• ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ

    เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน
    อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย

    ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้”
    ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ
    ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561”

    ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี

    “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน”

    จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้
    “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ”

    สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ
    ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี
    ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ
    อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี

    “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ

    ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด

    ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม

    นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น

    เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ

    นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว

    นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

    “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว

    จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย”

    ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย

    สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย

    จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่

    สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น

    ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน

    ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ

    แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต

    ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/

    #Thaitimes
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ – สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ เหตุการณ์รถบัสนักเรียนไฟไหม้ ซึ่งนำไปสู่ความสูญเสียที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น สะท้อนความล้มเหลวในการป้องกัน และควบคุมการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไทย ตอกย้ำสมญานามประเทศที่มีผู้เสียชีวิตจากการจราจรมากที่สุด สูงเป็นอันดับ 9 ของโลก และครองแชมป์อันดับ 1 ในอาเซียน อุบัติเหตุครั้งนี้ไม่เพียงชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยง ทั้งในด้านพฤติกรรมการขับขี่ ความรู้ในการเผชิญเหตุฉุกเฉิน ยังได้นำไปสู่การเปิดโปงข้อบกพร่องของ “ระบบตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัย” โดยเฉพาะรถทัศนาจร หรือ “รถรับจ้างไม่ประจำทาง” ที่วิ่งให้บริการขวักไขว่ อันเป็นภาพคุ้นชินตาของคนไทย ‘ทีดีอาร์ไอ’ เผยมีรถรับจ้างไม่ประจำทางเพียง 5% ผ่าน “มาตรฐานลุกไหม้” ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัย ด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า แม้ว่ากรมการขนส่งทางบก จะมีความพยายามในการปรับปรุงมาตรฐานรถโดยสารขนาดใหญ่ในหลายประเด็น รวมถึงมาตรฐานด้านการลุกไหม้มาตั้งแต่ปี 2559 โดยออกประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่องกำหนดคุณสมบัติด้านการลุกไหม้การลามไฟของวัสดุที่ใช้ตกแต่งภายในรถโดยสาร แต่ปรากฎว่าประกาศดังกล่าวถูกเลื่อนการบังคับใช้อยู่เรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลเพราะผู้ประกอบการ ไม่มีความพร้อมในการแบกรับต้นทุน จากการเปลี่ยนไปใช้วัสดุกันไฟที่มีราคาแพง จนกระทั่งสุดท้ายเพิ่งบังคับใช้ได้จริงในปี 2565 แต่กลับไม่มีผลย้อนหลัง ซึ่งหมายความว่าใช้บังคับได้เฉพาะกับรถที่จดทะเบียนใหม่ หรือ มีการปรับปรุงตัวถังใหม่ในปี 2565 เท่านั้น “รถคันที่เกิดเหตุก็เป็นหนึ่งในกรณี ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของประกาศฉบับนี้ เนื่องจากมีการจดเบียนใหม่ในปี 2561” ดร.สุเมธ ระบุว่าปัจจุบันรถทัศนาจรในกลุ่มมาตรฐาน 1 ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับรถคันที่เกิดเหตุ มีจำนวน 5,896 คัน และรถมาตรฐาน 4 หรือรถ 2 ชั้น มีจำนวน 4,972 คน ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าในจำนวนทั้งหมดกว่า 1 หมื่นคัน มีจำนวนเพียง 5% เท่านั้น ที่ผ่านมาตรฐานด้านการลุกไหม้ และอนุมานได้ว่าส่วนที่เหลืออีก 95% ที่เป็นรถจดทะเบียนก่อนประกาศดังกล่าวบังคับใช้ ยังไม่ถูกกำหนดให้มีมาตรฐานนี้ ขณะที่ในต่างประเทศเวลากำหนดมาตรฐานในเรื่องเหล่านี้ จะให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลังด้วย และต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1-2 ปี “คาดว่ามีรถที่ไม่ผ่านหรือไม่ได้มาตรฐานใหม่ ตามที่กรมการขนส่งทางบกกำหนดเป็นหมื่นคัน แสดงให้เห็นถึงขนาดของปัญหาที่วิ่งอยู่บนท้องถนนตอนนี้ เสมือนกับเป็นระเบิดเวลาที่เราไม่รู้ว่าจะเกิดเหตุขึ้นอีกเมื่อไหร่ ดังนั้น กรมการขนส่งทางบก ควรติดตามตรวจสอบรถในกลุ่มนี้ ที่ยังวิ่งอยู่ในระบบ เช่น ด้านมาตรฐานทนไฟ การชนด้านหน้า สภาพรถเป็นอย่างไร ติดก๊าซหรือไม่ ฯลฯ โดยเร่งกำหนดมาตรการอย่างเข้มข้นในรถกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงก่อน” จี้ ขบ.ตรวจเข้มรถเสี่ยงสูง – เสนอรัฐจัดงบฯหนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ ดร.สุเมธ เน้นย้ำว่าเหตุที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นถึงความสำคัญ ของมาตรฐานความปลอดภัยของรถทัศนาจร ซึ่งความเสี่ยงนี้กระทบต่อสวัสดิภาพของประชาชน โจทย์ใหญ่ของรัฐคือจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงให้รถเหล่านี้มีมาตรฐานดีขึ้นได้อย่างไร ทั้งการเปลี่ยนวัสดุไวไฟ เช่น เบาะที่นั่ง ม่าน พรม ให้เป็นไปตามมาตรฐาน UNECE ซึ่งคือการใช้วัสดุที่ทนไฟได้ในระดับหนึ่ง เมื่อเกิดเหตุการณ์ไฟลุกไหม้จะไม่เร็วและแรง สามารถช่วยซื้อเวลาให้ผู้โดยสารหนีออกภายนอกตัวรถได้ “ภาครัฐอาจจะต้องเข้ามาร่วมกับผู้ประกอบการ เพื่อปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น โดยสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ เช่น การให้เงินช่วยเหลือโดยตรงไปยังผู้ประกอบการ หรือ อาจมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีทุนในการปรับปรุงมาตรฐานรถ” สำหรับกรณีระยะเวลาการใช้งานของรถคันเกิดเหตุ ที่พบว่ามีการจดทะเบียนมาตั้งแต่ปี 2513 นั้น ดร.สุเมธ กล่าวว่า องค์ประกอบหลักของรถจะมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 : โครงหลัก หรือที่เรียกว่า “แชสซี” ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังของรถ ซึ่งอยู่ด้านใต้ตัวรถติดกับโครงล้อ ซึ่งปกติรถขนาดใหญ่จะจดทะเบียนครั้งแรกด้วยแชสซี ซึ่งส่วนนี้มีอายุการใช้งาน 70-80 ปี ส่วนที่ 2 : ตัวถังรถ ประกอบไปด้วย หลังคา ประตู เบาะที่นั่ง โดยตัวถังรถมีอายุการใช้งาน 8-10 ปีเท่านั้น จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนเป็นระยะ อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจว่าจะปรับปรุงตัวถังรถหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการเป็นหลักว่าต้องการเปลี่ยนหรือไม่ เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีมาตรการกำหนดอายุรถ หรือระยะเวลาการปรับปรุงสภาพรถ มีแต่การตรวจสอบตามมาตรฐานความปลอดภัย โดยกรมการขนส่งทางบก 2 ครั้งต่อปี “ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง จะมีการปรับปรุงความเสี่ยงเหล่านี้อย่างไร การตรวจสอบมีความเข้มงวดมากน้อยขนาดไหน ตรงนี้ล้วนเป็นประเด็น เพราะมาตรฐานการติดตั้ง ยังเป็นสิ่งที่มีความท้าทายในการตรวจสอบอยู่ หากการติดตั้งทำโดยช่างผู้ชำนาญการก็จะได้มาตรฐานสูง แต่ถ้าติดตั้งโดยไม่รัดกุมมากนัก ก็จะทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ เช่น ประกายไฟ ได้” ดร.สุเมธ ระบุ ยกระดับทัศนศึกษาปลอดภัย ซักซ้อม – วางแผน – ลงรายละเอียด รับมือเหตุไม่คาดคิด ด้าน นพ.ธนะพงศ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) และอนุกรรมการด้านการขนส่งและยานพาหนะ สภาผู้บริโภค กล่าวว่า เหตุการณ์ดังกล่าวถึงเวลาที่กระทรวงศึกษาธิการ ต้องทบทวนเชิงระบบ เพื่อสร้างแนวทางการไปทัศนศึกษาที่ปลอดภัย โดยปัจจุบันการไปทัศนศึกษาของเด็กมีอยู่ 2 รูปแบบ 1. ไปเช้า – เย็นกลับ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการทัศนศึกษาในช่วงปิดเทอมหนึ่ง ประมาณเดือนตุลาคม กับ 2. ทัศนศึกษาแบบพักค้างคืนจะอยู่ในช่วงเทอมสอง ซึ่งจะมีการเดินทางช่วงกลางคืน มีการใช้รถบัสสองชั้น การเกิดอุบัติเหตุจึงมักจะเกิดในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม นพ.ธนะพงศ์ กล่าวว่า คณะผู้จัดกิจกรรมไปทัศนศึกษา ต้องวางแผนโดยการลงรายละเอียด ทั้งการเตรียมครูประจำรถกี่คนต่อจำนวนเด็ก ยิ่งเป็นเด็กเล็กยิ่งต้องให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษ เช่น อาจจะต้องเป็นครูหนึ่งคนต่อ 10 คน เป็นต้น หรือหากเกิดอุบัติเหตุรถพลิกคว่ำ หรือเกิดเพลิงไหม้ คุณครูก็ต้องรู้จักการใช้ถังดับเพลิง และถ้าจำเป็นต้องอพยพ คุณครูจะต้องวางแผนอพยพออกทางไหน ประตูอยู่ตรงจุดไหน เป็นต้น เสนอยกเลิกรถสองชั้นเด็ดขาด – เพิ่มวงเงินประกันภัยภาคบังคับ นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงข้อเสนอในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ โดยเน้นย้ำการยกเลิกการใช้รถสองชั้นในการรับจ้างแบบไม่ประจำทาง อันเป็นสิ่งที่องค์กรผู้บริโภคทั่วประเทศ ได้มีข้อเสนอเป็นระยะเวลาหลายปี แต่ยังไม่ได้เห็นความเปลี่ยนแปลง รวมถึงรื้อระบบตรวจสภาพรถบริการขนส่งสาธารณะ ปัจจุบันตรวจสภาพปีละสองครั้ง แต่ในบางประเทศตรวจทุกไตรมาส ซึ่งจริง ๆ ควรจะดูตามจํานวนการใช้งาน หรือกำหนดเป็นระยะเวลาตายตัวเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ เสนอให้ขยายวงเงินประกันภัยภาคบังคับ ของรถโดยสารแบบไม่ประจำทาง โดยเพิ่มวงเงินประกันเป็น 30 ล้านบาท เนื่องจากปัจจุบันการทำประกันภัยรถภาคบังคับตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 กำหนดความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง 500,000 บาทต่อคน แต่มีข้อกำหนดวงเงินเฉลี่ยจ่ายจากวงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาทต่อครั้ง ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายเมื่อเกิดเหตุร้ายแรงและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก “ความสูญเสียที่เกิดขึ้นต้องนำไปสู่การพัฒนากฎ ระเบียบ มาตรการต่าง ๆ และวิธีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของรถโดยสาร” เลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าว จากอุบัติเหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้ สู่ปัญหา “รถโรงเรียนไทยไม่ปลอดภัย” ความไม่ปลอดภัยของรถรับส่งนักเรียนไทย ไม่ใช่ปัญหาที่เพิ่งถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึง และเปรียบเทียบมาตรฐานความปลอดภัยของไทยกับต่างประเทศ โดยล่าสุดในโซเชียลมีเดียมีการแชร์ข้อมูล รถรับส่งนักเรียนในสหรัฐ มีการควบคุมความปลอดภัยมากกว่ารถปกติถึง 70 เท่า ขณะที่ของญี่ปุ่นกรณีรถบัสทัศนศึกษา นอกจากการตรวจสอบมาตรฐานตัวรถที่เข้มงวด ยังมีการติดตั้ง GPS ควบคุมความเร็วในการขับขี่อีกด้วย สำหรับประเทศไทย หากย้อนกลับไปที่ข้อมูลของ ศวปถ. และสภาองค์กรของผู้บริโภค ซึ่งระบุในคู่มือการจัดระบบรถโรงเรียนให้ปลอดภัยและเป็นธรรม พบว่าระหว่างปี 2562 – 2564 เกิดอุบัติเหตุกับรถโรงเรียนมากถึง 38 ครั้ง มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บรุนแรงถึงขึ้นเสียชีวิต 9 ราย บาดเจ็บ 431 ราย จากการสํารวจข้อมูลรถโรงเรียนทุกภูมิภาค ได้สะท้อนภาพปัญหาที่ซ่อนอยู่เบื้องหลัง 3 ปมปัญหาใหญ่ที่รอเวลาเกิดเหตุ ได้แก่ สภาพรถที่ไม่ได้มาตรฐาน : ดัดแปลงรถ ไม่มั่นคงแข็งแรง รวมถึงขาดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่ควรมี เช่น ค้อนทุบกระจก ถังดับเพลิง เป็นต้น ผู้ขับประมาทไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร : ใช้ประสบการณ์ความเคยชินขับเร็วเสี่ยงอันตราย ขาดความรู้ความเข้าใจบทบาทการขับรถส่งนักเรียน ขาดระบบจัดการรถที่ดี : ขาดระบบกำกับควบคุมผู้ขับขี่ รวมถึงกลไกสนับสนุนเพื่อให้เกิดระบบจัดการที่มีประสิทธิภาพ แม้การเพิ่มมาตรการและความเข้มงวดภายหลังเกิดเหตุ จะหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “วัวหายล้อมคอก” แต่ในบริบทของประเทศไทย เมื่อเกิดบทเรียนขึ้นแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งที่หน่วยงานผู้รับผิดชอบทุกภาคส่วน ต้องร่วมมือกันล้อมคอกไม่ให้เกิดเหตุสลด เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต ที่มา https://thaipublica.org/2024/10/tdri-reveals-95-of-non-regular-taxis-are-ticking-time-bombs-on-thai-roads/ #Thaitimes
    THAIPUBLICA.ORG
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย
    ความเสื่อมสร้างความเสี่ยง! ‘ทีดีอาร์ไอ’ ชี้ 95% รถรับจ้างไม่ประจำทาง คือ ระเบิดเวลาบนท้องถนนไทย แนะรัฐตรวจเข้มกลุ่มรถที่มีความเสี่ยงสูง พร้อมจัดงบฯ - สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ หนุนผู้ประกอบการใช้วัสดุทนไฟ
    Like
    7
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 955 มุมมอง 0 รีวิว
  • 1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี

    1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต
    1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส
    1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้

    2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป
    2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป..
    2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ
    2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป
    2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU
    2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด
    2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS)
    2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย

    2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป
    2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์
    2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง
    2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน

    2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5

    2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro

    2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้

    ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E

    #Thaitimes
    1 ตุลาคม 2567-อ.สนธิ คชวัตรได้โพสต์ถึง มาตรฐานรถบัสทัศนศึกษาในยุโรปกับโศกนาฎกรรมไฟไหม้รถบัสนักเรียนจากจ.อุทัยธานี 1.กรณีรถบัสทัศนศึกษาจากโรงเรียนใน จ.อุทัยธานี เกิดไฟไหม้ ทั้งคัน ที่ถนนวิภาวดีรังสิต 1.1.สิ่งพบในเหตุการณ์คือ ไฟไหม้จากล้อหน้ายางแตก นักเรียนได้กินแก๊สในห้องโดยสาร รถบัสดังกล่าวใช้แก๊ส NGV เป็นเชื้อเพลิง ประตูทางออกฉุกเฉินไม่สามารถเปิดได้ นักเรียนและคุณครูเสียชีวิตหลายคนส่วนใหญ่อยู่ทางด้านหลังรถบัส 1.2.เชื้อเพลิงNGVของรถบัส (ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทนนำมาอัดจนมีความดันสูง ประมาณ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้วแล้วนำไปเก็บในถังบรรจุที่มีความแข็งแรงทน ทานสูงเป็นพิเศษ) ลักษณะจะเบากว่าอา กาศหากมีการรั่วไหลก็อาจจะลอยสะสมขึ้นบนที่ฝ้าเพดานรถและอาจเกิดไฟไหม้ได้เมื่อมีความร้อนหรือไฟที่ระดับหนึ่งมีช่วงของการติดไฟที่ร้อยละ 5-15 ของปริมาตรในอากาศ อาจเป็นสาเหตุของไฟไหม้รถบัสได้ 2.กรณีระบบความปลอดภัยของรถบัสในประเทศยุโรป 2.1.ระบบความปลอดภัยของตัวรถบัสเพื่อใช้ทัศนศึกษาในประเทศแถบยุโรป.. 2.1.1.ติดเซ็นเซอร์ป้องกันประตูปิดขณะผู้โดยสารขึ้นและลงจากรถ 2.1.2 ตัวถังเป็นโครงสร้างเหล็ก galvanized ซึ่งมีความแข็งแกร่งมากกว่าเหล็กทั่วไป 2.1.3.กระจกผ้าม่านในรถและพื้นยางปูรถต้องทำจากวัสดุป้องกันไฟลามตามมาตร ฐานของ EU 2.1.4.ในแต่ละที่นั่งมีเข็มขัดนิรภัย 2 จุด 2.1.5.มีระบบเบรกอัจฉริยะ Anti-Lock Braking System. (ABS) 2.1.6.ทางออกฉุกเฉินของรถบัสให้มีถึง 3 ที่ ได้แก่ ท้ายรถด้านขวามีประตูฉุกเฉินพร้อมป้าย EXIT บานกระจกเป็นกระจกนิร ภัยTempered glass ซึ่งสามารถใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ ช่องพัดลมดูดอากาศใช้เป็นทางออกฉุกเฉินได้ด้วย 2.2.ความปลอดภัยด้านป้องกันไฟไหม้ของยุโรป 2.2.1.มีระบบดับเพลิงอัตโนมัติในห้องเครื่องยนต์ 2.2.2. ถังดับเพลิง 2 ถัง 2.3.3 ค้อนทุบกระจก 4-6 อัน 2.3.เชื้อเพลิงที่ใช้สำหรับรถบัสยุโรป จะใช้น้ำมันดีเซลEuro5 ไม่ใช่แก๊ส เพราะปลอด ภัยกว่าและไม่ปล่อยฝุ่น2.5 2.4.ยางรถยนต์รถบัสยุโรปต้องยึดเกาะถนนได้ดีตามมาตรฐานEuro 2.5.พนักงานขับรถในยุโรปต้องมีใบขับขี่รถบัสหรือได้ Certificated และมีประสบ การณ์ขับขี่ สามารถยืนยันตัวตนได้ ที่มา : https://www.facebook.com/share/p/svH6f69WqCVLtQPQ/?mibextid=CTbP7E #Thaitimes
    Like
    5
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 859 มุมมอง 0 รีวิว
  • "มาตรฐานความปลอดภัยของรถบัส และแนวทางการปฏิบัติตน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น"

    จากข่าวสลดวันนี้ น่าจะต้องถอดบทเรียน และคุมกันจริงจังมากขึ้น กับรถบัส รถเมล์ รถขนส่งสาธารณะ ที่ถ้าไม่ได้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วนตามมาตรฐาน หรือเกิดมีปัญหาในการใช้งาน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ (อย่างข่าววันนี้ ที่บอกว่าประตูฉุกเฉินเปิดไม่ได้ - ซึ่งความจริง ต้องเปิดได้ตลอดทั้งจากในรถและนอกรถ)

    เลยขอเอาบทความของ Patsornchai Tour - ภัสสรชัยทัวร์ นี้ มาสรุปให้ศึกษากันนะครับ

    - 3 สิ่งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคน ควรสังเกตนั่นก็คือ "ถังดับเพลิง" , "ประตูฉุกเฉิน" และ "ค้อนทุบกระจก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรงของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร

    1. #ประตูทางออกฉุกเฉิน

    - ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะจะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน

    - ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน

    - ถ้าเป็นประตูทางออก ที่อยู่ "ด้านท้าย" ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน

    - ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง "ด้านขวากลาง" ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

    - ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ

    - ต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง

    - ต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน

    2. #ถังดับเพลิง

    - รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร

    - ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ "เบาะหน้า" ใกล้คนขับ และบริเวณ "ที่นั่งด้านหลัง" หรือ "ตรงกลาง" ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบให้งานได้ง่าย

    - เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ "ฐาน" กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ

    - ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ

    - ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

    3. #ค้อนทุบกระจก

    - รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา

    - ส่วนมาก ติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ

    - มีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ

    - สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม "กรีด" ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด

    #ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง

    1. เลือกเดินทางกลับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็คได้กับกรมขนส่งทางบก

    2. บนรถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง

    3. ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ

    4. หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้

    ภาพและข้อมูลจาก https://patsornchaitour.com/emergency-exit-on-bus/
    "มาตรฐานความปลอดภัยของรถบัส และแนวทางการปฏิบัติตน เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น" จากข่าวสลดวันนี้ น่าจะต้องถอดบทเรียน และคุมกันจริงจังมากขึ้น กับรถบัส รถเมล์ รถขนส่งสาธารณะ ที่ถ้าไม่ได้มีอุปกรณ์ความปลอดภัยครบถ้วนตามมาตรฐาน หรือเกิดมีปัญหาในการใช้งาน ก็จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงได้ (อย่างข่าววันนี้ ที่บอกว่าประตูฉุกเฉินเปิดไม่ได้ - ซึ่งความจริง ต้องเปิดได้ตลอดทั้งจากในรถและนอกรถ) เลยขอเอาบทความของ Patsornchai Tour - ภัสสรชัยทัวร์ นี้ มาสรุปให้ศึกษากันนะครับ - 3 สิ่งสำคัญ ที่ถือว่าเป็นอุปกรณ์ด้านความปลอดภัย ที่รถบัสทุกคันต้องมี และผู้โดยสารทุกคน ควรสังเกตนั่นก็คือ "ถังดับเพลิง" , "ประตูฉุกเฉิน" และ "ค้อนทุบกระจก" ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยบรรเทาความร้ายแรงของเหตุฉุกเฉินที่กำลังเกิดขึ้น และเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยทำผู้โดยสารออกจากห้องโดยสาร 1. #ประตูทางออกฉุกเฉิน - ผู้โดยสารควรมองหาประตูรถทางออกฉุกเฉิน เพราะจะช่วยให้ออกจากตัวรถบัสได้ในขณะเกิดเหตุฉุกเฉิน - ประตูรถทางออกฉุกเฉิน จะต้องมีสัญลักษณ์บ่งบอก หรือมีสัญลักษณ์แสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งภายในและภายนอกตัวรถ ว่าเป็นตำแหน่งของประตูฉุกเฉิน - ถ้าเป็นประตูทางออก ที่อยู่ "ด้านท้าย" ของตัวรถ ต้องมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นอักษรภาษาไทย ความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร สีแดงสะท้อนแสง ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิดปิดประตู หรือบริเวณขอบประตูด้านบนทางออกฉุกเฉิน ให้สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน - ถ้าไม่อยู่ด้านท้ายของรถ ประตูฉุกเฉินจะต้องมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40 เซนติเมตร ความสูงไม่น้อยกว่า 120 เชนติเมตร อยู่ในตำแหน่ง "ด้านขวากลาง" ของตัวรถ หรืออาจจะค่อนไปทางท้ายรถ ตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ - ประตูฉุกเฉินจะต้องสามารถเปิดได้ โดยไม่ต้องใช้กุญแจหรืออุปกรณ์ใดๆ - ต้องเปิดได้เต็มทั้งส่วนกว้างและความสูง - ต้องไม่มีสิ่งติดตั้งถาวรกีดขวางทางออกนี้ เพื่อความสะดวกต่อการใช้งาน 2. #ถังดับเพลิง - รถบัสทุกคันจะต้องมี เพื่อไว้ใช้ในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อมีไฟลุกขึ้นที่บริเวณห้องโดยสาร - ภายในห้องโดยสารส่วนใหญ่ จะมีการติดตั้งถังดับเพลิงขนาด 2 ปอนด์ ไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณ "เบาะหน้า" ใกล้คนขับ และบริเวณ "ที่นั่งด้านหลัง" หรือ "ตรงกลาง" ของห้องโดยสาร เพื่อให้สามารถหยิบให้งานได้ง่าย - เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน ให้ดึงสลักล็อกที่บริเวณคันบีบออก จากนั้นให้ปลดสายฉีดออกจากตัวถึง หันปากสายฉีดไปที่ "ฐาน" กองไฟ แล้วกดคันบีบแล้วส่ายสายฉีด เพื่อให้สารที่พ่นออกมาจากถังดับเพลิง พ่นให้ทั่วทั้งกองไฟ - ไม่ควรฉีดไปที่เปลวไฟ เพราะเป็นการใช้แบบผิดวิธี ทำให้ไฟไม่ดับ - ควรยืนห่างจากกองไฟประมาณ 6-8 ฟุต เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน 3. #ค้อนทุบกระจก - รถบัสทุกคันจะต้องมีค้อนทุบกระจก หรืออุปกรณ์ที่มีด้ามจับสีแดง มีหัวเหล็กลักษณะกลมๆ ยื่นออกมา - ส่วนมาก ติดอยู่ใกล้ๆ กระจกข้างรถ - มีไว้สำหรับการกรีด หรือทุบกระจก เพื่อเปิดเป็นทางออกฉุกเฉิน สามารถทุบเปิดกระจกได้เร็วกว่าของแข็งอื่นๆ - สามารถดึงออกจากแท่นเก็บ จากนั้น จับด้ามให้แน่น แล้วใช้ปลายแหลม "กรีด" ลงที่กระจกให้เป็นรอย แล้วใช้ปลายค้อน ทุบที่แนวกรีด กระจกก็จะแตกละเอียด #ข้อแนะนำอื่นสำหรับการเดินทาง 1. เลือกเดินทางกลับบริษัทผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ มีการตรวจเช็คสภาพรถก่อนออกเดินทาง และเป็นบริษัทที่ไม่มีประวัติ การเกิดอุบัติเหตุหนัก ซึ่งท่านสามารถเช็คได้กับกรมขนส่งทางบก 2. บนรถบัสทุกคันจะจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยอัตโนมัติอย่างน้อย 2 จุด ทุกที่นั่ง เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารในขณะเดินทาง 3. ในขณะเดินทาง ผู้โดยสารควรสังเกตอาการของพนักงานขับรถ ว่ามีอาการมึนเมา หาวบ่อย หรือขับรถเร็วเกินไปหรือไม่ หากพบความผิดปกติควรโทรแจ้ง เจ้าหน้าที่ตำรวจ จุดตรวจของกรมขนส่ง หรือบริษัทของผู้ให้บริการ 4. หากเป็นระยะทางไกลมากกว่า 400 กิโลเมตร บริษัทผู้ให้บริการจะต้องมีพนักงานขับรถ 2 คน หรือจะต้องมีการหยุดจอดรถพักทุก 4 ชั่วโมง อย่างน้อยเป็นเวลา 30 นาที นอกจากนี้พนักงานขับรถจะต้องขับรถด้วยความสุภาพ และมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมทาง เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนที่อาจเกิดขึ้นได้ ภาพและข้อมูลจาก https://patsornchaitour.com/emergency-exit-on-bus/
    PATSORNCHAITOUR.COM
    แนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อมีเกิดเหตุฉุกเฉินบนรถบัส ต้องทำอย่างไร? | Patsornchai Tour
    การเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน คงเป็นเรื่องที่ไม่มีใค
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 241 มุมมอง 0 รีวิว