• ""ธุรกิจขายสินค้าโดยวิธีการสมัครสมาชิก และให้สมาชิกซื้อสินค้านั้น จะเป็นการฉ้อโกงหรือไม่ จะดูจาก ""#รายได้"" ว่า ได้มาจากอะไร ซึ่งศาลฎีกาเองก็ดูจากรายได้เช่นกัน ว่า #รายได้ที่แท้จริงนั้นมาจากอะไร โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ประเภท

    ประเภทที่ 1. #รายได้จากการสมัครสมาชิก ถ้ารายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก และมีแนวทางการประกอบกิจการไปที่การแนะนำให้หาสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ วิธีการแบบนี้ เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่ ถือว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชนได้ #เพราะไม่ได้เน้นที่การขายสินค้าและรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายสินค้า

    ประเภทที่ 2. #รายได้มาจากการสมัครสมาชิก และ #การบังคับซื้อสินค้า วิธีการนี้ดูเผินๆเหมือนจะเป็นการตั้งใจประกอบธุรกิจ แต่ถ้าดูให้ละเอียดจะพบว่า ไม่ได้มีเจตนาประกอบธุรกิจจริงๆ #แต่เป็นการหลอกให้ซื้อสินค้าไปเยอะๆแต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ฉะนั้น รายได้จริงๆของเจ้าของธุรกิจ จึงไม่ใช่ผลกำไรจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าจำนวนหนึ่ง [** รายได้ของธุรกิจ จะต้องได้จากการขายสินให้คนทั่วไป ไม่ใช่รายได้จากการบังคับให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวน มากๆ / เรียกว่า ""รายได้หรือกำไรเทียม"" ] วิธีการแบบนี้เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่เช่นกัน เพราะรายได้ที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เกิดจากการหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมากๆ

    ประเภที่ 3. #รายได้มาจากการาขายสินค้าทั่วไป ธุรกิจประเภทนี้ถือเป็นธุรกิจทั่วๆไป คือ นำสินออกขาย ถ้าขายได้ก็ได้กำไร ถ้าขายไม่ได้ก็ขาดทุน โดยจะไม่มีรายได้จากค่าสมาชิก หรือรายได้จากการบังคับซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ

    #ธุรกิจที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ในตอนนี้ เข้าลักษณะที่ 2. คือ มีสินค้าจริง แต่จะให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #แต่สินค้าจะขายไม่ได้ หรือจะขายได้น้อย #และถ้าไปดูรายได้ของบริษัทแม่จริงๆ ก็จะพบว่ รายได้หรือกำไร #มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก ส่วนสมาชิกจะนำสินค้าไปขายได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    เมื่อรายได้หรือกำไรของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่คนทั่วไป แต่เกิดจากการซื้ของสมาชิกเอง ก็แสดงว่า #รายได้หรือกำไรของบริษัทนั้นมีขึ้นก่อนที่จะนำสินค้าออกขายให้แก่คนทั่วไปโดยสมาชิก

    ดู ไทมไลน์ ดังนี้
    1. ผลิตสินค้า
    2.หาสมาชิก
    3. ให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมาก [** รายได้ของบริษัท]
    4. สมาชิกนำสินค้าที่ซื้อไปขาย

    จะเห็นว่า รายได้ของบริษัท #เกิดขึ้นก่อน ที่สมาชิกจะเอาสินค้าไปขาย และเป็นรายได้ที่มาจากสมาชิกเอง

    วิธีการที่จะหลอกสมาชิกให้มาสมัครเป็นสมาชิก และให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากๆได้นั้น จะต้องอาศัยเครื่องมือ ที่เรียกว่า ""#ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์"" ธุรกิจพวกนี้จะให้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาช่วยโปรโมทธุรกิจของตนเอง

    "" #โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าให้เยอะขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกนำสินค้าไปขายได้ง่ายขึ้น ..........""

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2901/2547 วินิจฉัยว่า
    "" ถ้ารายได้หรือผลกำไร มาจากค่าสมัครสมาชิก และจะได้มากขึ้นเมื่อสามารถชักชวนคนอื่นให้เข้ามาเป็นสมาชิกได้ #อันแสดงว่ารายได้หรือผลกำไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสินค้าหรือบริการ แต่ขึ้นอยู่กับการชักชวนหรือการหาสมาชิกให้ได้จำนวนมากๆ #และเมื่อรายได้หรือผลกำไรเกิดจากค่าสมัครสมาชิกไม่ได้เกิดจากสินค้าหรือบริการโดยตรง จึงต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ม. 3 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ....."

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1172/2566 วินิจฉัยว่า
    "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนในกิจการและธุรกิจของจำเลย #แต่จำเลยกลับไม่มีกิจการใดๆเลยที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้ตามที่จำเลยโฆษณา ดังนั้น การโฆษณาชักชวนของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวง อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ""

    ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 326/2566 วินิจฉัยว่า
    "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน กับ บริษัท อ. แต่กลับพบว่า ในขณะที่จำเลยชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนนั้น บริษัท อ. #ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทหรือไม่นั้น ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่า บริษัท อ.นั้น ยังไม่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท #แต่กลับปกปิดความจริงข้อนี้เอาไว้ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง .....""

    #คดีตามข่าว เส้นแบ่งว่าจะเป็นฉ้อโกงหรือไม่ ให้ดูจากรายได้ของบริษัท ว่า รายได้หรือกำไรมาจากการที่สมาชิกขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ หรือเป็นรายได้หรือกำไรที่ได้มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิกเอง ถ้ารายได้ของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป แต่เกิดจากการบังคับหรือหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ แบบนี้ก็จะเข้าข่ายฉ้อโกง โดยศาลจะถือว่า ""#รู้อยู่แล้วว่าสินค้าไม่สามารถขายได้"" และการใช้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาโฆษณานั้น #ก็ด้วยวัตถุประสงค์ให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการขายหรือช่วยให้สมาชิกขายสินค้าได้แต่อย่างใด

    (1) รายได้บริษัท มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก
    (2) การใช้ดารามาโฆษณา เพื่อให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น
    (3) บริษัทได้รายได้ไปก่อนที่สมาชิกจะนำสินค้าไปขาย
    (4) พยายามชักจูงใจให้สมาชิกซื้อสินค้ามากกว่าขายสินค้าทั่วไป
    (5) สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะโฆษณาไม่ใช่เกิดจากการใช้จริง
    (6) บริษัทเน้นรายได้ที่จะไดจากสมาชิกเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าสมาชิกจะขายสินค้าได้หรือไม่
    (7) สุดท้ายบริษัทเท่านั้นที่มีรายได้ ส่วนสมาชิกส่วนใหญ่ขาดทุน เพราะขายสินค้าไม่ได้ แต่ต้องจ่ายเงินให้บริษัทเพื่อซื้อสินค้าไปก่อน
    (8) สมาชิกสนใจธุรกิจ เพราะ การโฆษณาชวนเชื่อ #ไม่ได้สนใจ #เพราะสินค้าขายดี

    จะเห็นว่า ธุรกิจแบบนี้ มีลักษณะที่ดูยากว่าเป็นการฉ้อโกง เพราะเขามีตัวสินค้าอยู่จริง และสินค้าเขาอาจจะดีจริงก็ได้เช่นกัน #แต่ขอให้ดูรายได้ของบริษัทว่ามาจากอะไร เพราะศาลเองก็จะดูเช่นกันว่า ถ้ามีเจตนาจะขายสินค้าหรือบริการจริงๆ ก็จะต้องเน้นไปที่การขายสินค้าหรือบริการ #และรายได้หลักก็ควรเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รายได้หลักเกิดจากการให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ รายได้หลักเกิดการการซื้อสินค้าของสมาชิก #ก็ย่อมแสดงว่า บริษัททราบอยู่ก่อนแล้ว่าสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ทำรายได้ไม่ถึงกับที่ตนเองโฆษณา #ซึ่งในที่สุดสมาชิกก็จะขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ได้ อันถือว่าผิดหลักการค้าขายทั่วไป ที่จะต้อนเน้นไปที่การขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ไม่ใช่เน้นส่งเสริมให้สมาชิกซื้อสินค้าเยอะๆ ""

    Cr: คดีโลกคดีธรรม
    ""ธุรกิจขายสินค้าโดยวิธีการสมัครสมาชิก และให้สมาชิกซื้อสินค้านั้น จะเป็นการฉ้อโกงหรือไม่ จะดูจาก ""#รายได้"" ว่า ได้มาจากอะไร ซึ่งศาลฎีกาเองก็ดูจากรายได้เช่นกัน ว่า #รายได้ที่แท้จริงนั้นมาจากอะไร โดยแบ่งรายได้ออกเป็น 3 ประเภท ประเภทที่ 1. #รายได้จากการสมัครสมาชิก ถ้ารายได้ส่วนใหญ่มาจากค่าสมัครสมาชิก และมีแนวทางการประกอบกิจการไปที่การแนะนำให้หาสมาชิกเป็นส่วนใหญ่ วิธีการแบบนี้ เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่ ถือว่าเป็นการฉ้อโกงประชาชนได้ #เพราะไม่ได้เน้นที่การขายสินค้าและรายได้ส่วนใหญ่ไม่ได้มาจากการขายสินค้า ประเภทที่ 2. #รายได้มาจากการสมัครสมาชิก และ #การบังคับซื้อสินค้า วิธีการนี้ดูเผินๆเหมือนจะเป็นการตั้งใจประกอบธุรกิจ แต่ถ้าดูให้ละเอียดจะพบว่า ไม่ได้มีเจตนาประกอบธุรกิจจริงๆ #แต่เป็นการหลอกให้ซื้อสินค้าไปเยอะๆแต่ไม่สามารถขายสินค้าได้ ฉะนั้น รายได้จริงๆของเจ้าของธุรกิจ จึงไม่ใช่ผลกำไรจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เป็นรายได้ที่ได้จากการให้สมาชิกต้องซื้อสินค้าจำนวนหนึ่ง [** รายได้ของธุรกิจ จะต้องได้จากการขายสินให้คนทั่วไป ไม่ใช่รายได้จากการบังคับให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวน มากๆ / เรียกว่า ""รายได้หรือกำไรเทียม"" ] วิธีการแบบนี้เข้าลักษณะแชร์ลูกโซ่เช่นกัน เพราะรายได้ที่แท้จริงไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าทั่วไป #แต่เกิดจากการหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมากๆ ประเภที่ 3. #รายได้มาจากการาขายสินค้าทั่วไป ธุรกิจประเภทนี้ถือเป็นธุรกิจทั่วๆไป คือ นำสินออกขาย ถ้าขายได้ก็ได้กำไร ถ้าขายไม่ได้ก็ขาดทุน โดยจะไม่มีรายได้จากค่าสมาชิก หรือรายได้จากการบังคับซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #ธุรกิจที่กำลังเป็นข่าวดังอยู่ในตอนนี้ เข้าลักษณะที่ 2. คือ มีสินค้าจริง แต่จะให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ #แต่สินค้าจะขายไม่ได้ หรือจะขายได้น้อย #และถ้าไปดูรายได้ของบริษัทแม่จริงๆ ก็จะพบว่ รายได้หรือกำไร #มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก ส่วนสมาชิกจะนำสินค้าไปขายได้หรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อรายได้หรือกำไรของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่คนทั่วไป แต่เกิดจากการซื้ของสมาชิกเอง ก็แสดงว่า #รายได้หรือกำไรของบริษัทนั้นมีขึ้นก่อนที่จะนำสินค้าออกขายให้แก่คนทั่วไปโดยสมาชิก ดู ไทมไลน์ ดังนี้ 1. ผลิตสินค้า 2.หาสมาชิก 3. ให้สมาชิกซื้อสินค้าจำนวนมาก [** รายได้ของบริษัท] 4. สมาชิกนำสินค้าที่ซื้อไปขาย จะเห็นว่า รายได้ของบริษัท #เกิดขึ้นก่อน ที่สมาชิกจะเอาสินค้าไปขาย และเป็นรายได้ที่มาจากสมาชิกเอง วิธีการที่จะหลอกสมาชิกให้มาสมัครเป็นสมาชิก และให้ซื้อสินค้าในจำนวนมากๆได้นั้น จะต้องอาศัยเครื่องมือ ที่เรียกว่า ""#ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์"" ธุรกิจพวกนี้จะให้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาช่วยโปรโมทธุรกิจของตนเอง "" #โดยมีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าให้เยอะขึ้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ให้สมาชิกนำสินค้าไปขายได้ง่ายขึ้น .........."" ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 2901/2547 วินิจฉัยว่า "" ถ้ารายได้หรือผลกำไร มาจากค่าสมัครสมาชิก และจะได้มากขึ้นเมื่อสามารถชักชวนคนอื่นให้เข้ามาเป็นสมาชิกได้ #อันแสดงว่ารายได้หรือผลกำไรไม่ได้ขึ้นอยู่กับสินค้าหรือบริการ แต่ขึ้นอยู่กับการชักชวนหรือการหาสมาชิกให้ได้จำนวนมากๆ #และเมื่อรายได้หรือผลกำไรเกิดจากค่าสมัครสมาชิกไม่ได้เกิดจากสินค้าหรือบริการโดยตรง จึงต้องตามความหมายของบทนิยามคำว่า "กู้ยืมเงิน" และ "ผลประโยชน์ตอบแทน" ตาม พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนฯ ม. 3 จึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ....." ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 1172/2566 วินิจฉัยว่า "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนในกิจการและธุรกิจของจำเลย #แต่จำเลยกลับไม่มีกิจการใดๆเลยที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนได้ตามที่จำเลยโฆษณา ดังนั้น การโฆษณาชักชวนของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวง อันเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน "" ดู คำพิพากษาศาลฎีกา ที่ 326/2566 วินิจฉัยว่า "" จำเลย ชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน กับ บริษัท อ. แต่กลับพบว่า ในขณะที่จำเลยชักชวนให้ผู้เสียหายร่วมลงทุนนั้น บริษัท อ. #ไม่ได้จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทตามกฎหมาย ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทหรือไม่นั้น ถือเป็นสาระสำคัญที่ทำให้ผู้เสียหายร่วมลงทุน เมื่อจำเลยรู้อยู่แล้วว่า บริษัท อ.นั้น ยังไม่ได้จดทะเบียนตั้งบริษัท #แต่กลับปกปิดความจริงข้อนี้เอาไว้ จึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกง ....."" #คดีตามข่าว เส้นแบ่งว่าจะเป็นฉ้อโกงหรือไม่ ให้ดูจากรายได้ของบริษัท ว่า รายได้หรือกำไรมาจากการที่สมาชิกขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ หรือเป็นรายได้หรือกำไรที่ได้มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิกเอง ถ้ารายได้ของบริษัท ไม่ได้เกิดจากการขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วๆไป แต่เกิดจากการบังคับหรือหลอกลวงให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ แบบนี้ก็จะเข้าข่ายฉ้อโกง โดยศาลจะถือว่า ""#รู้อยู่แล้วว่าสินค้าไม่สามารถขายได้"" และการใช้ดาราหรืออินฟลูเอ็นเซอร์มาโฆษณานั้น #ก็ด้วยวัตถุประสงค์ให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ส่งเสริมการขายหรือช่วยให้สมาชิกขายสินค้าได้แต่อย่างใด (1) รายได้บริษัท มาจากการซื้อสินค้าของสมาชิก (2) การใช้ดารามาโฆษณา เพื่อให้สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าง่ายขึ้น (3) บริษัทได้รายได้ไปก่อนที่สมาชิกจะนำสินค้าไปขาย (4) พยายามชักจูงใจให้สมาชิกซื้อสินค้ามากกว่าขายสินค้าทั่วไป (5) สมาชิกตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะโฆษณาไม่ใช่เกิดจากการใช้จริง (6) บริษัทเน้นรายได้ที่จะไดจากสมาชิกเป็นหลัก โดยไม่สนใจว่าสมาชิกจะขายสินค้าได้หรือไม่ (7) สุดท้ายบริษัทเท่านั้นที่มีรายได้ ส่วนสมาชิกส่วนใหญ่ขาดทุน เพราะขายสินค้าไม่ได้ แต่ต้องจ่ายเงินให้บริษัทเพื่อซื้อสินค้าไปก่อน (8) สมาชิกสนใจธุรกิจ เพราะ การโฆษณาชวนเชื่อ #ไม่ได้สนใจ #เพราะสินค้าขายดี จะเห็นว่า ธุรกิจแบบนี้ มีลักษณะที่ดูยากว่าเป็นการฉ้อโกง เพราะเขามีตัวสินค้าอยู่จริง และสินค้าเขาอาจจะดีจริงก็ได้เช่นกัน #แต่ขอให้ดูรายได้ของบริษัทว่ามาจากอะไร เพราะศาลเองก็จะดูเช่นกันว่า ถ้ามีเจตนาจะขายสินค้าหรือบริการจริงๆ ก็จะต้องเน้นไปที่การขายสินค้าหรือบริการ #และรายได้หลักก็ควรเป็นรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการแก่บุคคลทั่วไป ไม่ใช่รายได้หลักเกิดจากการให้สมาชิกซื้อสินค้าในจำนวนมากๆ รายได้หลักเกิดการการซื้อสินค้าของสมาชิก #ก็ย่อมแสดงว่า บริษัททราบอยู่ก่อนแล้ว่าสินค้าหรือบริการ ไม่สามารถขายได้หรือถ้าขายได้ก็ทำรายได้ไม่ถึงกับที่ตนเองโฆษณา #ซึ่งในที่สุดสมาชิกก็จะขาดทุนเพราะสินค้าขายไม่ได้ อันถือว่าผิดหลักการค้าขายทั่วไป ที่จะต้อนเน้นไปที่การขายสินค้าให้แก่บุคคลทั่วไปได้ ไม่ใช่เน้นส่งเสริมให้สมาชิกซื้อสินค้าเยอะๆ "" Cr: คดีโลกคดีธรรม
    Like
    1
    0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 420 มุมมอง 0 รีวิว