ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน
อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น
จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522
นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม
นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน
นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์
ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้
นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้
ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน
ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์
https://mgronline.com/china/detail/9670000104850
#Thaitimes
นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน
อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น
จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522
นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม
นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน
นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์
ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้
นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้
ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน
ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์
https://mgronline.com/china/detail/9670000104850
#Thaitimes
ตำแหน่งเอกอัครราชทูตจีนประจำเกาหลีใต้ว่างเว้นมากว่า 3 เดือนแล้ว ถือว่านานที่สุดนับตั้งแต่ชาติทั้งสองสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกัน
นายซิง ไห่หมิง เอกอัครราชทูตจีนคนก่อนเข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนมกราคม ปี 2563 และพ้นวาระเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้มีนายฟัง คุน อุปทูตรักษาการไปพลางๆ ก่อน
อย่างไรก็ตาม การแต่งตั้งล่าช้ามิใช่เพิ่งเกิดขึ้นกับกรณีเกาหลีใต้เท่านั้น
จีนส่งนายเซี่ย เฟิง อดีต รมช.ต่างประเทศไปเป็นเอกอัครราชทูตที่สหรัฐอเมริกาเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว หลังจากตำแหน่งว่างมานานเกือบ 5 เดือน นานที่สุดนับตั้งแต่มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันในปี 2522
นายไฉ รุ่น อดีตเอกอัครราชทูตประจำอิสราเอลก็เพิ่งได้รับการแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตประจำสหภาพยุโรปคนใหม่เมื่อเดือนที่แล้ว หลังจากตำแหน่งร้างมาตั้งแต่เดือนมีนาคม
นักสังเกตการณ์มองว่า ความล่าช้าในการแต่งตั้งอาจสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่มีมากขึ้น นายชุง แจฮุง ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาด้านจีนแห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นแข็งแกร่งขึ้น ส่วนเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ก็กลับมาเป็นศัตรูกันอีก จีนจึงต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างรอบคอบกว่าแต่ก่อน
นายสือ อิ้นหง อาจารย์ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยเหรินหมินในกรุงปักกิ่งชี้ว่า หากไม่นับความขัดแย้งอย่างหนักกรณีเกาหลีใต้จะนำระบบต่อต้านขีปนาวุธของสหรัฐฯ (THAAD) มาติดตั้งในประเทศ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อจีนเมื่อปี 2559 แล้ว ความสัมพันธ์จีน-เกาหลีใต้ขณะนี้ถือว่าตกต่ำสุดนับตั้งแต่สถาปนาความสัมพันธ์กันในปี 2535 จากสาเหตุสำคัญคือเกาหลีใต้กระชับความร่วมมือด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ ส่วนจีนก็ผ่อนปรนอย่างชัดเจนเรื่องที่เกาหลีเหนือพัฒนาขีปนาวุธนิวเคลียร์
ในความเห็นของนายจื่อฉวิน จู อาจารย์ด้านรัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของมหาวิทยาลัยบักเนลล์ (Bucknell University) ในสหรัฐฯ นั้น ไม่จำเป็นต้องตีความเรื่องตำแหน่งเอกอัครราชทูตว่างให้มากเกินไป เพราะเมื่อพิจารณาถึงความสำคัญของเกาหลีใต้และคาบสมุทรเกาหลีแล้ว ปักกิ่งน่าจะแต่งตั้งนักการทูตรุ่นเฮฟวีเวต ซึ่งจะได้รับการต้อนรับจากโซลในเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน เขายังเห็นว่า มีหลายปัจจัยที่ทำให้การแต่งตั้งล่าช้า เช่น ปักกิ่งมีเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญมากกว่าในกรณีสถานการณ์ในช่องแคบไต้หวันและทะเลจีนใต้
นายจู เฟิง คณบดีบริหารของโรงเรียนการศึกษานานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยหนันจิงระบุว่า สำหรับความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว การที่เอกอัครราชทูตว่างชั่วคราวไม่ใช่ปัญหาใหญ่ เพราะอุปทูตปฏิบัติหน้าที่แทนชั่วคราวได้
ตำแหน่งอาจว่างไปอีก 2-3 เดือน หลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายชุง แจฮุง แห่งสถาบันเซจงในกรุงโซลคาดคะเน
ที่มา : เซาท์ไชน่ามอร์นิงโพสต์
https://mgronline.com/china/detail/9670000104850
#Thaitimes