ศาลไม่ให้ประกันภรรยาทนายตั้ม พบย้ายทรัพย์ออกจากตู้เซฟ เปลี่ยนมือถือก่อนหนีไปเขมร
.
เปิดพฤติการณ์ทนายตั้มหลอกคุณอ้อยลงทุนหวยออนไลน์ ฟันส่วนต่างรถเบนซ์-เขียนแบบบ้าน ส่วนภรรยาใกล้ชิดย่อมรู้ทุกการกระทำ เผยก่อนถูกจับมีข่มขู่พยาน ด้อยค่าตำรวจ เปลี่ยนมือถือ ย้ายทรัพย์ออกจากเซฟ ก่อนขับรถไปชายแดน หวั่นหากปล่อยตัวเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน ด้านศาลไม่อนุญาตให้ประกันภรรยา แม้ทนายความยื่นประกัน 5 แสน ขอติดกำไลอีเอ็ม
.
วันนี้ (8 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.40 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองปราบปรามนำตัวนายษิทธา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหาฉ้อโกง, ร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และนางปทิตตา เบี้ยบังเกิด อายุ 41 ปี ภรรยาทนายตั้ม เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิด ฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน มายื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 1
.
คำร้องระบุว่า ก่อนเกิดเหตุ น.ส.จตุพร อุบลเลิศ ผู้เสียหาย ได้ว่าจ้างผู้ต้องหาที่ 1 ให้เป็นที่ปรึกษากฎหมายต่อมาผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ ส่งมอบเงินให้แก่ผู้ต้องหาที่ 1 หลายเรื่องหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระ ได้แก่
.
1.ผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลทางออนไลน์ อ้างว่าจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าจ้างเขียนโปรแกรมเป็นเงินจำนวน 2,000,000 ยูโร พร้อมกับนำสัญญาว่าจ้างมาให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าจ้างดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้ต้องหาที่ 1 คิดเป็นเงินไทย จำนวน 71,067,764.70 บาท
.
2. ผู้เสียหายได้มอบหมายให้ผู้ต้องหาที่ 1 หาซื้อรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์ รุ่น จี 400 จากนั้นผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหาซื้อรถยนต์ดังกล่าวได้ในราคา 12,900,000 บาท และมีค่าติดฟิล์มรถยนต์จำนวน 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,930,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วรถยนต์คันดังกล่าวมีราคาเพียง 11,400,000 บาท โดยไม่มีราคาติดฟิล์ม ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้เงินค่าส่วนต่างจากราคารถยนต์และค่าฟิล์มรถ รวมเป็นเงินจำนวน 1,530,000 บาท
.
3. ผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าผู้ต้องหาที่ 1 ได้ติดต่อว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งเป็นผู้เขียนแบบก่อสร้างโรงแรม ที่ผู้เสียหายจะก่อสร้าง โดยอ้างว่ามีค่าเขียนแบบโรงแรมเป็นจำนวนเงิน 9,000,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ต้องหาที่ 1 ได้ไปว่าจ้างบริษัทอื่นให้เขียนแบบโรงแรมดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในราคา 3,500,000 บาท ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินชำระค่าเขียนแบบดังกล่าวจำนวน 9,000,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งจากนั้นได้มีการถอนเงินไปมอบให้แก่ผู้ต้องหาที่ 1 ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้เงินส่วนต่างค่าเขียนแบบโรงแรมเป็นเงินจำนวน 5,500,000 บาท
.
การกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหาที่ 1 เป็นความผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และจากการสืบสวนสอบสวนพบผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 มีการกระทำต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการฟอกเงิน ดังนี้
.
1. หลังจากผู้ต้องหาที่ 1 ได้รับโอนเงินจากผู้เสียหายจำนวน 71 ล้านบาทเศษ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้โอนเงินจำนวน 71 ล้านบาท ออกจากบัญชีธนาคารของตนเองไปยังบัญชีอื่นของตนเองอีก 2 ทอด เพื่อชำระหนี้ค่าบ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาที่ 2
.
2. ผู้ต้องหาที่ 1 ได้รับมอบเงินสดของผู้เสียหายที่หลอกลวงเป็นค่าเขียนแบบโรงแรมจำนวน 9,000,000 บาทได้แบ่งเงินสดจำนวน 1,000,000 บาท ไปมอบให้แก่พี่สาวของผู้ต้องหาที่ 2 ก่อนพี่สาวของผู้ต้องหาที่ 2 นำไปเข้าบัญชีธนาคารของตัวเอง
.
ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาที่ 1-2 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา
.
ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจาก ผู้ต้องหาที่ 1 เป็นทนายความมีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีและเป็นผู้ที่สังคมให้ความเชื่อถือ แต่กลับมีการกระทำผิดหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกัน ในลักษณะฉ้อโกงอันเป็นปกติธุระ ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 เป็นภรรยาของผู้ต้องหาที่ 1 เป็นบุคคลใกล้ชิดและพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ย่อมรู้เห็นการกระทำผิดและร่วมกระทำความผิดฟอกเงินกับผู้ต้องหาที่ 1 โดยผู้ต้องหาทั้งสองคนมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนียุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ดังนี้
.
ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ให้พยานบุคคลที่สำคัญในคดีให้การต่อพนักงานสอบสวนในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงการกระทำความผิดของตนผู้ต้องหาที่ 1 มีพฤติการณ์สำคัญบางประการ ทำให้พยานเกิดความเกรงกลัวภายในอันตรายที่จะเกิดกับพยานหรือตัวครอบครัวเพื่อไม่ให้พยานมาให้การหรือไม่ให้การข้อเท็จจริงที่สำคัญต่อคดี ผู้ต้องหาที่ 1 มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะลดทอนความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ทำให้ผู้เสียหายและพยานบุคคลที่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนเกิดความไม่มั่นใจและไม่ไว้วางใจการทำงานของพนักงานสอบสวน
.
จากการสืบสวนพบว่าก่อนที่จะมาจับกุมผู้ต้องหาที่ 1 และบุคคลใกล้ชิดมีการเปลี่ยนโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ต้องหาที่ 1 ใช้อยู่ประจำได้ปิดสัญญาณไป และขณะจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาที่ 1 - 2 ตรวจสอบพบว่าโทรศัพท์มือถือผู้ต้องหาที่ 1 ใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ต้องหาที่ 2 ส่วนโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาที่ 2 ใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของพี่สาวผู้ต้องหาที่ 2 การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 - 2 ทำให้ยากแก่การติดต่อหรือติดตามตัวและค้นหาพยานหลักฐานในโทรศัพท์ ทั้งนี้ จากการตรวจค้นหาพยานหลักฐานที่บ้านพักผู้ต้องหาที่ 1- 2 พบว่าภายในบ้านมีตู้นิรภัยขนาดใหญ่สูง 2 เมตร ติดตั้งหลบซ่อน ทำให้ยากต่อการมองเห็นจากบุคคลภายนอก เมื่อเจ้าหน้าที่ค้นเปิดตู้นิรภัยดังกล่าว พบว่ามีร่องรอยผ่านการเก็บทรัพย์สินแล้ว จึงไม่พบทรัพย์สินมีค่าใดๆ อยู่ภายในตู้ดังกล่าว น่าเชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 1 -2 ได้ร่วมกันยักย้ายทรัพย์สินออกไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจค้น
.
และขณะเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมขณะผู้ต้องหาที่ 1 -2 ขับรถยนต์อยู่บริเวณถนนสายกบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าไปทางชายแดนประเทศกัมพูชาและพบกระเป๋าเดินทางภายในมีเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ต้องหาที่ 1- 2 มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีออกนอกประเทศ
.
ประกอบกับคดีที่ผู้ต้องหาที่ 1 -2 ถูกตั้งข้อหาจับกุมมีอัตราโทษสูงถึง 10 ปีในคดีนี้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้กระทำความผิดฉ้อโกงและได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายจำนวนทั้งสิ้น 78,097,764.70 บาท ซึ่งเป็นความเสียหายมูลค่าสูง จากเหตุผลดังกล่าว หากผู้ต้องหาที่ 1-2 ได้รับการปล่อยชั่วคราวไป เชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 1-2 น่าจะหลบหนีเข้าไปยุ่งหรือพยานหลักฐาน และจะเป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม มีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราว โดยระบุว่าคดีมีอัตราโทษสูงและมูลค่าความเสียหายสูง หากผู้ต้องการผู้ต้องหาที่ 1-2 ได้รับการปล่อยชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย
.
ศาลอาญาพิจารณาแล้วอนุญาตฝากขังตามคำร้อง
.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทนายของผู้ต้องหาที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอประกัน พร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด 5 แสนบาท รวมทั้งยื่นเงื่อนไขให้ศาล ติดกำไลอีเอ็ม รวมทั้งห้ามออกนอกประเทศ และมารายงานตัวตามนัดทุกครั้ง ล่าสุด ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว
..............
Sondhi X
ศาลไม่ให้ประกันภรรยาทนายตั้ม พบย้ายทรัพย์ออกจากตู้เซฟ เปลี่ยนมือถือก่อนหนีไปเขมร . เปิดพฤติการณ์ทนายตั้มหลอกคุณอ้อยลงทุนหวยออนไลน์ ฟันส่วนต่างรถเบนซ์-เขียนแบบบ้าน ส่วนภรรยาใกล้ชิดย่อมรู้ทุกการกระทำ เผยก่อนถูกจับมีข่มขู่พยาน ด้อยค่าตำรวจ เปลี่ยนมือถือ ย้ายทรัพย์ออกจากเซฟ ก่อนขับรถไปชายแดน หวั่นหากปล่อยตัวเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน ด้านศาลไม่อนุญาตให้ประกันภรรยา แม้ทนายความยื่นประกัน 5 แสน ขอติดกำไลอีเอ็ม . วันนี้ (8 พ.ย.) เมื่อเวลา 13.40 น. ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก พนักงานสอบสวนกองปราบปรามนำตัวนายษิทธา เบี้ยบังเกิด หรือทนายตั้ม อายุ 44 ปี ผู้ต้องหาที่ 1 ในข้อหาฉ้อโกง, ร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน และนางปทิตตา เบี้ยบังเกิด อายุ 41 ปี ภรรยาทนายตั้ม เป็นผู้ต้องหาที่ 2 ในข้อหาร่วมกันฟอกเงินและสมคบโดยการตกลงกันตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปเพื่อกระทำความผิดฐานฟอกเงิน และได้มีการกระทำความผิด ฐานฟอกเงินเพราะเหตุที่ได้มีการสมคบกัน มายื่นคำร้องฝากขังครั้งที่ 1 . คำร้องระบุว่า ก่อนเกิดเหตุ น.ส.จตุพร อุบลเลิศ ผู้เสียหาย ได้ว่าจ้างผู้ต้องหาที่ 1 ให้เป็นที่ปรึกษากฎหมายต่อมาผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริง เป็นเหตุให้ผู้เสียหายหลงเชื่อ ส่งมอบเงินให้แก่ผู้ต้องหาที่ 1 หลายเรื่องหลายครั้งต่างกรรมต่างวาระ ได้แก่ . 1.ผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายให้ลงทุนขายสลากกินแบ่งรัฐบาลทางออนไลน์ อ้างว่าจะต้องจ่ายเงินเป็นค่าจ้างเขียนโปรแกรมเป็นเงินจำนวน 2,000,000 ยูโร พร้อมกับนำสัญญาว่าจ้างมาให้ผู้เสียหายลงลายมือชื่อ ทำให้ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินค่าจ้างดังกล่าวไปยังบัญชีธนาคารของผู้ต้องหาที่ 1 คิดเป็นเงินไทย จำนวน 71,067,764.70 บาท . 2. ผู้เสียหายได้มอบหมายให้ผู้ต้องหาที่ 1 หาซื้อรถยนต์ ยี่ห้อเบนซ์ รุ่น จี 400 จากนั้นผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าสามารถหาซื้อรถยนต์ดังกล่าวได้ในราคา 12,900,000 บาท และมีค่าติดฟิล์มรถยนต์จำนวน 30,000 บาท รวมเป็นเงิน 12,930,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วรถยนต์คันดังกล่าวมีราคาเพียง 11,400,000 บาท โดยไม่มีราคาติดฟิล์ม ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้เงินค่าส่วนต่างจากราคารถยนต์และค่าฟิล์มรถ รวมเป็นเงินจำนวน 1,530,000 บาท . 3. ผู้ต้องหาที่ 1 ได้หลอกลวงผู้เสียหายว่าผู้ต้องหาที่ 1 ได้ติดต่อว่าจ้างบริษัทแห่งหนึ่งเป็นผู้เขียนแบบก่อสร้างโรงแรม ที่ผู้เสียหายจะก่อสร้าง โดยอ้างว่ามีค่าเขียนแบบโรงแรมเป็นจำนวนเงิน 9,000,000 บาท ทั้งที่ความจริงแล้วผู้ต้องหาที่ 1 ได้ไปว่าจ้างบริษัทอื่นให้เขียนแบบโรงแรมดังกล่าวให้แก่ผู้เสียหายในราคา 3,500,000 บาท ผู้เสียหายหลงเชื่อโอนเงินชำระค่าเขียนแบบดังกล่าวจำนวน 9,000,000 บาท เข้าบัญชีธนาคารให้แก่บริษัทแห่งหนึ่งจากนั้นได้มีการถอนเงินไปมอบให้แก่ผู้ต้องหาที่ 1 ทำให้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้เงินส่วนต่างค่าเขียนแบบโรงแรมเป็นเงินจำนวน 5,500,000 บาท . การกระทำดังกล่าวของผู้ต้องหาที่ 1 เป็นความผิดฐานฉ้อโกงอันมีลักษณะเป็นปกติธุระตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และจากการสืบสวนสอบสวนพบผู้ต้องหาที่ 1 และผู้ต้องหาที่ 2 มีการกระทำต่อทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดดังกล่าวเข้าข่ายเป็นการฟอกเงิน ดังนี้ . 1. หลังจากผู้ต้องหาที่ 1 ได้รับโอนเงินจากผู้เสียหายจำนวน 71 ล้านบาทเศษ ผู้ต้องหาที่ 1 ได้โอนเงินจำนวน 71 ล้านบาท ออกจากบัญชีธนาคารของตนเองไปยังบัญชีอื่นของตนเองอีก 2 ทอด เพื่อชำระหนี้ค่าบ้านและที่ดินดังกล่าวให้แก่ผู้ต้องหาที่ 2 . 2. ผู้ต้องหาที่ 1 ได้รับมอบเงินสดของผู้เสียหายที่หลอกลวงเป็นค่าเขียนแบบโรงแรมจำนวน 9,000,000 บาทได้แบ่งเงินสดจำนวน 1,000,000 บาท ไปมอบให้แก่พี่สาวของผู้ต้องหาที่ 2 ก่อนพี่สาวของผู้ต้องหาที่ 2 นำไปเข้าบัญชีธนาคารของตัวเอง . ในชั้นสอบสวนผู้ต้องหาที่ 1-2 ให้การปฏิเสธตลอดข้อกล่าวหา . ท้ายคำร้องพนักงานสอบสวนได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจาก ผู้ต้องหาที่ 1 เป็นทนายความมีความรู้ทางกฎหมายเป็นอย่างดีและเป็นผู้ที่สังคมให้ความเชื่อถือ แต่กลับมีการกระทำผิดหลายครั้งหลายหนต่อเนื่องกัน ในลักษณะฉ้อโกงอันเป็นปกติธุระ ส่วนผู้ต้องหาที่ 2 เป็นภรรยาของผู้ต้องหาที่ 1 เป็นบุคคลใกล้ชิดและพักอาศัยอยู่ด้วยกัน ย่อมรู้เห็นการกระทำผิดและร่วมกระทำความผิดฟอกเงินกับผู้ต้องหาที่ 1 โดยผู้ต้องหาทั้งสองคนมีพฤติการณ์ที่จะหลบหนียุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานและเป็นอุปสรรคหรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ดังนี้ . ผู้ต้องหาที่ 1 ได้ให้พยานบุคคลที่สำคัญในคดีให้การต่อพนักงานสอบสวนในลักษณะปกปิดข้อเท็จจริงการกระทำความผิดของตนผู้ต้องหาที่ 1 มีพฤติการณ์สำคัญบางประการ ทำให้พยานเกิดความเกรงกลัวภายในอันตรายที่จะเกิดกับพยานหรือตัวครอบครัวเพื่อไม่ให้พยานมาให้การหรือไม่ให้การข้อเท็จจริงที่สำคัญต่อคดี ผู้ต้องหาที่ 1 มีการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนในลักษณะลดทอนความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานสอบสวน ทำให้ผู้เสียหายและพยานบุคคลที่มาให้การต่อพนักงานสอบสวนเกิดความไม่มั่นใจและไม่ไว้วางใจการทำงานของพนักงานสอบสวน . จากการสืบสวนพบว่าก่อนที่จะมาจับกุมผู้ต้องหาที่ 1 และบุคคลใกล้ชิดมีการเปลี่ยนโทรศัพท์และหมายเลขโทรศัพท์มือถือ และพบว่าหมายเลขโทรศัพท์ที่ผู้ต้องหาที่ 1 ใช้อยู่ประจำได้ปิดสัญญาณไป และขณะจับกุมเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาที่ 1 - 2 ตรวจสอบพบว่าโทรศัพท์มือถือผู้ต้องหาที่ 1 ใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ต้องหาที่ 2 ส่วนโทรศัพท์มือถือของผู้ต้องหาที่ 2 ใช้ซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ของพี่สาวผู้ต้องหาที่ 2 การกระทำของผู้ต้องหาที่ 1 - 2 ทำให้ยากแก่การติดต่อหรือติดตามตัวและค้นหาพยานหลักฐานในโทรศัพท์ ทั้งนี้ จากการตรวจค้นหาพยานหลักฐานที่บ้านพักผู้ต้องหาที่ 1- 2 พบว่าภายในบ้านมีตู้นิรภัยขนาดใหญ่สูง 2 เมตร ติดตั้งหลบซ่อน ทำให้ยากต่อการมองเห็นจากบุคคลภายนอก เมื่อเจ้าหน้าที่ค้นเปิดตู้นิรภัยดังกล่าว พบว่ามีร่องรอยผ่านการเก็บทรัพย์สินแล้ว จึงไม่พบทรัพย์สินมีค่าใดๆ อยู่ภายในตู้ดังกล่าว น่าเชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 1 -2 ได้ร่วมกันยักย้ายทรัพย์สินออกไปก่อนที่เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจค้น . และขณะเจ้าหน้าที่ทำการจับกุมขณะผู้ต้องหาที่ 1 -2 ขับรถยนต์อยู่บริเวณถนนสายกบินทร์บุรี-ฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าไปทางชายแดนประเทศกัมพูชาและพบกระเป๋าเดินทางภายในมีเสื้อผ้าเครื่องใช้ส่วนตัวของผู้ต้องหาที่ 1- 2 มีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนีออกนอกประเทศ . ประกอบกับคดีที่ผู้ต้องหาที่ 1 -2 ถูกตั้งข้อหาจับกุมมีอัตราโทษสูงถึง 10 ปีในคดีนี้ผู้ต้องหาที่ 1 ได้กระทำความผิดฉ้อโกงและได้ทรัพย์สินของผู้เสียหายจำนวนทั้งสิ้น 78,097,764.70 บาท ซึ่งเป็นความเสียหายมูลค่าสูง จากเหตุผลดังกล่าว หากผู้ต้องหาที่ 1-2 ได้รับการปล่อยชั่วคราวไป เชื่อว่าผู้ต้องหาที่ 1-2 น่าจะหลบหนีเข้าไปยุ่งหรือพยานหลักฐาน และจะเป็นอุปสรรคก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสอบสวนของคณะพนักงานสอบสวน อย่างไรก็ตาม มีผู้เสียหายยื่นคำร้องขอคัดค้านการปล่อยชั่วคราว โดยระบุว่าคดีมีอัตราโทษสูงและมูลค่าความเสียหายสูง หากผู้ต้องการผู้ต้องหาที่ 1-2 ได้รับการปล่อยชั่วคราว เกรงว่าจะหลบหนี ซึ่งอาจทำให้ผู้เสียหายไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหาย . ศาลอาญาพิจารณาแล้วอนุญาตฝากขังตามคำร้อง . ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ทนายของผู้ต้องหาที่ 2 ได้ยื่นคำร้องขอประกัน พร้อมหลักทรัพย์เป็นเงินสด 5 แสนบาท รวมทั้งยื่นเงื่อนไขให้ศาล ติดกำไลอีเอ็ม รวมทั้งห้ามออกนอกประเทศ และมารายงานตัวตามนัดทุกครั้ง ล่าสุด ศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัว .............. Sondhi X
Like
Love
Haha
5
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 1167 มุมมอง 0 รีวิว