• ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต

    บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น

    แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ

    แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด

    ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน

    ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้"

    ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น

    #Newskit #ประกาศขออภัย
    ประกาศขออภัย.jpg สูตรสำเร็จแก้วิกฤต บ่อยครั้งที่เมื่อมีวิกฤตเกิดขึ้นกับแบรนด์ อินโฟกราฟิก "ประกาศขออภัย" มักจะถูกนำมาใช้สื่อสารผ่านทางโซเชียลมีเดีย ตามหลักบริหารจัดการ การสื่อสารในภาวะวิกฤต (Crisis Management) เมื่อเกิดปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อองค์กร พนักงาน โดยเฉพาะภาพลักษณ์ที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ ชื่อเสียง เกียรติภูมิ และอาจรวมไปถึงผู้มีส่วนได้เสีย กรณีที่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอาจกระทบต่อผู้ถือหุ้น แต่บ่อยครั้งที่พบว่า ประกาศขออภัยมักจะไม่ระบุข้อความที่เป็นตัวหนังสือ หรือแคปชัน (Caption) กำกับลงไปด้วย แม้จะอ้างได้ว่าเพื่อให้สามารถกระจายได้หลายแพลตฟอร์ม และลดความซ้ำซ้อน แต่การไม่กำกับข้อความ อีกนัยยะหนึ่งคือการไม่พึงปรารถนาที่จะให้ข้อความดังกล่าว ถูกปรากฎและบันทึกเป็นร่องรอยดิจิทัล (Digital Footprint) ในอนาคต แม้อาจจะไม่ได้ผลเมื่อมีเทคโนโลยี แปลงภาพเป็นข้อความ และสำนักข่าวต่างๆ นำเนื้อหาประกาศขออภัยไปเผยแพร่ต่อ แถลงการณ์จากช่องวัน 31 ขอโทษกรณีความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดงในซีรีย์แม่หยัว ลงวันที่ 10 พ.ย. 2567 ก็เช่นกัน ระบุแคปชันว่า "แถลงการณ์จากช่องวัน31" แต่เนื้อหาของแถลงการณ์อยู่ในอินโฟกราฟิกทั้งหมด ระบุว่า "ตามที่มีกระแสข่าวถึงความไม่เหมาะสมของฉากที่ใช้แมวร่วมแสดง ในซีรีส์ “แม่หยั่ว” จนเกิดความไม่สบายใจของผู้ชมนั้น ช่องวัน 31 ขอชี้แจงว่า ทางเราคํานึงถึงสวัสดิภาพและความปลอดภัย ของสัตว์เป็นสําคัญ โดยแมวที่นํามาถ่ายทํานั้นมาจากบริษัทโมเดลลิ่งสัตว์ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการนําสัตว์ร่วมถ่ายทําละครและภาพยนตร์โดยเฉพาะ มากว่า 10 ปี และเป็นเจ้าของแมวตัวดังกล่าว รวมถึงเป็นผู้ดูแลแมวตลอด ระยะเวลาการถ่ายท่าในทุกขั้นตอน ช่องวัน 31 รู้สึกเสียใจและขอโทษกับเหตุการณ์ครั้งนี้ ที่ทําให้ผู้ชม เกิดความรู้สึกที่ไม่สบายใจ เราจะนําข้อชี้แนะ ความคิดเห็น กลับไปพิจารณา ในการทํางานร่วมกับสัตว์ และระมัดระวังไม่ให้เหตุการณ์ในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก ช่องวัน 31 ขอน้อมรับ และขอขอบคุณทุกความคิดเห็นมา ณ ที่นี้" ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของ "ประกาศขออภัย.jpg" แบบไม่ระบุแคปชัน ที่กลายเป็นสูตรสำเร็จในการจัดการกับภาวะวิกฤต ในหลายองค์กร ซึ่งในสายตาของผู้รับสารอาจตีความได้หลากหลาย ส่วนจะเป็นการขอโทษอย่างจริงใจหรือไม่ ผู้รับสารจะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งต้องพิจารณาหลายองค์ประกอบ เช่น การตอบสนองต่อเหตุการณ์ในภาวะวิกฤตว่า ใช้เวลาชี้แจงกับสังคมนานเพียงใด ความคืบหน้าในการจัดการกับปัญหาโดยที่ผู้รับสารเห็นภาพ การแก้ไขปัญหาและการป้องกันในอนาคตที่ไม่ใช่แค่คำมั่นสัญญา เป็นต้น #Newskit #ประกาศขออภัย
    Like
    2
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 478 มุมมอง 0 รีวิว