"อวสาน" รถญี่ปุ่นในไทย
จากมุมมองของ Nikkei Asia
.
ในวาระส่งท้ายปีเก่า 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568 สื่อยักษ์ใหญ่ชื่อดังของญี่ปุ่นคือ นิคเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) ได้เผยแพร่สารคดีข่าว NIKKEI Film : The sound of engines vanishing in Thailand (นิคเคอิ ฟิล์ม : เสียงของเครื่องยนต์ที่กำลังหายไปจากประเทศไทย) ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ของบรรดารถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นที่ครั้งหนึ่งเคยครอบครองตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมากกว่า 90% แต่ในห้วงระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นกลับถูกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนรุกไล่ ทำให้ในปี 2567 เหลือส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ในตลาดรถใหม่เพียง 76%
.
แม้ว่าในปัจจุบันรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นจะยังคงสามารถครอบครองตลาดรถใหม่ในประเทศไทยได้มากกว่า 3 ใน 4 แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยจากรอบด้านแล้วไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค พลวัตรของเหล่าดีลเลอร์ผู้ขายรถยนต์ทั่วประเทศไทย การทยอยปิดโรงงาน การไหลออกของบุคลากร-พนักงาน-ผู้บริหารจากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นไปสู่ค่ายรถจีน รวมไปถึงการคาดการณ์ตลาดรถยนต์ในอนาคตแล้วรถยนต์ญี่ปุ่นหนีไม่พ้นอาจต้องสูญพันธุ์จากประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ หากไม่เร่งปรับตัวให้เร็วกว่านี้
.
"ผมเพิ่งซื้อรถยนต์บีวายดีรุ่นใหม่ล่าสุด แล้วผมก็เปรียบเทียบรถอีวี กับ รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบดั้งเดิมเพื่อศึกษาความแตกต่าง ... ฟังก์ชันในรถอีวีของจีนนั้นครบครันมาก อัตราการเร่งก็ฉับไวมาก" คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ให้สัมภาษณ์กับนิคเคอิเป็นภาษาญี่ปุ่นอันคล่องแคล่ว และเปรียบเทียบต่อว่า
.
"ผมมองญี่ปุ่นจากหลาย ๆ มุม ด้วยความที่สำเร็จมาตั้งแต่ในยุคอะนาล็อก ญี่ปุ่นกลับไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพอในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล เทียบกับจีนที่ไม่ได้มีความสำเร็จมากนักในยุคของอะนาล็อก แต่พอยุคสมัยของเทคโนโลยีดิจิทัลมาถึง จีนจึงพยายามอย่างมากที่จะดิสรัปอุตสาหกรรมรถยนต์"
.
นิคเคอิอธิบายว่า ประเทศไทยซึ่งมีประชากรราว 66 ล้านคน และเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน นั้นได้ชื่อเล่นว่าเป็น "ดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia)" ด้วยบรรดาบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศก่อนหน้านี้นานหลายทศวรรษ แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในปี 2566 ที่บริษัทรถยนต์จากจีนรุกเข้่ามาทำตลาด และย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยอย่างจริงจัง
.
"เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ญี่ปุ่นสามารถครอบครองยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยได้มากเกือบ 90% แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อ รถอีวีจากจีนบุกตลาดประเทศไทยในปี 2566 ส่งผลให้ยอดขายรถใหม่ในประเทศไทยของบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นลดลงต่ำกว่า 80% (เหลือ 77.8% ในปี 2566 และ เหลือ 76.2% ในปี 2567)" นิคเคอิระบุ
.
จากนั้นจึงกล่าวกว่า บีวายดี (BYD) คือ หัวหอกของบริษัทรถยนต์จีนที่เข้ามาแย่งชิงตลาดในประเทศไทยจากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น โดยนิคเคอิได้ดำเนินการสำรวจการขยายตัวของจำนวนดีลเลอร์รถบีวายดีในไทยพบว่า เกือบ 50% ของดีลเลอร์รถบีวายดีนั้นก่อนหน้านั้นเคยเป็นดีลเลอร์ของรถยนต์ค่ายญี่ปุ่น โดยบีวายดีขยายสาขาไปทั่วประเทศ โดยไม่เพียงกวาดดีลเลอร์จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นให้เข้ามาซุกใต้ปีก แต่รวมถึงค่ายรถยนต์จากตะวันตกด้วยเช่นกัน
.
การรุกไล่ของค่ายรถยนต์จากจีนไม่หยุดอยู่แค่ในระดับการส่งรถยนต์จากจีนมาขายยังเมืองไทย แต่ยังมีการขยายโรงงานผลิตมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่องด้วย ยกตัวอย่างเช่น บีวายดีที่เพิ่งเริ่มเดินสายพานโรงงานผลิตรถยนต์แบบเต็มระบบแห่งแรกในต่างแดนที่ จ.ระยอง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้บุคลากรในแวดวงรถยนต์คนไทยที่มีความสามารถตั้งแต่ระดับฝ่ายผลิต จนถึงผู้บริหารที่เคยสังกัดอยู่กับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ไหลไปอยู่กับบริษัทรถยนต์จีนจำนวนมาก
.
ด้วยแรงจูงใจสำคัญเป็นค่าตอบแทนที่มากกว่าเดิม 30% 50% 80% หรือกระทั่งเพิ่มขึ้นเท่าตัว!
.
นายสื่อ ชิงเคอ (史青科) หรือ Parker Shi ประธานของเกรท วอลล์ มอเตอร์ อินเตอร์เนชันแนล เจ้าของแบรนด์รถยนต์จีน GWM ให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงคู่แข่งค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น และการดึงตัวผู้บริหารระดับสูงจากโตโยต้ามาทำงานกับเกรทวอลล์ฯ โดยระบุว่า
.
"ด้วยความสัตย์จริง และความเคารพต่อโตโยต้า และรถแบรนด์จากใจ เพราะพวกเขานั้นยอดเยี่ยมจริง ๆ (excellent) คุณวุฒิกร (สุริยะฉันทนานนท์) นั้นเคยทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมที่โตโยต้า และนี่คือเหตุผลที่เขามาอยู่กับเรา" และกล่าวต่อว่า "ถ้าหากคุณไม่มีความกล้าหาญที่จะสู้ ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง คุณก็ตาย ถ้าหากคุณไม่มีอาวุธที่ดีพอ ผลิตภัณฑ์ที่ดี รูปแบบธุรกิจที่ดี กลยุทธ์ที่ดี คุณก็ตาย ถ้าคุณไม่มีทีมเวิร์คที่ดี คุณก็ตาย ... มันไม่มีคนอยู่รอดหรอก เพราะที่กำลังเป็นอยู่นี้คือคือสงคราม ที่เกิดขึ้นในตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง"
.
นิคเคอิ เอเชียยังมีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทรถยนต์ชาวญี่ปุ่นในไทยที่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม โดยผู้บริหารชาวญี่ปุ่นคนนี้ยอมรับว่า บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นละเลยความต้องการของผู้บริโภคไทยไปมาก รวมถึงนำเสนอสินค้าที่เทคโนโลยีล้าหลังไปแล้วให้กับตลาดในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ซึ่งแตกต่างจากค่ายรถจากจีน
.
"มันเป็นความจริงที่ว่าแบรนด์รถญี่ปุ่นนั้นมัวแต่มุ่งเน้นไปที่ตลาดใหญ่ ๆ อย่างในยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับตลาดนั้น ๆ นอกจากนี้สิ่งที่เราตัดสินใจผิดพลาดมากที่สุดก็คือ ความรวดเร็วของการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า
.
"และมันเป็นเรื่องจริงที่ค่ายรถญี่ปุ่นนำเสนอสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีค่อนข้างล้าหลัง ซึ่งวางขายอยู่แล้วในประเทศกำลังพัฒนามาขายให้ (ตลาดไทย) ผมคิดว่า นี่เองเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยไม่พอใจ และความไม่พอใจนั้นยิ่งนานวันก็สะสมเพิ่มขึ้น ๆ" ผู้บริหารค่ายรถญี่ปุ่นในไทยกล่าวเปิดอก
.
ทั้งนี้จากข้อมูลการสำรวจของ LiB Consulting ระบุว่า ภายในปี 2578 (ค.ศ.2035) หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ยอดขายรถใหม่ในเมืองไทยจะเปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง โดยรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในจะลดปริมาณลงจากปัจจุบันที่ราว 78.5% เหลือเพียง 15% โดยรถอีวี และรถยนต์พลังงานใหม่จะกินส่วนแบ่งการตลาดที่เหลือ จะถูกแบ่งให้รถอีวี (50.7%) และ รถยนต์เทคโนโลยีไฮบริด-อื่นๆ (34.3%)
.
ด้วยสถานการณ์และแนวโน้มเช่นนี้ทำให้ ณ ปัจจุบันถือเป็นโอกาสสุดท้ายของค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นในการขยับขับเคลื่อนเพื่อไล่ตามรถอีวีจากจีนให้ทัน และกอบกู้สถานการณ์ด้วยการอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และตัดสินใจให้เร็ว และฉับไวมากขึ้น
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในเรื่องนี้คุณบุณยสิทธิ์ ประธานเครือสหพัฒน์วัย 87 ที่คร่ำหวอดทั้งในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค แวดวงอุตสาหกรรม และมีสายสัมพันธ์อันล้ำลึกกับแวดวงอุตสาหกรรมไทย ญี่ปุ่น และจีน กล่าวทิ้งท้ายสารคดีข่าวชิ้นนี้เป็นคำแนะนำให้กับบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่กำลังเพลี่ยงพล้ำในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
.
ในมุมของคุณบุญยสิทธิ์ เดิมทีประธานบริษัทญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดนั้นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท โดยคนเหล่านี้มีจิตวิญญาณของการบุกเบิกและก่อตั้ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ประธานบริษัทกลายเป็นคนรุ่นใหม่ ๆ ที่เติบโตมาภายในกรอบของบริษัท คนเหล่านี้เวลาตัดสินใจอะไรจึงกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ซึ่งหากผู้บริหารรุ่นใหม่เล่านี้ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวเอง การตัดสินใจก็จะล่าช้า ไม่ทันการณ์
.
อย่างไรก็ตาม ประธานเครือสหพัฒน์ยังกล่าวให้ความหวังด้วยว่า ในสายตาของชาวไทยแบรนด์ญี่ปุ่นยังได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูงอยู่ คนไทยยังมีความเชื่อว่ารถญี่ปุ่นนั้นดีกว่ารถจีน รถยนต์จีนนั้นมีดีเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่ และรถอีวี ซึ่งเมื่อไหร่ที่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดตัวรถที่เป็นรถยนต์อีวีบ้าง ตนก็เชื่อว่าคนไทยจะกลับมานิยมรถยนต์ญี่ปุ่นเหมือนเดิม ซึ่งตนก็คาดหวังว่าบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นจะสามารถแข่งขันกับบริษัทรถยนต์จากจีนได้
.
สารคดีข่าวชิ้นนี้ของนิคเคอิ สื่อธุรกิจยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ด้วยการรุกคืบอย่างไม่หยุดหย่อนของค่ายรถยนต์จีน เวลาของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในไทยนั้นคงเหลือน้อยลงทุกที พร้อมกับทิ้งฉากหลังเป็นภาพพระปรางค์วัดอรุณยามดวงอาทิตย์อัสดง
.
แล้วท่านผู้อ่านบูรพาไม่แพ้ละครับ มองว่า ค่ายรถญี่ปุ่นใกล้ถึงคราอวสานจากตลาดไทยหรือยัง? หรือ คิดว่าค่ายรถญี่ปุ่นยังมีโอกาสที่จะกู้สถานการณ์ ช่วงชิงตลาดรถยนต์ไทยกลับคืนมาได้ หากมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีทำดังที่นิคเคอิ เอเชียรายงานเอาไว้?
.
เนื่องวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๘ ทีมงานเพจบูรพาไม่แพ้ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน และครอบครัวมีความสุข สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ สวัสดีปีใหม่ครับ 😄 🙏 🎊 🇹🇭 🇯🇵 🇨🇳
.
.
อ้างอิง :
NIKKEI Film : The sound of engines vanishing in Thailand
https://www.youtube.com/watch?v=w7ldtHt6Mn4 "อวสาน" รถญี่ปุ่นในไทย
จากมุมมองของ Nikkei Asia
.
ในวาระส่งท้ายปีเก่า 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568 สื่อยักษ์ใหญ่ชื่อดังของญี่ปุ่นคือ นิคเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) ได้เผยแพร่สารคดีข่าว NIKKEI Film : The sound of engines vanishing in Thailand (นิคเคอิ ฟิล์ม : เสียงของเครื่องยนต์ที่กำลังหายไปจากประเทศไทย) ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ของบรรดารถยนต์แบรนด์ญี่ปุ่นที่ครั้งหนึ่งเคยครอบครองตลาดรถยนต์ในประเทศไทยมากกว่า 90% แต่ในห้วงระยะเวลาเพียง 2 ปีเท่านั้นกลับถูกรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนรุกไล่ ทำให้ในปี 2567 เหลือส่วนแบ่งยอดขายรถยนต์ในตลาดรถใหม่เพียง 76%
.
แม้ว่าในปัจจุบันรถยนต์ค่ายญี่ปุ่นจะยังคงสามารถครอบครองตลาดรถใหม่ในประเทศไทยได้มากกว่า 3 ใน 4 แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยจากรอบด้านแล้วไม่ว่าจะเป็น แนวโน้มความต้องการของผู้บริโภค พลวัตรของเหล่าดีลเลอร์ผู้ขายรถยนต์ทั่วประเทศไทย การทยอยปิดโรงงาน การไหลออกของบุคลากร-พนักงาน-ผู้บริหารจากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นไปสู่ค่ายรถจีน รวมไปถึงการคาดการณ์ตลาดรถยนต์ในอนาคตแล้วรถยนต์ญี่ปุ่นหนีไม่พ้นอาจต้องสูญพันธุ์จากประเทศไทยในอนาคตอันใกล้ หากไม่เร่งปรับตัวให้เร็วกว่านี้
.
"ผมเพิ่งซื้อรถยนต์บีวายดีรุ่นใหม่ล่าสุด แล้วผมก็เปรียบเทียบรถอีวี กับ รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์แบบดั้งเดิมเพื่อศึกษาความแตกต่าง ... ฟังก์ชันในรถอีวีของจีนนั้นครบครันมาก อัตราการเร่งก็ฉับไวมาก" คุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ประธานเครือสหพัฒน์ ให้สัมภาษณ์กับนิคเคอิเป็นภาษาญี่ปุ่นอันคล่องแคล่ว และเปรียบเทียบต่อว่า
.
"ผมมองญี่ปุ่นจากหลาย ๆ มุม ด้วยความที่สำเร็จมาตั้งแต่ในยุคอะนาล็อก ญี่ปุ่นกลับไม่สามารถปรับตัวได้รวดเร็วพอในยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล เทียบกับจีนที่ไม่ได้มีความสำเร็จมากนักในยุคของอะนาล็อก แต่พอยุคสมัยของเทคโนโลยีดิจิทัลมาถึง จีนจึงพยายามอย่างมากที่จะดิสรัปอุตสาหกรรมรถยนต์"
.
นิคเคอิอธิบายว่า ประเทศไทยซึ่งมีประชากรราว 66 ล้านคน และเป็นระบบเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของอาเซียน นั้นได้ชื่อเล่นว่าเป็น "ดีทรอยต์แห่งเอเชีย (Detroit of Asia)" ด้วยบรรดาบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่เข้ามาตั้งฐานการผลิตในประเทศก่อนหน้านี้นานหลายทศวรรษ แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นในปี 2566 ที่บริษัทรถยนต์จากจีนรุกเข้่ามาทำตลาด และย้ายฐานการผลิตมายังประเทศไทยอย่างจริงจัง
.
"เกือบครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา รถยนต์ญี่ปุ่นสามารถครอบครองยอดขายรถยนต์ใหม่ในประเทศไทยได้มากเกือบ 90% แต่จุดเปลี่ยนเกิดขึ้นเมื่อ รถอีวีจากจีนบุกตลาดประเทศไทยในปี 2566 ส่งผลให้ยอดขายรถใหม่ในประเทศไทยของบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นลดลงต่ำกว่า 80% (เหลือ 77.8% ในปี 2566 และ เหลือ 76.2% ในปี 2567)" นิคเคอิระบุ
.
จากนั้นจึงกล่าวกว่า บีวายดี (BYD) คือ หัวหอกของบริษัทรถยนต์จีนที่เข้ามาแย่งชิงตลาดในประเทศไทยจากบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่น โดยนิคเคอิได้ดำเนินการสำรวจการขยายตัวของจำนวนดีลเลอร์รถบีวายดีในไทยพบว่า เกือบ 50% ของดีลเลอร์รถบีวายดีนั้นก่อนหน้านั้นเคยเป็นดีลเลอร์ของรถยนต์ค่ายญี่ปุ่น โดยบีวายดีขยายสาขาไปทั่วประเทศ โดยไม่เพียงกวาดดีลเลอร์จากค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นให้เข้ามาซุกใต้ปีก แต่รวมถึงค่ายรถยนต์จากตะวันตกด้วยเช่นกัน
.
การรุกไล่ของค่ายรถยนต์จากจีนไม่หยุดอยู่แค่ในระดับการส่งรถยนต์จากจีนมาขายยังเมืองไทย แต่ยังมีการขยายโรงงานผลิตมายังประเทศไทยอย่างต่อเนื่องด้วย ยกตัวอย่างเช่น บีวายดีที่เพิ่งเริ่มเดินสายพานโรงงานผลิตรถยนต์แบบเต็มระบบแห่งแรกในต่างแดนที่ จ.ระยอง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา ทำให้บุคลากรในแวดวงรถยนต์คนไทยที่มีความสามารถตั้งแต่ระดับฝ่ายผลิต จนถึงผู้บริหารที่เคยสังกัดอยู่กับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น ไหลไปอยู่กับบริษัทรถยนต์จีนจำนวนมาก
.
ด้วยแรงจูงใจสำคัญเป็นค่าตอบแทนที่มากกว่าเดิม 30% 50% 80% หรือกระทั่งเพิ่มขึ้นเท่าตัว!
.
นายสื่อ ชิงเคอ (史青科) หรือ Parker Shi ประธานของเกรท วอลล์ มอเตอร์ อินเตอร์เนชันแนล เจ้าของแบรนด์รถยนต์จีน GWM ให้สัมภาษณ์กับสื่อถึงคู่แข่งค่ายรถยนต์ญี่ปุ่น และการดึงตัวผู้บริหารระดับสูงจากโตโยต้ามาทำงานกับเกรทวอลล์ฯ โดยระบุว่า
.
"ด้วยความสัตย์จริง และความเคารพต่อโตโยต้า และรถแบรนด์จากใจ เพราะพวกเขานั้นยอดเยี่ยมจริง ๆ (excellent) คุณวุฒิกร (สุริยะฉันทนานนท์) นั้นเคยทำงานได้อย่างยอดเยี่ยมที่โตโยต้า และนี่คือเหตุผลที่เขามาอยู่กับเรา" และกล่าวต่อว่า "ถ้าหากคุณไม่มีความกล้าหาญที่จะสู้ ที่จะเปลี่ยนแปลงตัวเอง คุณก็ตาย ถ้าหากคุณไม่มีอาวุธที่ดีพอ ผลิตภัณฑ์ที่ดี รูปแบบธุรกิจที่ดี กลยุทธ์ที่ดี คุณก็ตาย ถ้าคุณไม่มีทีมเวิร์คที่ดี คุณก็ตาย ... มันไม่มีคนอยู่รอดหรอก เพราะที่กำลังเป็นอยู่นี้คือคือสงคราม ที่เกิดขึ้นในตลาดที่แข่งขันกันอย่างรุนแรง"
.
นิคเคอิ เอเชียยังมีโอกาสได้สัมภาษณ์ผู้บริหารบริษัทรถยนต์ชาวญี่ปุ่นในไทยที่ไม่ยอมเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนาม โดยผู้บริหารชาวญี่ปุ่นคนนี้ยอมรับว่า บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นละเลยความต้องการของผู้บริโภคไทยไปมาก รวมถึงนำเสนอสินค้าที่เทคโนโลยีล้าหลังไปแล้วให้กับตลาดในประเทศกำลังพัฒนาอย่างไทย ซึ่งแตกต่างจากค่ายรถจากจีน
.
"มันเป็นความจริงที่ว่าแบรนด์รถญี่ปุ่นนั้นมัวแต่มุ่งเน้นไปที่ตลาดใหญ่ ๆ อย่างในยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เหมาะกับตลาดนั้น ๆ นอกจากนี้สิ่งที่เราตัดสินใจผิดพลาดมากที่สุดก็คือ ความรวดเร็วของการเปลี่ยนผ่านไปสู่รถยนต์ไฟฟ้า
.
"และมันเป็นเรื่องจริงที่ค่ายรถญี่ปุ่นนำเสนอสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีค่อนข้างล้าหลัง ซึ่งวางขายอยู่แล้วในประเทศกำลังพัฒนามาขายให้ (ตลาดไทย) ผมคิดว่า นี่เองเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคชาวไทยไม่พอใจ และความไม่พอใจนั้นยิ่งนานวันก็สะสมเพิ่มขึ้น ๆ" ผู้บริหารค่ายรถญี่ปุ่นในไทยกล่าวเปิดอก
.
ทั้งนี้จากข้อมูลการสำรวจของ LiB Consulting ระบุว่า ภายในปี 2578 (ค.ศ.2035) หรืออีก 10 ปีข้างหน้า ยอดขายรถใหม่ในเมืองไทยจะเปลี่ยนโฉมไปอย่างสิ้นเชิง โดยรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปภายในจะลดปริมาณลงจากปัจจุบันที่ราว 78.5% เหลือเพียง 15% โดยรถอีวี และรถยนต์พลังงานใหม่จะกินส่วนแบ่งการตลาดที่เหลือ จะถูกแบ่งให้รถอีวี (50.7%) และ รถยนต์เทคโนโลยีไฮบริด-อื่นๆ (34.3%)
.
ด้วยสถานการณ์และแนวโน้มเช่นนี้ทำให้ ณ ปัจจุบันถือเป็นโอกาสสุดท้ายของค่ายรถยนต์จากญี่ปุ่นในการขยับขับเคลื่อนเพื่อไล่ตามรถอีวีจากจีนให้ทัน และกอบกู้สถานการณ์ด้วยการอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง และตัดสินใจให้เร็ว และฉับไวมากขึ้น
.
ทั้งนี้ทั้งนั้น ในเรื่องนี้คุณบุณยสิทธิ์ ประธานเครือสหพัฒน์วัย 87 ที่คร่ำหวอดทั้งในตลาดสินค้าอุปโภคบริโภค แวดวงอุตสาหกรรม และมีสายสัมพันธ์อันล้ำลึกกับแวดวงอุตสาหกรรมไทย ญี่ปุ่น และจีน กล่าวทิ้งท้ายสารคดีข่าวชิ้นนี้เป็นคำแนะนำให้กับบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นที่กำลังเพลี่ยงพล้ำในประเทศไทยไว้อย่างน่าสนใจว่า
.
ในมุมของคุณบุญยสิทธิ์ เดิมทีประธานบริษัทญี่ปุ่นเกือบทั้งหมดนั้นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัท โดยคนเหล่านี้มีจิตวิญญาณของการบุกเบิกและก่อตั้ง แต่เมื่อมาถึงวันนี้ที่ประธานบริษัทกลายเป็นคนรุ่นใหม่ ๆ ที่เติบโตมาภายในกรอบของบริษัท คนเหล่านี้เวลาตัดสินใจอะไรจึงกระทำด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง ซึ่งหากผู้บริหารรุ่นใหม่เล่านี้ไม่ได้ตัดสินใจเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยตัวเอง การตัดสินใจก็จะล่าช้า ไม่ทันการณ์
.
อย่างไรก็ตาม ประธานเครือสหพัฒน์ยังกล่าวให้ความหวังด้วยว่า ในสายตาของชาวไทยแบรนด์ญี่ปุ่นยังได้รับความน่าเชื่อถืออย่างสูงอยู่ คนไทยยังมีความเชื่อว่ารถญี่ปุ่นนั้นดีกว่ารถจีน รถยนต์จีนนั้นมีดีเฉพาะเรื่องของแบตเตอรี่ และรถอีวี ซึ่งเมื่อไหร่ที่ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเปิดตัวรถที่เป็นรถยนต์อีวีบ้าง ตนก็เชื่อว่าคนไทยจะกลับมานิยมรถยนต์ญี่ปุ่นเหมือนเดิม ซึ่งตนก็คาดหวังว่าบริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นจะสามารถแข่งขันกับบริษัทรถยนต์จากจีนได้
.
สารคดีข่าวชิ้นนี้ของนิคเคอิ สื่อธุรกิจยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นทิ้งท้ายเอาไว้ว่า ด้วยการรุกคืบอย่างไม่หยุดหย่อนของค่ายรถยนต์จีน เวลาของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นในไทยนั้นคงเหลือน้อยลงทุกที พร้อมกับทิ้งฉากหลังเป็นภาพพระปรางค์วัดอรุณยามดวงอาทิตย์อัสดง
.
แล้วท่านผู้อ่านบูรพาไม่แพ้ละครับ มองว่า ค่ายรถญี่ปุ่นใกล้ถึงคราอวสานจากตลาดไทยหรือยัง? หรือ คิดว่าค่ายรถญี่ปุ่นยังมีโอกาสที่จะกู้สถานการณ์ ช่วงชิงตลาดรถยนต์ไทยกลับคืนมาได้ หากมีการปรับเปลี่ยนวิธีคิด และวิธีทำดังที่นิคเคอิ เอเชียรายงานเอาไว้?
.
เนื่องวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ๒๕๖๘ ทีมงานเพจบูรพาไม่แพ้ขอให้ท่านผู้อ่านทุกท่าน และครอบครัวมีความสุข สมหวังในสิ่งที่ปรารถนาทุกประการ สวัสดีปีใหม่ครับ 😄 🙏 🎊 🇹🇭 🇯🇵 🇨🇳
.
.
อ้างอิง :
NIKKEI Film : The sound of engines vanishing in Thailand
https://www.youtube.com/watch?v=w7ldtHt6Mn4