• วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>)

    ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ
    ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว”
    หนิงอี้: “ของคุณหนู?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน”
    หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่”
    หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?”
    พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”...

    ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่”

    “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย

    ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย

    แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!)

    ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ)

    เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร
    เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.sohu.com/a/451219092_588218
    https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html

    #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    วันนี้เราคุยกันเรื่องวัฒนธรรมแต่งงานอีกแบบ ที่มาคือชื่อภาษาจีนของละครและนิยายจีนเรื่อง “จุ้ยซวี่” (赘婿 ชื่อละครภาษาไทยแปลตามชื่อภาษาอังกฤษว่า <สามีข้าคือฮีโร่>) ขอเริ่มเรื่องจากบทสนทนาจากในละครของเจ้าบ่าวหนิงอี้กับพ่อบ้านแห่งสกุลซู เพื่อให้เห็นภาพ ...หนิงอี้: “นี่คืออันใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “นี้คือเกี้ยวเจ้าสาว” หนิงอี้: “ของคุณหนู?” พ่อบ้านเกิ่ง: “ของท่าน” หนิงอี้: “เพราะเหตุใด?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เพราะท่านเป็นจุ้ยซวี่” หนิงอี้: “เป็นจุ้ยซวี่ก็ต้องนั่งเกี้ยวรึ?” พ่อบ้านเกิ่ง: “เป็นจุ้ยซวี่ต้องนั่งเกี้ยว”... ในละครเรื่องนี้ หนิงอี้ผู้เป็นเจ้าบ่าวต้องนั่งเกี้ยวถูกส่งตัวไปยังบ้านของฝ่ายหญิง (ตามรูปประกอบ) อีกทั้งระหว่างทางยังโดนคนชี้นิ้ววิพากย์วิจารณ์มากมายราวกับว่าเป็นเรื่องน่าดูแคลน เหตุเพราะเขาเป็น “จุ้ยซวี่” “จุ้ยซวี่” คือการเรียกเขยที่แต่งเข้าไปในสกุลของฝ่ายเจ้าสาว พำนักอยู่ในเรือนของฝ่ายหญิง และหากมีลูก ลูกก็จะใช้แซ่หรือนามสกุลตามฝ่ายหญิง ซึ่งเพื่อนเพจที่พอคุ้นเคยกับธรรมเนียมจีนจะรู้ว่าเป็นการกระทำที่ตรงกันข้ามกับธรรมเนียมปกติที่ผู้หญิงจะแต่งเข้าบ้านฝ่ายชาย เมื่อมีลูกก็จะใช้นามสกุลของฝ่ายชาย ทำไมถึงมีจุ้ยซวี่? การแต่งชายเข้าบ้านฝ่ายหญิงนั้น เกิดขึ้นเมื่อฝ่ายเจ้าสาวมาจากตระกูลคหบดีหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แต่ขาดบุตรชายที่จะสืบสกุล ดังนั้นฝ่ายเจ้าบ่าวจึงมักเป็นคนที่มีฐานะต่ำต้อย แล้วธรรมเนียมแต่งจุ้ยซวี่เข้าเรือนเกิดขึ้นในยุคสมัยใด? ในบันทึกทางประวัติศาสตร์ มีการกล่าวถึงจุ้ยซวี่มาตั้งแต่ยุคสมัยชุนชิว แต่ในวัฒนธรรมจีนนั้นการสืบสกุลเป็นหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของชายชาตรี ดังนั้นการละทิ้งสกุลของตนเพื่อไปสืบเชื้อสายให้สกุลอื่นจึงเป็นเรื่องน่ารังเกียจ ในสมัยนั้นจุ้ยซวี่จึงมีฐานะต่ำต้อยมาก มีการเปรียบเสมือนเป็นทาสในเรือน ในสมัยนั้นยังมีกฎห้ามจุ้ยซวี่แยกเรือนออกไปอยู่เอง ห้ามไม่ให้ถือครองที่ดิน และลูกหลานจะเข้ารับราชการได้นั้นต้องผ่านไปแล้วสามรุ่นด้วยกัน (โอ้โห!) ในยุคสมัยราชวงศ์ซ่ง จุ้ยซวี่ได้รับการปฏิบัติดีขึ้นและได้รับความนิยมมากขึ้นแม้จะไม่ได้มีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น ว่ากันว่า เป็นเพราะว่าบิดาของปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ซ่ง (องค์ซ่งไท่จู่) ก็เป็นจุ้ยซวี่ สังคมรับเรื่องนี้ได้มากขึ้นถึงขนาดที่ว่ามีชายบางคนที่ฐานะครอบครัวไม่เลว ยังขวนขวายแต่งเข้าสกุลของฝ่ายหญิงที่เรืองอำนาจเพื่อเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองให้แก่ตนเลยทีเดียว (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ กดไลค์กดแชร์กันหน่อยนะคะ) เครดิตรูปภาพจาก: https://www.sohu.com/a/450812871_100288750 และจากละคร เครดิตข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.sohu.com/a/451219092_588218 https://www.52shijing.com/kjxs/113551.html #สามีข้าคือฮีโร่ #ประเพณีจีนโบราณ #จุ้ยซวี่ #เกี้ยวเจ้าสาว #StoryfromStory
    WWW.SOHU.COM
    《赘婿》首播:剧情搞笑,宋轶获赞,郭麒麟槽点较为集中_宁毅
    而郭麒麟从脸上讲就有点不合适,大家可以看一下这个镜头他和张若昀的对比,年龄和气质的差异一下子就能看出来,而且郭麒麟看起来特别的黑。 大家其实对郭麒麟这个演员没有什么意见,甚至也承认郭麒麟在平常生活中…
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 188 มุมมอง 0 รีวิว
  • ถ้าจะพูดเรื่องประเพณีแต่งงานจีนโบราณ แน่นอนมีหลายเรื่องให้คุยกันได้ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ ที่แฟนละคร <ตำนานหยุนซี> อาจเคยผ่านหูผ่านตา ลองมาดูกันจากบทสนทนาที่ถอดคำพูดมาจากละครเรื่องนี้

    ความมีอยู่ว่า
    ... “ฉินอ๋องเล่า? ฉินอ๋องอยู่ที่ใด? ธรรมเนียมแต่โบราณมา ไม่มีสะใภ้ใหม่กลับมาเยี่ยมบ้านหลังแต่งงานแต่เพียงผู้เดียว เจ้ากลับมาเพียงลำพัง หากมิใช่โดนปลดจากตำแหน่งชายาอ๋องแล้ว ยังมีเหตุผลใด? โอ้ว... ข้ากล่าวผิดไป มีแต่งจึงมีปลด ท่านฉินอ๋องมิเคยแม้แต่จะเตะเกี้ยวเจ้าสาวของเจ้า คงมิอาจนับได้ว่าแต่งเจ้าเข้าจวนอ๋องไปแล้วกระมัง?” หานรั่วเสวี่ยกล่าว

    บทสนทนาจากในละครข้างต้น เห็นได้ว่าหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในประเพณีแต่งงานคือการ ‘เตะเกี้ยวเจ้าสาว’ ทำไมจึงมีธรรมเนียมนี้และมันมีความหมายอย่างใด?

    จริงแล้วการเตะคานเกี้ยวเจ้าสาวเป็นหนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายว่าด้วยเรื่องการรับตัวเจ้าสาวใน ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) ซึ่งเป็นพิธีการว่าด้วยงานแต่งงานที่สืบทอดมาจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1,100-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แต่ในบทความภาษาไทยเกี่ยวกับพิธีการนี้ไม่ค่อยมีกล่าวถึงการเตะคานเกี้ยว
    แต่พิธีการรับเจ้าสาวมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างตามธรรมเนียมท้องถิ่น ในเรื่องการเตะคานเกี้ยวนี้ บางที่เตะคานเกี้ยวเจ้าสาวหนึ่งครั้ง แต่ส่วนใหญ่เตะสามครั้ง

    พิธีการเต็มๆ เท่าที่ Storyฯ เรียบเรียงข้อมูลมาได้ก็คือ... เมื่อเกี้ยวเจ้าสาวมาถึงหน้าประตูใหญ่บ้านเจ้าบ่าว เจ้าบ่าวจะเตะคานประตูเกี้ยวเจ้าสาวหนึ่งครั้ง และเจ้าสาวก็จะเตะคานประตูตอบจากภายในหนึ่งครั้ง มีความหมายว่าชายมิกลัวภรรยาและสตรีมิอ่อนแอ (男不惧内,女不示弱) จากนั้นเจ้าสาวก็จะโยนกุญแจหีบสมบัติ (สินสมรสที่ฝ่ายเจ้าสาวนำติดตัวมาด้วย) ออกมา เจ้าบ่าวรับมาแล้วก็ต้องชูกุญแจขึ้น นัยว่าให้ฟ้าเป็นสักขีพยาน เป็นเคล็ดขอให้ได้ลูกชายหลายๆ คน

    พอได้ฤกษ์ก็จะมีการหามเกี้ยวเข้าไปที่หน้าโถงพิธีการ จากนั้นเจ้าบ่าวใช้พัดเคาะหลังคาเกี้ยวสามครั้งและเตะคานเกี้ยวสามครั้ง เป็นการแสดงอำนาจ เพื่อว่าต่อไปภรรยาจะได้เชื่อฟังผู้เป็นสามี จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีกราบไหว้ฟ้าดิน

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ)

    Credit รูปภาพจาก: https://www.jintjint.com/series/legend-of-yun-xi-%E8%8A%B8%E6%B1%90%E4%BC%A0-ep-1-48-end-eng-sub/
    Credit ข้อมูลจาก:
    https://www.xiaozhishi.net/zhishi/1042699.html
    https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%BF%87%E9%97%A8_(%E4%B8%AD%E5%BC%8F%E5%A9%9A%E7%A4%BC)

    (หมายเหตุ บทความภาษาไทยเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ อ่านได้ที่ http://www.ue-wedding.com/culture/)

    #ตำนานหยุนซี #ประเพณีแต่งงานจีน #ประเพณีจีน #เกี้ยวเจ้าสาว
    ถ้าจะพูดเรื่องประเพณีแต่งงานจีนโบราณ แน่นอนมีหลายเรื่องให้คุยกันได้ วันนี้มีเกร็ดเล็กๆ ที่แฟนละคร <ตำนานหยุนซี> อาจเคยผ่านหูผ่านตา ลองมาดูกันจากบทสนทนาที่ถอดคำพูดมาจากละครเรื่องนี้ ความมีอยู่ว่า ... “ฉินอ๋องเล่า? ฉินอ๋องอยู่ที่ใด? ธรรมเนียมแต่โบราณมา ไม่มีสะใภ้ใหม่กลับมาเยี่ยมบ้านหลังแต่งงานแต่เพียงผู้เดียว เจ้ากลับมาเพียงลำพัง หากมิใช่โดนปลดจากตำแหน่งชายาอ๋องแล้ว ยังมีเหตุผลใด? โอ้ว... ข้ากล่าวผิดไป มีแต่งจึงมีปลด ท่านฉินอ๋องมิเคยแม้แต่จะเตะเกี้ยวเจ้าสาวของเจ้า คงมิอาจนับได้ว่าแต่งเจ้าเข้าจวนอ๋องไปแล้วกระมัง?” หานรั่วเสวี่ยกล่าว บทสนทนาจากในละครข้างต้น เห็นได้ว่าหนึ่งในขั้นตอนสำคัญในประเพณีแต่งงานคือการ ‘เตะเกี้ยวเจ้าสาว’ ทำไมจึงมีธรรมเนียมนี้และมันมีความหมายอย่างใด? จริงแล้วการเตะคานเกี้ยวเจ้าสาวเป็นหนึ่งในขั้นตอนสุดท้ายว่าด้วยเรื่องการรับตัวเจ้าสาวใน ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ (三书六礼) ซึ่งเป็นพิธีการว่าด้วยงานแต่งงานที่สืบทอดมาจากยุคสมัยราชวงศ์โจว (1,100-771 ปีก่อนคริสต์ศักราช) แต่ในบทความภาษาไทยเกี่ยวกับพิธีการนี้ไม่ค่อยมีกล่าวถึงการเตะคานเกี้ยว แต่พิธีการรับเจ้าสาวมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างตามธรรมเนียมท้องถิ่น ในเรื่องการเตะคานเกี้ยวนี้ บางที่เตะคานเกี้ยวเจ้าสาวหนึ่งครั้ง แต่ส่วนใหญ่เตะสามครั้ง พิธีการเต็มๆ เท่าที่ Storyฯ เรียบเรียงข้อมูลมาได้ก็คือ... เมื่อเกี้ยวเจ้าสาวมาถึงหน้าประตูใหญ่บ้านเจ้าบ่าว เจ้าบ่าวจะเตะคานประตูเกี้ยวเจ้าสาวหนึ่งครั้ง และเจ้าสาวก็จะเตะคานประตูตอบจากภายในหนึ่งครั้ง มีความหมายว่าชายมิกลัวภรรยาและสตรีมิอ่อนแอ (男不惧内,女不示弱) จากนั้นเจ้าสาวก็จะโยนกุญแจหีบสมบัติ (สินสมรสที่ฝ่ายเจ้าสาวนำติดตัวมาด้วย) ออกมา เจ้าบ่าวรับมาแล้วก็ต้องชูกุญแจขึ้น นัยว่าให้ฟ้าเป็นสักขีพยาน เป็นเคล็ดขอให้ได้ลูกชายหลายๆ คน พอได้ฤกษ์ก็จะมีการหามเกี้ยวเข้าไปที่หน้าโถงพิธีการ จากนั้นเจ้าบ่าวใช้พัดเคาะหลังคาเกี้ยวสามครั้งและเตะคานเกี้ยวสามครั้ง เป็นการแสดงอำนาจ เพื่อว่าต่อไปภรรยาจะได้เชื่อฟังผู้เป็นสามี จากนั้นจึงเข้าสู่พิธีกราบไหว้ฟ้าดิน (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ ช่วยกดไลค์กดแชร์กันด้วยนะคะ) Credit รูปภาพจาก: https://www.jintjint.com/series/legend-of-yun-xi-%E8%8A%B8%E6%B1%90%E4%BC%A0-ep-1-48-end-eng-sub/ Credit ข้อมูลจาก: https://www.xiaozhishi.net/zhishi/1042699.html https://zh.wikipedia.org/wiki/%E8%BF%87%E9%97%A8_(%E4%B8%AD%E5%BC%8F%E5%A9%9A%E7%A4%BC) (หมายเหตุ บทความภาษาไทยเกี่ยวกับ ‘สามหนังสือหกพิธีการ’ อ่านได้ที่ http://www.ue-wedding.com/culture/) #ตำนานหยุนซี #ประเพณีแต่งงานจีน #ประเพณีจีน #เกี้ยวเจ้าสาว
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 250 มุมมอง 0 รีวิว