเข้ายึดคลองปานามาและเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเขาอ้างว่ามีความสำคัญต่อความมั่นคงแห่งชาติของอเมริกา ขณะเดียวกันก็ประกาศใช้มาตรการบีบบังคับทางเศรษฐกิจเพื่อผนวกแคนาดาเป็นรัฐที่ 51 ของสหรัฐอเมริกา . ภายหลังรัฐสภาสหรัฐฯประกาศรับรองอย่างเป็นทางการในวันอังคาร (7) ว่า โดนัลด์ ทรัมป์ เป็นผู้มีชัยในการเลือกตั้งซึ่งจัดขึ้นเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่าน ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯผู้นี้ได้เชิญพวกผู้สื่อข่าวไปที่รีสอร์ตส่วนตัว มาร์-อา-ลาโก ของเขา ในรัฐฟลอริดา เพื่อประกาศโครงการลงทุนด้านเทคโนโลยีในสหรัฐฯมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) ก่อนที่บรรยากาศของการแถลงข่าวจะเปลี่ยนไปจนคล้ายกับช่วงการหาเสียงอย่างรวดเร็ว . ทรัมป์ที่จะสาบานตนรับตำแหน่งประธานาธิบดีในวันที่ 20 ที่จะถึงนี้ เริ่มต้นด้วยการอวดอ้างว่า นับจากที่เขาชนะการเลือกตั้ง ความคิดของทั่วโลกก็เปลี่ยนไป และผู้คนจากประเทศต่างๆ โทรศัพท์มาขอบคุณเขา . มหาเศรษฐีจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ผู้นี้ประกาศว่า จะเปลี่ยนชื่ออ่าวเม็กซิโก เป็น “อ่าวอเมริกา” พร้อมขู่รีดภาษี ถ้าเม็กซิโกไม่จัดการปัญหาผู้อพยพลักลอบข้ามพรมแดนเข้าสู่อเมริกา . ทรัมป์ยังไม่ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการใช้กำลังทหารเพื่อยึดเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นดินแดนในอธิปไตยของเดนมาร์ก ตลอดจนคลองปานามา ที่เขาระบุว่าอยากได้มานานแล้ว ซ้ำยังวิพากษ์วิจารณ์อดีตประธานาธิบดีจิมมี คาร์เตอร์ ผู้เพิ่งล่วงลับ ที่อนุญาตให้ปานามาเข้าควบคุมคลองปานามาแทนที่สหรัฐฯ เมื่อตอนที่เป็นประธานาธิบดี . เกี่ยวกับแคนาดาที่ทรัมป์คุยฟุ้งมาหลายหนแล้วว่า จะทำให้ประเทศนี้กลายเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกานั้น ล่าสุดเมื่อถูกผู้สื่อข่าวถามว่า จะใช้กำลังทหารบุกแคนาดาหรือไม่ ว่าที่ประมุขทำเนียบขาวตอบว่า จะใช้มาตรการทางเศรษฐกิจ และสำทับว่า การลบ “เส้นเขตแดนที่มนุษย์กำหนดขึ้น” ระหว่างพรมแดนอเมริกากับแคนาดาน่าจะเป็นผลดีต่อความมั่นคงแห่งชาติของสหรัฐฯ . แม้มีความยากลำบากที่จะแยกความแตกต่างระหว่างการมุ่งโอ้อวดและปล่อยมุกมุ่งสร้างอารมณ์ขันของทรัมป์ กับการมุ่งมั่นดำเนินนโยบายที่แท้จริง แต่การประกาศเหล่านี้อีกคำรบหนึ่งของเขา ก็ถูกมองว่า เป็นการตอกย้ำวาทกรรมเกี่ยวกับการขยายดินแดน และทำให้ถูกต่อต้านจากพวกประเทศที่ถูกพาดพิงถึง . เริ่มจากนายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด ของแคนาดา ที่ตอบโต้ว่า ไม่มีทางที่แคนาดาจะผนวกกับอเมริกา . ด้าน ฌาเวียร์ มาร์ติเนซ-อาชา รัฐมนตรีต่างประเทศปานามา ยืนกรานว่า อธิปไตยคลองปานามาเป็นสิ่งที่ไม่อาจต่อรองได้ และสำทับว่า ผู้ที่ควบคุมคลองปานามาในเวลานี้มีเพียงปานามาเท่านั้นและจะเป็นเช่นนี้ต่อไป ซึ่งเป็นการตอบโต้การกล่าวหาอย่างเป็นเท็จของทรัมป์ที่ว่า ปัจจุบันทหารจีนเป็นผู้ควบคุมคลองแห่งนี้ ที่เป็นเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแอตแลนติกกับแปซิฟิก . ทั้งนี้ อเมริกาเป็นผู้ขุดคลองปานามา และตั้งแต่เมื่อ 25 ปีก่อนในสมัยประธานาธิบีดคาร์เตอร์ ได้ยินยอมมอบสิทธิในการควบคุมดูแลคืนให้รัฐบาลปานามา . ไม่เพียงเท่านั้น ทรัมป์ยังทำให้ยุโรปขุ่นเคืองด้วยการเสนอซื้อกรีนแลนด์ เกาะใหญ่ในอาร์กติกซึ่งปัจจุบันมีฐานทัพของอเมริกาตั้งอยู่ด้วย . ก่อนที่ทรัมป์จะพูดพาดพิงถึงกรีนแลนด์ในครั้งนี้ไม่กี่วัน โดนัลด์ ทรัมป์ จูเนียร์ ลูกชายคนโตของทรัมป์ได้เดินทางไปยังเกาะนี้ โดยระบุว่า เป็นทริปส่วนตัวและไม่มีกำหนดการพบกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นแต่อย่างใด . กรีนแลนด์เป็นเขตปกครองตนเองของเดนมาร์กที่เป็นพันธมิตรของอเมริกา และสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) . นายกรัฐมนตรีเมตเทอ เฟรเดริกเซน ของเดนมาร์ก แสดงปฏิกิริยาโดยให้สัมภาษณ์สถานีทีวี2 ของแดนโคนมว่า อเมริกาเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดและสำคัญที่สุดของเดนมาร์ก และเธอไม่เชื่อว่า อเมริกาจะใช้อำนาจทางทหารหรือเศรษฐกิจเพื่อเข้ายึดกรีนแลนด์ . ไม่เพียงระรานดินแดนของหลายประเทศ ในการพูดคุยกับผู้สื่อข่าวครั้งนี้ ทรัมป์ยังโจมตีประธานาธิบดีโจ ไบเดน เรื่องถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ความขัดแย้งในยูเครนและซีเรีย รวมทั้งย้ำข้อกล่าวอ้างอย่างผิดข้อเท็จจริงที่ว่า ระหว่างที่ตนเองเป็นประธานาธิบดีสมัยแรกนั้น อเมริกา “ไม่เคยมีสงคราม” . เขายังกล่าวหาพวกเจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวในปัจจบันพยายามทำทุกวิถีทางเพื่อขัดขวางการเปลี่ยนผ่านอำนาจ โดยไม่เอ่ยถึงข้อเท็จจริงที่ว่า ตั้งแต่เมื่อ 4 ปีที่แล้วจนกระทั่งถึงตอนนี้ ตัวเขาเองไม่เคยยอมรับว่าพ่ายแพ้การเลือกตั้งแก่ ไบเดน อีกทั้งไม่ยอมไปร่วมพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่งของไบเดน . ทรัมป์ยังกล่าวหาไบเดนว่า อยู่เบื้องหลังการฟ้องร้องทางกฎหมายมากมายหลายคดีที่ตนเองเผชิญอยู่ และขู่ว่า จะยกเลิกคำสั่งฝ่ายบริหารของผู้นำเดโมแครตในการห้ามการพัฒนาโครงการก๊าซและน้ำมันนอกชายฝั่งอเมริกา . ทรัมป์ปิดท้ายค่ำวันอังคารด้วยการโพสต์มีมภาพแคนาดาเป็นส่วนหนึ่งของดินแดนสหรัฐฯอเมริกา . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000002351 .............. Sondhi X
    Like
    Haha
    Sad
    Love
    10
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1468 มุมมอง 0 รีวิว
  • โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ชี้แนะว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา อย่างเป็นทางการ หลัง จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาแถลงเตรียมลาออกจากตำแหน่ง
    .
    ทรูโด ประกาศลาออกในวันจันทร์(6ม.ค.) อ้างถึง "การต่อสู้" ภายในพรรคลิเบอรัลของเขา อย่างไรก็ตาม ทรูโด จะยังคงทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไปจนกว่าจะการเลือกผู้นำพรรคคนใหม่ ซึ่งจะก้าวมาเป็นผู้นำ ไปจนถึงศึกเลือกตั้งทั่วไปรอบใหม่ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม
    .
    "ผู้คนจำนวนมากในแคนาดา อยากเป็นรัฐที่ 51" ทรัมป์ โพสต์ข้อความบนทรัตช์ โซเชียล แพลตฟอร์มของเขาเองเมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์(6ม.ค.) "สหรัฐฯอาจไม่ทนได้อีกต่อไปแล้วกับการขาดดุลการค้ามหาศาลและการอุดหนุน ที่มีความจำเป็นเพื่อให้แคนาดายังคงยืนหยัดอยู่ได้ จัสติน ทรูโด ทราบเรื่องนี้ดี"
    .
    "ถ้าแคนาดาผนวกเข้ากับสหรัฐฯ จะไม่มีมาตรการรีดภาษี แคนาดาจะจ่ายภาษีต่ำลง และจะได้รับการคุ้มกันโดยสมบูรณ์ จากภัยคุกคามของกองเรือรัสเซียและจีน ที่ล้อมกรอบพวกเขาอยู่เป็นนิจ" ทรัมป์กล่าว "เมื่อรวมกัน สิ่งที่จะเป็นก็คือ ประเทศที่ยิ่งใหญ่"
    .
    ดูเหมือนว่าการลาออกของทรูโด เกิดจากแรงกดดันภายในพรรค ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากคำขู่รีดภาษี 25% ของทรัมป์ ต่อสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวหาเพื่อนบ้านทั้ง 2 ชาติ ปล่อยให้ผู้อพยพ อาชญากรและพวกค้ายา ลักลอบเข้าสู่อเมริกา ขณะเดียวกันก็มีตัวเลขเกินดุลการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการละเมิดสนธิสัญญาการค้าเสรีต่างๆนานา
    .
    ทั้งนี้มาตรการรีดภาษีของทรัมป์ ได้จุดชนวนการลาออกของ คริสเตียน ฟรีแลนด์ รองนายกรัฐมนตรีแคนาดา ก่อนหน้านี้ ท่ามกลางรอยร้าวที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆภายในพรรคลิเบอรัล
    .
    ผู้นำแคนาดา พยายามหารือในประเด็นนี้กับ ทรัมป์ โดยตรง ถึงขั้นบินไปยังบ้านพักของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตามระหว่างรับประทานอาหารค่ำ ณ รีสอร์ทมาร์อาลาโก ทาง ทรัมป์ ได้ปล่อยมุขเรียก ทรูโด ว่าเป็น "ผู้การรัฐ" และพูดติดตลกว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา
    .
    ทรัมป์ ยังคงพูดจาหยอกล้อมานับตั้งแต่นั้น โดยหนหนึ่งถึงขั้นคาดการณ์ว่า แคนาดา อาจถึงขั้นถูกแบ่งเป็น 2 รัฐ รัฐหนึ่งเป็นรัฐเสรีนิยม ส่วนอีกรัฐเป็นรัฐอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้แล้วเขายังพูดเกี่ยวกับการขอซื้อกรีนแลนด์ หมู่เกาะในอาร์กติก ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ซึ่งตั้งนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา
    .
    แม้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของออตตาวา ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการรวมชาติตามคำพูดของทรัมป์ แต่ เควิน โอเลียรี เศรษฐีนักลงทุนและดาราดังเรียลิตีโชว์ของแคนาดา อ้างว่ามีชาวแคนาดาราวๆครึ่งหนึ่งที่สนับสนุนในเรื่องนี้
    .
    โพสต์ล่าสุดของทรัมป์เกี่ยวกับแคนาดา มีขึ้นไม่นานก่อนสภาคองเกรสให้การรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 รับประกันว่าเขาจะสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001596
    ..............
    Sondhi X
    โดนัลด์ ทรัมป์ ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ชี้แนะว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา อย่างเป็นทางการ หลัง จัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีแคนาดาแถลงเตรียมลาออกจากตำแหน่ง . ทรูโด ประกาศลาออกในวันจันทร์(6ม.ค.) อ้างถึง "การต่อสู้" ภายในพรรคลิเบอรัลของเขา อย่างไรก็ตาม ทรูโด จะยังคงทำหน้าที่รักษาการนายกรัฐมนตรีไปจนกว่าจะการเลือกผู้นำพรรคคนใหม่ ซึ่งจะก้าวมาเป็นผู้นำ ไปจนถึงศึกเลือกตั้งทั่วไปรอบใหม่ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนตุลาคม . "ผู้คนจำนวนมากในแคนาดา อยากเป็นรัฐที่ 51" ทรัมป์ โพสต์ข้อความบนทรัตช์ โซเชียล แพลตฟอร์มของเขาเองเมื่อช่วงบ่ายวันจันทร์(6ม.ค.) "สหรัฐฯอาจไม่ทนได้อีกต่อไปแล้วกับการขาดดุลการค้ามหาศาลและการอุดหนุน ที่มีความจำเป็นเพื่อให้แคนาดายังคงยืนหยัดอยู่ได้ จัสติน ทรูโด ทราบเรื่องนี้ดี" . "ถ้าแคนาดาผนวกเข้ากับสหรัฐฯ จะไม่มีมาตรการรีดภาษี แคนาดาจะจ่ายภาษีต่ำลง และจะได้รับการคุ้มกันโดยสมบูรณ์ จากภัยคุกคามของกองเรือรัสเซียและจีน ที่ล้อมกรอบพวกเขาอยู่เป็นนิจ" ทรัมป์กล่าว "เมื่อรวมกัน สิ่งที่จะเป็นก็คือ ประเทศที่ยิ่งใหญ่" . ดูเหมือนว่าการลาออกของทรูโด เกิดจากแรงกดดันภายในพรรค ซึ่งเชื่อว่าส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากคำขู่รีดภาษี 25% ของทรัมป์ ต่อสินค้านำเข้าจากแคนาดาและเม็กซิโก ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯกล่าวหาเพื่อนบ้านทั้ง 2 ชาติ ปล่อยให้ผู้อพยพ อาชญากรและพวกค้ายา ลักลอบเข้าสู่อเมริกา ขณะเดียวกันก็มีตัวเลขเกินดุลการค้าอย่างไม่ยุติธรรมกับสหรัฐฯเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ผ่านการละเมิดสนธิสัญญาการค้าเสรีต่างๆนานา . ทั้งนี้มาตรการรีดภาษีของทรัมป์ ได้จุดชนวนการลาออกของ คริสเตียน ฟรีแลนด์ รองนายกรัฐมนตรีแคนาดา ก่อนหน้านี้ ท่ามกลางรอยร้าวที่หนักหน่วงขึ้นเรื่อยๆภายในพรรคลิเบอรัล . ผู้นำแคนาดา พยายามหารือในประเด็นนี้กับ ทรัมป์ โดยตรง ถึงขั้นบินไปยังบ้านพักของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในช่วงต้นเดือนธันวาคม อย่างไรก็ตามระหว่างรับประทานอาหารค่ำ ณ รีสอร์ทมาร์อาลาโก ทาง ทรัมป์ ได้ปล่อยมุขเรียก ทรูโด ว่าเป็น "ผู้การรัฐ" และพูดติดตลกว่า แคนาดา ควรเข้ามาเป็นรัฐที่ 51 ของอเมริกา . ทรัมป์ ยังคงพูดจาหยอกล้อมานับตั้งแต่นั้น โดยหนหนึ่งถึงขั้นคาดการณ์ว่า แคนาดา อาจถึงขั้นถูกแบ่งเป็น 2 รัฐ รัฐหนึ่งเป็นรัฐเสรีนิยม ส่วนอีกรัฐเป็นรัฐอนุรักษ์นิยม นอกจากนี้แล้วเขายังพูดเกี่ยวกับการขอซื้อกรีนแลนด์ หมู่เกาะในอาร์กติก ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก ซึ่งตั้งนอกชายฝั่งทางตะวันออกเฉียงเหนือของแคนาดา . แม้เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ของออตตาวา ปฏิเสธความเป็นไปได้ในการรวมชาติตามคำพูดของทรัมป์ แต่ เควิน โอเลียรี เศรษฐีนักลงทุนและดาราดังเรียลิตีโชว์ของแคนาดา อ้างว่ามีชาวแคนาดาราวๆครึ่งหนึ่งที่สนับสนุนในเรื่องนี้ . โพสต์ล่าสุดของทรัมป์เกี่ยวกับแคนาดา มีขึ้นไม่นานก่อนสภาคองเกรสให้การรับรองผลการเลือกตั้งประธานาธิบดี 2024 รับประกันว่าเขาจะสาบานตนเป็นประธานาธิบดีคนที่ 47 ของสหรัฐฯ ในอีก 2 สัปดาห์ข้างหน้า . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9680000001596 .............. Sondhi X
    Haha
    Like
    Wow
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1113 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัฐบาลเดนมาร์กแถลงเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองครั้งใหญ่ สำหรับเกาะกรีนแลนด์ ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ พูดย้ำอีกครั้งเกี่ยวกับความปรารถนาของเขาที่อยากซื้อดินแดนในอาร์กติกแห่งนี้
    .
    โทรเอลส์ ลุนด์ พอลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์ก บอกว่าแพกเกจใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองสำหรับเกาะกรีนแลนด์ จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวสู่หลักพันล้านโครเนอ หรืออย่างน้อยๆ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
    .
    เขาให้คำจำกัดความกรอบเวลาของการแถลงครั้งนี้ว่าราวกับเป็น "โชคชะตาเล่นตลก" หลังจากเมื่อวันจันทร์ (23 ธ.ค.) ทรัมป์ กล่าวว่าการเป็นเจ้าของและการควบคุมเกาะขนาดใหญ่แห่งนี้ "เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง" สำหรับสหรัฐฯ
    .
    เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก เป็นที่ตั้งของฐานทัพอวกาศขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับอเมริกา เนื่องจากมันตั้งอยู่บนเส้นทางที่สั้นที่สุดจากอเมริกาเหนือสู่ยุโรป ขณะเดียวกัน มันยังมีทรัพยากรแร่อันสำคัญด้วย
    .
    พอลเซน บอกว่าแพกเกจนี้จะเปิดทางสำหรับจัดซื้อเรือตรวจการณ์ใหม่ 2 ลำ โดรนพิสัยไกลใหม่ 2 ลำ และทีมลากเลื่อนสุนัขพิเศษ 2 ชุด
    .
    นอกจากนี้ แพกเกจดังกล่าวยังรวมถึงเงินทุนสำหรับเพิ่มจำนวนบุคลากรในกองบัญชาการอาร์กติกในเมืองนุก เมืองเอกของเกาะกรีนแลนด์ และปรับปรุงยกระดับหนึ่งในท่าอากาศยานพลเมืองหลักที่มีอยู่ 3 แห่งบนเกาะกรีนแลนด์ เพื่อรองรับเครื่องบินขับไล่ซูเปอร์โซนิก F-35 "เราลงทุนในอาร์ติกไม่มากพอมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้เรากำลังมีแผนยกระดับประจำการเข้มแข็งขึ้น" พอลเซนระบุ
    .
    รัฐมนตรีกลาโหมรายนี้ไม่ได้ให้ตัวเลขที่ชัดเจนเกี่ยวกับแพกเกจดังกล่าว แต่สื่อมวลชนเดนมาร์กคาดหมายว่ามันน่าจะอยู่ที่ราว 12,000 ล้าน ถึง 15,000 ล้านโครเนอ
    .
    ถ้อยแถลงนี้มีขึ้น 1 วัน หลังจาก ทรัมป์ ระบุบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ว่า "เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติและเสรีภาพทั่วทั้งโลก สหรัฐอเมริการู้สึกว่าการเป็นเจ้าของและการควบคุมเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด"
    .
    มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ตอบโต้ความเห็นของทรัมป์ บอกว่า "เราไม่ได้มีไว้ขาย" อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าชาวกรีนแลนด์ควรยังคงเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือและการค้า โดยเฉพาะกับบรรดาชาติเพื่อนบ้าน
    .
    พวกนักวิเคราะห์บอกว่าแผนยกระดับป้องกันเกาะกรีนแลนด์ อยู่ภายใต้การพูดคุยหารือมานานแล้ว และไม่ควรถูกมองว่าเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อความเห็นของทรัมป์
    .
    เหล่านักวิเคราะห์มองว่าจนถึงตอนนี้ เดนมาร์ก ยกระดับศักยภาพทางทหารบนเกาะกรีนแลนด์ค่อนข้างช้ามากๆ และหากประเทศแห่งนี้ไม่อาจปกป้องน่านน้ำต่างๆ รอบเกาะจากการล่วงล้ำของจีนและรัสเซีย เมื่อนั้นความต้องการของสหรัฐฯ ในการควบคุมเกาะแห่งนี้ก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ
    .
    นายพลสตีน เคียร์การ์ด แห่งสถาบันป้องกันตนเองเดนมาร์ก เชื่อว่าบางทีทรัมป์อาจมีเจตนากดดันให้เดนมาร์ก เคลื่อนไหวดังกล่าว "มีความเป็นไปได้ที่ความเคลื่อนไหวนี้จะถูกจุดชนวนจากคำพูดของทรัมป์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่มุ่งเน้นถึงความจำเป็นสำหรับการควบคุมทางอากาศและทางทะเลรอบเกาะกรีนแลนด์และการพัฒนาต่างๆ ภายในกรีนแลนด์ ดินแดนที่ผู้คนบางส่วนจ้องมองไปยังสหรัฐฯ และเพิ่งเปิดตัวสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในเมืองนุก"
    .
    เขาบอกกับบีบีซีต่อว่า "ผมคิดว่าทรัมป์ฉลาด เขาทำให้เดนมาร์กให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพทางทหารในอาร์กติก ด้วยสุ้มเสียงนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรับช่วงต่อระบบสวัสดิการใดๆ ที่ไม่ใช่อเมริกา" เขากล่าว อ้างถึงกรณีที่เกาะกรีนแลนด์ ต้องพึ่งพิงเงินสนับสนุนจากเดนมาร์กเป็นอย่างมาก
    .
    ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2019 ทรัมป์เคยแนะนำให้สหรัฐฯ ซื้อเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก แต่มันนำมาซึ่งเสียงประณามดุด่าอย่างดุเดือดจากพวกผู้นำเกาะ
    .
    ในตอนนั้น เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก ณ ขณะนั้น ให้คำจำกัดความแนวคิดดังกล่าวว่า "ไร้สาระ" ซึ่งมันกระตุ้นให้ ทรัมป์ ยกเลิกทริปเดินทางไปยังเดนมาร์ก ในการเยือนแบบรัฐพิธี
    .
    ทรัมป์ ไม่ใช่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่บ่งชี้ว่าอยากซื้อเกาะกรีนแลนด์ แนวคิดนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1860 ภายใต้ประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123564
    ..............
    Sondhi X
    รัฐบาลเดนมาร์กแถลงเพิ่มการใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองครั้งใหญ่ สำหรับเกาะกรีนแลนด์ ไม่กี่ชั่วโมงหลังจากว่าที่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ พูดย้ำอีกครั้งเกี่ยวกับความปรารถนาของเขาที่อยากซื้อดินแดนในอาร์กติกแห่งนี้ . โทรเอลส์ ลุนด์ พอลเซน รัฐมนตรีกลาโหมเดนมาร์ก บอกว่าแพกเกจใช้จ่ายด้านการป้องกันตนเองสำหรับเกาะกรีนแลนด์ จะเพิ่มขึ้นเท่าตัวสู่หลักพันล้านโครเนอ หรืออย่างน้อยๆ 1,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ . เขาให้คำจำกัดความกรอบเวลาของการแถลงครั้งนี้ว่าราวกับเป็น "โชคชะตาเล่นตลก" หลังจากเมื่อวันจันทร์ (23 ธ.ค.) ทรัมป์ กล่าวว่าการเป็นเจ้าของและการควบคุมเกาะขนาดใหญ่แห่งนี้ "เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง" สำหรับสหรัฐฯ . เกาะกรีนแลนด์ ดินแดนปกครองตนเองของเดนมาร์ก เป็นที่ตั้งของฐานทัพอวกาศขนาดใหญ่ของสหรัฐฯ และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์สำหรับอเมริกา เนื่องจากมันตั้งอยู่บนเส้นทางที่สั้นที่สุดจากอเมริกาเหนือสู่ยุโรป ขณะเดียวกัน มันยังมีทรัพยากรแร่อันสำคัญด้วย . พอลเซน บอกว่าแพกเกจนี้จะเปิดทางสำหรับจัดซื้อเรือตรวจการณ์ใหม่ 2 ลำ โดรนพิสัยไกลใหม่ 2 ลำ และทีมลากเลื่อนสุนัขพิเศษ 2 ชุด . นอกจากนี้ แพกเกจดังกล่าวยังรวมถึงเงินทุนสำหรับเพิ่มจำนวนบุคลากรในกองบัญชาการอาร์กติกในเมืองนุก เมืองเอกของเกาะกรีนแลนด์ และปรับปรุงยกระดับหนึ่งในท่าอากาศยานพลเมืองหลักที่มีอยู่ 3 แห่งบนเกาะกรีนแลนด์ เพื่อรองรับเครื่องบินขับไล่ซูเปอร์โซนิก F-35 "เราลงทุนในอาร์ติกไม่มากพอมานานหลายปีแล้ว ตอนนี้เรากำลังมีแผนยกระดับประจำการเข้มแข็งขึ้น" พอลเซนระบุ . รัฐมนตรีกลาโหมรายนี้ไม่ได้ให้ตัวเลขที่ชัดเจนเกี่ยวกับแพกเกจดังกล่าว แต่สื่อมวลชนเดนมาร์กคาดหมายว่ามันน่าจะอยู่ที่ราว 12,000 ล้าน ถึง 15,000 ล้านโครเนอ . ถ้อยแถลงนี้มีขึ้น 1 วัน หลังจาก ทรัมป์ ระบุบนทรัสต์โซเชียล สื่อสังคมออนไลน์ของเขาเอง ว่า "เพื่อจุดประสงค์ด้านความมั่นคงแห่งชาติและเสรีภาพทั่วทั้งโลก สหรัฐอเมริการู้สึกว่าการเป็นเจ้าของและการควบคุมเกาะกรีนแลนด์ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างที่สุด" . มูเต เอเกเด นายกรัฐมนตรีกรีนแลนด์ ตอบโต้ความเห็นของทรัมป์ บอกว่า "เราไม่ได้มีไว้ขาย" อย่างไรก็ตาม เขาบอกว่าชาวกรีนแลนด์ควรยังคงเปิดกว้างสำหรับความร่วมมือและการค้า โดยเฉพาะกับบรรดาชาติเพื่อนบ้าน . พวกนักวิเคราะห์บอกว่าแผนยกระดับป้องกันเกาะกรีนแลนด์ อยู่ภายใต้การพูดคุยหารือมานานแล้ว และไม่ควรถูกมองว่าเป็นการตอบโต้โดยตรงต่อความเห็นของทรัมป์ . เหล่านักวิเคราะห์มองว่าจนถึงตอนนี้ เดนมาร์ก ยกระดับศักยภาพทางทหารบนเกาะกรีนแลนด์ค่อนข้างช้ามากๆ และหากประเทศแห่งนี้ไม่อาจปกป้องน่านน้ำต่างๆ รอบเกาะจากการล่วงล้ำของจีนและรัสเซีย เมื่อนั้นความต้องการของสหรัฐฯ ในการควบคุมเกาะแห่งนี้ก็จะมีมากขึ้นเรื่อยๆ . นายพลสตีน เคียร์การ์ด แห่งสถาบันป้องกันตนเองเดนมาร์ก เชื่อว่าบางทีทรัมป์อาจมีเจตนากดดันให้เดนมาร์ก เคลื่อนไหวดังกล่าว "มีความเป็นไปได้ที่ความเคลื่อนไหวนี้จะถูกจุดชนวนจากคำพูดของทรัมป์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ที่มุ่งเน้นถึงความจำเป็นสำหรับการควบคุมทางอากาศและทางทะเลรอบเกาะกรีนแลนด์และการพัฒนาต่างๆ ภายในกรีนแลนด์ ดินแดนที่ผู้คนบางส่วนจ้องมองไปยังสหรัฐฯ และเพิ่งเปิดตัวสนามบินนานาชาติแห่งใหม่ในเมืองนุก" . เขาบอกกับบีบีซีต่อว่า "ผมคิดว่าทรัมป์ฉลาด เขาทำให้เดนมาร์กให้ความสำคัญกับการยกระดับศักยภาพทางทหารในอาร์กติก ด้วยสุ้มเสียงนี้ โดยไม่จำเป็นต้องรับช่วงต่อระบบสวัสดิการใดๆ ที่ไม่ใช่อเมริกา" เขากล่าว อ้างถึงกรณีที่เกาะกรีนแลนด์ ต้องพึ่งพิงเงินสนับสนุนจากเดนมาร์กเป็นอย่างมาก . ก่อนหน้านี้เมื่อปี 2019 ทรัมป์เคยแนะนำให้สหรัฐฯ ซื้อเกาะกรีนแลนด์ ซึ่งเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลก แต่มันนำมาซึ่งเสียงประณามดุด่าอย่างดุเดือดจากพวกผู้นำเกาะ . ในตอนนั้น เมตเต เฟรเดอริกเซน นายกรัฐมนตรีเดนมาร์ก ณ ขณะนั้น ให้คำจำกัดความแนวคิดดังกล่าวว่า "ไร้สาระ" ซึ่งมันกระตุ้นให้ ทรัมป์ ยกเลิกทริปเดินทางไปยังเดนมาร์ก ในการเยือนแบบรัฐพิธี . ทรัมป์ ไม่ใช่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนแรกที่บ่งชี้ว่าอยากซื้อเกาะกรีนแลนด์ แนวคิดนี้ถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1860 ภายใต้ประธานาธิบดีแอนดรูว์ จอห์นสัน . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000123564 .............. Sondhi X
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 969 มุมมอง 0 รีวิว
  • รัสเซียเปิดเผยกองทัพของพวกเขา ทำการซ้อมรบนิวเคลียร์รอบใหม่ ภายใต้การตรวจตราของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้เรียกร้องให้ปรับแก้เกณฑ์การใช้มาตรการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของมอสโก
    .
    ปูติน พูดถึงแนวโน้มเกี่ยวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์หลายต่อหลายครั้ง ระหว่างรัสเซียปฏิบัติการรุกรานยูเครน และเมื่อเดือนที่แล้ว เขาเสนอให้เปลี่ยนเงื่อนไขการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย ให้ครอบคลุมบรรดาประเทศที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธร้ายแรงนี้ด้วย
    .
    ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหลักการด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียในครั้งนั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนแรงๆ ไปยังสหรัฐฯ และอังกฤษ ซึ่งกำลังใคร่ครวญว่าจะอนุญาตให้ยูเครนนำขีปนาวุธตามแบบของตะวันตกไปใช้ยิงโจมตีเป้าหมายที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซียหรือไม่
    .
    สำหรับหลักนิยมด้านนิวเคลียร์ฉบับปัจจุบันที่ออกโดยกฤษฎีกาของ ปูติน เมื่อปี 2020 กำหนดเอาไว้ว่า รัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ในกรณีที่ถูกศัตรูโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกโจมตีด้วยอาวุธตามแบบ จนถึงขั้น “คุกคามความอยู่รอดของรัฐ”
    .
    เงื่อนไขหลักๆ ที่ ปูติน เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ก็คือ การประกาศให้ “เบลารุส” เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มนิวเคลียร์ของรัสเซีย และการถือว่ามหาอำนาจนิวเคลียร์ที่สนับสนุนปฏิบัติการโจมตีรัสเซียด้วยอาวุธตามแบบ เป็น "คู่สงคราม" ของรัสเซียด้วย
    .
    กระทรวงหลาโหมรัสเซียระบุในวันอังคาร(29ต.ค.) ว่า "การฝึกซ้อมเป็นการซ้อมรบด้านกำลังพล และแนวทางต่างๆขององค์ประกอบทั้งทางภาคพื้น ทางทะเลและทางอากาศ ของกองกำลังป้องปรามทางยุทธศาสตร์ และได้มีการยิงขีปนาวุธข้ามทวีปลูกหนึ่ง"
    .
    ถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย บอกว่าขีปนาวุธถูกยิงออกจากฐานทดสอบขีปนาวุธ ในแถบคาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกไกล ส่วนขีปนาวุธอื่นๆถูกยิงออกจากเรือดำน้ำลำหนึ่งในทะเลแบเรนตส์ ในแถบอาร์กติก และจากทะเลโอคอตสค์ ในแถบตะวันออกไกลของรัสเซีย
    .
    กระทรวงกลาโหมรัสเซีย อ้างว่าการฝึกฝนประสบความสำเร็จ และขีปนาวุธพุ่งโดนเป้าหมายต่างๆที่กำหนดไว้
    .
    เมื่อเดือนกันยายน ปูติน ได้แนะนำให้มอสโกปรับแก้หลักการนิวเคลียร์ เปิดทางให้พวกเขาปลดปล่อยการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีที่ถูกโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่
    .
    ภายใต้ข้อเสนอปรับแก้นั้น รวมไปถึงกรณีที่รัสเซียจะถือว่าการโจมตีใดๆจากประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์หนึ่งๆ เป็นการโจมตีร่วมของทั้ง 2 ชาติ ซึ่งในกรณีนี้น่าจะหมายถึงยูเครน
    .
    แผนดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ ยูเครนกำลังเรียกร้องตะวันตก อนุญาตให้พวกเขาใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลที่ตะวันตกมอบให้ โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้สหรัฐฯยังคงลังเลที่จะให้ไฟเขียว
    .
    อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000104401
    ..............
    Sondhi X
    รัสเซียเปิดเผยกองทัพของพวกเขา ทำการซ้อมรบนิวเคลียร์รอบใหม่ ภายใต้การตรวจตราของประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ได้เรียกร้องให้ปรับแก้เกณฑ์การใช้มาตรการป้องปรามทางนิวเคลียร์ของมอสโก . ปูติน พูดถึงแนวโน้มเกี่ยวกับการใช้อาวุธนิวเคลียร์หลายต่อหลายครั้ง ระหว่างรัสเซียปฏิบัติการรุกรานยูเครน และเมื่อเดือนที่แล้ว เขาเสนอให้เปลี่ยนเงื่อนไขการใช้อาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย ให้ครอบคลุมบรรดาประเทศที่ไม่ได้ครอบครองอาวุธร้ายแรงนี้ด้วย . ข้อเสนอการปรับเปลี่ยนหลักการด้านนิวเคลียร์ของรัสเซียในครั้งนั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนแรงๆ ไปยังสหรัฐฯ และอังกฤษ ซึ่งกำลังใคร่ครวญว่าจะอนุญาตให้ยูเครนนำขีปนาวุธตามแบบของตะวันตกไปใช้ยิงโจมตีเป้าหมายที่อยู่ลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซียหรือไม่ . สำหรับหลักนิยมด้านนิวเคลียร์ฉบับปัจจุบันที่ออกโดยกฤษฎีกาของ ปูติน เมื่อปี 2020 กำหนดเอาไว้ว่า รัสเซียอาจใช้อาวุธนิวเคลียร์ได้ในกรณีที่ถูกศัตรูโจมตีด้วยอาวุธนิวเคลียร์หรือถูกโจมตีด้วยอาวุธตามแบบ จนถึงขั้น “คุกคามความอยู่รอดของรัฐ” . เงื่อนไขหลักๆ ที่ ปูติน เพิ่มเติมเข้ามาใหม่ก็คือ การประกาศให้ “เบลารุส” เข้ามาอยู่ภายใต้ร่มนิวเคลียร์ของรัสเซีย และการถือว่ามหาอำนาจนิวเคลียร์ที่สนับสนุนปฏิบัติการโจมตีรัสเซียด้วยอาวุธตามแบบ เป็น "คู่สงคราม" ของรัสเซียด้วย . กระทรวงหลาโหมรัสเซียระบุในวันอังคาร(29ต.ค.) ว่า "การฝึกซ้อมเป็นการซ้อมรบด้านกำลังพล และแนวทางต่างๆขององค์ประกอบทั้งทางภาคพื้น ทางทะเลและทางอากาศ ของกองกำลังป้องปรามทางยุทธศาสตร์ และได้มีการยิงขีปนาวุธข้ามทวีปลูกหนึ่ง" . ถ้อยแถลงของกระทรวงกลาโหมรัสเซีย บอกว่าขีปนาวุธถูกยิงออกจากฐานทดสอบขีปนาวุธ ในแถบคาบสมุทรคัมชัตคา ทางตะวันออกไกล ส่วนขีปนาวุธอื่นๆถูกยิงออกจากเรือดำน้ำลำหนึ่งในทะเลแบเรนตส์ ในแถบอาร์กติก และจากทะเลโอคอตสค์ ในแถบตะวันออกไกลของรัสเซีย . กระทรวงกลาโหมรัสเซีย อ้างว่าการฝึกฝนประสบความสำเร็จ และขีปนาวุธพุ่งโดนเป้าหมายต่างๆที่กำหนดไว้ . เมื่อเดือนกันยายน ปูติน ได้แนะนำให้มอสโกปรับแก้หลักการนิวเคลียร์ เปิดทางให้พวกเขาปลดปล่อยการตอบโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ ในกรณีที่ถูกโจมตีทางอากาศครั้งใหญ่ . ภายใต้ข้อเสนอปรับแก้นั้น รวมไปถึงกรณีที่รัสเซียจะถือว่าการโจมตีใดๆจากประเทศที่ไม่มีอาวุธนิวเคลียร์ แต่ได้รับการสนับสนุนจากมหาอำนาจนิวเคลียร์หนึ่งๆ เป็นการโจมตีร่วมของทั้ง 2 ชาติ ซึ่งในกรณีนี้น่าจะหมายถึงยูเครน . แผนดังกล่าวมีขึ้นในขณะที่ ยูเครนกำลังเรียกร้องตะวันตก อนุญาตให้พวกเขาใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลที่ตะวันตกมอบให้ โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย อย่างไรก็ตามจนถึงตอนนี้สหรัฐฯยังคงลังเลที่จะให้ไฟเขียว . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000104401 .............. Sondhi X
    Like
    Yay
    Sad
    Angry
    9
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1580 มุมมอง 0 รีวิว
  • ..ไม่อยากจะเชื่อว่านี้คือของจริง อาจคิดว่าเป็นCGIทำแน่ๆ ตรองกันเอง.

    ..วิดีโอนี้ถ่ายทำในอาร์กติกเซอร์เคิล ระหว่างชายแดนแคนาดา-อลาสก้า-รัสเซีย

    ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพียงปีละครั้ง เป็นเวลา 36 วินาที ดวงจันทร์ปรากฏและหายไป

    หลังจากนั้นไม่นาน สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดเป็นเวลา 5 วินาที

    ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเฉพาะที่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุดเท่านั้น
    ..ไม่อยากจะเชื่อว่านี้คือของจริง อาจคิดว่าเป็นCGIทำแน่ๆ ตรองกันเอง. ..วิดีโอนี้ถ่ายทำในอาร์กติกเซอร์เคิล ระหว่างชายแดนแคนาดา-อลาสก้า-รัสเซีย ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นได้เพียงปีละครั้ง เป็นเวลา 36 วินาที ดวงจันทร์ปรากฏและหายไป หลังจากนั้นไม่นาน สุริยุปราคาเต็มดวงจะเกิดเป็นเวลา 5 วินาที ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเฉพาะที่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุดเท่านั้น
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 235 มุมมอง 19 0 รีวิว
  • รัสเซียพร้อมถล่มนาโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ทุกเมื่อ:

    วันก่อน กองทัพยูเครนยิงโดรนถล่มคลังแสงของรัสเซียที่เมืองตเวียร์ เพลิงลุกโชติช่วงชัชวาล ตอนนี้ รัสเซียได้ข้อมูลชัดเจนแล้วว่าจักรวรรดิ์นิยมอเมริกาเสแสร้งบอกว่าจะไม่สนับสนุนให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลยิงใส่รัสเซีย แต่ลับหลังกลับใช้ดาวเทียมคอยระบุพิกัดเมืองต่างๆ ของรัสเซียให้ยูเครนยิงถล่มใส่

    กองทัพรัสเซียจึงยิงถล่มสำนักงานใหญ่ค่ายทหารของยูเครนที่กรุงเคียฟ ซึ่งเป็นสำนักงานที่เสนาธิการทหารนาโต้จำนวนมากไปอยู่ช่วยวางแผนให้ยูเครนรบกับรัสเซีย ผลก็คือเสนาธิการทหารของนาโต้เสียชีวิตจำนวนมาก

    พร้อมกันนั้น รัสเซียก็กำลังทดลองเอาขีปนาวุธซึ่งจะนำหัวรบนิวเคลียร์ไปปล่อยมาทดสอบความพร้อมอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็ส่งเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งเข้าประจำที่มหาสมุทรอาร์กติกด้วย

    เครือข่ายยิวไซออนิสต์จะต้องถูกถล่มให้เดี๊ยงในอเมริกาและยุโรป และหมดพิษสงในตะวันออกกลาง โลกนี้จึงจะสงบลงครับ


    ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    รัสเซียพร้อมถล่มนาโต้ด้วยอาวุธนิวเคลียร์ทุกเมื่อ: วันก่อน กองทัพยูเครนยิงโดรนถล่มคลังแสงของรัสเซียที่เมืองตเวียร์ เพลิงลุกโชติช่วงชัชวาล ตอนนี้ รัสเซียได้ข้อมูลชัดเจนแล้วว่าจักรวรรดิ์นิยมอเมริกาเสแสร้งบอกว่าจะไม่สนับสนุนให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลยิงใส่รัสเซีย แต่ลับหลังกลับใช้ดาวเทียมคอยระบุพิกัดเมืองต่างๆ ของรัสเซียให้ยูเครนยิงถล่มใส่ กองทัพรัสเซียจึงยิงถล่มสำนักงานใหญ่ค่ายทหารของยูเครนที่กรุงเคียฟ ซึ่งเป็นสำนักงานที่เสนาธิการทหารนาโต้จำนวนมากไปอยู่ช่วยวางแผนให้ยูเครนรบกับรัสเซีย ผลก็คือเสนาธิการทหารของนาโต้เสียชีวิตจำนวนมาก พร้อมกันนั้น รัสเซียก็กำลังทดลองเอาขีปนาวุธซึ่งจะนำหัวรบนิวเคลียร์ไปปล่อยมาทดสอบความพร้อมอีกครั้ง ขณะเดียวกันก็ส่งเรือดำน้ำติดอาวุธนิวเคลียร์จำนวนหนึ่งเข้าประจำที่มหาสมุทรอาร์กติกด้วย เครือข่ายยิวไซออนิสต์จะต้องถูกถล่มให้เดี๊ยงในอเมริกาและยุโรป และหมดพิษสงในตะวันออกกลาง โลกนี้จึงจะสงบลงครับ ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 343 มุมมอง 0 รีวิว
  • “อันตราย” เอามากๆ กับความคิด ความริเริ่ม ของคุณพ่ออเมริกาและพวกพรมเช็ดเท้าแห่งโลกตะวันตก ที่กำลังจะอนุมัติ อนุญาต ให้ “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครน นำเอาขีปนาวุธพิสัยไกลที่ได้รับการสนับสนุน ประเภท “Storm Shadows” หรือ “ATACMS” อะไรทำนองนั้น โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของหมีขาวรัสเซีย อันเป็นสิ่งที่ผู้นำรัสเซียอย่างประธานาธิบดี “ปูติน” ท่านได้แปลความ อธิบายขยายความ ไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ว่าย่อมหมายถึง “การกระทำให้ NATO คือคู่สงครามโดยตรงกับรัสเซีย” และได้เตือนเอาไว้นิ่มๆ ประมาณว่า “ถ้าหากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง...เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนไปของลักษณะความขัดแย้ง เราก็คงต้องตัดสินใจอย่างเหมาะสมต่อภัยคุกคามที่เราจะต้องเผชิญหน้า!!!”

    คือถึงจะเป็นอะไรที่นิ่มๆ...แต่ก็อย่าลืมไปว่าหมีขาวรัสเซียที่ออกจะดุแสนดุนั้น ก็คือ “ชาตินิวเคลียร์” อันดับต้นๆ ของโลก หรืออันดับหนึ่งของโลกเอาเลยก็ว่าได้ ดังนั้น...การที่รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา “นายAntony Blinken” และรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ “นายDavid Lammy” ที่เกี่ยวก้อยไปเยือนประเทศยูเครนกันถึงที่เมื่อไม่กี่วันนี้ จะออกมาพูดด้วยน้ำเสียง หางเสียงเดียวกัน ถึงความเป็นไปได้ที่จะอนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลที่ฝ่ายตะวันตกมอบให้โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย รวมทั้งประธานาธิบดีอเมริกา อย่าง “โจ เอ๋อ” หรือ “โจ ซึมเซา” ที่เหลือเวลาดำรงตำแหน่งแค่อีกไม่กี่เดือนจะออกมาแสดงท่าทีกำๆ กวมๆ ว่ากำลังเร่งพิจารณาเรื่องราวดังกล่าวอย่างเต็มที่ มันจึงแทบไม่ต่างอะไรไปจาก “เด็ก” ที่ชอบเล่นไม้ขีดไฟ ที่กำลังจุดไม้ขีดก้านแล้ว-ก้านเล่า อยู่หน้าโรงงานดินระเบิดซึ่งถูกชโลมไว้ด้วยน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน ชนิดอะไรต่อมิอะไรอาจลุกพึ่บๆ พั่บๆ ขึ้นมาได้ง่ายๆ...

    เพราะแม้แต่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” และผู้ร่วมก่อตั้งชุมชนข่าวกรอง “VIPS” (Veteran Intelligence Professionals for Sanity) อย่าง “นายRay McGovern” ที่เป็นชาวอเมริกันด้วยกันเอง ยังต้องออกมาให้ความคิด-ความเห็นกับสำนักข่าว “Sputnik” ไปเมื่อสองวันก่อนนั่นแหละว่า... “พวกเขา(อเมริกา)ต้องการที่จะยั่วยุปูติน ให้ต้องลงมือกระทำบางสิ่งบางอย่างที่ร้ายแรงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งอเมริกาในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ เพราะพวกเขาสูญเสียอย่างมากในการบุกแคว้น Kursk ของรัสเซีย” หรือพยายายาม “ยั่วยวนกวนส้นตีน” แบบเดียวกับอิสราเอลยั่วอิหร่านในแนวรบตะวันออกกลาง หรือไต้หวัน ฟิลิปปินส์ยั่วจีนในแนวรบทะเลจีนใต้ เพื่อที่จะก่อให้เกิดฉากสถานการณ์ที่ “เครื่องจักรสังหาร” อย่างกองทัพอเมริกันเกิดความชอบธรรมในการใช้กำลังทหาร หรือความชอบธรรมที่จะนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งอเมริกา...นั่นเอง...

    โดยที่การยั่วยวนกวนส้นตีนของอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกต่อรัสเซียช่วงหลังๆ นี้...ต้องเรียกว่าน่าหวาดเสียว น่าขนลุกขนพองยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ชนิดที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” ถึงกับต้องปรารภ รำพึง ถึงขั้นว่า... “สิ่งที่ผมกลัวก็คือ พวกเขาอาจไปไกลถึงขั้นคิดให้ยูเครนใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับกระเป๋า หรือนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี (mini nuke) สู้กับรัสเซียเอาเลยก็ไม่แน่!!!” และ “มันเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะรู้ว่าไบเดน ที่ปรึกษาความมั่นคง Sullivan และคณะผู้บริหารรัฐบาลอเมริกันชุดนี้คิดอย่างไร? เพื่อนสนิทของผมบางคนที่เป็นนักวิเคราะห์ด้วยกันถึงกับต้องสรุปว่าพวกเขา...บ้าไปแล้ว (insane) ดังนั้นมันเลยเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริงว่าคงยากเอามากๆ ที่จะทำนายได้ว่าพวกเขาคิดทำอะไรต่อไป ถ้าหากเขาทั้งหลาย...บ้าไปแล้ว!!!” ซึ่งก็คงไม่ใช่แต่เฉพาะอดีตนักวิเคราะห์ “CIA” อย่าง “นายRay McGovern” รายเดียวเท่านั้น อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำโซเวียตรัสเซียอย่าง “นายJack Matlock” เอง ก็ยังต้องออกมาตอกย้ำไว้ด้วยว่าความพยายามของรัฐบาลอเมริกันในอันที่จะอาศัย “สงครามที่ไม่มีความชัดเจน” สู้กับรัสเซียโดยอาศัยยูเครนเป็นตัวแทนนั้น เป็นสิ่งที่ “อันตราย”

    เอามากๆ...หรือกระทั่งอดีตผู้คิดจะสมัครลงแข่ง ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกันคราวนี้ อย่าง “Robert F. Kennedy Jr.” ยังอดไม่ได้ที่จะต้องออกมาเตือนไว้ล่วงหน้าว่า... “นโยบายเผชิญหน้าขั้นสูงสุดของไบเดนเพื่อยัดเยียดความปราชัยอันน่าอับอายให้กับรัสเซียและเพื่อเปลี่ยนระบอบการปกครองของปูตินนั้น...คือสูตรสำเร็จสำหรับหายนะทางนิวเคลียร์” เอาเลยถึงขั้นนั้นหรือรัฐบาลคุณปู่ “โจ ซึมเซา” ที่กำลังเหลือเวลาอยู่ในตำแหน่งแค่อีกไม่กี่เดือนนี่แหละ อาจกำลังฉุดกระชากลากถูบรรดาชาวอเมริกันทั้งประเทศรวมทั้งชาวโลกทั้งหลาย เข้าสู่ “สงครามนิวเคลียร์” เอาเลยก็เป็นได้ ด้วยเหตุเพราะรัสเซียนั้นไม่ใช่ประเทศอื่นๆโดยทั่วไป แต่ถือเป็น “ชาตินิวเคลียร์” แถมยังกำอาวุธมหาประลัยชนิดนี้ไว้ในมือไม่รู้จะกี่พันต่อกี่พันลูก โดยผู้ที่อาจต้อง “ซวย” เป็นอันดับแรก ก็ดังที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” “นายRay McGovern” ได้วาดจินตนาการไว้ล่วงหน้านั่นแหละว่า... “ถ้าหากรัสเซียต้องการจะบอกกับชาวยุโรปว่า ถ้าพวกคุณคิดจะใช้นิวเคลียร์ทางยุทธวิธีกับเราก็อย่าลืมว่าเราก็มีอาวุธนิวเคลียร์เหมือนกัน แล้วที่ไหนล่ะ...ที่รัสเซียจะงัดคำเตือนเหล่านี้ออกมาแสดงให้เห็น นั่นก็น่าจะเป็น...ยุโรปนั่นเอง!!!”...

    อย่างไรก็ตาม...สิ่งที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” รายนี้ ยังพยายาม “มองโลกในแง่ดี” เอาไว้มั่ง นั่นก็คือ... “ผมคิดว่าปูตินยังฉลาดพอ ที่จะรอให้เห็นกันชัดๆ ซะก่อนว่า ใคร??? ที่จะชนะเลือกตั้งได้เป็นผู้นำอเมริกา เพียงแต่ในช่วงระหว่างนั้นแม้แต่ผมก็ยังต้องกลั้นหายใจกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่” อันน่าจะเป็นไปเช่นเดียวกับพันธมิตรของจีนและรัสเซียอย่างอิหร่าน เป็นต้น ที่ต้องพยายามก้าวย่างอย่างระมัดระวังในการ “แก้แค้น-เอาคืน” ต่อการยั่วยวนกวนส้นตีนของอิสราเอล เพื่อไม่ให้ต้องก้าวไปสู่ “กับดัก”

    ของพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ของคุณพ่ออเมริกาเอาง่ายๆ ต้องกลั้นใจ สะกดใจ หันไปเล่น “หมากล้อม” ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดเงื่อนไข-เหตุปัจจัย อันจะทำให้พวก “อีลิทโลก” ผู้ซึ่งเพียรพยายามพิทักษ์ ปกป้อง “ระเบียบโลกแบบเดิมๆ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ตัวเองมั่งคั่ง ร่ำรวย อย่างชนิดอภิมหาศาล สามารถดำรงคงอยู่ได้อีกต่อไป ที่พยายามทั้งผลัก ทั้งดัน ให้บรรดารัฐบาลแห่งโลกตะวันตกทั้งหลาย “จุดไฟนรกสุดขอบฟ้า” ขึ้นมาให้จงได้!!!

    และอาจด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้หมีขาวที่ได้ชื่อว่าดุแสนดุอย่างรัสเซีย เลยต้องหันไปส่งสัญญาณด้วยปฏิบัติการ “ซ้อมรบ” ทางเรือครั้งใหญ่ ที่เรียกๆ กันว่า “Ocean-2024” ตั้งแต่เมื่อช่วงวันอังคารที่ผ่านมา (10 ก.ย.) ด้วยการขนเอาเรือรบไม่ต่ำกว่า 400 ลำ เครื่องบินรบอีก 120 ลำ ทวยทหารอีกถึง 90,000 นาย ออกมาเบ่งกล้ามอวดโชว์กำลังในน่านน้ำแทบทุกน่านน้ำไม่ว่าในมหาสมุทรแปซิฟิก อาร์กติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแคสเปียน ไปจนแถบทะเลบอลติกโดยมีคุณพี่จีนเข้าร่วมด้วยหรือร่วมส่งสัญญาณไปถึงประเทศญี่ปุ่น-ยุ่นปี่ ที่กำลังคิดเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของคุณพ่ออเมริกามาติดตั้งไว้ในประเทศตัวเองในอีกไม่นาน-ไม่ช้านับจากนี้...

    แต่ส่วนจะทำให้อเมริกาและพันธมิตรพรมเช็ดเท้าแห่งโลกตะวันตก...พอที่จะ “หายบ้า” หรือพอที่จะได้ “สติ” ขึ้นมาได้มั่งหรือไม่? อย่างไร? อันนั้น...คงต้องคอยสวดมนต์และภาวนากันไปตามสภาพ ไม่ก็ต้องหันไป “กลั้นหายใจ” แบบเดียวกับที่ “นายRay McGovern” ได้ว่าเอาไว้นั่นแหละ คือถ้าหากอีก 2 เดือนข้างหน้า “ทรัมป์บ้า” สามารถดิ้นรนกลับมาเป็นผู้นำอเมริกาได้ดังเดิม มันก็อาจเบาๆ ลงไปได้บ้างสำหรับ “แนวรบ” บางด้าน เช่นแนวรบยุโรปตะวันออก เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณน้อง “กมลา” เธอสามารถนอนมาโดยไม่ต้องมีพระสวดนำหน้า แบบที่บรรดา “โพล” หลายๆ สำนักพยายามเชียร์แล้ว เชียร์อีก แม้จะก่อให้เกิดความซี๊ดๆ ซ๊าดๆ ต่อบรรดา “ติ่งอเมริกา” เพียงใดก็เถอะ แต่...ก็อาจนำมาซึ่ง “สงครามกลางเมืองครั้งใหม่” ของอเมริกา หรือนำมาซึ่ง “ความล่มสลาย” ลงไปเองเอาเลยก็เป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปงัดอาวุธมหาประลัยใดๆ ออกมาใช้ให้ต้องมากเรื่อง-มากความ หรือให้บรรดา “พลโลก” อย่างเราๆ-ทั่นๆ ทั้งหลาย ต้องพลอยเดือดร้อน หรือพลอย “ซวย” ไปด้วยอย่างมิอาจช่วยอะไรได้เลย...

    https://mgronline.com/daily/detail/9670000086180

    #Thaitimes
    “อันตราย” เอามากๆ กับความคิด ความริเริ่ม ของคุณพ่ออเมริกาและพวกพรมเช็ดเท้าแห่งโลกตะวันตก ที่กำลังจะอนุมัติ อนุญาต ให้ “ตัวตลก-ตัวแทน” อย่างยูเครน นำเอาขีปนาวุธพิสัยไกลที่ได้รับการสนับสนุน ประเภท “Storm Shadows” หรือ “ATACMS” อะไรทำนองนั้น โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนของหมีขาวรัสเซีย อันเป็นสิ่งที่ผู้นำรัสเซียอย่างประธานาธิบดี “ปูติน” ท่านได้แปลความ อธิบายขยายความ ไว้อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ว่าย่อมหมายถึง “การกระทำให้ NATO คือคู่สงครามโดยตรงกับรัสเซีย” และได้เตือนเอาไว้นิ่มๆ ประมาณว่า “ถ้าหากกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นจริง...เมื่อคำนึงถึงการเปลี่ยนไปของลักษณะความขัดแย้ง เราก็คงต้องตัดสินใจอย่างเหมาะสมต่อภัยคุกคามที่เราจะต้องเผชิญหน้า!!!” คือถึงจะเป็นอะไรที่นิ่มๆ...แต่ก็อย่าลืมไปว่าหมีขาวรัสเซียที่ออกจะดุแสนดุนั้น ก็คือ “ชาตินิวเคลียร์” อันดับต้นๆ ของโลก หรืออันดับหนึ่งของโลกเอาเลยก็ว่าได้ ดังนั้น...การที่รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกา “นายAntony Blinken” และรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ “นายDavid Lammy” ที่เกี่ยวก้อยไปเยือนประเทศยูเครนกันถึงที่เมื่อไม่กี่วันนี้ จะออกมาพูดด้วยน้ำเสียง หางเสียงเดียวกัน ถึงความเป็นไปได้ที่จะอนุมัติให้ยูเครนใช้ขีปนาวุธพิสัยไกลที่ฝ่ายตะวันตกมอบให้โจมตีลึกเข้าไปในดินแดนรัสเซีย รวมทั้งประธานาธิบดีอเมริกา อย่าง “โจ เอ๋อ” หรือ “โจ ซึมเซา” ที่เหลือเวลาดำรงตำแหน่งแค่อีกไม่กี่เดือนจะออกมาแสดงท่าทีกำๆ กวมๆ ว่ากำลังเร่งพิจารณาเรื่องราวดังกล่าวอย่างเต็มที่ มันจึงแทบไม่ต่างอะไรไปจาก “เด็ก” ที่ชอบเล่นไม้ขีดไฟ ที่กำลังจุดไม้ขีดก้านแล้ว-ก้านเล่า อยู่หน้าโรงงานดินระเบิดซึ่งถูกชโลมไว้ด้วยน้ำมันก๊าด น้ำมันเบนซิน ชนิดอะไรต่อมิอะไรอาจลุกพึ่บๆ พั่บๆ ขึ้นมาได้ง่ายๆ... เพราะแม้แต่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” และผู้ร่วมก่อตั้งชุมชนข่าวกรอง “VIPS” (Veteran Intelligence Professionals for Sanity) อย่าง “นายRay McGovern” ที่เป็นชาวอเมริกันด้วยกันเอง ยังต้องออกมาให้ความคิด-ความเห็นกับสำนักข่าว “Sputnik” ไปเมื่อสองวันก่อนนั่นแหละว่า... “พวกเขา(อเมริกา)ต้องการที่จะยั่วยุปูติน ให้ต้องลงมือกระทำบางสิ่งบางอย่างที่ร้ายแรงก่อนที่จะมีการเลือกตั้งอเมริกาในวันที่ 5 พฤศจิกายนนี้ เพราะพวกเขาสูญเสียอย่างมากในการบุกแคว้น Kursk ของรัสเซีย” หรือพยายายาม “ยั่วยวนกวนส้นตีน” แบบเดียวกับอิสราเอลยั่วอิหร่านในแนวรบตะวันออกกลาง หรือไต้หวัน ฟิลิปปินส์ยั่วจีนในแนวรบทะเลจีนใต้ เพื่อที่จะก่อให้เกิดฉากสถานการณ์ที่ “เครื่องจักรสังหาร” อย่างกองทัพอเมริกันเกิดความชอบธรรมในการใช้กำลังทหาร หรือความชอบธรรมที่จะนำไปสู่ชัยชนะในการเลือกตั้งอเมริกา...นั่นเอง... โดยที่การยั่วยวนกวนส้นตีนของอเมริกาและพันธมิตรตะวันตกต่อรัสเซียช่วงหลังๆ นี้...ต้องเรียกว่าน่าหวาดเสียว น่าขนลุกขนพองยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ชนิดที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” ถึงกับต้องปรารภ รำพึง ถึงขั้นว่า... “สิ่งที่ผมกลัวก็คือ พวกเขาอาจไปไกลถึงขั้นคิดให้ยูเครนใช้อาวุธนิวเคลียร์ฉบับกระเป๋า หรือนิวเคลียร์ทางยุทธวิธี (mini nuke) สู้กับรัสเซียเอาเลยก็ไม่แน่!!!” และ “มันเป็นเรื่องค่อนข้างยากที่จะรู้ว่าไบเดน ที่ปรึกษาความมั่นคง Sullivan และคณะผู้บริหารรัฐบาลอเมริกันชุดนี้คิดอย่างไร? เพื่อนสนิทของผมบางคนที่เป็นนักวิเคราะห์ด้วยกันถึงกับต้องสรุปว่าพวกเขา...บ้าไปแล้ว (insane) ดังนั้นมันเลยเป็นเรื่องจริงยิ่งกว่าจริงว่าคงยากเอามากๆ ที่จะทำนายได้ว่าพวกเขาคิดทำอะไรต่อไป ถ้าหากเขาทั้งหลาย...บ้าไปแล้ว!!!” ซึ่งก็คงไม่ใช่แต่เฉพาะอดีตนักวิเคราะห์ “CIA” อย่าง “นายRay McGovern” รายเดียวเท่านั้น อดีตเอกอัครราชทูตอเมริกันประจำโซเวียตรัสเซียอย่าง “นายJack Matlock” เอง ก็ยังต้องออกมาตอกย้ำไว้ด้วยว่าความพยายามของรัฐบาลอเมริกันในอันที่จะอาศัย “สงครามที่ไม่มีความชัดเจน” สู้กับรัสเซียโดยอาศัยยูเครนเป็นตัวแทนนั้น เป็นสิ่งที่ “อันตราย” เอามากๆ...หรือกระทั่งอดีตผู้คิดจะสมัครลงแข่ง ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอเมริกันคราวนี้ อย่าง “Robert F. Kennedy Jr.” ยังอดไม่ได้ที่จะต้องออกมาเตือนไว้ล่วงหน้าว่า... “นโยบายเผชิญหน้าขั้นสูงสุดของไบเดนเพื่อยัดเยียดความปราชัยอันน่าอับอายให้กับรัสเซียและเพื่อเปลี่ยนระบอบการปกครองของปูตินนั้น...คือสูตรสำเร็จสำหรับหายนะทางนิวเคลียร์” เอาเลยถึงขั้นนั้นหรือรัฐบาลคุณปู่ “โจ ซึมเซา” ที่กำลังเหลือเวลาอยู่ในตำแหน่งแค่อีกไม่กี่เดือนนี่แหละ อาจกำลังฉุดกระชากลากถูบรรดาชาวอเมริกันทั้งประเทศรวมทั้งชาวโลกทั้งหลาย เข้าสู่ “สงครามนิวเคลียร์” เอาเลยก็เป็นได้ ด้วยเหตุเพราะรัสเซียนั้นไม่ใช่ประเทศอื่นๆโดยทั่วไป แต่ถือเป็น “ชาตินิวเคลียร์” แถมยังกำอาวุธมหาประลัยชนิดนี้ไว้ในมือไม่รู้จะกี่พันต่อกี่พันลูก โดยผู้ที่อาจต้อง “ซวย” เป็นอันดับแรก ก็ดังที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” “นายRay McGovern” ได้วาดจินตนาการไว้ล่วงหน้านั่นแหละว่า... “ถ้าหากรัสเซียต้องการจะบอกกับชาวยุโรปว่า ถ้าพวกคุณคิดจะใช้นิวเคลียร์ทางยุทธวิธีกับเราก็อย่าลืมว่าเราก็มีอาวุธนิวเคลียร์เหมือนกัน แล้วที่ไหนล่ะ...ที่รัสเซียจะงัดคำเตือนเหล่านี้ออกมาแสดงให้เห็น นั่นก็น่าจะเป็น...ยุโรปนั่นเอง!!!”... อย่างไรก็ตาม...สิ่งที่อดีตนักวิเคราะห์ “CIA” รายนี้ ยังพยายาม “มองโลกในแง่ดี” เอาไว้มั่ง นั่นก็คือ... “ผมคิดว่าปูตินยังฉลาดพอ ที่จะรอให้เห็นกันชัดๆ ซะก่อนว่า ใคร??? ที่จะชนะเลือกตั้งได้เป็นผู้นำอเมริกา เพียงแต่ในช่วงระหว่างนั้นแม้แต่ผมก็ยังต้องกลั้นหายใจกับสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่” อันน่าจะเป็นไปเช่นเดียวกับพันธมิตรของจีนและรัสเซียอย่างอิหร่าน เป็นต้น ที่ต้องพยายามก้าวย่างอย่างระมัดระวังในการ “แก้แค้น-เอาคืน” ต่อการยั่วยวนกวนส้นตีนของอิสราเอล เพื่อไม่ให้ต้องก้าวไปสู่ “กับดัก” ของพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ของคุณพ่ออเมริกาเอาง่ายๆ ต้องกลั้นใจ สะกดใจ หันไปเล่น “หมากล้อม” ต่อไปเรื่อยๆ เพื่อไม่ให้เกิดเงื่อนไข-เหตุปัจจัย อันจะทำให้พวก “อีลิทโลก” ผู้ซึ่งเพียรพยายามพิทักษ์ ปกป้อง “ระเบียบโลกแบบเดิมๆ” ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยให้ตัวเองมั่งคั่ง ร่ำรวย อย่างชนิดอภิมหาศาล สามารถดำรงคงอยู่ได้อีกต่อไป ที่พยายามทั้งผลัก ทั้งดัน ให้บรรดารัฐบาลแห่งโลกตะวันตกทั้งหลาย “จุดไฟนรกสุดขอบฟ้า” ขึ้นมาให้จงได้!!! และอาจด้วยเหตุนี้นี่เอง...ที่ทำให้หมีขาวที่ได้ชื่อว่าดุแสนดุอย่างรัสเซีย เลยต้องหันไปส่งสัญญาณด้วยปฏิบัติการ “ซ้อมรบ” ทางเรือครั้งใหญ่ ที่เรียกๆ กันว่า “Ocean-2024” ตั้งแต่เมื่อช่วงวันอังคารที่ผ่านมา (10 ก.ย.) ด้วยการขนเอาเรือรบไม่ต่ำกว่า 400 ลำ เครื่องบินรบอีก 120 ลำ ทวยทหารอีกถึง 90,000 นาย ออกมาเบ่งกล้ามอวดโชว์กำลังในน่านน้ำแทบทุกน่านน้ำไม่ว่าในมหาสมุทรแปซิฟิก อาร์กติก ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ทะเลแคสเปียน ไปจนแถบทะเลบอลติกโดยมีคุณพี่จีนเข้าร่วมด้วยหรือร่วมส่งสัญญาณไปถึงประเทศญี่ปุ่น-ยุ่นปี่ ที่กำลังคิดเอาขีปนาวุธพิสัยกลางของคุณพ่ออเมริกามาติดตั้งไว้ในประเทศตัวเองในอีกไม่นาน-ไม่ช้านับจากนี้... แต่ส่วนจะทำให้อเมริกาและพันธมิตรพรมเช็ดเท้าแห่งโลกตะวันตก...พอที่จะ “หายบ้า” หรือพอที่จะได้ “สติ” ขึ้นมาได้มั่งหรือไม่? อย่างไร? อันนั้น...คงต้องคอยสวดมนต์และภาวนากันไปตามสภาพ ไม่ก็ต้องหันไป “กลั้นหายใจ” แบบเดียวกับที่ “นายRay McGovern” ได้ว่าเอาไว้นั่นแหละ คือถ้าหากอีก 2 เดือนข้างหน้า “ทรัมป์บ้า” สามารถดิ้นรนกลับมาเป็นผู้นำอเมริกาได้ดังเดิม มันก็อาจเบาๆ ลงไปได้บ้างสำหรับ “แนวรบ” บางด้าน เช่นแนวรบยุโรปตะวันออก เป็นต้น แต่ถ้าหากคุณน้อง “กมลา” เธอสามารถนอนมาโดยไม่ต้องมีพระสวดนำหน้า แบบที่บรรดา “โพล” หลายๆ สำนักพยายามเชียร์แล้ว เชียร์อีก แม้จะก่อให้เกิดความซี๊ดๆ ซ๊าดๆ ต่อบรรดา “ติ่งอเมริกา” เพียงใดก็เถอะ แต่...ก็อาจนำมาซึ่ง “สงครามกลางเมืองครั้งใหม่” ของอเมริกา หรือนำมาซึ่ง “ความล่มสลาย” ลงไปเองเอาเลยก็เป็นได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปงัดอาวุธมหาประลัยใดๆ ออกมาใช้ให้ต้องมากเรื่อง-มากความ หรือให้บรรดา “พลโลก” อย่างเราๆ-ทั่นๆ ทั้งหลาย ต้องพลอยเดือดร้อน หรือพลอย “ซวย” ไปด้วยอย่างมิอาจช่วยอะไรได้เลย... https://mgronline.com/daily/detail/9670000086180 #Thaitimes
    MGRONLINE.COM
    “สงครามโลก” ก่อนหรือหลัง “เลือกตั้งอเมริกา”???
    ถึงแม้การเลือกตั้งอเมริกาจะเหลืออีกประมาณเดือนกว่าๆ ใกล้ๆ 2 เดือน...แต่ก็คงไม่น่าถึงกับต้องไปให้ความสำคัญกับการ “ดีเบต” หรือการโต้กันไป-โต้กันมา ระหว่าง 2 ผู้สมัคร คู่ชิง อย่าง “ทรัมป์บ้า” หรือคุณน้อง “กมลา”
    Like
    Sad
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1361 มุมมอง 0 รีวิว