เบื้องหลังดีเอสไอ รับคดี The Icon ตำรวจถอยรอรับคำสั่ง
.
คดี The Icon มาถึงประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายต้องจับตา ภายหลังมีการส่งมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มารับไม้ต่อในฐานะคดีพิเศษ โดยเรื่องนี้ลำดับขั้นตอนที่น่าสนใจ คือ เรื่องนี้เป็นกระบวนการและขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อความผิดใดความผิดหนึ่งเข้าลักษณะตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. 2547 และเป็นความผิดที่มีลักษณะตามประกาศของคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) ตำรวจจึงต้องถือปฏิบัติตามกฏหมายที่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ ในความรับผิดชอบเบื้องต้น ให้กับ dsi ตามกำหนดเวลาเพื่อไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
.
ที่สำคัญคดีนี้หลังจากที่ตำรวจได้รับแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ มาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ได้มีการสอบสวนปากคำประชาชนที่เชื่อว่าตกเป็นผู้เสียหาย และรวบรวมพยานหลักฐานมาโดยตลอด ซึ่งก็เริ่มมีประชาชนเดินทางมาแจ้งความมากขึ้น จนปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับจำนวนพนักงานสอบสวนของ บช.ก. ที่ต้องทำงานตั้งแต่ 9.00 - 02.00 ของวันรุ่งขึ้น จากปริมาณประชาชนที่มาแจ้งความและการรอคอยเพื่อให้ปากคำ ทำให้ประชาชนต้องรอเป็นเวลานาน บางรายรอจนข้ามวัน ด้วยเหตุนี้ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงสั่งให้มีการเปิดศูนย์รับแจ้งความขึ้นทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เชื่อว่าเป็นผู้เสียหาย จนถึง ณ วันนี้ มีการสอบสวนผู้เสียหายไปกว่า 9,000 คน และมีมูลค่าที่เชื่อว่าเสียหายถึง 2,900 ล้านบาทเศษ
.
นับตั้งแต่วันที่มีการสอบสวนปากคำและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดของ บช.ก. ได้มีการประชุม ,การวิเคราะห์ พิจารณาคำให้การ, การตรวจค้น , ออกหมายจับและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรวบรวมและแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาโดยตลอด ถือว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายอย่างเต็มที่ไปถึง 80% แล้ว ดังนั้นในการดำเนินการเบื้องต้น ตำรวจก็มีความมั่นใจว่า ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและรัดกุมมากพอสมควรที่จะส่งให้ดีเอสไอรับไปดำเนินการตามกฏหมาย
.
โดยเมื่อดีเอสไอรับคดีไปแล้วตำรวจก็อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวนได้ โดยดีเอสไออาจร้องขอให้ตำรวจหรือหน่วยงานใด เข้าช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานร่วมกันตามข้อบังคับของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้ ซึ่งตำรวจได้ยืนยันไปแล้วว่า มีความพร้อมและยินดีที่จะยังร่วมดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายกับดีเอสไอต่อไป
.
อย่างไรก็ตามเมื่อส่งสำนวนการสอบสวนในคดีดิไอคอนกรุ๊ป ไปให้ดีเอสไอแล้ว ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ก็อาจใช้มาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ รัฐมนตรีอาจเสนอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีคำสั่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นมาปฏิบัติหน้าที่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษนั้นได้” ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ หน่วยงานต่างๆ จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ช่วยเหลือ เพื่อประโยชน์แห่งการสืบสวนสอบสวน ในคดีนี้ต่อไป
.............
Sondhi X
เบื้องหลังดีเอสไอ รับคดี The Icon ตำรวจถอยรอรับคำสั่ง . คดี The Icon มาถึงประเด็นสำคัญที่หลายฝ่ายต้องจับตา ภายหลังมีการส่งมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ มารับไม้ต่อในฐานะคดีพิเศษ โดยเรื่องนี้ลำดับขั้นตอนที่น่าสนใจ คือ เรื่องนี้เป็นกระบวนการและขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายเมื่อความผิดใดความผิดหนึ่งเข้าลักษณะตาม พรบ.การสอบสวนคดีพิเศษพ.ศ. 2547 และเป็นความผิดที่มีลักษณะตามประกาศของคณะกรรมการคดีพิเศษ(กคพ.) ตำรวจจึงต้องถือปฏิบัติตามกฏหมายที่ต้องส่งสำนวนการสอบสวนพร้อมพยานหลักฐานต่างๆ ในความรับผิดชอบเบื้องต้น ให้กับ dsi ตามกำหนดเวลาเพื่อไปดำเนินการตามกฎหมายต่อไป . ที่สำคัญคดีนี้หลังจากที่ตำรวจได้รับแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษ มาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2567 ได้มีการสอบสวนปากคำประชาชนที่เชื่อว่าตกเป็นผู้เสียหาย และรวบรวมพยานหลักฐานมาโดยตลอด ซึ่งก็เริ่มมีประชาชนเดินทางมาแจ้งความมากขึ้น จนปริมาณงานไม่สัมพันธ์กับจำนวนพนักงานสอบสวนของ บช.ก. ที่ต้องทำงานตั้งแต่ 9.00 - 02.00 ของวันรุ่งขึ้น จากปริมาณประชาชนที่มาแจ้งความและการรอคอยเพื่อให้ปากคำ ทำให้ประชาชนต้องรอเป็นเวลานาน บางรายรอจนข้ามวัน ด้วยเหตุนี้ พล.ต.อ. กิตติ์รัฐ พันธุ์เพ็ชร์. ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ จึงสั่งให้มีการเปิดศูนย์รับแจ้งความขึ้นทั่วประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เชื่อว่าเป็นผู้เสียหาย จนถึง ณ วันนี้ มีการสอบสวนผู้เสียหายไปกว่า 9,000 คน และมีมูลค่าที่เชื่อว่าเสียหายถึง 2,900 ล้านบาทเศษ . นับตั้งแต่วันที่มีการสอบสวนปากคำและดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเป็นต้นมา เจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดของ บช.ก. ได้มีการประชุม ,การวิเคราะห์ พิจารณาคำให้การ, การตรวจค้น , ออกหมายจับและดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ เพื่อรวบรวมและแสวงหาพยานหลักฐานเพิ่มเติมมาโดยตลอด ถือว่าได้ดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายอย่างเต็มที่ไปถึง 80% แล้ว ดังนั้นในการดำเนินการเบื้องต้น ตำรวจก็มีความมั่นใจว่า ได้ดำเนินการอย่างรอบคอบและรัดกุมมากพอสมควรที่จะส่งให้ดีเอสไอรับไปดำเนินการตามกฏหมาย . โดยเมื่อดีเอสไอรับคดีไปแล้วตำรวจก็อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการสืบสวนสอบสวนได้ โดยดีเอสไออาจร้องขอให้ตำรวจหรือหน่วยงานใด เข้าช่วยเหลือ หรือปฏิบัติงานร่วมกันตามข้อบังคับของคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) ได้ ซึ่งตำรวจได้ยืนยันไปแล้วว่า มีความพร้อมและยินดีที่จะยังร่วมดำเนินการตามกระบวนการของกฎหมายกับดีเอสไอต่อไป . อย่างไรก็ตามเมื่อส่งสำนวนการสอบสวนในคดีดิไอคอนกรุ๊ป ไปให้ดีเอสไอแล้ว ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวน ก็อาจใช้มาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติว่า “ในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ รัฐมนตรีอาจเสนอให้นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลมีคำสั่งตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานอื่นมาปฏิบัติหน้าที่ในกรมสอบสวนคดีพิเศษเพื่อช่วยเหลือในการสืบสวนและสอบสวนคดีพิเศษนั้นได้” ซึ่งถือเป็นวิธีการที่ หน่วยงานต่างๆ จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ช่วยเหลือ เพื่อประโยชน์แห่งการสืบสวนสอบสวน ในคดีนี้ต่อไป ............. Sondhi X
Like
Angry
7
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 856 มุมมอง 1 รีวิว