**การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์**
สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล
แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย
เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง
พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932
#จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล
แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย
เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง
พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932
#จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
**การแต่งงานภายในช่วงเวลาไว้ทุกข์**
สวัสดีค่ะ Storyฯ เคยเขียนเรื่องระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณมาแล้ว โดนอิงรายละเอียดตามสมัยหมิง (ย้อนอ่านได้ในลิ้งค์ข้างล่าง) ซึ่งระยะเวลาที่สามีจะไว้ทุกข์ให้ภรรยาโดยทั่วไปคือหนึ่งปีและในช่วงเวลาไว้ทุกข์นั้น ห้ามจัดงานรื่นเริงหรืองานมงคล
แต่ความ ‘เอ๊ะ’ จากการดูเรื่อง <จิ่วฉงจื่อ บุปผาเหนือลิขิต> ก็คือ เมื่อแม่ของนางเอกเสีย แม่เลี้ยงก็ถูกพาเข้าเรือนมาเป็นภรรยาเอกภายในช่วงเวลาไม่กี่วันหลังจากแม่ของนางเอกเสีย สาเหตุหลักมาจากว่านางตั้งครรภ์แล้ว คำถามคือ แต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ได้ด้วยหรือ?
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ในหลักการคือต้องทำภายใน 100 วันแรกของการไว้ทุกข์ เรียกว่า ‘ไป่รึฉวี่’ (百日娶) หรือ ‘เฉิงเซี่ยวฉวี่’ (乘孝娶) และจริงๆ แล้วจะจัดทำในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น กล่าวคือมีญาติผู้ใหญ่ของฝ่ายชายเสียไปในขณะที่เขาได้มีการหมั้นหมายไว้และมีแผนจะเข้าพิธีแต่งงานในอนาคตอันใกล้อยู่แล้ว จึงจัดให้แต่งงานกันเลยแทนที่จะรอให้พ้นระยะเวลาไว้ทุกข์ซึ่งอาจยาวนาน 1-3 ปี (ระยะเวลาไว้ทุกข์ขึ้นอยู่กับลำดับความสนิทของญาติผู้ใหญ่คนนั้นและยุคสมัย) และต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย
เหตุผลของการแต่งงานภายในระยะเวลาไว้ทุกข์ดังกล่าวก็คือเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในชีวิต เช่นสตรีจะได้ไม่เลยวัยแต่งงานอันควร หรือเหตุผลการเกี่ยวดองทางสังคมหรือการเมืองที่ไม่อาจรอช้าได้ นอกจากนี้ ยังเป็นความเชื่อที่ว่า ผู้ใหญ่ที่เสียไปอาจเคยมีความหวังไว้ว่าอยากเห็นลูกหลานเป็นฝั่งเป็นฝา จึงรีบแต่งงานเพื่อเป็นการแสดงออกซึ่งความกตัญญูอย่างหนึ่ง
พิธีแต่งงานภายในระยะไว้ทุกข์นี้จะไม่ได้จัดทำตามพิธีสมรสทั่วไปเพราะต้องลดความเอิกเกริกลง เป็นต้นว่า ไม่เลือกวันมงคล ไม่แต่งบ้านสีแดง ไม่แจกอั่งเปา ไม่จัดเลี้ยง บ่าวสาวไม่ใส่สีแดงและแต่งกายด้วยสีสุภาพหรือแต่งแดงไว้ข้างในแต่คาดผ้ากระสอบทับ เจ้าสาวไม่ต้องแต่งหน้าแต่งตัวมาก ฝ่ายชายไม่อาจเข้าบ้านฝ่ายหญิงตอนรับตัวเจ้าสาวได้เพราะตนยังไว้ทุกข์อยู่โดยให้แม่สื่อทำหน้าที่ต่างๆ แทน และญาติฝ่ายหญิงไม่สามารถตามมาส่งตัวเจ้าสาวถึงบ้านฝ่ายชายได้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการคำนับบรรพบุรุษฝ่ายชายเนื่องจากป้ายบรรพบุรุษจะถูกตกแต่งหรือจัดวางไว้สำหรับงานศพ โดยจะส่งตัวเจ้าสาวเข้าห้องหอเลย และหลังจากนั้นเจ้าสาวสามารถร่วมพิธีต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานศพได้ในฐานะสะใภ้ และเจ้าสาวต้องรอพ้นระยะไว้ทุกข์จึงจะกลับไปเยี่ยมบ้านตนเองได้
การแต่งงานในช่วงไว้ทุกข์ไม่ได้เป็นประเพณีอย่างทางการที่มีการบันทึกไว้สืบทอดมาแต่โบราณ (กล่าวคือไม่เหมือนกับขั้นตอนการแต่งงานหรือไว้ทุกข์ที่มีการบันทึกไว้ในบันทึกโจวหลี่หรือบทกฎหมายใด) หากแต่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติท้องถิ่นทางใต้ของจีน มีต้นตอมาอย่างไรก็ไม่ทราบได้ แต่ปรากฏให้เห็นผ่านงานวรรณกรรมหรืออุปรากรในสมัยหมิง และปัจจุบันยังเป็นธรรมเนียมที่พบเห็นได้ทางใต้ของประเทศจีนและไต้หวัน
(ป.ล. หากอ่านแล้วชอบใจ อย่าลืมกดติดตามเพจนี้เพื่อป้องกันการกีดกันของเฟซบุ๊คด้วยนะคะ #StoryfromStory)
บทความเก่าว่าด้วยระยะเวลาไว้ทุกข์จีนโบราณ:
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1044627014332257
https://www.facebook.com/StoryfromStory/posts/1050216903773268
Credit รูปภาพจากในละครและจาก:
https://cyberrevue.com/2025-blossom/#jp-carousel-115105
https://news.qq.com/rain/a/20241218A09Z5200
Credit ข้อมูลรวบรวมจาก:
https://news.qq.com/rain/a/20200317A0V53X00#
https://www.ilifepost.com/20210128/【阴宅解码】顺孝娶-婚礼一切从简
https://www.facebook.com/permalink.php/?story_fbid=399369496884979&id=167326656755932
#จิ่วฉงจื่อ #การแต่งงานจีนโบราณ #การไว้ทุกข์จีนโบราณ #ไป่รึฉวี่ #สาระจีน
1 ความคิดเห็น
0 การแบ่งปัน
49 มุมมอง
0 รีวิว