“ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย

4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้

อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907

อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต”

เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า
[“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป
รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต

“ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต…

ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป]

ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล

แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม

รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์”

รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย

“ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย

** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง
การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน

อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย

** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง
การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป”

สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง

เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง!

และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย

กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน”

ที่มา News1
https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw

#Thaitimes
“ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป MOU2544 จึงส่อผิดกฎหมายไปด้วย 4 พฤศจิกายน 2567-นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานกรรมการด้านวิชาการ พรรคพลังประชารัฐ โพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก Thirachai Phuvanatnaranubala - - ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล ในหัวข้อด่วน! กัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาฯ มีรายละเอียดดังนี้ อาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ อดีตอัยการและอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้กรุณาส่งข้อมูลแจ้งผม ทำให้ผมเห็นว่ากัมพูชาไม่อาจอ้างสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 อนุสัญญาเจนีวาว่าด้วย “ไหล่ทวีป” 1958 ไม่มีการรับรองสิทธิทางประวัติศาสตร์ รับรองไว้เฉพาะกรณีของ “ทะเลอาณาเขต” เว็บไซต์ของกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ระบุว่า [“ทะเลอาณาเขต” (territorial sea) มีความกว้างไม่เกิน 12 ไมล์ทะเล โดยวัดจากเส้นฐานออกไป รัฐชายฝั่งมีอำนาจอธิปไตย (sovereignty) เหนือทะเลอาณาเขต “ไหล่ทวีป” (continental shelf) หมายถึง พื้นดินท้องทะเลและดินใต้ผิวดินของบริเวณใต้ทะเล ซึ่งขยายเลยทะเลอาณาเขตออกไปตามธรรมชาติของดินแดนจนถึงริมนอกของขอบทวีป หรือจนถึงระยะ 200 ไมล์ทะเลจากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต… ในบริเวณไหล่ทวีป รัฐชายฝั่งสามารถใช้สิทธิอธิปไตยในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติบน ไหล่ทวีป] ดังนั้น พื้นที่ในอ่าวไทย บริเวณที่ระบุอ้างกันว่าเป็นพื้นที่ทับซ้อน ดังปรากฏใน MOU44 นั้น จึงไม่ใช่พื้นที่ “ทะเลอาณาเขต” ที่ครอบคลุมความกว้างเพียง 12 ไมล์ทะเล แต่เป็นพื้นที่ “ไหล่ทวีป” ที่ครอบคลุมความกว้างถึง 200 ไมล์ทะเล และเป็นอาณาเขตสำหรับพัฒนาทรัพยากรปิโตรเลียม รูป 1-4 ในประกาศ เรื่อง ใช้อนุสัญญากรุงเจนีวาว่าด้วยกฎหมายทะเล ซึ่งมีพระบรมราชโองการโดยล้นเกล้ารัชกาลที่ 9 รับสนองฯ โดย จอมพล ถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2512 ในหัวข้อ ทะเลอาณาเขต ข้อ 12 ข้อย่อย 1 อนุญาตให้ยกเว้นได้สำหรับ “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” รูป 5-6 กฤษฎีกาของรัฐบาลกัมพูชา ที่ลากเส้น “ไหล่ทวีป” พาดผ่านเกาะกูดนั้น ระบุชัดเจนว่า เป็นการประกาศพื้นที่ Plateau Continental ซึ่งแปลว่า ไหล่ทวีป และมิใช่อ้างอิงอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 อย่างเดียว แต่อ้างอิงสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ค.ศ. 1907 ประกอบด้วย “ สาเหตุที่กัมพูชาอ้างอิงสนธิสัญญาฯ เพื่อลากเส้นผ่านเกาะกูดนั้น เป็นเพราะสนธิสัญญาฯ มีเอกสารแนบที่ระบุข้อความ “ตั้งแต่ชายทะเลที่ตรงข้ามจากยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดเป็นหลัก” จึงได้ลากเส้นจากชายทะเลผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะกูดไปทางทิศตะวันตกกินแดนเข้ามาในอ่าวไทย ** ผิดกฎหมายกระทงที่หนึ่ง การกระทำดังกล่าวผิดกฏหมายกระทงที่หนึ่ง เพราะเนื้อความในสนธิสัญญาฯ บรรยายถึงการแบ่งเขตแดนบนแผ่นดิน มิได้เกี่ยวข้องกับการแบ่งเขตแดนในทะเล จึงเป็นการอ้างอิงสนธิสัญญาฯ ที่บิดเบือน อีกทั้งเกาะกูดอยู่ห่างชายฝั่ง 44 ไมล์ทะเล จึงอยู่นอก “ทะเลอาณาเขต” อยู่แล้วด้วย ** ผิดกฎหมายกระทงที่สอง การกำหนดเส้นเขตไหล่ทวีปพาดผ่านเกาะกูดโดยอ้างสนธิสัญญาฯ เป็น “เหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์” นั้น ก็เป็นการบิดเบือน เอาข้อยกเว้นในเรื่องของ “ทะเลอาณาเขต” มาใช้กับเรื่องของ “ไหล่ทวีป” สรุปแล้ว กฤษฎีกากำหนดเขตไหล่ทวีปของกัมพูชา ขัดกับอนุสัญญากรุงเจนีวา 1958 โดยสิ้นเชิง เป็นการอ้างผิดมาตราอย่างจัง! และการที่รัฐบาลไทยในสมัยของอดีตนายกทักษิณ ไปทำ MOU44 โดยไม่ได้คำนึงถึงประเด็นนี้ ผมมีความเห็นว่า อาจเป็นการผิดกฎหมาย กัมพูชาจะลากเส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา อย่างไรก็ได้ ถ้าไทยไม่รับ ข้ออ้างดังกล่าวก็จะค้างอยู่ในอากาศ แต่การที่รัฐบาลไทยไปรับรู้เส้นที่ไม่ตรงกับอนุสัญญากรุงเจนีวา เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง จึงขอขอบคุณอาจารย์พนัส ทัศนียานนท์ เป็นอย่างยิ่ง ที่ได้กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประชาชน” ที่มา News1 https://news1live.com/detail/9670000106288?fbclid=IwZXh0bgNhZW0CMTEAAR2E5ivC8YLJ80XZFnfxkqNzQw-E48lM3Ly7iYy_GAtAVxhcMf3h4UJzl_o_aem_oBxuft0VBnaCm-WW-Z_8rw #Thaitimes
NEWS1LIVE.COM
“ธีระชัย” เปิดข้อมูล กัมพูชาลากเส้นในทะเลผิดหลักสากล 2 เด้ง MOU44 ส่อผิดไปด้วย
“ธีระชัย” เปิดหลักฐาน กัมพูชาลากเส้นในทะเล ผิดทั้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ที่ระบุถึงการเล็งยอดเขาบนเกาะกูดสำหรับแบ่งเขตบนแผ่นดินเท่านั้น และผิดอนุสัญญาเจนีวา 1958 ที่ห้ามมิให้อ้างเหตุแห่งสิทธิทางประวัติศาสตร์ในการประกาศเขตไหล่ทวีป
Like
5
0 Comments 0 Shares 657 Views 0 Reviews