• กรณีศึกษา : คนร้ายบุกบ้านจับตัวประกัน

    เหตุการณ์ที่นายสันติ เจ๊ะอะหลี อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาหลบหนีการจับกุมของตำรวจ ปีนเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ภายในซอยอินทามาระ 29 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 3 ต.ค. 2567 ภายในบ้านมีแม่และลูกชาย 2 คน มีการนำเสนอข่าวว่ามีการจับตัวประกัน โดยมีแม่พักอยู่กับลูกชาย 2 คน แต่พบว่าแม่หลบหนีออกมาตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดเหตุ ส่วนลูกชายทั้งสองคนอยู่ภายในห้อง จากนั้นสถานการณ์คลี่คลายเมื่อเวลาประมาณ 00.50 น. วันที่ 4 ต.ค. 2567

    พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. (ขณะนั้น) ระบุว่า คนร้ายไม่ได้จับใครเป็นตัวประกัน ไม่มีตำรวจได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ ส่วนคนในบ้านทั้งสองคนเป็นหมอ สภาพจิตใจค่อนข้างดีมาก ขณะเกิดเหตุหมอทั้ง 2 คนอยู่ในห้อง ตำรวจแนะนำว่าให้ล็อกห้องและหาอะไรดันเอาไว้ อย่าอยู่ในแนวของประตู ซึ่งทั้งสองก็ให้ความร่วมมือดี และขวัญกำลังใจดีมาก ส่วนผู้ต้องหาพบว่าหลบหนีไปผ่านทางช่องระบายอากาศ ช่องทางเดียวกับที่เข้ามาตอนแรก ก่อนปีนออกไปที่หลังบ้าน

    เหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน ในที่สุดวันที่ 7 ต.ค. 2567 ตำรวจ สภ.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา ได้รับการประสานจาก สน.เตาปูน สกัดจับรถแท็กซี่ต้องสงสัย ที่นายสันติจ้างให้ไปส่งที่จังหวัดอำนาจเจริญในราคา 8,000 บาท นายสันติวิ่งหนีออกจากรถ แต่สะดุดล้มได้รับบาดเจ็บ ตำรวจจับกุมเอาไว้ได้ ตอนหนึ่งเจ้าตัวกล่าวว่า ที่ยิงสวนตำรวจเพราะเปิดทางเพื่อหนีเท่านั้น ส่วนที่เข้าไปที่บ้านของตัวประกัน อ้างว่าแค่หิวน้ำเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจับตัวประกัน และถ้าหมอเปิดประตูออกมา ก็คงจับเป็นตัวประกัน

    บทเรียนจากเหตุโจรขึ้นบ้าน นอกจากหมั่นล็อกประตูบ้านทุกครั้งแล้ว อาจเสริมความแข็งแรงให้กับบ้าน ด้วยการสร้างรั้วให้สูงขึ้น อาจมีเหล็กแหลมด้านบนกำแพงเพื่อป้องกันคนร้ายปีนขึ้นไป ติดตั้งเหล็กดัดที่ประตู หน้าต่าง รวมทั้งช่องระบายอากาศ ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) สัญญาณเตือนผู้บุกรุก จัดภูมิทัศน์รอบบ้านเพื่อลดจุดอับสายตา ติดตั้งไฟส่องสว่างรอบบ้าน รวมทั้งเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ไว้เฝ้าบ้าน

    กรณีที่มีคนร้ายเข้ามาในบ้าน จับคนในบ้านเป็นตัวประกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับตำรวจ ช่วงแรกคนร้ายจะอยู่ในภาวะตึงเครียด หากตกอยู่ในเหตุการณ์แล้วหลบหนีไม่ทัน ให้พยายามตั้งสติ อยู่ในความสงบ ไม่ตื่นตระหนก ไม่ต่อสู้ขัดขืน อย่าพยายามหลบหนีด้วยตัวเอง สังเกตลักษณะของคนร้ายให้ได้มากที่สุด เช่น รูปร่าง หน้าตา เสื้อผ้า อาวุธ เส้นทางหลบหนี แล้วรอจังหวะตำรวจเข้าช่วยเหลือ

    #Newskit #อินทามาระ29 #จับตัวประกัน
    กรณีศึกษา : คนร้ายบุกบ้านจับตัวประกัน เหตุการณ์ที่นายสันติ เจ๊ะอะหลี อายุ 39 ปี ผู้ต้องหาหลบหนีการจับกุมของตำรวจ ปีนเข้าไปในบ้านหลังหนึ่ง ภายในซอยอินทามาระ 29 แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ เมื่อคืนวันที่ 3 ต.ค. 2567 ภายในบ้านมีแม่และลูกชาย 2 คน มีการนำเสนอข่าวว่ามีการจับตัวประกัน โดยมีแม่พักอยู่กับลูกชาย 2 คน แต่พบว่าแม่หลบหนีออกมาตั้งแต่ช่วงแรกที่เกิดเหตุ ส่วนลูกชายทั้งสองคนอยู่ภายในห้อง จากนั้นสถานการณ์คลี่คลายเมื่อเวลาประมาณ 00.50 น. วันที่ 4 ต.ค. 2567 พล.ต.อ.กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์ รรท.ผบ.ตร. (ขณะนั้น) ระบุว่า คนร้ายไม่ได้จับใครเป็นตัวประกัน ไม่มีตำรวจได้รับบาดเจ็บจากการปะทะ ส่วนคนในบ้านทั้งสองคนเป็นหมอ สภาพจิตใจค่อนข้างดีมาก ขณะเกิดเหตุหมอทั้ง 2 คนอยู่ในห้อง ตำรวจแนะนำว่าให้ล็อกห้องและหาอะไรดันเอาไว้ อย่าอยู่ในแนวของประตู ซึ่งทั้งสองก็ให้ความร่วมมือดี และขวัญกำลังใจดีมาก ส่วนผู้ต้องหาพบว่าหลบหนีไปผ่านทางช่องระบายอากาศ ช่องทางเดียวกับที่เข้ามาตอนแรก ก่อนปีนออกไปที่หลังบ้าน เหตุการณ์ผ่านไป 3 วัน ในที่สุดวันที่ 7 ต.ค. 2567 ตำรวจ สภ.โพธิ์กลาง จ.นครราชสีมา ได้รับการประสานจาก สน.เตาปูน สกัดจับรถแท็กซี่ต้องสงสัย ที่นายสันติจ้างให้ไปส่งที่จังหวัดอำนาจเจริญในราคา 8,000 บาท นายสันติวิ่งหนีออกจากรถ แต่สะดุดล้มได้รับบาดเจ็บ ตำรวจจับกุมเอาไว้ได้ ตอนหนึ่งเจ้าตัวกล่าวว่า ที่ยิงสวนตำรวจเพราะเปิดทางเพื่อหนีเท่านั้น ส่วนที่เข้าไปที่บ้านของตัวประกัน อ้างว่าแค่หิวน้ำเท่านั้น ไม่ได้มีเจตนาจับตัวประกัน และถ้าหมอเปิดประตูออกมา ก็คงจับเป็นตัวประกัน บทเรียนจากเหตุโจรขึ้นบ้าน นอกจากหมั่นล็อกประตูบ้านทุกครั้งแล้ว อาจเสริมความแข็งแรงให้กับบ้าน ด้วยการสร้างรั้วให้สูงขึ้น อาจมีเหล็กแหลมด้านบนกำแพงเพื่อป้องกันคนร้ายปีนขึ้นไป ติดตั้งเหล็กดัดที่ประตู หน้าต่าง รวมทั้งช่องระบายอากาศ ติดตั้งระบบรักษาความปลอดภัยในบ้าน เช่น กล้องวงจรปิด (CCTV) สัญญาณเตือนผู้บุกรุก จัดภูมิทัศน์รอบบ้านเพื่อลดจุดอับสายตา ติดตั้งไฟส่องสว่างรอบบ้าน รวมทั้งเลี้ยงสุนัขพันธุ์ใหญ่ไว้เฝ้าบ้าน กรณีที่มีคนร้ายเข้ามาในบ้าน จับคนในบ้านเป็นตัวประกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือต่อรองกับตำรวจ ช่วงแรกคนร้ายจะอยู่ในภาวะตึงเครียด หากตกอยู่ในเหตุการณ์แล้วหลบหนีไม่ทัน ให้พยายามตั้งสติ อยู่ในความสงบ ไม่ตื่นตระหนก ไม่ต่อสู้ขัดขืน อย่าพยายามหลบหนีด้วยตัวเอง สังเกตลักษณะของคนร้ายให้ได้มากที่สุด เช่น รูปร่าง หน้าตา เสื้อผ้า อาวุธ เส้นทางหลบหนี แล้วรอจังหวะตำรวจเข้าช่วยเหลือ #Newskit #อินทามาระ29 #จับตัวประกัน
    Like
    8
    0 ความคิดเห็น 1 การแบ่งปัน 481 มุมมอง 0 รีวิว