• นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง

    รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ

    พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน

    จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล

    ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574

    ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568

    นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas)

    อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น

    #Newskit

    -----
    ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    นับหนึ่งถึงอนาคต รถไฟฟ้าสายแรกปีนัง รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะมีรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) สายแรกเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ หลังจากเมื่อเดือน มี.ค.2567 รัฐบาลกลางมาเลเซีย รับช่วงต่อจากรัฐบาลท้องถิ่นรัฐปีนัง พัฒนาโครงการรถไฟรางเบาสายมูเทียร่า ไลน์ (Mutiara Line) โดยแต่งตั้งบริษัท เอ็มอาร์ที คอร์ป (MRT Corp) ที่มีกระทรวงการคลังถือหุ้นทั้งหมด เป็นผู้พัฒนาโครงการ พิธีวางศิลาฤกษ์ เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ม.ค. 2568 บริเวณสถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) โดยมีนายอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีมาเลเซียเป็นประธาน จากการลงพื้นที่ของ Newskit พบว่า สถานที่ก่อสร้างสถานีบันดาร์ ศรี ปีนัง (Bandar Sri Pinang) ติดกับทางด่วนลิม ชอง ยู (Lim Chong Eu) ใกล้กับมัสยิดอัล บัคฮารี่ (Al Bukhary) และทางจักรยานเลียบชายทะเล บริเวณฝั่งตะวันออกของเกาะปีนัง เมื่อข้ามแม่น้ำปีนังไปแล้วจะเป็นสถานีแมคคัลลัม ก่อนแยกเป็นสองสาย แยกซ้ายไปสถานีคอมตาร์ แยกขวาข้ามทะเลไปสถานีปีนังเซ็นทรัล ก่อนที่เมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2568 จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างช่วงคอมตาร์-เกาะซิลิคอน (Komtar-Silicon Island) ระยะทาง 24 กิโลเมตร รวม 19 สถานี มูลค่าประมาณ 8,310 ล้านริงกิต (64,000 ล้านบาท) โดยมีกลุ่มกิจการร่วมค้าเอสอาร์เอส ที่บริษัทก่อสร้างกามูดา (Gamuda) ถือหุ้น 60% เป็นผู้รับเหมาในการก่อสร้าง โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 6 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2574 ส่วนช่วงคอมตาร์-ปีนังเซ็นทรัล (Komtar-Penang Sentral) จากสถานีแมคคัลลัม (Macallum) ในเมืองจอร์จทาวน์ ผ่านช่องแคบปีนัง ระยะทาง 5.8 กิโลเมตร คาดว่าจะเปิดประมูลในเดือน ก.ค. 2568 และประกาศผลการประมูลในต้นปี 2569 ส่วนการประมูลระบบรถไฟฟ้าและการบำรุงรักษา กำลังดำเนินการ โดยมีกำหนดส่งข้อเสนอขั้นสุดท้ายในวันที่ 14 เม.ย. 2568 นายแอนโทนี ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการวางแผนอย่างพิถีพิถัน เพื่อให้สามารถเข้าถึงศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมที่สำคัญได้อย่างราบรื่น สนับสนุนโครงการ Penang Silicon Design @5km+ การยกระดับท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง และเขตอุตสาหกรรมเสรีบายัน เลอปาส (Bayan Lepas) อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ยังมีปัญหาเรื่องที่ดินก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง บริเวณสถานีสุไหงนิบง (Sungai Nibong) ซึ่งเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม มีการจัดงานเทศกาลประจำปี เพสต้า ปูเลา ปีนัง (Pesta Pulau Pinang) มาอย่างยาวนานตั้งแต่ปี 2509 แต่ทาง MRT Corp ยืนยันว่าจะใช้พื้นที่ไม่มาก ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรองและพื้นที่พัฒนารอบสถานี (TOD) เท่านั้น #Newskit ----- ลุ้นรับฟรี บัตร Touch 'n Go มาเลเซีย สำหรับผู้อ่าน Newskit บน Thaitimes คลิก >>> https://forms.gle/sCSp9i1Ub9KDjYZg9
    Like
    4
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 310 มุมมอง 0 รีวิว
  • ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee

    หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568

    เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี

    ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร

    ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้

    แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง

    สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568

    #Newskit
    ต่อนยอนสู่ปีนัง ขบวนรถไฟ My Sawasdee หลังการรถไฟมาลายา (KTM Berhad) ประเทศมาเลเซีย ประสบความสำเร็จในการเปิดให้บริการขบวนรถพิเศษ My Sawasdee เส้นทางกัวลาลัมเปอร์-หาดใหญ่ ในช่วงวันหยุดยาวของมาเลเซีย นับตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2565 ล่าสุดเมื่อช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 ที่ผ่านมา เปิดตัวรถไฟขบวนพิเศษ My Sawasdee Penang Edition เส้นทางจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ (Butterworth) รัฐปีนัง ไปยังสถานีชุมทางหาดใหญ่ จ.สงขลา ให้บริการระหว่างวันที่ 29 ธ.ค.2567 ถึง 5 ม.ค.2568 เฟซบุ๊ก "แซม ญาณบ้าน" นักท่องเที่ยวชาวไทยที่ใช้บริการ เปิดเผยว่า ขบวนรถดังกล่าวจำหน่ายตั๋วเที่ยวเดียวในราคา 45 ริงกิต (ประมาณ 346 บาท) เน้นสำหรับชาวมาเลเซียที่จะไปเที่ยวหาดใหญ่ เพราะออกจากสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 7 โมงเช้า ถึงปลายทางหาดใหญ่ประมาณเที่ยงวัน ส่วนขากลับออกจากหาดใหญ่เวลาประมาณ 15.00 น. ตามเวลาประเทศไทย จอดที่สถานีปาดังเบซาร์ เพื่อลงตราประทับจากตรวจคนเข้าเมือง (ตม.) ก่อนจอดส่งผู้โดยสารตามรายทาง รวม 5 สถานี ก่อนเข้าสถานีปาดังเบซาร์ เจ้าหน้าที่จะกำชับเรื่องการกรอกบัตรขาเข้าดิจิทัลของมาเลเซีย (MDAC) สำหรับชาวต่างชาติ และต้องนำสิ่งของทุกอย่างลงจากรถไฟ รวมทั้งน้ำดื่มและอาหาร เข้า ตม. เพื่อผ่านพิธีการตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากร ตู้โดยสารที่ใช้เป็นตู้โดยสารปรับอากาศ คล้ายรถนั่งปรับอากาศชั้น 2 ในไทย เมื่อถึงสถานีปาดังเบซาร์ ให้นั่งรอในขบวนรถระหว่าง ตม. ไทยและมาเลเซียลงตราประทับนักท่องเที่ยวขาออกจากมาเลเซีย ไปขบวน 950 และ 46 ให้หมดก่อน ประมาณ 30 นาทีจึงให้ผู้โดยสารออกมาลงตราประทับ เสร็จเรียบร้อยแล้ว และไม่มีผู้โดยสารขึ้นระหว่างทางก่อนถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ ก็ปล่อยขบวนรถก่อนเวลาเกือบ 20 นาที แต่ปรากฎว่าต้องรอหลีกให้รถไฟ KTM Komuter มาถึงทีหลังให้แซงไปก่อน ถึงจะออกรถได้ แม้จะถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธ 21.36 น. ตามเวลามาเลเซีย แต่ขึ้นเรือเฟอร์รี่ไม่ทันรอบ 21.30 น. ต้องรอเรือรอบถัดไป 23.00 น. ถึงจะเข้าไปบนเกาะปีนัง จึงแนะว่าถ้าไม่เร่งรีบก็น่าสนใจ แต่ถ้าต้องทำเวลาจริงๆ ใช้บริการ KTM Komuter ดีกว่า เพราะใช้เวลาจากสถานีปาดังเบซาร์ ถึงสถานีบัตเตอร์เวิร์ธไม่ถึง 2 ชั่วโมง สำหรับความคืบหน้าการเดินรถไฟ บัตเตอร์เวิร์ธ-กรุงเทพอภิวัฒน์ ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวบูเลทิน มูเทียรา (Buletin Mutiara) รัฐปีนัง ประเทศมาเลเซีย รายงานว่า นายวง ฮอน ไว ประธานคณะกรรมการการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์แห่งรัฐปีนัง กล่าวต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งรัฐปีนัง เมื่อเดือน พ.ย. 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มให้บริการในช่วงต้นปี 2568 #Newskit
    Like
    3
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 423 มุมมอง 0 รีวิว
  • LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา

    ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต

    โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ

    แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM)

    ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า

    #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    LRT เกาะปีนัง คาดตอกเข็ม ธ.ค.นี้ โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ (LRT Mutiara Line) ซึ่งเป็นรถไฟฟ้าสายแรกบนเกาะปีนัง ประเทศมาเลเซีย กำลังจะเกิดขึ้นในเดือน ธ.ค. 2567 ที่จะถึงนี้ เมื่อสำนักข่าวเดอะสตาร์ของมาเลเซีย รายงานว่า นายแอนโทนี่ ลก รมว.คมนาคมมาเลเซีย ได้อนุมัติวันเริ่มต้นก่อสร้าง โดยสถานีแรกจะสร้างขึ้นที่ถนนแมคคัลลัม ขณะที่บริษัท MRT Corp ซึ่งเป็นผู้พัฒนาโครงการ อาจเลือกใช้ระบบรถไฟฟ้าแบบล้อยาง เพื่อประหยัดต้นทุนการดำเนินงานและการบำรุงรักษา ส่วนกลุ่มกิจการค้าร่วมเอสอาร์เอส (SRS Consortium) ที่นำโดยกามูดา เบอร์ฮัด (Gamuda Berhad) บริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของมาเลเซีย กำลังสรุปเงื่อนไขและข้อกำหนดสำหรับงานโยธา ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างประมาณ 7,600 ล้านริงกิต ซึ่งกามูดาก็กำลังวางแผนประมูลงานระบบไฟฟ้าและอาณัติสัญญาณ ซึ่งมีมูลค่าประมาณ 1,200 ล้านริงกิต โครงการรถไฟฟ้ารางเบา สายมูเทียรา ไลน์ ระยะทาง 29 กิโลเมตร แบ่งการก่อสร้างออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ งานโยธาตอนที่ 1 ตั้งแต่เกาะซิลิคอนถึงอาคารคอมตาร์ (Komtar) งานโยธาตอนที่ 2 จากอาคารคอมตาร์ข้ามทะเลไปยังอาคารปีนังเซ็นทรัล (Penang Sentral) และสัญญาแบบเทิร์นคีย์สำหรับงานระบบและจัดหาขบวนรถ แนวเส้นทางเริ่มต้นจากเกาะซิลิคอน ทางตอนใต้ของเกาะปีนัง ซึ่งจะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) ข้ามทะเลขึ้นไปบนหมู่บ้านเปร์มาตัง ดามาร์ ลาอุต (Permatang Damar Laut) จากนั้นผ่านท่าอากาศยานนานาชาติปีนัง (Penang International Airport) เขตอุตสาหกรรมเสรี (Free Industrial Zone) สนามกีฬาสไปซ์อารีน่า (SPICE) ผ่านถนนมหาวิทยาลัย (Jalan Universiti) ที่จะไปมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์แห่งมาเลเซีย (USM) ก่อนจะมุ่งหน้าไปยังอาคารคอมตาร์ (Komtar) ที่จะรองรับเส้นทางไปตันจุงบูงะฮ์ (Tanjung Bungah) และอาเยอร์อีตัม (Air Itam) ในอนาคต แล้วข้ามทะเลไปสิ้นสุดที่อาคารปีนังเซ็นทรัล โดยมีสถานีให้บริการทั้งหมด 22 สถานี เวลาเปิดให้บริการ 06.00-24.00 น. มีที่จอดรถยนต์ 1,220 คัน และรถจักรยานยนต์ 1,315 คัน ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 มี.ค. รมว.คมนาคมมาเลเซีย กล่าวว่า รัฐบาลกลางได้เข้ารับช่วงต่อโครงการรถไฟฟ้า LRT จากรัฐบาลของรัฐปีนัง โดยแต่งตั้งให้ MRT Corp เป็นผู้พัฒนาและเจ้าของโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2573 หรืออีก 6 ปีข้างหน้า #Newskit #LRTMutiaraLine #เกาะปีนัง
    Like
    Love
    Yay
    11
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 694 มุมมอง 0 รีวิว