• รถเมล์ด่วน BRT สายแรกในลาว คืบ 36% คาดทดลองใช้ปลายปี 68

    สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว (LNR) รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (VSUTP) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พบว่ามีความคืบหน้าแล้ว 36% โดยเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คณะของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งได้เยี่ยมชมโครงการ เริ่มจากศูนย์ควบคุมรถเมล์ กม.16 บ้านโพคำ เมืองไชทานี และทดลองนั่งรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ไฟฟ้า 55 คัน ได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว

    จากนั้นได้เยี่ยมชมการก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ สถานีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก สถานีโพนสะอาด สถานีใกล้วัดธาตุฝุ่น และอีกหลายแห่ง ปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถเมล์ด่วน BRT ตั้งแต่สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงหน้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก ระยะทางรวม 12.9 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วประมาณ 36% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทดลองให้บริการรถเมล์ด่วนในปลายปี 2568 ที่ผ่านมาทางโครงการฯ ได้ติดตามผู้รับจ้างก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ 27 จุดอย่างต่อเนื่อง

    ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า 40 ที่นั่ง ยาว 12 เมตร ยี่ห้อ Cherry Wanda ชุดแรก 28 คัน ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาถึงสถานีด่านขนส่งสินค้ารถไฟเวียงจันทน์ใต้ โดยรถดังกล่าวผลิตจากโรงงานในเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ขนส่งผ่านทางรถไฟ เข้าสู่ประเทศลาวผ่านด่านรถไฟสากลบ่อเต็น ภายหลังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว ระบุว่า รถโดยสารทั้งหมดได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ครบทั้ง 55 คันแล้ว

    สำหรับการก่อสร้างโครงการรถเมล์ด่วน BRT นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก พร้อมก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 2567

    โดยการให้บริการจะเปิดตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลักของรถเมล์ด่วน BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการยังมีการพัฒนาการบริหารที่จอดรถ ระบบบริหารการจราจร และบริการรถสามล้อไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย อ่านรายละเอียดโครงการที่เว็บไซต์ https://utms.la

    #Newskit
    รถเมล์ด่วน BRT สายแรกในลาว คืบ 36% คาดทดลองใช้ปลายปี 68 สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว (LNR) รายงานความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการขนส่งแบบยั่งยืนในตัวเมืองนครหลวงเวียงจันทน์ (VSUTP) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) พบว่ามีความคืบหน้าแล้ว 36% โดยเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. คณะของกระทรวงโยธาธิการและขนส่งได้เยี่ยมชมโครงการ เริ่มจากศูนย์ควบคุมรถเมล์ กม.16 บ้านโพคำ เมืองไชทานี และทดลองนั่งรถเมล์ไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันรถเมล์ไฟฟ้า 55 คัน ได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์เรียบร้อยแล้ว จากนั้นได้เยี่ยมชมการก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ สถานีมหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก สถานีโพนสะอาด สถานีใกล้วัดธาตุฝุ่น และอีกหลายแห่ง ปัจจุบันการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับรถเมล์ด่วน BRT ตั้งแต่สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงหน้ามหาวิทยาลัยแห่งชาติ ดงโดก ระยะทางรวม 12.9 กิโลเมตร คืบหน้าแล้วประมาณ 36% คาดว่าจะแล้วเสร็จและเปิดทดลองให้บริการรถเมล์ด่วนในปลายปี 2568 ที่ผ่านมาทางโครงการฯ ได้ติดตามผู้รับจ้างก่อสร้างจุดขึ้น-ลงรถเมล์ 27 จุดอย่างต่อเนื่อง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 8 พ.ย. รถโดยสารปรับอากาศพลังงานไฟฟ้า 40 ที่นั่ง ยาว 12 เมตร ยี่ห้อ Cherry Wanda ชุดแรก 28 คัน ที่นำเข้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มาถึงสถานีด่านขนส่งสินค้ารถไฟเวียงจันทน์ใต้ โดยรถดังกล่าวผลิตจากโรงงานในเมืองกุ้ยหยาง มณฑลกุ้ยโจว ขนส่งผ่านทางรถไฟ เข้าสู่ประเทศลาวผ่านด่านรถไฟสากลบ่อเต็น ภายหลังสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งชาติลาว ระบุว่า รถโดยสารทั้งหมดได้มาถึงนครหลวงเวียงจันทน์ครบทั้ง 55 คันแล้ว สำหรับการก่อสร้างโครงการรถเมล์ด่วน BRT นครหลวงเวียงจันทน์ เริ่มต้นตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2567 ที่ผ่านมา โดยก่อสร้างช่องจราจรรถเมล์ด่วน และสถานี BRT แบ่งเป็น 2 สัญญา ได้แก่ สวนเจ้าฟ้างุ้ม ถึงประตูชัย และประตูชัย ถึงมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ดงโดก พร้อมก่อสร้างอู่รถเมล์ ศูนย์ซ่อมบำรุง และศูนย์ควบคุมการเดินรถเมล์ BRT ก่อสร้างทางร่วม ปรับปรุงทัศนียภาพ และติดตั้งไฟสัญญาณจราจร จำนวน 41 จุด ครอบคลุม 5 ตัวเมือง สิ้นสุดเดือน ธ.ค. 2567 โดยการให้บริการจะเปิดตั้งแต่ 06.00-22.00 น. คิดค่าโดยสารเป็น 2 ระยะ คือ ระยะสั้นใจกลางเมือง 3,500 กีบ ระยะยาวไปยังชานเมือง 8,000 กีบ ชำระเงินผ่านบัตรสมาร์ทการ์ด ที่สถานีหลักของรถเมล์ด่วน BRT และร้านสะดวกซื้อที่ร่วมโครงการ นอกจากนี้ ในโครงการยังมีการพัฒนาการบริหารที่จอดรถ ระบบบริหารการจราจร และบริการรถสามล้อไฟฟ้า เพื่อจูงใจให้ผู้ใช้รถยนต์ส่วนตัวและรถจักรยานยนต์ หันมาใช้บริการขนส่งสาธารณะอีกด้วย อ่านรายละเอียดโครงการที่เว็บไซต์ https://utms.la #Newskit
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 499 มุมมอง 0 รีวิว
  • 3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก

    ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก

    น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล

    "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ"

    ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที

    ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น

    #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    3 ปี ไทยสมายล์บัส น้อมรับความไม่สะดวก ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ของไทย สมายล์ บัส ผู้ประกอบการเดินรถโดยสารประจำทางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล นับตั้งแต่แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการที่สาขาเอกชัย จ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2564 ปัจจุบันมีรถบัสพลังงานไฟฟ้า 2,350 คัน ให้บริการ 123 เส้นทาง พร้อมกัปตันเมล์ (พนักงานขับรถ) 2,500 คน บัสโฮสเตส (พนักงานเก็บค่าโดยสาร) 2,300 คน อู่สาขากว่า 24 สาขา เรือโดยสารพลังงานไฟฟ้ากว่า 40 ลำ ให้บริการ 3 เส้นทาง กัปตันและลูกเรือกว่า 200 คน อาจเรียกได้ว่าเป็น 3 ปีแบบก้าวกระโดด พร้อมกับการปฎิรูปรถเมล์ที่กรมการขนส่งทางบกเป็นเจ้าภาพหลัก น.ส.กุลพรภัสร์ วงศ์มาจารภิญญา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไทย สมายล์ บัส เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา พิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถทำให้ระบบขนส่งมวลชนที่ถูกละเลย มีรถเมล์พลังงานไฟฟ้าให้บริการกว่า 2,000 คัน และมีเทคโนโลยีทันสมัย มีโรงเรียนฝึกอบรมบุคลากร ปัจจุบันบริษัทฯ ลงทุนพัฒนาจุดชาร์จ อู่สาขาทั่วกรุงเทพฯ และปริมณฑล ให้เป็นโครงสร้างพื้นฐานของการพัฒนา เติบโตไปพร้อมกับสังคม สิ่งแวดล้อม ด้วยแนวคิด ESG ในทุกมิติ เช่น ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สร้างการจ้างงาน ดูแลผู้โดยสาร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ บริหารด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีธรรมาภิบาล "ตนได้ลงพื้นที่ไปรอรถเมล์อยู่ข้างๆ ผู้โดยสารทุกคนตั้งแต่ช่วงเช้าถึงค่ำ เพื่อให้เข้าใจปัญหา ไปอยู่กับหน้างานจริง ซึ่งยอมรับว่า ยังได้เห็นความไม่สะดวกในหลายจุด ในฐานะผู้บริหารขอน้อมรับฟังทุกคำติชม และจะนำไปปรับปรุง พัฒนาต่อไปเพื่อให้พี่น้องคนไทยได้มีรถเมล์คุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศ" ที่ผ่านมาได้พัฒนาระบบ Fleet Management งานบริหารจัดการหลังบ้าน กล้อง CCTV เพื่อตรวจสอบคุณภาพการให้บริการ พัฒนาการปล่อยรถ รวมถึงการนำเทคโนโลยีไปปรับปรุงข้อติดขัดต่างๆ พร้อมกับพัฒนาบุคลากร อาทิ โครงการสมาร์ทกัปตัน คัดเลือกพนักงานที่อยู่ในสายรถ ให้เข้ามาเป็นผู้ดูแลสายรถนั้นๆ เพื่อต่อยอดอาชีพ สร้างคุณค่า เพิ่มรายได้ให้กับพนักงานอีก 100 คน รวมทั้งพัฒนาแอปพลิเคชัน TSB Go Plus+ สามารถเติมเงินและอัปเดตยอดบัตร HOP CARD ผ่านระบบ NFC ได้ทันที ในอนาคต ไทยสมายล์บัสจะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อตอบแทนลูกค้า มีสิทธิประโยชน์เฉพาะผู้ถือบัตร HOP CARD ให้ร่วมสนุก มีฟังก์ชันใหม่ๆ ให้ได้ทดลองใช้ และมีพันธมิตรอีกหลายรายที่จะเข้าร่วม ควบคู่กับการแก้ไขปัญหา ยกระดับการให้บริการ หวังคนรุ่นใหม่หันมาใช้รถสาธารณะกันมากขึ้น #Newskit #ThaiSmileBus #รถเมล์ไฟฟ้า
    Like
    Haha
    5
    1 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1336 มุมมอง 0 รีวิว