สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ ผ้าไหมพื้นเรียบ
พระภูษาผ้าไหมยกดอก ลายเครือเถาราชพฤกษ์พิกุลใหญ่ ถมเกสรทองเชิงกนก
ลายเครือเถา เป็นลายพื้นฐานอีกแบบหนึ่งที่สำคัญของลายไทย นอกเหนือจากลายกระจัง ลายกระหนก ลายประจำยาม ลายประเภทนี้จะเขียนในลักษณะคดโค้งหลายแนว แตะหรือสอดสลับกัน คล้ายการเกี่ยวพันของเถาวัลย์ โดยมีกระหนกออกจากกาบหุ้มเถาไว้ลายเครือเถาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภทคือ ลายเครือเถาหางโต ลายเครือเถาใบเทศ
ลายเครือเถาเปลว สามารถพบเห็นลายเครือเถา บริเวณหน้าบัน บานประตู หน้าต่าง หรือตู้ลายรดน้ำ หรือประดับมุก รวมถึง ลายในผ้าทอ และลายปักไหม
วัดราชบพิธฯ พบงานวิจิตรศิลปกรรมกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ ประดับตกแต่งในสถาปัตยกรรม อาทิ พระมหาเจดีย์ เจดีย์ทรงระฆัง ถ่ายแบบมาจากเจดีย์ทรงระฆังอยุธยาตอนกลาง จัดเป็นทรงระฆังแบบอยุธยาแท้ที่มีลักษณะเฉพาะ คือการใช้ “มาลัยเครือเถา” กระเบื้องเบญจรงค์ลายดอกไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับส่วนฐานพระเจดีย์เต็มพื้นที่โดยรอบ องค์พระมหาเจดีย์ทั้งหมดตั้งแต่ฐานไพทีไปจนกระทั่งถึงยอด ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบ ทั้งองค์ เป็นกระเบื้องแบบเบญจรงค์ แต่ละส่วนตกแต่งด้วยลวดลายหลายประเภท โดยรวมเรียก ลายแผลง หรือ ‘ลายแผง’ เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ลายกลีบบัว ลายเทพพนม ลายดอกไม้-ใบไม้ทั้งแบบไทยประเพณี แบบตะวันตก และแบบผสมผสานกัน
กล่าวคือ โดยรอบตั้งแต่ฐานถึงชั้นประทักษิณ เป็นลายดอกไม้ประเภท ลายก้านแย่ง (ลายดอกไม้-ใบไม้) พื้นสีเหลืองทอง ลวดลายในชุดแบบเบญจรงค์ ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดประดับ กระเบื้องเคลือบสีเหลือง ไม่ประดับลวดลาย ถือเป็นพัฒนาการอย่างใหม่ของงานช่างในการสร้างเจดีย์ เพราะสมัยก่อนใช้การ ‘ลงรักปิดทอง’ หรือทาสี ‘น้ำปูน’ ที่เป็นสีขาวเท่านั้น จนมาถึงรัชกาลที่ ๕ จึงเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องเคลือบ ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและงดงามยิ่ง
-----
HER ROYAL ATTIRE IN THAI AMARIN
WITH LAMPHUN BROCADE SILK RATCHAPHRUEK PIKUN WITH GOLD-THREAD
.
The vine pattern is another important basic type of Thai pattern. In addition to the Krajang pattern, Kranok pattern, Prachayam pattern, this type of pattern is written in many curved lines. Tapping or inserting alternately similar to the intertwining of vines The vine pattern is divided into 3 main types: the large-tailed vine pattern, the Indian leaf vine pattern, and the flame vine pattern. The vine pattern can be found on the pediment, door panels, windows, or cabinets in gold leaf or decorated with pearls, as well as patterns in woven fabrics and silk embroidery.
.
Wat Ratchabophit found exquisite works of art of Benjarong glazed tiles as architectural decorations, such as the Great Stupa, a bell-shaped stupa copied from the bell-shaped stupa of the central Ayutthaya period. It is considered a bell-shaped Ayutthaya style with a unique characteristic, which is the use of “Malai Kreua Thao”, Benjarong tiles with floral patterns in a square frame, decorating the base of the stupa covering the entire area around it. The entire Great Stupa, from the base to the top, is decorated with glazed tiles throughout the entire body, which are Benjarong tiles. Each part is decorated with various types of patterns, collectively called “Lai Plaeng” or “Lai Phaeng”, which are patterns in a diamond-shaped, square frame, such as lotus petal patterns, thep Phanom pattern, and flower-leaf patterns in both traditional Thai, Western, and mixed styles.
.
All around from the base to the circumambulation tier is a floral pattern of the Kan Yaeng pattern (flower and leaf pattern) on a golden yellow background, in the Benjarong style. The bell-shaped body and the top are decorated with yellow glazed tiles, not decorated with patterns. This is considered a new development in the craftsmanship in building a pagoda, because in the past they used only 'lacquer and gold leaf' or white 'lime water' paint. Until the reign of King Rama V, it was changed to glazed tiles. which is stable, strong and extremely beautiful.
_________________________________
#พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida
Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงฉลองพระองค์ไทยอมรินทร์ ผ้าไหมพื้นเรียบ พระภูษาผ้าไหมยกดอก ลายเครือเถาราชพฤกษ์พิกุลใหญ่ ถมเกสรทองเชิงกนก ลายเครือเถา เป็นลายพื้นฐานอีกแบบหนึ่งที่สำคัญของลายไทย นอกเหนือจากลายกระจัง ลายกระหนก ลายประจำยาม ลายประเภทนี้จะเขียนในลักษณะคดโค้งหลายแนว แตะหรือสอดสลับกัน คล้ายการเกี่ยวพันของเถาวัลย์ โดยมีกระหนกออกจากกาบหุ้มเถาไว้ลายเครือเถาแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ ๓ ประเภทคือ ลายเครือเถาหางโต ลายเครือเถาใบเทศ ลายเครือเถาเปลว สามารถพบเห็นลายเครือเถา บริเวณหน้าบัน บานประตู หน้าต่าง หรือตู้ลายรดน้ำ หรือประดับมุก รวมถึง ลายในผ้าทอ และลายปักไหม วัดราชบพิธฯ พบงานวิจิตรศิลปกรรมกระเบื้องเคลือบเบญจรงค์ ประดับตกแต่งในสถาปัตยกรรม อาทิ พระมหาเจดีย์ เจดีย์ทรงระฆัง ถ่ายแบบมาจากเจดีย์ทรงระฆังอยุธยาตอนกลาง จัดเป็นทรงระฆังแบบอยุธยาแท้ที่มีลักษณะเฉพาะ คือการใช้ “มาลัยเครือเถา” กระเบื้องเบญจรงค์ลายดอกไม้ในกรอบสี่เหลี่ยมจัตุรัส ประดับส่วนฐานพระเจดีย์เต็มพื้นที่โดยรอบ องค์พระมหาเจดีย์ทั้งหมดตั้งแต่ฐานไพทีไปจนกระทั่งถึงยอด ประดับด้วย กระเบื้องเคลือบ ทั้งองค์ เป็นกระเบื้องแบบเบญจรงค์ แต่ละส่วนตกแต่งด้วยลวดลายหลายประเภท โดยรวมเรียก ลายแผลง หรือ ‘ลายแผง’ เป็นลวดลายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ลายกลีบบัว ลายเทพพนม ลายดอกไม้-ใบไม้ทั้งแบบไทยประเพณี แบบตะวันตก และแบบผสมผสานกัน กล่าวคือ โดยรอบตั้งแต่ฐานถึงชั้นประทักษิณ เป็นลายดอกไม้ประเภท ลายก้านแย่ง (ลายดอกไม้-ใบไม้) พื้นสีเหลืองทอง ลวดลายในชุดแบบเบญจรงค์ ส่วนองค์ระฆังและส่วนยอดประดับ กระเบื้องเคลือบสีเหลือง ไม่ประดับลวดลาย ถือเป็นพัฒนาการอย่างใหม่ของงานช่างในการสร้างเจดีย์ เพราะสมัยก่อนใช้การ ‘ลงรักปิดทอง’ หรือทาสี ‘น้ำปูน’ ที่เป็นสีขาวเท่านั้น จนมาถึงรัชกาลที่ ๕ จึงเปลี่ยนมาเป็นกระเบื้องเคลือบ ซึ่งมั่นคงแข็งแรงและงดงามยิ่ง ----- HER ROYAL ATTIRE IN THAI AMARIN WITH LAMPHUN BROCADE SILK RATCHAPHRUEK PIKUN WITH GOLD-THREAD . The vine pattern is another important basic type of Thai pattern. In addition to the Krajang pattern, Kranok pattern, Prachayam pattern, this type of pattern is written in many curved lines. Tapping or inserting alternately similar to the intertwining of vines The vine pattern is divided into 3 main types: the large-tailed vine pattern, the Indian leaf vine pattern, and the flame vine pattern. The vine pattern can be found on the pediment, door panels, windows, or cabinets in gold leaf or decorated with pearls, as well as patterns in woven fabrics and silk embroidery. . Wat Ratchabophit found exquisite works of art of Benjarong glazed tiles as architectural decorations, such as the Great Stupa, a bell-shaped stupa copied from the bell-shaped stupa of the central Ayutthaya period. It is considered a bell-shaped Ayutthaya style with a unique characteristic, which is the use of “Malai Kreua Thao”, Benjarong tiles with floral patterns in a square frame, decorating the base of the stupa covering the entire area around it. The entire Great Stupa, from the base to the top, is decorated with glazed tiles throughout the entire body, which are Benjarong tiles. Each part is decorated with various types of patterns, collectively called “Lai Plaeng” or “Lai Phaeng”, which are patterns in a diamond-shaped, square frame, such as lotus petal patterns, thep Phanom pattern, and flower-leaf patterns in both traditional Thai, Western, and mixed styles. . All around from the base to the circumambulation tier is a floral pattern of the Kan Yaeng pattern (flower and leaf pattern) on a golden yellow background, in the Benjarong style. The bell-shaped body and the top are decorated with yellow glazed tiles, not decorated with patterns. This is considered a new development in the craftsmanship in building a pagoda, because in the past they used only 'lacquer and gold leaf' or white 'lime water' paint. Until the reign of King Rama V, it was changed to glazed tiles. which is stable, strong and extremely beautiful. _________________________________ #พระราชินีสุทิดา #苏提达王后 #QueenSuthida Cr. FB : สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี : We love Her Majesty Queen Suthida Fanpage
Love
Like
4
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 830 มุมมอง 0 รีวิว