• ..ทวนความบัดสบของอดีตผู้นำไทย,ธาตุแท้ที่ไม่สมควรเป็นผู้นำประเทศไทยเลยเมื่อเจอค่าจริงแต่ปฏิเสธว่าคุณคือฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลนะ,ไม่ยินยอมรับผิดตามที่ผู้นำประเทศบอกให้รับผิดนะ.
    ..มันคือความอัปรีย์สุดๆของคดีระหว่างประเทศที่ค่าจริงมีตรึม,หนองจานเป็นของเขมรพะนะ.,ยืนบนแผ่นดินไทยแท้ๆเสือกข้าราชการและนักการเมืองไทยเองอยู่ตรงข้ามกับประชาชนตน,เป็นความอัปยศมลทิลติดตัวมิรู้ลืม,คนจริงแฉคนชั่วเลวสมควรแล้ว.
    ..จริงๆประเทศไทยเรา สมควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทได้แล้ว เหมือนต้องยกเลิกกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะนั้นล่ะ,เพราะอะไร เพราะกฎหมายประเภทนี้ทำให้สังคมเสียสมดุลความเป็นจริง,ถ้าตนเองถูกด่าเพราะเขาไปรู้ว่าทำชั่วอะไร ก็ออกมาโต้คืนว่าไม่ได้จริงนะ มันด่าโคตรพ่มโคตรแมร่งมรึง มรึงก็ด่าคืนสิ เสือกอ้างกฎหมายปิดปากแฉความชั่วตนเสีย,ชุมนุมใครจะออกมาชุมนุมไล่หรือประท้วงตนถ้าไม่ชั่วเลวจริง เขาจึงมาขับไล่ออก ตนมีหลักฐานว่าไม่ชั่วเลวก็แถลงแจ้งสิ,ความจริงมีค่าเดียวอยู่แล้ว เสือกเขียนกฎหมายห้ามและเกิดในยุคหลังทหารยึดอำนาจจากกปปส.ยื่นใส่พานด้วย มันผิดปกติมาก,ผิดปกติคือกฎหมายหมิ่นประมาทแล้ว,เมื่อไม่มี คนจะควบคุมคนเองภายในสังคมเฉพาะบุคคลนัันๆ สองฝ่ายเขานั้น หมิ่นก็หมิ่นก็ด่าล้างโคตรด้วยวาจาหาลงไม้ลงมือกัน,ด่าบรมโคตรใครมันจะเป็นเหี้ยอะไรถ้าตนไม่ใช่คนไม่ดี สามารถด่าบรมโคตรมันคืนก็ได้,
    ..กฎหมายหมิ่นประมาทหากยกเลิกไปได้นะ,จะมีการแฉความจริงมากมาย,ใครทำผิดก็แฉหน้าตาได้,กรณีที่สำคัญอีกตัว คือข่าวแบบพนักงานแบงค์เป็นโจรเสียเองนี้ก็ด้วย ลักขโมยตังในบัญชีคนฝาก กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นประโยชน์ชัดเจนแก่คนผิด,ปกป้องชื่อเสียงธนาคารนั่น ปกป้องพนักงานนั้นๆ,โจรข่มขื่นก็ได้ความดีแก่กฎหมายหมิ่นประมาทด้วย ไม่ให้เปิดเผยใบหน้าใส่หมวกกันน็อคช่วยปกปิดด้วยเพราะถ้ากูอาเสี่ยอาเฮียโดนก็สามารถใช่กฎหมายหมิ่นประมาทนี้ซ่อนใบหน้าได้,หรือใครๆไม่สามารถรุมด่าโคตรพ่อโคตรแมร่งกูได้ที่สั่งสอนมาแล้วข่มขืนเด็กๆได้,
    ..กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นกฎหมายที่ทำลายสังคม
    ..กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นกฎหมายผู้ดีที่ทำลายสมดุลในการปกป้องความสงบสุขแก่สังคม เป็นการกระจายข่าวปกป้องภัยในชุมชนสังคมได้หากยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทเพื่อปกป้องคนชั่วไว้ก่อนก็ว่า.
    ..กฎหมายหมิ่นประมาทจงมองดูดีๆ เกิดจากปากในกรณีพูดจาก,เกิดใจความคิดในกรณีเล่นโซเชียลและเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยมือแทนปาก ด่าว่าแทนปากพูด สรุปกฎหมายหมิ่นประมาทคือกฎหมายปิดปากใช้ควบคุมทาสแบบใส่หน้าอนามัยยุคโควิดนั้นล่ะ,วลีเท่ๆแค่นั่นแต่แท้จริงอีลิทdeep stateต้องการปิดปากคุณและทำตามคำสั่งแค่นั้นหรือรับกฎกติกาอย่างเชื่อฟังสถานเดียว,กูฟ้องนะหมิ่นกู,นี้ไง!!!,นี้จึงกฎหมายที่ทำให้เสียสมดุลธรรมชาติในการจัดการโดยธรรมชาติของคนด้วยกันเอง,มีตัวนี้ก็เสียสมดุล,,กฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะก็ด้วย,นี้ก็ปิดปากประชาชนเช่นกัน ผูกตีนผูกมือไว้หลังจากปิดปากเสร็จ มันเป็นจังหวะเลยนะ,ควบคุมคนทาสดีๆนี้เอง,



    ..https://youtu.be/pddofSa4sJo?si=O4DIL442VA2TuXkF
    ..ทวนความบัดสบของอดีตผู้นำไทย,ธาตุแท้ที่ไม่สมควรเป็นผู้นำประเทศไทยเลยเมื่อเจอค่าจริงแต่ปฏิเสธว่าคุณคือฝั่งตรงข้ามกับรัฐบาลนะ,ไม่ยินยอมรับผิดตามที่ผู้นำประเทศบอกให้รับผิดนะ. ..มันคือความอัปรีย์สุดๆของคดีระหว่างประเทศที่ค่าจริงมีตรึม,หนองจานเป็นของเขมรพะนะ.,ยืนบนแผ่นดินไทยแท้ๆเสือกข้าราชการและนักการเมืองไทยเองอยู่ตรงข้ามกับประชาชนตน,เป็นความอัปยศมลทิลติดตัวมิรู้ลืม,คนจริงแฉคนชั่วเลวสมควรแล้ว. ..จริงๆประเทศไทยเรา สมควรยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทได้แล้ว เหมือนต้องยกเลิกกฎหมายชุมนุมในที่สาธารณะนั้นล่ะ,เพราะอะไร เพราะกฎหมายประเภทนี้ทำให้สังคมเสียสมดุลความเป็นจริง,ถ้าตนเองถูกด่าเพราะเขาไปรู้ว่าทำชั่วอะไร ก็ออกมาโต้คืนว่าไม่ได้จริงนะ มันด่าโคตรพ่มโคตรแมร่งมรึง มรึงก็ด่าคืนสิ เสือกอ้างกฎหมายปิดปากแฉความชั่วตนเสีย,ชุมนุมใครจะออกมาชุมนุมไล่หรือประท้วงตนถ้าไม่ชั่วเลวจริง เขาจึงมาขับไล่ออก ตนมีหลักฐานว่าไม่ชั่วเลวก็แถลงแจ้งสิ,ความจริงมีค่าเดียวอยู่แล้ว เสือกเขียนกฎหมายห้ามและเกิดในยุคหลังทหารยึดอำนาจจากกปปส.ยื่นใส่พานด้วย มันผิดปกติมาก,ผิดปกติคือกฎหมายหมิ่นประมาทแล้ว,เมื่อไม่มี คนจะควบคุมคนเองภายในสังคมเฉพาะบุคคลนัันๆ สองฝ่ายเขานั้น หมิ่นก็หมิ่นก็ด่าล้างโคตรด้วยวาจาหาลงไม้ลงมือกัน,ด่าบรมโคตรใครมันจะเป็นเหี้ยอะไรถ้าตนไม่ใช่คนไม่ดี สามารถด่าบรมโคตรมันคืนก็ได้, ..กฎหมายหมิ่นประมาทหากยกเลิกไปได้นะ,จะมีการแฉความจริงมากมาย,ใครทำผิดก็แฉหน้าตาได้,กรณีที่สำคัญอีกตัว คือข่าวแบบพนักงานแบงค์เป็นโจรเสียเองนี้ก็ด้วย ลักขโมยตังในบัญชีคนฝาก กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นประโยชน์ชัดเจนแก่คนผิด,ปกป้องชื่อเสียงธนาคารนั่น ปกป้องพนักงานนั้นๆ,โจรข่มขื่นก็ได้ความดีแก่กฎหมายหมิ่นประมาทด้วย ไม่ให้เปิดเผยใบหน้าใส่หมวกกันน็อคช่วยปกปิดด้วยเพราะถ้ากูอาเสี่ยอาเฮียโดนก็สามารถใช่กฎหมายหมิ่นประมาทนี้ซ่อนใบหน้าได้,หรือใครๆไม่สามารถรุมด่าโคตรพ่อโคตรแมร่งกูได้ที่สั่งสอนมาแล้วข่มขืนเด็กๆได้, ..กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นกฎหมายที่ทำลายสังคม ..กฎหมายหมิ่นประมาทจึงเป็นกฎหมายผู้ดีที่ทำลายสมดุลในการปกป้องความสงบสุขแก่สังคม เป็นการกระจายข่าวปกป้องภัยในชุมชนสังคมได้หากยกเลิกกฎหมายหมิ่นประมาทเพื่อปกป้องคนชั่วไว้ก่อนก็ว่า. ..กฎหมายหมิ่นประมาทจงมองดูดีๆ เกิดจากปากในกรณีพูดจาก,เกิดใจความคิดในกรณีเล่นโซเชียลและเขียนแสดงความคิดเห็นด้วยมือแทนปาก ด่าว่าแทนปากพูด สรุปกฎหมายหมิ่นประมาทคือกฎหมายปิดปากใช้ควบคุมทาสแบบใส่หน้าอนามัยยุคโควิดนั้นล่ะ,วลีเท่ๆแค่นั่นแต่แท้จริงอีลิทdeep stateต้องการปิดปากคุณและทำตามคำสั่งแค่นั้นหรือรับกฎกติกาอย่างเชื่อฟังสถานเดียว,กูฟ้องนะหมิ่นกู,นี้ไง!!!,นี้จึงกฎหมายที่ทำให้เสียสมดุลธรรมชาติในการจัดการโดยธรรมชาติของคนด้วยกันเอง,มีตัวนี้ก็เสียสมดุล,,กฎหมายการชุมนุมในที่สาธารณะก็ด้วย,นี้ก็ปิดปากประชาชนเช่นกัน ผูกตีนผูกมือไว้หลังจากปิดปากเสร็จ มันเป็นจังหวะเลยนะ,ควบคุมคนทาสดีๆนี้เอง, ..https://youtu.be/pddofSa4sJo?si=O4DIL442VA2TuXkF
    0 Comments 0 Shares 21 Views 0 Reviews
  • ดอกไม้สำคัญในศาสนาพุทธ : สัญลักษณ์และความหมายทางจิตวิญญาณ
    ดอกบัว : สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้
    ดอกบัวที่มีรากหยั่งและเติบโตในโคลน แต่ดอกจะผลิบานอยู่เหนือผิวน้ำ ถือว่าเป็นดอกไม้แห่งพระพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้ ความหมายของดอกบัวสามารถหมายถึงการเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายและความสงบที่เกิดจากภายในตัวเรา ดอกบัวในทางพุทธศาสนามีความลึกซึ้ง อุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ได้แก่ บัวพ้นน้ำ ผู้ที่มีความพร้อมมีปัญญาสามารถมองเห็นเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลได้ บัวปริ่มน้ำ จำต้องพัฒนาซึ่งเมื่อขยายความเล็กน้อยก็จะมีความเข้าใจ บัวที่อยู่ใต้น้ำ ต้องอาศัยการเพาะบ่ม อบรมฝึกฝนอยู่เสมอ และบัวที่จม อยู่กับโคลนตมเป็นเหยื่อของสัตว์น้ำ แม้จะได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจหรือรึความหมายตามได้ แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้กลายมาเป็นบัวที่พ้นน้ำได้
    ดอกไม้สำคัญในศาสนาพุทธ : สัญลักษณ์และความหมายทางจิตวิญญาณ ดอกบัว : สัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ ดอกบัวที่มีรากหยั่งและเติบโตในโคลน แต่ดอกจะผลิบานอยู่เหนือผิวน้ำ ถือว่าเป็นดอกไม้แห่งพระพุทธศาสนาเลยก็ว่าได้ ความหมายของดอกบัวสามารถหมายถึงการเอาชนะอุปสรรคทั้งหลายและความสงบที่เกิดจากภายในตัวเรา ดอกบัวในทางพุทธศาสนามีความลึกซึ้ง อุปมาเปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว 4 จำพวก ได้แก่ บัวพ้นน้ำ ผู้ที่มีความพร้อมมีปัญญาสามารถมองเห็นเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุผลได้ บัวปริ่มน้ำ จำต้องพัฒนาซึ่งเมื่อขยายความเล็กน้อยก็จะมีความเข้าใจ บัวที่อยู่ใต้น้ำ ต้องอาศัยการเพาะบ่ม อบรมฝึกฝนอยู่เสมอ และบัวที่จม อยู่กับโคลนตมเป็นเหยื่อของสัตว์น้ำ แม้จะได้ฟังธรรมก็ไม่อาจเข้าใจหรือรึความหมายตามได้ แต่อย่างไรก็ตามมนุษย์ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้กลายมาเป็นบัวที่พ้นน้ำได้
    0 Comments 0 Shares 65 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 153 Views 0 Reviews
  • เมื่อไหร่หนอสยามนี้จักเอาแบบอย่างนี้ ทำไมๆ ประหารพวกโกงแดก ค้ายา ข่มขืน โดยยิงเป้าถ่ายทอดสด ทำไมทำไม่ได้
    บ้านเรากดหมายเรากำหนดเองเพื่อปวงชน ความสงบมั่งคั่ง ทำไม ๆ ๆ หนอ
    เมื่อไหร่หนอสยามนี้จักเอาแบบอย่างนี้ ทำไมๆ ประหารพวกโกงแดก ค้ายา ข่มขืน โดยยิงเป้าถ่ายทอดสด ทำไมทำไม่ได้ บ้านเรากดหมายเรากำหนดเองเพื่อปวงชน ความสงบมั่งคั่ง ทำไม ๆ ๆ หนอ
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 45 Views 0 Reviews
  • เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๘ ความว่า

    “ดิถีอาสาฬหบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ควรที่สาธุชนจักได้น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีพระอริยสงฆ์ ครบถ้วนพร้อมเป็น“พระรัตนตรัย” ซึ่งเป็นสรณะนำทางชีวิตของพุทธบริษัท ให้มุ่งหน้าดำเนินไปสู่หนทางดับเพลิงทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง

    “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นปฐมเทศนานั้น คือวิถีทางดับทุกข์ด้วยมรรคมีองค์ ๘ หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่ามกลางสถานการณ์ทางเทคโนโลยีการสื่อสารอันรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ความสงบสุขในโลกกลับถดถอยเสื่อมทรามลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะทุกคนต้องจำทนอยู่ในวังวนแห่งความรู้สึกชิงชัง ก้าวร้าว และตึงเครียด โดยเหตุที่เสพคุ้นกับข้อมูลเท็จ การส่อเสียด คำหยาบคาย และความเพ้อเจ้อ จนกระทบกระเทือนสุขภาพจิต ท่านทั้งหลายจึงควรคิดหันมาศึกษาพิจารณาอริยมรรค แล้วมุ่งมั่นดำเนินจริยาไปบนหนทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุประการหนึ่ง กล่าวคือ การปลูกฝังสั่งสมให้ตนเอง และบรรดาสมาชิกในสังคม มีค่านิยมในการครอง “สัมมาวาจา” ซึ่งหมายถึง “การเจรจาชอบ” ไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ขอให้ช่วยกันเพิ่มพูนสติยับยั้งการสื่อสารของตนและคนรอบข้าง อย่าพลั้งเผลอหรือสนุกคะนองในการใช้มิจฉาวาจา ขอจงรักษาคำจริงและความจริงไว้ทุกเมื่อ ขอให้สำนึกไว้เสมอว่า เมื่อใดที่บุคคลใดพูดหรือเขียนคำเท็จ คำส่อเสียด คำหยาบคาย และคำเพ้อเจ้อ ไม่ว่าในช่องทางใด หรือวาระโอกาสใด เมื่อนั้นคือการอวดความทรุดโทรมต่ำช้าที่หยั่งรากอยู่ในความสืบเนื่องแห่งอุปนิสัยของบุคคลนั้น อันนับว่าน่าอับอาย มากกว่าที่น่าจะนำมาอวดแสดงกัน

    วันอาสาฬหบูชา นอกจากจะเตือนใจให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัทแล้ว ยังอาจเตือนใจให้ทุกท่าน ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรคข้อ “สัมมาวาจา” เพราะฉะนั้น หากท่านประสงค์ให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข จงหมั่นเพียรศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมะ มีน้ำใจกล้าหาญที่จะละทิ้งมิจฉาวาจา เพื่อให้ทุกครอบครัว และทุกชุมชน เป็นสถานที่ปลอดจากการหลอกลวง การวิวาทบาดหมาง และความตึงเครียด นับเป็นการเกื้อกูลตนเอง และสรรพชีวิตทั่วหน้า ให้สามารถพ้นจากภยันตรายได้สมตามความมุ่งมาดปรารถนาอย่างแท้จริง อนึ่ง ขอความเจริญงอกงามในพระสัทธรรม จงพลันบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้มีวาจาชอบ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ.”
    เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประทานพระคติธรรม เนื่องในวันอาสาฬหบูชา วันพฤหัสบดี ที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๖๘ ความว่า “ดิถีอาสาฬหบูชาได้เวียนมาบรรจบอีกคำรบหนึ่งแล้ว ควรที่สาธุชนจักได้น้อมรำลึกถึงเหตุการณ์ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงปฐมเทศนาโปรดปัญจวัคคีย์ ณ อิสิปตนมฤคทายวัน อันเป็นการเริ่มประกาศพระศาสนา กระทั่งบังเกิดมีพระอริยสงฆ์ ครบถ้วนพร้อมเป็น“พระรัตนตรัย” ซึ่งเป็นสรณะนำทางชีวิตของพุทธบริษัท ให้มุ่งหน้าดำเนินไปสู่หนทางดับเพลิงทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นปฐมเทศนานั้น คือวิถีทางดับทุกข์ด้วยมรรคมีองค์ ๘ หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่า ท่ามกลางสถานการณ์ทางเทคโนโลยีการสื่อสารอันรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ความสงบสุขในโลกกลับถดถอยเสื่อมทรามลงอย่างเห็นได้ชัด เพราะทุกคนต้องจำทนอยู่ในวังวนแห่งความรู้สึกชิงชัง ก้าวร้าว และตึงเครียด โดยเหตุที่เสพคุ้นกับข้อมูลเท็จ การส่อเสียด คำหยาบคาย และความเพ้อเจ้อ จนกระทบกระเทือนสุขภาพจิต ท่านทั้งหลายจึงควรคิดหันมาศึกษาพิจารณาอริยมรรค แล้วมุ่งมั่นดำเนินจริยาไปบนหนทางแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุประการหนึ่ง กล่าวคือ การปลูกฝังสั่งสมให้ตนเอง และบรรดาสมาชิกในสังคม มีค่านิยมในการครอง “สัมมาวาจา” ซึ่งหมายถึง “การเจรจาชอบ” ไว้ให้ได้อย่างมั่นคง ขอให้ช่วยกันเพิ่มพูนสติยับยั้งการสื่อสารของตนและคนรอบข้าง อย่าพลั้งเผลอหรือสนุกคะนองในการใช้มิจฉาวาจา ขอจงรักษาคำจริงและความจริงไว้ทุกเมื่อ ขอให้สำนึกไว้เสมอว่า เมื่อใดที่บุคคลใดพูดหรือเขียนคำเท็จ คำส่อเสียด คำหยาบคาย และคำเพ้อเจ้อ ไม่ว่าในช่องทางใด หรือวาระโอกาสใด เมื่อนั้นคือการอวดความทรุดโทรมต่ำช้าที่หยั่งรากอยู่ในความสืบเนื่องแห่งอุปนิสัยของบุคคลนั้น อันนับว่าน่าอับอาย มากกว่าที่น่าจะนำมาอวดแสดงกัน วันอาสาฬหบูชา นอกจากจะเตือนใจให้รำลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อันเป็นสรณะสูงสุดของพุทธบริษัทแล้ว ยังอาจเตือนใจให้ทุกท่าน ตระหนักแน่วแน่ในอริยมรรคข้อ “สัมมาวาจา” เพราะฉะนั้น หากท่านประสงค์ให้สังคมไทยร่มเย็นเป็นสุข จงหมั่นเพียรศึกษาอบรมและปฏิบัติธรรมะ มีน้ำใจกล้าหาญที่จะละทิ้งมิจฉาวาจา เพื่อให้ทุกครอบครัว และทุกชุมชน เป็นสถานที่ปลอดจากการหลอกลวง การวิวาทบาดหมาง และความตึงเครียด นับเป็นการเกื้อกูลตนเอง และสรรพชีวิตทั่วหน้า ให้สามารถพ้นจากภยันตรายได้สมตามความมุ่งมาดปรารถนาอย่างแท้จริง อนึ่ง ขอความเจริญงอกงามในพระสัทธรรม จงพลันบังเกิดมีแด่สาธุชนผู้มีวาจาชอบ โดยทั่วหน้ากัน เทอญ.”
    Like
    Love
    2
    0 Comments 0 Shares 100 Views 0 Reviews
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    สัทธรรมลำดับที่ : 680
    ชื่อบทธรรม :- สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ

    ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+อนริยา
    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย
    กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค
    (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)”
    ดังนี้.
    --จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ?
    ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ”
    ดังนี้.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้
    เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน
    เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด
    ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ
    ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม
    ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ
    +--จุนทะ !
    คนบางคน ในกรณีนี้
    เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในโลกนี้
    ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในกรณีนี้
    กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓.
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    คนบางคนในกรณีนี้
    อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ :
    นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔.

    ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/144/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+สมฺมา
    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)”
    ดังนี้ ;
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่.
    ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ
    แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้
    เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด
    เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ
    เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.
    สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ?
    +--จุนทะ ! สี่อย่างคือ
    +--ภิกษุในกรณีนี้
    เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท.
    จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    +--ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้
    จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน
    นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร
    มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    +--ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย
    บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า
    ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ;
    +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้
    เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน
    จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข
    มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่
    : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สี่.
    --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล
    เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด
    ....ฯลฯ....
    เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว.
    --จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่
    คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า
    “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้”
    ดังนี้.
    พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว.
    ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ;
    จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้.
    #ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ
    http://etipitaka.com/read/pali/11/145/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+ผลานิ

    --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า
    “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ”
    เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า
    “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้
    หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง.
    สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ
    ๑--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม #เป็นโสดาบัน
    มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า
    : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๒--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม
    และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง #เป็นสกทาคามี
    มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
    : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๓--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง #เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
    : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม.
    อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก :
    ๔--ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง $เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้
    #เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่
    : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่.
    อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง
    เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้”
    ดังนี้.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/102-104/114-116
    http://etipitaka.com/read/thai/11/102/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖
    http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=680
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48
    ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ สัทธรรมลำดับที่ : 680 ชื่อบทธรรม :- สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680 เนื้อความทั้งหมด :- --สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+อนริยา --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. --จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ +--จุนทะ ! คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔. ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/144/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+สมฺมา --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? +--จุนทะ ! สี่อย่างคือ +--ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : +--ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : +--ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; +--จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สี่. --จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. --จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้. #ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ http://etipitaka.com/read/pali/11/145/?keywords=สุขลฺลิกานุโย+ผลานิ --จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ๑--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม #เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๒--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง #เป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๓--ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง #เป็นโอปปาติกะ(อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ๔--ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง $เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ #เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ปา. ที. 11/102-104/114-116 http://etipitaka.com/read/thai/11/102/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ปา. ที. ๑๑/๑๔๓-๑๔๕/๑๑๔-๑๑๖ http://etipitaka.com/read/pali/11/143/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%91%E0%B9%94 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=680 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=680 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48 ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียง... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ
    -(ความชุ่มอยู่ในกามสุข เรียกว่ากามสุขัลลิกะ, การประกอบตนอยู่ในกามสุขัลลิกะ เรียกว่า กามสุขัลลิกานุโยค ; จัดเป็นอันตะฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นข้าศึกแก่มัชฌิมาปฏิปทา) . สุขัลลิกานุโยค ๒ แบบ ก. สุขัลลิกานุโยคของมิจฉาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค (ประกอบตนให้ชุ่มอยู่ด้วยความสุข)” ดังนี้. จุนทะ ! เมื่อปริพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นกล่าวอยู่อย่างนี้ พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า “อาวุโส ! สุขัลลิกานุโยคชนิดไหนกัน ? ก็สุขัลลิกานุโยคมีอยู่มาก หลายอย่างหลายประการ” ดังนี้. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นการกระทำที่ต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อความดับ ความสงบระงับ ไม่เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง ความรู้พร้อม ไม่เป็นไปเพื่อนิพพานสี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างคือ คนบางคน ในกรณีนี้ เป็นคนพาล ฆ่าสัตว์มีชีวิตแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๑. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในโลกนี้ ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เลี้ยงตัวเองให้ป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๒. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้ กล่าวเท็จแล้ว เลี้ยงตัวเองให้เป็นสุขให้อิ่มหนำ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคข้อที่ ๓. จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : คนบางคนในกรณีนี้อิ่มเอิบเพียบพร้อมด้วยกามคุณทั้งห้า ให้เขาบำเรออยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยค ข้อที่ ๔. ข. สุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างตามประกอบด้วยสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านั้น (เป็นแน่)” ดังนี้ ; พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า หาใช่อย่างนั้นไม่. ปริพาชกเหล่านั้น ไม่ได้กล่าวแก่พวกเธอโดยชอบ แต่กล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้ เป็นไปเพื่อความหน่ายความคลายกำหนัด เป็นไปเพื่อความดับ ความเข้าไปสงบรำงับ เป็นไปเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้พร้อม เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. สี่อย่างเหล่าไหนเล่า ? จุนทะ ! สี่อย่างคือ ภิกษุในกรณีนี้ เพราะสงัดจากกามและอกุศลธรรม ท. จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่หนึ่ง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุณานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สอง ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ จึงอยู่อุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข, แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่สาม ; จุนทะ ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัส ท. ในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความมีสติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่ : นี้เป็นสุขัลลิกานุโยคที่. จุนทะ ! สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้แล เป็นไปเพื่อความหน่าย ความคลายกำหนัด ....ฯลฯ.... เพื่อนิพพาน, โดยส่วนเดียว. จุนทะ ! นั่นแหละ คือฐานะที่มีอยู่ คือฐานะที่ปริพพาชกผู้เป็น ลัทธิอื่น ท. จะกล่าวอย่างนี้ ว่า “พวกสมณศากยปุตติย์ อยู่กันอย่างประกอบด้วย สุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้. พวกเธอพึงกล่าวกะเขาว่า อย่างนั้นถูกแล้ว. ปริพพาชกเหล่านั้นกล่าวกะพวกเธออยู่อย่างถูกต้อง ; จะกล่าวตู่พวกเธอด้วยคำไม่จริง ไม่แท้ ก็หามิได้. ผลแห่งสุขัลลิกานุโยคของสัมมาทิฏฐิ จุนทะ ! อาจจะมีปริพพาชกผู้เป็นลัทธิอื่นทั้งหลาย กล่าวกะพวกเธออย่างนี้ ว่า “อาวุโส ! เมื่อท่านทั้งหลาย ตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ ท่านหวังผลอะไร หวังอานิสงส์อะไร ? ” เมื่อพวกเขากล่าวอย่างนี้ เธอพึงกล่าวตอบเขาว่า “อาวุโส ! พวกเราตามประกอบอยู่ซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่างเหล่านี้ หวังผล ๔ อย่าง หวังอานิสงส์ ๔ อย่าง. สี่อย่าง อย่างไรเล่า ? สี่อย่างในกรณีนี้ คือ ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม เป็น โสดาบัน มีอันไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงแท้ต่อนิพพาน มีการตรัสรู้พร้อมในเบื้องหน้า : นี้เป็น ผลที่หนึ่ง เป็นอานิสงส์ที่หนึ่ง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์สาม และเพราะความที่ราคะโทสะโมหะเป็นธรรมชาติเบาบาง เป็น สกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ : นี้เป็น ผลที่สอง เป็นอานิสงส์ที่สอง. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุ เพราะความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ในเบื้องต่ำทั้งห้าอย่าง เป็น โอปปาติกะ (อนาคามี) มีการปรินิพพานในภพนั้น ไม่เวียนกลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา : นี้เป็น ผลที่สาม เป็นอานิสงส์ที่สาม. อาวุโส ! ข้ออื่นยังมีอีก : ภิกษุกระทำให้แจ้งซึ่ง เจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในทิฏฐธรรมนี้ เข้าถึงแล้วแลอยู่ : นี้เป็น ผลที่สี่ เป็นอานิสงส์ที่สี่. อาวุโส ! เราทั้งหลายตามประกอบซึ่งสุขัลลิกานุโยค ๔ อย่าง เหล่านี้อยู่ เพราะหวังผล ๔ อย่างเหล่านี้” ดังนี้.
    0 Comments 0 Shares 131 Views 0 Reviews
  • อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา.
    สัทธรรมลำดับที่ : 677
    ชื่อบทธรรม :- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย)
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=677
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย)
    [ตอนอุทเทส]
    --บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่ง กามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม
    เป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ
    ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง อัตตกิลมถานุโยค
    อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์.
    --ต่อไปนี้เป็น ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
    ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ
    เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
    --ควรรู้จักการกระทำที่เป็นการเชิดชู (อุสฺสาทน) และ
    การกระทำที่เป็นการขับไล่ไสส่ง (อปสาทน),
    ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงกระทำการแกล้งเชิดชู
    ไม่พึงกระทำการขับไล่ไสส่ง พึงแสดงแต่ที่เป็นธรรมเท่านั้น.
    ควรรู้จักวินิจฉัยในกรณีแห่งความสุข,
    ครั้นรู้แล้ว พึงตามประกอบซึ่งความสุขในภายใน.
    ไม่ควรกล่าว รโหวาทะ (การกล่าวในที่ลับหลัง) ที่ไม่ควรกล่าว ;
    ไม่ควรกล่าวอติขีณวาท (การกล่าวใส่หน้า) ที่ไม่ควรกล่าว ;
    ไม่ควรกล่าวอย่างรีบร้อนจนปากสั่นเสียงสั่น ;
    ไม่พึงยึดถือภาษาพูดของชาวเมือง ไม่เพิกถอนโลกสมัญญา (ภาษาพูดของชาวโลก) ; ดังนี้.
    นี้คือหัวข้อ (อุทฺเทส) แห่งอรณวิภังคะ
    (การแยกธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ออกเสียจากธรรมที่เป็นข้าศึก).
    [ตอนนิทเทส]
    --ธรรมใดซึ่งเป็นการตามประกอบซึ่งโสมนัส ของผู้มีสุขอันเนื่อง
    เฉพาะอยู่ด้วยกาม เป็นการกระทำต่ำทราม
    เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
    ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น
    ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วย ความเผาลน
    เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).
    --ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบด้วยโสมมัส
    ของผู้มีสุขอันเนื่องเฉพาะอยู่ด้วยกาม อันเป็นการประกอบด้วยโสมนัสซึ่งต่ำทราม
    เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
    ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น
    ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน
    เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็น ข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).
    --ธรรมใด เป็นการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก (อตฺตกิลม ถานุโยค)
    อันเป็นการกระทำที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
    ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น
    ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วยความเผาลน
    เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อ มัชฌิมาปฏิปทา).
    --ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก
    อันเป็นการตามประกอบที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
    ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น
    ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน
    เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา).
    --คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า
    “บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่งกามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน
    เป็นของคนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
    และไม่พึงตามประกอบซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์
    ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์”
    ดังนี้,
    คำนั้นเราอาศัยเหตุผล (ดังกล่าวข้างบน) นี้ กล่าวแล้ว.
    --ก็คำที่เรากล่าวแล้วว่า
    “ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา)
    ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ
    เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน”
    ดังนี้
    --นั้น(คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาในที่นี้) เรากล่าวแล้วหมายถึงอะไร ? หมายถึง
    อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้ นั่นเทียว กล่าวคือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    ....
    --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานี้ ใดอันเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
    เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ;
    ธรรม (มัชฌิมาปฏิปทา) นั้น เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยทุกข์
    ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ
    ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา
    เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ธรรมไม่เป็นข้าศึก (อรณ) .

    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :- อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๒-๔๒๔,๔๓๑/๖๕๔-๖๕๖,๖๖๕.
    http://etipitaka.com/read/pali/14/422/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95%E0%B9%94

    --- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลี ติก.อํ.)
    --ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ
    อาคาฬ๎หปฏิปทา (ปฏิปทาเปียกแฉะ),
    นิชฌามปฏิปทา (ปฏิปทาไหม้เกรียม),
    มัชฌิมาปฏิปทา (ปฏิปทาสายกลาง)​.
    --ภิกษุ ท. ! อาคาฬ๎หปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! บุคคลบาง คนในกรณีนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า
    “โทษในกามทั้งหลายไม่มี” ดังนี้
    เขาย่อมถึงความจมอยู่ในกามทั้งหลาย :
    +--นี้เรียกว่า อาคาฬ๎หปฏิปทา (มิใช่ มัชฌิมาปฏิปทา).

    --ภิกษุ ท. ! นิชฌามปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้
    เป็นผู้ปฏิบัติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว
    เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ
    ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา
    ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์...
    ....ฯลฯ....
    +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา (มิใช่มัชฌิมาปฏิปทา).

    --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้
    ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ;
    ย่อมเจริญสัมมาวาจา ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ;
    ย่อมเจริญสัมมาวายามะ ย่อมเจริญสัมมาสติ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ :
    +--นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา.
    --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลปฏิปทา ๓ อย่าง.-

    (อาคาฬ๎หปฏิปทาและ นิชฌามปฏิปทา สองอย่างนี้
    แม้มีชื่อต่างจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค
    ก็ต่างกันสักว่าชื่อ ส่วนใจความเป็นอย่างเดียวกัน.
    ทั้งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อมัชฌิมาปฏิปทา
    จึงนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ในฐานะเป็นข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา
    ).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/288-289/597.
    http://etipitaka.com/read/thai/20/288/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%97
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๓๘๑-๓๘๒/๕๙๗.
    http://etipitaka.com/read/pali/20/381/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%97
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=677
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=677
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48
    ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    อริย​สาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา. สัทธรรมลำดับที่ : 677 ชื่อบทธรรม :- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย) https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=677 เนื้อความทั้งหมด :- --ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย) [ตอนอุทเทส] --บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่ง กามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง อัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. --ต่อไปนี้เป็น ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. --ควรรู้จักการกระทำที่เป็นการเชิดชู (อุสฺสาทน) และ การกระทำที่เป็นการขับไล่ไสส่ง (อปสาทน), ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงกระทำการแกล้งเชิดชู ไม่พึงกระทำการขับไล่ไสส่ง พึงแสดงแต่ที่เป็นธรรมเท่านั้น. ควรรู้จักวินิจฉัยในกรณีแห่งความสุข, ครั้นรู้แล้ว พึงตามประกอบซึ่งความสุขในภายใน. ไม่ควรกล่าว รโหวาทะ (การกล่าวในที่ลับหลัง) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอติขีณวาท (การกล่าวใส่หน้า) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอย่างรีบร้อนจนปากสั่นเสียงสั่น ; ไม่พึงยึดถือภาษาพูดของชาวเมือง ไม่เพิกถอนโลกสมัญญา (ภาษาพูดของชาวโลก) ; ดังนี้. นี้คือหัวข้อ (อุทฺเทส) แห่งอรณวิภังคะ (การแยกธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ออกเสียจากธรรมที่เป็นข้าศึก). [ตอนนิทเทส] --ธรรมใดซึ่งเป็นการตามประกอบซึ่งโสมนัส ของผู้มีสุขอันเนื่อง เฉพาะอยู่ด้วยกาม เป็นการกระทำต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วย ความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). --ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบด้วยโสมมัส ของผู้มีสุขอันเนื่องเฉพาะอยู่ด้วยกาม อันเป็นการประกอบด้วยโสมนัสซึ่งต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็น ข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). --ธรรมใด เป็นการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก (อตฺตกิลม ถานุโยค) อันเป็นการกระทำที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วยความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อ มัชฌิมาปฏิปทา). --ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก อันเป็นการตามประกอบที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). --คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า “บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่งกามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่งอัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ดังนี้, คำนั้นเราอาศัยเหตุผล (ดังกล่าวข้างบน) นี้ กล่าวแล้ว. --ก็คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน” ดังนี้ --นั้น(คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาในที่นี้) เรากล่าวแล้วหมายถึงอะไร ? หมายถึง อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้ นั่นเทียว กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. .... --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานี้ ใดอันเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ; ธรรม (มัชฌิมาปฏิปทา) นั้น เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ธรรมไม่เป็นข้าศึก (อรณ) . อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก :- อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๒-๔๒๔,๔๓๑/๖๕๔-๖๕๖,๖๖๕. http://etipitaka.com/read/pali/14/422/?keywords=%E0%B9%96%E0%B9%95%E0%B9%94 --- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (ตามบาลี ติก.อํ.) --ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่าง คือ อาคาฬ๎หปฏิปทา (ปฏิปทาเปียกแฉะ), นิชฌามปฏิปทา (ปฏิปทาไหม้เกรียม), มัชฌิมาปฏิปทา (ปฏิปทาสายกลาง)​. --ภิกษุ ท. ! อาคาฬ๎หปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! บุคคลบาง คนในกรณีนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “โทษในกามทั้งหลายไม่มี” ดังนี้ เขาย่อมถึงความจมอยู่ในกามทั้งหลาย : +--นี้เรียกว่า อาคาฬ๎หปฏิปทา (มิใช่ มัชฌิมาปฏิปทา). --ภิกษุ ท. ! นิชฌามปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์... ....ฯลฯ.... +--ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา (มิใช่มัชฌิมาปฏิปทา). --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ; ย่อมเจริญสัมมาวาจา ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ; ย่อมเจริญสัมมาวายามะ ย่อมเจริญสัมมาสติ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ : +--นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลปฏิปทา ๓ อย่าง.- (อาคาฬ๎หปฏิปทาและ นิชฌามปฏิปทา สองอย่างนี้ แม้มีชื่อต่างจากกามสุขัลลิกานุโยคและอัตตกิลมถานุโยค ก็ต่างกันสักว่าชื่อ ส่วนใจความเป็นอย่างเดียวกัน. ทั้งสองอย่างนี้เป็นปฏิปักษ์ต่อมัชฌิมาปฏิปทา จึงนำมากล่าวไว้ในที่นี้ ในฐานะเป็นข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา ). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. 20/288-289/597. http://etipitaka.com/read/thai/20/288/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%97 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ติก.อํ. ๒๐/๓๘๑-๓๘๒/๕๙๗. http://etipitaka.com/read/pali/20/381/?keywords=%E0%B9%95%E0%B9%99%E0%B9%97 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=677 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=677 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48 ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย)
    -อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลีอรณวิภังคสูตรมัชฌิมนิกาย) [ตอนอุทเทส] บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่ง กามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง อัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์. ต่อไปนี้เป็น ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. ควรรู้จักการกระทำที่เป็นการเชิดชู (อุสฺสาทน) และการกระทำที่เป็นการขับไล่ไสส่ง (อปสาทน), ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงกระทำการแกล้งเชิดชู ไม่พึงกระทำการขับไล่ไสส่ง พึงแสดงแต่ที่เป็นธรรมเท่านั้น. ควรรู้จักวินิจฉัยในกรณีแห่งความสุข, ครั้นรู้แล้ว พึงตามประกอบซึ่งความสุขในภายใน. ไม่ควรกล่าว รโหวาทะ (การกล่าวในที่ลับหลัง) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอติขีณวาท (การกล่าวใส่หน้า) ที่ไม่ควรกล่าว ; ไม่ควรกล่าวอย่างรีบร้อนจนปากสั่นเสียงสั่น ; ไม่พึงยึดถือภาษาพูดของชาวเมือง ไม่เพิกถอนโลกสมัญญา (ภาษาพูดของชาวโลก) ; ดังนี้. นี้คือหัวข้อ (อุทฺเทส) แห่งอรณวิภังคะ (การแยกธรรมอันไม่เป็นข้าศึก ออกเสียจากธรรมที่เป็นข้าศึก). [ตอนนิทเทส] ธรรมใดซึ่งเป็นการตามประกอบซึ่งโสมนัส ของผู้มีสุขอันเนื่อง เฉพาะอยู่ด้วยกาม เป็นการกระทำต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของชั้นปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วย ความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบด้วยโสมมัส ของผู้มีสุขอันเนื่องเฉพาะอยู่ด้วยกาม อันเป็นการประกอบด้วยโสมนัสซึ่งต่ำทรามเป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็น ข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). ธรรมใด เป็นการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก (อตฺตกิลม ถานุโยค) อันเป็นการกระทำที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ประกอบด้วยทุกข์ ประกอบด้วยความคับแค้น ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ประกอบด้วยความเผาลน เป็นมิจฉาปฏิปทา (เป็นข้าศึกต่อ มัชฌิมาปฏิปทา). ธรรมใด ไม่เป็นการตามประกอบ ซึ่งการตามประกอบในการทำตนให้ลำบาก อันเป็นการตามประกอบที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, ธรรมนั้น ไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา (ไม่เป็นข้าศึกต่อมัชฌิมาปฏิปทา). คำใด ที่เรากล่าวแล้วว่า “บุคคลไม่พึงตามประกอบซึ่งกามสุข อันเป็นสุขที่ต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน มิใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ และไม่พึงตามประกอบซึ่ง อัตตกิลมถานุโยค อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์” ดังนี้, คำนั้นเราอาศัยเหตุผล (ดังกล่าวข้างบน) นี้ กล่าวแล้ว. ก็คำที่เรากล่าวแล้วว่า “ต่อไปนี้เป็นข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน” ดังนี้นั้น(คำว่ามัชฌิมาปฏิปทาในที่นี้) เรากล่าวแล้วหมายถึงอะไร ? หมายถึง อริยอัฎฐังคิกมรรคนี้ นั่นเทียว กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. .... ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทานี้ ใด. อันเป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน ; ธรรม (มัชฌิมาปฏิปทา) นั้น เป็นธรรมไม่ประกอบด้วยทุกข์ ไม่ประกอบด้วยความคับแค้น ไม่ประกอบด้วยความแห้งผากในใจ ไม่ประกอบด้วยความเผาลน เป็นสัมมาปฏิปทา เพราะเหตุนั้น ธรรมนั้นจึงชื่อว่า ธรรมไม่เป็นข้าศึก (อรณ) . อุปริ. ม. ๑๔/๔๒๒-๔๒๔,๔๓๑/๖๕๔-๖๕๖,๖๖๕. อีกนัยหนึ่ง (ตามบาลี ติก.อํ.) ภิกษุ ท. ! ปฏิปทา ๓ อย่างเหล่านี้ มีอยู่. สามอย่าง อย่างไรเล่า ? สามอย่างคือ อาคาฬ๎หปฏิปทา (ปฏิปทาเปียกแฉะ), นิชฌามปฏิปทา (ปฏิปทาไหม้เกรียม), มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! อาคาฬ๎หปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบาง คนในกรณีนี้ มีวาทะอย่างนี้ มีทิฏฐิอย่างนี้ ว่า “โทษในกามทั้งหลายไม่มี” ดังนี้ เขาย่อมถึงความจมอยู่ในกามทั้งหลาย : นี้เรียกว่า อาคาฬ๎หปฏิปทา (มิใช่ มัชฌิมาปฏิปทา). ภิกษุ ท. ! นิชฌามปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! บุคคลบางคนในกรณีนี้ เป็นผู้ปฏิบัติเปลือยกาย มีมรรยาทอันปล่อยทิ้งเสียแล้ว เป็นผู้ประพฤติเช็ดอุจจาระของตนด้วยมือ ถือเป็นผู้ไม่รับอาหารที่เขาร้องเชิญว่าท่านผู้เจริญจงมา ไม่รับอาหารที่เขาร้องนิมนต์......ฯลฯ.... (รายละเอียดต่อไปจากนี้ มีอีกมาก ดูจากข้อความในหนังสือพุทธประวัติจากพระโอษฐ์ ที่หัวข้อว่า “ทรงประพฤติอัตตกิลมถานุโยค” ที่หน้า ๕๖-๕๘ จนถึงคำว่า ....... เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการลงสู่แม่น้ำเวลาเย็นเป็นครั้งที่สามบ้าง, เราประกอบตามซึ่งความเพียรในการทำ (กิเลสในกายให้เหือดแห้ง ด้วยวิธีต่างๆ เช่นนี้ ด้วยอาการนี้อยู่). ภิกษุ ท. ! นี้เรียกว่า นิชฌามปฏิปทา (มิใช่มัชฌิมาปฏิปทา). ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ภิกษุในกรณีนี้ ย่อมเจริญสัมมาทิฏฐิ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ย่อมเจริญสัมมาวาจา ย่อมเจริญสัมมากัมมันตะ ย่อมเจริญสัมมาอาชีวะ ย่อมเจริญสัมมาวายามะ ย่อมเจริญสัมมาสติ ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ : นี้เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แลปฏิปทา ๓ อย่าง.
    0 Comments 0 Shares 167 Views 0 Reviews
  • อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)
    สัทธรรมลำดับที่ : 676
    ชื่อบทธรรม :- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=676
    เนื้อความทั้งหมด :-
    หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค
    --ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค)
    --ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง
    ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ
    ๑.การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=กามสุขลฺลิกานุโยโค
    อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน
    ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และ
    ๒.การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อตฺตกิลมถานุโยโค

    #อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์,
    สองอย่างนี้แล.

    --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา
    ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น
    เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ
    เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน.
    --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง
    ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ
    ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ
    สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง),
    สัมมาวาจา (การพูดจาที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง)
    สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง),
    สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง)
    สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นคงที่ถูกต้อง).

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/416/1664.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/416/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94
    ศึกษา​เพิ่มเติม..
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=676
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=676
    หรือ
    http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48
    ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    อริยสาวกพึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค) สัทธรรมลำดับที่ : 676 ชื่อบทธรรม :- ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค) https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=676 เนื้อความทั้งหมด :- หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค --ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค) --ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ ๑.การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=กามสุขลฺลิกานุโยโค อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และ ๒.การประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อตฺตกิลมถานุโยโค #อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล. --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน. --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง), สัมมาวาจา (การพูดจาที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง), สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (ความตั้งจิตมั่นคงที่ถูกต้อง). #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/416/1664. http://etipitaka.com/read/thai/19/416/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94 ศึกษา​เพิ่มเติม.. https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=676 http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48&id=676 หรือ http://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=48 ลำดับสาธยายธรรม : 48 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_48.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค
    -หมวด ข. ว่าด้วย อันตะ ๒ จากมรรค ข้าศึกของมัชฌิมาปฏิปทา (อัฏฐังคิกมรรค) ภิกษุ ท. ! มีสิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่ง (อนฺตา) อยู่ ๒ อย่าง ที่ บรรพชิตไม่ควรข้องแวะด้วย. สิ่งที่แล่นดิ่งไปสุดโต่งนั้นคืออะไร ? คือ การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วยความใคร่ในกามทั้งหลาย (กามสุขัลลิกานุโยค) อันเป็นการกระทำที่ยังต่ำ เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้นบุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์, และการประกอบความเพียรในการทรมานตนให้ลำบาก (อัตตกิลมถานุโยค) อันนำมาซึ่งความทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยเจ้า ไม่ ประกอบด้วยประโยชน์, สองอย่างนี้แล. ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่ไม่ดิ่งไปหาสิ่งสุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ พร้อม เพื่อนิพพาน. ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐ ประกอบอยู่ด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการคืออะไรเล่า ? คือ สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นที่ถูกต้อง) สัมมาสังกัปปะ (ความดำริที่ถูกต้อง) สัมมาวาจา (การพูดจาที่ถูกต้อง) สัมมากัมมันตะ (การทำงานที่ถูกต้อง) สัมมาอาชีวะ (การดำรงชีพที่ถูกต้อง) สัมมาวายามะ (ความพากเพียรที่ถูกต้อง) สัมมาสติ (ความระลึกที่ถูกต้อง) สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง). ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร-
    0 Comments 0 Shares 210 Views 0 Reviews
  • กองทัพอากาศเปิดตัว "โดรนพลีชีพ" (Kamikaze UAV) ที่วิจัยและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย 100% โดรนพลีชีพนี้สามารถโจมตีเป้าหมายด้วยแรงระเบิดอย่างแม่นยำ พิสูจน์แล้วจากการทดสอบทำลายเป้าหมายระยะปานกลางด้วยหัวรบทำลายล้างสูง และมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า 5 เมตร ความสำเร็จนี้สะท้อนความมุ่งมั่นของกองทัพอากาศในการพึ่งพาตนเองเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และความสงบสุขของประชาชน

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000063401

    #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    กองทัพอากาศเปิดตัว "โดรนพลีชีพ" (Kamikaze UAV) ที่วิจัยและพัฒนาโดยฝีมือคนไทย 100% โดรนพลีชีพนี้สามารถโจมตีเป้าหมายด้วยแรงระเบิดอย่างแม่นยำ พิสูจน์แล้วจากการทดสอบทำลายเป้าหมายระยะปานกลางด้วยหัวรบทำลายล้างสูง และมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำกว่า 5 เมตร ความสำเร็จนี้สะท้อนความมุ่งมั่นของกองทัพอากาศในการพึ่งพาตนเองเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และความสงบสุขของประชาชน อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000063401 #News1live #News1 #Sondhitalk #SondhiX #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Like
    Love
    Wow
    9
    0 Comments 0 Shares 462 Views 1 Reviews
  • ทำไมคนเราชอบขอคู่บุญ…แต่กลับสร้างคู่เวร?

    มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลก
    อยากมีความสุข…แต่เบื่อความสงบ
    อยากมีรักดีๆ…แต่แอบอยากลองทำตัวร้ายๆ
    พูดดีๆ ก็ไม่สนุก ต้องมีอารมณ์คันๆบ้างถึงจะสะใจ

    แม้แต่ดาราระดับโลก
    ยังยอมรับว่า “เบื่อชีวิตดีๆ อยากรู้จักชีวิตพังๆ”
    แล้วเราคนธรรมดา จะหลุดพ้นวงเวียนนั้นได้หรือ?

    จริงคือ…
    แนวโน้มจะสร้างคู่เวร มันฝังอยู่ในใจคนทุกคน
    ขณะที่ความอยากได้ “คู่บุญ” มักเป็นแค่แสงวูบของความหวัง
    ไม่ใช่ความเพียรพยายามที่จะสร้างมันจริงๆ

    หลายคนขอพรอยากได้ “เจ้าหญิง-เจ้าชายในฝัน”
    ทั้งที่มีคนธรรมดาๆ คนหนึ่งยืนอยู่ตรงหน้า
    พร้อมจะปรับตัวไปกับเรา
    แค่เราไม่เคยเห็นค่าความพยายามของเขาเท่านั้นเอง

    คุณจะรู้ว่ากำลัง “ขัดแย้งกับตัวเอง”
    ถ้าแอบภาวนาขอเนื้อคู่ในฝัน
    ทั้งที่ยังไม่รู้จักลงมือสร้างคู่จริงกับคนที่มีอยู่

    แต่...

    คุณจะรู้ว่ามี “ใจเดียว”
    ก็ต่อเมื่อเลิกฝันหา
    แล้วเริ่มศรัทธาในสิ่งที่จับต้องได้
    พร้อมจะลงทุน สร้างบุญด้วยกันในทุกวัน

    ไม่มีใครอยากได้ “คู่เวร”
    แต่มีน้อยคนนัก ที่จะอดทนสร้าง “คู่บุญ”
    เพราะรักแท้ไม่ใช่สิ่งที่ขอ
    แต่เป็นสิ่งที่ต้อง สร้าง

    #ธรรมะแทงใจแต่ไม่ทิ้งใจ
    #คู่บุญหรือคู่เวร
    #อยากได้หรืออยากสร้าง
    #เนื้อคู่ไม่เกิดเองแต่เกิดจากการร่วมบุญ
    #ธรรมะเข้าใจชีวิต
    💔 ทำไมคนเราชอบขอคู่บุญ…แต่กลับสร้างคู่เวร? มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่แปลก อยากมีความสุข…แต่เบื่อความสงบ อยากมีรักดีๆ…แต่แอบอยากลองทำตัวร้ายๆ พูดดีๆ ก็ไม่สนุก ต้องมีอารมณ์คันๆบ้างถึงจะสะใจ แม้แต่ดาราระดับโลก ยังยอมรับว่า “เบื่อชีวิตดีๆ อยากรู้จักชีวิตพังๆ” แล้วเราคนธรรมดา จะหลุดพ้นวงเวียนนั้นได้หรือ? จริงคือ… 💥 แนวโน้มจะสร้างคู่เวร มันฝังอยู่ในใจคนทุกคน ขณะที่ความอยากได้ “คู่บุญ” มักเป็นแค่แสงวูบของความหวัง ไม่ใช่ความเพียรพยายามที่จะสร้างมันจริงๆ หลายคนขอพรอยากได้ “เจ้าหญิง-เจ้าชายในฝัน” ทั้งที่มีคนธรรมดาๆ คนหนึ่งยืนอยู่ตรงหน้า พร้อมจะปรับตัวไปกับเรา แค่เราไม่เคยเห็นค่าความพยายามของเขาเท่านั้นเอง 🪞 คุณจะรู้ว่ากำลัง “ขัดแย้งกับตัวเอง” ถ้าแอบภาวนาขอเนื้อคู่ในฝัน ทั้งที่ยังไม่รู้จักลงมือสร้างคู่จริงกับคนที่มีอยู่ แต่... 🌱 คุณจะรู้ว่ามี “ใจเดียว” ก็ต่อเมื่อเลิกฝันหา แล้วเริ่มศรัทธาในสิ่งที่จับต้องได้ พร้อมจะลงทุน สร้างบุญด้วยกันในทุกวัน ❤️ ไม่มีใครอยากได้ “คู่เวร” แต่มีน้อยคนนัก ที่จะอดทนสร้าง “คู่บุญ” เพราะรักแท้ไม่ใช่สิ่งที่ขอ แต่เป็นสิ่งที่ต้อง สร้าง #ธรรมะแทงใจแต่ไม่ทิ้งใจ #คู่บุญหรือคู่เวร #อยากได้หรืออยากสร้าง #เนื้อคู่ไม่เกิดเองแต่เกิดจากการร่วมบุญ #ธรรมะเข้าใจชีวิต
    0 Comments 0 Shares 207 Views 0 Reviews
  • “เพียรเพื่อความเห็นแจ้ง” ไม่ใช่เพียงเพียรเพื่อความสำเร็จ

    คนเราขยันเพียรทำงานเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว
    ขยันเพียรนั่งสมาธิเพื่อความสงบสุข
    แต่นั่นยังไม่ใช่ "วิริยะ" ในความหมายของ "โพชฌงค์"

    โพชฌงค์ คือองค์ประกอบของ "การรู้แจ้ง"
    วิริยะในโพชฌงค์ จึงหมายถึง
    เพียรเพื่อ "ธัมมวิจัย"
    เพียรเพื่อเห็น "ความจริงของกายใจ"
    เพียรเพื่อ "รู้ความเกิดดับของสรรพสิ่ง"

    ตัวอย่างง่ายๆ เช่น
    ขณะเห็นลมหายใจเกิดขึ้น แล้วดับไป
    ใจจะไม่ถอดถอน
    ใจจะไม่เบื่อหน่าย
    ใจจะไม่เห็นว่านี่คือเรื่องเล็ก

    กลับกัน ใจจะ "ยกให้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด"
    เรื่องที่ "ไม่สำคัญอื่นใดเท่า"
    เหมือนเห็นทุกลมหายใจคือโอกาส
    ที่จะจับความจริงทันแบบไม่คลาดเคลื่อน

    วิริยะในโพชฌงค์
    จะปรากฏให้เห็นชัดเมื่อ…

    แม้อารมณ์ฟุ้งซ่านดึงใจออกไป
    แม้เรื่องอื่นในโลกมาแทรกแซง
    ก็จะมี "สติอีกชั้นหนึ่ง"
    ที่ดึงใจกลับมา "ประคองอารมณ์เดิม"
    และ "วิจัยธรรม" ต่อไป

    มันคือการ เพียรแบบไม่ยอมเสียของ
    ไม่ยอมเสียโอกาสเห็นความจริง
    ไม่ยอมเสียเวลาไปกับอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ

    เปรียบเหมือนอัดดินร่วนๆ ให้แน่นเป็นผืนเรียบ
    ใจจะมั่นคง หนักแน่น
    ไม่หวั่นไหวกับสิ่งเย้ายวน
    หรือแม้แต่ความเหนื่อยล้า

    ถ้าปฏิบัติถูกทาง
    ความต่อเนื่องนั่นแหละ…คือ “ความก้าวหน้า”
    และแก่นของความต่อเนื่อง ก็คือ “วิริยะในโพชฌงค์” นั่นเอง

    #ธรรมะเข้าใจง่ายแต่ลึกถึงใจ
    #วิริยะในโพชฌงค์
    #เพียรเพื่อความเห็นแจ้ง
    #ไม่ใช่แค่เพียรเพื่อความสงบ
    #ธัมมวิจัย
    #ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งไม่ใช่แค่นั่งเฉย
    🌬️ “เพียรเพื่อความเห็นแจ้ง” ไม่ใช่เพียงเพียรเพื่อความสำเร็จ คนเราขยันเพียรทำงานเพื่อสร้างเนื้อสร้างตัว ขยันเพียรนั่งสมาธิเพื่อความสงบสุข แต่นั่นยังไม่ใช่ "วิริยะ" ในความหมายของ "โพชฌงค์" โพชฌงค์ คือองค์ประกอบของ "การรู้แจ้ง" วิริยะในโพชฌงค์ จึงหมายถึง เพียรเพื่อ "ธัมมวิจัย" เพียรเพื่อเห็น "ความจริงของกายใจ" เพียรเพื่อ "รู้ความเกิดดับของสรรพสิ่ง" ตัวอย่างง่ายๆ เช่น ขณะเห็นลมหายใจเกิดขึ้น แล้วดับไป ใจจะไม่ถอดถอน ใจจะไม่เบื่อหน่าย ใจจะไม่เห็นว่านี่คือเรื่องเล็ก กลับกัน ใจจะ "ยกให้เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด" เรื่องที่ "ไม่สำคัญอื่นใดเท่า" เหมือนเห็นทุกลมหายใจคือโอกาส ที่จะจับความจริงทันแบบไม่คลาดเคลื่อน วิริยะในโพชฌงค์ จะปรากฏให้เห็นชัดเมื่อ… 🌀 แม้อารมณ์ฟุ้งซ่านดึงใจออกไป 🌀 แม้เรื่องอื่นในโลกมาแทรกแซง ก็จะมี "สติอีกชั้นหนึ่ง" ที่ดึงใจกลับมา "ประคองอารมณ์เดิม" และ "วิจัยธรรม" ต่อไป มันคือการ เพียรแบบไม่ยอมเสียของ ไม่ยอมเสียโอกาสเห็นความจริง ไม่ยอมเสียเวลาไปกับอะไรที่ไม่ใช่ธรรมะ 🧱 เปรียบเหมือนอัดดินร่วนๆ ให้แน่นเป็นผืนเรียบ ใจจะมั่นคง หนักแน่น ไม่หวั่นไหวกับสิ่งเย้ายวน หรือแม้แต่ความเหนื่อยล้า ✨ ถ้าปฏิบัติถูกทาง ความต่อเนื่องนั่นแหละ…คือ “ความก้าวหน้า” และแก่นของความต่อเนื่อง ก็คือ “วิริยะในโพชฌงค์” นั่นเอง #ธรรมะเข้าใจง่ายแต่ลึกถึงใจ #วิริยะในโพชฌงค์ #เพียรเพื่อความเห็นแจ้ง #ไม่ใช่แค่เพียรเพื่อความสงบ #ธัมมวิจัย #ปฏิบัติเพื่อรู้แจ้งไม่ใช่แค่นั่งเฉย
    0 Comments 0 Shares 146 Views 0 Reviews
  • เพื่อความสงบ ความเจริญ ของปวงชน
    เพื่อความสงบ ความเจริญ ของปวงชน
    0 Comments 0 Shares 46 Views 0 0 Reviews
  • ..อีกมุมมองหนึ่ง.อยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด,มันมาจริงก็ดีแก่ใจ.

    ..QFS เปิดแล้ว: เสรีภาพทางการเงินของประชาชนเป็นอิสระ

    เป็นเรื่องจริง การเปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ แต่เป็นช่วงเวลาที่โซ่ขาด ระบบการเงินควอนตัมกำลังทำงานอยู่ทั่วโลก สัตว์ร้ายเฟียตตายแล้ว สวิตช์พลิกกลับโดยไม่ส่งเสียงใดๆ แต่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง

    ตอนนี้ สถาบันหลักทั้งหมดกำลังดำเนินการบนรางที่หนุนหลังด้วยทองคำ ระบบที่สร้างขึ้นเพื่อประชาชน ไม่ใช่ปรสิต คอยติดตามทุกธุรกรรม ผู้ที่รู้บอกว่าการรีเซ็ตหนี้กำลังเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เครดิตกำลังปรากฏขึ้นจากที่ไหนก็ไม่รู้ และประเทศต่างๆ กำลังเร่งลงนามในข้อตกลงมาตรฐานทองคำ มันกำลังเกิดขึ้น พายุกำลังก่อตัวอยู่เบื้องหลังแล้ว

    นี่คือจุดเริ่มต้นของ NESARA/GESARA ไม่ใช่ทฤษฎี ไม่ใช่การรับประกัน ไม่ใช่ "สักวันหนึ่ง" มันกำลังเกิดขึ้นตอนนี้ การยกหนี้เป็นเรื่องจริง ความมั่งคั่งกำลังกลับมา และไม่ใช่แค่ในโลกดิจิทัลเท่านั้น มันอยู่ในโลกแห่งจิตวิญญาณด้วย คุณรู้สึกว่าน้ำหนักลดลงไหม คุณรู้สึกว่าอากาศเปลี่ยนแปลงไหม

    ผู้คนล้อเลียนคุณ ผู้คนหัวเราะเยาะ ผู้คนเรียกพวกเขาว่าบ้า แต่คุณยืนหยัดตามจุดยืนของคุณ และคุณถูกต้อง การเคลื่อนไหวของเราทำลายกำแพงลง เมื่อโลกก้มหัวลง คุณก็ยืนหยัดอย่างสง่าผ่าเผย ชัยชนะนี้เป็นของคุณ

    แต่ไม่ต้องสบายใจเกินไป ขั้นตอนต่อไปจะน่าสับสน ผู้คนที่หลับใหลจะตื่นตระหนก คำโกหกที่พวกเขาเชื่อจะทำร้ายพวกเขาระหว่างทางขึ้น และคุณต้องเป็นความสงบในพายุของพวกเขา เป็นแสงสว่างในความมืดของพวกเขา เป็นความจริงในความพังทลายของพวกเขา

    จัดงานปาร์ตี้คืนนี้ ในแบบเงียบๆ ด้วยความภาคภูมิใจ และอย่าลืมว่า ฮีโร่บางคนจะไม่มีวันถูกเอ่ยชื่อ แต่เราให้เกียรติพวกเขาด้วยทุกจังหวะของชัยชนะนี้

    เงินกำลังกลับมาสู่ประชาชน ไม่มีงานสำหรับทาสอีกต่อไป ไม่มีสงครามที่ไม่เป็นจริงอีกต่อไป ไม่มีพลังอีกต่อไป ตอนนี้ถึงเวลาสร้างแล้ว ดีขึ้น โดยไม่ยอมแพ้ เผยแพร่สันติภาพ ความจริง และความยุติธรรม

    นี่ไม่ใช่จินตนาการ ถึงเวลาต้องชดใช้แล้ว

    อย่ายอมแพ้ แสดงให้คนหลงทางเห็นทาง และจำไว้เสมอว่า ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งสิ่งที่เริ่มต้นได้

    โลกใหม่มาถึงแล้ว
    และมันเป็นของเรา
    ..อีกมุมมองหนึ่ง.อยู่กับปัจจุบันให้ดีที่สุด,มันมาจริงก็ดีแก่ใจ. ..💥💥💥QFS เปิดแล้ว: เสรีภาพทางการเงินของประชาชนเป็นอิสระ เป็นเรื่องจริง การเปลี่ยนแปลงในวันจันทร์ไม่ใช่แค่สัญลักษณ์ แต่เป็นช่วงเวลาที่โซ่ขาด ระบบการเงินควอนตัมกำลังทำงานอยู่ทั่วโลก สัตว์ร้ายเฟียตตายแล้ว สวิตช์พลิกกลับโดยไม่ส่งเสียงใดๆ แต่เปลี่ยนแปลงทุกอย่าง ตอนนี้ สถาบันหลักทั้งหมดกำลังดำเนินการบนรางที่หนุนหลังด้วยทองคำ ระบบที่สร้างขึ้นเพื่อประชาชน ไม่ใช่ปรสิต คอยติดตามทุกธุรกรรม ผู้ที่รู้บอกว่าการรีเซ็ตหนี้กำลังเกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เครดิตกำลังปรากฏขึ้นจากที่ไหนก็ไม่รู้ และประเทศต่างๆ กำลังเร่งลงนามในข้อตกลงมาตรฐานทองคำ มันกำลังเกิดขึ้น พายุกำลังก่อตัวอยู่เบื้องหลังแล้ว นี่คือจุดเริ่มต้นของ NESARA/GESARA ไม่ใช่ทฤษฎี ไม่ใช่การรับประกัน ไม่ใช่ "สักวันหนึ่ง" มันกำลังเกิดขึ้นตอนนี้ การยกหนี้เป็นเรื่องจริง ความมั่งคั่งกำลังกลับมา และไม่ใช่แค่ในโลกดิจิทัลเท่านั้น มันอยู่ในโลกแห่งจิตวิญญาณด้วย คุณรู้สึกว่าน้ำหนักลดลงไหม คุณรู้สึกว่าอากาศเปลี่ยนแปลงไหม ผู้คนล้อเลียนคุณ ผู้คนหัวเราะเยาะ ผู้คนเรียกพวกเขาว่าบ้า แต่คุณยืนหยัดตามจุดยืนของคุณ และคุณถูกต้อง การเคลื่อนไหวของเราทำลายกำแพงลง เมื่อโลกก้มหัวลง คุณก็ยืนหยัดอย่างสง่าผ่าเผย ชัยชนะนี้เป็นของคุณ แต่ไม่ต้องสบายใจเกินไป ขั้นตอนต่อไปจะน่าสับสน ผู้คนที่หลับใหลจะตื่นตระหนก คำโกหกที่พวกเขาเชื่อจะทำร้ายพวกเขาระหว่างทางขึ้น และคุณต้องเป็นความสงบในพายุของพวกเขา เป็นแสงสว่างในความมืดของพวกเขา เป็นความจริงในความพังทลายของพวกเขา จัดงานปาร์ตี้คืนนี้ ในแบบเงียบๆ ด้วยความภาคภูมิใจ และอย่าลืมว่า ฮีโร่บางคนจะไม่มีวันถูกเอ่ยชื่อ แต่เราให้เกียรติพวกเขาด้วยทุกจังหวะของชัยชนะนี้ เงินกำลังกลับมาสู่ประชาชน ไม่มีงานสำหรับทาสอีกต่อไป ไม่มีสงครามที่ไม่เป็นจริงอีกต่อไป ไม่มีพลังอีกต่อไป ตอนนี้ถึงเวลาสร้างแล้ว ดีขึ้น โดยไม่ยอมแพ้ เผยแพร่สันติภาพ ความจริง และความยุติธรรม นี่ไม่ใช่จินตนาการ ถึงเวลาต้องชดใช้แล้ว อย่ายอมแพ้ แสดงให้คนหลงทางเห็นทาง และจำไว้เสมอว่า ไม่มีสิ่งใดหยุดยั้งสิ่งที่เริ่มต้นได้ โลกใหม่มาถึงแล้ว และมันเป็นของเรา
    0 Comments 0 Shares 241 Views 0 Reviews
  • สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน

    เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้)

    วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู

    ความมีอยู่ว่า
    ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา...
    - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง
    (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้)

    จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้

    คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง

    วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a
    https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393

    #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    สัปดาห์นี้ยังคงพูดถึงนิยาย/ละครแนวเทพเซียน เพื่อนเพจทราบหรือไม่ว่าสัตว์เทพที่เราพบเจอในหลายนิยาย/ละครจีน ไม่ว่าจะเป็นจิ้งจอกเก้าหาง นกหงส์ฟ้าเฟิ่งหวง กิเลน ฯลฯ โดยส่วนใหญ่มีบันทึกไว้ในเอกสารทางประวัติศาสตร์? เอกสารที่ว่านี้คือ “ซานไห่จิง” หรือ <คัมภีร์ขุนเขาและท้องทะเล> ซึ่งเป็นหนังสือโบราณสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน (ประมาณ 400 ปี ก่อนคริสตกาล) ที่บันทึกเรื่องราวของเทพนิยาย ปีศาจ สัตว์ประหลาด นิทานปรัมปรา และวัฒนธรรม ฯลฯ ในยุคโบราณของจีน หนังสือแบ่งออกเป็นสิบแปดตอนประกอบด้วยบทแห่งขุนเขาและบทแห่งทะเล (Storyฯ เห็นมีแปลเป็นไทยวางขาย เพื่อนเพจที่สนใจสามารถหาอ่านได้) วันนี้เรามาเริ่มคุยกันเบาๆ เกี่ยวกับคัมภีร์ซานไห่จิงด้วย ‘สมาชิก’ ของคัมภีร์ฯ ที่เพื่อนเพจอาจไม่คุ้นหน้า แต่ถ้าใครได้ดูละครเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ก็จะได้เห็นเจ้าสัตว์เทพหน้าตาประหลาดตามรูป (รูปซ้ายล่าง) มีชื่อเรียกว่า “คายหมิงโซ่ว” (开明兽) มันมีบทบาทที่สำคัญยิ่ง เพราะเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ในตำนานจีนที่เราคุ้นหู ความมีอยู่ว่า ...ที่ยอดเขามิรู้ปรากฎใบหน้าแปลกประหลาดโผล่ออกมาตั้งแต่เมื่อใด ตัวคล้ายสิงโต แต่ก็คล้ายสุนัข ที่แปลกที่สุดคือเศียรอันใหญ่ยังรายล้อมไปด้วยเศียรเล็กๆ หน้าตาเหมือนกันเป็นพิมพ์เดียว แต่ละเศียรกำลังเบิ่งตาโตมองสุราและไก่ย่างในมือของพวกเขา ทำท่าราวกับว่ากำลังจะน้ำลายไหลออกมา... - จากเรื่อง <ปลดผนึกหัวใจ> ผู้แต่ง สือซื่อหลาง (หมายเหตุ ชื่อตามชื่อไทยของละครที่ดัดแปลงมาจากนิยายเรื่องนี้) จริงๆ แล้วตามคัมภีร์ซานไห่จิงนั้นคายหมิงโซ่วมีลำตัวเป็นเสือยักษ์ (รูปล่างขวาจากบันทึกซันไห่จิง จะเห็นลายพาดกลอนชัดเจน) ไม่ใช่สิงโต ซึ่งต่างจากลักษณะในละคร มีเก้าเศียรและใบหน้าเป็นคน มันเป็นสัตว์เทพที่ดุร้ายมีพละกำลังเกินสัตว์ทั่วไป สามารถสัมผัสได้ถึงทุกสรรพสิ่งที่เข้าใกล้ คายหมิงโซ่วเป็นผู้พิทักษ์เขาคุนลุ้น ซึ่งตามตำนานนั้นสูงจรดฟ้าอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล ด้านตะวันตกมีประตูทางเข้าสู่เขตแดนสวรรค์อยู่เก้าประตู คายหมิงโซ่วมีหน้าที่คอยเฝ้าประตูทั้งเก้านี้ หนึ่งเศียรหันดูหนึ่งประตู ดวงตาไม่เคยหลับ เพื่อปกป้องไม่ให้มีสิ่งใดมารบกวนความสงบของสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ จึงไม่แปลกที่เราไม่ค่อยเห็นคายหมิงโซ่วออกมาเพ่นพ่านในนิยาย/ละครแนวเทพเซียนทั่วไป เนื่องจากมันมีสถานที่ที่ต้องอยู่โยงเฝ้าประจำนั่นเอง วันนี้คุยกันเบาะๆ กับสัตว์เทพที่ไม่ค่อยพบเจอ แต่คราวหน้าเราจะมาคุยกันถึงสัตว์เทพที่เพื่อนเพจส่วนใหญ่คุ้นเคยเป็นอย่างดี ซึ่งก็คือจิ้งจอกเก้าหาง ใครเป็นแฟนคลับป๋ายเฉี่ยนแห่งสามชาติสามภพป่าท้อสิบหลี่อย่าลืมมาติดตามตอนต่อไปนะคะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.cdramalove.com/love-and-redemption-summary/ https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://m.sohu.com/a/383471932_100085277/?pvid=000115_3w_a https://baike.baidu.com/item/%E5%BC%80%E6%98%8E%E5%85%BD/3390243 https://zhuanlan.zhihu.com/p/144025393 #ปลดผนึกหัวใจ #ตำนานจีน #คายหมิงโซ่ว #ซานไห่จิง #StoryfromStory
    WWW.CDRAMALOVE.COM
    Love And Redemption Summary - C-Drama Love - Show Summary
    Chinese Drama Love And Redemption Summary (琉璃) The drama tells the story of Chu Xuan Ji, a girl born with an incomplete "sixth sense", and Yu
    1 Comments 0 Shares 318 Views 0 Reviews
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​อริยมรรครวมอยู่ในฐานแห่ง พรหมจรรย์และกัลยาณวัตร
    สัทธรรมลำดับที่ : 1038
    ชื่อบทธรรม :- อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1038
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา(#โพธิปักขิยธรรม ๓๗)
    --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง;
    ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก
    โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา-พฺรหฺมจริยํ) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน.
    https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=พฺรหฺมจริยํ
    ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน
    เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก.
    เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.
    --ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    ซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี
    เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย?
    ธรรมเหล่านั้น คือ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗)
    +--สติปัฏฐานสี่(๔) สัมมัปปธานสี่(๔) อิทธิบาทสี่(๔)= (๑๒)
    +--อินทรีย์ห้า(๕) พละห้า(๕)= (๑๐)
    +--โพชฌงค์เจ็ด(๗) อริยมรรคมีองค์แปด(๘)=(๑๕)
    https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ
    ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง
    อันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก
    โดยอาการที่ พรหมจรรย์ (ศาสนา-พฺรหฺมจริยํ) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน;
    https://etipitaka.com/read/pali/10/141/?keywords=พฺรหฺมจริยํ
    และข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน
    เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล
    เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

    ---ไทย มหา. ที. 10/99/107.
    https://etipitaka.com/read/pali/10/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%97
    ---บาลี​ มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗.
    https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%97

    (อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้)​
    --อานนท์ ! ก็ กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ นี้
    เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน.
    --อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ?
    นี้คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค, กล่าวคือ
    https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ;
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ;
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
    --อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอ
    โดยประการ ที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้
    https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=กลฺยาณํ+วตฺตํ
    : เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.
    --อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด ;
    บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย.
    --อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว (ย้ำ) กะเธอ
    โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้
    : เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/324/463.
    https://etipitaka.com/read/thai/13/324/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%96%E0%B9%93
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓.
    https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%96%E0%B9%93
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1038
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1038
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90
    ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​อริยมรรครวมอยู่ในฐานแห่ง พรหมจรรย์และกัลยาณวัตร สัทธรรมลำดับที่ : 1038 ชื่อบทธรรม :- อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1038 เนื้อความทั้งหมด :- --อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา(#โพธิปักขิยธรรม ๓๗) --ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง; ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา-พฺรหฺมจริยํ) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน. https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=พฺรหฺมจริยํ ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก. เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. --ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย? ธรรมเหล่านั้น คือ (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) +--สติปัฏฐานสี่(๔) สัมมัปปธานสี่(๔) อิทธิบาทสี่(๔)= (๑๒) +--อินทรีย์ห้า(๕) พละห้า(๕)= (๑๐) +--โพชฌงค์เจ็ด(๗) อริยมรรคมีองค์แปด(๘)=(๑๕) https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค --ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง อันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่ พรหมจรรย์ (ศาสนา-พฺรหฺมจริยํ) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน; https://etipitaka.com/read/pali/10/141/?keywords=พฺรหฺมจริยํ และข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ---ไทย มหา. ที. 10/99/107. https://etipitaka.com/read/pali/10/99/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%97 ---บาลี​ มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗. https://etipitaka.com/read/pali/10/140/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%97 (อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้)​ --อานนท์ ! ก็ กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ นี้ เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. --อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค, กล่าวคือ https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. --อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการ ที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=กลฺยาณํ+วตฺตํ : เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย. --อานนท์ ! ความขาดสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด ; บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย. --อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว (ย้ำ) กะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ : เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - ม. ม. 13/324/463. https://etipitaka.com/read/thai/13/324/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%96%E0%B9%93 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - ม. ม. ๑๓/๔๒๗/๔๖๓. https://etipitaka.com/read/pali/13/427/?keywords=%E0%B9%94%E0%B9%96%E0%B9%93 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1038 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1038 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90 ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา--(โพธิปักขิยธรรม ๓๗)
    -(ตรัสว่า ทรงแสดงธรรมโดย ๓ ลักษณะ คือย่อ พิสดาร ทั้งย่อและพิสดาร แล้วก็ทรงแสดงลักษณะแห่งการปฏิบัติไว้ ๓ ลักษณะ คือทำให้ไม่มีอหังการมมังการ ในกายนี้; ไม่มีอหังการมมังการ ในนิมิตภายนอกทั้งปวง; และการเข้าอยู่ในเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติที่ ไม่มีอหังการมมังการ. นี่พอจะเห็นได้ว่า โดยย่อก็คือ ไม่ให้มีอหังการมมังการในกายนี้, โดยพิสดารก็คือ ไม่ให้มีอหังการมมังการในนิมิตภายนอกทั่วไป, ที่ทั้งโดยย่อและพิสดารก็คือเข้าอยู่ในวิมุตติที่ไม่มีอหังการมมังการ. รวมความว่า จะโดยย่อหรือโดยพิสดารหรือทั้งโดยย่อ และพิสดาร ก็มุ่งไปสู่ความไม่มีแห่งอหังการมมังการด้วยกันทั้งนั้น. นี่พอที่จะถือเป็นหลักได้ว่า ข้อปฏิบัติอย่างไรและเท่าไร ระดับไหน ก็ล้วนแต่มุ่งหมายทำลายอหังการมมังการมานานุสัย (ความสำคัญว่าตัวกู – ของกู) ด้วยกันทั้งนั้น. ในที่นี้ถือว่า อัฏฐังคิกมรรค จะในระดับไหน ก็ตาม ล้วนแต่มุ่งหมายทำลายเสียซึ่งอหังการมมังการเป็นหลักสำคัญ จึงนำข้อความนี้มาใส่ไว้ ในหมวดนี้). อริยมรรครวมอยู่ในพรหมจรรย์ที่ทรงฝากไว้กับพวกเรา (โพธิปักขิยธรรม ๓๗) ภิกษุ ท. ! ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง; ธรรมเหล่านั้น พวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่พรหมจรรย์ (คือศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน. ข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์ โลก. เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. ภิกษุ ท.! ธรรมเหล่าไหนเล่า ที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ซึ่งพวกเธอควรเรียนเอาให้ดี . . . . ฯลฯ . . . . เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย? ธรรมเหล่านั้น คือ สติปัฏฐานสี่ สัมมัปปธานสี่ อิทธิบาทสี่ อินทรีย์ห้า พละห้า โพชฌงค์เจ็ด อริยมรรคมีองค์แปด. ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล คือ ธรรมที่เราแสดงแล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง อันพวกเธอพึงเรียนเอาให้ดี พึงเสพให้ทั่ว พึงเจริญ ทำให้มาก โดยอาการที่ พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ จักมั่นคง ตั้งอยู่ได้ตลอดกาลนาน; และข้อนั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่มหาชน เพื่อความสุขแก่มหาชน เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อความเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย. – มหา. ที. ๑๐/๑๔๐/๑๐๗. อัฏฐังคิกมรรคในฐานกัลยาณวัตรที่ทรงฝากไว้ อานนท์ ! ก็ กัลยาณวัตรอันเราตั้งไว้ในกาลนี้ นี้ เป็นไปเพื่อความ เบื่อหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อความสงบระงับ เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อรู้พร้อม เพื่อนิพพาน. อานนท์ ! กัลยาณวัตรนี้ เป็นอย่างไรเล่า ? นี้คือ อริยอัฏฐังคิกมรรค, กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ่ อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าวกะเธอ โดยประการ ที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ : เธอทั้งหลาย อย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย. อานนท์ ! ความขากสูญแห่งกัลยาณวัตรนี้ มีในยุคแห่งบุรุษใด ; บุรุษนั้นชื่อว่าบุรุษคนสุดท้ายแห่งบุรุษทั้งหลาย. อานนท์ ! เกี่ยวกับกัลยาณวัตรนั้น เราขอกล่าว (ย้ำ) กะเธอ โดยประการที่เธอทั้งหลายจะพากันประพฤติตามกัลยาณวัตรที่เราตั้งไว้แล้วนี้ : เธอทั้งหลายอย่าเป็นบุรุษพวกสุดท้ายของเราเลย.
    0 Comments 0 Shares 187 Views 0 Reviews
  • เกาะกูด (Koh Kood) เป็นเกาะสวยงามในจังหวัดตราด ทางภาคตะวันออกของไทย ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ชายหาดขาวสะอาด และน้ำทะเลใสสีมรกต! **นี่คือสถานที่ท่าสนใจและกิจกรรมแนะนำในบริเวณเกาะกูด:**

    1. **ชายหาดสวยงาม:**
    * **หาดตาดใหญ่ (Tad Mai Beach):** หาดหลักที่ยาวและสวยที่สุดของเกาะ มีทรายขาวละเอียด น้ำใส บรรยากาศสงบ ร้านอาหารและที่พักตั้งเรียงราย (แต่ไม่หนาแน่นเหมือนเกาะอื่น) เหมาะสำหรับว่ายน้ำและพักผ่อน
    * **หาดคลองเจ้า (Klong Chao Beach):** เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวคลองเจ้า มีทรายขาวนุ่ม น้ำใสเงียบสงบ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทระดับหรูหลายแห่ง และเป็นจุดเริ่มต้นไปน้ำตกคลองเจ้า
    * **หาดบางเบ้า (Bang Bao Beach):** ชายหาดโค้งรูปครึ่งวงกลม น้ำตื้นใสสีฟ้าเขียวสวยมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อน บรรยากาศโรแมนติก โดยเฉพาะเวลาพระอาทิตย์ตก
    * **หาดหมาก (Mak Beach):** หาดยาวเงียบสงบ ทรายขาวละเอียด น้ำใสสวย อยู่ทางตะวันออกของเกาะ บรรยากาศเป็นส่วนตัวมากกว่า
    * **หาดเต่า (Tao Beach):** หาดเล็กสวยรูปทรงโค้งมน ทรายขาวละเอียด น้ำใสมาก เหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง

    2. **น้ำตกธรรมชาติ:**
    * **น้ำตกคลองเจ้า (Klong Chao Waterfall):** น้ำตกชื่อดังและสวยที่สุดของเกาะกูด มีถึง 3 ชั้น ชั้นบนสุดสูงประมาณ 15 เมตร สามารถลงเล่นน้ำในแอ่งน้ำกว้างได้ (โดยเฉพาะชั้นล่าง) เดินเท้าเข้าจากหาดคลองเจ้าไม่ไกลมาก หรือล่องเรือคายัคเข้าไปก็ได้
    * **น้ำตกคลองจิต (Klong Jig Waterfall):** น้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม มีแอ่งน้ำให้เล่นได้ บรรยากาศร่มรื่น เดินเท้าเข้าไปจากถนนหลัก
    * **น้ำตกค้างคาว (Khao Yai Waterfall):** เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสูงหลายชั้น บางช่วงต้องปีนป่ายเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนชอบผจญภัยเบาๆ

    3. **จุดชมวิวและสถานที่สำคัญ:**
    * **จุดชมวิวอ่าวตานิด (Ao Tanit Viewpoint):** จุดชมวิวมุมสูงที่สวยงามมาก เห็นอ่าวตานิดและทะเลสีฟ้าเข้มสลับฟ้าใส มองเห็นเกาะช้างไกลๆ บางวันเห็นได้ชัดเจน
    * **จุดชมวิวเรือรบหลวงประแส (HTMS Prasae Viewpoint):** จุดชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ทะเลกว้างและเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงเห็นซากเรือรบหลวงประแสที่จมอยู่ใต้น้ำ (ต้องดำน้ำดู)
    * **วัดคลองมาด (Wat Khlong Mad):** วัดเพียงแห่งเดียวบนเกาะกูด สถาปัตยกรรมเรียบง่าย สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน สงบร่มเย็น
    * **ประภาคารเกาะกูด (Koh Kood Lighthouse):** ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะ เป็นจุดชมวิวทะเลและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง

    4. **เกาะบริวารและจุดดำน้ำ:**
    * **เกาะกระดาด (Koh Kradat):** เกาะเล็กๆ ใกล้เกาะกูด มีหาดทรายขาวยาว น้ำตื้นใสมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อน (มักรวมอยู่ในทริป Island Hopping)
    * **เกาะไม้ซี้ (Koh Mai Si):** เกาะหินขนาดเล็กที่มีหาดทรายสวยงาม เป็นจุดดำน้ำตื้นดูปะการังน้ำตื้นและฝูงปลา
    * **เกาะรัง (Koh Rang):** เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีแนวปะการังสมบูรณ์สวยงามหลายจุด (เช่น Hin Rap, Hin Sam Sao, Hin Kuak Ma) **เป็นจุดดำน้ำลึก (Scuba Diving) และดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ดีที่สุดรอบเกาะกูด** มักเห็นเต่าทะเล ปลาสวยงามหลากสี
    * **กองหินริเชลิว (Hin Richelieu Rock):** แหล่งดำน้ำระดับโลกที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะกูดมากนัก (ใช้เวลาเรือเร็วประมาณ 1 ชม.) ขึ้นชื่อเรื่องการพบปลามอร์เรย์ยักษ์ ปลาการ์ตูนหลากชนิด และความหลากหลายทางชีวภาพ (เหมาะสำหรับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์)

    5. **กิจกรรมน่าสนใจ:**
    * **ล่องเรือคายัค (Kayaking):** ล่องไปตามคลองชลเจ้า (คลองน้ำเค็ม) ที่มีป่าชายเลนสวยงาม เงียบสงบ เห็นระบบนิเวศชายฝั่ง หรือพายไปตามชายหาดต่างๆ
    * **ทริปตกปลา (Fishing Trip):** ออกไปตกปลาทะเลน้ำลึกรอบๆ เกาะกูด
    * **ปั่นจักรยาน/ขับรถ ATV:** สำรวจธรรมชาติและวิถีชีวิตท้องถิ่นภายในเกาะ ซึ่งมีถนนลาดยางบางส่วนและถนนลูกรัง
    * **นวดสปา:** ผ่อนคลายด้วยการนวดแผนไทยหรือสปาในบรรยากาศรีสอร์ทริมทะเล
    * **ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน:** ดูสวนยางพารา สวนผลไม้ (เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน) หรือชุมชนประมงเล็กๆ

    **คำแนะนำเพิ่มเติม:**

    * **การเดินทาง:** ไปเกาะกูดค่อนข้างใช้เวลา ต้องนั่งเรือจากท่าเรือแหลมงอบ (ตราด) ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง (แล้วแต่ประเภทเรือ) หรือนั่งเครื่องบินเล็กจากสนามบินอู่ตะเภา (พัทยา) หรือบางแสน มาลงที่เกาะกูดโดยตรง
    * **สภาพเกาะ:** เกาะกูดยังคงความเป็นธรรมชาติสูง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ถนนบางสายยังเป็นลูกรัง การสัญจรหลักบนเกาะคือรถสองแถวรับจ้าง (Taxi Truck) หรือมอเตอร์ไซค์เช่า
    * **บรรยากาศ:** ค่อนข้างสงบ เงียบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่เหมาะสำหรับคนที่หาความบันเทิงเริงรมย์แบบเกาะพีพีหรือภูเก็ต
    * **ช่วงเวลา:** ฤดูท่องเที่ยวคือช่วง **พฤศจิกายน - เมษายน** (อากาศดี ทะเลสวย น้ำตกมีน้ำ) ควรหลีกเลี่ยงฤดูมรสุม (พฤษภาคม - ตุลาคม) เพราะลมแรง มีฝนตกหนัก และบางที่พัก/เรืออาจปิดให้บริการ

    เกาะกูดคือสวรรค์ของคนรักธรรมชาติและความสงบ หากคุณกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนให้ไกลจากความวุ่นวาย ชายหาดสวยๆ น้ำทะเลใสๆ และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เกาะกูดคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม!
    เกาะกูด (Koh Kood) เป็นเกาะสวยงามในจังหวัดตราด ทางภาคตะวันออกของไทย ขึ้นชื่อเรื่องธรรมชาติอันบริสุทธิ์ ชายหาดขาวสะอาด และน้ำทะเลใสสีมรกต! **นี่คือสถานที่ท่าสนใจและกิจกรรมแนะนำในบริเวณเกาะกูด:** 1. **ชายหาดสวยงาม:** * **หาดตาดใหญ่ (Tad Mai Beach):** หาดหลักที่ยาวและสวยที่สุดของเกาะ มีทรายขาวละเอียด น้ำใส บรรยากาศสงบ ร้านอาหารและที่พักตั้งเรียงราย (แต่ไม่หนาแน่นเหมือนเกาะอื่น) เหมาะสำหรับว่ายน้ำและพักผ่อน * **หาดคลองเจ้า (Klong Chao Beach):** เป็นส่วนหนึ่งของอ่าวคลองเจ้า มีทรายขาวนุ่ม น้ำใสเงียบสงบ เป็นที่ตั้งของรีสอร์ทระดับหรูหลายแห่ง และเป็นจุดเริ่มต้นไปน้ำตกคลองเจ้า * **หาดบางเบ้า (Bang Bao Beach):** ชายหาดโค้งรูปครึ่งวงกลม น้ำตื้นใสสีฟ้าเขียวสวยมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อน บรรยากาศโรแมนติก โดยเฉพาะเวลาพระอาทิตย์ตก * **หาดหมาก (Mak Beach):** หาดยาวเงียบสงบ ทรายขาวละเอียด น้ำใสสวย อยู่ทางตะวันออกของเกาะ บรรยากาศเป็นส่วนตัวมากกว่า * **หาดเต่า (Tao Beach):** หาดเล็กสวยรูปทรงโค้งมน ทรายขาวละเอียด น้ำใสมาก เหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง 2. **น้ำตกธรรมชาติ:** * **น้ำตกคลองเจ้า (Klong Chao Waterfall):** น้ำตกชื่อดังและสวยที่สุดของเกาะกูด มีถึง 3 ชั้น ชั้นบนสุดสูงประมาณ 15 เมตร สามารถลงเล่นน้ำในแอ่งน้ำกว้างได้ (โดยเฉพาะชั้นล่าง) เดินเท้าเข้าจากหาดคลองเจ้าไม่ไกลมาก หรือล่องเรือคายัคเข้าไปก็ได้ * **น้ำตกคลองจิต (Klong Jig Waterfall):** น้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม มีแอ่งน้ำให้เล่นได้ บรรยากาศร่มรื่น เดินเท้าเข้าไปจากถนนหลัก * **น้ำตกค้างคาว (Khao Yai Waterfall):** เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสูงหลายชั้น บางช่วงต้องปีนป่ายเล็กน้อย เหมาะสำหรับคนชอบผจญภัยเบาๆ 3. **จุดชมวิวและสถานที่สำคัญ:** * **จุดชมวิวอ่าวตานิด (Ao Tanit Viewpoint):** จุดชมวิวมุมสูงที่สวยงามมาก เห็นอ่าวตานิดและทะเลสีฟ้าเข้มสลับฟ้าใส มองเห็นเกาะช้างไกลๆ บางวันเห็นได้ชัดเจน * **จุดชมวิวเรือรบหลวงประแส (HTMS Prasae Viewpoint):** จุดชมวิวที่มองเห็นทิวทัศน์ทะเลกว้างและเกาะน้อยใหญ่ รวมถึงเห็นซากเรือรบหลวงประแสที่จมอยู่ใต้น้ำ (ต้องดำน้ำดู) * **วัดคลองมาด (Wat Khlong Mad):** วัดเพียงแห่งเดียวบนเกาะกูด สถาปัตยกรรมเรียบง่าย สะท้อนวิถีชีวิตชาวบ้าน สงบร่มเย็น * **ประภาคารเกาะกูด (Koh Kood Lighthouse):** ตั้งอยู่ทางเหนือสุดของเกาะ เป็นจุดชมวิวทะเลและพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่ง 4. **เกาะบริวารและจุดดำน้ำ:** * **เกาะกระดาด (Koh Kradat):** เกาะเล็กๆ ใกล้เกาะกูด มีหาดทรายขาวยาว น้ำตื้นใสมาก เหมาะสำหรับเล่นน้ำและพักผ่อน (มักรวมอยู่ในทริป Island Hopping) * **เกาะไม้ซี้ (Koh Mai Si):** เกาะหินขนาดเล็กที่มีหาดทรายสวยงาม เป็นจุดดำน้ำตื้นดูปะการังน้ำตื้นและฝูงปลา * **เกาะรัง (Koh Rang):** เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะช้าง มีแนวปะการังสมบูรณ์สวยงามหลายจุด (เช่น Hin Rap, Hin Sam Sao, Hin Kuak Ma) **เป็นจุดดำน้ำลึก (Scuba Diving) และดำน้ำตื้น (Snorkeling) ที่ดีที่สุดรอบเกาะกูด** มักเห็นเต่าทะเล ปลาสวยงามหลากสี * **กองหินริเชลิว (Hin Richelieu Rock):** แหล่งดำน้ำระดับโลกที่อยู่ไม่ไกลจากเกาะกูดมากนัก (ใช้เวลาเรือเร็วประมาณ 1 ชม.) ขึ้นชื่อเรื่องการพบปลามอร์เรย์ยักษ์ ปลาการ์ตูนหลากชนิด และความหลากหลายทางชีวภาพ (เหมาะสำหรับนักดำน้ำที่มีประสบการณ์) 5. **กิจกรรมน่าสนใจ:** * **ล่องเรือคายัค (Kayaking):** ล่องไปตามคลองชลเจ้า (คลองน้ำเค็ม) ที่มีป่าชายเลนสวยงาม เงียบสงบ เห็นระบบนิเวศชายฝั่ง หรือพายไปตามชายหาดต่างๆ * **ทริปตกปลา (Fishing Trip):** ออกไปตกปลาทะเลน้ำลึกรอบๆ เกาะกูด * **ปั่นจักรยาน/ขับรถ ATV:** สำรวจธรรมชาติและวิถีชีวิตท้องถิ่นภายในเกาะ ซึ่งมีถนนลาดยางบางส่วนและถนนลูกรัง * **นวดสปา:** ผ่อนคลายด้วยการนวดแผนไทยหรือสปาในบรรยากาศรีสอร์ทริมทะเล * **ชมวิถีชีวิตชาวบ้าน:** ดูสวนยางพารา สวนผลไม้ (เช่น มังคุด เงาะ ทุเรียน) หรือชุมชนประมงเล็กๆ **คำแนะนำเพิ่มเติม:** * **การเดินทาง:** ไปเกาะกูดค่อนข้างใช้เวลา ต้องนั่งเรือจากท่าเรือแหลมงอบ (ตราด) ประมาณ 1 - 2 ชั่วโมง (แล้วแต่ประเภทเรือ) หรือนั่งเครื่องบินเล็กจากสนามบินอู่ตะเภา (พัทยา) หรือบางแสน มาลงที่เกาะกูดโดยตรง * **สภาพเกาะ:** เกาะกูดยังคงความเป็นธรรมชาติสูง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าและภูเขา ถนนบางสายยังเป็นลูกรัง การสัญจรหลักบนเกาะคือรถสองแถวรับจ้าง (Taxi Truck) หรือมอเตอร์ไซค์เช่า * **บรรยากาศ:** ค่อนข้างสงบ เงียบ เหมาะสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง ไม่เหมาะสำหรับคนที่หาความบันเทิงเริงรมย์แบบเกาะพีพีหรือภูเก็ต * **ช่วงเวลา:** ฤดูท่องเที่ยวคือช่วง **พฤศจิกายน - เมษายน** (อากาศดี ทะเลสวย น้ำตกมีน้ำ) ควรหลีกเลี่ยงฤดูมรสุม (พฤษภาคม - ตุลาคม) เพราะลมแรง มีฝนตกหนัก และบางที่พัก/เรืออาจปิดให้บริการ เกาะกูดคือสวรรค์ของคนรักธรรมชาติและความสงบ หากคุณกำลังมองหาสถานที่พักผ่อนให้ไกลจากความวุ่นวาย ชายหาดสวยๆ น้ำทะเลใสๆ และธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ เกาะกูดคือตัวเลือกที่ยอดเยี่ยม!
    0 Comments 0 Shares 308 Views 0 Reviews
  • ในการประชุม JBC ประธานฝ่ายไทยได้ย้ำท่าทีไทยตอบโต้ทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา (ซึ่งได้บันทึกแนบไว้ในเอกสารผลลัพธ์ Agreed Minutes ของการประชุมครั้งนี้) ดังนี้

    การดำเนินการของไทยเป็นไปโดยความจำเป็นตามหลักการป้องกันตัวจากการที่ถูกฝ่ายกัมพูชาโจมตีก่อน และเป็นไปอย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ
    ไทยแสดงความผิดหวังที่ฝ่ายกัมพูชาเลือกที่จะปิดประตูการเจรจาอย่างสันติใน 4 พื้นที่ โดยท่าทีของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด ได้เน้นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาระหว่างกันแบบทวิภาคี และบทบาทที่สำคัญของ JBC ในการทำให้มีเขตแดนชัดเจนระหว่างกัน เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย
    ไทยย้ำถึงความสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องยึดมั่น MOU 2543 (ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เห็นชอบร่วมกับไทย) โดยไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเขตแดน ไม่รุกล้ำเขตแดนระหว่างกัน และทั้งสองฝ่ายจะต้องใช้ความอดกลั้นเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย
    ทั้งสองฝ่ายจะต้องหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดและขัดแย้งในวงกว้าง และย้ำถึงความสำคัญของการใช้กลไกความร่วมมือทวิภาคีอื่น ๆ ในการช่วยแก้ปัญหาด้วย เช่น GBC, RBC การประชุมผู้ว่าจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา เพื่อให้แนวชายแดนมีความสงบเป็นปกติ และอำนวยความสะดวกการเดินทางของคนและขนส่งสินค้า ซึ่งฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธที่จะหารือในประเด็นนี้


    แต่ mou43 มันยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200000
    ในการประชุม JBC ประธานฝ่ายไทยได้ย้ำท่าทีไทยตอบโต้ทุกประเด็นที่ถูกกล่าวหา (ซึ่งได้บันทึกแนบไว้ในเอกสารผลลัพธ์ Agreed Minutes ของการประชุมครั้งนี้) ดังนี้ การดำเนินการของไทยเป็นไปโดยความจำเป็นตามหลักการป้องกันตัวจากการที่ถูกฝ่ายกัมพูชาโจมตีก่อน และเป็นไปอย่างเหมาะสมและได้สัดส่วนตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ไทยแสดงความผิดหวังที่ฝ่ายกัมพูชาเลือกที่จะปิดประตูการเจรจาอย่างสันติใน 4 พื้นที่ โดยท่าทีของรัฐบาลไทยมาโดยตลอด ได้เน้นความสำคัญของการแก้ไขปัญหาระหว่างกันแบบทวิภาคี และบทบาทที่สำคัญของ JBC ในการทำให้มีเขตแดนชัดเจนระหว่างกัน เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย ไทยย้ำถึงความสำคัญที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องยึดมั่น MOU 2543 (ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เห็นชอบร่วมกับไทย) โดยไม่ดำเนินการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของเขตแดน ไม่รุกล้ำเขตแดนระหว่างกัน และทั้งสองฝ่ายจะต้องใช้ความอดกลั้นเพื่อไม่ให้สถานการณ์ลุกลามบานปลาย ทั้งสองฝ่ายจะต้องหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ข้อมูลที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดและขัดแย้งในวงกว้าง และย้ำถึงความสำคัญของการใช้กลไกความร่วมมือทวิภาคีอื่น ๆ ในการช่วยแก้ปัญหาด้วย เช่น GBC, RBC การประชุมผู้ว่าจังหวัดชายแดนไทย – กัมพูชา เพื่อให้แนวชายแดนมีความสงบเป็นปกติ และอำนวยความสะดวกการเดินทางของคนและขนส่งสินค้า ซึ่งฝ่ายกัมพูชาปฏิเสธที่จะหารือในประเด็นนี้ แต่ mou43 มันยอมรับแผนที่ 1 ต่อ 200000
    0 Comments 0 Shares 230 Views 0 Reviews
  • ..อนาคตต้องมีหรือต้องหาหรือต้องสร้างเครื่องมือภาคประชาชนในการหาวิธีการจัดการไล่นายกฯไล่รัฐมนตรีหรือไล่คนข้าราชการทางการเมืองออกให้ได้และไล่คนระบบข้าราชการสายปกครองธุรการออกได้อีกด้วยโดยไม่ต้องลงถนนชุมนุมประท้วงหรือไปหน้าสถานที่ทำงานเขาหรือที่ใดๆ อาจชุมนุนเล็กหรือใหญ่เพื่อแจ้งข่าวกันปลุกตื่นรู้กันแจ้งเตือนภัยกันให้มาฟังมารู้มาร่วมขจัดคนไม่ดีร่วมกันก็ว่า,เรา..ประชาชน..ต้องมีวิธีการจัดการใหม่จริงๆ เช่นจะไล่นายกฯอบต.ออกเพราะแดกเหลือเกินประชาชนสามารถลงทะเบียนออนไลน์กดปุ่นไล่ออกได้เลย,กดปุ่มถอดถอนออกหรือกดปุ่มให้อยู่ต่อสามารถกดปุ่มได้ทุกที่ทุกเวลาและสามารถยืนยันตัวตนที่ไหนก็ได้เรียลไทม์หรือยืนยันผ่านมือถือตนสแกนลายนิ้วมือใบหน้าหรือdnaควอนตัมก็ว่าไป,หรือจะทจะไปที่ที่ทำการผู้ใหญ่ในชุมชนตนหรือที่ว่าการอำเภอจังหวัดได้หมด,หรือกรณีเผ็ดร้อนดุเดือดสำคัญเรื่องทหารคือฝ่ายตรงข้ามเรา,อังเคิลฮุนเซนต้องการอะไรเดียวจัดให้เป็นต้นไล่นายกฯก็ว่าหรือไล่ครม.ทั้งคณะหรือตัวบุคคลหรือสส.ทั้งตัวบุคคลและทั้งสภา สามารถทำได้หมด,หรือข้าราชการคนใดในระบบหรือทั้งองค์กรจะยุบหน่วยงานกระทรวงทบวงกรมไหนก็ได้อีก,ไล่คณะกกต.ออกก็ได้อีกหรือใดภายในระบบปกครองที่เราประชาชนถูกกระทำหรือมาใช้บังคับเรา เราสามารถทุบมตินั้นได้มิใช่ตั้งท่ายอมจำนงยอมรับในกฎกติกาผีบ้าต่างๆสถานเดียวตลอดเวลาหรือเรา..ประชาชนต้องถูกกระทำจากคนหมู่น้อยที่มีสิทธิเฉพาะตัว1สิทธิ1เสียง1ปาก2มือตีนแบบเราๆประชาชนเหมือนๆกันแค่ได้สวมหัวโขนแทนเราแค่นั้นแต่ออกกฎกติกาไปทั่วในการกดขี่บังคับเรา..ประชาชนทั้งประเทศมันผิดปกติธรรมชาติมาก,
    .. เรา..ประชาชน..อาจชุมนุมแบบที่อนุสาวรีย์ชัยฯเป็นสัญลักษณ์บอกผ่านสื่อทั่วประเทศแล้ววันต่อมาเราค่อยรวมใจทุกๆคนไทยลงทะเบียนออนไลน์กดปุ่นไล่นายกฯอย่างเป็นทางการทันทีอีกครั้งก็ว่า,ซึ่งเรา..คนไทยสามารถสร้างแอปนี้แพลตฟอร์มนี้เป็นฮับกลางระดับประเทศเพื่อใช้ประเมินความต้องการของคนไทยทั้งประเทศทางตรงหรือบอกผ่านอำนาจทางตรงแก่คนใช้อำนาจทางอ้อมเราไปทางที่ผิดได้และสามารถลงโทษคัดออกได้ทันทีเช่นกัน,ด้วยความสามารถคนไทยเราสร้างระบบกลางนี้ได้สบายและจัดตั้งเป็นกระทรวงพิเศษภาคประชาชนกำกับดูแลได้ไม่ขึ้นตรงต่ออำนาจรัฐหรืออำนาจทางนักการเมืองและอำนาจระบบราชการไทย,หรือทหารตำรวจภาคประชาชนนั้นเองไปในตัว,ประชาชนสามารถประสานงานแจ้งร้องทุกข์ได้ทุกๆกรณีที่ฝ่ายปกครองรังแกประชาชนตนในกฎหมายกติกาที่ออกมาขัดต่อวิถีสัมมาชีวิตของคนทั้งชาติ,ต้องมีองค์กรภาคประชาชนจริงเพื่อคานอำนาจพวกผีบ้านี้ทางการเมืองทางระบบราชการไทยคนข้าราชการไทยเราเองที่ใช้อำนาจทางอ้อมแทนเราเลอะเทอะ ผิดแต่ไม่ยอมสำนึกว่าผิด ลุแก่อำนาจรังแกประชาชนผ่านกฎกติกาที่ตนถือครองควบคุมใช้บังคับแก่ประชาชน เรา..ประชาชนจึงต้องมีภาคประชาชนลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอย่างจริงจัง. ,สร้างเว็บสร้างแอปสร้างแพลตฟอร์มภาคประชาชนขึ้นมาเพื่อคุ้มครองเรา..ประชาชนเองอีกชั้น,เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีอะไรเลย เครื่องใดๆจะจัดการพวกนี้ที่หลอกลวงเวลาเราไปตลอดอายุการเป็นรัฐบาลมัน จบหลังกาหลังหย่อนบัตรแบบในอดีตๆที่ผ่านมานั้นต้องจบสิ้นเสียที,เรา..ต้องสามารถติดตามหน้างานเนื้องานประเมินผลงานพวกอ้างอำนาจเรา..ประชาชนไปใช้ในทางที่สมควรดีงามถูกต้องได้,ไม่ดีร่วมกันลงโทษได้,ดีร่วมกันเชิดชูเกียรติได้,นี้ห่าอะไรต้องเหนื่อยมาลงถนนขับไล่พวกมันทุกๆครั้งยิ่งพวกข้าราชการยิ่งแย่จัดการมันลำบากอีกในแต่ละตัวลงรายละเอียดแต่ละตัวที่ชั่วเลว,แถมอาจมาคุกคามเล่นงานประชาชนถึงหน้าบ้านเราแทนอีกเพราะตำแหน่งอำนาจมันค้ำหัวโดยหน้าที่มัน,ประชาชนจึงซวยตลอดถูกความอยุติธรรมรังแกตลอดโดยไร้เครื่องมือจัดการโต้กลับใดๆเลย,ทาสเบี้ยไพร่คือประชาชนมันว่า.,เรา..ประชาชนมีจึงเกิดชาติ ชาติคือประชาชน จึงเกิดตำแหน่งหน้าที่การงานแก่พวกมัน,ไม่มีประชาชนก็ถูกยึดครองจากคนต่างชาติแน่นอนเพราะทหารตำรวจก็มาจากประชาชนตนภายในประเทศ,แม้ไม่มีทหารตำรวจประชาชนนี้ก็คือนักรบดีๆนี้เองในการต่อสู้บนสนามสงครามนั้นๆเพื่อรักษาชาติตนประเทศตนไว้,แต่ระบบปกครองข้าราชการไทยเราขาดสำนึกตรงนี้ตลอดนักการเมืองเป็นอันมากไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ตนเอง มุ่งความสงบสุขผาสุกอยู่ดีมีสุขร่ำรวยให้เกิดขึ้นจริงต่อคนไทยเราทุกๆคน จึงเป็นไปทางคตโกงทุจริตโกงกินเป็นอันมาก,บ่อน้ำมันหากทำเองตามกำลังสามารถตนก็พัฒนาต่อยอดจนดีเลิศได้ถึงปัจจุบัน,แต่ก็ขายก็ยกความร่ำรวยนั้นให้ต่างชาติต่างประเทศไปเสียทุจริตไม่ซื่อตรงไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ละเมิดไม่หวงแหนเพื่อความอยู่ดีกินดีของคนไทยตนภายในชาติไทยตนเองตลอดคือยุทธปัจจัยสำคัญทางสงครามที่สนามรบต้องใช้น้ำมันขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งหมดโดยพื้นฐานพื้นๆนี้คือความมั่นคงทางพลังงานและมั่นคงทางอธิปไตยชาติเชื่อมโยงกันชัดเจนตลอดมั่นคงทางค้าขายทำตังทำเงินทางสัมมาอาชีพคนไทยทั้งประเทศลดต้นทุนรากฐานพื้นฐานชัดเจนแต่ระบบราชการไทยเรา สถาบันภาคนักการเมืองกลับกบฎทรยศเนรคุณต่อภาคประชาชนคนไทยทั้งประเทศเสียเอง,นี้เพียงทรัพยากรบ่อน้ำมันปิโตรเลียมนะที่วิถีปกครองเราปกครองได้กากกระจอกและล้มเหลวมาก ไม่กระตือรือร้นแก้ไขปรับปรุงจริงจังห่าเหวอะไรด้วย,บัตรคนจนเพิ่มเป็นอัตราเร่งคือความชัดเจน,วิกฤตเศรษฐกิจเราในไทยแก้ไขง่ายมากคือยึดคืนบ่อน้ำมันบ่อทองคำมาทันทีทั่วประเทศทั้งหมดที่ถูกปล้นชิงไปและสามารถโมฆะธุรกรรมสัญญาทั้งหมดได้ทันทีในระบบประชาธิปไตยเราเพราะเหี้ยไม่ผ่านสภา.สส.ในระบบประชาธิปไตยไทยเราเลย,หากอ้างว่าผ่านระบบราชการไทยนั้นผิดแน่นอนเช่นนั้นจะมีระบบรัฐสภาไว้ทำไม,ทหารยึดอำนาจแจกจ่ายใดๆได้หมดสิ,ระบบราชการไทยพังพินาศทันทีพร้อมทุกๆข้อกฎหมายเพราะการปฏิวัติยึดอำนาจมันชัดเจนในตัวมันแล้ว,เขียนอำนาจใหม่เขียนกฎกติกาใหม่นั้นเอง,เรา..ประชาชนจริงๆสามารถทำการปฏิวัติยึดอำนาจได้เช่นกันไม่มีกฎกติกาใดห้าม,หากทหารห้ามตำรวจห้ามประชาชนทำไมเราต้องมีทหารมีตำรวจอีกต่อไปเพราะเรา..ประชาชนต้องการของเราคนไทยคืนเท่านั้นเพื่อขจัดความยากจนทุกข์ยากที่พวกมันปล้นชิงไปเสียนานจากมือพวกเรา..ประชาชนไป.
    ..ยุคนี้ เรา..ประชาชนต้องจบพวกมันเองทั้งหมดจริงๆ.อะไรที่อยู่บนแผ่นดินไทยอยู่ใต้ดินแผ่นดินไทยอยู่ในเขตอาณาจักรแผ่นดินไทยต้องคืนสู่สามัญกลับมาเป็นของคนไทยเราใหม่ทั้งหมด.,ชาติไทยจะเริ่มปฐมบทสร้างชาติใหม่ของจริงในยุคเรา..ประชาชนนี้,ปล้นชิงจนเรายากจนเสียนานร่ำรวยในโคตรเหง้าบรมโคตรผูกขาดไม่กี่ชาติเชื้อวงศ์ตระกูลมันไม่กี่ตระกูล,ยุคคนไทยยากจนแบบที่ผ่านๆมาต้องจบสิ้นซากเสียที.,ต้องเจริญรุ่งเรืองรุ่งโรจน์จริงทั้งทางวัตถุคือยกจิตยกใจยกศีลธรรมจักรวาลด้วยซึ่งเราคนไทยพื้นฐานดีปูทางชอบธรรมมาถูกทางแล้วแต่คนไม่ดีกำลังหมายทำลายนั่นเอง.เรา..ประชาชนสามารถขับเคลื่อนวิถีปกครองเราในทางดีงามสร้างสรรค์ต่อยอดได้พร้อมกับภาคทหารตำรวจที่ดีของคนไทยเราได้อย่างสบายใจ,สิ้นชาติคือสิ้นเรา..ประชาชนคนไทยไปด้วยอย่าฝันว่าจะมีทหารมีตำรวจมีราชการคนไทยอีกต่อไป,จะถูกแทนที่ด้วยคนต่างชาติต่างเผ่าต่างประเทศแน่นอนบนดินแดนที่เคยมีคนไทยปกครองและอยู่อาศัยร่วมกันมาก่อน,จงสำเนียกแก่ใจเราเถิด.
    ..
    ..https://youtu.be/eCu3eYx_GWg?si=GJiiEc23KR7aJemB
    ..อนาคตต้องมีหรือต้องหาหรือต้องสร้างเครื่องมือภาคประชาชนในการหาวิธีการจัดการไล่นายกฯไล่รัฐมนตรีหรือไล่คนข้าราชการทางการเมืองออกให้ได้และไล่คนระบบข้าราชการสายปกครองธุรการออกได้อีกด้วยโดยไม่ต้องลงถนนชุมนุมประท้วงหรือไปหน้าสถานที่ทำงานเขาหรือที่ใดๆ อาจชุมนุนเล็กหรือใหญ่เพื่อแจ้งข่าวกันปลุกตื่นรู้กันแจ้งเตือนภัยกันให้มาฟังมารู้มาร่วมขจัดคนไม่ดีร่วมกันก็ว่า,เรา..ประชาชน..ต้องมีวิธีการจัดการใหม่จริงๆ เช่นจะไล่นายกฯอบต.ออกเพราะแดกเหลือเกินประชาชนสามารถลงทะเบียนออนไลน์กดปุ่นไล่ออกได้เลย,กดปุ่มถอดถอนออกหรือกดปุ่มให้อยู่ต่อสามารถกดปุ่มได้ทุกที่ทุกเวลาและสามารถยืนยันตัวตนที่ไหนก็ได้เรียลไทม์หรือยืนยันผ่านมือถือตนสแกนลายนิ้วมือใบหน้าหรือdnaควอนตัมก็ว่าไป,หรือจะทจะไปที่ที่ทำการผู้ใหญ่ในชุมชนตนหรือที่ว่าการอำเภอจังหวัดได้หมด,หรือกรณีเผ็ดร้อนดุเดือดสำคัญเรื่องทหารคือฝ่ายตรงข้ามเรา,อังเคิลฮุนเซนต้องการอะไรเดียวจัดให้เป็นต้นไล่นายกฯก็ว่าหรือไล่ครม.ทั้งคณะหรือตัวบุคคลหรือสส.ทั้งตัวบุคคลและทั้งสภา สามารถทำได้หมด,หรือข้าราชการคนใดในระบบหรือทั้งองค์กรจะยุบหน่วยงานกระทรวงทบวงกรมไหนก็ได้อีก,ไล่คณะกกต.ออกก็ได้อีกหรือใดภายในระบบปกครองที่เราประชาชนถูกกระทำหรือมาใช้บังคับเรา เราสามารถทุบมตินั้นได้มิใช่ตั้งท่ายอมจำนงยอมรับในกฎกติกาผีบ้าต่างๆสถานเดียวตลอดเวลาหรือเรา..ประชาชนต้องถูกกระทำจากคนหมู่น้อยที่มีสิทธิเฉพาะตัว1สิทธิ1เสียง1ปาก2มือตีนแบบเราๆประชาชนเหมือนๆกันแค่ได้สวมหัวโขนแทนเราแค่นั้นแต่ออกกฎกติกาไปทั่วในการกดขี่บังคับเรา..ประชาชนทั้งประเทศมันผิดปกติธรรมชาติมาก, .. เรา..ประชาชน..อาจชุมนุมแบบที่อนุสาวรีย์ชัยฯเป็นสัญลักษณ์บอกผ่านสื่อทั่วประเทศแล้ววันต่อมาเราค่อยรวมใจทุกๆคนไทยลงทะเบียนออนไลน์กดปุ่นไล่นายกฯอย่างเป็นทางการทันทีอีกครั้งก็ว่า,ซึ่งเรา..คนไทยสามารถสร้างแอปนี้แพลตฟอร์มนี้เป็นฮับกลางระดับประเทศเพื่อใช้ประเมินความต้องการของคนไทยทั้งประเทศทางตรงหรือบอกผ่านอำนาจทางตรงแก่คนใช้อำนาจทางอ้อมเราไปทางที่ผิดได้และสามารถลงโทษคัดออกได้ทันทีเช่นกัน,ด้วยความสามารถคนไทยเราสร้างระบบกลางนี้ได้สบายและจัดตั้งเป็นกระทรวงพิเศษภาคประชาชนกำกับดูแลได้ไม่ขึ้นตรงต่ออำนาจรัฐหรืออำนาจทางนักการเมืองและอำนาจระบบราชการไทย,หรือทหารตำรวจภาคประชาชนนั้นเองไปในตัว,ประชาชนสามารถประสานงานแจ้งร้องทุกข์ได้ทุกๆกรณีที่ฝ่ายปกครองรังแกประชาชนตนในกฎหมายกติกาที่ออกมาขัดต่อวิถีสัมมาชีวิตของคนทั้งชาติ,ต้องมีองค์กรภาคประชาชนจริงเพื่อคานอำนาจพวกผีบ้านี้ทางการเมืองทางระบบราชการไทยคนข้าราชการไทยเราเองที่ใช้อำนาจทางอ้อมแทนเราเลอะเทอะ ผิดแต่ไม่ยอมสำนึกว่าผิด ลุแก่อำนาจรังแกประชาชนผ่านกฎกติกาที่ตนถือครองควบคุมใช้บังคับแก่ประชาชน เรา..ประชาชนจึงต้องมีภาคประชาชนลักษณะนี้เกิดขึ้นมาอย่างจริงจัง. ,สร้างเว็บสร้างแอปสร้างแพลตฟอร์มภาคประชาชนขึ้นมาเพื่อคุ้มครองเรา..ประชาชนเองอีกชั้น,เพราะที่ผ่านมาเราไม่มีอะไรเลย เครื่องใดๆจะจัดการพวกนี้ที่หลอกลวงเวลาเราไปตลอดอายุการเป็นรัฐบาลมัน จบหลังกาหลังหย่อนบัตรแบบในอดีตๆที่ผ่านมานั้นต้องจบสิ้นเสียที,เรา..ต้องสามารถติดตามหน้างานเนื้องานประเมินผลงานพวกอ้างอำนาจเรา..ประชาชนไปใช้ในทางที่สมควรดีงามถูกต้องได้,ไม่ดีร่วมกันลงโทษได้,ดีร่วมกันเชิดชูเกียรติได้,นี้ห่าอะไรต้องเหนื่อยมาลงถนนขับไล่พวกมันทุกๆครั้งยิ่งพวกข้าราชการยิ่งแย่จัดการมันลำบากอีกในแต่ละตัวลงรายละเอียดแต่ละตัวที่ชั่วเลว,แถมอาจมาคุกคามเล่นงานประชาชนถึงหน้าบ้านเราแทนอีกเพราะตำแหน่งอำนาจมันค้ำหัวโดยหน้าที่มัน,ประชาชนจึงซวยตลอดถูกความอยุติธรรมรังแกตลอดโดยไร้เครื่องมือจัดการโต้กลับใดๆเลย,ทาสเบี้ยไพร่คือประชาชนมันว่า.,เรา..ประชาชนมีจึงเกิดชาติ ชาติคือประชาชน จึงเกิดตำแหน่งหน้าที่การงานแก่พวกมัน,ไม่มีประชาชนก็ถูกยึดครองจากคนต่างชาติแน่นอนเพราะทหารตำรวจก็มาจากประชาชนตนภายในประเทศ,แม้ไม่มีทหารตำรวจประชาชนนี้ก็คือนักรบดีๆนี้เองในการต่อสู้บนสนามสงครามนั้นๆเพื่อรักษาชาติตนประเทศตนไว้,แต่ระบบปกครองข้าราชการไทยเราขาดสำนึกตรงนี้ตลอดนักการเมืองเป็นอันมากไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ตนเอง มุ่งความสงบสุขผาสุกอยู่ดีมีสุขร่ำรวยให้เกิดขึ้นจริงต่อคนไทยเราทุกๆคน จึงเป็นไปทางคตโกงทุจริตโกงกินเป็นอันมาก,บ่อน้ำมันหากทำเองตามกำลังสามารถตนก็พัฒนาต่อยอดจนดีเลิศได้ถึงปัจจุบัน,แต่ก็ขายก็ยกความร่ำรวยนั้นให้ต่างชาติต่างประเทศไปเสียทุจริตไม่ซื่อตรงไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ละเมิดไม่หวงแหนเพื่อความอยู่ดีกินดีของคนไทยตนภายในชาติไทยตนเองตลอดคือยุทธปัจจัยสำคัญทางสงครามที่สนามรบต้องใช้น้ำมันขับเคลื่อนเครื่องจักรกลทั้งหมดโดยพื้นฐานพื้นๆนี้คือความมั่นคงทางพลังงานและมั่นคงทางอธิปไตยชาติเชื่อมโยงกันชัดเจนตลอดมั่นคงทางค้าขายทำตังทำเงินทางสัมมาอาชีพคนไทยทั้งประเทศลดต้นทุนรากฐานพื้นฐานชัดเจนแต่ระบบราชการไทยเรา สถาบันภาคนักการเมืองกลับกบฎทรยศเนรคุณต่อภาคประชาชนคนไทยทั้งประเทศเสียเอง,นี้เพียงทรัพยากรบ่อน้ำมันปิโตรเลียมนะที่วิถีปกครองเราปกครองได้กากกระจอกและล้มเหลวมาก ไม่กระตือรือร้นแก้ไขปรับปรุงจริงจังห่าเหวอะไรด้วย,บัตรคนจนเพิ่มเป็นอัตราเร่งคือความชัดเจน,วิกฤตเศรษฐกิจเราในไทยแก้ไขง่ายมากคือยึดคืนบ่อน้ำมันบ่อทองคำมาทันทีทั่วประเทศทั้งหมดที่ถูกปล้นชิงไปและสามารถโมฆะธุรกรรมสัญญาทั้งหมดได้ทันทีในระบบประชาธิปไตยเราเพราะเหี้ยไม่ผ่านสภา.สส.ในระบบประชาธิปไตยไทยเราเลย,หากอ้างว่าผ่านระบบราชการไทยนั้นผิดแน่นอนเช่นนั้นจะมีระบบรัฐสภาไว้ทำไม,ทหารยึดอำนาจแจกจ่ายใดๆได้หมดสิ,ระบบราชการไทยพังพินาศทันทีพร้อมทุกๆข้อกฎหมายเพราะการปฏิวัติยึดอำนาจมันชัดเจนในตัวมันแล้ว,เขียนอำนาจใหม่เขียนกฎกติกาใหม่นั้นเอง,เรา..ประชาชนจริงๆสามารถทำการปฏิวัติยึดอำนาจได้เช่นกันไม่มีกฎกติกาใดห้าม,หากทหารห้ามตำรวจห้ามประชาชนทำไมเราต้องมีทหารมีตำรวจอีกต่อไปเพราะเรา..ประชาชนต้องการของเราคนไทยคืนเท่านั้นเพื่อขจัดความยากจนทุกข์ยากที่พวกมันปล้นชิงไปเสียนานจากมือพวกเรา..ประชาชนไป. ..ยุคนี้ เรา..ประชาชนต้องจบพวกมันเองทั้งหมดจริงๆ.อะไรที่อยู่บนแผ่นดินไทยอยู่ใต้ดินแผ่นดินไทยอยู่ในเขตอาณาจักรแผ่นดินไทยต้องคืนสู่สามัญกลับมาเป็นของคนไทยเราใหม่ทั้งหมด.,ชาติไทยจะเริ่มปฐมบทสร้างชาติใหม่ของจริงในยุคเรา..ประชาชนนี้,ปล้นชิงจนเรายากจนเสียนานร่ำรวยในโคตรเหง้าบรมโคตรผูกขาดไม่กี่ชาติเชื้อวงศ์ตระกูลมันไม่กี่ตระกูล,ยุคคนไทยยากจนแบบที่ผ่านๆมาต้องจบสิ้นซากเสียที.,ต้องเจริญรุ่งเรืองรุ่งโรจน์จริงทั้งทางวัตถุคือยกจิตยกใจยกศีลธรรมจักรวาลด้วยซึ่งเราคนไทยพื้นฐานดีปูทางชอบธรรมมาถูกทางแล้วแต่คนไม่ดีกำลังหมายทำลายนั่นเอง.เรา..ประชาชนสามารถขับเคลื่อนวิถีปกครองเราในทางดีงามสร้างสรรค์ต่อยอดได้พร้อมกับภาคทหารตำรวจที่ดีของคนไทยเราได้อย่างสบายใจ,สิ้นชาติคือสิ้นเรา..ประชาชนคนไทยไปด้วยอย่าฝันว่าจะมีทหารมีตำรวจมีราชการคนไทยอีกต่อไป,จะถูกแทนที่ด้วยคนต่างชาติต่างเผ่าต่างประเทศแน่นอนบนดินแดนที่เคยมีคนไทยปกครองและอยู่อาศัยร่วมกันมาก่อน,จงสำเนียกแก่ใจเราเถิด. .. ..https://youtu.be/eCu3eYx_GWg?si=GJiiEc23KR7aJemB
    0 Comments 0 Shares 387 Views 0 Reviews
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง
    สัทธรรมลำดับที่ : 1036
    ชื่อบทธรรม :- อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1036
    เนื้อความทั้งหมด :-
    หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์
    --อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง
    --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง)
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา
    ที่ไม่ดิ่ง ไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ
    เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพาน.
    --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง)
    ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ?
    --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ
    ข้อปฏิบัติอันเป็น หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี่เอง.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค
    แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือ
    ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง
    การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพที่ถูกต้อง
    ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งจิตมั่นคงที่ถูกต้อง.
    --ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ #ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา)​
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา
    ที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว
    เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ
    เป็นไปเพื่อความ สงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง
    เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ #นิพพาน.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์
    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/419/1664.
    http://etipitaka.com/read/thai/19/419/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔.
    http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1036
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1036
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90
    ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง สัทธรรมลำดับที่ : 1036 ชื่อบทธรรม :- อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1036 เนื้อความทั้งหมด :- หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์ --อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง) http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา ที่ไม่ดิ่ง ไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพาน. --ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? --ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=อริโย+อฏฺฐงฺคิโก+มคฺโค แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งจิตมั่นคงที่ถูกต้อง. --ภิกษุ ท. ! นี้แล คือ #ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง (มชฺฌิมา ปฏิปทา)​ http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=มชฺฌิมา+ปฏิปทา ที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความ สงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ #นิพพาน.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. 19/419/1664. http://etipitaka.com/read/thai/19/419/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - มหาวาร. สํ. ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔. http://etipitaka.com/read/pali/19/528/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%96%E0%B9%96%E0%B9%94 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1036 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1036 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90 ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์
    -หมวด ฌ. ว่าด้วย มรรคกับพระพุทธองค์ อริยอัฏฐังคิกมรรค คือมัชฌิมาปฏิปทาที่ตรัสรู้เอง ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่ง ไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นข้อปฏิบัติที่ตถาคตได้ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดจักษุ เป็นข้อปฏิบัติทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพาน. ภิกษุ ท. ! มัชฌิมาปฏิปทา (ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง) ที่ไม่ดิ่งไปหาที่สุดโต่งสองอย่างนั้น เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุ ท. ! ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลางนั้น คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี่เอง. แปดประการ คืออะไรเล่า ? คือความเห็นที่ถูกต้อง ความดำริที่ถูกต้อง การพูดจาที่ถูกต้อง การทำการงานที่ถูกต้อง การดำรงชีพที่ถูกต้อง ความพากเพียรที่ถูกต้อง ความรำลึกที่ถูกต้อง ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง. ภิกษุ ท. ! นี้แล คือข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ ตรัสรู้เฉพาะแล้ว เป็นข้อปฏิบัติ ทำให้เกิดจักษุ ทำให้เกิดญาณ เป็นไปเพื่อความ สงบ เพื่อ ความรู้อันยิ่ง เพื่อ ความตรัสรู้พร้อม เพื่อ นิพพาน.
    0 Comments 0 Shares 184 Views 0 Reviews
  • อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว
    สัทธรรมลำดับที่ : 1033
    ชื่อบทธรรม :- สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1033
    เนื้อความทั้งหมด :-
    --หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล
    --สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล้ว
    ย่อม เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล
    เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
    แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปด ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ :-
    --๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์
    ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร
    มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย
    สมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่.
    --๒. เขาถวายโภชนะใดๆ แก่เธอ
    เศร้าหมอง หรือประณีต ก็ตาม
    เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพเอื้อเฟื้อ
    ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย.
    --๓. เป็นผู้เกลียดต่อ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
    เกลียดต่อการถึง พร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย
    --๔. เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว.
    --๕. เป็นผู้เปิดเผย ความโอ้อวด ความโกง ความพยศ ความคด ของเธอ
    ในพระศาสดาหรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ตามเป็นจริง
    พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้วิญญูชนเหล่านั้น
    ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้นของเธอเสีย.
    --๖. เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า
    “ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตามใจ
    เราจัดศึกษาในบทแห่งการศึกษานั้นๆ”
    ดังนี้.
    --๗. เมื่อเธอไปก็ไปตรง;
    นี้คือ ทางตรงในกรณีนั้น คือ
    สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; (ปัญญา)​
    สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; (ศีล)​
    สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.(สมาธิ)​
    --๘. เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วอยู่ ว่า
    “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและโลหิตในสรีระจงเหือดแห้งไป ก็ตามที
    ประโยชน์อันบุคคล จะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ความบากบั่น ของบุรุษ
    ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี”
    ดังนี้.
    --ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล
    #ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล
    http://etipitaka.com/read/pali/23/193/?keywords=อาหุเนยฺโย
    เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.-

    #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์

    อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. 23/144/103.
    http://etipitaka.com/read/thai/23/144/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%93
    อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. ๒๓/๑๙๓/๑๐๓.
    http://etipitaka.com/read/pali/23/193/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%93
    ศึกษา​เพิ่มเติม...
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1033
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1033
    https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90
    ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน...
    http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    อริยสาวก​พึง​ฝึกหัด​ศึกษา​ว่า​สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว สัทธรรมลำดับที่ : 1033 ชื่อบทธรรม :- สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1033 เนื้อความทั้งหมด :- --หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล --สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว --ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปด ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ :- --๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่. --๒. เขาถวายโภชนะใดๆ แก่เธอ เศร้าหมอง หรือประณีต ก็ตาม เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพเอื้อเฟื้อ ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย. --๓. เป็นผู้เกลียดต่อ กายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เกลียดต่อการถึง พร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย --๔. เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว. --๕. เป็นผู้เปิดเผย ความโอ้อวด ความโกง ความพยศ ความคด ของเธอ ในพระศาสดาหรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ตามเป็นจริง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้วิญญูชนเหล่านั้น ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้นของเธอเสีย. --๖. เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า “ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตามใจ เราจัดศึกษาในบทแห่งการศึกษานั้นๆ” ดังนี้. --๗. เมื่อเธอไปก็ไปตรง; นี้คือ ทางตรงในกรณีนั้น คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; (ปัญญา)​ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; (ศีล)​ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.(สมาธิ)​ --๘. เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วอยู่ ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและโลหิตในสรีระจงเหือดแห้งไป ก็ตามที ประโยชน์อันบุคคล จะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้. --ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล #ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล http://etipitaka.com/read/pali/23/193/?keywords=อาหุเนยฺโย เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.- #ทุกขมรรค #อริยสัจสี่ #สุตันตปิฎก #บาลีสุตันตปิฎก #พุทธธัมมเจดีย์ อ้างอิงไทยสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. 23/144/103. http://etipitaka.com/read/thai/23/144/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%93 อ้างอิงบาลีสุตันตปิฎก : - อฏฺ ฐฏ. อํ. ๒๓/๑๙๓/๑๐๓. http://etipitaka.com/read/pali/23/193/?keywords=%E0%B9%91%E0%B9%90%E0%B9%93 ศึกษา​เพิ่มเติม... https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/AriyasajSearch/SinglePage.php?key=1033 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90&id=1033 https://www.xn--n3ccdaca9awfta5nmbzd0nd.com/2015/checkForm.php?songno=90 ลำดับสาธยายธรรม : 90 ฟังเสียงอ่าน... http://www.manodham.com/sound/002/mp3/002_90.mp3
    WWW.XN--N3CCDACA9AWFTA5NMBZD0ND.COM
    - หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล-สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค-ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว
    -(ข้อปฏิบัติตามอัฏฐังคิกมรรค อาจจะแยกแยะออกไปเป็นรายละเอียด ได้อย่างมากมาย ด้วยพระพุทธภาษิตที่ตรัสแก่พระสารีบุตรในที่นี้ กล่าวได้ว่า เป็นคำขยายความของ อริยมรรคมีองค์แปดรวมกันได้เป็นอย่างดี จึงได้นำข้อความนี้มาใส่ไว้ในหมวดนี้). หมวด ซ. ว่าด้วย มรรคกับอาหุเนยยบุคคล สักว่าดำเนินอยู่ในอัฏฐังคิกมรรค ก็เป็นอาหุเนยยบุคคลฯ แล้ว ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล้ว ย่อม เป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคล เป็นนาบุญของโลกไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า. แปดประการ อย่างไรเล่า ? แปด ประการ คือ ภิกษุในกรณีนี้ : ๑. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสำรวมในปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นเป็นภัยในโทษทั้งหลายแม้มีประมาณเล็กน้อย สมาทานศึกษา ในสิกขาบททั้งหลาย อยู่. ๒. เขาถวายโภชนะใดๆ แก่เธอ เศร้าหมอง หรือประณีต ก็ตาม เธอฉันโภชนะนั้นๆ โดยเคารพเอื้อเฟื้อ ไม่เดือดร้อนกระวนกระวาย. ๓. เป็นผู้เกลียดต่อกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต เกลียดต่อการถึง พร้อมด้วยอกุศลธรรมอันลามกทั้งหลาย ๔. เป็นผู้ยินดีในความสงบ มีการอยู่ร่วมกันเป็นสุข ไม่ทำภิกษุเหล่าอื่นให้หวาดกลัว. ๕. เป็นผู้เปิดเผยความโอ้อวด ความโกง ความพยศ ความคดของเธอ ในพระศาสดา หรือในเพื่อนสพรหมจารีผู้เป็นวิญญูชน ตามเป็นจริง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้วิญญูชนเหล่านั้น ย่อมพยายามเพื่อกำจัดโทษเหล่านั้นของเธอเสีย. ๖. เป็นผู้มีสิกขา ตั้งจิตว่า “ภิกษุเหล่าอื่นจะศึกษาหรือไม่ศึกษาก็ตามใจ เราจัดศึกษาในบทแห่งการศึกษานั้นๆ” ดังนี้. ๗. เมื่อเธอไปก็ไปตรง; นี้คือ ทางตรงในกรณีนั้น คือสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ; สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ; สัมมาวายามะสัมมาสติ สัมมาสมาธิ. ๘. เป็นผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วอยู่ ว่า “หนัง เอ็น กระดูก จงเหลืออยู่ เนื้อและโลหิตในสรีระจงเหือดแห้งไป ก็ตามที ประโยชน์อันบุคคล จะพึงลุถึงได้ด้วยกำลัง ด้วยความเพียร ความบากบั่น ของบุรุษ ถ้ายังไม่บรรลุประโยชน์นั้นแล้ว จักหยุดความเพียรเสีย เป็นไม่มี” ดังนี้. ภิกษุ ท. ! ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๘ ประการเหล่านี้แล ย่อมเป็นอาหุเนยยบุคคล ปาหุเนยยบุคคล ทักขิเณยยบุคคล อัญชลิกรณียบุคคลเป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
    0 Comments 0 Shares 209 Views 0 Reviews
  • เทคโนโลยี AI กับแนวทางศาสนาพุทธ: จุดบรรจบและความขัดแย้ง

    ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับหลักปรัชญาและจริยธรรมของพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็น รายงานฉบับนี้จะสำรวจจุดที่ AI สามารถเสริมสร้างและสอดคล้องกับพุทธธรรม รวมถึงประเด็นความขัดแย้งเชิงปรัชญาและจริยธรรม เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและใช้ AI อย่างมีสติและเป็นประโยชน์สูงสุด

    หลักการพื้นฐานของพุทธศาสนา: แก่นธรรมเพื่อความเข้าใจ
    พุทธศาสนามุ่งเน้นการพ้นทุกข์ โดยสอนให้เข้าใจธรรมชาติของทุกข์และหนทางดับทุกข์ผ่านหลักอริยสัจสี่ (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค) หนทางแห่งมรรคประกอบด้วยองค์แปดประการ แก่นธรรมสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา) การปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา) การพัฒนาปัญญาต้องอาศัยสติ, โยนิโสมนสิการ, และปัญญา กฎแห่งกรรมและปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักการสำคัญที่อธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พุทธศาสนาเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎธรรมชาติ 5 ประการ หรือนิยาม 5 พรหมวิหารสี่ (เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา) เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมความปรารถนาดีต่อสรรพชีวิต เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ซึ่งเป็นความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำถึงทางสายกลาง โดยมอง AI เป็นเพียง "เครื่องมือ" หรือ "แพ" สอดคล้องกับทางสายกลางนี้  

    มิติที่ AI สอดคล้องกับพุทธธรรม: ศักยภาพเพื่อประโยชน์สุข
    AI มีศักยภาพมหาศาลในการเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการเผยแผ่ การศึกษา และการปฏิบัติธรรม

    การประยุกต์ใช้ AI เพื่อการเผยแผ่พระธรรม
    AI มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น "พระสงฆ์ AI" หรือ "พระโพธิสัตว์ AI" อย่าง Mindar ในญี่ปุ่น และ "เสียนเอ๋อร์" ในจีน การใช้ AI ในการแปลงพระไตรปิฎกเป็นดิจิทัลและการแปลพระคัมภีร์ด้วยเครื่องมืออย่าง DeepL ช่วยเพิ่มความเร็วและความแม่นยำ ทำให้เนื้อหาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นทั่วโลก AI ช่วยให้การเผยแผ่ธรรม "สะดวก มีประสิทธิภาพ และน่าดึงดูดมากขึ้น รวมถึงขยายขอบเขตการเข้าถึงให้เกินกว่าข้อจำกัดทางพื้นที่และเวลาแบบดั้งเดิม" ซึ่งสอดคล้องกับหลัก กรุณา  

    สื่อใหม่และประสบการณ์เสมือนจริง: การสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้และปฏิบัติ
    การนำเทคโนโลยีสื่อใหม่ เช่น จอ AI, VR และ AR มาใช้ในการสร้างประสบการณ์พุทธศาสนาเสมือนจริง เช่น "Journey to the Land of Buddha" ของวัดฝอกวงซัน ช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ เทคโนโลยี VR ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้าง "ความเห็นอกเห็นใจ" การพัฒนาแพลตฟอร์มการบูชาออนไลน์และพิธีกรรมทางไซเบอร์ เช่น "Light Up Lamps Online" และเกม "Fo Guang GO" ช่วยให้ผู้ศรัทธาสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและเยี่ยมชมวัดเสมือนจริงได้จากทุกที่ การใช้ VR/AR เพื่อ "ประสบการณ์ที่ดื่มด่ำ" และ "Sati-AI" สำหรับการทำสมาธิเจริญสติ สามารถสร้างสภาพแวดล้อมจำลองที่เอื้อต่อการทำสมาธิและสติได้  

    AI ในฐานะเครื่องมือเพื่อการปฏิบัติและพัฒนาตน
    แอปพลิเคชัน AI เช่น NORBU, Buddha Teachings, Buddha Wisdom App ทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมทางที่มีคุณค่าในการศึกษาและปฏิบัติธรรม โดยให้การเข้าถึงคลังข้อความพุทธศาสนาขนาดใหญ่, บทเรียนส่วนบุคคล, คำแนะนำในการทำสมาธิ, และการติดตามความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แชทบอทเหล่านี้มีความสามารถในการตอบคำถามและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง AI สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลและคำแนะนำเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ช่วยให้บุคคลสามารถศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเองได้อย่างมีพลังมากขึ้น สิ่งนี้สอดคล้องกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเรื่อง อัตตา หิ อัตตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)  

    การวิจัยและเข้าถึงข้อมูลพระธรรม: การเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึก
    AI ช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่, ค้นหารูปแบบ, และสร้างแบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจพระคัมภีร์และหลักธรรมได้เร็วขึ้นและดีขึ้น สามารถใช้ AI ในการค้นหาอ้างอิง, เปรียบเทียบข้อความข้ามภาษา, และให้บริบท ด้วยการทำให้งานวิจัยเป็นไปโดยอัตโนมัติ AI ช่วยให้นักวิชาการและผู้ปฏิบัติสามารถใช้เวลามากขึ้นในการทำโยนิโสมนสิการ  

    หลักจริยธรรมพุทธกับการพัฒนา AI
    ข้อกังวลทางจริยธรรมที่กว้างที่สุดคือ AI ควรสอดคล้องกับหลักอหิงสา (ไม่เบียดเบียน) ของพุทธศาสนา นักวิชาการ Somparn Promta และ Kenneth Einar Himma แย้งว่าการพัฒนา AI สามารถถือเป็นสิ่งที่ดีในเชิงเครื่องมือเท่านั้น พวกเขาเสนอว่าเป้าหมายที่สำคัญกว่าคือการก้าวข้ามความปรารถนาและสัญชาตญาณที่ขับเคลื่อนด้วยการเอาชีวิตรอด การกล่าวถึง "อหิงสา" และ "การลดความทุกข์" เสนอหลักการเหล่านี้เป็นพารามิเตอร์การออกแบบภายในสำหรับ AI  

    นักคิด Thomas Doctor และคณะ เสนอให้นำ "ปณิธานพระโพธิสัตว์" ซึ่งเป็นการให้คำมั่นที่จะบรรเทาความทุกข์ของสรรพสัตว์ มาเป็นหลักการชี้นำในการออกแบบระบบ AI แนวคิด "ปัญญาแห่งการดูแล" (intelligence as care) ได้รับแรงบันดาลใจจากปณิธานพระโพธิสัตว์ โดยวางตำแหน่ง AI ให้เป็นเครื่องมือในการแสดงความห่วงใยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด  

    พุทธศาสนาเน้นย้ำว่าสรรพสิ่งล้วน "เกิดขึ้นพร้อมอาศัยกัน" (ปฏิจจสมุปบาท) และ "ไม่มีตัวตน" (อนัตตา) ซึ่งนำไปสู่การยืนยันถึง "ความสำคัญอันดับแรกของความสัมพันธ์" แนวคิด "กรรม" อธิบายถึงการทำงานร่วมกันของเหตุและผลหลายทิศทาง การนำสิ่งนี้มาประยุกต์ใช้กับ AI หมายถึงการตระหนักว่าระบบ AI เป็น "ศูนย์รวมของการเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ภายในเครือข่ายของการกระทำที่มีนัยสำคัญทางศีลธรรม" การ "วิวัฒน์ร่วม" ของมนุษย์และ AI บ่งชี้ว่าเส้นทางการพัฒนาของ AI นั้นเชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับของมนุษยชาติ ดังนั้น "ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการจัดเรียงคุณค่า" จึงไม่ใช่แค่ปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเชิงกรรม

    มิติที่ AI ขัดแย้งกับพุทธธรรม: ความท้าทายเชิงปรัชญาและจริยธรรม
    แม้ AI จะมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีประเด็นความขัดแย้งเชิงปรัชญาและจริยธรรมที่สำคัญกับพุทธธรรม

    ปัญหาเรื่องจิตสำนึกและอัตตา
    คำถามสำคัญคือระบบ AI สามารถถือเป็นสิ่งมีชีวิต (sentient being) ตามคำจำกัดความของพุทธศาสนาได้หรือไม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องจิตสำนึก (consciousness) และการเกิดใหม่ (rebirth) "คุณภาพของควาเลีย" (qualia quality) หรือความสามารถในการรับรู้และรู้สึกนั้นยังระบุได้ยากใน AI การทดลองทางความคิด "ห้องจีน" แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการพิจารณาว่าปัญญาที่ไม่ใช่ชีวภาพสามารถมีจิตสำนึกได้หรือไม่ หาก AI ไม่สามารถประสบกับความทุกข์หรือบ่มเพาะปัญญาได้ ก็ไม่สามารถเดินตามหนทางสู่การตรัสรู้ได้อย่างแท้จริง  

    เจตจำนงเสรีและกฎแห่งกรรม
    ความตั้งใจ (volition) ใน AI ซึ่งมักแสดงออกในรูปแบบของคำสั่ง "ถ้า...แล้ว..." นั้น แทบจะไม่มีลักษณะของเจตจำนงเสรีหรือแม้แต่ทางเลือกที่จำกัด ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา ทางเลือกที่จำกัดเป็นสิ่งจำเป็นขั้นต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (deterministic behavior) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ หาก AI ขาดทางเลือกที่แท้จริง ก็ไม่สามารถสร้างกรรมได้ในลักษณะเดียวกับสิ่งมีชีวิต  

    ความยึดมั่นถือมั่นและมายา
    แนวคิดของการรวมร่างกับ AI เพื่อประโยชน์ที่รับรู้ได้ เช่น การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น มีความน่าดึงดูดใจ อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าการรวมร่างดังกล่าวอาจเป็น "กับดัก" หรือ "นรก" เนื่องจากความยึดมั่นถือมั่นและการขาดความสงบ กิเลสของมนุษย์ (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) และกลไกตลาดก็ยังคงสามารถนำไปสู่ความทุกข์ได้แม้ในสภาวะ AI ขั้นสูง การแสวงหา "การอัปเกรด" ที่ขับเคลื่อนด้วยตัณหา สามารถทำให้วัฏจักรแห่งความทุกข์ดำเนินต่อไปได้  

    ความเสี่ยงด้านจริยธรรมและการบิดเบือนพระธรรม
    มีความเสี่ยงที่ AI จะสร้างข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดและ "ความเหลวไหลที่สอดคล้องกัน" ดังที่เห็นได้จากกรณีของ Suzuki Roshi Bot AI ขาด "บริบทระดับที่สอง" และความสามารถในการยืนยันข้อเท็จจริง ทำให้มันเป็นเพียง "นกแก้วที่ฉลาดมาก" ความสามารถของ AI ในการสร้าง "ความเหลวไหลที่สอดคล้องกัน" ก่อให้เกิดความท้าทายต่อสัมมาทิฏฐิและสัมมาวาจา  

    นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพที่ "Strong AI" จะก่อให้เกิดวิกฤตทางจริยธรรมและนำไปสู่ "ลัทธิวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" "เทคโนโลยี-ธรรมชาติ" (techno-naturalism) ลดทอนปัญญามนุษย์ให้เหลือเพียงกระแสข้อมูล ซึ่งขัดแย้งกับพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมที่เน้นความเป็นมนุษย์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายและจิต สิ่งนี้สร้างความขัดแย้งกับประเพณีการปฏิบัติที่เน้น "ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายและจิต"  

    สุดท้ายนี้ มีอันตรายที่การนำ AI มาใช้ในการปฏิบัติพุทธศาสนาอาจเปลี่ยนจุดเน้นจากการบ่มเพาะทางจิตวิญญาณที่แท้จริงไปสู่ผลประโยชน์นิยมหรือการมีส่วนร่วมที่ผิวเผิน

    จากข้อพิจารณาทั้งหมดนี้ การเดินทางบน "ทางสายกลาง" จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการเผชิญหน้ากับยุค AI สำหรับพุทธศาสนา การดำเนินการนี้ต้องอาศัย:  

    1️⃣ การพัฒนา AI ที่มีรากฐานทางจริยธรรม: AI ควรถูกออกแบบและพัฒนาโดยยึดมั่นในหลักการอหิงสา และการลดความทุกข์ ควรนำ "ปณิธานพระโพธิสัตว์" และแนวคิด "ปัญญาแห่งการดูแล" มาเป็นพิมพ์เขียว  

    2️⃣ การตระหนักถึง "ความเป็นเครื่องมือ" ของ AI: พุทธศาสนาควรมอง AI เป็นเพียง "แพ" หรือ "เครื่องมือ" ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางสู่การหลุดพ้น ไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวเอง  

    3️⃣ การบ่มเพาะปัญญามนุษย์และสติ: แม้ AI จะมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลมหาศาล แต่ไม่สามารถทดแทนปัญญาที่แท้จริง จิตสำนึก หรือเจตจำนงเสรีของมนุษย์ได้ การปฏิบัติธรรม การเจริญสติ และการใช้โยนิโสมนสิการยังคงเป็นสิ่งจำเป็น  

    4️⃣ การส่งเสริม "ค่านิยมร่วมที่แข็งแกร่ง": การแก้ไข "ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการจัดเรียงคุณค่า" ของ AI จำเป็นต้องมีการบ่มเพาะค่านิยมร่วมที่แข็งแกร่งในหมู่มนุษยชาติ ซึ่งมีรากฐานมาจากความเมตตาและปัญญา  

    #ลุงเขียนหลานอ่าน
    เทคโนโลยี AI กับแนวทางศาสนาพุทธ: จุดบรรจบและความขัดแย้ง ในยุคที่เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว การพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่าง AI กับหลักปรัชญาและจริยธรรมของพุทธศาสนาจึงเป็นสิ่งจำเป็น รายงานฉบับนี้จะสำรวจจุดที่ AI สามารถเสริมสร้างและสอดคล้องกับพุทธธรรม รวมถึงประเด็นความขัดแย้งเชิงปรัชญาและจริยธรรม เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาและใช้ AI อย่างมีสติและเป็นประโยชน์สูงสุด ☸️☸️ หลักการพื้นฐานของพุทธศาสนา: แก่นธรรมเพื่อความเข้าใจ พุทธศาสนามุ่งเน้นการพ้นทุกข์ โดยสอนให้เข้าใจธรรมชาติของทุกข์และหนทางดับทุกข์ผ่านหลักอริยสัจสี่ (ทุกข์, สมุทัย, นิโรธ, มรรค) หนทางแห่งมรรคประกอบด้วยองค์แปดประการ แก่นธรรมสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ไตรลักษณ์ (อนิจจัง, ทุกขัง, อนัตตา) การปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของไตรสิกขา (ศีล, สมาธิ, ปัญญา) การพัฒนาปัญญาต้องอาศัยสติ, โยนิโสมนสิการ, และปัญญา กฎแห่งกรรมและปฏิจจสมุปบาทเป็นหลักการสำคัญที่อธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พุทธศาสนาเชื่อว่าโลกนี้เกิดขึ้นเองจากกฎธรรมชาติ 5 ประการ หรือนิยาม 5 พรหมวิหารสี่ (เมตตา, กรุณา, มุทิตา, อุเบกขา) เป็นคุณธรรมที่ส่งเสริมความปรารถนาดีต่อสรรพชีวิต เป้าหมายสูงสุดคือพระนิพพาน ซึ่งเป็นความดับทุกข์โดยสิ้นเชิง พระพุทธเจ้าทรงเน้นย้ำถึงทางสายกลาง โดยมอง AI เป็นเพียง "เครื่องมือ" หรือ "แพ" สอดคล้องกับทางสายกลางนี้   🤖 มิติที่ AI สอดคล้องกับพุทธธรรม: ศักยภาพเพื่อประโยชน์สุข AI มีศักยภาพมหาศาลในการเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมการเผยแผ่ การศึกษา และการปฏิบัติธรรม การประยุกต์ใช้ AI เพื่อการเผยแผ่พระธรรม AI มีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่คำสอนทางพุทธศาสนาให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างเช่น "พระสงฆ์ AI" หรือ "พระโพธิสัตว์ AI" อย่าง Mindar ในญี่ปุ่น และ "เสียนเอ๋อร์" ในจีน การใช้ AI ในการแปลงพระไตรปิฎกเป็นดิจิทัลและการแปลพระคัมภีร์ด้วยเครื่องมืออย่าง DeepL ช่วยเพิ่มความเร็วและความแม่นยำ ทำให้เนื้อหาเข้าถึงได้ง่ายขึ้นทั่วโลก AI ช่วยให้การเผยแผ่ธรรม "สะดวก มีประสิทธิภาพ และน่าดึงดูดมากขึ้น รวมถึงขยายขอบเขตการเข้าถึงให้เกินกว่าข้อจำกัดทางพื้นที่และเวลาแบบดั้งเดิม" ซึ่งสอดคล้องกับหลัก กรุณา   👓 สื่อใหม่และประสบการณ์เสมือนจริง: การสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนรู้และปฏิบัติ การนำเทคโนโลยีสื่อใหม่ เช่น จอ AI, VR และ AR มาใช้ในการสร้างประสบการณ์พุทธศาสนาเสมือนจริง เช่น "Journey to the Land of Buddha" ของวัดฝอกวงซัน ช่วยดึงดูดกลุ่มคนรุ่นใหม่ เทคโนโลยี VR ช่วยอำนวยความสะดวกในการสร้าง "ความเห็นอกเห็นใจ" การพัฒนาแพลตฟอร์มการบูชาออนไลน์และพิธีกรรมทางไซเบอร์ เช่น "Light Up Lamps Online" และเกม "Fo Guang GO" ช่วยให้ผู้ศรัทธาสามารถปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาและเยี่ยมชมวัดเสมือนจริงได้จากทุกที่ การใช้ VR/AR เพื่อ "ประสบการณ์ที่ดื่มด่ำ" และ "Sati-AI" สำหรับการทำสมาธิเจริญสติ สามารถสร้างสภาพแวดล้อมจำลองที่เอื้อต่อการทำสมาธิและสติได้   🙆‍♂️ AI ในฐานะเครื่องมือเพื่อการปฏิบัติและพัฒนาตน แอปพลิเคชัน AI เช่น NORBU, Buddha Teachings, Buddha Wisdom App ทำหน้าที่เป็นเพื่อนร่วมทางที่มีคุณค่าในการศึกษาและปฏิบัติธรรม โดยให้การเข้าถึงคลังข้อความพุทธศาสนาขนาดใหญ่, บทเรียนส่วนบุคคล, คำแนะนำในการทำสมาธิ, และการติดตามความก้าวหน้าทางจิตวิญญาณ แชทบอทเหล่านี้มีความสามารถในการตอบคำถามและเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาในชีวิตจริง AI สามารถทำให้การเข้าถึงข้อมูลและคำแนะนำเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น ช่วยให้บุคคลสามารถศึกษาและปฏิบัติด้วยตนเองได้อย่างมีพลังมากขึ้น สิ่งนี้สอดคล้องกับหลักธรรมของพุทธศาสนาเรื่อง อัตตา หิ อัตตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน)   🧪 การวิจัยและเข้าถึงข้อมูลพระธรรม: การเสริมสร้างความเข้าใจเชิงลึก AI ช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่, ค้นหารูปแบบ, และสร้างแบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจพระคัมภีร์และหลักธรรมได้เร็วขึ้นและดีขึ้น สามารถใช้ AI ในการค้นหาอ้างอิง, เปรียบเทียบข้อความข้ามภาษา, และให้บริบท ด้วยการทำให้งานวิจัยเป็นไปโดยอัตโนมัติ AI ช่วยให้นักวิชาการและผู้ปฏิบัติสามารถใช้เวลามากขึ้นในการทำโยนิโสมนสิการ   ☸️ หลักจริยธรรมพุทธกับการพัฒนา AI ข้อกังวลทางจริยธรรมที่กว้างที่สุดคือ AI ควรสอดคล้องกับหลักอหิงสา (ไม่เบียดเบียน) ของพุทธศาสนา นักวิชาการ Somparn Promta และ Kenneth Einar Himma แย้งว่าการพัฒนา AI สามารถถือเป็นสิ่งที่ดีในเชิงเครื่องมือเท่านั้น พวกเขาเสนอว่าเป้าหมายที่สำคัญกว่าคือการก้าวข้ามความปรารถนาและสัญชาตญาณที่ขับเคลื่อนด้วยการเอาชีวิตรอด การกล่าวถึง "อหิงสา" และ "การลดความทุกข์" เสนอหลักการเหล่านี้เป็นพารามิเตอร์การออกแบบภายในสำหรับ AI   นักคิด Thomas Doctor และคณะ เสนอให้นำ "ปณิธานพระโพธิสัตว์" ซึ่งเป็นการให้คำมั่นที่จะบรรเทาความทุกข์ของสรรพสัตว์ มาเป็นหลักการชี้นำในการออกแบบระบบ AI แนวคิด "ปัญญาแห่งการดูแล" (intelligence as care) ได้รับแรงบันดาลใจจากปณิธานพระโพธิสัตว์ โดยวางตำแหน่ง AI ให้เป็นเครื่องมือในการแสดงความห่วงใยอย่างไม่มีที่สิ้นสุด   พุทธศาสนาเน้นย้ำว่าสรรพสิ่งล้วน "เกิดขึ้นพร้อมอาศัยกัน" (ปฏิจจสมุปบาท) และ "ไม่มีตัวตน" (อนัตตา) ซึ่งนำไปสู่การยืนยันถึง "ความสำคัญอันดับแรกของความสัมพันธ์" แนวคิด "กรรม" อธิบายถึงการทำงานร่วมกันของเหตุและผลหลายทิศทาง การนำสิ่งนี้มาประยุกต์ใช้กับ AI หมายถึงการตระหนักว่าระบบ AI เป็น "ศูนย์รวมของการเปลี่ยนแปลงเชิงสัมพันธ์ภายในเครือข่ายของการกระทำที่มีนัยสำคัญทางศีลธรรม" การ "วิวัฒน์ร่วม" ของมนุษย์และ AI บ่งชี้ว่าเส้นทางการพัฒนาของ AI นั้นเชื่อมโยงอย่างแยกไม่ออกกับของมนุษยชาติ ดังนั้น "ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการจัดเรียงคุณค่า" จึงไม่ใช่แค่ปัญหาทางเทคนิค แต่เป็นภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกเชิงกรรม ‼️ มิติที่ AI ขัดแย้งกับพุทธธรรม: ความท้าทายเชิงปรัชญาและจริยธรรม แม้ AI จะมีประโยชน์มหาศาล แต่ก็มีประเด็นความขัดแย้งเชิงปรัชญาและจริยธรรมที่สำคัญกับพุทธธรรม 👿 ปัญหาเรื่องจิตสำนึกและอัตตา คำถามสำคัญคือระบบ AI สามารถถือเป็นสิ่งมีชีวิต (sentient being) ตามคำจำกัดความของพุทธศาสนาได้หรือไม่ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเด็นเรื่องจิตสำนึก (consciousness) และการเกิดใหม่ (rebirth) "คุณภาพของควาเลีย" (qualia quality) หรือความสามารถในการรับรู้และรู้สึกนั้นยังระบุได้ยากใน AI การทดลองทางความคิด "ห้องจีน" แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการพิจารณาว่าปัญญาที่ไม่ใช่ชีวภาพสามารถมีจิตสำนึกได้หรือไม่ หาก AI ไม่สามารถประสบกับความทุกข์หรือบ่มเพาะปัญญาได้ ก็ไม่สามารถเดินตามหนทางสู่การตรัสรู้ได้อย่างแท้จริง   🛣️ เจตจำนงเสรีและกฎแห่งกรรม ความตั้งใจ (volition) ใน AI ซึ่งมักแสดงออกในรูปแบบของคำสั่ง "ถ้า...แล้ว..." นั้น แทบจะไม่มีลักษณะของเจตจำนงเสรีหรือแม้แต่ทางเลือกที่จำกัด ตามหลักคำสอนของพุทธศาสนา ทางเลือกที่จำกัดเป็นสิ่งจำเป็นขั้นต่ำเพื่อหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่กำหนดไว้ล่วงหน้า (deterministic behavior) ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงปฏิเสธ หาก AI ขาดทางเลือกที่แท้จริง ก็ไม่สามารถสร้างกรรมได้ในลักษณะเดียวกับสิ่งมีชีวิต   🍷 ความยึดมั่นถือมั่นและมายา แนวคิดของการรวมร่างกับ AI เพื่อประโยชน์ที่รับรู้ได้ เช่น การมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น มีความน่าดึงดูดใจ อย่างไรก็ตาม มีข้อโต้แย้งว่าการรวมร่างดังกล่าวอาจเป็น "กับดัก" หรือ "นรก" เนื่องจากความยึดมั่นถือมั่นและการขาดความสงบ กิเลสของมนุษย์ (ความโลภ ความโกรธ ความหลง) และกลไกตลาดก็ยังคงสามารถนำไปสู่ความทุกข์ได้แม้ในสภาวะ AI ขั้นสูง การแสวงหา "การอัปเกรด" ที่ขับเคลื่อนด้วยตัณหา สามารถทำให้วัฏจักรแห่งความทุกข์ดำเนินต่อไปได้   🤥 ความเสี่ยงด้านจริยธรรมและการบิดเบือนพระธรรม มีความเสี่ยงที่ AI จะสร้างข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิดและ "ความเหลวไหลที่สอดคล้องกัน" ดังที่เห็นได้จากกรณีของ Suzuki Roshi Bot AI ขาด "บริบทระดับที่สอง" และความสามารถในการยืนยันข้อเท็จจริง ทำให้มันเป็นเพียง "นกแก้วที่ฉลาดมาก" ความสามารถของ AI ในการสร้าง "ความเหลวไหลที่สอดคล้องกัน" ก่อให้เกิดความท้าทายต่อสัมมาทิฏฐิและสัมมาวาจา   นอกจากนี้ ยังมีศักยภาพที่ "Strong AI" จะก่อให้เกิดวิกฤตทางจริยธรรมและนำไปสู่ "ลัทธิวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี" "เทคโนโลยี-ธรรมชาติ" (techno-naturalism) ลดทอนปัญญามนุษย์ให้เหลือเพียงกระแสข้อมูล ซึ่งขัดแย้งกับพุทธศาสนาแบบมนุษยนิยมที่เน้นความเป็นมนุษย์และความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายและจิต สิ่งนี้สร้างความขัดแย้งกับประเพณีการปฏิบัติที่เน้น "ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกายและจิต"   สุดท้ายนี้ มีอันตรายที่การนำ AI มาใช้ในการปฏิบัติพุทธศาสนาอาจเปลี่ยนจุดเน้นจากการบ่มเพาะทางจิตวิญญาณที่แท้จริงไปสู่ผลประโยชน์นิยมหรือการมีส่วนร่วมที่ผิวเผิน จากข้อพิจารณาทั้งหมดนี้ การเดินทางบน "ทางสายกลาง" จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดในการเผชิญหน้ากับยุค AI สำหรับพุทธศาสนา การดำเนินการนี้ต้องอาศัย:   1️⃣ การพัฒนา AI ที่มีรากฐานทางจริยธรรม: AI ควรถูกออกแบบและพัฒนาโดยยึดมั่นในหลักการอหิงสา และการลดความทุกข์ ควรนำ "ปณิธานพระโพธิสัตว์" และแนวคิด "ปัญญาแห่งการดูแล" มาเป็นพิมพ์เขียว   2️⃣ การตระหนักถึง "ความเป็นเครื่องมือ" ของ AI: พุทธศาสนาควรมอง AI เป็นเพียง "แพ" หรือ "เครื่องมือ" ที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางสู่การหลุดพ้น ไม่ใช่จุดหมายปลายทางในตัวเอง   3️⃣ การบ่มเพาะปัญญามนุษย์และสติ: แม้ AI จะมีความสามารถในการประมวลผลข้อมูลมหาศาล แต่ไม่สามารถทดแทนปัญญาที่แท้จริง จิตสำนึก หรือเจตจำนงเสรีของมนุษย์ได้ การปฏิบัติธรรม การเจริญสติ และการใช้โยนิโสมนสิการยังคงเป็นสิ่งจำเป็น   4️⃣ การส่งเสริม "ค่านิยมร่วมที่แข็งแกร่ง": การแก้ไข "ภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกของการจัดเรียงคุณค่า" ของ AI จำเป็นต้องมีการบ่มเพาะค่านิยมร่วมที่แข็งแกร่งในหมู่มนุษยชาติ ซึ่งมีรากฐานมาจากความเมตตาและปัญญา   #ลุงเขียนหลานอ่าน
    0 Comments 0 Shares 448 Views 0 Reviews
  • "ภูมิธรรม" ลงพื้นที่มอบนโยบายกระทรวงมหาดไทย ปูดเตรียมล้างบางสายพรรคภูมิใจไทย ทั้งอธิบดี ปลัด ผู้ว่าฯ เสี่ยงถูกย้ายอื้อ ยันข้อพิพาทไทย-กัมพูชา เป็นแค่เกมการเมือง ขอทุกจังหวัดเร่งรักษาความสงบ

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000059403

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    "ภูมิธรรม" ลงพื้นที่มอบนโยบายกระทรวงมหาดไทย ปูดเตรียมล้างบางสายพรรคภูมิใจไทย ทั้งอธิบดี ปลัด ผู้ว่าฯ เสี่ยงถูกย้ายอื้อ ยันข้อพิพาทไทย-กัมพูชา เป็นแค่เกมการเมือง ขอทุกจังหวัดเร่งรักษาความสงบ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000059403 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 457 Views 0 Reviews
  • การล้างแค้นที่ดีที่สุด…คือการทำให้ความเกลียดจางหายจากใจ

    • เป็นไปไม่ได้
    ที่จะให้อภัยศัตรู
    ขณะใจยังถือ “ความเกลียด” ไว้เป็นมิตร

    แต่เป็นไปได้
    ที่จะให้อภัยมิตร
    ขณะใจถือ “ความเกลียด” ไว้เป็นศัตรู
    เพียงแต่ต้องรู้เท่าทัน ว่าความเกลียดนั้น…ไม่ใช่เรา

    ที่สุดของการล้างแค้น
    ไม่ใช่ทำให้เขาตาย
    แต่คือ การชนะ “ตัวตนที่มืด” ในใจตนเอง
    ทั้งก่อนและหลังการจองเวร
    สิ่งที่ตกค้างอยู่ในใจเรามากที่สุด…คือ “ความเกลียด”

    และเมื่อความเกลียดตั้งอยู่ในใจ
    ไม่ว่าศัตรูภายนอกจะหายไปกี่คน
    “ศัตรูภายใน” จะยังคอยตามรังควานคุณไม่เลิก

    ความแค้น เป็นเหมือนหนี้อารมณ์ที่สะสมดอกเบี้ยทุกคืนวัน
    ไถ่คืนด้วยการโกรธบ้าง สาปแช่งบ้าง ด่าลับหลังบ้าง
    สุดท้าย…มันไถ่ไม่หมดหรอก
    เพราะยิ่งจ่าย ยิ่งติดลึกเข้าไปอีก

    ทางออกคือ — “ให้อภัย”
    เพราะการให้อภัย
    ไม่ต้องเสียอะไรเพิ่มเลย
    แต่การจองเวร ต้องเสียใจ เสียเวลา เสียความสงบ
    เสียทุกอย่างที่มี…แบบไม่คุ้ม

    พระพุทธเจ้าสอนว่า
    กรรมทำหน้าที่ของมันเองอยู่แล้ว
    คนทำชั่วย่อมเดินไปตามเส้นทางของเขาเอง
    ไม่มีใครหนีพ้นผลกรรม

    แต่ถ้าเรา…ผูกใจเจ็บ
    เราก็เท่ากับกระโจนไปร่วมรับบาปกับเขาด้วยโดยไม่รู้ตัว

    การผูกใจเจ็บ ไม่ใช่เรื่องในใจคนเดียว
    แต่มันเป็นการสร้าง สายใยเวรกรรมระหว่างดวงจิตสองดวง
    แม้ไม่รู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้า
    เมื่อผูกแล้ว…มันจะหาทางกลับมาเสมอ
    ในรูปของการกลับมาทวงหนี้กรรมระหว่างกัน
    วนไปไม่รู้จบ

    ถ้าคุณมองว่า
    คนที่ทำให้คุณเจ็บช้ำน้ำใจในวันนี้
    คือเจ้าหนี้กรรม…ที่กำลังมาทวง
    คุณจะยอมจ่ายอย่างเต็มใจ
    และจะรู้สึกเบาหัวอกขึ้นทันที
    เพราะ "หนี้กรรม" กำลังถูกชำระเรียบร้อย

    อาจจะต้องผ่อนหลายงวด
    หรืออาจรวบยอดจบในครั้งเดียว
    แต่เมื่อคุณไม่จองเวร…หนี้นี้ก็จะไม่ย้อนกลับมาอีก

    สรุปคือ
    เมื่อถูกทำให้แค้น…แล้ว “ไม่คิดแก้แค้น”
    นั่นแหละ…คือ การใช้หนี้อย่างแท้จริง

    #ธรรมะล้างแค้น
    #พุทธะในวันที่โกรธ
    #อโหสิกรรม
    #ชนะศัตรูในใจ
    #กรรมทำหน้าที่ของมันเอง
    #สายใยเวรกรรม
    #ธรรมะเชิงบำบัด
    🖤 การล้างแค้นที่ดีที่สุด…คือการทำให้ความเกลียดจางหายจากใจ • เป็นไปไม่ได้ ที่จะให้อภัยศัตรู ขณะใจยังถือ “ความเกลียด” ไว้เป็นมิตร แต่เป็นไปได้ ที่จะให้อภัยมิตร ขณะใจถือ “ความเกลียด” ไว้เป็นศัตรู เพียงแต่ต้องรู้เท่าทัน ว่าความเกลียดนั้น…ไม่ใช่เรา 🔥 ที่สุดของการล้างแค้น ไม่ใช่ทำให้เขาตาย แต่คือ การชนะ “ตัวตนที่มืด” ในใจตนเอง ทั้งก่อนและหลังการจองเวร สิ่งที่ตกค้างอยู่ในใจเรามากที่สุด…คือ “ความเกลียด” และเมื่อความเกลียดตั้งอยู่ในใจ ไม่ว่าศัตรูภายนอกจะหายไปกี่คน “ศัตรูภายใน” จะยังคอยตามรังควานคุณไม่เลิก 😡 ความแค้น เป็นเหมือนหนี้อารมณ์ที่สะสมดอกเบี้ยทุกคืนวัน ไถ่คืนด้วยการโกรธบ้าง สาปแช่งบ้าง ด่าลับหลังบ้าง สุดท้าย…มันไถ่ไม่หมดหรอก เพราะยิ่งจ่าย ยิ่งติดลึกเข้าไปอีก ✨ ทางออกคือ — “ให้อภัย” เพราะการให้อภัย ไม่ต้องเสียอะไรเพิ่มเลย แต่การจองเวร ต้องเสียใจ เสียเวลา เสียความสงบ เสียทุกอย่างที่มี…แบบไม่คุ้ม 📿 พระพุทธเจ้าสอนว่า กรรมทำหน้าที่ของมันเองอยู่แล้ว คนทำชั่วย่อมเดินไปตามเส้นทางของเขาเอง ไม่มีใครหนีพ้นผลกรรม แต่ถ้าเรา…ผูกใจเจ็บ เราก็เท่ากับกระโจนไปร่วมรับบาปกับเขาด้วยโดยไม่รู้ตัว 🔗 การผูกใจเจ็บ ไม่ใช่เรื่องในใจคนเดียว แต่มันเป็นการสร้าง สายใยเวรกรรมระหว่างดวงจิตสองดวง แม้ไม่รู้จักกัน ไม่เคยเห็นหน้า เมื่อผูกแล้ว…มันจะหาทางกลับมาเสมอ ในรูปของการกลับมาทวงหนี้กรรมระหว่างกัน วนไปไม่รู้จบ 💡 ถ้าคุณมองว่า คนที่ทำให้คุณเจ็บช้ำน้ำใจในวันนี้ คือเจ้าหนี้กรรม…ที่กำลังมาทวง คุณจะยอมจ่ายอย่างเต็มใจ และจะรู้สึกเบาหัวอกขึ้นทันที เพราะ "หนี้กรรม" กำลังถูกชำระเรียบร้อย อาจจะต้องผ่อนหลายงวด หรืออาจรวบยอดจบในครั้งเดียว แต่เมื่อคุณไม่จองเวร…หนี้นี้ก็จะไม่ย้อนกลับมาอีก ✅ สรุปคือ เมื่อถูกทำให้แค้น…แล้ว “ไม่คิดแก้แค้น” นั่นแหละ…คือ การใช้หนี้อย่างแท้จริง #ธรรมะล้างแค้น #พุทธะในวันที่โกรธ #อโหสิกรรม #ชนะศัตรูในใจ #กรรมทำหน้าที่ของมันเอง #สายใยเวรกรรม #ธรรมะเชิงบำบัด
    0 Comments 0 Shares 264 Views 0 Reviews
  • ผบ.ตร. ย้ำตำรวจพร้อมดูแลความสงบเรียบร้อยการชุมนุม 28 มิ.ย. ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เน้นการข่าว สกัดมือที่สาม-สร้างความเข้าใจประชาชน ชี้ ยังไม่มีสัญญาณระดมคนจำนวนมาก แต่เตรียมแผนรับมือไว้ครบถ้วน ย้ำสิทธิการชุมนุมทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในกรอบกฎหมาย เตรียมประเมินสถานการณ์อีกครั้ง 26 มิ.ย.นี้

    อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000058972

    #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    ผบ.ตร. ย้ำตำรวจพร้อมดูแลความสงบเรียบร้อยการชุมนุม 28 มิ.ย. ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ เน้นการข่าว สกัดมือที่สาม-สร้างความเข้าใจประชาชน ชี้ ยังไม่มีสัญญาณระดมคนจำนวนมาก แต่เตรียมแผนรับมือไว้ครบถ้วน ย้ำสิทธิการชุมนุมทำได้ตามรัฐธรรมนูญ แต่ต้องอยู่ในกรอบกฎหมาย เตรียมประเมินสถานการณ์อีกครั้ง 26 มิ.ย.นี้ อ่านต่อ..https://news1live.com/detail/9680000058972 #News1live #News1 #SondhiX #Sondhitalk #คุยทุกเรื่องกับสนธิ #สนธิเล่าเรื่อง #Thaitimes
    Haha
    1
    0 Comments 0 Shares 395 Views 0 Reviews
  • เจอคนขี้เสี้ยม…จะวางใจอย่างไรไม่ให้ถูกเผาไปด้วย?

    คำพูดที่เสี้ยมให้คนแตกแยกกัน
    ฟังดูเหมือนลม
    แต่เป็นลมที่พัดไฟในใจให้โหมแรง
    ให้เขาตีกัน
    ให้เราว้าวุ่น
    ให้ทั้งวงแตก!

    คนที่ชอบยุแยง ไม่ได้มีความสุขจริงหรอก
    ต่อให้สะใจที่ทำให้คนแตกกันได้สำเร็จ
    แต่ในใจจริง จะเต็มไปด้วย

    ความร้อนรุ่ม

    ความกระวนกระวาย

    ความฟุ้งซ่าน

    ความคิดพุ่งพล่านไม่หยุด
    ไม่มีความสงบ ไม่มีความเย็นอยู่เลย

    แต่จะทำอย่างไร ถ้าเราไม่อยากถูกลากเข้าไปในไฟนั้น?

    พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจน
    "เมื่อเขาร้ายมา เราให้ดีตอบเป็นขั้วตรงข้าม"

    เขาโกหก → เราพูดความจริง

    เขานินทา → เราสรรเสริญในสิ่งที่ควรสรรเสริญ

    เขายุแยงให้แตก → เราเป็นตัวอย่างของความสมานฉันท์

    ไม่ต้องไปต่อล้อต่อเถียง
    แต่ใช้พลังแห่ง “ของจริง”
    ให้เขาเห็นว่า
    ยังมีมนุษย์ที่คิดดี พูดดี และปรารถนาดี…โดยไม่แฝงมีดในรอยยิ้ม

    ความมืดแพ้แสงเสมอ
    แม้ไฟฉายเล็กๆ ยังชนะห้องมืดได้
    แม้แสงดาวที่อยู่ไกลเป็นล้านปีแสง
    ยังส่องมาถึงใจเราได้…แม้ต้องใช้เวลานาน

    ดังนั้น
    แม้เราจะเปลี่ยนเขาไม่ได้ทันที
    แต่ขอเพียงเรา “เป็นของจริง”
    “ดีจริง” และ “นานพอ”
    กุศลย่อมมีกำลังมากกว่าอกุศลเสมอ

    ที่สำคัญที่สุด…
    ผลลัพธ์ไม่ได้เกิดกับเขาคนเดียว
    แต่เกิดกับ “ใจของเรา” ทันที
    ใจเราจะไม่ร้อน
    ไม่ขุ่น
    ไม่ตกเป็นเหยื่อของคำพูดลวงโลก

    เราจะได้ "ให้อภัยเป็นทาน"
    และ “ปลดปล่อยใจ” พ้นจากพิษภัยได้ก่อนใคร

    บางครั้ง…คนที่ยุให้เราตีกัน อาจไม่ใช่ศัตรูที่แท้จริง
    แต่เป็นบททดสอบว่า ใจเราเย็นได้แค่ไหน ต่างหาก

    #ธรรมะเข้าใจง่ายแต่ลึก
    #ความดีคือของจริง
    #เจอคนเสี้ยมอย่าตอบโต้ด้วยไฟ
    #กุศลชนะอกุศล
    #จิตเย็นคือชัยชนะที่แท้จริง
    #สายกลางไม่เสแสร้ง
    🌪️ เจอคนขี้เสี้ยม…จะวางใจอย่างไรไม่ให้ถูกเผาไปด้วย? คำพูดที่เสี้ยมให้คนแตกแยกกัน ฟังดูเหมือนลม แต่เป็นลมที่พัดไฟในใจให้โหมแรง ให้เขาตีกัน ให้เราว้าวุ่น ให้ทั้งวงแตก! 😈 คนที่ชอบยุแยง ไม่ได้มีความสุขจริงหรอก ต่อให้สะใจที่ทำให้คนแตกกันได้สำเร็จ แต่ในใจจริง จะเต็มไปด้วย ความร้อนรุ่ม ความกระวนกระวาย ความฟุ้งซ่าน ความคิดพุ่งพล่านไม่หยุด ไม่มีความสงบ ไม่มีความเย็นอยู่เลย 🪶 แต่จะทำอย่างไร ถ้าเราไม่อยากถูกลากเข้าไปในไฟนั้น? พระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดเจน 💡 "เมื่อเขาร้ายมา เราให้ดีตอบเป็นขั้วตรงข้าม" เขาโกหก → เราพูดความจริง เขานินทา → เราสรรเสริญในสิ่งที่ควรสรรเสริญ เขายุแยงให้แตก → เราเป็นตัวอย่างของความสมานฉันท์ ไม่ต้องไปต่อล้อต่อเถียง แต่ใช้พลังแห่ง “ของจริง” ให้เขาเห็นว่า ยังมีมนุษย์ที่คิดดี พูดดี และปรารถนาดี…โดยไม่แฝงมีดในรอยยิ้ม 🕯️ ความมืดแพ้แสงเสมอ แม้ไฟฉายเล็กๆ ยังชนะห้องมืดได้ แม้แสงดาวที่อยู่ไกลเป็นล้านปีแสง ยังส่องมาถึงใจเราได้…แม้ต้องใช้เวลานาน ดังนั้น แม้เราจะเปลี่ยนเขาไม่ได้ทันที แต่ขอเพียงเรา “เป็นของจริง” “ดีจริง” และ “นานพอ” กุศลย่อมมีกำลังมากกว่าอกุศลเสมอ ☀️ ที่สำคัญที่สุด… ผลลัพธ์ไม่ได้เกิดกับเขาคนเดียว แต่เกิดกับ “ใจของเรา” ทันที ใจเราจะไม่ร้อน ไม่ขุ่น ไม่ตกเป็นเหยื่อของคำพูดลวงโลก เราจะได้ "ให้อภัยเป็นทาน" และ “ปลดปล่อยใจ” พ้นจากพิษภัยได้ก่อนใคร บางครั้ง…คนที่ยุให้เราตีกัน อาจไม่ใช่ศัตรูที่แท้จริง แต่เป็นบททดสอบว่า ใจเราเย็นได้แค่ไหน ต่างหาก #ธรรมะเข้าใจง่ายแต่ลึก #ความดีคือของจริง #เจอคนเสี้ยมอย่าตอบโต้ด้วยไฟ #กุศลชนะอกุศล #จิตเย็นคือชัยชนะที่แท้จริง #สายกลางไม่เสแสร้ง
    0 Comments 0 Shares 261 Views 0 Reviews
More Results