• พรุโต๊ะแดง” มหัศจรรย์ป่าพรุใต้ร่มพระบารมี/ปิ่น บุตรี ผู้เขียน

    “พรุเราต้องเก็บไว้ เพราะมีความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องห้ามไม่ให้บุกรุกเข้าไป คราวนี้เราทำโครงการที่โคกใน เขาจะบุกรุกเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะจำกัดบริเวณเขา ในพรุเราก็ส่งเสริมเอาไม้พรุเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างตามข้างทางนี้สวยมากเห็นไม้ต่างๆ ไม้หลาวชะโอนก็มี”

    “การกำหนดขอบเขตป่าพรุ ควรกำหนดขอบเขตป่าพรุให้แน่นอน เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ อันจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหมด”

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริไว้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535

    “ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรียวัตถุ

    ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด

    สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง

    “มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งไปเยือนศูนย์ฯแห่งนี้หนล่าสุดว่า ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าผืนสำคัญของชาวนราธิวาสมาช้านาน มีทั้งตำนานเรื่องเล่าความเชื่อ เกี่ยวกับที่มาของผืนป่าแห่งนี้ ปัจจุบันแม้ชื่อจริงๆของป่าพรุแห่งนี้จะเรียกขานกันว่า “ป่าพรุโต๊ะแดง” แต่เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมายังป่าพรุแห่งนี้หลายครั้ง หลายๆคนจึงยกให้เป็นดังป่าพรุของสมเด็จพระเทพฯ แล้วพากันนิยมเรียกขานป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร”

    ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปัจจุบันเป็นป่าพรุขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคุณประโยชน์อันหลากหลายทั้งทางตรงทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์เรา
    อย่างไรก็ดีในอดีตป่าพรุโต๊ะแดงและบริเวณใกล้เคียงได้ถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งจากการบุกรุกแผ้วถางป่าพรุ การทำการเกษตรที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงการเกิดไฟป่า(ที่มีทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) ส่งผลให้ป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสถูกทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย
    กระทั่งในปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปพระราชฐานไปยัง พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ความทราบสู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่บริเวณป่าพรุ พระองค์ท่านจึงมีพระราชดำริเป็นแนวทางในการฟื้นฟูป่าพรุ

    หลังจากนั้นป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสก็ได้รับการฟื้นฟูเรื่อยมา โดยในแนวทางการฟื้นฟูป่าพรุนั้น ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าพรุและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เช่น การป้องกันไฟไหม้ป่าพรุ การบริหารจัดการน้ำในป่าพรุ การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าพรุอย่างถูกวิธี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
    อ่านต่อ >>> https://mgronline.com/travel/detail/9590000110516 <<<<<

    #ป่าพุโต๊ะแดง

    พรุโต๊ะแดง” มหัศจรรย์ป่าพรุใต้ร่มพระบารมี/ปิ่น บุตรี ผู้เขียน “พรุเราต้องเก็บไว้ เพราะมีความสำคัญเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ต้องห้ามไม่ให้บุกรุกเข้าไป คราวนี้เราทำโครงการที่โคกใน เขาจะบุกรุกเข้าไปไม่ได้อีกแล้ว เพราะจำกัดบริเวณเขา ในพรุเราก็ส่งเสริมเอาไม้พรุเพิ่มประสิทธิภาพ อย่างตามข้างทางนี้สวยมากเห็นไม้ต่างๆ ไม้หลาวชะโอนก็มี” “การกำหนดขอบเขตป่าพรุ ควรกำหนดขอบเขตป่าพรุให้แน่นอน เพื่อป้องกันการบุกรุกพื้นที่ อันจะทำให้สภาพแวดล้อมเสียหมด” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริไว้เมื่อ วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2535 “ป่าพรุ” เป็นป่าลักษณะพิเศษ เป็นป่าไม้ทึบไม่ผลัดใบประเภทหนึ่ง มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปะปนกัน ส่วนใหญ่เป็นต้นไม้ที่ไม่ได้ขึ้นบน“ดินพรุ”ที่เกิดจากสะสมตัวของซากอินทรียวัตถุ ป่าพรุมีลักษณะเด่นที่สำคัญยิ่ง คือ เป็นป่าดงดิบที่มีน้ำท่วมขังอยู่ตลอด สำหรับหนึ่งในป่าพรุผืนสำคัญยิ่งของเมืองไทยก็คือ “ป่าพรุโต๊ะแดง” ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดนราธิวาส ปัจจุบันมีเนื้อที่กว่า 120,000 ไร่ (มีส่วนที่สมบูรณ์จริงๆประมาณ 50,000 ไร่) ครอบคลุมพื้นที่ 4 อำเภอในจังหวัดนราธิวาส ได้แก่ อำเภอสุไหงโก-ลก อำเภอตากใบ อำเภอสุไหงปาดี และอำเภอเมือง “มาเณศ บุณยานันต์” หัวหน้าศูนย์วิจัยและศึกษาธรรมชาติป่าพรุสิรินธร เล่าให้ผมฟังเมื่อครั้งไปเยือนศูนย์ฯแห่งนี้หนล่าสุดว่า ป่าพรุโต๊ะแดงเป็นป่าผืนสำคัญของชาวนราธิวาสมาช้านาน มีทั้งตำนานเรื่องเล่าความเชื่อ เกี่ยวกับที่มาของผืนป่าแห่งนี้ ปัจจุบันแม้ชื่อจริงๆของป่าพรุแห่งนี้จะเรียกขานกันว่า “ป่าพรุโต๊ะแดง” แต่เนื่องจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯมายังป่าพรุแห่งนี้หลายครั้ง หลายๆคนจึงยกให้เป็นดังป่าพรุของสมเด็จพระเทพฯ แล้วพากันนิยมเรียกขานป่าพรุแห่งนี้ว่า “ป่าพรุสิรินธร” ป่าพรุโต๊ะแดง หรือ ป่าพรุสิรินธร มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ปัจจุบันเป็นป่าพรุขนาดใหญ่ผืนสุดท้ายที่ยังคงความอุดมสมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และมีคุณประโยชน์อันหลากหลายทั้งทางตรงทางอ้อมต่อสภาพแวดล้อมและมนุษย์เรา อย่างไรก็ดีในอดีตป่าพรุโต๊ะแดงและบริเวณใกล้เคียงได้ถูกทำลายลงจากน้ำมือมนุษย์ ทั้งจากการบุกรุกแผ้วถางป่าพรุ การทำการเกษตรที่ผิดวิธี การใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าพรุอย่างไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ รวมถึงการเกิดไฟป่า(ที่มีทั้งเกิดจากธรรมชาติและฝีมือมนุษย์) ส่งผลให้ป่าพรุโต๊ะแดงและป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสถูกทำลายกลายเป็นป่าเสื่อมโทรม ใช้ประโยชน์ได้เพียงส่วนน้อย กระทั่งในปี พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินแปพระราชฐานไปยัง พระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ จ.นราธิวาส ความทราบสู่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่บริเวณป่าพรุ พระองค์ท่านจึงมีพระราชดำริเป็นแนวทางในการฟื้นฟูป่าพรุ หลังจากนั้นป่าพรุโต๊ะแดง และป่าพรุอื่นๆในจังหวัดนราธิวาสก็ได้รับการฟื้นฟูเรื่อยมา โดยในแนวทางการฟื้นฟูป่าพรุนั้น ได้มุ่งเน้นการส่งเสริมให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่ป่าพรุและมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์พัฒนาพื้นที่ป่าพรุ เช่น การป้องกันไฟไหม้ป่าพรุ การบริหารจัดการน้ำในป่าพรุ การทำการเกษตรในพื้นที่ป่าพรุอย่างถูกวิธี ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เป็นต้น อ่านต่อ >>> https://mgronline.com/travel/detail/9590000110516 <<<<< #ป่าพุโต๊ะแดง
    Love
    1
    0 Comments 0 Shares 261 Views 0 Reviews