วันนี้ยังคงมีเรื่องมาคุยกันจากละคร <สามีข้าเป็นฮีโร่> ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว สืบเนื่องจากเคยมีเพื่อนเพจอยากให้พูดคุยเกี่ยวกับอาคารบ้านเรือนจีนโบราณ และในละครเรื่องนี้นางเอกพยายามเผาห้องของพระเอกที่อยู่ติดกันซึ่งเรียกว่า “เอ่อร์ฝาง” (耳房) เนื้อหาตอนนี้ในหนังสือเรื่องนี้ไม่มี เราลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอ่อร์ฝางและเรือนจีนโบราณจากนิยายเรื่องอื่นกัน
ความมีอยู่ว่า
... จิ้งหยวนแม้เป็นเรือนในชั้นรอง แต่ขนาดไม่ใหญ่ อาคารหลักที่เขาทั้งสองพักอาศัยเป็นอาคารสามห้อง ซ้ายขวามีเรือนห้อย (เอ่อร์ฝาง) ถัดไปเบื้องหน้าด้านซ้ายขวาเป็นอาคารตะวันตกและตะวันออก ห้องในอาคารหลักนี้ ประกอบด้วยห้องโถงรับรองตรงกลาง ห้องฟากตะวันตกเป็นห้องหนังสือ ส่วนห้องฟากตะวันออกเป็นห้องนอน มีตีผนังทะลุไปยังเรือนห้อยที่ติดกันกั้นไว้ด้วยผนังฉาก จัดเป็นห้องชำระ...
- จากเรื่อง <เกิดใหม่อีกที ไม่ขอมีสามีสกุลหลี่> ผู้แต่ง ฉางโกวลั่วเยวี่ย
(หมายเหตุ ชื่อหนังสือตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทบรรยายข้างต้นเป็นการกล่าวถึงลักษณะเรือนซื่อเหอเยวี่ยน หรือเรือนสี่ประสานอันเป็นรูปทรงทั่วไปของเรือนจีนโบราณ (หาอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง)
เอ่อร์ฝาง หรือเรือนห้อย (ดูภาพที่วงไว้ในแผนผังรูปอาคาร และรูปที่เอามาจากในละคร) วิธีจำง่ายๆ คือ “เอ่อร์” แปลว่าหู ก็นึกภาพว่าอาคารหลักมีหูสองข้างเป็นเรือนห้อยนี่แล่ะ เอกลักษณ์ของมันคือมันต้องเป็นห้องที่มีขนาดเล็กและหลังคาเตี้ยกว่าอาคารหลัก
แล้วมันมีไว้เพื่อ? ในองค์ประกอบของเรือนสี่ประสานนั้น ใครอยู่ห้องไหนจะมีลำดับความสำคัญ เช่นเจ้าบ้านจะอยู่ในอาคารหลัก ในอาคารหลักแบ่งให้ผู้อาวุโสพำนักในห้องฝั่งตะวันออก อาวุโสรองลงมาก็อยู่ห้องฝั่งตะวันตก เป็นต้น และสำหรับคฤหาสน์ของคหบดีหรือข้าราชการที่มีฐานะ จะประกอบด้วยหมู่เรือนสี่ประสานหลายชั้น ลูกแต่ละคนก็มีเรือนส่วนตัวแยกเป็นของตนเอง
เนื่องจากเอ่อร์ฝางเป็นเพียงห้องที่ห้อยติดกับอาคารหลัก จึงใช้เป็นห้องนอนสำหรับผู้ที่ด้อยศักดิ์ของครอบครัว หรืออนุ สำหรับบ้านที่ไม่ได้มีหลายหมู่เรือน หรือไว้ใช้อเนกประสงค์สำหรับบ้านที่ใหญ่และมีหมู่เรือนหลายชั้น (อย่างเช่นตัวอย่างตามบทความจากนิยายข้างต้น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/450812871_100288750
https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
http://m.52shijing.com/lsjm/81120.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%80%B3%E6%88%BF
เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเรือนสี่ประสาน อ่านเพิ่มเติม (ภาษาไทย) ได้ที่ https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
#สามีข้าคือฮีโร่ #เกิดใหม่อีกทีไม่ขอมีสามีสกุลหลี่ #บ้านจีนโบราณ #เรือนสี่ประสาน #ซื่อเหอย่วน #เรือนห้อย #เอ่อร์ฝาง #StoryfromStory
ความมีอยู่ว่า
... จิ้งหยวนแม้เป็นเรือนในชั้นรอง แต่ขนาดไม่ใหญ่ อาคารหลักที่เขาทั้งสองพักอาศัยเป็นอาคารสามห้อง ซ้ายขวามีเรือนห้อย (เอ่อร์ฝาง) ถัดไปเบื้องหน้าด้านซ้ายขวาเป็นอาคารตะวันตกและตะวันออก ห้องในอาคารหลักนี้ ประกอบด้วยห้องโถงรับรองตรงกลาง ห้องฟากตะวันตกเป็นห้องหนังสือ ส่วนห้องฟากตะวันออกเป็นห้องนอน มีตีผนังทะลุไปยังเรือนห้อยที่ติดกันกั้นไว้ด้วยผนังฉาก จัดเป็นห้องชำระ...
- จากเรื่อง <เกิดใหม่อีกที ไม่ขอมีสามีสกุลหลี่> ผู้แต่ง ฉางโกวลั่วเยวี่ย
(หมายเหตุ ชื่อหนังสือตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทบรรยายข้างต้นเป็นการกล่าวถึงลักษณะเรือนซื่อเหอเยวี่ยน หรือเรือนสี่ประสานอันเป็นรูปทรงทั่วไปของเรือนจีนโบราณ (หาอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง)
เอ่อร์ฝาง หรือเรือนห้อย (ดูภาพที่วงไว้ในแผนผังรูปอาคาร และรูปที่เอามาจากในละคร) วิธีจำง่ายๆ คือ “เอ่อร์” แปลว่าหู ก็นึกภาพว่าอาคารหลักมีหูสองข้างเป็นเรือนห้อยนี่แล่ะ เอกลักษณ์ของมันคือมันต้องเป็นห้องที่มีขนาดเล็กและหลังคาเตี้ยกว่าอาคารหลัก
แล้วมันมีไว้เพื่อ? ในองค์ประกอบของเรือนสี่ประสานนั้น ใครอยู่ห้องไหนจะมีลำดับความสำคัญ เช่นเจ้าบ้านจะอยู่ในอาคารหลัก ในอาคารหลักแบ่งให้ผู้อาวุโสพำนักในห้องฝั่งตะวันออก อาวุโสรองลงมาก็อยู่ห้องฝั่งตะวันตก เป็นต้น และสำหรับคฤหาสน์ของคหบดีหรือข้าราชการที่มีฐานะ จะประกอบด้วยหมู่เรือนสี่ประสานหลายชั้น ลูกแต่ละคนก็มีเรือนส่วนตัวแยกเป็นของตนเอง
เนื่องจากเอ่อร์ฝางเป็นเพียงห้องที่ห้อยติดกับอาคารหลัก จึงใช้เป็นห้องนอนสำหรับผู้ที่ด้อยศักดิ์ของครอบครัว หรืออนุ สำหรับบ้านที่ไม่ได้มีหลายหมู่เรือน หรือไว้ใช้อเนกประสงค์สำหรับบ้านที่ใหญ่และมีหมู่เรือนหลายชั้น (อย่างเช่นตัวอย่างตามบทความจากนิยายข้างต้น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/450812871_100288750
https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
http://m.52shijing.com/lsjm/81120.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%80%B3%E6%88%BF
เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเรือนสี่ประสาน อ่านเพิ่มเติม (ภาษาไทย) ได้ที่ https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
#สามีข้าคือฮีโร่ #เกิดใหม่อีกทีไม่ขอมีสามีสกุลหลี่ #บ้านจีนโบราณ #เรือนสี่ประสาน #ซื่อเหอย่วน #เรือนห้อย #เอ่อร์ฝาง #StoryfromStory
วันนี้ยังคงมีเรื่องมาคุยกันจากละคร <สามีข้าเป็นฮีโร่> ต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว สืบเนื่องจากเคยมีเพื่อนเพจอยากให้พูดคุยเกี่ยวกับอาคารบ้านเรือนจีนโบราณ และในละครเรื่องนี้นางเอกพยายามเผาห้องของพระเอกที่อยู่ติดกันซึ่งเรียกว่า “เอ่อร์ฝาง” (耳房) เนื้อหาตอนนี้ในหนังสือเรื่องนี้ไม่มี เราลองทำความเข้าใจเกี่ยวกับเอ่อร์ฝางและเรือนจีนโบราณจากนิยายเรื่องอื่นกัน
ความมีอยู่ว่า
... จิ้งหยวนแม้เป็นเรือนในชั้นรอง แต่ขนาดไม่ใหญ่ อาคารหลักที่เขาทั้งสองพักอาศัยเป็นอาคารสามห้อง ซ้ายขวามีเรือนห้อย (เอ่อร์ฝาง) ถัดไปเบื้องหน้าด้านซ้ายขวาเป็นอาคารตะวันตกและตะวันออก ห้องในอาคารหลักนี้ ประกอบด้วยห้องโถงรับรองตรงกลาง ห้องฟากตะวันตกเป็นห้องหนังสือ ส่วนห้องฟากตะวันออกเป็นห้องนอน มีตีผนังทะลุไปยังเรือนห้อยที่ติดกันกั้นไว้ด้วยผนังฉาก จัดเป็นห้องชำระ...
- จากเรื่อง <เกิดใหม่อีกที ไม่ขอมีสามีสกุลหลี่> ผู้แต่ง ฉางโกวลั่วเยวี่ย
(หมายเหตุ ชื่อหนังสือตามฉบับแปลอย่างเป็นทางการ แต่บทความ Storyฯ แปลเองจ้า)
บทบรรยายข้างต้นเป็นการกล่าวถึงลักษณะเรือนซื่อเหอเยวี่ยน หรือเรือนสี่ประสานอันเป็นรูปทรงทั่วไปของเรือนจีนโบราณ (หาอ่านเพิ่มเติมได้ตามลิ้งค์ข้างล่าง)
เอ่อร์ฝาง หรือเรือนห้อย (ดูภาพที่วงไว้ในแผนผังรูปอาคาร และรูปที่เอามาจากในละคร) วิธีจำง่ายๆ คือ “เอ่อร์” แปลว่าหู ก็นึกภาพว่าอาคารหลักมีหูสองข้างเป็นเรือนห้อยนี่แล่ะ เอกลักษณ์ของมันคือมันต้องเป็นห้องที่มีขนาดเล็กและหลังคาเตี้ยกว่าอาคารหลัก
แล้วมันมีไว้เพื่อ? ในองค์ประกอบของเรือนสี่ประสานนั้น ใครอยู่ห้องไหนจะมีลำดับความสำคัญ เช่นเจ้าบ้านจะอยู่ในอาคารหลัก ในอาคารหลักแบ่งให้ผู้อาวุโสพำนักในห้องฝั่งตะวันออก อาวุโสรองลงมาก็อยู่ห้องฝั่งตะวันตก เป็นต้น และสำหรับคฤหาสน์ของคหบดีหรือข้าราชการที่มีฐานะ จะประกอบด้วยหมู่เรือนสี่ประสานหลายชั้น ลูกแต่ละคนก็มีเรือนส่วนตัวแยกเป็นของตนเอง
เนื่องจากเอ่อร์ฝางเป็นเพียงห้องที่ห้อยติดกับอาคารหลัก จึงใช้เป็นห้องนอนสำหรับผู้ที่ด้อยศักดิ์ของครอบครัว หรืออนุ สำหรับบ้านที่ไม่ได้มีหลายหมู่เรือน หรือไว้ใช้อเนกประสงค์สำหรับบ้านที่ใหญ่และมีหมู่เรือนหลายชั้น (อย่างเช่นตัวอย่างตามบทความจากนิยายข้างต้น)
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)
Credit รูปภาพจาก:
https://www.sohu.com/a/450812871_100288750
https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
Credit เนื้อหารวบรวมจาก:
http://m.52shijing.com/lsjm/81120.html
https://zh.m.wikipedia.org/wiki/%E8%80%B3%E6%88%BF
เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะเรือนสี่ประสาน อ่านเพิ่มเติม (ภาษาไทย) ได้ที่ https://aichineseschool.wordpress.com/tag/%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B5%E0%B8%99/
#สามีข้าคือฮีโร่ #เกิดใหม่อีกทีไม่ขอมีสามีสกุลหลี่ #บ้านจีนโบราณ #เรือนสี่ประสาน #ซื่อเหอย่วน #เรือนห้อย #เอ่อร์ฝาง #StoryfromStory
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
31 มุมมอง
0 รีวิว