เลือดย่อมเข้มกว่าน้ำ
หลังจากที่สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้นักเรียนชาวจีนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาอีกต่อไป และไม่อนุญาตให้ชาวจีนไปเรียนในสถาบันวิจัยสำคัญๆ ในสหรัฐฯ อีกต่อไป สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศไฮเทคของโลกอย่างสหราชอาณาจักร ก็ตัดสินใจไม่อนุญาตอีกต่อไป ภาษาจีนเพื่อศึกษาความรู้ไฮเทคในสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยของอังกฤษ
ขณะนี้มีนักเรียนเกือบ 1,000 คนเข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักรแล้ว และถูกจำกัดให้ออกจาก สหราชอาณาจักรภายในหนึ่งเดือน และกล่าวว่าเมื่อถูกไล่ออกจากโรงเรียนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรจะจำกัดไม่ให้นักเรียนเหล่านี้เข้าสหราชอาณาจักร
บังเอิญญี่ปุ่นได้ประกาศข้อจำกัดที่เข้มงวดสำหรับนักเรียนชาวจีนจากการลงทะเบียนในวิชาที่มีเทคโนโลยีสูงของญี่ปุ่น ขับไล่นักเรียนชาวจีน 1,500 คนในโรงเรียน และนักเรียนชาวจีนที่มีประวัติการปฏิเสธวีซ่าจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นยังได้ติดตามและปฏิเสธที่จะให้วีซ่าเข้าประเทศแก่บุคคลเหล่านี้
ในเวลาเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการของแคนาดาได้ประกาศขับไล่นักศึกษาชาวจีน 900 คน
ออสเตรเลียขับไล่นักศึกษาชาวจีน 2,200 คน; นิวซีแลนด์ขับไล่นักเรียนชาวจีน 1,300 คน
กระทรวงศึกษาธิการของฝรั่งเศสและเยอรมนีประกาศว่า การสมัครนักเรียนจีนเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติการทบทวนอย่างเข้มงวดของสหรัฐอเมริกา
จนถึงตอนนี้ มากกว่า 80% ของนักเรียนจีน 600,000 คนที่ต้องการสมัครเรียนต่อต่างประเทศจะถูกปฏิเสธวีซ่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวมากที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาในอนาคตของจีน
ไบเดนสาบานที่จะป้องกันไม่ให้จีนมีอำนาจมากกว่าสหรัฐฯ
เวลานี้เป็นช่วงของกระแสนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าหัวกะทิหลั่งไหลกลับสู่มาตุภูมิบ้านเกิด
1. มหาเศรษฐี หลี่ ไค ฟู่ (李开复) เป็นคนนำหน้า ทิ้งกรีนการ์ดกลับสู่ประเทศจีน ทำให้สหรัฐฯเสียหายถึง 1 แสน 3 หมื่น ล้านเหรียญ พร้อมทั้งประกาศว่าจะออกจากตลาดสหรัฐฯตลอดไป โดยบริษัทใหญ่ที่ทำการวิจัยถอนตัวออกจากหุบเขาซิลิคอน (ซิลิคอนแวลลีย์ 硅谷)ของสหรัฐฯ นำเงินทุนของบริษัท 95 % พร้อมทั้งเทคโนโลยีทั้งหมดกลับสู่ประเทศจีน การกระทำเช่นนี้ยังเป็นการชักจูงแบบโดมิโนให้คนเชื้อชาติจีนชั้นนำทยอยกลับประเทศมากขึ้นเรื่อยๆพร้อมทั้งนำเงินทุนกลับประเทศ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. หยิ่น จื้อ หย๋าว (尹志尧) เทพแห่ง ซิลิคอนแวลลี่ย์ แม้ว่าทางสหรัฐฯจะเสนอเงินทองเงื่อนไขที่ดีเลิศเพียงใดก็มิอาจยับยั้งให้เขาที่มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะกลับสู่ประเทศจีนได้ เขาถูกขนานนามว่า เป็นหนึ่งในคนเชื้อชาติจีนที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมคนหนึ่ง เป็นคนจีนที่ทางสหรัฐฯไม่อยากให้จากไปอย่างยิ่ง เขาไม่เพียงแค่นำพานักวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมทางด้านไมโครชิพ 30 กว่าคน กลับไปด้วย เมื่อกลับถึงประเทศจีนแล้วเขายังเป็นผู้นำกลุ่มเอาชนะการผูกขาดทางเทคโนโลยี โดยสามารถสร้าง 5 nm Etching machine ได้สำเร็จ เปิดตำนานไมโครชิพขึ้นมาใหม่
3. เสิ่น เซี่ยง หยาง ( 沈向洋 ) ทำงานทางด้าน microsoft ผ่านไป 23 ปี ก็กลับสู่มาตุภูมิ เขาเป็นคนจีนที่อยู่ในระดับชั้นสูงสุดของงานทางด้านนี้ผู้นำทางด้าน AI Microsoft การกลับประเทศของเขาถึงกลับทำให้ประเทศหรัฐฯสั่นคลอนแม้แต่ Bill Gates ยังรู้สึกเสียดาย ปัจจุบันเขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ต้าชิง สร้างบุคลากรทางด้าน AI ให้กับประเทศจีน
4. เซี่ย เสี่ยว เกา ( 谢小高 ) ศึกษาและทำงานที่ต่างประเทศ 30 กว่าปี สุดท้ายยอมสละทิ้งตำแหน่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัย Harvard มาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เขาเป็นคนจีนที่ใด้รับรางวัลโนเบลคนหนึ่ง เป็นบุคคลผู้นำระหว่างประเทศทางด้านชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี การวิจัยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สหรัฐฯใช้เงินรางวัลถึง 40 ล้านเหรียญก็ไม่สามารถรั้งเข้าไว้ได้ หลังกลับประเทศเขาก็เริ่มเสนอการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวการวิจัยหลายรายการ นำพานักเรียนสู่การวิจัยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง นักวิทยาศาสตร์จีนที่เก่งๆจำนวนมากทะยอยกลับประเทศจีนไม่ขาดสาย จะเป็นผลดีต่อประเทศเร็วขึ้น
Cr: Boonchu Chung (羅文娟)
จีนปฏิรูปการศึกษาต่อทันทีหลังคุมโควิด19ได้เบ็ดเสร็จแล้ว
- ห้ามการสอบข้อเขียนในเด็กเล็ก, ลดการสอบต่างๆ, ลดการบ้าน, ให้บริษัทกวดวิชาเอกชนเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร, เลิกการมีห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กอัจฉริยะ, ลดเวลาการเล่มเกมของเด็ก, ปรับให้ครูไปรับตำแหน่งในร.ร. อื่นๆทุก 6 ปีป้องกันครูที่มีความรู้ความสามารถกระจุกตัวอยู่ในร.ร.บางแห่ง
การปฏิรูปการศึกษาที่จีน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันทึ่งกับการแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนในประเทศจีนเป็นอย่างมาก หลังจากติดตามข่าวคราวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีมาตรการทางด้านการศึกษามาโดยตลอด เพียงแต่มาสะดุดช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้ต้องไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เมื่อโรคระบาดโควิด-19 ในจีนได้รับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเวลาอันรวดเร็ว สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลจีนก็เดินหน้าปฏิรูปการศึกษาต่อทันที
ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการของจีนประกาศห้ามการสอบข้อเขียนสำหรับเด็กที่มีอายุ 6-7 ปี เพราะการสอบที่มากเกินไปส่งผลให้นักเรียนต้องรับภาระหนักและอยู่ภายใต้ความกดดัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายอย่างมาก
กฎระเบียบใหม่ยังจำกัดการสอบในชั้นปีอื่น ๆ ของการศึกษาภาคบังคับ ไม่ให้เกินภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง และห้ามท้องถิ่นจัดสอบระดับภูมิภาค หรือระหว่างโรงเรียน สำหรับชั้นประถมศึกษาทั้งหมด
ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ยังไม่จบการศึกษา ห้ามโรงเรียนจัดสอบย่อยรายสัปดาห์ สอบย่อยรายวิชา รวมถึงสอบรายเดือน และห้ามเลี่ยงไปเปิดการสอบในชื่ออื่น ๆ ด้วย
ถือเป็นการเดินหน้าแผนปฏิรูปการศึกษาเพื่อลดความกดดันต่อนักเรียน และพ่อแม่ในระบบโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง
ที่ผ่านมาระบบการศึกษาของจีนมุ่งเน้นที่ผลสอบ กำหนดให้นักเรียนต้องเข้าสอบตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนตั้งแต่ปีแรก ไปจนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียนอายุ 18 ปี ที่เรียกกันในภาษาจีนว่า “เกาเข่า” ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ประมาณว่าถ้าพลาดไปเพียงคะแนนเดียว ก็สามารถชี้ขาดอนาคตได้ ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างหนัก และแย่งกันกวดวิชาสุดฤทธิ์
และนั่นหมายความว่าเมื่อกระทรวงศึกษาของจีนประกาศปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับ ก็ต้องรวมถึงแนวทางการจัดการโรงเรียนกวดวิชาด้วย โดยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จีนได้สั่งให้บรรดาบริษัทกวดวิชาของเอกชนทั้งหมดแปลงเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร โดยให้สถาบันติวเตอร์เหล่านี้สอนบทเรียนได้เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์วันละ 1 ชั่วโมง และห้ามสอนวิชาหลัก
นี่ยังไม่นับรวมถึงนโยบายเรื่องครูในสถานศึกษา ที่ต้องให้สลับปรับเปลี่ยนกันไปรับตำแหน่งในโรงเรียนต่าง ๆ ทุก 6 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ครูที่มีความรู้ความสามารถกระจุกอยู่ในโรงเรียนระดับหัวกะทิบางแห่งเท่านั้น
ที่สำคัญกว่านั้น ยังได้ออกตำเตือนไม่ให้โรงเรียนต่าง ๆ สร้างห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ ประเภทห้องกิ๊ฟ(อัจฉริยะ) หรือห้องพิเศษใด ๆ
และถ้าจำกันได้ เมื่อต้นปีกระทรวงศึกษาธิการบ้านเขาก็สั่งห้ามครูให้การบ้านแบบข้อเขียนสำหรับนักเรียนเกรด 1-2 รวมทั้งจำกัดการให้การบ้านนักเรียนมัธยมต้น ไม่ให้เกินวันละ 1.5 ชั่วโมง
งานนี้เรียกว่าจีน “ยกเครื่อง” ปฏิรูปการศึกษาใหม่กันเลยทีเดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ได้
เลิกการสอบข้อเขียนในเด็กเล็ก
ลดการบ้านเด็ก
ละ ไม่ให้มีห้องเรียนพิเศษ
คุมร.ร.กวดวิชาไม่ให้แสวงผลกำไร
ห้ามร.ร.จัดอันดับคะแนนสอบ
ปรับครูทุก 6 ปี
ล่าสุดทางการเมืองเซี่ยงไฮ้ประกาศยกเลิกการสอบปลายภาควิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อลดภาระของนักเรียนและผู้ปกครอง ตามเสียงเรียกร้องเพื่อลดการให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนรัฐบาล หลังจากนี้นักเรียนประถมจะสอบปลายภาคเฉพาะวิชาภาษาจีนและคณิตศาสตร์ ส่วนวิชาอื่นรวมทั้งภาษาอังกฤษจะวัดผลจากการประเมินของครูผู้สอน โดยไม่มีคะแนนสอบ
นี่ยังไม่นับเรื่องที่จีนออกกฎหมายบังคับให้เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เล่นเกมได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แค่ระหว่างเวลา 20.00-21.00 น. เฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ในช่วงเปิดภาคเรียนเท่านั้น ส่วนช่วงปิดเทอม เด็กจะได้รับอนุญาตให้เล่นเกมออนไลน์ได้นานขึ้น แต่ยังจำกัดวันละ 60 นาที เป็นกฎใหม่ที่มีความพยายามเพื่อควบคุมพฤติกรรมเด็กติดเกมของจีน ที่ส่งผลต่อการศึกษาและชีวิตประจำวันของเด็กอย่างมาก
ที่รวบรวมเรื่อง “ทึ่ง” เหล่านี้ขึ้นมา ก็เพราะ “อึ้ง” กับประเด็นปัญหาที่เหมือนในบ้านเราที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งยังไม่ได้รับการชำระสะสาง แม้จะผ่านการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2542 และปัญหาเหล่านี้ก็ยังดำรงอยู่
ภาพที่สะท้อนชัดในบ้านเขาก็คือ การจัดการที่เด็ดขาด ลงมือทำทันที และแก้ปัญหาที่มีลักษณะโดมิโน่และส่งผลสัมพันธ์กันในเวลาที่ไล่เลี่ยแบบสอดรับกัน แม้จะยังไม่เห็นผล แต่สิ่งเหล่านี้คือข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นในบ้านเรามาตลอด
และถ้าเรายังแก้ปัญหาทีละอย่าง เงื้อง่าทีละเรื่อง สุดท้ายก็แก้ปัญหาไม่ได้ซะที
เล่าสู่กันฟังเฉย ๆ ไม่ได้คิดไม่ได้ฝันว่าจะเกิดขึ้นในบ้านเรา
#ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน
เลือดย่อมเข้มกว่าน้ำ
หลังจากที่สหรัฐฯ ไม่อนุญาตให้นักเรียนชาวจีนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกาอีกต่อไป และไม่อนุญาตให้ชาวจีนไปเรียนในสถาบันวิจัยสำคัญๆ ในสหรัฐฯ อีกต่อไป สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นประเทศไฮเทคของโลกอย่างสหราชอาณาจักร ก็ตัดสินใจไม่อนุญาตอีกต่อไป ภาษาจีนเพื่อศึกษาความรู้ไฮเทคในสถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยของอังกฤษ
ขณะนี้มีนักเรียนเกือบ 1,000 คนเข้ามาเรียนในสหราชอาณาจักรแล้ว และถูกจำกัดให้ออกจาก สหราชอาณาจักรภายในหนึ่งเดือน และกล่าวว่าเมื่อถูกไล่ออกจากโรงเรียนโดยรัฐบาลสหรัฐฯ สหราชอาณาจักรจะจำกัดไม่ให้นักเรียนเหล่านี้เข้าสหราชอาณาจักร
บังเอิญญี่ปุ่นได้ประกาศข้อจำกัดที่เข้มงวดสำหรับนักเรียนชาวจีนจากการลงทะเบียนในวิชาที่มีเทคโนโลยีสูงของญี่ปุ่น ขับไล่นักเรียนชาวจีน 1,500 คนในโรงเรียน และนักเรียนชาวจีนที่มีประวัติการปฏิเสธวีซ่าจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นยังได้ติดตามและปฏิเสธที่จะให้วีซ่าเข้าประเทศแก่บุคคลเหล่านี้
ในเวลาเดียวกัน กระทรวงศึกษาธิการของแคนาดาได้ประกาศขับไล่นักศึกษาชาวจีน 900 คน
ออสเตรเลียขับไล่นักศึกษาชาวจีน 2,200 คน; นิวซีแลนด์ขับไล่นักเรียนชาวจีน 1,300 คน
กระทรวงศึกษาธิการของฝรั่งเศสและเยอรมนีประกาศว่า การสมัครนักเรียนจีนเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศจะต้องดำเนินการตามบทบัญญัติการทบทวนอย่างเข้มงวดของสหรัฐอเมริกา
จนถึงตอนนี้ มากกว่า 80% ของนักเรียนจีน 600,000 คนที่ต้องการสมัครเรียนต่อต่างประเทศจะถูกปฏิเสธวีซ่า นี่เป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัวมากที่เกี่ยวข้องกับแผนพัฒนาในอนาคตของจีน
ไบเดนสาบานที่จะป้องกันไม่ให้จีนมีอำนาจมากกว่าสหรัฐฯ
เวลานี้เป็นช่วงของกระแสนักวิทยาศาสตร์ชั้นแนวหน้าหัวกะทิหลั่งไหลกลับสู่มาตุภูมิบ้านเกิด
1. มหาเศรษฐี หลี่ ไค ฟู่ (李开复) เป็นคนนำหน้า ทิ้งกรีนการ์ดกลับสู่ประเทศจีน ทำให้สหรัฐฯเสียหายถึง 1 แสน 3 หมื่น ล้านเหรียญ พร้อมทั้งประกาศว่าจะออกจากตลาดสหรัฐฯตลอดไป โดยบริษัทใหญ่ที่ทำการวิจัยถอนตัวออกจากหุบเขาซิลิคอน (ซิลิคอนแวลลีย์ 硅谷)ของสหรัฐฯ นำเงินทุนของบริษัท 95 % พร้อมทั้งเทคโนโลยีทั้งหมดกลับสู่ประเทศจีน การกระทำเช่นนี้ยังเป็นการชักจูงแบบโดมิโนให้คนเชื้อชาติจีนชั้นนำทยอยกลับประเทศมากขึ้นเรื่อยๆพร้อมทั้งนำเงินทุนกลับประเทศ มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
2. หยิ่น จื้อ หย๋าว (尹志尧) เทพแห่ง ซิลิคอนแวลลี่ย์ แม้ว่าทางสหรัฐฯจะเสนอเงินทองเงื่อนไขที่ดีเลิศเพียงใดก็มิอาจยับยั้งให้เขาที่มีความตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวที่จะกลับสู่ประเทศจีนได้ เขาถูกขนานนามว่า เป็นหนึ่งในคนเชื้อชาติจีนที่มีความสามารถอย่างยอดเยี่ยมคนหนึ่ง เป็นคนจีนที่ทางสหรัฐฯไม่อยากให้จากไปอย่างยิ่ง เขาไม่เพียงแค่นำพานักวิทยาศาสตร์ที่ยอดเยี่ยมทางด้านไมโครชิพ 30 กว่าคน กลับไปด้วย เมื่อกลับถึงประเทศจีนแล้วเขายังเป็นผู้นำกลุ่มเอาชนะการผูกขาดทางเทคโนโลยี โดยสามารถสร้าง 5 nm Etching machine ได้สำเร็จ เปิดตำนานไมโครชิพขึ้นมาใหม่
3. เสิ่น เซี่ยง หยาง ( 沈向洋 ) ทำงานทางด้าน microsoft ผ่านไป 23 ปี ก็กลับสู่มาตุภูมิ เขาเป็นคนจีนที่อยู่ในระดับชั้นสูงสุดของงานทางด้านนี้ผู้นำทางด้าน AI Microsoft การกลับประเทศของเขาถึงกลับทำให้ประเทศหรัฐฯสั่นคลอนแม้แต่ Bill Gates ยังรู้สึกเสียดาย ปัจจุบันเขาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย ต้าชิง สร้างบุคลากรทางด้าน AI ให้กับประเทศจีน
4. เซี่ย เสี่ยว เกา ( 谢小高 ) ศึกษาและทำงานที่ต่างประเทศ 30 กว่าปี สุดท้ายยอมสละทิ้งตำแหน่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัย Harvard มาเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง เขาเป็นคนจีนที่ใด้รับรางวัลโนเบลคนหนึ่ง เป็นบุคคลผู้นำระหว่างประเทศทางด้านชีววิทยา ฟิสิกส์ เคมี การวิจัยพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ สหรัฐฯใช้เงินรางวัลถึง 40 ล้านเหรียญก็ไม่สามารถรั้งเข้าไว้ได้ หลังกลับประเทศเขาก็เริ่มเสนอการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเกี่ยวการวิจัยหลายรายการ นำพานักเรียนสู่การวิจัยที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง นักวิทยาศาสตร์จีนที่เก่งๆจำนวนมากทะยอยกลับประเทศจีนไม่ขาดสาย จะเป็นผลดีต่อประเทศเร็วขึ้น
Cr: Boonchu Chung (羅文娟)
จีนปฏิรูปการศึกษาต่อทันทีหลังคุมโควิด19ได้เบ็ดเสร็จแล้ว
- ห้ามการสอบข้อเขียนในเด็กเล็ก, ลดการสอบต่างๆ, ลดการบ้าน, ให้บริษัทกวดวิชาเอกชนเป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร, เลิกการมีห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กอัจฉริยะ, ลดเวลาการเล่มเกมของเด็ก, ปรับให้ครูไปรับตำแหน่งในร.ร. อื่นๆทุก 6 ปีป้องกันครูที่มีความรู้ความสามารถกระจุกตัวอยู่ในร.ร.บางแห่ง
การปฏิรูปการศึกษาที่จีน
เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ดิฉันทึ่งกับการแก้ปัญหาเรื่องการศึกษาของเด็กและเยาวชนในประเทศจีนเป็นอย่างมาก หลังจากติดตามข่าวคราวมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลจีนมีมาตรการทางด้านการศึกษามาโดยตลอด เพียงแต่มาสะดุดช่วงเกิดโรคระบาดโควิด-19 ที่ทำให้ต้องไปแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
เมื่อโรคระบาดโควิด-19 ในจีนได้รับการบริหารจัดการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในเวลาอันรวดเร็ว สถานการณ์ดีขึ้น รัฐบาลจีนก็เดินหน้าปฏิรูปการศึกษาต่อทันที
ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการของจีนประกาศห้ามการสอบข้อเขียนสำหรับเด็กที่มีอายุ 6-7 ปี เพราะการสอบที่มากเกินไปส่งผลให้นักเรียนต้องรับภาระหนักและอยู่ภายใต้ความกดดัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายอย่างมาก
กฎระเบียบใหม่ยังจำกัดการสอบในชั้นปีอื่น ๆ ของการศึกษาภาคบังคับ ไม่ให้เกินภาคการศึกษาละ 1 ครั้ง และห้ามท้องถิ่นจัดสอบระดับภูมิภาค หรือระหว่างโรงเรียน สำหรับชั้นประถมศึกษาทั้งหมด
ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่ยังไม่จบการศึกษา ห้ามโรงเรียนจัดสอบย่อยรายสัปดาห์ สอบย่อยรายวิชา รวมถึงสอบรายเดือน และห้ามเลี่ยงไปเปิดการสอบในชื่ออื่น ๆ ด้วย
ถือเป็นการเดินหน้าแผนปฏิรูปการศึกษาเพื่อลดความกดดันต่อนักเรียน และพ่อแม่ในระบบโรงเรียนที่มีการแข่งขันสูง
ที่ผ่านมาระบบการศึกษาของจีนมุ่งเน้นที่ผลสอบ กำหนดให้นักเรียนต้องเข้าสอบตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนตั้งแต่ปีแรก ไปจนถึงการสอบเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับนักเรียนอายุ 18 ปี ที่เรียกกันในภาษาจีนว่า “เกาเข่า” ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างดุเดือด ประมาณว่าถ้าพลาดไปเพียงคะแนนเดียว ก็สามารถชี้ขาดอนาคตได้ ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างหนัก และแย่งกันกวดวิชาสุดฤทธิ์
และนั่นหมายความว่าเมื่อกระทรวงศึกษาของจีนประกาศปฏิรูปการศึกษาในทุกระดับ ก็ต้องรวมถึงแนวทางการจัดการโรงเรียนกวดวิชาด้วย โดยเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา จีนได้สั่งให้บรรดาบริษัทกวดวิชาของเอกชนทั้งหมดแปลงเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร โดยให้สถาบันติวเตอร์เหล่านี้สอนบทเรียนได้เฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์วันละ 1 ชั่วโมง และห้ามสอนวิชาหลัก
นี่ยังไม่นับรวมถึงนโยบายเรื่องครูในสถานศึกษา ที่ต้องให้สลับปรับเปลี่ยนกันไปรับตำแหน่งในโรงเรียนต่าง ๆ ทุก 6 ปี เพื่อป้องกันไม่ให้ครูที่มีความรู้ความสามารถกระจุกอยู่ในโรงเรียนระดับหัวกะทิบางแห่งเท่านั้น
ที่สำคัญกว่านั้น ยังได้ออกตำเตือนไม่ให้โรงเรียนต่าง ๆ สร้างห้องเรียนพิเศษสำหรับเด็กที่มีพรสวรรค์ ประเภทห้องกิ๊ฟ(อัจฉริยะ) หรือห้องพิเศษใด ๆ
และถ้าจำกันได้ เมื่อต้นปีกระทรวงศึกษาธิการบ้านเขาก็สั่งห้ามครูให้การบ้านแบบข้อเขียนสำหรับนักเรียนเกรด 1-2 รวมทั้งจำกัดการให้การบ้านนักเรียนมัธยมต้น ไม่ให้เกินวันละ 1.5 ชั่วโมง
งานนี้เรียกว่าจีน “ยกเครื่อง” ปฏิรูปการศึกษาใหม่กันเลยทีเดียว โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาให้ได้
เลิกการสอบข้อเขียนในเด็กเล็ก
ลดการบ้านเด็ก
ละ ไม่ให้มีห้องเรียนพิเศษ
คุมร.ร.กวดวิชาไม่ให้แสวงผลกำไร
ห้ามร.ร.จัดอันดับคะแนนสอบ
ปรับครูทุก 6 ปี
ล่าสุดทางการเมืองเซี่ยงไฮ้ประกาศยกเลิกการสอบปลายภาควิชาภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เพื่อลดภาระของนักเรียนและผู้ปกครอง ตามเสียงเรียกร้องเพื่อลดการให้ความสำคัญกับการเรียนภาษาอังกฤษในโรงเรียนรัฐบาล หลังจากนี้นักเรียนประถมจะสอบปลายภาคเฉพาะวิชาภาษาจีนและคณิตศาสตร์ ส่วนวิชาอื่นรวมทั้งภาษาอังกฤษจะวัดผลจากการประเมินของครูผู้สอน โดยไม่มีคะแนนสอบ
นี่ยังไม่นับเรื่องที่จีนออกกฎหมายบังคับให้เด็กและเยาวชนที่อายุต่ำกว่า 18 ปี เล่นเกมได้ไม่เกิน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แค่ระหว่างเวลา 20.00-21.00 น. เฉพาะวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ในช่วงเปิดภาคเรียนเท่านั้น ส่วนช่วงปิดเทอม เด็กจะได้รับอนุญาตให้เล่นเกมออนไลน์ได้นานขึ้น แต่ยังจำกัดวันละ 60 นาที เป็นกฎใหม่ที่มีความพยายามเพื่อควบคุมพฤติกรรมเด็กติดเกมของจีน ที่ส่งผลต่อการศึกษาและชีวิตประจำวันของเด็กอย่างมาก
ที่รวบรวมเรื่อง “ทึ่ง” เหล่านี้ขึ้นมา ก็เพราะ “อึ้ง” กับประเด็นปัญหาที่เหมือนในบ้านเราที่มีมาอย่างยาวนาน ซึ่งยังไม่ได้รับการชำระสะสาง แม้จะผ่านการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกตั้งแต่ปี 2542 และปัญหาเหล่านี้ก็ยังดำรงอยู่
ภาพที่สะท้อนชัดในบ้านเขาก็คือ การจัดการที่เด็ดขาด ลงมือทำทันที และแก้ปัญหาที่มีลักษณะโดมิโน่และส่งผลสัมพันธ์กันในเวลาที่ไล่เลี่ยแบบสอดรับกัน แม้จะยังไม่เห็นผล แต่สิ่งเหล่านี้คือข้อเรียกร้องที่เกิดขึ้นในบ้านเรามาตลอด
และถ้าเรายังแก้ปัญหาทีละอย่าง เงื้อง่าทีละเรื่อง สุดท้ายก็แก้ปัญหาไม่ได้ซะที
เล่าสู่กันฟังเฉย ๆ ไม่ได้คิดไม่ได้ฝันว่าจะเกิดขึ้นในบ้านเรา
#ดร.สรวงมณฑ์ สิทธิสมาน