• Read more
    #พระนางสามผิว ผู้มีความงามที่เลื่องลือที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย #ความงามเป็นเหตุจนทำให้เสียเมืองพระนางสามผิว ผู้มีความงามที่เลื่องลือที่สุดในประวัติศาสตร์ไทยเมื่อกว่า ๔๐๐ ปีก่อน พระนางเป็นพระชายาของ “พระเจ้าฝางอุดมสิน” กษัตริย์เมืองฝาง กล่าวกันว่า...พระนางสิริโฉมงดงามและความงามของพระนางถือว่าโดดเด่นไม่มีใครเทียมคือ #ผิวเปลี่ยนสีไปตามแต่ละช่วงเวลา ยามเช้าขาวผ่องยองใย กลางวันเป็นสีชมพูระเรื่อ ตกเย็นก็จะเปลี่ยนเป็นชมพูเข้มขึ้น อันเป็นที่มาพระนามว่า “พระนางสามผิว”.ข่าวความงามของพระนางสามผิวเลื่องลือไปจน #พระเจ้าสุทโธธรรมราชา กษัตริย์ของพม่าเวลานั้น ถึงกับปลอมตัวเป็นพ่อค้ามาถวายบรรณาการเมืองฝาง เมื่อเห็นว่าพระนางสามผิวงามเลิศสมคําเล่าลือก็กลับไปนํากองทัพมาตีเมืองฝาง จึงเกิดเป็นสงครามม่าน-ล้านนา ที่รบติดพันกันอยู่ถึง ๓ ปี แต่แล้วเมืองฝางก็แตกพ่ายราวปี ๒๑๗๕.พระเจ้าฝางอุดมสินพาพระนางสามผิวหนีไปอยู่เมืองกุฉินารายณ์ในเขตอินเดีย ประวัติกล่าวว่า...มีมหาดเล็กและนางข้าหลวงคู่หนึ่งปลอมตัวเป็นทั้ง ๒ พระองค์โดดลงในบ่อน้ำ เพื่อลวงให้พระเจ้าสุทโธธรรมราชาเข้าใจว่า...พระนางสามผิวพลีชีพพร้อมพระสวามี.แต่อีกกระแสหนึ่งก็กล่าวว่า...พม่าปิดล้อมเมืองอยู่ ๓ ปี ทำให้ชาวบ้านออกไปทำมาหากินไม่ได้ มีความอดยาก เสบียงอาหารที่มีอยู่ก็หมด เมื่อเหตุการณ์เป็นเช่นนี้พระเจ้าฝางและพระนางสามผิวตะหนักว่า...เหตุที่เกิดขึ้นมาจากทั้ง ๒ พระองค์ ดังนั้นทั้ง ๒ พระองค์จึงตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยการกระโดดน้ำบ่อที่มีความลึกสูง ๒๐ วา เพื่อปลงพระชนม์ชีพตัวเองเพื่อรักษาชีวิตชาวเมืองและบ้านเมืองของตน เมื่อพระเจ้าสุทโธธรรมราชาทรงทราบเรื่องพระองค์ทรงเสียใจมาก จึงได้ยกทัพกลับบ้านเมืองของตน และเมืองฝางก็ไม่ได้ถูกเป็นเมืองขึ้นของพม่า.ประชาชนเห็นว่าพระเจ้าฝางและพระนางสามผิวได้สละพระชนม์ชีพเพื่อรักษาบ้านเมืองไว้ จึงได้สร้างอนุสาวรีย์ ไว้ที่น้ำบ่อซาววา ซึ่งอยู่หน้าวัดพระอุดม ต.เวียง อ.ฝาง จ.เชียงใหม่ และมีประเพณีบวงสรวง “เดือนเก๋าพระเจ๋าฝาง-พระนางสามผิว” ทำเป็นประจำทุกปี และนอกจากนี้ยังให้ผู้คนที่เดินทางผ่านมาเห็นได้มาสักการะกราบไหว้บูชา นี่จึงเป็นที่มา #น้ำบ่อซาววา (ภาพประกอบ: ภาพวาดสตรีล้านนา)."Phra Nang Sam Phiw", the most famous beauty in Thai history, until her beauty caused a war.."Phra Nang Sam Phiw" is the most famous beautiful woman in Thai history over 400 years ago. She was the queen of "Phra Chao Fang Udomsin", the king of Fang. It is said that she was very beautiful and her beauty was outstanding and unmatched. Her skin changed color according to the time. In the morning, her skin was very white. During the day, her skin was pinkish. In the evening, her skin turned dark pink. This is where the name "Phra Nang Sam Phiw" came from. (Sam = Three / Phiw = Skin). The Queen whose skin color changed in all three periods of time: morning, noon and evening..The news of Phra Nang Sam Phiw's beauty spread so far that King Suthodhammaracha, the king of Burma at that time, disguised himself as a merchant to offer tribute to Fang. When he saw Phra Nang Sam Phiw, he immediately fell in love. When he returned to Burma, he led an army to attack Fang. The Burmese surrounded Fang for 3 years, preventing the people from going out to earn a living. As a result, there was famine and the food supplies ran out..When the incident happened, both "Phra Chao Fang Udomsin" and Phra Nang Sam Phiw knew that the incident was caused by both of them. Therefore, both of them decided to solve the problem by jumping into a 40-meter deep well to save the lives of their people and their country. When King Suthodhammaracha found out about this, he was very sad. He led his army back to his own country and Fang did not become a vassal state of Burma..The people saw that both of them had sacrificed their lives to protect their country, so they built a monument at the Sawwa pond in front of Phra Udom Temple, Wiang Subdistrict, Fang District, Chiang Mai Province. There is an annual ceremony to make offerings to the spirits. In addition, people who pass by can see them and pay homage..📌บทความนี้เรียบเรียงและแปลโดยเพจ Love Thai Culture #หากผู้ใดนำข้อมูลไปแชร์กรุณาให้เครดิตด้วยนะคะ.💥 Credit: ขอบคุณภาพเจ้าของภาพ (แอดไม่ทราบว่าใครเป็นเจ้าของภาพ Inbox แจ้งได้นะคะ).++++++++++++++++++++#Thailand #CulTure #ThaiCulture #ThaiCulturetotheWorld #LoveThaiCulture #Amazingthailand #Amazing #Unseenthailand #Ramakien #พระนางสามผิว
    0 Comments 0 Shares 504 Views 0 Reviews