จะทำตามไหม! ศาลอาญาโลกสั่งมองโกเลียรวบตัวปูติน หลังผู้นำรัสเซียมีคิวเดินทางเยือน
1 กันยายน 2567- สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มองโกเลียต้องควบคุมตัวประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย สืบเนื่องจากพวกเขาเป็นรัฐสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) จากคำกล่าวของโฆษกศาลแห่งนี้ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองเฮก ความเคลื่อนไหวซึ่งมีขึ้นก่อนหน้าที่ ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนมองโกเลีย
ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนเพื่อนบ้านของรัสเซียแห่งนี้ ในวันจันทร์ (2 ก.ย.) เพื่อร่วมรำลึกครบรอบ 85 ปี ของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางทฤษฎีแล้ว แผนการเดินทางดังกล่าวทำให้เขาเสี่ยงถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหา "ก่ออาชญากรรมสงตราม" เนื่องจากมองโกเลีย ให้การรับรองขอบเขตอำนาจของศาลแห่งนี้
ฟาดิ เอล-อับดัลเลาะห์ โฆษกของศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีในวันศุกร์ (30 ส.ค.) ว่าทุกรัฐที่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม "มีพันธสัญญาที่ต้องให้ความร่วมมือ สอดคล้องกับบทบัญญัติภาค 9 ของธรรมนูญกรุงโรม" ทั้งนี้ ธรรมนูญกรุงโรม เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จัดตั้งศาลแห่งนี้ขึ้นมา และทางมองโกเลียได้ให้สัตยาบันรับรองในปี 2002
"ในกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือ บรรดาผู้พิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศ อาจดำเนินการตรวจสอบผลกระทบในเรื่องดังกล่าว และแจ้งต่อสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมในเรื่องนี้ จากนั้นทางสมัชชาฯ จะเป็นคนตัดสินใจใช้มาตรการใดๆ ที่พวกเขาเล็งเห็นว่ามีความเหมาะสม" เอล-อับดัลเลาะห์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญกรุงโรมได้ให้ข้อยกเว้น ครั้งที่การจับกุมใดๆ นั้นเป็นการละเมิดพันธสัญญาในสนธิสัญญาหนึ่งที่ทำไว้กับประเทศอื่น หรือละเมิดเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูตของบุคคลหรือสินทรัพย์ของประเทศที่ 3
อ้างอิงจากรัฐบาลในกรุงเคียฟ ทางยูเครนได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้ มองโกเลียจับกุม ปูติน เช่นกัน
กระนั้นก็ตาม ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (30 ส.ค.) มอสโกไม่กังวลเกี่ยวกับหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อมเน้นว่าทุกประเด็นปัญหาในความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเยือนของปูติน จะได้รับการจัดการแยกกันเป็นการล่วงหน้า
ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับ ปูติน ในเดือนมีนาคม 2023 กล่าวหาประธานาธิบดีรัสเซีย บังคับเนรเทศอย่างผิดกฎหมายและบังคับขนย้ายประชากร (เด็ก) จากพื้นที่ยึดครองในยูเครน ไปยังสหพันธรัฐรัสเซีย
มอสโกปฏิเสธคำกล่าวอ้างว่าไร้สาระ เน้นว่าการอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่สู้รบไม่ใช่อาชญากรรม ยิ่งไปกว่านั้นทั้งรัสเซียและยูเครน ก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม นั่นหมายความว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจในเรื่องนี้
ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9670000080886
#Thaitimes
1 กันยายน 2567- สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มองโกเลียต้องควบคุมตัวประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย สืบเนื่องจากพวกเขาเป็นรัฐสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) จากคำกล่าวของโฆษกศาลแห่งนี้ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองเฮก ความเคลื่อนไหวซึ่งมีขึ้นก่อนหน้าที่ ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนมองโกเลีย
ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนเพื่อนบ้านของรัสเซียแห่งนี้ ในวันจันทร์ (2 ก.ย.) เพื่อร่วมรำลึกครบรอบ 85 ปี ของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางทฤษฎีแล้ว แผนการเดินทางดังกล่าวทำให้เขาเสี่ยงถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหา "ก่ออาชญากรรมสงตราม" เนื่องจากมองโกเลีย ให้การรับรองขอบเขตอำนาจของศาลแห่งนี้
ฟาดิ เอล-อับดัลเลาะห์ โฆษกของศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีในวันศุกร์ (30 ส.ค.) ว่าทุกรัฐที่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม "มีพันธสัญญาที่ต้องให้ความร่วมมือ สอดคล้องกับบทบัญญัติภาค 9 ของธรรมนูญกรุงโรม" ทั้งนี้ ธรรมนูญกรุงโรม เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จัดตั้งศาลแห่งนี้ขึ้นมา และทางมองโกเลียได้ให้สัตยาบันรับรองในปี 2002
"ในกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือ บรรดาผู้พิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศ อาจดำเนินการตรวจสอบผลกระทบในเรื่องดังกล่าว และแจ้งต่อสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมในเรื่องนี้ จากนั้นทางสมัชชาฯ จะเป็นคนตัดสินใจใช้มาตรการใดๆ ที่พวกเขาเล็งเห็นว่ามีความเหมาะสม" เอล-อับดัลเลาะห์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญกรุงโรมได้ให้ข้อยกเว้น ครั้งที่การจับกุมใดๆ นั้นเป็นการละเมิดพันธสัญญาในสนธิสัญญาหนึ่งที่ทำไว้กับประเทศอื่น หรือละเมิดเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูตของบุคคลหรือสินทรัพย์ของประเทศที่ 3
อ้างอิงจากรัฐบาลในกรุงเคียฟ ทางยูเครนได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้ มองโกเลียจับกุม ปูติน เช่นกัน
กระนั้นก็ตาม ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (30 ส.ค.) มอสโกไม่กังวลเกี่ยวกับหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อมเน้นว่าทุกประเด็นปัญหาในความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเยือนของปูติน จะได้รับการจัดการแยกกันเป็นการล่วงหน้า
ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับ ปูติน ในเดือนมีนาคม 2023 กล่าวหาประธานาธิบดีรัสเซีย บังคับเนรเทศอย่างผิดกฎหมายและบังคับขนย้ายประชากร (เด็ก) จากพื้นที่ยึดครองในยูเครน ไปยังสหพันธรัฐรัสเซีย
มอสโกปฏิเสธคำกล่าวอ้างว่าไร้สาระ เน้นว่าการอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่สู้รบไม่ใช่อาชญากรรม ยิ่งไปกว่านั้นทั้งรัสเซียและยูเครน ก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม นั่นหมายความว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจในเรื่องนี้
ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9670000080886
#Thaitimes
จะทำตามไหม! ศาลอาญาโลกสั่งมองโกเลียรวบตัวปูติน หลังผู้นำรัสเซียมีคิวเดินทางเยือน
1 กันยายน 2567- สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า มองโกเลียต้องควบคุมตัวประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน แห่งรัสเซีย สืบเนื่องจากพวกเขาเป็นรัฐสมาชิกของศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) จากคำกล่าวของโฆษกศาลแห่งนี้ที่มีสำนักงานใหญ่ในเมืองเฮก ความเคลื่อนไหวซึ่งมีขึ้นก่อนหน้าที่ ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนมองโกเลีย
ปูติน มีกำหนดเดินทางเยือนเพื่อนบ้านของรัสเซียแห่งนี้ ในวันจันทร์ (2 ก.ย.) เพื่อร่วมรำลึกครบรอบ 85 ปี ของการเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในทางทฤษฎีแล้ว แผนการเดินทางดังกล่าวทำให้เขาเสี่ยงถูกจับกุมตามหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ ในข้อหา "ก่ออาชญากรรมสงตราม" เนื่องจากมองโกเลีย ให้การรับรองขอบเขตอำนาจของศาลแห่งนี้
ฟาดิ เอล-อับดัลเลาะห์ โฆษกของศาลอาญาระหว่างประเทศ ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวบีบีซีในวันศุกร์ (30 ส.ค.) ว่าทุกรัฐที่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม "มีพันธสัญญาที่ต้องให้ความร่วมมือ สอดคล้องกับบทบัญญัติภาค 9 ของธรรมนูญกรุงโรม" ทั้งนี้ ธรรมนูญกรุงโรม เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศที่จัดตั้งศาลแห่งนี้ขึ้นมา และทางมองโกเลียได้ให้สัตยาบันรับรองในปี 2002
"ในกรณีที่ไม่ให้ความร่วมมือ บรรดาผู้พิพากษาของศาลอาญาระหว่างประเทศ อาจดำเนินการตรวจสอบผลกระทบในเรื่องดังกล่าว และแจ้งต่อสมัชชารัฐภาคีแห่งธรรมนูญกรุงโรมในเรื่องนี้ จากนั้นทางสมัชชาฯ จะเป็นคนตัดสินใจใช้มาตรการใดๆ ที่พวกเขาเล็งเห็นว่ามีความเหมาะสม" เอล-อับดัลเลาะห์กล่าว
อย่างไรก็ตาม ธรรมนูญกรุงโรมได้ให้ข้อยกเว้น ครั้งที่การจับกุมใดๆ นั้นเป็นการละเมิดพันธสัญญาในสนธิสัญญาหนึ่งที่ทำไว้กับประเทศอื่น หรือละเมิดเอกสิทธิ์คุ้มกันทางการทูตของบุคคลหรือสินทรัพย์ของประเทศที่ 3
อ้างอิงจากรัฐบาลในกรุงเคียฟ ทางยูเครนได้ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการ เรียกร้องให้ มองโกเลียจับกุม ปูติน เช่นกัน
กระนั้นก็ตาม ดมิทรี เปสคอฟ โฆษกของวังเครมลิน บอกกับพวกผู้สื่อข่าวในวันศุกร์ (30 ส.ค.) มอสโกไม่กังวลเกี่ยวกับหมายจับของศาลอาญาระหว่างประเทศ พร้อมเน้นว่าทุกประเด็นปัญหาในความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางเยือนของปูติน จะได้รับการจัดการแยกกันเป็นการล่วงหน้า
ศาลอาญาระหว่างประเทศออกหมายจับ ปูติน ในเดือนมีนาคม 2023 กล่าวหาประธานาธิบดีรัสเซีย บังคับเนรเทศอย่างผิดกฎหมายและบังคับขนย้ายประชากร (เด็ก) จากพื้นที่ยึดครองในยูเครน ไปยังสหพันธรัฐรัสเซีย
มอสโกปฏิเสธคำกล่าวอ้างว่าไร้สาระ เน้นว่าการอพยพพลเรือนออกจากพื้นที่สู้รบไม่ใช่อาชญากรรม ยิ่งไปกว่านั้นทั้งรัสเซียและยูเครน ก็ไม่ได้เป็นรัฐภาคีของธรรมนูญกรุงโรม นั่นหมายความว่าศาลอาญาระหว่างประเทศไม่มีขอบเขตอำนาจในเรื่องนี้
ที่มา : https://mgronline.com/around/detail/9670000080886
#Thaitimes