ฟูดเดลิเวอรี ถึงยุคกึ่งผูกขาด
การประกาศปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) แพลตฟอร์มสั่งอาหารและของกินของใช้ออนไลน์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2568 นับเป็นการปิดฉากหนึ่งในผู้แข่งขันฟูดเดลิเวอรี (Food Delivery) ที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทยมานานถึง 13 ปี นับตั้งแต่สตาร์ทอัพจากประเทศเยอรมนี เปิดให้บริการเป็นเจ้าแรกในไทยเมื่อปี 2555 ท่ามกลางการแข่งขันของผู้ให้บริการรายอื่น ตั้งแต่อูเบอร์อีท (Uber Eats) แกร็บฟู้ด (Grab Food) ไลน์แมน (LINE MAN) โกเจ็ก (Gojek) โรบินฮู้ด (Robinhood) และช้อปปี้ฟู้ด (Shopee Food) ซึ่งแต่ละรายต่างช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้บริโภคด้วยวิธีแตกต่างกันไป
หากย้อนไปถึงงบกำไรขาดทุนของฟู้ดแพนด้าย้อนหลัง 9 ปี พบว่าขาดทุนสุทธิทุกปี โดยในช่วงแรกมีรายได้รวมหลักร้อยล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิเกือบ 100 ล้านบาท แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผู้คนไม่ออกจากบ้าน พบว่าปี 2563 มีรายได้รวมกว่า 4,375.12 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 3,595.90 ล้านบาท ส่วนปี 2564 มีรายได้รวม 6,786.56 ล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิถึง 4,721.59 ล้านบาท มาถึง 2 ปีหลังล่าสุด รายได้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยปีที่ส่งงบการเงินล่าสุด 2566 รายได้รวม 3,843.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 522.48 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดปัจจุบันเหลือเพียง 5%
การปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า ทำให้แพลตฟอร์มฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่สองเจ้าอย่าง LINE MAN Wongnai และ Grab ต่างสะท้อนมุมมองว่าการแข่งขันอาจเปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดอย่างชัดเจน ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai มองว่าอาจเป็นจุดเปลี่ยนจากสงครามราคา สู่สงครามคุณภาพ โดยจัดสมดุลระหว่างคุณภาพ บริการ และการบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ขณะที่ จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์โดยรักษาสมดุลวงจรธุรกิจเป็นอันดับแรก และสามารถทำกำไรต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี
"จากในยุคแรกที่เริ่มด้วยการเผาเงินผ่านการให้ส่วนลดมากๆ เพื่อสร้างตลาด ซึ่งถือเป็นการสร้างเฟกดีมานด์ (อุปสงค์เทียม) มาเป็นการโฟกัสที่คุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญ" จันต์สุดา จากแกร็บ ประเทศไทย ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของไรเดอร์ (Rider) เฟซบุ๊กเพจสหภาพไรเดอร์กลับมองว่า การที่ผู้บริหารฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่ระบุว่าจากสงครามราคามาเป็นสงครามคุณภาพ คนแบกรับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่แสนเอาเปรียบคือไรเดอร์ ที่ผ่านมาประสบปัญหาถูกกดค่ารอบไรเดอร์ พ่วงงานให้ลูกค้ารอไป 1-2 ชั่วโมง ทำงานแล้วเงินลดทุกปีเพราะอ้างว่าขาดทุน
#Newskit
การประกาศปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) แพลตฟอร์มสั่งอาหารและของกินของใช้ออนไลน์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2568 นับเป็นการปิดฉากหนึ่งในผู้แข่งขันฟูดเดลิเวอรี (Food Delivery) ที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทยมานานถึง 13 ปี นับตั้งแต่สตาร์ทอัพจากประเทศเยอรมนี เปิดให้บริการเป็นเจ้าแรกในไทยเมื่อปี 2555 ท่ามกลางการแข่งขันของผู้ให้บริการรายอื่น ตั้งแต่อูเบอร์อีท (Uber Eats) แกร็บฟู้ด (Grab Food) ไลน์แมน (LINE MAN) โกเจ็ก (Gojek) โรบินฮู้ด (Robinhood) และช้อปปี้ฟู้ด (Shopee Food) ซึ่งแต่ละรายต่างช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้บริโภคด้วยวิธีแตกต่างกันไป
หากย้อนไปถึงงบกำไรขาดทุนของฟู้ดแพนด้าย้อนหลัง 9 ปี พบว่าขาดทุนสุทธิทุกปี โดยในช่วงแรกมีรายได้รวมหลักร้อยล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิเกือบ 100 ล้านบาท แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผู้คนไม่ออกจากบ้าน พบว่าปี 2563 มีรายได้รวมกว่า 4,375.12 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 3,595.90 ล้านบาท ส่วนปี 2564 มีรายได้รวม 6,786.56 ล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิถึง 4,721.59 ล้านบาท มาถึง 2 ปีหลังล่าสุด รายได้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยปีที่ส่งงบการเงินล่าสุด 2566 รายได้รวม 3,843.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 522.48 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดปัจจุบันเหลือเพียง 5%
การปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า ทำให้แพลตฟอร์มฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่สองเจ้าอย่าง LINE MAN Wongnai และ Grab ต่างสะท้อนมุมมองว่าการแข่งขันอาจเปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดอย่างชัดเจน ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai มองว่าอาจเป็นจุดเปลี่ยนจากสงครามราคา สู่สงครามคุณภาพ โดยจัดสมดุลระหว่างคุณภาพ บริการ และการบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ขณะที่ จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์โดยรักษาสมดุลวงจรธุรกิจเป็นอันดับแรก และสามารถทำกำไรต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี
"จากในยุคแรกที่เริ่มด้วยการเผาเงินผ่านการให้ส่วนลดมากๆ เพื่อสร้างตลาด ซึ่งถือเป็นการสร้างเฟกดีมานด์ (อุปสงค์เทียม) มาเป็นการโฟกัสที่คุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญ" จันต์สุดา จากแกร็บ ประเทศไทย ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของไรเดอร์ (Rider) เฟซบุ๊กเพจสหภาพไรเดอร์กลับมองว่า การที่ผู้บริหารฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่ระบุว่าจากสงครามราคามาเป็นสงครามคุณภาพ คนแบกรับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่แสนเอาเปรียบคือไรเดอร์ ที่ผ่านมาประสบปัญหาถูกกดค่ารอบไรเดอร์ พ่วงงานให้ลูกค้ารอไป 1-2 ชั่วโมง ทำงานแล้วเงินลดทุกปีเพราะอ้างว่าขาดทุน
#Newskit
ฟูดเดลิเวอรี ถึงยุคกึ่งผูกขาด
การประกาศปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า (Foodpanda) แพลตฟอร์มสั่งอาหารและของกินของใช้ออนไลน์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2568 นับเป็นการปิดฉากหนึ่งในผู้แข่งขันฟูดเดลิเวอรี (Food Delivery) ที่ให้บริการแก่ผู้บริโภคชาวไทยมานานถึง 13 ปี นับตั้งแต่สตาร์ทอัพจากประเทศเยอรมนี เปิดให้บริการเป็นเจ้าแรกในไทยเมื่อปี 2555 ท่ามกลางการแข่งขันของผู้ให้บริการรายอื่น ตั้งแต่อูเบอร์อีท (Uber Eats) แกร็บฟู้ด (Grab Food) ไลน์แมน (LINE MAN) โกเจ็ก (Gojek) โรบินฮู้ด (Robinhood) และช้อปปี้ฟู้ด (Shopee Food) ซึ่งแต่ละรายต่างช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากผู้บริโภคด้วยวิธีแตกต่างกันไป
หากย้อนไปถึงงบกำไรขาดทุนของฟู้ดแพนด้าย้อนหลัง 9 ปี พบว่าขาดทุนสุทธิทุกปี โดยในช่วงแรกมีรายได้รวมหลักร้อยล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิเกือบ 100 ล้านบาท แต่จุดเปลี่ยนสำคัญเกิดขึ้นจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ผู้คนไม่ออกจากบ้าน พบว่าปี 2563 มีรายได้รวมกว่า 4,375.12 ล้านบาท แต่ขาดทุนสุทธิ 3,595.90 ล้านบาท ส่วนปี 2564 มีรายได้รวม 6,786.56 ล้านบาท แต่ก็ขาดทุนสุทธิถึง 4,721.59 ล้านบาท มาถึง 2 ปีหลังล่าสุด รายได้ลดลงเกือบครึ่งหนึ่ง โดยปีที่ส่งงบการเงินล่าสุด 2566 รายได้รวม 3,843.30 ล้านบาท ขาดทุนสุทธิ 522.48 ล้านบาท ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดปัจจุบันเหลือเพียง 5%
การปิดกิจการของฟู้ดแพนด้า ทำให้แพลตฟอร์มฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่สองเจ้าอย่าง LINE MAN Wongnai และ Grab ต่างสะท้อนมุมมองว่าการแข่งขันอาจเปลี่ยนแปลงไปสู่การแข่งขันแบบกึ่งผูกขาดอย่างชัดเจน ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai มองว่าอาจเป็นจุดเปลี่ยนจากสงครามราคา สู่สงครามคุณภาพ โดยจัดสมดุลระหว่างคุณภาพ บริการ และการบริหารต้นทุนได้ดีขึ้น ขณะที่ จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย เปิดเผยว่าในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ได้ปรับกลยุทธ์โดยรักษาสมดุลวงจรธุรกิจเป็นอันดับแรก และสามารถทำกำไรต่อเนื่องมาแล้ว 2 ปี
"จากในยุคแรกที่เริ่มด้วยการเผาเงินผ่านการให้ส่วนลดมากๆ เพื่อสร้างตลาด ซึ่งถือเป็นการสร้างเฟกดีมานด์ (อุปสงค์เทียม) มาเป็นการโฟกัสที่คุณภาพและมาตรฐานของการให้บริการเป็นหัวใจสำคัญ" จันต์สุดา จากแกร็บ ประเทศไทย ระบุ
อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของไรเดอร์ (Rider) เฟซบุ๊กเพจสหภาพไรเดอร์กลับมองว่า การที่ผู้บริหารฟูดเดลิเวอรีรายใหญ่ระบุว่าจากสงครามราคามาเป็นสงครามคุณภาพ คนแบกรับเงื่อนไขการทำธุรกิจที่แสนเอาเปรียบคือไรเดอร์ ที่ผ่านมาประสบปัญหาถูกกดค่ารอบไรเดอร์ พ่วงงานให้ลูกค้ารอไป 1-2 ชั่วโมง ทำงานแล้วเงินลดทุกปีเพราะอ้างว่าขาดทุน
#Newskit
0 Comments
0 Shares
3 Views
0 Reviews