แก่นสารสาระของการปฏิบัติคือจิต

"การปฏิบัติ จุดตั้งต้นเริ่มจากจิตของเรา
หลวงปู่มั่นถึงบอกว่าได้จิตก็ได้ธรรมะ
ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะหรอก
เห็นจิตก็คือการปฏิบัติธรรม
มองจิตใจตัวเองไม่เห็นก็ไม่ได้ปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นอย่ามัวแต่หลงรูปแบบเกินไป
จนลืมเนื้อหาแก่นสารสาระ
แก่นสารสาระของการปฏิบัติก็คือจิตของเรานั่นเอง

ทีแรกจะฝึกจิตให้ตั้งมั่น
อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้
ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่มีสติรู้ทันจิตของตนเองไว้
อย่างหลวงพ่อทำอานาปานสติบวกพุทโธ
หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ
แล้วจิตจะหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา
จิตจะไหลเข้าไปในแสงสว่าง รู้ทัน
ลมหายใจระงับ จะกลายเป็นแสง
จิตจะไหลเข้าไปที่แสง รู้ทัน
เห็นไหม อยู่ที่การรู้ทันจิตตัวเอง

ทันทีที่เรามีสติรู้ทันจิตตนเองได้
จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา
จิตจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา
คำว่าพุทธ พุทธะ พุทโธ
ก็แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พุทโธ พุทโธ
ไม่ใช่เป็นแค่คำเรียกขาน นกแก้วนกขุนทองแบบนั้น
พุทโธก็คือจิตนั่นเอง
ถ้าเราไม่เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ
ไม่มีวันเข้าใจศาสนาพุทธหรอก"

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
21 มกราคม 2567

🙏🙏🙏
แก่นสารสาระของการปฏิบัติคือจิต "การปฏิบัติ จุดตั้งต้นเริ่มจากจิตของเรา หลวงปู่มั่นถึงบอกว่าได้จิตก็ได้ธรรมะ ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะหรอก เห็นจิตก็คือการปฏิบัติธรรม มองจิตใจตัวเองไม่เห็นก็ไม่ได้ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นอย่ามัวแต่หลงรูปแบบเกินไป จนลืมเนื้อหาแก่นสารสาระ แก่นสารสาระของการปฏิบัติก็คือจิตของเรานั่นเอง ทีแรกจะฝึกจิตให้ตั้งมั่น อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่มีสติรู้ทันจิตของตนเองไว้ อย่างหลวงพ่อทำอานาปานสติบวกพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แล้วจิตจะหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา จิตจะไหลเข้าไปในแสงสว่าง รู้ทัน ลมหายใจระงับ จะกลายเป็นแสง จิตจะไหลเข้าไปที่แสง รู้ทัน เห็นไหม อยู่ที่การรู้ทันจิตตัวเอง ทันทีที่เรามีสติรู้ทันจิตตนเองได้ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา จิตจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา คำว่าพุทธ พุทธะ พุทโธ ก็แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทโธ พุทโธ ไม่ใช่เป็นแค่คำเรียกขาน นกแก้วนกขุนทองแบบนั้น พุทโธก็คือจิตนั่นเอง ถ้าเราไม่เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ ไม่มีวันเข้าใจศาสนาพุทธหรอก" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 21 มกราคม 2567 🙏🙏🙏
0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 81 มุมมอง 0 รีวิว