• เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง

    สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้

    เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย

    เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว

    เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย

    นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา)

    อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน

    จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://xinzhuobu.com/?p=4593
    http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959
    https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663
    http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html
    http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html
    https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890
    http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。
    https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm
    https://www.sohu.com/a/515579803_422134
    https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml

    #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    เมืองลั่วหยางสมัยราชวงศ์ถัง สืบเนื่องจาก Storyฯ ได้คุยถึงผังเมืองของนครฉางอันไปเมื่อก่อนปีใหม่ (https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/pfbid02cQKRgfWrxcLutCyxbav8Gf7oz28wFuamLUEMyAg6ZGgK1FC6zJZJtCkiwG45Nrvnl) มีเพื่อนเพจถามถึงเมืองลั่วหยาง Storyฯ เลยไปหาข้อมูลมาสรุปให้ฟังกันในวันนี้ เมืองลั่วหยางเป็นเมืองโบราณที่สำคัญของหลายราชวงศ์ แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ที่เดียวกันตลอดทุกยุคทุกสมัย (ดูรูปประกอบ 2 ซ้าย) และสถานะของเมืองก็แตกต่างไปตามยุคสมัยอีกด้วย เมืองลั่วหยางในสมัยถังแรกเริ่มเป็นเมืองหลวงรองเรียกว่านครตะวันออก (ตงตู / 东都) โดยมีนครฉางอันเป็นเมืองหลวงหลัก และตลอดยุคสมัยราชวงศ์ถังนี้เอง สถานะของลั่วหยางผันแปรไปมา ในบางรัชสมัยก็ขึ้นเป็นเมืองหลวงหลักเทียบเท่าฉางอัน ในบางรัชสมัยเป็นเมืองหลวงรอง และในสมัยของพระนางบูเช็คเทียน ลั่วหยางมีสถานะเป็นเมืองหลวงหลักในขณะที่ฉางอันกลายเป็นเมืองหลวงรอง โดยในสมัยของพระนางบูเช็คเทียนนั้น ลั่วหยางถูกเรียกว่า ‘เสินตู’ (神都 แปลตรงตัวว่าเทพนคร ... อ๊ะ... ที่แท้ก็ความหมายเดียวกับกรุงเทพฯ ของเรา!) แต่หลังจากนั้นสถานะของเมืองลั่วหยางก็แปรเปลี่ยนไปมาระหว่างเมืองหลวงหลักและเมืองหลวงรองอีกหลายครั้ง จนในปลายสมัยถัง ฉางอันถูกโจมตีเสียหายมาก ลั่วหยางจึงถูกใช้เป็นเมืองหลวงหลักจนสิ้นราชวงศ์ถังในปีค.ศ. 907 แต่หลังจากนั้นมาลั่วหยางก็ไม่เคยเป็นเมืองหลวงหลักของจีนอีกเลย เมืองลั่วหยางในสมัยถังมีขนาดประมาณ 7.3 x 7 กิโลเมตร ถนนที่นี่ไม่ใหญ่เท่าที่ฉางอัน ถนนใหญ่กว้าง 40-60 เมตร (เล็กกว่าถนนจูเชวี่ยที่ฉางอัน แต่ก็เทียบเท่าประมาณ 13-20 เลนแล้ว!) ถนนเล็กกว้างประมาณ 10 เมตร พื้นที่ถูกแบ่งเป็นเขตฟางเช่นเดียวกับนครฉางอัน มีทั้งสิ้น 103 เขตฟาง กว้างยาวเขตฟางละประมาณ 500-600 เมตร มีกำแพงและประตูเข้าออกของตนเองเหมือนกับที่ฉางอัน เขตที่อยู่อาศัยของเมืองลั่วหยางแบ่งออกเป็น 3 พื้นที่ คือโซนเหนือแม่น้ำลั่ว โซนใต้แม่น้ำลั่ว และโซนตะวันตก ในแต่ละโซนมีตลาดของมันเอง (ดูรูปประกอบ 2 ขวา) แม้ว่าจำนวนเขตฟางจะน้อยกว่านครฉางอัน แต่เมืองลั่วหยางก็แออัดใช่ย่อย... มันเคยมีประชากรสูงถึงกว่าสองล้านคน และเพราะมันตั้งอยู่บนแม่น้ำลั่ว อยู่ไม่ไกลจากแม่น้ำเหลือง (ฮวงโห) อีกทั้งมีคลองใหญ่ต้าอวิ้นเหอ และเส้นทางบกหลายสายผ่านแนวเขาที่จัดว่าไม่สูงชัน เส้นทางคมนาคมจึงเอื้อต่อการขนส่ง ที่นี่จึงเป็นเมืองที่การค้าขายเจริญคึกคักนัก ว่ากันว่าตลาดใต้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของเมืองนั้น มีกว่า 3,000 ร้านค้าเลยทีเดียว เมืองลั่วหยางถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในเมืองที่มีฮวงจุ้ยดีที่สุดของจีน Storyฯ ก็ไม่เชี่ยวชาญศาสตร์แขนงนี้ แต่พอจะสรุปจากข้อมูลที่หาได้ว่า เป็นเพราะมันตั้งอยู่บนหนึ่งในสามมังกรที่ใหญ่ที่สุดของแผ่นดินจีนตามแนวเทือกเขาและแม่น้ำสายหลัก หรือที่จีนเรียกว่า ‘หลงม่าย’ (龙脉 แปลว่าชีพจรหรือเส้นเอ็นมังกร ไม่ใช่หลงใหลในแม่ม่ายนะจ๊ะ) ซึ่งในหลากหลายตำราอาจพูดถึงจำนวนมังกรที่แตกต่างกันไปและอาจมีรายละเอียดที่ไม่เหมือนกันทีเดียว แต่ส่วนใหญ่จะกล่าวถึงมังกรสามสายหลักที่เริ่มจากเขาคุนลุ้นทางตะวันตกมุ่งหน้าสู่ทะเลทางทิศตะวันออก (ดูรูปประกอบ 3 ซ้าย) เมืองลั่วหยางตั้งอยู่บนมังกรตัวกลาง ซึ่งตามศาสตร์ฮวงจุ้ย มังกรจะช่วยเสริมดวง เสริมทรัพย์และปกปักษ์รักษาให้แคล้วคลาดปลอดภัย นอกจากนี้ มันตั้งอยู่บนพื้นที่ราบที่โอบล้อมด้วยแม่น้ำเหลือง แม่น้ำลั่วและแม่น้ำอื่นๆ รวม 5 สาย ด้านเหนือของเมืองคือแนวเขาหมางซาน ด้านอื่นๆ มีภูเขาเช่นกัน มีลักษณะที่เรียกว่าเป็นพื้นที่ขุมทรัพย์ และในความเป็นจริง เมืองลั่วหยางอุดมสมบูรณ์ไม่ค่อยประสบภัยธรรมชาติ เพียงแต่แรกเริ่มถูกมองว่าชัยภูมิไม่เหมาะต่อการใช้เป็นเมืองหลวงเนื่องจากง่ายต่อการโจมตี ภายหลังจึงมีการสร้างด่านต่างๆ นอกเมืองขึ้นมารวม 8 ด่านเพื่อแก้จุดนี้ (ดูรูปประกอบ 3 ขวา) อนึ่ง เขาหมางซานทางทิศเหนือของเมืองลั่วหยางนี้ ว่ากันว่าเป็นภูเขาที่มีฮวงจุ้ยที่ดีที่สุดจนถึงกับมีวลีโบราณที่ว่า “ยามเป็นควรอยู่ในซูหาง (คือซูโจวและหางโจว) ยามตายควรฝังที่หมางซาน” จริงไม่จริงไม่ทราบ... แต่ที่แน่ๆ บนหมางซานมีสุสานกษัตริย์โบราณที่ขุดพบแล้วถึง 24 หลุมจาก 6 ราชวงศ์ ไม่นับสุสานของเชื้อพระวงศ์ ขุนนางระดับสูงและคนดังในอดีตอีกหลายคน จริงๆ ในตำราฮวงจุ้ยมีบรรยายละเอียดกว่านี้ถึงข้อดีของที่ตั้งของเมืองลั่วหยาง แต่ Storyฯ ไม่สามารถเก็บรายละเอียดมาได้หมด เพื่อนเพจที่มีความรู้เรื่องนี้ขอเชิญเข้ามาแบ่งปันความรู้ได้ค่ะ (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพและข้อมูลรวบรวมจาก: https://xinzhuobu.com/?p=4593 http://www.xinhuanet.com/ent/20211209/11730dc352064a5e8c743656fad3dc44/c.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/442706959 https://www.mdpi.com/2073-445X/12/3/663 http://www.kaogu.cn/cn/kaoguyuandi/kaogubaike/2015/0316/49566.html http://www.zhlscm.com/news/?49_3719.html https://zhuanlan.zhihu.com/p/420714890 http://wwj.ly.gov.cn/bencandy.php?fid=125&id=13457#:~:text=隋朝,581年隋,为首都,两京并重。 https://en.chinaculture.org/library/2008-02/15/content_33624.htm https://www.sohu.com/a/515579803_422134 https://news.lyd.com.cn/system/2020/08/25/031785380.shtml #ตำนานลั่วหยาง #เมืองลั่วหยาง #มังกรจีน #ฮวงจุ้ยเมืองลั่วหยาง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 80 มุมมอง 0 รีวิว
  • ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง

    ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่

    ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม)

    ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด

    คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี

    จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน

    และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น

    แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง

    ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง

    นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย

    (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)

    Credit รูปภาพจาก:
    https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl
    Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
    https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760
    https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1
    http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html
    https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html

    #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    ปู้เหลียงเหรินแห่งสมัยถัง ในซีรีส์เรื่อง <ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก> มีกล่าวไว้ แคว้นอู๋มีลิ่วเต้าเหมิน แคว้นอันมีองครักษ์เสื้อแดง และแคว้นฉู่มีปู้เหลียงเหริน โดยที่เหรินหรูอี้ถูกเข้าใจว่าเป็นปู้เหลียงเหรินจากแคว้นฉู่ ซีรีส์เรื่องนี้เป็นอาณาจักรและยุคสมัยสมมุติ ลิ่วเต้าเหมินและองครักษ์เสื้อแดงไม่มีจริงในประวัติศาสตร์ แต่ในสมัยราชวงศ์หมิงมีมือปราบลิ่วซ่านเหมินและมีองค์รักษ์เสื้อแพร (Storyฯ เคยเขียนถึงแล้ว ลองค้นอ่านย้อนหลังจากสารบัญบนเพจนะคะ) ส่วนปู้เหลียงเหรินนั้น มีอยู่จริงในสมัยถัง เพื่อนเพจบางท่านอาจพอจำได้ว่าในเรื่อง <ตำนานลั่วหยาง> และ <ฉางอันสิบสองชั่วยาม> มีปู้เหลียงเหรินปรากฏด้วย (แต่จำไม่ได้แล้วว่าซับไทยแปลไว้แตกต่างกันไหม) ในบันทึกเกร็ดประวัติของสมัยชิงมีเขียนถึงโดยคร่าวว่า ผู้มีหน้าที่การสืบตามและจับกุมคนร้ายนั้น ในสมัยถังเรียกว่าปู้เหลียงเหริน มีหัวหน้าเรียกว่าปู้เหลียงซ่วย สถานะเปรียบได้เป็นต้าสุยเหอของราชวงศ์ฮั่น (แต่... ต้าสุยหรือต้าสุยเหอนี้ ในสมัยฮั่นคือราชองครักษ์รักษาพระราชวังที่ประจำการอยู่หน้าประตูวัง) และตามพจนานุกรมฉบับสุยถังและห้าราชวงศ์ที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 1997 นั้น อธิบายถึงปู้เหลียงเหรินไว้ว่าเป็นคนที่ปฏิบัติภารกิจของทางการในสมัยถัง มีหน้าที่ตามสืบและจับกุมผู้กระทำความผิด คำว่า ‘ปู้เหลียงเหริน’ แปลตรงตัวว่าคนไม่ดี แล้วทำไมจึงใช้ชื่อนี้? คำตอบยังเป็นที่ถกกันจวบจนปัจจุบันเพราะไม่มีเอกสารยืนยันชัดเจน บ้างก็ว่าเป็นเพราะวิธีการสืบหาและจับคนร้ายของพวกเขานั้นโหดร้ายและสกปรก บ้างก็ว่าจริงแล้วพวกเขาเป็นอดีตอาชญากรที่ทางการให้ปฏิบัติภารกิจเพื่อสร้างผลงานไถ่โทษ และบ้างก็ว่าเป็นการเรียกย่อที่หมายถึงมือปราบที่มีหน้าที่จับกุมคนไม่ดี จากการพยายามไปหาข้อมูลมา Storyฯ รู้สึกว่า ปู้เหลียงเหรินเป็นกลุ่มคนที่เป็นปริศนาทางประวัติศาสตร์มิใช่น้อย เนื่องเพราะข้อมูลเกี่ยวกับพวกเขาแทบไม่ปรากฏ ทราบแต่ว่ามีอยู่ในสมัยถัง มีหน้าที่สืบหาและจับกุมคนร้าย แต่ตัวตนและสถานะของพวกเขาแท้จริงแล้วเป็นอย่างไรไม่มีการระบุชัด และในพงศาวดารถังลิ่วเตี่ยน ไม่ปรากฏตำแหน่งหัวหน้าปู้เหลียงซ่วยและไม่มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหริน และเนื่องด้วยมีเอกสารในสมัยชิงที่นิยามปู้เหลียงเหรินโดยเปรียบเทียบถึงราชองรักษ์ต้าสุยของสมัยฮั่นตามที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้มีคนสันนิษฐานว่าปู้เหลียงเหรินเป็นหน่วยงานลับที่ขึ้นตรงต่อฮ่องเต้เท่านั้น แต่... ถ้าเป็นองค์กรลับก็ไม่ควรมีการกล่าวถึงอย่างเปิดเผย ทว่าในบันทึกในเกร็ดประวัติและรวมเรื่องสั้น ‘ฉาวเหยี่ยเชียนจ้าย’ ของสมัยถังนั้น มีการกล่าวถึงปู้เหลียงเหรินในคดีดังที่เกี่ยวข้องกับคดีคนหายจากตระกูลขุนนางระดับสูงในรัชสมัยขององค์ถังไท่จงหลี่ซื่อหมินแห่งราชวงศ์ถัง ในเมื่อองค์กรนี้มีตัวตนจริง แต่ไม่ปรากฏชื่อในหน่วยงานราชการอย่างเป็นทางการ แต่ก็อาจไม่เป็นความลับ จึงเป็นที่สันนิษฐานไปอีกว่า ปู้เหลียงเหรินจัดเป็นเจ้าหน้าที่หลวงที่ระดับต่ำมากหรือเสมียน เรียกว่า ‘ลี่’ (吏) (หมายเหตุ ถ้ามีตำแหน่งเป็นขุนนางจะเรียกว่า ‘กวน’/官) หรือเป็นเพียงคนที่ช่วยงานราชการโดยไม่มียศตำแหน่งอย่างแท้จริง และที่บอกว่าพวกเขามีสถานะที่ต่ำมากนั้น เป็นเพราะว่า พวกเขาเป็นอาชญกรมาก่อนและเข้ามาทำงานให้ทางการเพื่อไถ่โทษ ซึ่งสอดคล้องกับหนึ่งในที่มาของชื่อที่กล่าวไปแล้วข้างต้นนั่นเอง นอกจากตัวตนที่เป็นปริศนาแล้ว ที่เป็นปริศนายิ่งกว่าก็คือการหายตัวไปของปู้เหลียงเหริน เพราะไม่มีบันทึกว่าเกิดอะไรขึ้น มีแต่ข้อสันนิษฐานว่าเมื่อสิ้นราชวงศ์ถังกลุ่มปู้เหลียงเหรินก็หอบสมบัติหนีหายกันไป บ้างก็ว่าสลายตัวไป บ้างก็ว่าไปปักหลักที่ที่มั่นอื่นรอวันกลับมาทำงานอีกครั้ง เรื่องนี้ไม่มีการยืนยัน แต่ข้อเท็จจริงคือหลังจากราชวงศ์ถังล่มสลายก็ไม่มีการเรียกมือปราบว่าปู้เหลียงเหรินอีกเลย (ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory) Credit รูปภาพจาก: https://www.ejdz.cn/download/news/n143411.html https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl Credit ข้อมูลรวบรวมจาก: https://www.thepaper.cn/newsDetail_forward_13674760 https://item.btime.com/f12taep1nci9228p25pl8r5dejl?page=1 http://www.qulishi.com/article/201906/344565.html https://www.163.com/dy/article/GQNDI8640552B97M.html #ข้ามภูผาหาญท้าลิขิตรัก #ปู้เหลียงเหริน #มือปราบสมัยถัง
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 386 มุมมอง 0 รีวิว