กรณีมายาเกวซ (Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ที่รวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12-15 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) ในเกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองพระสีหนุ/กำปงโสม (ក្រុងព្រះសីហនុ,កំពង់សោម;Sihanoukville) จังหวัดพระสีหนุ (ព្រះសីហនុ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา
เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกาชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของเขมรแดง (ខ្មែរក្រហម,Khmer Rouge) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)
รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำโดยน.ท.เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Rudolph Ford Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ.2517-20 มกราคม พ.ศ.2520) ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประมาณ 1,000 นาย (ประกอบด้วยกองพันที่ 1,กรมนาวิกโยธินที่ 4,กองพันที่ 2,กรมนาวิกโยธินที่ 9,กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21,ฝูงบินกู้ภัยและฟื้นฟูการบินและอากาศที่ 40,ฝูงบินสนับสนุนทางอากาศทางยุทธวิธีที่ 23,กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 3,เรือยูเอสเอส เฮนรี่ บี. วิลสัน,เรือยูเอสเอส แฮโรลด์ อี. โฮลต์,เรือยูเอสเอส คอรัลซี ฝูงบินบรรทุกเรือเครื่องบินที่ 15) จากเกาะโอกินาว่าและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพสหรัฐฯที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา (โคราช) ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้
ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที
ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว สุดท้ายสหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 2519 (1976)
เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกาชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของเขมรแดง (ខ្មែរក្រហម,Khmer Rouge) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)
รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำโดยน.ท.เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Rudolph Ford Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ.2517-20 มกราคม พ.ศ.2520) ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประมาณ 1,000 นาย (ประกอบด้วยกองพันที่ 1,กรมนาวิกโยธินที่ 4,กองพันที่ 2,กรมนาวิกโยธินที่ 9,กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21,ฝูงบินกู้ภัยและฟื้นฟูการบินและอากาศที่ 40,ฝูงบินสนับสนุนทางอากาศทางยุทธวิธีที่ 23,กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 3,เรือยูเอสเอส เฮนรี่ บี. วิลสัน,เรือยูเอสเอส แฮโรลด์ อี. โฮลต์,เรือยูเอสเอส คอรัลซี ฝูงบินบรรทุกเรือเครื่องบินที่ 15) จากเกาะโอกินาว่าและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพสหรัฐฯที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา (โคราช) ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้
ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที
ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว สุดท้ายสหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 2519 (1976)
กรณีมายาเกวซ (Mayaguez incident) เป็นปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ที่รวดเร็ว เริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 12-15 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) ในเกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองพระสีหนุ/กำปงโสม (ក្រុងព្រះសីហនុ,កំពង់សោម;Sihanoukville) จังหวัดพระสีหนุ (ព្រះសីហនុ) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศกัมพูชา
เวลาประมาณ 15.20 น. ของวันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2518 (ค.ศ.1975) เรือบรรทุกสินค้าซึ่งใช้บรรทุกเวชภัณฑ์และเสบียงสัญชาติอเมริกาชื่อ เอสเอส มายาเกวซ (SS Mayaguez) ซึ่งแล่นระหว่างฮ่องกงกับประเทศไทย ขณะที่แล่นอยู่ห่างจากชายฝั่งของประเทศกัมพูชา 60 ไมล์ ซึ่งถือเป็นเขตน่านน้ำสากล ได้ถูกเรือปืนจำนวนหลายลำของเขมรแดง (ខ្មែរក្រហម,Khmer Rouge) เข้าล้อมและบุกยึด จับตัวประกันซึ่งเป็นกัปตันและลูกเรือไว้ได้ทั้งหมด 39 คน จากนั้นได้ลากไปจอดลอยลำทิ้งสมอไว้ที่เกาะตาง (កោះតាង,Koh Tang) ใกล้กับเมืองกำปงโสม (เมืองพระสีหนุในปัจจุบัน)
รัฐบาลสหรัฐฯภายใต้การนำโดยน.ท.เจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Rudolph Ford Jr.) ประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนที่ 38 (9 สิงหาคม พ.ศ.2517-20 มกราคม พ.ศ.2520) ได้ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนส่งกองกำลังทหารซึ่งส่วนมากเป็นนาวิกโยธินสหรัฐฯ ประมาณ 1,000 นาย (ประกอบด้วยกองพันที่ 1,กรมนาวิกโยธินที่ 4,กองพันที่ 2,กรมนาวิกโยธินที่ 9,กองบินปฏิบัติการพิเศษที่ 21,ฝูงบินกู้ภัยและฟื้นฟูการบินและอากาศที่ 40,ฝูงบินสนับสนุนทางอากาศทางยุทธวิธีที่ 23,กองบินรบทางยุทธวิธีที่ 3,เรือยูเอสเอส เฮนรี่ บี. วิลสัน,เรือยูเอสเอส แฮโรลด์ อี. โฮลต์,เรือยูเอสเอส คอรัลซี ฝูงบินบรรทุกเรือเครื่องบินที่ 15) จากเกาะโอกินาว่าและอ่าวซูบิก เข้าประจำการที่สนามบินนานาชาติอู่ตะเภา (U-Tapao Rayong-Pattaya International Airport) ในพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อใช้เป็นฐานในการปฏิบัติการบุกยึดเรือและตัวประกันคืน ในวันที่ 13 พฤษภาคม โดยปฏิบัติการเริ่มขึ้นในเช้ามืดของวันที่ 14 พฤษภาคม โดยมีเครื่องบินรบจากฐานทัพสหรัฐฯที่จังหวัดอุดรธานีและนครราชสีมา (โคราช) ออกปฏิบัติการร่วมด้วย และประสบความสำเร็จในเวลาประมาณ 11.00 น. โดยสามารถจมเรือปืนของเขมรแดงลงได้ 3 ลำ มีความสูญเสียด้วยกันของทั้งสองฝ่าย แต่สามารถช่วยเหลือตัวประกัน รวมถึงลูกเรือประมงของไทยจำนวน 5 คนออกมาได้
ทว่าปฏิบัติการดังกล่าว ทางการสหรัฐใช้ฐานบินอู่ตะเภาทั้งที่รัฐบาลไทยขณะนั้นไม่อนุญาตอย่างชัดแจ้ง ในวันที่ 17 พฤษภาคม ได้มีกลุ่มนักศึกษาและประชาชน 30,000 คน นำโดยธีรยุทธ บุญมี ประท้วงที่หน้าสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย (Embassy of the United States, Bangkok) ฝ่ายรัฐบาลไทยเรียกว่าเป็นการละเมิดอธิปไตยของไทย และให้สหรัฐถอนทหารออกจากอู่ตะเภาในทันที
ในที่สุดเหตุการณ์จบลงในวันที่ 19 พฤษภาคม หลังจากการชุมนุมยืดเยื้อนานถึง 3 วัน เมื่ออุปทูตสหรัฐฯประจำประเทศไทยได้ส่งสาสน์แสดงความเสียใจต่อการกระทำดังกล่าว สุดท้ายสหรัฐฯถอนกำลังทหารออกจากประเทศไทยหมดสิ้นในปี 2519 (1976)
0 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
8 มุมมอง
0 รีวิว