• แถลงการณ์วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    ฉบับที่ 001/2567
    เรื่อง ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง

    ​จากสถานการณ์โรคระบาดฝีดาษลิงในต่างประเทศซึ่งมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งในเวลาต่อมาอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่าได้พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกในประเทศไทยแล้ว โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้เดินทางมาจากประเทศแถบทวีปแอฟริกา ข่าวดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความสับสนในข่าวสารและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นสมควรให้ชี้แจงกับประชาชน ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ดังต่อไปนี้

    ​​ประการแรก ตามรายงานในต่างประเทศซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ฉบับเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยส่วนใหญ่กักตัวที่บ้าน มีเพียงไม่เกินร้อยละ 13 ที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพราะต้องการแยกตัว หรือมีอาการรุนแรง โดยมีอัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1 แต่สำหรับประเทศไทย ปรากฏเป็นข้อมูลที่เคยแถลงข่าวโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 รายงานว่า ประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงอยู่แล้วตั้งแต่กรกฏาคม 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2567 จำนวน 794 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิง 11 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทยอยู่เพียงร้อยละ 1.38 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตในระดับต่ำ

    ประการที่สอง สำหรับกรณีการกลายพันธุ์เป็นชนิด เคลด วันบี (Clade Ib ) เกิดขึ้นประมาณ กันยายน 2566 ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายและความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเท่าที่มีข้อมูลในประเทศแถบแอฟริกาพบว่า ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 4 ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงชนิด เคลด วันบี แล้ว 1 ราย ซึ่งเดินทางมาจากประเทศหนึ่งในแถบแอฟริกา ดังนั้นกรมควบคุมโรคควรมีมาตรการในการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด
    ​​
    ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีระยะเวลาฟักตัวภายใน 21 วัน และสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการก่อนจะมีผื่นขึ้น กล่าวคือ มีไข้พบได้ร้อยละ 62 ปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ 31 ปวดหัวพบได้ร้อยละ 27 ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ร้อยละ 56 เซื่องซึมพบได้ร้อยละ 41 หลังจากนั้นจะมีโอกาสผื่นขึ้นต่อมาร้อยละ 95 ทั้งนี้อาจเกิดตุ่มในปาก อวัยวะเพศชายและหญิง ช่องคลอด หรือรูทวารหนักได้ด้วย ผู้ป่วยจะถูกแยกกักกันนานประมาณ 21 วัน หรือจนพ้นระยะเวลาแพร่เชื้อคือ ทุกรอยโรคหายไป ตกสะเก็ดและสะเก็ดหลุดจนมีผิวหนังปกติ โดยหลังจากหายป่วยแล้วควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ก็ตามเป็นเวลาหนึ่งเดือน
    ​​
    อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงส่วนใหญ่สามารถหายเองได้โดยรักษาตามอาการ เพราะยังไม่พบยาต้านไวรัสชนิดนี้ โดยแม้แต่ยา Tecovirimat ที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้รักษาฝีดาษลิงชนิดเคลด วันบี ก็ยังไม่ได้ผลในการรักษาแต่ประการใด เพราะตามประกาศของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 พบรายงานการวิจัยในมนุษย์ว่ายา Tecovirimat ไม่ได้ลดระยะผื่นของฝีดาษลิงในผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ประเทศคองโก รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ไม่ว่าจะใช้ยา Tecovirimat หรือไม่ใช้ก็ตาม
    ​​
    ประการที่สาม กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี สตรีมีครรภ์ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) ตุ่มพุพอง ตกสะเก็ด คัน แสบ สะเก็ดเงิน โดยจากข้อมูลในทวีปแอฟริกา พบว่ากลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10 กลุ่มเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง เลือด หนอง สิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง รวมถึงควรล้างมือเป็นประจำและไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น

    ประการที่สี่ สำหรับผู้มีอาชีพหรือผู้รับบริการที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ควรต้องสอบถามผู้ที่จะมาสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ว่ามีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ เช่น ปวดตามร่างกายแบบลักษณะมีไข้ หรือมีไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโต เซื่องซึม มีตุ่มหรือผื่นตามร่างกาย หากมีอาการดังกล่าวควรแนะนำให้ไปพบแพทย์

    ประการที่ห้า อาการที่เสี่ยงเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแล้ว ได้แก่ มีตุ่มแผลบริเวณเยื่อบุตา ผื่นตุ่มที่แพร่กระจายทั่วตัว หรือผื่นขึ้นแบบกระจุกตัว (Cluster) มีตกเลือดในบริเวณผื่นตุ่ม อาการไข้และอาการทางร่างกายที่หนักขึ้น รวมทั้งหายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที
    ​​
    ประการที่หก ที่ผ่านมายังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามวันที่ 24 กรกฏาคม 2565 สหภาพยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (JYNNEOS) เพื่อประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง

    ทั้งนี้ผลสำรวจงานวิจัยในวารสาร New England ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 รายงานว่าทหารอเมริกันผู้เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษชนิดเดียวกันกับที่ประเทศไทยเคยใช้ในอดีต หรือวัคซีน ACAM2000 หรือวัคซีน JYNNEOS ในปัจจุบัน ในระหว่างปี 2545 ถึง 2560 จำนวน 2.6 ล้านคนพบว่ามีโอกาสติดเชื้อฝีดาษทุกชนิดลดลง
    ​​
    สำหรับประเทศไทยผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุตั้งแต่ 44 ปีขึ้นไป น่าจะได้รับการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยทั่วไปแล้ว โดยสามารถสังเกตแผลเป็นที่บริเวณหัวไหล่ของผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งทำให้ช่วยลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิงได้ และกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแล้ว

    สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปี หรือไม่เคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนในขณะนี้ เพราะยังสามารถใช้มาตราการป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อฝีดาษลิง

    ​​เพราะตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน JYNNEOS รายงานว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 8 ต่อ10,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าการฉีดวัควัคซีนจริงปรากฏตามรายงานในวารสาร Vaccine ฉบับเผยแพร่ออนไลน์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ซึ่งรายงานว่าการฉีดวัคซีน JYNNEOS อย่างน้อย 1 เข็ม มีโอกาสได้รับผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 3.1 ต่อ 1,000 โดส อีกทั้งยังไม่เคยมีการวิจัยผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนชนิดนี้สำหรับประชากรไทยมาก่อนด้วย

    ดังนั้นผู้ที่สมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง จึงควรเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงและบุคลากรสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากที่สุด รวมทั้งผู้มีอาชีพที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนังกับผู้อื่น

    ประการที่เจ็ด สำหรับผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว ให้กักตัวเองและรักษาตามอาการ ทั้งนี้ในกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทยในการรักษาโรคระบาดที่มีผื่นหรือตุ่มตามผิวหนังนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดเจนและได้ถูกรับรองตามกฏหมายในฐานะเป็นตำรับยาและตำรายาแผนไทยของชาติในการรับมือกับโรคระบาด ได้แก่
    ​​
    พระคัมภีร์ตักกะศิลาตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีขั้นตอนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการกระทุ้งพิษไข้ด้วยยาห้าราก ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก และตำรับยาเพื่อขั้นตอนการครอบไข้ ซึ่งมีตำรับยาใน 3 ขั้นตอนนี้ รวม 7 ขนาน
    ​​
    นอกจากนี้ยังมีตำรับยาขาว ซึ่งเป็นยาขนานเดียวตามตำรายาของศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่ามีสรรพคุณรักษาโรคระบาดได้หลายชนิด อีกทั้งยังมีตำรับยาหลายขนานสำหรับรักษาโรคฝีดาษโดยเฉพาะ ตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ เล่ม 3 ของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร)

    สำหรับการแพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคตามภาวะร่างกายโดยมีพื้นฐานการขับพิษ-ขับร้อน การปรับความร้อนระดับเลือด การขับความชื้น การปรับสมดุลของม้าม กระเพาะอาหาร การบำรุงเลือดและพลัง เพื่อขับพิษและเสริมพลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรคฝีดาษลิง
    ​​
    สำหรับงานวิจัยเภสัชสมุนไพรปรากฏในวารสาร Frontiers in cellular and infection Microbiology เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ซึ่งวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางโมเลกุล พบว่า ขมิ้นชันมีปฏิกริยาต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลไกการขัดขวางยับยั้งไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรนำมาศึกษาและวิจัยการใช้ขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคฝีดาษของมนุษย์ต่อไป เพราะเป็นสมุนไพรที่มีราคาถูก เข้าถึงได้ทั่วไป คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งกลไกในหลายขั้นตอนของไวรัสอีกหลายชนิด
    ​​
    นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรเดี่ยวที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม เสลดพังพอนตัวเมีย กัญชา กัญชง ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงว่าจะมีศักยภาพและสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงต่อไปได้หรือไม่
    ​​
    อย่างไรก็ตามผู้ป่วยฝีดาษลิงที่เลือกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน สามารถขอรับคำปรึกษาและรับตำรับยากับคลินิกการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีน ทั่วประเทศ รวมถึงสหคลินิการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-6000 ต่อ 4406 หรือ 089-770-5862 อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเก็บข้อมูลติดตามผลและทำการศึกษาวิจัยผลการรักษาภายหลังต่อไป
    ​​
    จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก แต่ให้มีความตระหนักในการป้องกันและระวังตัว และเตรียมความพร้อมในการวางแผนและกำหนดมาตรการอย่างรอบด้าน รวมทั้งประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้และภูมิปัญญาที่จะสามารถรับมือกับโรคฝีดาษลิงได้อย่างแน่นอน

    ด้วยความปรารถนาดี
    วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    23 สิงหาคม 2567

    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid0v8ELDqDcnAZ2MgmuoGJU9Faxw4irDyQS7guRbaDmfwTqhy4QJCrTF8j4YHLVjGexl/?
    วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027
    แถลงการณ์วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ฉบับที่ 001/2567 เรื่อง ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ​จากสถานการณ์โรคระบาดฝีดาษลิงในต่างประเทศซึ่งมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยองค์การอนามัยโลก เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2567 ซึ่งในเวลาต่อมาอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่าได้พบผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงคนแรกในประเทศไทยแล้ว โดยผู้ติดเชื้อดังกล่าวได้เดินทางมาจากประเทศแถบทวีปแอฟริกา ข่าวดังกล่าวได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับประชาชนคนไทยโดยทั่วไป เกิดความสับสนในข่าวสารและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต จึงเห็นสมควรให้ชี้แจงกับประชาชน ให้ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนก เตรียมรับมือฝีดาษลิง ดังต่อไปนี้ ​​ประการแรก ตามรายงานในต่างประเทศซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Lancet ฉบับเผยแพร่เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 พบว่ามีผู้ป่วยส่วนใหญ่กักตัวที่บ้าน มีเพียงไม่เกินร้อยละ 13 ที่ต้องอยู่ในโรงพยาบาลเพราะต้องการแยกตัว หรือมีอาการรุนแรง โดยมีอัตราการตายน้อยกว่าร้อยละ 0.1 แต่สำหรับประเทศไทย ปรากฏเป็นข้อมูลที่เคยแถลงข่าวโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2567 รายงานว่า ประเทศไทยเคยมีผู้ป่วยฝีดาษลิงอยู่แล้วตั้งแต่กรกฏาคม 2565 ถึง 2 มิถุนายน 2567 จำนวน 794 ราย และมีผู้เสียชีวิตจากฝีดาษลิง 11 ราย คิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยในประเทศไทยอยู่เพียงร้อยละ 1.38 ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเสียชีวิตในระดับต่ำ ประการที่สอง สำหรับกรณีการกลายพันธุ์เป็นชนิด เคลด วันบี (Clade Ib ) เกิดขึ้นประมาณ กันยายน 2566 ซึ่งมีอัตราการแพร่กระจายและความรุนแรงมากขึ้น ทำให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้น โดยเท่าที่มีข้อมูลในประเทศแถบแอฟริกาพบว่า ผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่มีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 4 ซึ่งกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้แถลงข่าวเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2567 ว่ามีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงชนิด เคลด วันบี แล้ว 1 ราย ซึ่งเดินทางมาจากประเทศหนึ่งในแถบแอฟริกา ดังนั้นกรมควบคุมโรคควรมีมาตรการในการคัดกรองผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยงทั้งหมด ​​ ทั้งนี้ผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงจะมีระยะเวลาฟักตัวภายใน 21 วัน และสามารถแพร่เชื้อได้ตั้งแต่เริ่มมีอาการก่อนจะมีผื่นขึ้น กล่าวคือ มีไข้พบได้ร้อยละ 62 ปวดกล้ามเนื้อพบได้ร้อยละ 31 ปวดหัวพบได้ร้อยละ 27 ต่อมน้ำเหลืองโตพบได้ร้อยละ 56 เซื่องซึมพบได้ร้อยละ 41 หลังจากนั้นจะมีโอกาสผื่นขึ้นต่อมาร้อยละ 95 ทั้งนี้อาจเกิดตุ่มในปาก อวัยวะเพศชายและหญิง ช่องคลอด หรือรูทวารหนักได้ด้วย ผู้ป่วยจะถูกแยกกักกันนานประมาณ 21 วัน หรือจนพ้นระยะเวลาแพร่เชื้อคือ ทุกรอยโรคหายไป ตกสะเก็ดและสะเก็ดหลุดจนมีผิวหนังปกติ โดยหลังจากหายป่วยแล้วควรงดการมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่าจะใช้ถุงยางอนามัยหรือไม่ก็ตามเป็นเวลาหนึ่งเดือน ​​ อย่างไรก็ตามผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงส่วนใหญ่สามารถหายเองได้โดยรักษาตามอาการ เพราะยังไม่พบยาต้านไวรัสชนิดนี้ โดยแม้แต่ยา Tecovirimat ที่องค์การอนามัยโลกประกาศใช้รักษาฝีดาษลิงชนิดเคลด วันบี ก็ยังไม่ได้ผลในการรักษาแต่ประการใด เพราะตามประกาศของสถาบันสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2567 พบรายงานการวิจัยในมนุษย์ว่ายา Tecovirimat ไม่ได้ลดระยะผื่นของฝีดาษลิงในผู้ติดเชื้อทั้งเด็กและผู้ใหญ่ที่ประเทศคองโก รวมทั้งมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ไม่ว่าจะใช้ยา Tecovirimat หรือไม่ใช้ก็ตาม ​​ ประการที่สาม กลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงหากติดเชื้อ ได้แก่ เด็กอายุต่ำกว่า 8 ปี สตรีมีครรภ์ ผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือมีโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Eczema) ตุ่มพุพอง ตกสะเก็ด คัน แสบ สะเก็ดเงิน โดยจากข้อมูลในทวีปแอฟริกา พบว่ากลุ่มเสี่ยงอาการรุนแรงมีอัตราการเสียชีวิตประมาณร้อยละ 10 กลุ่มเหล่านี้จะต้องมีความระมัดระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะ หลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง เลือด หนอง สิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยหรือผู้ต้องสงสัยติดเชื้อฝีดาษลิง รวมถึงควรล้างมือเป็นประจำและไม่ใช้ของร่วมกับผู้อื่น ประการที่สี่ สำหรับผู้มีอาชีพหรือผู้รับบริการที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ควรต้องสอบถามผู้ที่จะมาสัมผัสแนบชิดทางผิวหนัง ว่ามีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่หรือไม่ เช่น ปวดตามร่างกายแบบลักษณะมีไข้ หรือมีไข้ ปวดหัว ต่อมน้ำเหลืองโต เซื่องซึม มีตุ่มหรือผื่นตามร่างกาย หากมีอาการดังกล่าวควรแนะนำให้ไปพบแพทย์ ประการที่ห้า อาการที่เสี่ยงเสียชีวิตหลังจากติดเชื้อแล้ว ได้แก่ มีตุ่มแผลบริเวณเยื่อบุตา ผื่นตุ่มที่แพร่กระจายทั่วตัว หรือผื่นขึ้นแบบกระจุกตัว (Cluster) มีตกเลือดในบริเวณผื่นตุ่ม อาการไข้และอาการทางร่างกายที่หนักขึ้น รวมทั้งหายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์ทันที ​​ ประการที่หก ที่ผ่านมายังไม่มีวัคซีนสำหรับการป้องกันการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามวันที่ 24 กรกฏาคม 2565 สหภาพยุโรปได้อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกันโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ (JYNNEOS) เพื่อประยุกต์ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษลิง ทั้งนี้ผลสำรวจงานวิจัยในวารสาร New England ตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 รายงานว่าทหารอเมริกันผู้เคยได้รับวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษชนิดเดียวกันกับที่ประเทศไทยเคยใช้ในอดีต หรือวัคซีน ACAM2000 หรือวัคซีน JYNNEOS ในปัจจุบัน ในระหว่างปี 2545 ถึง 2560 จำนวน 2.6 ล้านคนพบว่ามีโอกาสติดเชื้อฝีดาษทุกชนิดลดลง ​​ สำหรับประเทศไทยผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุตั้งแต่ 44 ปีขึ้นไป น่าจะได้รับการปลูกฝีป้องกันโรคฝีดาษไข้ทรพิษ (Smallpox) โดยทั่วไปแล้ว โดยสามารถสังเกตแผลเป็นที่บริเวณหัวไหล่ของผู้ที่เคยได้รับการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งทำให้ช่วยลดอัตราการติดเชื้อและความรุนแรงของโรคฝีดาษลิงได้ และกลุ่มคนเหล่านี้ไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนแล้ว สำหรับประชาชนทั่วไปที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปี หรือไม่เคยปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ยังไม่มีความจำเป็นต้องฉีดวัคซีนในขณะนี้ เพราะยังสามารถใช้มาตราการป้องกันด้วยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสแนบชิดกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ต้องสงสัยว่าติดเชื้อฝีดาษลิง ​​เพราะตามข้อมูลของบริษัทผู้ผลิตวัคซีน JYNNEOS รายงานว่าผู้ที่ฉีดวัคซีนมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 8 ต่อ10,000 ราย ซึ่งน้อยกว่าการฉีดวัควัคซีนจริงปรากฏตามรายงานในวารสาร Vaccine ฉบับเผยแพร่ออนไลน์เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566 ซึ่งรายงานว่าการฉีดวัคซีน JYNNEOS อย่างน้อย 1 เข็ม มีโอกาสได้รับผลข้างเคียงต่อหัวใจในอัตรา 3.1 ต่อ 1,000 โดส อีกทั้งยังไม่เคยมีการวิจัยผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนชนิดนี้สำหรับประชากรไทยมาก่อนด้วย ดังนั้นผู้ที่สมควรได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันฝีดาษลิง จึงควรเป็นกลุ่มประชากรที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น ได้แก่ ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงและบุคลากรสาธารณสุขที่มีความเสี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงมากที่สุด รวมทั้งผู้มีอาชีพที่ต้องมีการสัมผัสแนบชิดทางผิวหนังกับผู้อื่น ประการที่เจ็ด สำหรับผู้ที่ติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว ให้กักตัวเองและรักษาตามอาการ ทั้งนี้ในกรรมวิธีของการแพทย์แผนไทยในการรักษาโรคระบาดที่มีผื่นหรือตุ่มตามผิวหนังนั้น มีหลักฐานปรากฏชัดเจนและได้ถูกรับรองตามกฏหมายในฐานะเป็นตำรับยาและตำรายาแผนไทยของชาติในการรับมือกับโรคระบาด ได้แก่ ​​ พระคัมภีร์ตักกะศิลาตามตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งสืบทอดภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยมีขั้นตอนการรักษา 3 ขั้นตอน คือ ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการกระทุ้งพิษไข้ด้วยยาห้าราก ตำรับยาเพื่อขั้นตอนการแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก และตำรับยาเพื่อขั้นตอนการครอบไข้ ซึ่งมีตำรับยาใน 3 ขั้นตอนนี้ รวม 7 ขนาน ​​ นอกจากนี้ยังมีตำรับยาขาว ซึ่งเป็นยาขนานเดียวตามตำรายาของศิลาจารึกวัดเชตุพนวิมลมังคราราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่ามีสรรพคุณรักษาโรคระบาดได้หลายชนิด อีกทั้งยังมีตำรับยาหลายขนานสำหรับรักษาโรคฝีดาษโดยเฉพาะ ตามคัมภีร์แพทย์แผนไทยโบราณ เล่ม 3 ของขุนโสภิตบรรณลักษณ์ (อำพัน กิตติขจร) สำหรับการแพทย์แผนจีนมีหลักการรักษาโรคตามภาวะร่างกายโดยมีพื้นฐานการขับพิษ-ขับร้อน การปรับความร้อนระดับเลือด การขับความชื้น การปรับสมดุลของม้าม กระเพาะอาหาร การบำรุงเลือดและพลัง เพื่อขับพิษและเสริมพลังพื้นฐานในการต่อสู้กับโรคฝีดาษลิง ​​ สำหรับงานวิจัยเภสัชสมุนไพรปรากฏในวารสาร Frontiers in cellular and infection Microbiology เผยแพร่เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2566 ซึ่งวิเคราะห์ด้วยกระบวนการทางโมเลกุล พบว่า ขมิ้นชันมีปฏิกริยาต่อต้านไวรัสฝีดาษลิงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีกลไกการขัดขวางยับยั้งไวรัส ซึ่งถือว่าเป็นข้อมูลสำคัญที่ควรนำมาศึกษาและวิจัยการใช้ขมิ้นชันในผู้ป่วยโรคฝีดาษของมนุษย์ต่อไป เพราะเป็นสมุนไพรที่มีราคาถูก เข้าถึงได้ทั่วไป คนไทยสามารถพึ่งพาตัวเองได้ ซึ่งมีรายงานก่อนหน้านี้ว่าขมิ้นชันมีประสิทธิภาพในการยับยั้งกลไกในหลายขั้นตอนของไวรัสอีกหลายชนิด ​​ นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรเดี่ยวที่มีศักยภาพในการต้านไวรัสหลายชนิด เช่น ฟ้าทะลายโจร มะขามป้อม เสลดพังพอนตัวเมีย กัญชา กัญชง ฯลฯ ซึ่งจะต้องมีการวิจัยเพื่อแสวงหาข้อเท็จจริงว่าจะมีศักยภาพและสามารถนำไปใช้รักษาผู้ป่วยโรคฝีดาษลิงต่อไปได้หรือไม่ ​​ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยฝีดาษลิงที่เลือกกักตัวเองอยู่ที่บ้าน สามารถขอรับคำปรึกษาและรับตำรับยากับคลินิกการแพทย์แผนไทย การแพทย์แผนไทยประยุกต์ การแพทย์แผนจีน ทั่วประเทศ รวมถึงสหคลินิการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-791-6000 ต่อ 4406 หรือ 089-770-5862 อย่างไรก็ตามจะต้องมีการเก็บข้อมูลติดตามผลและทำการศึกษาวิจัยผลการรักษาภายหลังต่อไป ​​ จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยต้องตั้งสติ ไม่ตื่นตระหนก แต่ให้มีความตระหนักในการป้องกันและระวังตัว และเตรียมความพร้อมในการวางแผนและกำหนดมาตรการอย่างรอบด้าน รวมทั้งประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้และภูมิปัญญาที่จะสามารถรับมือกับโรคฝีดาษลิงได้อย่างแน่นอน ด้วยความปรารถนาดี วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 23 สิงหาคม 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/pfbid0v8ELDqDcnAZ2MgmuoGJU9Faxw4irDyQS7guRbaDmfwTqhy4QJCrTF8j4YHLVjGexl/? วิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก ม.รังสิต ออกแถลงการณ์แนะคนไทยตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกฝีดาษวานร https://mgronline.com/qol/detail/9670000078027
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 38 มุมมอง 0 รีวิว
  • #ไอเรื้อรัง #เสมหะ #ยาขาว #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #พอดีช็อป #สมุนไพรบ้านพระอาทิตย์ #สุขภาพ #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง
    #ไอเรื้อรัง #เสมหะ #ยาขาว #ปานเทพพัวพงษ์พันธ์ #พอดีช็อป #สมุนไพรบ้านพระอาทิตย์ #สุขภาพ #หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง
    Like
    Love
    6
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 586 มุมมอง 277 0 รีวิว
  • ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

    1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox)

    2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1]

    เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก

    ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย

    อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520

    ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2]

    จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4]

    ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่?

    อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3]

    เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3]

    แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3]

    คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่

    ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า

    “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน

    ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง

    ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

    สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น

    และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน)

    และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน

    เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก

    จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6]

    ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า

    ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว

    อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3]

    โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ

    ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3]

    ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3]

    การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3]

    นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว

    แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่

    โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7]

    ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก

    แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย

    ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7]

    จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย

    อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า

    “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8]

    นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้

    “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย  

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ

    2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน

    และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8]

    เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า

    “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี

    วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่

    1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ
    2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน

    ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี
    ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน

    “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9]

    อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์

    จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15]

    นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16]

    หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด

    แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้

    โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ

    อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า

    ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17]

    หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด

    ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    12 กันยายน 2567

    อ้างอิง
    [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0.

    [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017
    https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html

    [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558
    https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977

    [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center
    https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/

    [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024
    https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg

    [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903

    [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567
    https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php

    [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567
    https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577

    [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178

    [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567
    https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615

    [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798

    [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335

    [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723

    [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒

    ฉีดวัคซีนฝีดาษลิงดีหรือไม่ ในยุคไวรัสฝีมือมนุษย์? / ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ “ไข้ทรพิษ” หรือฝีดาษเป็นโรคติดต่อร้ายแรง มีลักษณะเฉพาะคือมีผื่นขึ้นตามตัว ไข้สูง ปวดศีรษะ ชัก และอาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อน มีอัตราการเสียชีวิต 30% เกิดจากเชื้อไวรัส แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ 1.ไข้ทรพิษชนิดร้ายแรง เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา เมเจอร์” (Variola major or classical smallpox) 2.ไข้ทรพิษชนิดอ่อน ซึ่งมีความรุนแรงน้อยกว่าชนิดแรก เกิดจากเชื้อ “วาริโอลา ไมเนอร์”  (Variola minor or alastrim)[1] เว็บไซต์กรมควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา ได้รายงานหลักฐานแรกสุดของโรคนี้เกิดขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราชในอียิปต์[2] และเมื่อเวลาผ่านไปก็ทยอยลุกลามไปทั่วโลก ทั้งนี้เชื้อไวรัสฝีดาษ (Variolar) นี้สามารถแพร่กระจายไปในอากาศ จากละอองสิ่งคัดหลั่งจากคนที่เป็นโรค เช่น น้ำมูก, น้ำลาย หรือจากการสัมผัสกับผิวหนังที่มีแผลฝีดาษ เชื้อนี้มีความคงทนต่อสภาพอากาศ สามารถแพร่ได้ไม่ว่าจะอากาศร้อนหรือหนาว และสามารถติดต่อจากคนไปสู่คนได้โดยง่าย อย่างไรก็ตาม การรณรงค์ฉีดวัคซีนกวาดล้างโรคฝีดาษ ตลอดศตวรรษที่ 19-20 โดยการประสานงานขององค์การอนามัยโลก เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2510-2518 ทำให้ผู้ป่วยฝีดาษทั่วโลกลดลงอย่างมาก ตามรายงานขององค์การอนามัยโลกแจ้งว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคฝีดาษรายสุดท้าย เกิดขึ้นที่ ประเทศโซมาเลีย เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2520 ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศว่า ฝีดาษถูกกวาดล้าง (eradicate) หมดไปจากโลกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523[2] จึงถือว่าเป็นโรคระบาดที่มนุษย์สามารถเอาชนะได้หลังจากใช้เวลานานกว่า 3,000 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าโรคจะถูกกวาดล้างไปแล้ว แต่เชื้อไวรัสฝีดาษยังถูกเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการและอยู่ในความดูแลอย่างเข้มงวดที่ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งชาติ (CDC) เมืองแอตแลนตา รัฐจอร์เจีย ประเทศสหรัฐอเมริกาและที่ State Research Centre of Virology and Biotechnology สหพันธ์สาธารณรัฐ รัสเซีย ซึ่งหน่วยงานทั้ง 2 แห่งในประเทศนี้ได้รับอนุญาตจาก WHA ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 ให้เป็นที่เก็บไวรัส Variola ที่มีชีวิตเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในกรณีที่อาจมีโรคฝีดาษอุบัติใหม่ขึ้นมา[3],[4] ซึ่งแปลว่าคนในโลกนี้ควรจะปลอดจากเชื้อฝีดาษไปตลอดกาลแล้ว นับตั้งแต่ปี พ.ศ.​2523 หากไม่มีการรั่วไหล หรือมีวาระซ่อนเร้นในการทำธุรกิจกับชีวิตของมนุษยชาติ จริงหรือไม่? อย่างไรก็ตาม ได้มีเหตุการณ์พบขวดทดลองที่มีลักษณะแห้งและแช่แข็งบรรจุเชื้อไข้ทรพิษจำนวน 6 ขวด เก็บอยู่ในกล่องในห้องเก็บของที่มีการควบคุมอุณหภูมิไว้ที่ 5 องศาเซลเซียส ของสถาบันเพื่อสุขภาพแห่งชาติอเมริกา (National Institutes of Health: NIH) ในสังกัดองค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ในเบเธสดา รัฐแมรีแลนด์ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา[3] เหตุการณ์ดังกล่าวสร้างความตระหนกแก่ประชาชนที่ทราบข่าว เนื่องจากความกลัวว่าจะมีการนำเชื้อไข้ทรพิษเป็นอาวุธชีวภาพ ทำให้มีการกำหนดมาตรฐานการเก็บรักษาเชื้อไวรัสไข้ทรพิษหรือฝีดาษ ว่าจะต้องถูกเก็บรักษาไว้ใน BSL-4 หรือแล็บความปลอดภัยด้านชีวภาพระดับ 4[3] แต่ห้องเก็บของที่พบกล่องบรรจุขวดเชื้อไวรัสฝีดาษไม่เข้ามาตรฐานความปลอดภัยขั้นสูง ทำให้มีการสอบสวนที่มาที่ไปของขวดตัวอย่างที่พบและนำเข้าสู่ระบบการทำลายเชื้อ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าจะไม่มีการนำไปใช้ในทางที่ผิด อันเนื่องมาจากความรุนแรงของโรคที่เคยปรากฏในอดีตที่ผ่านมา[3] คำถามที่ตามมามีอยู่ว่าในเมื่อเชื้อฝีดาษหายไปจากโลกกว่า 40 ปี และเชื้อตัวอย่างยังคงหลงเหลืออยู่เพียงแค่ห้องปฏิบัติการ 2 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา กับ รัสเซีย หากฝีดาษจะมีการกลับมาระบาดอีกครั้งในโลก ย่อมต้องถูกตั้งข้อสงสัยว่ามาจากสหรัฐอเมริกา หรือ รัสเซียกันแน่ ปรากฏในรายงานผลการสอบสวนของกรรมาธิการของวุฒิสภาในสหรัฐอเมริกาฉบับเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2567[5] พบว่าฝีดาษลิงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ อาจเป็นปัญหาที่ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นการประดิษฐ์ขึ้นโดยมนุษย์ เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567[6] นำรายงานผลการสอบสวนดังกล่าว และโพสต์ข้อความว่า “ไวรัสฝีดาษตัวใหม่ที่่ทั่วโลกกำลังตื่นตระหนก จากการประกาศขององค์การอนามัยโลกประสานกับองค์กรของสหรัฐฯ และพยายามจะให้มีการสะสมวัคซีนตลอดจนให้มีการใช้ทั่วโลก เป็นการเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือมีการประดิษฐ์มีการตรวจสอบโดยกรรมาธิการเฉพาะของวุฒิสภาสหรัฐฯ โดยกรรมาธิการดังกล่าวออกรายงาน 73 หน้า ในวันที่ 11 มิถุนายน 2024 เป็นการสอบสวนการทำวิจัยไวรัสฝีดาษลิง ที่มีความเสี่ยงสูงโดยทำให้มีความรุนแรงมากขึ้นและติดต่อได้ง่ายขึ้นระหว่างคนสู่คน ขั้นตอนติดต่อส่วนของไวรัสในกลุ่มที่สอง ไปยังกลุ่มที่หนึ่งปรากฏว่าความรุนแรงลดลง ดังนั้นเลยมีกระบวนการที่ทำโดยเอาส่วนที่หนึ่งเสียบไปยังกลุ่มที่สองจนได้ผลสำเร็จ มีความรุนแรงมากขึ้นและแพร่ได้เร็ว เกิดการระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สืบจนพบว่าเป็นการอนุมัติทุนในองค์กร NIH NIAID ของสหรัฐฯ ในปี 2015 และรายงานความสำเร็จในปี 2022 ซึ่งในขณะนั้นเอง ก่อให้เกิดความวิตกกังวลของนักวิทยาศาสตร์ทั่วไปถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้น และนำไปสู่การสืบสวนจนกระทั่งถึงผู้อนุมัติสนับสนุนงานสร้างไวรัสใหม่ คือ ดร.เฟาซี (ดร.แอนโทนี เฟาซี ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อระดับแนวหน้าของสหรัฐฯ และหัวหน้าทีมที่ปรึกษาด้านสาธารณสุขของประธานาธิบดี โจ ไบเดน) และเหตุการณ์ที่คล้องจอง คือการฝึกซ้อมรับมือผู้ก่อการร้าย โดยสมมุติว่ามีการใช้อาวุธชีวภาพ คือไวรัสฝีดาษลิงที่ตัดต่อพันธุกรรม ชื่อ Akhmeta ทั้งในปี 2021 และในปี 2022 โดยสร้างฉากทัศน์ เริ่มจากการปล่อยไวรัสจนกระทั่งมีการระบาดทั่วโลกและล้มตายไปหลายร้อยล้านคนและในขณะเดียวกันมีการตระเตรียมยาและวัคซีน เหตุการณ์ที่เกิดในปัจจุบันที่มีการติดเชื้อฝีดาษลิงในมนุษย์ที่ง่ายขึ้น เริ่มเกิดขึ้นในปี 2021 และ 2022 และทยอยแพร่ไปทั่วโลก จนองค์การอนามัยโลกประกาศเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินและผลักดันให้มีการฉีดวัคซีนทั่วโลก[6] ส่วนประเทศไทยได้ปรากฏข้อมูลที่รวมรวมโดยเว็บไซต์ Hfocus รายงานว่าการเกิดโรคฝีดาษในไทยพบหลักฐานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฎในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยาว่า ถึงขนาดว่ามีพระมหากษัตริย์ไทยสวรรคตด้วยฝีดาษ 2 พระองค์  ได้แก่ สมเด็จพระบรมราชาที่ 4 หน่อพุทธางกูร พระมหากษัตริย์ ลำดับที่ 11 ของกรุงศรีอยุธยา ทรงพระประชวรด้วยโรคไข้ทรพิษ และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2076 หรือประมาณ 491 ปีที่แล้ว อีก 72 ปีต่อมา สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้ประชวรที่เมืองหาง (เมืองห้างหลวง ในรัฐฉาน) เป็นฝีละลอกขึ้นที่พระพักตร์ กลายเป็นพิษ และสวรรคต เมื่อ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 ซึ่งตรงกับช่วงศตวรรษที่ 16 มีการระบาดครั้งใหญ่ทั่วโลก และยังมีการระบาดในพ.ศ. 2292 สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ที่ทำให้มีคนตายมาก[3] โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ ในอดีตนั้นมีความร้ายแรง เพราะยังถึงขั้นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ได้ จึงมีความแตกต่างจากโรคระบาดชนิดอื่นๆ ดังนั้นในเวลาต่อๆมา โรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษ จึงเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่ต้องมีการพัฒนาอย่างเร่งด่วน ทั้งการป้องกันการเกิดโรคระบาด จนถึงขั้นการรักษาโรค ในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการระบาดของฝีดาษเช่นกัน จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ที่ระบุว่าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการระบาดของฝีดาษอย่างหนัก ทำให้หมอบรัดเลย์ริเริ่มการปลูกฝีบำบัดโรคฝีดาษเป็นครั้งแรกในไทยในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2379 โดยใช้เชื้อหนองฝีโคที่นำเข้ามาจากอเมริกา และได้เขียนตำราชื่อ “ตำราปลูกฝีให้กันโรคธระพิศม์ไม่ให้ขึ้นได้” ปรากฏมาจนถึงทุกวันนี้[3] ในระยะ พ.ศ. 2460 – 2504 ยังมีการระบาดของฝีดาษเกิดขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2488 – 2489 ช่วงการเกิดสงครามมีการระบาดของฝีดาษครั้งใหญ่สุดเริ่มต้นจากเชลยพม่าที่ทหารญี่ปุ่นจับมาสร้างทางรถไฟสายมรณะข้ามแม่นํ้าแควป่วยเป็นไข้ทรพิษและแพร่ไปยังกลุ่มกรรมกรไทยจากภาคต่างๆที่มารับจ้างทํางานในแถบนั้น เมื่อแยกย้ายกันกลับบ้าน ได้นําโรคกลับไปแพร่ระบาดใหญ่ทั่วประเทศ มีผู้ป่วยมากถึง 62,837 คน และเสียชีวิต 15,621 คน[3] การระบาดเกิดขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2502 ทำให้มีผู้ป่วย 1,548 คน ตาย 272 คน และการระบาดครั้งสุดท้ายมีการบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2504 ที่อําเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีผู้ป่วย 34 ราย ตาย 5 ราย โดยรับเชื้อมาจากรัฐเชียงตุงของพม่า ทำให้กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกวาดล้างไข้ทรพิษหรือฝีดาษในประเทศไทย รณรงค์ปลูกฝีป้องกันโรค จนปีพ.ศ. 2523 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศว่าฝีดาษได้ถูกกวาดล้างแล้วจึงหยุดการปลูกฝีป้องกันโรค   และนับแต่นั้นมาไม่เคยปรากฏว่ามีฝีดาษเกิดขึ้นในประเทศไทย[3] นี่คือเหตุผลว่าประเทศไทยได้ทำการปลูกฝี เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ หรือไข้ทรพิษในปี พ.ศ. 2532 เป็นปีสุดท้าย หรือเมื่อประมาณ 44 ปีที่แล้ว ดังนั้นประชาชนไทยที่อายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไป ก็น่าจะได้รับการปลูกฝีไปเกือบทั้งหมดแล้ว แต่เมื่อฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่าประเทศไทยจะรับมืออย่างไร และเราควรจะฉีดวัคซีนหรือไม่? และคนที่มีอายุเกิน 44 ปี (ซึ่งส่วนใหญ่ได้ปลูกฝีไข้ทรพิษมาแล้ว)จะมีคนติดเชื้อโรคฝีดาษลิงหรือไม่ โดยวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567 เว็บไซต์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานสถานการณ์ฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง)จนถึงปัจจุบันว่า มีผู้ป่วยฝีดาษลิงในประเทศไทย จำนวน 835 ราย เป็นเพศชายเกือบทั้งหมดมากถึง 814 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.49 ในขณะที่เป็นเพศหญิง 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 2.51 เท่านั้น[7] ซึ่งถือว่าโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงในผู้หญิงน้อยมาก แต่ที่น่าสนใจคือ กลุ่มคนวัยหนุ่ม โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ป่วยเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง เอชไอวี อย่างไรก็ตามกลุ่มคนที่เคยปลูกฝีไข้ทรพิษแล้วยังสามารถติดเชื้อฝีดาษลิงได้อยู่ดีแต่น้อยกว่าคนที่ไม่ได้ปลูกฝี ดังนี้ ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 0-14 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 2 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.36 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมด ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 15-19 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 3 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.24 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 20-24 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 81 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 25-29 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 172 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.59 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 30-39 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 347 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 41.56 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 40-49 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 174 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.83 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ในกลุ่มนี้หากพิจารณาแยกแยะผู้ที่มีอายุ 40-44 ปี ซึ่งไม่เคยได้รับการปลูกฝีมาก่อนมีจำนวน 130 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 15.65 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุมากกว่า 45-49 ที่เชื่อว่าน่าจะได้รับการปลูกฝีแล้วติดเชื้อฝีดาษลิงแล้ว 44 ราย คิดเป็นเพียงร้อยละ 5.27 เท่านั้น ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 50-59 ปี ติดเชื้อฝีดาษลิง 29 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.47 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย ผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ติดเชื้อฝีดาษลิง 8 ราย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.95 ของผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งหมดในประเทศไทย[7] จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ในประเทศไทยผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปีขึ้นไปซึ่งน่าจะมีการปลูกฝีไข้ทรพิษไปแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อฝีดาษลิงได้ เพียงแต่มีสัดส่วนน้อยกว่าประชากรที่ยังไม่เคยได้รับการปลูกฝี คือ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 44 ปีลงมา มีผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงจำนวน 754 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.30 ในขณะที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้น (ซึ่งส่วนใหญ่หรือเกือบทั้งหมดได้รับการปลูกฝีไปแล้ว)มีผู้ป่วยติดเชื้อฝีดาษลิงทั้งสิ้น 81 รายคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.70 ราย อย่างไรก็ตามในภาวะดังกล่าว มีคำแถลงจากนายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความเห็นเอาไว้เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2567 ความว่า “โดยจริงๆ วัคซีนไม่จำเป็นต้องฉีดทุกคน ไม่มีการระบาดทั่วไป เพราะอัตราการระบาดต่ำ แต่จะพบในผู้ป่วยเฉพาะ เช่น ผู้ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้ง ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวี และไม่ทานยาทั้งหมด 13 รายที่ผ่านมา (เชื้อเคลด2)”[8] นายแพทย์ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ยังได้ “คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า เพื่อเป็นการควบคุมโรค แต่เนื่องจากวัคซีนป้องกันฝีดาษวานรยังไม่ได้มีการขึ้นทะเบียนในประเทศไทย ทางกรมควบคุมโรคจึงใช้ มาตรา 13(5) เพื่อการควบคุมโรค ตาม พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510  จะมีการใช้งบประมาณ กรมควบคุมโรค วงเงิน 21 ล้านบาท เพื่อการจัดซื้อวัคซีนดังกล่าว รวม 3,000 โดส  เพื่อฉีดให้กับกลุ่มเสี่ยง  3 กลุ่ม ประกอบด้วย   1. บุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงต่อการติดโรค อาทิ ไปสัมผัสเสี่ยงสูง คือ สัมผัสคนติดเชื้อ 2. กลุ่มไปสัมผัสโรค เสี่ยงว่าจะติดเชื้อ ก็จะฉีดภายใน 4 วัน และ3. มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดคนติดเชื้อ เช่น คนในครอบครัวที่ติดเชื้อ ซึ่ง 3 กลุ่มเสี่ยงนี้ กรมควบคุมโรคจะดูแลโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย“[8] เรื่องดังกล่าวนี้ทำให้ศาสตราจารย์นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ที่ปรึกษาวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิตให้ความเห็น เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567 ในเรื่องความพยายามกระพือข่าวให้กลัวเพื่อให้เกิดการระดมฉีดวัคซีน ความว่า “กรมควบคุมโรคประกาศแล้ว ฝีดาษลิงอัตราการระบาดต่ำ ทั้งประเทศมีประมาณ 800 ราย และที่เสียชีวิตนั้น เพราะมีติดเชื้อไวรัสเอดส์ และโรคทางเพศสัมพันธ์อื่น การติดตามของกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ผู้ติดเชื้อปลอดภัยดี วัคซีนขณะนี้ “ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียน” และกระทรวงสาธารณสุข จะจัดการให้ฉีดฟรีใน “กลุ่มเสี่ยง” เท่านั้น ได้แก่ 1. บุคลากรทางการแพทย์ที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ 2. คนที่สัมผัสกับผู้ติดเชื้อโดยต้องฉีดภายใน 4 วัน ทั้งสองกลุ่มนี้ฟรี ส่วนกลุ่มที่ต้องเดินทางในพื้นที่เสี่ยงนั้น การฉีดนั้นต้องจ่ายเงิน “กลุ่มที่กระพือข่าวให้น่ากลัว โดยไม่ยึดความจริง และอาจทำให้นำไปสู่การค้าวัคซีน ควรต้องจับตามองอย่างเข้มข้น””[9] อย่างไรก็ตามแม้ว่าฝีดาษลิงจะเป็นเชื้อที่ยังติดได้ยาก ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเฉพาะคือ ขายบริการทางเพศ และชายรักชาย อีกทั้งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเอชไอวีที่ไม่ทานยาทั้งหมด ส่วนการติดนั้นต้องอาศัยการสัมผัสผิวใกล้ชิด อัตราการเสียชีวิตอยู่ในระดับต่ำ คนส่วนใหญ่จึงยังไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนแต่ประการใด อย่างไรก็ตามเนื่องจากโรคฝีดาษที่กลับมาระบาดอีกครั้งในรอบ 44 ปี ทำให้ความรู้ในการรักษาผู้ป่วยขาดตอนไป คงเหลือแต่การค้นคว้ากรรมวิธีการรักษาในประวัติศาสตร์ของคนไทยว่าใช้วิธีการรักษาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นที่แน่ชัดแล้วว่า “โรคฝีดาษ” เป็นโรคที่มีความจำเพาะ ถึงขนาดทำให้พระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาเสด็จสวรรคตถึง 2 พระองค์ จึงปรากฏเรื่องของตำรับยาและสมุนไพรที่เกี่ยวกับการรักษา “โรคฝีดาษ” แยกออกมาต่างหากจากโรคระบาดอื่นๆ บันทึกปรากฏอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 2 ของจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร[10]-[12] และอยู่ในแผ่นศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[10],[13]-[15] นอกจากนั้น โรคฝีดาษไม่ใช่เป็นโรคระบาดอื่นๆที่ใช้ “ยาขาว”ที่ใช้กับโรคระบาดหลายชนิดในตำรับยาเดียว ที่ปรากฏในศิลาจารึกในสมัยรัชกาลที่ 3 ในแผ่นศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามอีกด้วย[16] หลักฐานที่ว่า “โรคฝีดาษ” ไม่ใช่โรคระบาดทั่วไปนั้น จะเห็นได้จากพระคัมภีร์ตักกะศิลาที่บันทึกภูมิปัญญามาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 และบันทึกมาโดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่ตกทอดมาถึงตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ไม่พบการกล่าวถึงคำว่า “ฝีดาษ” แต่ประการใด แต่ในที่สุดก็ได้พบตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ระบุคัมภีร์ชื่อ “พระตำหรับแผนฝีดาษ” บันทึกในสมุดไทย มีรายละเอียดจำนวนมากเกี่ยวกับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะ และมีจำนวนมากถึง 3 เล่ม จนไม่สามารถที่จะถ่ายทอดมาให้อ่านในหมดในบทความนี้ โดย “พระตำหรับแผนฝีดาษ” ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น มีการกล่าวถึงลักษณะของฝีแต่ละชนิด และจุดที่เกิดฝีว่าบริเวณใดเป็นแล้วไม่เสียชีวิต รวมถึงบริเวณใดจะทำให้เสียชีวิตภายในกี่วัน จึงได้มีการแบ่งแยกวิธีการรักษาอย่างละเอียดยิบ อย่างไรก็ตามก็มีวาง “หลักการ“ ถึงวิธีการรักษาโรคฝีดาษปรากฏอยู่ใน ”พระตำหรับแผนฝีดาษ เล่ม 2“ ที่ระบุความตอนหนึ่งว่า ”๏ สิทธิการิยะ พระตำราประสะฝีดาษทั้งปวง ถ้าแพทย์ผู้ใดจะรักษาฝีดาษ ถ้าเห็นศีศะรู้ว่าเปนฝีดาษแน่แล้ว ให้กินยาล้อมตับดับพิศม์และให้กินยารุเสีย แลกินยาแปรภายใน พ่นยาแปรภายนอกแลกินยากะทุ้ง…“[17] หลังจากนั้นพอวันเวลาเปลี่ยนไปก็มีตำรับยาเฉพาะที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆจนรักษาฝีดาษจนหายในที่สุด ซึ่งในโอกาสอันสมควรก็น่าจะมีการรื้อฟื้น ศึกษา พระตำหรับแผนฝีดาษ สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วทำการวิจัย พัฒนา เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับโรคฝีดาษในยุคปัจจุบันต่อไป ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 12 กันยายน 2567 อ้างอิง [1] Ryan KJ, Ray CG, บ.ก. (2004). Sherris Medical Microbiology (4th ed.). McGraw Hill. pp. 525–28. ISBN 978-0-8385-8529-0. [2] CDC, History of Smallpox, 25 July 2017 https://www.cdc.gov/smallpox/history/history.html [3] Hfocus, โรคระบาดร้ายแรงในอดีต ตอนที่ 3 โรคไข้ทรพิษ (ฝีดาษ), วันที่ 26 สิงหาคม 2558 https://www.hfocus.org/content/2014/08/7977 [4] World Health Organization, Small Pox, Media Center https://web.archive.org/web/20070921235036/http://www.who.int/mediacentre/factsheets/smallpox/en/ [5] U.S. House of Representatives, Interim Staff Report on Investigation into Risky MPXV Experiment at the National Institute of Allergy and Infectious Diseases, June 14 2024 https://d1dth6e84htgma.cloudfront.net/Mpox_Memo_Rpt_correction_18e95e3204.pdf?utm_source=substack&utm_medium=email&fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTAAAR0YlqstCXKzOUttRicgqQ6lG00dtMnZ_9pFf4FqtlBbSAyw5uR-tGR6QIM_aem_ZXPXy1XgTiGCTixSJJ-aFg [6] ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, “หมอธีระวัฒน์” เปิดผลสอบสวน “ฝีดาษลิง” ธรรมชาติสร้างหรือมนุษย์ประดิษฐ์, ผู้จัดการออนไลน์, 6 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082903 [7] กรมควบคุมโรค, รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อฝีดาษวานร (Mpox), 12 กันยายน 2567 https://ddc.moph.go.th/monkeypox/dashboard.php [8] Hfocus, กรมควบคุมโรค ทุ่มงบ 21 ล้านบาท จัดหา “วัคซีนฝีดาษวานร” 3 พันโดสให้เฉพาะ 3 กลุ่มเสี่ยง, 6 กันยายน 2567 https://www.hfocus.org/content/2024/09/31577 [9] ผู้จัดการออนไลน์, “หมอธีระวัฒน์” แนะจับตาพวกกระพือข่าวให้ตื่นกลัวฝีดาษลิง หวังค้าวัคซีน หลังกรมควบคุมโรคยืนยันแล้วอัตราระบาดต่ำ, 7 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000083178 [10] ผู้จัดการออนไลน์, “ปานเทพ” เผยตำรับยาแก้ “ฝีดาษ” ในศิลาจารึก แนะวิจัยสมุนไพรไทยต่อยอดไว้สู้ “ฝีดาษลิง”, เผยแพร่: 5 กันยายน 2567 https://mgronline.com/qol/detail/9670000082615 [11] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/14798 [12] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscript.../inscribe/image_detail/16335 [13] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/.../file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [14] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/.../7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [15] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723 [16] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [17] คณะกรรมการอำนวยการจัดงานเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๒, ตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวง รัชกาลที่ ๕ เล่ม ๒
    Like
    Love
    Yay
    148
    3 ความคิดเห็น 5 การแบ่งปัน 4222 มุมมอง 3 รีวิว
  • ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์

    สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ

    ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก

    ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก

    ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1]

    ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน

    ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว”

    ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2]

    ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า

    “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2]

    แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า

    ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า

    “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3]

    ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า

    “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4]

    ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า

    “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4]

    แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523

    การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย

    โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน

    ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย

    โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร

    เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5]

    นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น

    อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา

    ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ

    ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่

    เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร

    โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น

    และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย

    โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้

    “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚

    ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚

    ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚

    ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚

    ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6]

    ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า

    ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6]

    นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า

    “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7]

    แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า

    “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8]

    อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8]

    ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9]

    นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า

    “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10]

    นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ

    ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท

    ด้วยความปรารถนาดี
    ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต
    5 กันยายน 2567
    https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/?

    อ้างอิง
    [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152
    https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094

    [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔

    [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694

    [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37

    [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย
    https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf

    [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567)
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798

    [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335

    [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf

    [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564
    https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf

    [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567
    https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    ตำรับยารักษา “โรคฝีดาษ” จากศิลาจารึก/ ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ สำหรับตำรับยาโรคระบาดในประเทศไทยนั้น ได้ยึดถึอเอาพระคัมภีร์ตักกะศิลาเป็นกระบวนการรักษาโรค โดยแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน กล่าวคือ ขั้นตอนแรก ตำรับยาสำหรับกระทุ้งพิษไข้ โดยใช้ตำรับยาห้าราก ขั้นตอนที่สอง ตำรับยาสำหรับแปรไข้ภายในและรักษาผิวภายนอก มีตำรับยา 5 ขนาน คือ ตำรับยาประสระผิว ตำรับยาพ่นผิวภายนอก ตำรับยาพ่นและยากิน และตำรับยาแปรไข้จากร้ายให้เป็นดี และตำรับยาพ่นแปรผิวภายนอก ขั้นตอนสุดท้าย ตำรับยาครอบไข้[1] ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้นอยู่ในตำรายาหลวง ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ สมัยรัชกาลที่ 5 โดยในตำราดังกล่าวได้กล่าวถึงพระคัมภีร์ฉันทศาสตร์ ซึ่งประพันธ์โดยเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ตั้งแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นภูมิปัญญาที่ตกทอดมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และยังเป็นตำราสำหรับการเรียนการแพทย์แผนไทยและการแพทย์แผนไทยประยุกต์มาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้ทรงมีพระบรมราโชบายให้มีตำรายาจารึกเอาไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามผนังและเสาของวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) พระราชทานเป็นมรดกให้กับประชาชนชาวสยามสืบไปตราบนานเท่านาน รวมถึงวิวัฒนาการที่ลดทอนยา 7 ขนาน 3 ขั้นตอน มาเหลือ “ตำรับยาเดียว” ในการรับมือโรคระบาดหลายชนิดด้วย ซึ่งปัจจุบันคนในวงการแพทย์แผนไทยเรียกว่า “ยาขาว” ตำรับยาขาวของวัดโพธิ์นี้ได้ระบุเอาไว้ในตำราว่าแผ่นศิลาแผ่นนี้ได้ถูกรื้อออกมาจากศาลาต่างๆ แต่โชคดีได้บันทึกตำรับยาสำคัญนี้เอาไว้ในตำรายาของวัดโพธิ์ จึงทำให้สามารถตกทอดมาได้จนถึงทุกวันนี้ โดยตำรายาวัดเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ฉบับเก่า 51 ปีที่แล้ว คือ พ.ศ. 2516 ได้บันทึกตำรับยานี้เอาไว้อยู่ที่หน้า 62-64[2] ตำรับยาขนานนี้ได้บรรยายสรรพคุณว่า เพียงตำรับยาเดียวสามารถ “แก้สรรพไข้จากโรคระบาด” โดยตำรายาศิลาจารึกบันทึกว่าตำรับยานี้ใช้สมุนไพร 15 ตัวและมีสรรพคุณแก้สรรพไข้จากโรคระบาดหลายชนิด โดยระบุในบันทึกของแผ่นศิลาความตอนนี้ว่า “ขนาน 1 เอา กระเช้าผีมด หัวคล้า รากทองพันชั่ง รากชา รากง้วนหมู รากส้มเส็ด รากข้าวไหม้ รากจิงจ้อ รากสวาด รากสะแก รากมะนาว รากหญ้านาง รากฟักข้าว รากผักสาบ รากผักหวานบ้าน เอาเสมอภาคทำเปนจุณ บดทำแท่ง ไว้ละลายน้ำซาวข้าวกินแก้ไข้รากสาด ออกดำ แดง ขาว และแก้ไข้ประกายดาษ ไข้หงษ์ระทด และแก้ไข้ไฟเดือนห้า ไข้ละอองไฟฟ้า และแก้ไข้มหาเมฆ มหานิล ซึ่งกล่าวมาแล้วนั้น และยาขนานนี้แก้ได้ทุกประการ ตามอาจารย์กล่าวไว้ ให้แพทย์ทั้งหลายรู้ว่าเปน มหาวิเศษนัก“[2] แม้ในความจริงแล้วจะมีขั้นตอนและวิวัฒนาการในการรักษาโรคระบาดหลายชนิดในภาพรวม แต่ภายใต้พระคัมภีร์ตักกะศิลา ได้วางหลักถึง “รสยา” สำหรับรับมือโรคระบาดว่ามีข้อห้ามและสิ่งที่ควรจะลองดูในเวลาติดเชื้ออันจากเกิดโรคระบาดเอาไว้ความว่า ห้ามใช้ยาหรือการกระทำที่มีรสกระตุ้นธาตุไฟหรือระบบความร้อน (ปิตตะ) แต่ให้ยาที่มีลดธาตุไฟหรือระบบความร้อน หากไม่ฟังตามนี้อาจจะถึงแก่ความตายได้ ความว่า “ไข้จำพวกนี้ย่อมห้ามมิให้วางยาร้อนเผ็ดเปรี้ยว อย่าให้ประคบนวด อย่าปล่อยปลิง อย่าให้กอกเอาโลหิตออก อย่าให้ถูกน้ำมัน เหล้าก็อย่าให้ถูก น้ำร้อนก็อย่าให้อาบ อย่าให้กิน ส้มมีควันมีผิวกะทิน้ำมันห้ามิให้กิน ถ้าใครไม่รู้ทำผิดดังกล่าวมานี้ ก็ถึงความตายดังนี้แล”[3] ต่อมาเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ได้เรียบเรียงเอาไว้ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในเรื่อง “ว่าด้วยคัมภีร์ตักกะศิลา” ว่าช่วงเวลาที่มีกำเดาหรือเปลวแห่งความร้อนนี้ ไม่ว่าจะวัดว่ามีไข้จากภายนอก หรือรู้สึกครั่นเนื้อตัวอยู่ภายใน ปวดเมื่อยเนื้อตัว หรือมีผื่นขึ้น จะไม่ใช้ยารสร้อน ห้ามเหล้า น้ำมัน กอกเลือด นวด หรือปล่อยปลิงเพื่อเอาเลือดออก หากไม่ฟังให้ยาหรือการดำเนินการเช่นดังกล่าวนี้ อาจแก้กันไม่ทัน ความว่า “ถ้าแรกล้มไข้ ท่านมากล่าวไว้ ให้พิจารณา ภายนอกภายใน ให้ร้อนหนักหนา เมื่อยขบกายา ตาแดงเป็นสาย บ้างเย็นบ้างร้อน เปนบั้นเป็นท่อน ไปทั่วทั้งกาย ขึ้นมาให้เห็น เปนวงเปนสาย เปนริ้วยาวรี ลางบางไม่ขึ้น เปนวงฟกลื่น กายหมดดิบดี หมอมักว่าเปนสันนิบาติก็มี ให้ยาผิดที แก้กันไม่ทัน อย่าเพ่อกินยา ร้อนแรงแขงกล้า ส้มเหล้าน้ำมัน เอาโลหิตออก กอกเลือดนวดฟั้น ปล่อยปลิงมิทัน แก้กันเลยนา” [4] ด้วยประสบการณ์ของเจ้าพระยาวิชยาธิบดี (กล่อม) เจ้าเมืองจันทบูร ที่เกิดมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ จึงได้รวบยอดสรุปถ่ายทอดมาเป็นความรู้ว่า ในยามที่ยังต้องถกเถียงกันว่าโรคระบาดที่ทำให้เกิดคนตายมากเป็นโรคประเภทใดกันแน่ ในยามที่ยังไม่แน่ใจหรือไม่รู้จึงให้ใช้รสยาแรกไปในทางรสขม เย็นอย่างยิ่ง หรือฝาดจืด ซึ่งเป็นรสยาที่ไม่มีธาตุไฟมาปน ดังความว่า “ถ้ายังไม่รู้ให้แก้กันดู แต่พรรณฝูงยา เย็นเปนอย่างยิ่ง ขมจริงโอชา ฝาดจืดพืชน์ยา ตามอาจารย์สอน”[4] แต่ถึงแม้จะมีหลักการและขั้นตอนต่างๆในการวางรสยาเพื่อรับมือกับโรคระบาด แต่เนื่องจากโรคฝีดาษและไข้ทรพิษนั้น อาจมีลักษณะจำเพาะที่มีการระบาดมาตั้งแต่สมัยอยุธยาจนกว่าจะได้หมดสิ้นจากประเทศไทยได้นั้นต้องใช้เวลาหลายร้อยปีจนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปี พ.ศ. 2523 การเอาชนะโรคฝีดาษหรือไข้ทรพิษ นอกจากการรับมือกับโรคระบาดในเรื่องตำรับยาต่างๆแล้ว ความรู้เรื่องการปลูกฝีตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง เพราะได้เป็นรากฐานที่ทำให้ประเทศไทยสามารถเอาชนะโรคฝีดาษได้ด้วย โดยในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการตราพระราชบัญญัติจัดการปลูกฝีไข้ทรพิษ และพระราชบัญญัติระงับโรคระบาทว์ พ.ศ.​2456 ซึ่งเป็นครั้งแรกที่บังคับใช้กฎหมายควบคุมโรคแก่ประชาชน ต่อมาในปี 2504 กระทรวงสาธารณสุขเริ่มโครงการกำจัดไข้ทรพิษครั้งแรกในประเทศไทย โดยตั้งเป้า 3 ปี (พ.ศ.2504-2506) คือคนไทยอย่างน้อย 80% ต้องได้รับการปลูกฝี ภายหลังขยายเวลาเป็น 5 ปี (พ.ศ.2504-2508) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระดมการปลูกฝีทั่วประเทศไทย โดยประเทศไทยได้พบผู้ป่วยโรคฝีดาษรายสุดท้ายในปี พ.ศ. 2505 เป็นแขกชื่อ ยาริดาเนา ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลบำราศนราดูร เมื่อสิ้นสุดโครงการการระดมปลูกฝี ถึงปี พ.ศ. 2508 ก็เป็นผลทำให้ฝีดาษหรือไข้ทรพิษหายไปจากประเทศไทยติดต่อกันถึง 3 ปีติดต่อกันแล้ว จนกระทั่งวันที่ 8 พฤษภาคม 2523 องค์การอนามัยโลก ได้ประกาศรับรองว่าฝีดาษหรือไข้ทรพิษได้สูญพันธุ์ไปจากโลกแล้ว[5] นี่คือเหตุผลว่าผู้ที่เกิดก่อนปี 2523 หรืออายุมากกว่า 44 ปีขึ้นไปส่วนใหญ่น่าจะได้รับการปลูกฝีแล้ว(โดยดูได้จากแผลเป็นบนหัวไหล่) แต่ถึงกระนั้นก็ยังพบผู้ที่มีอายุมากกว่า 44 ปีติดโรคฝีดาษลิงได้ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคเอดส์เป็นต้น อย่างไรก็ตามเนื่องจากฝีดาษที่ได้สูญพันธุ์ไปตั้งแต่ปี 2523 หรือเป็นเวลา 44 ปี ทำให้ภูมิปัญญาที่เคยรับมือในการรักษาโรคฝีดาษขาดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะขั้นตอนการรับมือด้วยสมุนไพร ตำรับยาไทย และกรรมวิธีต่างๆในการรักษา ดังนั้นความรู้ที่ว่าคนไทยควรจะรับมือในการรักษาโรคฝีดาษลิงอย่างไร ส่วนใหญ่ก็จะอ้างอิงไปตามพระคัมภีร์ตักกะศิลาในการใช้ยา 3 ขั้นตอนด้วยยา 7 ขนาน หรือยาขาวตามตำรับยาของวัดศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) บ้าง แต่ก็ไม่ใช่กล่าวถึงโรคฝีดาษ หรือฝีดาษลิงเป็นการเฉพาะ ทำให้หลายคนสงสัยว่าในเมื่อโรคฝีดาษ เป็นโรคที่ประเทศไทยเคยมีประสบการณ์ในการเกิดโรคระบาดมาหลายร้อยปี ควรจะต้องมี “ตำรับยา“ สำหรับโรคฝีดาษเป็นการเฉพาะหรือไม่ เมื่อทบทวนข้อมูลตามตำราและคัมภีร์ทั้งหมดพบ ”การรักษาโรคฝีดาษ“ เป็นการเฉพาะจารึกเป็นตำรายาที่ปรากฏในแผ่นศิลาของวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร โดย ศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร เป็นมรดกที่แสดงถึงภูมิปัญญาของแพทย์แผนโบราณในสมัยรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3 ที่จารึกยาขนานต่างๆ ลักษณะของแผ่นศิลาจารึกเป็นหินอ่อนสีเทา สี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้างด้านละ 33 เซนติเมตร จัดเรียงบรรทัดในมุมแหลม จำนวน 17 บรรทัด เหมือนกันทุกแผ่น ติดตามผนังด้านนอกของระเบียงพระวิหารพระพุทธไสยาสน์ 42 แผ่น และผนังศาลารายหน้าพระอุโบสถวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร 8 แผ่น เชื่อว่าในอดีตมีแผ่นศิลาจารึก 92 แผ่น แต่ปัจจุบันเหลือเพียง 50 แผ่น และนับว่าเป็นความโชคดีของคนไทย เพราะแผ่นศิลาที่กล่าวถึงการรักษาโรคฝีดาษ ยังไม่สูญหายและข้อความที่ปรากฏก็ยังไม่เลือนหายไปด้วย จึงนับว่าเป็นบุญของประเทศที่มีภูมิปัญญาและมีคุณค่ายิ่งในสถานการณ์ที่โรคฝีดาษลิงกลับมาเริ่มระบาดในบางประเทศ และเริ่มเข้ามาในประเทศไทย โดยแผ่นศิลาที่กล่าวถึงฝีดาษนั้น เป็นแผนที่ 18 ของศิลาจารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร ปรากฏข้อความดังนี้ “๏ สิทธิการิยะ จะกล่าวฝีดาษเกิดในเดือน 11 เดือน 12 เดือน 1 ทั้ง 3 เดือนนี้ เกิดเพื่ออาโปธาตุ มักให้เย็นในอกแลมักตกมูกตกเลือด ให้เสียแม่แสลงพ่อแสลง นุ่งขาวห่มขาว แล้วทำบัตรไปส่งทิศอุดรแลอีสาร จึ่งจะดี๚ ถ้าจะแก้ให้เอาใบมะอึก ใบผักบุ้งร้วม ใบผักบุ้งขัน ใบก้างปลาทั้งสอง ใบพุงดา ใบผักขวง ใบหมาก ใบทองพันชั่ง เอาเสมอภาคตำเอาน้ำพ่น ดับฝี เพื่อเสมหะหาย ๚ ขนานหนึ่ง เอากะทิมะพร้าว น้ำคาวปลาไหล ไข่เป็ดลูกหนึ่ง มูลโคดำ แก่นประดู่ เอาเสมอภาคบด พ่นฝีเพื่อเสมหะที่ด้านอยู่นั้นขึ้นแลแปรฝีร้ายให้เป็นดี ๚ ขนานหนึ่ง เอาน้ำลูกตำลึง น้ำมันงา น้ำมันหัวกุ้ง น้ำรากถั่วพู เอาเสมอภาค พ่นฝีเพื่อเสมหะให้ยอดขึ้น หนองงามดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาเห็ดมูลโค ว่านกีบแรด ว่านร่อนทอง สังกรณี ชะเอม ลูกประคำดีควาย หวายตะค้า เขากวางเผา กระดูกเสือเผา มะกล่ำเครือ ขันฑสกร มะขามเปียก เอาเสมอภาคบดทคำเป็นจุณ บดด้วยน้ำมะนาวทำแท่งไว้ละลายสุรา ดีงูเหลือม รำหัด กินแก้คอแหบแห้ง แก้คอเครือ หายดีนัก๚ ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚[6] ในตำรับยาขนานต่างๆข้างต้นนั้น เป็นยาพ่นภายนอกเสียส่วนใหญ่ ตำรับยาเพื่อการรับประทานที่พอาจะหาได้โดยไม่ต้องอาศัยสัตว์วัตถุคือตำรับยาขนานสุดท้ายที่น่าจะนำไปวิจัยต่อที่ว่า ”ขนานหนึ่ง เอาใบหิ่งหาย ใบโหระพา ใบผักคราด ใบมะนาว พันงูแดง เอาเสมอภาค บดทำแท่งไว้ละลายสุรากิน แก้พิษฝี เพื่อเสมหะให้คลั่งให้สลบไปก็ดี หายวิเศษแล๚“ [6] นอกจากนั้นจากจารึกวัดราชโอรสราชวรมหาวิหารยังปรากฏในแผ่นที่ 46 ทำให้เห็นว่ายังมีตำรับยาอีกขนานหนึ่งสำหรับโรคฝีดาษที่เป็นไข้หนักเข้าขั้นไข้สันนิบาตแล้วโดยใช้ ”ยาผายเลือด“ ความว่า “๏ สิทธิการิยะ ยาผายเลือดเอารากขี้กาแดง 1 เบญจาขี้เหล็ก ใบมะกา ใบมะขาม ใบส้มป่อย หญ้าไซ ลูกคัดเค้า ต้มให้งวดแล้วกรอง เอาน้ำขยำใส่ลงอีกเคี่ยวให้ข้น ปรุงยาดำ 1 สลึง 1 เฟื้อง ดีเกลือ 1 บาท กินประจุเลือดร้ายทั้งปวง แก้ไขสันนิบาตฝีดาษด้วย๚“[7] แต่สำหรับศิลาจารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ก็ได้กล่าวถึงโรคฝีดาษที่มีรายละเอียดในบางอาการเพิ่มเติมอีก เช่น อาการฝีดาษขึ้นตา ปรากฏในศิลาจารึกว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวงแผ่นที่ 22 ความว่า “ยาชื่อ สังขรัศมี เอาชะมดสด พิมเสน สิ่งละส่วน ลิ้นทะเลแช่น้ำมะนาวไว้ยังรุ่งแล้วล้างเสีย จึงเอามาแช่น้ำท่าไว้แต่เช้าถึงเที่ยง แล้วเอาตากให้แห้ง 3 ส่วน รากช้าแป้น ดินถนำสุทธิ สังข์สุทธิ สิ่งละ 4 ส่วน ทำเป็นจุณบดทำแท่งไว้ ฝนป้ายจักษุแก้สรรพต้อให้ปวดเคืองต่างๆ แก้ฝีดาษขึ้นจักษุก็ได้หายวิเศษนักฯ”[8] อย่างไรก็ตามการบันทึกในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ในสมัยรัชกาลที่ 3 ยังให้เบาะแสเกี่ยวกับ “สมุนไพรเดี่ยว” ที่เป็นเบาะแสว่าอาจจะมีสรรพคุณในการลดฝีดาษได้ ได้แก่ ข่าลิง บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี ฯลฯ[8] ดังปรากฏตัวอย่างในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศและสมุนไพรแผ่นที่ 7 ที่กล่าวถึง “ต้นข่าลิง”แก้พิษฝีดาษ ความว่า “อันว่าคุณแห่งข่าลิงนั้น ต้นรู้แก้พิษฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต รู้แก้ฝีกาฬ อันบังเกิดเพื่อฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษไข้เหนือสันนิบาตฯ”[9] นอกจากนั้นยังปรากฏในศิลาจารึกวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)ในสมัยรัชกาลที่ 3 ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 ซึ่งกล่าวถึง “บอระเพ็ด” และ “ชิงช้าชาลี” ความว่า “อันว่าคุณแห่งบอระเพ็ดและชิงช้าชาลีนั้นคุณดุจกัน ต้นรู้แก้ฝีดาษ และรู้แก้ไข้เหนืออันบังเกิดโลหิต รู้แก้ฝีกาฬอันบังเกิดฝีดาษ รู้แก้ไข้ตรีโทษ รู้กระทำให้เกิดกำลัง รู้กระทำเพลิงธาตุให้บริบูรณ์ รู้แก้กระหายน้ำ อันเป็นเพื่อโลหิตและลม รู้แก้สะอึก แก้สมุฏฐานกำเริบ ใบรู้ฆ่าพยาธิ์คือมะเร็ง ดอกรู้ฆ่าพยาธิ์ในอุทรและในฟันในหูให้ตก ผลรู้แก้เสมหะอันเป็นพิษ รากรู้แก้โลหิตอันเป็นพิษเพื่อไข้สันนิบาตฯ”[10] นอกจากนั้นสมุนไพรที่มีการวิจัยที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสหลายชนิดในยุคปัจจุบัน ก็ควรจะนำมาสู่การวิจัยกับฝีดาษลิงต่อไป เช่น ขมิ้นชัน ฟ้าทะลายโจร ใบสะเดา กัญชา กัญชง ฝีหมอบ เสลดพังพอนตัวเมีย ฯลฯ ดังนั้นการกลับมาของโรคฝีดาษลิง จึงควรให้ความสำคัญกับภูมิปัญญาในการรักษาที่มีมาแต่ในอดีตรวมถึงความรู้จากการวิจัยในสมุนไพรต่างๆที่มีมากขึ้น ซึ่งควรจะนำมาวิจัยกับไวรัสฝีดาษลิงเอาไว้ล่วงหน้าเพื่อเตรียมประยุกต์ให้เหมาะสมใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันและต่อไปในกาลข้างหน้าด้วยความไม่ประมาท ด้วยความปรารถนาดี ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีวิทยาลัยการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต 5 กันยายน 2567 https://www.facebook.com/100044511276276/posts/1045825823577784/? อ้างอิง [1] พิชชานันท์ เธียรทองอินทร์ และ รัชฎาพร พิสัยพันธุ์, การวิเคราะห์องค์ความรู้ไข้ตามคัมภีร์ตักศิลา: คัมภีร์ว่าด้วยโรคระบาด, วารสารหมอยาไทยวิจัย, ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 (มกราคม - มิถุนายน 2566), หน้า 131-152 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ttm/article/view/258845/180094 [2] โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ วัดพระเชตุพนฯ (วัดโพธิ์), ตำรายา ศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) พระนคร พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้จารึกไว้เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๕ ฉบับสมบูรณ์ ฉบับ พ.ศ.​๒๕๑๖ หน้า ๖๒ - ๖๔ [3] สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, หนังสือชุดวรรณกรรมหายาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ :ภูมิปัญญาการแพทย์และมรดกทางวรรณกรรมของชาติ, องค์การการค้าของ สกสค. จัดพิมพ์จำหน่าย พิมพ์ครั้งที่ 4, พ.ศ. 2554 จำนวน 3,000 เล่ม ISBN 978-947-01-9742-3 หน้า 694 [4] เรื่องเดียวกัน, หน้า 37 [5] เว็บไซต์กองนวัตกรรมและวิจัย กรมควบคุมโรค, การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ จุดเริ่มงานควบคุมโรคติดต่อในประเทศไทย https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ.pdf [6] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 18 ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 3 ต.ค. 2557( อัพเดทเมื่อวันที่ 26 เม.ย. 2567) https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/14798 [7] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน,จารึกตำรายาวัดราชโอรสารามราชวรวิหาร แผ่นที่ 46 (ยาผายเลือด) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อ โพสต์เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2558 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/image_detail/16335 [8] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(ว่าด้วยตำรายาวิเศษสรรพคุณสำเร็จแก้สรรพโรคทั้งปวง แผ่นที่ 22 ยาแก้จักษุโรคคือต้อ(5), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2560 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/22-chaksurok-to5-tr2.pdf [9] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 7 ท้าวยายม่อม ข่าใหญ่ ข่าลิง กระทือ ไพล กระชาย หอม และกระเทียม) ด้านที่ 1, จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2564 https://db.sac.or.th/inscriptions/uploads/file/7-thaoyaimom-khayai-khaling-tr1.pdf [10] เว็บไซต์ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร(องค์การมหาชน), จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม, จารึกตำรายาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (ว่าด้วยสรรพคุณยา เครื่องเทศ และสมุนไพร แผ่นที่ 14 แตงหนู ชิงชี่ บอระเพ็ด ชิงช้าชาลี บอระเพ็ดพุงช้าง ผักปอดตัวเมีย ผักปอดตัวผู้ และพลูแก), จารึกในประเทศไทย, โพสต์เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2567 https://db.sac.or.th/inscriptions/inscribe/detail/17723
    Like
    Love
    Yay
    56
    0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 2915 มุมมอง 0 รีวิว
  • ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี
    🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝
    เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด”
    https://t.me/Covidtreatment_th
    กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด”
    https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝

    ✅ศาสตร์แพทย์แผนไทย
    ✍️สมุนไพรรางจืด
    https://youtu.be/cZz-njYEOT0
    ✍️ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง)
    https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/
    https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ
    ✍️ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
    https://youtu.be/HUw5rKnEB-A
    https://t.me/Covidtreatment_th/163
    ✍️ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ
    https://t.me/Covidtreatment_th/110
    https://youtu.be/PNs04g4pIys
    https://youtu.be/oku1qXZ9YUw
    ✍️ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา
    https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/
    https://t.me/Covidtreatment_th/276
    ✍️มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา
    https://youtu.be/CFv-8cW_8fo
    ✍️การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร
    https://youtu.be/nf_hPZGG1fU
    ✍️ ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235
    ✍️สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992
    ✍️ยาลม 300 จำพวก
    https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4
    https://youtu.be/ivO-KrSLDCg
    https://youtu.be/gzY-SbZnou0
    ✍️พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg
    กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong"
    https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default
    ✍️สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด
    https://t.me/Covidtreatment_th/311
    ✍️ยาไทยได้ผลจริง
    https://www.thethaipress.com/202
    #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    ลิงก์รวมยาและการดูแลสุขภาพที่ได้ผลดี 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 เทเลแกรม “รวมศาสตร์การป้องกันและรักษาผลกระทบจากยาฉีด” https://t.me/Covidtreatment_th กลุ่มไลน์ “ล้างพิษ ยาฉีด” https://line.me/ti/g2/wTvY1gxHGpGKCt15sQN1jMHw02XoSC1uXsjUsQ?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default 🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝🇹🇭🤝 ✅ศาสตร์แพทย์แผนไทย ✍️สมุนไพรรางจืด https://youtu.be/cZz-njYEOT0 ✍️ยาห้าราก (ยาเบญจโลกวิเชียร ยาแก้วห้าดวง หรือยาเพชรสว่าง) https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/427/ยาห้าราก-แก้ไข้/ https://fb.watch/ltfGrggPPh/?mibextid=VUMmCQ ✍️ฟ้าทะลายโจรวาระแห่งชาติ และตำรับยาขาว(นาทีที่ 30) และมหาพิกัดตรีผลา (นาทีที่ 44) โดย อ.ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ https://youtu.be/HUw5rKnEB-A https://t.me/Covidtreatment_th/163 ✍️ตำรับป้องกัน(ยาใบมะขาม) และรักษา(ยาขาว) โดย บรมครูแพทย์แผนไทย ครูชุบ แป้นคุ้มญาติ https://t.me/Covidtreatment_th/110 https://youtu.be/PNs04g4pIys https://youtu.be/oku1qXZ9YUw ✍️ตำรับยาตรีผลา (มหาพิกัด) โดย อาจารย์แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา https://www.facebook.com/228893067300037/posts/1363509777171688/ https://t.me/Covidtreatment_th/276 ✍️มาทำความรู้จักโกฐจุฬาลัมพา และตำรับยาแก้ไข้จันทน์ลีลา https://youtu.be/CFv-8cW_8fo ✍️การสุมยาสมุนไพร โดย รพ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร https://youtu.be/nf_hPZGG1fU ✍️ ตัวอย่างเกร็ดยาต่างๆ วัดคีรีวงก์ จ.ชุมพร https://t.me/Covidtreatment_th/235 ✍️สมุนไพรต้านมะเร็ง สูตรหมอสมหมาย: https://youtu.be/EhinXIYrEok โทร.0826528992 ✍️ยาลม 300 จำพวก https://youtu.be/dv_Dz-Dkyt4 https://youtu.be/ivO-KrSLDCg https://youtu.be/gzY-SbZnou0 ✍️พลูคาวหรือผักคาวตอง https://youtu.be/y9Xee_Iopmg กลุ่มไลน์ "โลกของผักคาวตอง The World Under QuawTong" https://line.me/ti/g2/3HtIskAzcnB88VCmqR6RfleKsUwNq2yo9hzqHw?utm_source=invitation&utm_medium=link_copy&utm_campaign=default ✍️สมุนไพรแก้หวัด,บำรุงปอด https://t.me/Covidtreatment_th/311 ✍️ยาไทยได้ผลจริง https://www.thethaipress.com/202 #ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญและจิตอาสาจากกลุ่มคนไทยพิทักษ์สิทธิ์
    Like
    Love
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 2358 มุมมอง 0 รีวิว