กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา
.
วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล
.
อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544
.
MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป
.
แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
.
ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100%
.
อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา
.
ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้.
..............
Sondhi X
กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงเรื่องพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ยืนยัน MOU 2544 เป็นเพียงกรอบการเจรจา และไทยไม่เคยยอมรับการกำหนดเส้นเขตแดนของฝ่ายกัมพูชา . วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2567) กระทรวงการต่างประเทศเชิญสื่อมวลชนไทยและต่างประเทศเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปข้อมูลภูมิหลัง รวมทั้งสถานะล่าสุดเรื่องพื้นที่อ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน (Overlapping Claims Area: OCA) ระหว่างไทย-กัมพูชา โดยนายนิกรเดช พลางกูร อธิบดีกรมสารนิเทศ และโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ได้เชิญนางสุพรรณวษา โชติกญาณ ถัง อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย เข้าร่วมให้ข้อมูล . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ได้อธิบายถึงเขตทางทะเล และกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 รวมทั้งชี้แจงที่มาของพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีขนาดประมาณ 26,000 ตร.กม. ที่เกิดจากการประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยของทั้งไทยและกัมพูชา โดยทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันผ่านการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลกัมพูชาว่าด้วยพื้นที่ที่ไทยและกัมพูชาอ้างสิทธิในไหล่ทวีปทับซ้อนกัน เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 หรือที่เรียกกันว่า MOU 2544 . MOU 2544 เป็นความตกลงที่กำหนดกรอบและกลไกการเจรจาระหว่างกัน โดยไม่ได้เป็นการยอมรับการอ้างสิทธิทางทะเลของอีกฝ่ายแต่อย่างใด ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันต่อไป . แนวทางร่วมในการแก้ไขปัญหาที่ทั้งไทยและกัมพูชาเห็นสอดคล้องกันทั้งในระดับนโยบายและระดับเทคนิค คือ (1) ประชาชนของทั้งสองประเทศจะต้องยอมรับข้อตกลงได้ (2) จะต้องนำเรื่องให้รัฐสภาของทั้งสองประเทศพิจารณาให้ความเห็นชอบ และ (3) ข้อตกลงจะต้องสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง . ต่อกรณีที่มีการเชื่อมโยงเรื่อง “เกาะกูด” จ. ตราด เข้าไปพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ชี้แจงว่า เกาะกูดเป็นดินแดนของประเทศไทยตามสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. 1907 และปัจจุบันไทยใช้อำนาจอธิปไตยเหนือเกาะกูด 100% . อธิบดีกรมสนธิสัญญาฯ ยืนยันว่า MOU 2544 เป็นเพียง “กรอบการเจรจา” (Agreement to Negotiate) ประเทศไทยและกัมพูชาไม่ได้ยอมรับเส้นเขตแดนที่แต่ละฝ่ายกำหนดขึ้นเอง และใน MOU ก็ระบุชัดเจนว่า การเจรจาจะไม่มีผลต่อการอ้างสิทธิ์ทางทะเลของประเทศคู่เจรจา . ในเรื่องของการยกเลิก MOU 2544 ซึ่งคณะรัฐมนตรีของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เคยมีมติให้ยกเลิกเมื่อปี 2552 นั้น กระทรวงการต่างประเทศชี้แจงว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชามีปัญหา ทั้งในเรื่องปราสาทพระวิหาร และการปะทะกันที่ชายแดน ทำให้ขาดความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แต่หลังจากนั้น กระทรวงการต่างประเทศได้ปรึกษากับหน่วยงานต่าง ๆ แล้ว เห็นว่า MOU ยังมีความจำเป็น จึงได้เสนอให้รัฐบาลในชุดต่อๆ มาทบทวนมติ ครม. ปี 2552 และทุกรัฐบาลต่อมาก็มีมติให้ใช้ MOU 2544 ต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้. .............. Sondhi X
Like
3
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 308 มุมมอง 0 รีวิว