#พระนิพพานแดนอมตะ
ในเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาท่านตรัสว่า
นิพพานเป็นเอกันตบรมสุข
ชื่อว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เราก็เข้าหาแดนของพระนิพพาน ต่อไป
แดนของพระนิพพานจะได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่
๑. ทาน
การให้ เป็นการตัดโลภะ ความโลภ
๒. ศีล
ทรงอารมณ์ดีมีเมตตาเป็นปกติ เป็นการตัดความโกรธ
๓. ภาวนา
ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายกำลังทำอยู่
อันนี้ชื่อว่าเป็นปรมัตถปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติสูงอย่างยิ่ง
อันดับแรกทำจิตใจของเราให้สบาย ด้วยอารมณ์ใจเป็นสมาธิ
ยึดอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นสำคัญ
แล้วนอกจากนั้น
ก็พิจารณาไว้เสมอว่าเรากับโลกนี้
เราจะต้องจากไปแน่วันหนึ่งข้างหน้า
เมื่อจากไปแล้ว เราจะไม่กลับมาพบโลกนี้อีก
ไม่พบเทวโลก แล้วก็ไม่พบพรหมโลก
สิ่งที่เราปรารถนานั่นก็คือพระนิพพาน
ถ้าบรรดาจิตของท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ค่อย ๆ คิดไว้อย่างนี้ทุก ๆ วัน
วันละเล็กละน้อย
แล้วก็คอยระวังจิต
ว่าจิตถ้ามันจะมีความโลภ
อยากจะยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ก็ห้ามปรามมันไว้
ถ้าอาการหากินด้วยความสุจริตธรรม
องค์สมเด็จพระจอมไตรไม่ถือว่าเป็นความโลภ
เป็นสัมมาอาชีวะ
มีอยู่ ๑๐ บาท
จะสร้างตัวให้ได้ ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ด้วยสัมมาอาชีวะ
อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ถือว่าเป็นโลภ
อยากจะแย่งเขา อย่างนี้เป็น โลภะ ความโลภ
ประการที่ ๒ พยายามระงับ ความโกรธ
ด้วยอาศัยศีล ๕ เป็นปกติ
เพราะศีล ๕ นี่จะทรงได้เฉพาะอาศัยเมตตา กรุณา
ทั้งสองประการนี่เป็นปัจจัยตัดความโกรธ
ถ้าจิตทรงศีล ๕ ได้เป็นปกติ
ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้ชนะความโกรธทีละน้อยละน้อย
ในที่สุดความโกรธก็จะหายไป
ประการที่ ๓ องค์สมเด็จพระจอมไตรบอกให้ตัด ความหลง
ก็หมายความว่า พิจารณาว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
มันแก่ไปทุกวันไม่ช้ามันก็ตาย
ตายแล้วเราคือจิตก็ไม่สามารถจะอาศัยร่างกายนี้ต่อไปได้
ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
เป็นอันว่า เราไม่ต้องการมันอีก
สภาวะที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้
ต้องการสภาวะที่เที่ยงจริง ๆ ที่เป็นแดนอมตะ
คำว่าอมตะ แปลว่าไม่ตาย ไม่เคลื่อน
ก็ได้แก่ พระนิพพาน
ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท คอยระวังไว้ว่า
หนึ่ง เราจะไม่ยอมให้ความโลภ คือ
อยากจะได้ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านมาเป็นของเรา
โดยไม่ชอบธรรม เก็บมันเข้าไว้
ถ้าจิตมันคิดมาเมื่อไร
มันเผลอก็อาจจะเป็นไปได้
แต่ต่อไปคิดบ่อย ๆ มันก็ไม่เผลอ
เพราะมีอารมณ์ชิน
ประการที่สอง
ถ้ามันจะละเมิดศีลก็ระมัดระวังไว้ว่า
เวลาจะนอนก็คิดไว้
วันนี้เราละเมิดศีล ๕ ข้อไหนบ้าง
ถ้าหากว่ามันพลั้งพลาดไปบ้าง
ก็ตั้งใจไว้ใหม่ว่าวันพรุ่งนี้
เราจะไม่ยอมทำอย่างนี้
แต่ก็มันอาจเผลอได้หมือนกันใหม่ ๆ
ต่อไปไม่ช้าอาการก็จะชิน
ชินก็จะทรงตัว
เมื่อศีลทรงตัว แล้วก็เหลืออีกจุดเดียว คือ
ทำจิตให้บริสุทธิ์ ก็เป็นของง่าย
เอาล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น
กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย
จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
หนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๓๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี
ในเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาท่านตรัสว่า
นิพพานเป็นเอกันตบรมสุข
ชื่อว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เราก็เข้าหาแดนของพระนิพพาน ต่อไป
แดนของพระนิพพานจะได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่
๑. ทาน
การให้ เป็นการตัดโลภะ ความโลภ
๒. ศีล
ทรงอารมณ์ดีมีเมตตาเป็นปกติ เป็นการตัดความโกรธ
๓. ภาวนา
ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายกำลังทำอยู่
อันนี้ชื่อว่าเป็นปรมัตถปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติสูงอย่างยิ่ง
อันดับแรกทำจิตใจของเราให้สบาย ด้วยอารมณ์ใจเป็นสมาธิ
ยึดอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นสำคัญ
แล้วนอกจากนั้น
ก็พิจารณาไว้เสมอว่าเรากับโลกนี้
เราจะต้องจากไปแน่วันหนึ่งข้างหน้า
เมื่อจากไปแล้ว เราจะไม่กลับมาพบโลกนี้อีก
ไม่พบเทวโลก แล้วก็ไม่พบพรหมโลก
สิ่งที่เราปรารถนานั่นก็คือพระนิพพาน
ถ้าบรรดาจิตของท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ค่อย ๆ คิดไว้อย่างนี้ทุก ๆ วัน
วันละเล็กละน้อย
แล้วก็คอยระวังจิต
ว่าจิตถ้ามันจะมีความโลภ
อยากจะยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ก็ห้ามปรามมันไว้
ถ้าอาการหากินด้วยความสุจริตธรรม
องค์สมเด็จพระจอมไตรไม่ถือว่าเป็นความโลภ
เป็นสัมมาอาชีวะ
มีอยู่ ๑๐ บาท
จะสร้างตัวให้ได้ ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ด้วยสัมมาอาชีวะ
อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ถือว่าเป็นโลภ
อยากจะแย่งเขา อย่างนี้เป็น โลภะ ความโลภ
ประการที่ ๒ พยายามระงับ ความโกรธ
ด้วยอาศัยศีล ๕ เป็นปกติ
เพราะศีล ๕ นี่จะทรงได้เฉพาะอาศัยเมตตา กรุณา
ทั้งสองประการนี่เป็นปัจจัยตัดความโกรธ
ถ้าจิตทรงศีล ๕ ได้เป็นปกติ
ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้ชนะความโกรธทีละน้อยละน้อย
ในที่สุดความโกรธก็จะหายไป
ประการที่ ๓ องค์สมเด็จพระจอมไตรบอกให้ตัด ความหลง
ก็หมายความว่า พิจารณาว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
มันแก่ไปทุกวันไม่ช้ามันก็ตาย
ตายแล้วเราคือจิตก็ไม่สามารถจะอาศัยร่างกายนี้ต่อไปได้
ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
เป็นอันว่า เราไม่ต้องการมันอีก
สภาวะที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้
ต้องการสภาวะที่เที่ยงจริง ๆ ที่เป็นแดนอมตะ
คำว่าอมตะ แปลว่าไม่ตาย ไม่เคลื่อน
ก็ได้แก่ พระนิพพาน
ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท คอยระวังไว้ว่า
หนึ่ง เราจะไม่ยอมให้ความโลภ คือ
อยากจะได้ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านมาเป็นของเรา
โดยไม่ชอบธรรม เก็บมันเข้าไว้
ถ้าจิตมันคิดมาเมื่อไร
มันเผลอก็อาจจะเป็นไปได้
แต่ต่อไปคิดบ่อย ๆ มันก็ไม่เผลอ
เพราะมีอารมณ์ชิน
ประการที่สอง
ถ้ามันจะละเมิดศีลก็ระมัดระวังไว้ว่า
เวลาจะนอนก็คิดไว้
วันนี้เราละเมิดศีล ๕ ข้อไหนบ้าง
ถ้าหากว่ามันพลั้งพลาดไปบ้าง
ก็ตั้งใจไว้ใหม่ว่าวันพรุ่งนี้
เราจะไม่ยอมทำอย่างนี้
แต่ก็มันอาจเผลอได้หมือนกันใหม่ ๆ
ต่อไปไม่ช้าอาการก็จะชิน
ชินก็จะทรงตัว
เมื่อศีลทรงตัว แล้วก็เหลืออีกจุดเดียว คือ
ทำจิตให้บริสุทธิ์ ก็เป็นของง่าย
เอาล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น
กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย
จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
หนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๓๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี
#พระนิพพานแดนอมตะ
ในเมื่อองค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาท่านตรัสว่า
นิพพานเป็นเอกันตบรมสุข
ชื่อว่าเป็นสุขอย่างยิ่ง เราก็เข้าหาแดนของพระนิพพาน ต่อไป
แดนของพระนิพพานจะได้แก่อะไรบ้าง ได้แก่
๑. ทาน
การให้ เป็นการตัดโลภะ ความโลภ
๒. ศีล
ทรงอารมณ์ดีมีเมตตาเป็นปกติ เป็นการตัดความโกรธ
๓. ภาวนา
ที่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายกำลังทำอยู่
อันนี้ชื่อว่าเป็นปรมัตถปฏิบัติ เป็นการปฏิบัติสูงอย่างยิ่ง
อันดับแรกทำจิตใจของเราให้สบาย ด้วยอารมณ์ใจเป็นสมาธิ
ยึดอารมณ์ที่เป็นกุศลเป็นสำคัญ
แล้วนอกจากนั้น
ก็พิจารณาไว้เสมอว่าเรากับโลกนี้
เราจะต้องจากไปแน่วันหนึ่งข้างหน้า
เมื่อจากไปแล้ว เราจะไม่กลับมาพบโลกนี้อีก
ไม่พบเทวโลก แล้วก็ไม่พบพรหมโลก
สิ่งที่เราปรารถนานั่นก็คือพระนิพพาน
ถ้าบรรดาจิตของท่านพุทธบริษัททุกท่าน
ค่อย ๆ คิดไว้อย่างนี้ทุก ๆ วัน
วันละเล็กละน้อย
แล้วก็คอยระวังจิต
ว่าจิตถ้ามันจะมีความโลภ
อยากจะยื้อแย่งทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตน
ก็ห้ามปรามมันไว้
ถ้าอาการหากินด้วยความสุจริตธรรม
องค์สมเด็จพระจอมไตรไม่ถือว่าเป็นความโลภ
เป็นสัมมาอาชีวะ
มีอยู่ ๑๐ บาท
จะสร้างตัวให้ได้ ๑๐๐ บาท ๑,๐๐๐ บาท
๑๐๐,๐๐๐ บาท ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท
ด้วยสัมมาอาชีวะ
อย่างนี้พระพุทธเจ้าไม่ถือว่าเป็นโลภ
อยากจะแย่งเขา อย่างนี้เป็น โลภะ ความโลภ
ประการที่ ๒ พยายามระงับ ความโกรธ
ด้วยอาศัยศีล ๕ เป็นปกติ
เพราะศีล ๕ นี่จะทรงได้เฉพาะอาศัยเมตตา กรุณา
ทั้งสองประการนี่เป็นปัจจัยตัดความโกรธ
ถ้าจิตทรงศีล ๕ ได้เป็นปกติ
ก็ชื่อว่าท่านเป็นผู้ชนะความโกรธทีละน้อยละน้อย
ในที่สุดความโกรธก็จะหายไป
ประการที่ ๓ องค์สมเด็จพระจอมไตรบอกให้ตัด ความหลง
ก็หมายความว่า พิจารณาว่าร่างกายมันไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
มันแก่ไปทุกวันไม่ช้ามันก็ตาย
ตายแล้วเราคือจิตก็ไม่สามารถจะอาศัยร่างกายนี้ต่อไปได้
ต้องก้าวต่อไปข้างหน้า
เป็นอันว่า เราไม่ต้องการมันอีก
สภาวะที่ไม่เที่ยงแท้แน่นอนอย่างนี้
ต้องการสภาวะที่เที่ยงจริง ๆ ที่เป็นแดนอมตะ
คำว่าอมตะ แปลว่าไม่ตาย ไม่เคลื่อน
ก็ได้แก่ พระนิพพาน
ถ้าจิตใจของบรรดาท่านพุทธบริษัท คอยระวังไว้ว่า
หนึ่ง เราจะไม่ยอมให้ความโลภ คือ
อยากจะได้ทรัพย์สมบัติของชาวบ้านมาเป็นของเรา
โดยไม่ชอบธรรม เก็บมันเข้าไว้
ถ้าจิตมันคิดมาเมื่อไร
มันเผลอก็อาจจะเป็นไปได้
แต่ต่อไปคิดบ่อย ๆ มันก็ไม่เผลอ
เพราะมีอารมณ์ชิน
ประการที่สอง
ถ้ามันจะละเมิดศีลก็ระมัดระวังไว้ว่า
เวลาจะนอนก็คิดไว้
วันนี้เราละเมิดศีล ๕ ข้อไหนบ้าง
ถ้าหากว่ามันพลั้งพลาดไปบ้าง
ก็ตั้งใจไว้ใหม่ว่าวันพรุ่งนี้
เราจะไม่ยอมทำอย่างนี้
แต่ก็มันอาจเผลอได้หมือนกันใหม่ ๆ
ต่อไปไม่ช้าอาการก็จะชิน
ชินก็จะทรงตัว
เมื่อศีลทรงตัว แล้วก็เหลืออีกจุดเดียว คือ
ทำจิตให้บริสุทธิ์ ก็เป็นของง่าย
เอาล่ะบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย
ต่อแต่นี้ไปขอบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านตั้งกายให้ตรงดำรงจิตให้มั่น
กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก
ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย
จนกว่าจะได้ยินสัญญาณบอกหมดเวลา
หนังสือ ธรรมปฏิบัติ เล่ม ๓๒
หลวงพ่อพระราชพรหมยาน
วัดจันทาราม(ท่าซุง) จังหวัดอุทัยธานี
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
42 มุมมอง
0 รีวิว