• "ณัฐพงษ์" ปลุกเร้า สส.ปชน. ขออย่าเสียสมาธิ โวลั่นพรรคส้มชนะเลือกตั้งถล่มทลาย
    https://www.thai-tai.tv/news/19949/
    .
    #ณัฐพงษ์เรืองปัญญาวุฒิ #พรรคประชาชน #ประชุมสส #การเมืองบ้านใหญ่ #การเมืองไทย #ทำงานเพื่อประชาชน #เลือกตั้งครั้งหน้า #ความไว้วางใจ #สสประชาชน
    "ณัฐพงษ์" ปลุกเร้า สส.ปชน. ขออย่าเสียสมาธิ โวลั่นพรรคส้มชนะเลือกตั้งถล่มทลาย https://www.thai-tai.tv/news/19949/ . #ณัฐพงษ์เรืองปัญญาวุฒิ #พรรคประชาชน #ประชุมสส #การเมืองบ้านใหญ่ #การเมืองไทย #ทำงานเพื่อประชาชน #เลือกตั้งครั้งหน้า #ความไว้วางใจ #สสประชาชน
    0 Comments 0 Shares 39 Views 0 Reviews
  • 12 พฤษภาคม 2568- รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์สำคัญเรื่อง การเลือกตั้งเทศบาลในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยที่ยังคงมีลักษณะผสมผสานระหว่างความต่อเนื่องของโครงสร้างอำนาจเดิมและสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มปรากฏในบางพื้นที่ จากข้อมูลสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ดังนี้

    ภาพรวมพฤติกรรมการเลือกตั้ง

    1 ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์และบ้านใหญ่

    พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพล หรือ “บ้านใหญ่” ซึ่งใช้อำนาจผ่านระบบอุปถัมภ์ (patronage system) และการซื้อเสียงเพื่อรักษาฐานอำนาจ

    ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่า “แชมป์เก่า” หรือผู้ดำรงตำแหน่งเดิมส่วนใหญ่ยังคงรักษาเก้าอี้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีตระกูลการเมืองครอบงำมายาวนาน

    การซื้อเสียงยังคงเป็นประเด็นสำคัญ โดยมีการร้องเรียนและหลักฐานที่ปรากฏในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีรายงานการจ่ายเงินหัวละ 3,000 บาท การซื้อเสียงนี้ถูกมองว่าเป็น “ความปกติ” ในบริบทการเลือกตั้งท้องถิ่นไทย

    2 สัญญาณการเปลี่ยนแปลง

    แม้ระบบบ้านใหญ่จะยังครองอำนาจ แต่บางพื้นที่เริ่มแสดงถึงความต้องการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคประชาชน (เดิมคือพรรคก้าวไกล) ซึ่งมีฐานจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่พอใจกับการเมืองแบบเดิม

    พรรคประชาชนได้รับชัยชนะในเทศบาลเมือง 5 แห่ง และเทศบาลตำบล 9 แห่ง จากทั้งหมด 95 แห่งที่ส่งผู้สมัคร คิดเป็นประมาณ 15% ของพื้นที่ที่ลงแข่ง

    ชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สมุทรปราการ สะท้อนถึงฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ที่พรรคนี้มีคะแนนนิยมสูง

    3 ความท้าทายของพรรคประชาชน

    ผลการเลือกตั้งที่ได้เพียง 15% จากพื้นที่ที่ลงสมัคร แสดงว่าพรรคประชาชนยังเผชิญความท้าทายในการเจาะฐานคะแนนในพื้นที่ที่มีระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึก

    การเลือกตั้งท้องถิ่นเน้นที่ตัวบุคคลและความสัมพันธ์ในชุมชนมากกว่านโยบายระดับชาติ ซึ่งพรรคประชาชนอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความยึดโยงกับชุมชนให้มากขึ้น

    4 ข้อสังเกตและแนวโน้มในอนาคต
    พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน: ประชาชนบางส่วนแยกการตัดสินใจระหว่างการเลือกตั้งระดับชาติ (เน้นพรรคและนโยบาย) และระดับท้องถิ่น (เน้นตัวบุคคลและผลงาน) ส่งผลให้พรรคที่แข็งแกร่งในระดับชาติ เช่น พรรคประชาชน อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในระดับท้องถิ่น

    สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้น: การที่พรรคประชาชนได้รับชัยชนะใน 14 เทศบาลจาก 95 แห่งที่ลงสมัคร แม้จะไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็แสดงถึงการเริ่มต้นของการท้าทายอำนาจเดิม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฐานสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ต่อต้านการเมืองบ้านใหญ่

    การซื้อเสียง: การซื้อเสียงยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่โปร่งใส การร้องเรียนในพื้นที่อย่างกาฬสินธุ์และสงขลา บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น

    5 สรุป
    การเลือกตั้งเทศบาล 2568 แสดงให้เห็นถึงความทนทานของโครงสร้างอำนาจแบบบ้านใหญ่และระบบอุปถัมภ์ที่ยังครองการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฏผ่านชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่มองหาทางเลือกใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจต้องใช้เวลาและการทำงานในระดับชุมชนที่เข้มข้นขึ้นเพื่อทลายโครงสร้างอำนาจเดิม ในอนาคต การเลือกตั้งท้องถิ่นจะยังคงเป็นเวทีสำคัญที่สะท้อนพลวัตระหว่างความเก่ากับความใหม่ของการเมืองไทย
    12 พฤษภาคม 2568- รศ.ดร.พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต ผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้เผยแพร่บทวิเคราะห์สำคัญเรื่อง การเลือกตั้งเทศบาลในปี 2568 สะท้อนให้เห็นถึงพลวัตของการเมืองท้องถิ่นในประเทศไทยที่ยังคงมีลักษณะผสมผสานระหว่างความต่อเนื่องของโครงสร้างอำนาจเดิมและสัญญาณของการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มปรากฏในบางพื้นที่ จากข้อมูลสามารถวิเคราะห์เบื้องต้นได้ดังนี้ ภาพรวมพฤติกรรมการเลือกตั้ง 1 ความต่อเนื่องของระบบอุปถัมภ์และบ้านใหญ่ พฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชนส่วนใหญ่ยังคงยึดโยงกับนักการเมืองท้องถิ่นที่มีอิทธิพล หรือ “บ้านใหญ่” ซึ่งใช้อำนาจผ่านระบบอุปถัมภ์ (patronage system) และการซื้อเสียงเพื่อรักษาฐานอำนาจ ผลการเลือกตั้งแสดงให้เห็นว่า “แชมป์เก่า” หรือผู้ดำรงตำแหน่งเดิมส่วนใหญ่ยังคงรักษาเก้าอี้ได้ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีตระกูลการเมืองครอบงำมายาวนาน การซื้อเสียงยังคงเป็นประเด็นสำคัญ โดยมีการร้องเรียนและหลักฐานที่ปรากฏในบางพื้นที่ เช่น ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งมีรายงานการจ่ายเงินหัวละ 3,000 บาท การซื้อเสียงนี้ถูกมองว่าเป็น “ความปกติ” ในบริบทการเลือกตั้งท้องถิ่นไทย 2 สัญญาณการเปลี่ยนแปลง แม้ระบบบ้านใหญ่จะยังครองอำนาจ แต่บางพื้นที่เริ่มแสดงถึงความต้องการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะในกลุ่มผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สนับสนุนพรรคประชาชน (เดิมคือพรรคก้าวไกล) ซึ่งมีฐานจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ไม่พอใจกับการเมืองแบบเดิม พรรคประชาชนได้รับชัยชนะในเทศบาลเมือง 5 แห่ง และเทศบาลตำบล 9 แห่ง จากทั้งหมด 95 แห่งที่ส่งผู้สมัคร คิดเป็นประมาณ 15% ของพื้นที่ที่ลงแข่ง ชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ เช่น สมุทรปราการ สะท้อนถึงฐานสนับสนุนที่แข็งแกร่ง ซึ่งสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2566 ที่พรรคนี้มีคะแนนนิยมสูง 3 ความท้าทายของพรรคประชาชน ผลการเลือกตั้งที่ได้เพียง 15% จากพื้นที่ที่ลงสมัคร แสดงว่าพรรคประชาชนยังเผชิญความท้าทายในการเจาะฐานคะแนนในพื้นที่ที่มีระบบอุปถัมภ์ฝังรากลึก การเลือกตั้งท้องถิ่นเน้นที่ตัวบุคคลและความสัมพันธ์ในชุมชนมากกว่านโยบายระดับชาติ ซึ่งพรรคประชาชนอาจต้องใช้เวลาในการสร้างความยึดโยงกับชุมชนให้มากขึ้น 4 ข้อสังเกตและแนวโน้มในอนาคต พฤติกรรมการเลือกตั้งแบบคู่ขนาน: ประชาชนบางส่วนแยกการตัดสินใจระหว่างการเลือกตั้งระดับชาติ (เน้นพรรคและนโยบาย) และระดับท้องถิ่น (เน้นตัวบุคคลและผลงาน) ส่งผลให้พรรคที่แข็งแกร่งในระดับชาติ เช่น พรรคประชาชน อาจไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในระดับท้องถิ่น สัญญาณการเปลี่ยนแปลงที่เริ่มต้น: การที่พรรคประชาชนได้รับชัยชนะใน 14 เทศบาลจาก 95 แห่งที่ลงสมัคร แม้จะไม่ถึงเป้าหมาย แต่ก็แสดงถึงการเริ่มต้นของการท้าทายอำนาจเดิม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีฐานสนับสนุนจากคนรุ่นใหม่และผู้ที่ต่อต้านการเมืองบ้านใหญ่ การซื้อเสียง: การซื้อเสียงยังคงเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเมืองท้องถิ่นที่โปร่งใส การร้องเรียนในพื้นที่อย่างกาฬสินธุ์และสงขลา บ่งชี้ถึงความจำเป็นในการบังคับใช้กฎหมายที่เข้มงวดขึ้น 5 สรุป การเลือกตั้งเทศบาล 2568 แสดงให้เห็นถึงความทนทานของโครงสร้างอำนาจแบบบ้านใหญ่และระบบอุปถัมภ์ที่ยังครองการเมืองท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม สัญญาณของการเปลี่ยนแปลงเริ่มปรากฏผ่านชัยชนะของพรรคประชาชนในบางพื้นที่ ซึ่งสะท้อนถึงความต้องการของผู้มีสิทธิเลือกตั้งบางกลุ่มที่มองหาทางเลือกใหม่ การเปลี่ยนแปลงนี้อาจต้องใช้เวลาและการทำงานในระดับชุมชนที่เข้มข้นขึ้นเพื่อทลายโครงสร้างอำนาจเดิม ในอนาคต การเลือกตั้งท้องถิ่นจะยังคงเป็นเวทีสำคัญที่สะท้อนพลวัตระหว่างความเก่ากับความใหม่ของการเมืองไทย
    0 Comments 0 Shares 515 Views 0 Reviews
  • 20 ม.ค.2568-นายสมหมาย ภาษี อดีตรมว.การคลัง และอดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง“ธุรกิจสีเทาในไทยทำไมจึงเบ่งบาน” ระบุว่า คนไทยทุกวันนี้ต่างก็เคยได้ยินเรื่องธุรกิจสีเทาในประเทศเราจนชาชินกันแล้ว และส่วนใหญ่ก็เข้าใจในความหมายว่าเป็นการทำธุรกิจในประเทศไทยโดยชาวต่างชาติที่ไม่ถูกต้องตรงไปตรงมา และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้กับประเทศของเราอีกด้วย

    ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินข่าวใหญ่ของธุรกิจสีเทาขนาดใหญ่ของคนจีนในภูเก็ตที่เป็นเมืองท่องเที่ยวใหญ่สุดของประเทศเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มีทั้งธุรกิจขายเครื่องประดับล้ำค่าให้นักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ซากของอาคารขนาดใหญ่ที่ดูหรูหราเหมือนราชวังย่อมๆให้เห็นอยู่ 2 แห่ง ท่านคงจำได้ว่าช่วงนั้นมีทัวร์ศูนย์เหรียญเข้ามาดำเนินการอยู่ในภูเก็ต และเมืองท่องเที่ยวอื่นอย่างดาษดื่น

    เมื่อใดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศหนึ่งประเทศใดเข้ามาเที่ยวในเมืองไทยมากในที่ใด พวกธุรกิจสีเทาก็จะเกิดขึ้นในเมืองนั้น นอกจากจีนแล้ว เราจะได้ยินได้ฟังเรื่องธุรกิจสีเทาของชาวรัสเซียในพัทยากันอย่างคุ้นหู ในช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเข้ามาที่ภูเก็ตมากก็ได้ข่าวว่าแถวหาดป่าตอง ก็มีพื้นที่บางแห่งถูกเรียกว่า “Little Moscow” ไปแล้ว

    จริงๆแล้วธุรกิจสีเทาในประเทศไทย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ 2 เมืองท่องเที่ยวหลักนี้เท่านั้น เมืองอื่นๆก็มี ส่วนชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจสีเทาในไทยก็ไม่ใช่มีแค่ชาวจีนและชาวรัสเซีย แต่ยังมีชนชาติจากยุโรปก็ไม่ใช่น้อย เร็วๆนี้อาจจะเห็นพวกจากแอฟริกาบ้างก็ได้

    ถ้าจะมีคำถามว่าทำไมธุรกิจสีเทาในไทยจึงมีมากดาษดื่นมากกว่าประเทศอื่น คำตอบมีชัดเจนครับ

    ประการแรก คนไทยเราเองจำนวนมากที่ประกอบธุรกิจแบบสีเทาให้ต่างชาติเขาเห็น หรือไม่ก็เข้าไปร่วมทุนกับต่างชาติที่ประกอบธุรกิจสีเทา

    ประการที่สอง เพราะในเมืองไทยมีกฎหมายควบคุมไม่รัดกุม และข้าราชการก็ไม่ได้ใส่ใจดูแลให้เป็นไปตามตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้สักอย่าง บางรัฐบาลถึงกับจะออกกฎหมายมาก่อให้เกิดธุรกิจสีเทาโดยตรงก็มี

    ผมต้องขออภัยที่จำเป็นต้องออกความเห็นเรื่อง “โครงการสถานบันเทิงครบวงจร” หรือ “Entertainment Complex” ที่กำลังออกตัวกันอย่างเต็มที่ในขณะนี้ ว่ามันเป็นโครงการที่จะเป็นอันตรายอย่างสุดจะพรรณนาในการเปิดทางให้เกิดธุรกิจสีเทาตามมาอย่างแน่นอน และยังหมิ่นเหม่ต่อการเพิ่มแรงกดดันให้กับปัญหาสังคมที่ย่ำแย่ของไทยเกิดความเลวร้ายทับถมตามมาแบบไม่คุ้มค่าอีกมาก และเมื่อฟังให้ชัดก็ได้เห็นความน่าหวาดกลัวยิ่งขึ้นไปอีก เพราะที่จัดไว้ในที่ดินผืนใหญ่ของการรถไฟไม่ใช่โครงการสถานบันเทิงครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะมีอีก 4-5 แห่งคล้ายกันในท้องที่ของนักการเมืองบ้านใหญ่ทั้งหลาย นี่มันอะไรกัน เอาแต่มาปั้นตัวเลข GDP ว่าจะเพิ่มเท่านั้นเท่านี้โดยสำนักงานของรัฐไหนก็ไม่รู้

    ผมถามตัวเองว่านี่นักการเมืองและข้าราชการไทยเขาเพ้อฝันไปหรือไง หรือว่ามีการเสพกัญชากันมากเกินไปแล้ว เพราะถ้าจะคิดทำให้ดีแบบต่างประเทศที่เขาทำกัน เช่น ที่สิงคโปร์ก็มีเพียง “เดอะ แซนด์(The Sand)” เท่านั้น และมีข้อกำหนดไม่ให้ชาวสิงคโปร์ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเข้าไปในบ่อนโดยเด็ดขาด โดยรัฐบาลเขาจะคุมอย่างเข้มงวดมาก ที่ประเทศจีนอันใหญ่โตมีที่เกาะมาเก๊าเท่านั้น ซึ่งธุรกิจนี้นายทุนใหญ่เจ้าของบ่อนทั้งที่สิงคโปร์ มาเก๊า และลาสเวกัส ชื่อ Mr. Anderson เป็นเศรษฐีชาวอเมริกัน ผู้สนับสนุนพรรค Republican ซึ่งได้เสียชีวิตตอนอายุ 70 ปลายๆไปเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว

    ของไทยที่จะตั้งในหัวเมืองสำคัญ 4-5 แห่ง ถือว่าเป็นโมเดลที่แปลกเป็นพิเศษในโลก บ่อนคาสิโนนั้นใครๆก็รู้ว่าเป็นธุรกิจสีเทา โกงกันก็ได้ ฟอกเงินก็ได้ แลกเปลี่ยนเงินสกุลไหนอย่างไรก็ได้ แต่รายรับรายจ่ายที่จะทำบัญชีให้ถูกต้องไม่ได้ ใหญ่อย่างไรก็ตามสำนักงานบัญชีระดับท็อป 4 ของโลกคงไม่รับเป็นผู้สอบบัญชีให้ แล้วรัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการไปกำกับดูแลให้อยู่กับร่องกับรอยได้อย่างไรกัน

    หรือว่ารัฐบาลนี้จะสนับสนุนให้ธุรกิจสีเทาในประเทศเบ่งบานกันอย่างจริงจังในยุคนี้

    ก็โปรดเขียนเป็นนโยบายไว้ให้ชัดๆเลยได้ไหมครับ ลูกๆหลานๆไทยจะได้รู้ว่าใครเป็นคนคิดทำ

    https://www.thaipost.net/hi-light/725742/#
    20 ม.ค.2568-นายสมหมาย ภาษี อดีตรมว.การคลัง และอดีตประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2551 โพสต์เฟซบุ๊กเรื่อง“ธุรกิจสีเทาในไทยทำไมจึงเบ่งบาน” ระบุว่า คนไทยทุกวันนี้ต่างก็เคยได้ยินเรื่องธุรกิจสีเทาในประเทศเราจนชาชินกันแล้ว และส่วนใหญ่ก็เข้าใจในความหมายว่าเป็นการทำธุรกิจในประเทศไทยโดยชาวต่างชาติที่ไม่ถูกต้องตรงไปตรงมา และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีให้กับประเทศของเราอีกด้วย ท่านผู้อ่านคงจะได้ยินข่าวใหญ่ของธุรกิจสีเทาขนาดใหญ่ของคนจีนในภูเก็ตที่เป็นเมืองท่องเที่ยวใหญ่สุดของประเทศเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 มีทั้งธุรกิจขายเครื่องประดับล้ำค่าให้นักท่องเที่ยว ซึ่งปัจจุบันเหลือแต่ซากของอาคารขนาดใหญ่ที่ดูหรูหราเหมือนราชวังย่อมๆให้เห็นอยู่ 2 แห่ง ท่านคงจำได้ว่าช่วงนั้นมีทัวร์ศูนย์เหรียญเข้ามาดำเนินการอยู่ในภูเก็ต และเมืองท่องเที่ยวอื่นอย่างดาษดื่น เมื่อใดที่นักท่องเที่ยวต่างชาติจากประเทศหนึ่งประเทศใดเข้ามาเที่ยวในเมืองไทยมากในที่ใด พวกธุรกิจสีเทาก็จะเกิดขึ้นในเมืองนั้น นอกจากจีนแล้ว เราจะได้ยินได้ฟังเรื่องธุรกิจสีเทาของชาวรัสเซียในพัทยากันอย่างคุ้นหู ในช่วงนี้มีนักท่องเที่ยวชาวรัสเซียเข้ามาที่ภูเก็ตมากก็ได้ข่าวว่าแถวหาดป่าตอง ก็มีพื้นที่บางแห่งถูกเรียกว่า “Little Moscow” ไปแล้ว จริงๆแล้วธุรกิจสีเทาในประเทศไทย ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะ 2 เมืองท่องเที่ยวหลักนี้เท่านั้น เมืองอื่นๆก็มี ส่วนชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจสีเทาในไทยก็ไม่ใช่มีแค่ชาวจีนและชาวรัสเซีย แต่ยังมีชนชาติจากยุโรปก็ไม่ใช่น้อย เร็วๆนี้อาจจะเห็นพวกจากแอฟริกาบ้างก็ได้ ถ้าจะมีคำถามว่าทำไมธุรกิจสีเทาในไทยจึงมีมากดาษดื่นมากกว่าประเทศอื่น คำตอบมีชัดเจนครับ ประการแรก คนไทยเราเองจำนวนมากที่ประกอบธุรกิจแบบสีเทาให้ต่างชาติเขาเห็น หรือไม่ก็เข้าไปร่วมทุนกับต่างชาติที่ประกอบธุรกิจสีเทา ประการที่สอง เพราะในเมืองไทยมีกฎหมายควบคุมไม่รัดกุม และข้าราชการก็ไม่ได้ใส่ใจดูแลให้เป็นไปตามตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้สักอย่าง บางรัฐบาลถึงกับจะออกกฎหมายมาก่อให้เกิดธุรกิจสีเทาโดยตรงก็มี ผมต้องขออภัยที่จำเป็นต้องออกความเห็นเรื่อง “โครงการสถานบันเทิงครบวงจร” หรือ “Entertainment Complex” ที่กำลังออกตัวกันอย่างเต็มที่ในขณะนี้ ว่ามันเป็นโครงการที่จะเป็นอันตรายอย่างสุดจะพรรณนาในการเปิดทางให้เกิดธุรกิจสีเทาตามมาอย่างแน่นอน และยังหมิ่นเหม่ต่อการเพิ่มแรงกดดันให้กับปัญหาสังคมที่ย่ำแย่ของไทยเกิดความเลวร้ายทับถมตามมาแบบไม่คุ้มค่าอีกมาก และเมื่อฟังให้ชัดก็ได้เห็นความน่าหวาดกลัวยิ่งขึ้นไปอีก เพราะที่จัดไว้ในที่ดินผืนใหญ่ของการรถไฟไม่ใช่โครงการสถานบันเทิงครบวงจรแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น แต่จะมีอีก 4-5 แห่งคล้ายกันในท้องที่ของนักการเมืองบ้านใหญ่ทั้งหลาย นี่มันอะไรกัน เอาแต่มาปั้นตัวเลข GDP ว่าจะเพิ่มเท่านั้นเท่านี้โดยสำนักงานของรัฐไหนก็ไม่รู้ ผมถามตัวเองว่านี่นักการเมืองและข้าราชการไทยเขาเพ้อฝันไปหรือไง หรือว่ามีการเสพกัญชากันมากเกินไปแล้ว เพราะถ้าจะคิดทำให้ดีแบบต่างประเทศที่เขาทำกัน เช่น ที่สิงคโปร์ก็มีเพียง “เดอะ แซนด์(The Sand)” เท่านั้น และมีข้อกำหนดไม่ให้ชาวสิงคโปร์ที่มีรายได้ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดเข้าไปในบ่อนโดยเด็ดขาด โดยรัฐบาลเขาจะคุมอย่างเข้มงวดมาก ที่ประเทศจีนอันใหญ่โตมีที่เกาะมาเก๊าเท่านั้น ซึ่งธุรกิจนี้นายทุนใหญ่เจ้าของบ่อนทั้งที่สิงคโปร์ มาเก๊า และลาสเวกัส ชื่อ Mr. Anderson เป็นเศรษฐีชาวอเมริกัน ผู้สนับสนุนพรรค Republican ซึ่งได้เสียชีวิตตอนอายุ 70 ปลายๆไปเมื่อประมาณ 4 ปีที่แล้ว ของไทยที่จะตั้งในหัวเมืองสำคัญ 4-5 แห่ง ถือว่าเป็นโมเดลที่แปลกเป็นพิเศษในโลก บ่อนคาสิโนนั้นใครๆก็รู้ว่าเป็นธุรกิจสีเทา โกงกันก็ได้ ฟอกเงินก็ได้ แลกเปลี่ยนเงินสกุลไหนอย่างไรก็ได้ แต่รายรับรายจ่ายที่จะทำบัญชีให้ถูกต้องไม่ได้ ใหญ่อย่างไรก็ตามสำนักงานบัญชีระดับท็อป 4 ของโลกคงไม่รับเป็นผู้สอบบัญชีให้ แล้วรัฐบาลจะตั้งคณะกรรมการไปกำกับดูแลให้อยู่กับร่องกับรอยได้อย่างไรกัน หรือว่ารัฐบาลนี้จะสนับสนุนให้ธุรกิจสีเทาในประเทศเบ่งบานกันอย่างจริงจังในยุคนี้ ก็โปรดเขียนเป็นนโยบายไว้ให้ชัดๆเลยได้ไหมครับ ลูกๆหลานๆไทยจะได้รู้ว่าใครเป็นคนคิดทำ https://www.thaipost.net/hi-light/725742/#
    Like
    1
    0 Comments 0 Shares 1110 Views 0 Reviews