เผยแพร่ธรรมะ
บุญใดๆ ที่จะพึงได้จากการทำเพจนี้
ขอถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขอมอบแด่พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ
เจ้ากรรมนายเวร ทุกภพ ทุกภูมิ
จัดทำขึ้น
โดยไม่มีวัตถุประสงค์
ในการหาผลประโยชน์ใดๆ
กรรมอันใดที่ล่วงเกินต่อ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ผู้จัดทำขอน้อมกราบ
ขอได้โปรดงดซึ่งโทษที่ล่วงเกินนั้น
เพราะผู้จัดทำได้ยกเทิดทูน
ด้วยความเคารพบูชาไว้เหนือเศียรเกล้า
แต่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ย่อมอาจมีได้เป็นแน่แท้
และเพื่อการสำรวมระวัง
และตั้งสติให้ดีต่อไป
บุญใดๆ ที่จะพึงได้จากการทำเพจนี้
ขอถวายแด่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ขอมอบแด่พ่อแม่ ผู้มีพระคุณ
เจ้ากรรมนายเวร ทุกภพ ทุกภูมิ
จัดทำขึ้น
โดยไม่มีวัตถุประสงค์
ในการหาผลประโยชน์ใดๆ
กรรมอันใดที่ล่วงเกินต่อ
พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
ผู้จัดทำขอน้อมกราบ
ขอได้โปรดงดซึ่งโทษที่ล่วงเกินนั้น
เพราะผู้จัดทำได้ยกเทิดทูน
ด้วยความเคารพบูชาไว้เหนือเศียรเกล้า
แต่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์
ย่อมอาจมีได้เป็นแน่แท้
และเพื่อการสำรวมระวัง
และตั้งสติให้ดีต่อไป
อัปเดตล่าสุด
- สิ่งใดก็ตาม ใครก็ตาม
ทำให้เราไม่ชอบใจ
เราก็มีความรู้สึกแต่ว่า
นึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ
ไม่ถือโทษโกรธเคือง
โกรธแต่ทว่าไม่ผูกโกรธ
อาการไม่ผูกโกรธของเรา
เป็นปัจจัยให้เขามีความสุข
และเราเองก็มีความสุข
ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมดา
คนเราเกิดมานั้น
จะดีทุกอย่างเป็นไปไม่ได้
ฉะนั้น เมื่อรู้ว่าเขาเลว
เราก็ให้อภัยกับเขา
พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ)
🙏🙏🙏สิ่งใดก็ตาม ใครก็ตาม ทำให้เราไม่ชอบใจ เราก็มีความรู้สึกแต่ว่า นึกถึงการให้อภัยไว้เป็นปกติ ไม่ถือโทษโกรธเคือง โกรธแต่ทว่าไม่ผูกโกรธ อาการไม่ผูกโกรธของเรา เป็นปัจจัยให้เขามีความสุข และเราเองก็มีความสุข ถือว่าเป็นเรื่องของธรรมดา คนเราเกิดมานั้น จะดีทุกอย่างเป็นไปไม่ได้ ฉะนั้น เมื่อรู้ว่าเขาเลว เราก็ให้อภัยกับเขา พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) 🙏🙏🙏0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 23 มุมมอง 0 รีวิวกรุณาเข้าสู่ระบบเพื่อกดถูกใจ แชร์ และแสดงความคิดเห็น! - ผู้เข้าถึงธรรมคือผู้เข้าถึงธรรมดา
ธรรมขั้นสูงสุดนั้นมิได้อยู่ที่ไหน หากอยู่ในความธรรมดาสามัญ เพราะธรรมดาสามัญนั้นเอง
ผู้เข้าถึงธรรมคือผู้เข้าถึงธรรมดา
กลมกลืนกับธรรมดา
ไม่ขัดขืนโต้แย้งกับธรรมดา
ทั้งไม่ผลักไสหรือยึดติดธรรมดา
เพราะธรรมดานั้นไม่มีบวกหรือลบ สูงหรือต่ำ น่ายินดีหรือไม่น่ายินดี หากเป็นใจเราต่างหากที่ไปกำหนดหมายหรือให้ค่าเอาเอง
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโลกที่เร่งรีบอึกทึก และถูกปรุงแต่งจนพอกหนาด้วยสมมติและมายา บางครั้งเราจำเป็นต้องหลีกเร้นไปยังที่ที่สงบสงัดและปลอดโปร่งจากภารกิจ เพื่อมีเวลาพินิจจิตใจของตน จนหยั่งเห็นธรรมะหรือธรรมดาท่ามกลางความผันผวนของความรู้สึกนึกคิด ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างกลมกลืน และเป็นมิตรกับธรรมดามากขึ้น
แต่ในที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องกลับมาสู่โลกกว้างและชีวิตที่เป็นจริง ต้องเกี่ยวข้องกับงานการและผู้คน เผชิญกับความแปรปรวนของสรรพสิ่งรอบตัว พบกับความสมหวังและไม่สมหวัง จนบางครั้งเราอดไม่ได้ที่จะคิดหัวนกลับไปสู่สำนักปฏิบัติอันสงบสงัด หรือไม่ก็อยากจะเก็บตัวอยู่ในห้องพระเพื่อเจริญสมาธิภาวนานานเท่านาน แต่ใช่หรือไม่ว่าในชั่วขณะนั้น เรากำลังคิดหันหลังให้กับธรรมะที่อยู่ท่ามกลางความธรรมดาสามัญ
ชีวิตที่นั่งหรือเดินภาวนาทั้งวันเป็นชีวิตที่ไม่ธรรมดาสามัญ แม้จะจำเป็น แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเรา เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ตลอด เมื่อถึงเวลาเราก็ต้องพร้อมกลับมาสู่ชีวิตธรรมดาสามัญ ซึ่งมีภารกิจและความรับผิดชอบที่ต้องใส่ใจ
แต่งานการใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม แท้จริงเป็นอุปกรณ์แห่งการเข้าถึงธรรมได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เมื่อพระรูปหนึ่งขอร้องให้อาจารย์สอนธรรม ท่านกลับถามว่า เธอฉันภัตตาหารเช้าเสร็จแล้วหรือ เมื่อศิษย์ตอบว่า ฉันเสร็จแล้ว ท่านกลับตอบว่า งั้นเธอก็กลับไปล้างจานได้แล้ว
การปฏิบัติธรรมในสำนักอันสงบสงัด เปรียบไปก็ไม่ต่างจากการฝึกซ้อมของนักกีฬา แต่การฝึกซ้อมจะมีประโยชน์อะไรหากไม่ลงไปสู่สนามจริง นักกีฬาย่อมไม่กลัวสนามจริงฉันใด นักปฏิบัติธรรมก็ไม่พรั่นพรึงโลกกว้างและชีวิตจริงฉันนั้น
จะว่าไปแล้ว โลกว้างและชีวิตจริงนั่นแหละคือสถานที่ดีที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม เพราะความเป็นจริงโดยเฉพาะความทุกข์คือครูที่ฉลาดทีสุดในการเคี่ยวเข็ญเราให้เข้าถึงธรรมและธรรมดา
การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงคือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความพลัดพราก ความสูญเสีย และความไม่สมหวังอย่างไม่เป็นทุกข์ สามารถเข้าถึงความสงบเย็นได้ ท่ามกลางความผันผวนของโลกและชีวิต อีกทั้งยังสามารถเอื้อเฟื้อเกื้อกูลและเป็นมิตรกับผู้อื่นได้ โดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ทั้งหมดนี้เราสามารถเรียนรู้ได้จากชีวิตสามัญที่มีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งมิตรและศัตรู มีทั้งสมหวังและไม่สมหวัง
พระไพศาล วิสาโล
🙏🙏🙏ผู้เข้าถึงธรรมคือผู้เข้าถึงธรรมดา ธรรมขั้นสูงสุดนั้นมิได้อยู่ที่ไหน หากอยู่ในความธรรมดาสามัญ เพราะธรรมดาสามัญนั้นเอง ผู้เข้าถึงธรรมคือผู้เข้าถึงธรรมดา กลมกลืนกับธรรมดา ไม่ขัดขืนโต้แย้งกับธรรมดา ทั้งไม่ผลักไสหรือยึดติดธรรมดา เพราะธรรมดานั้นไม่มีบวกหรือลบ สูงหรือต่ำ น่ายินดีหรือไม่น่ายินดี หากเป็นใจเราต่างหากที่ไปกำหนดหมายหรือให้ค่าเอาเอง อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางโลกที่เร่งรีบอึกทึก และถูกปรุงแต่งจนพอกหนาด้วยสมมติและมายา บางครั้งเราจำเป็นต้องหลีกเร้นไปยังที่ที่สงบสงัดและปลอดโปร่งจากภารกิจ เพื่อมีเวลาพินิจจิตใจของตน จนหยั่งเห็นธรรมะหรือธรรมดาท่ามกลางความผันผวนของความรู้สึกนึกคิด ขณะเดียวกันก็เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างกลมกลืน และเป็นมิตรกับธรรมดามากขึ้น แต่ในที่สุดแล้ว เราจำเป็นต้องกลับมาสู่โลกกว้างและชีวิตที่เป็นจริง ต้องเกี่ยวข้องกับงานการและผู้คน เผชิญกับความแปรปรวนของสรรพสิ่งรอบตัว พบกับความสมหวังและไม่สมหวัง จนบางครั้งเราอดไม่ได้ที่จะคิดหัวนกลับไปสู่สำนักปฏิบัติอันสงบสงัด หรือไม่ก็อยากจะเก็บตัวอยู่ในห้องพระเพื่อเจริญสมาธิภาวนานานเท่านาน แต่ใช่หรือไม่ว่าในชั่วขณะนั้น เรากำลังคิดหันหลังให้กับธรรมะที่อยู่ท่ามกลางความธรรมดาสามัญ ชีวิตที่นั่งหรือเดินภาวนาทั้งวันเป็นชีวิตที่ไม่ธรรมดาสามัญ แม้จะจำเป็น แต่ก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งของชีวิตเรา เราไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ตลอด เมื่อถึงเวลาเราก็ต้องพร้อมกลับมาสู่ชีวิตธรรมดาสามัญ ซึ่งมีภารกิจและความรับผิดชอบที่ต้องใส่ใจ แต่งานการใช่ว่าจะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม แท้จริงเป็นอุปกรณ์แห่งการเข้าถึงธรรมได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้เมื่อพระรูปหนึ่งขอร้องให้อาจารย์สอนธรรม ท่านกลับถามว่า เธอฉันภัตตาหารเช้าเสร็จแล้วหรือ เมื่อศิษย์ตอบว่า ฉันเสร็จแล้ว ท่านกลับตอบว่า งั้นเธอก็กลับไปล้างจานได้แล้ว การปฏิบัติธรรมในสำนักอันสงบสงัด เปรียบไปก็ไม่ต่างจากการฝึกซ้อมของนักกีฬา แต่การฝึกซ้อมจะมีประโยชน์อะไรหากไม่ลงไปสู่สนามจริง นักกีฬาย่อมไม่กลัวสนามจริงฉันใด นักปฏิบัติธรรมก็ไม่พรั่นพรึงโลกกว้างและชีวิตจริงฉันนั้น จะว่าไปแล้ว โลกว้างและชีวิตจริงนั่นแหละคือสถานที่ดีที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม เพราะความเป็นจริงโดยเฉพาะความทุกข์คือครูที่ฉลาดทีสุดในการเคี่ยวเข็ญเราให้เข้าถึงธรรมและธรรมดา การปฏิบัติธรรมที่แท้จริงคือการเรียนรู้ที่จะอยู่กับความพลัดพราก ความสูญเสีย และความไม่สมหวังอย่างไม่เป็นทุกข์ สามารถเข้าถึงความสงบเย็นได้ ท่ามกลางความผันผวนของโลกและชีวิต อีกทั้งยังสามารถเอื้อเฟื้อเกื้อกูลและเป็นมิตรกับผู้อื่นได้ โดยไม่แบ่งแยกหรือเลือกที่รักมักที่ชัง ทั้งหมดนี้เราสามารถเรียนรู้ได้จากชีวิตสามัญที่มีทั้งสุขและทุกข์ มีทั้งมิตรและศัตรู มีทั้งสมหวังและไม่สมหวัง พระไพศาล วิสาโล 🙏🙏🙏0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 113 มุมมอง 0 รีวิว - แก่นสารสาระของการปฏิบัติคือจิต
"การปฏิบัติ จุดตั้งต้นเริ่มจากจิตของเรา
หลวงปู่มั่นถึงบอกว่าได้จิตก็ได้ธรรมะ
ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะหรอก
เห็นจิตก็คือการปฏิบัติธรรม
มองจิตใจตัวเองไม่เห็นก็ไม่ได้ปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นอย่ามัวแต่หลงรูปแบบเกินไป
จนลืมเนื้อหาแก่นสารสาระ
แก่นสารสาระของการปฏิบัติก็คือจิตของเรานั่นเอง
ทีแรกจะฝึกจิตให้ตั้งมั่น
อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้
ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่มีสติรู้ทันจิตของตนเองไว้
อย่างหลวงพ่อทำอานาปานสติบวกพุทโธ
หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ
แล้วจิตจะหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา
จิตจะไหลเข้าไปในแสงสว่าง รู้ทัน
ลมหายใจระงับ จะกลายเป็นแสง
จิตจะไหลเข้าไปที่แสง รู้ทัน
เห็นไหม อยู่ที่การรู้ทันจิตตัวเอง
ทันทีที่เรามีสติรู้ทันจิตตนเองได้
จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา
จิตจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา
คำว่าพุทธ พุทธะ พุทโธ
ก็แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
พุทโธ พุทโธ
ไม่ใช่เป็นแค่คำเรียกขาน นกแก้วนกขุนทองแบบนั้น
พุทโธก็คือจิตนั่นเอง
ถ้าเราไม่เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ
ไม่มีวันเข้าใจศาสนาพุทธหรอก"
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
21 มกราคม 2567
🙏🙏🙏แก่นสารสาระของการปฏิบัติคือจิต "การปฏิบัติ จุดตั้งต้นเริ่มจากจิตของเรา หลวงปู่มั่นถึงบอกว่าได้จิตก็ได้ธรรมะ ไม่ได้จิตก็ไม่ได้ธรรมะหรอก เห็นจิตก็คือการปฏิบัติธรรม มองจิตใจตัวเองไม่เห็นก็ไม่ได้ปฏิบัติ เพราะฉะนั้นอย่ามัวแต่หลงรูปแบบเกินไป จนลืมเนื้อหาแก่นสารสาระ แก่นสารสาระของการปฏิบัติก็คือจิตของเรานั่นเอง ทีแรกจะฝึกจิตให้ตั้งมั่น อาศัยสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่น เคล็ดลับมันอยู่ตรงนี้ ทำกรรมฐานอะไรก็ได้ แต่มีสติรู้ทันจิตของตนเองไว้ อย่างหลวงพ่อทำอานาปานสติบวกพุทโธ หายใจเข้าพุท หายใจออกโธ แล้วจิตจะหนีไปคิด รู้ทัน จิตก็ตั้งมั่นขึ้นมา จิตจะไหลเข้าไปในแสงสว่าง รู้ทัน ลมหายใจระงับ จะกลายเป็นแสง จิตจะไหลเข้าไปที่แสง รู้ทัน เห็นไหม อยู่ที่การรู้ทันจิตตัวเอง ทันทีที่เรามีสติรู้ทันจิตตนเองได้ จิตจะตั้งมั่นเด่นดวงขึ้นมา จิตจะเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานขึ้นมา คำว่าพุทธ พุทธะ พุทโธ ก็แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน พุทโธ พุทโธ ไม่ใช่เป็นแค่คำเรียกขาน นกแก้วนกขุนทองแบบนั้น พุทโธก็คือจิตนั่นเอง ถ้าเราไม่เรียนเข้ามาให้ถึงจิตถึงใจ ไม่มีวันเข้าใจศาสนาพุทธหรอก" หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 21 มกราคม 2567 🙏🙏🙏0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 64 มุมมอง 0 รีวิว - ทุกเช้าที่ตื่นมาคือความโชคดีของชีวิต
กราบพระ ถวายชีวิตหลวงปู่ ขอบคุณที่ทำให้เราตื่นมาในลมหายใจนี้ที่จะใช้ชีวิตนี้ให้เกิดประโยชน์
สวดมนต์ภาวนาทำความดีเพื่อพัฒนาตัวเรียนรู้กับโลกใบนี้ที่เรายังมีชีวิตอยู่ในทุกๆวัน
เปิดใจให้กว้างสำหรับทุกสิ่ง
ยอมรับความจริงกับทุกเรื่องราว
ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้
ทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพราะเราไม่รู้ว่า
พรุ่งนี้จะยังมีอยู่อีกหรือเปล่า
หลวงตาม้า
ทุกเช้าที่ตื่นมาคือความโชคดีของชีวิต กราบพระ ถวายชีวิตหลวงปู่ ขอบคุณที่ทำให้เราตื่นมาในลมหายใจนี้ที่จะใช้ชีวิตนี้ให้เกิดประโยชน์ สวดมนต์ภาวนาทำความดีเพื่อพัฒนาตัวเรียนรู้กับโลกใบนี้ที่เรายังมีชีวิตอยู่ในทุกๆวัน เปิดใจให้กว้างสำหรับทุกสิ่ง ยอมรับความจริงกับทุกเรื่องราว ทำทุกอย่างให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทำวันนี้ให้ดีที่สุดเพราะเราไม่รู้ว่า พรุ่งนี้จะยังมีอยู่อีกหรือเปล่า หลวงตาม้า0 ความคิดเห็น 0 การแบ่งปัน 31 มุมมอง 0 รีวิว - คติธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
๑. ครูอาจารย์ดีๆ มีอยู่มากก็จริง แต่สำคัญที่เราต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี
๒. การปฏิบัติ ถ้าหยิบตำราโน้นนี้มาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา …การจะปฏิบัติให้รู้ธรรมเห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง เอาให้จริงให้รู้ ถ้าไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์
๓. การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ศีลคือ ดิน สมาธิ คือ ลำต้น ปัญญาคือ ดอกผล เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน และต้องคอยระมัดระวังมิให้ตัวหนอนคือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน
๔. ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น
๕. “โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”
เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง... ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง
๖. ให้พยายามภาวนาไว้เรื่อยๆ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ตลอดเวลาถ้าเราจะทำ ดีกว่านั่งร้องเพลง จะซักผ้า หุงข้าว ต้มแกง นั่งรถ ทำได้ทั้งนั้น เขาเรียกว่า พยายามเกลี่ยจิตใจให้เข้าที่ ถ้าจะรอเวลาปฏิบัติ (นั่งสมาธิภาวนา) ทีเดียวมันยาก เพราะจิตมันแตกมาตลอดวัน
๗. ของดีอยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต
๘. คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร
๙. ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนรสแกงส้ม
ศีล เปรียบได้กับรสเปรี้ยว ความเปรี้ยวทำหน้าที่กัดกร่อนความสกปรกออก ทำนองเดียวกัน ศีลจะช่วยขัดเกลาความหยาบออกจากทางกาย วาจา ใจ
สมาธิ เปรียบได้กับรสเค็ม เพราะความเค็มช่วยรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสีย สมาธิก็เหมือนกัน สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีได้
ปัญญา เปรียบได้กับรสเผ็ด เพราะปัญญามีลักษณะคิด อ่าน ตริตรอง โลดแล่นไป เพื่อขจัดอวิชชาความหลง
๑๐. การปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย เลยไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกรรมฐานที่ตั้งไว้ ภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าว ไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไป มันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัว แล้วเราจะรู้ชัดว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป
๑๑. รวยกับซวยมันใกล้กันนะ จะเอารวยน่ะ จะหามายังไงก็ทุกข์ กลัวคนจะมาจี้มาปล้น หมดไปก็เป็นทุกข์อีก ไปคิดดูเถอะ มันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอา “ดี” ดีกว่า
๑๒. ความสำเร็จนั้น มิใช่อยู่ที่การสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา
ประทานให้ หากแต่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าตั้งใจทำตามแบบแล้วทุกอย่าง
รับรองว่าต้องสำเร็จ ไม่ใช่จะสำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านวางแบบเอาไว้แล้ว ครูบาอาจารย์ทุกองค์มีพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด ก็ได้ทำตามแบบ เป็นตัวอย่างให้เราดูอัฐิของท่านก็เลยกลายเป็นพระธาตุกันหมด
๑๓. รอให้แก่เฒ่าหรือจวนตัวแล้วจึงสนใจภาวนา ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำตอนเรือหรือ
แพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์
๑๔. ที่ว่านิมิต แสงสว่างเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส
(อาศัยกิเลสละเอียดไปละกิเลสอย่างหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดแสงสว่างหรือหลง
แสงสว่าง ท่านให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เกิดประโยชน์เหมือนอย่างกับเราเดินทางผ่านไปในที่มืด ก็ต้องอาศัยแสงไฟช่วยนำทาง หรืออย่างว่าเราจะข้ามแม่น้ำ ก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ เมื่อถึงฝั่งแล้ว เราจะแบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไปด้วยทำไม
๑๕. อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ โดยไม่ได้เอาน้ำร้อนไปใช้ประโยชน์ (หมายถึงอย่าเอาแต่ทำสมาธิโดยไม่พิจารณาธรรม)
๑๖. อย่าปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง (หมายถึงไหม้วูบเดียวแล้วก็ดับ กล่าวคือ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็หยุด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องทำ (ปฏิบัติธรรม) ให้สม่ำเสมอให้ได้ทั้งในยามขยันและขี้เกียจ)
🙏🙏🙏คติธรรมหลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ ๑. ครูอาจารย์ดีๆ มีอยู่มากก็จริง แต่สำคัญที่เราต้องปฏิบัติให้จริง สอนตัวเองให้มาก นั่นแหละจึงจะดี ๒. การปฏิบัติ ถ้าหยิบตำราโน้นนี้มาสงสัยถาม มักจะโต้เถียงกันเปล่า โดยมากชอบเอาจากอาจารย์โน่นนี่ว่าอย่างนั้นอย่างนี้มา …การจะปฏิบัติให้รู้ธรรมเห็นธรรม ต้องทำจริง จะได้อยู่ที่ทำจริง เอาให้จริงให้รู้ ถ้าไปเรียนกับครูอาจารย์อื่นโดยยังไม่ทำให้จริงให้รู้ ก็เหมือนดูถูกดูหมิ่นครูบาอาจารย์ ๓. การปฏิบัติธรรมก็เหมือนกับการปลูกต้นไม้ ศีลคือ ดิน สมาธิ คือ ลำต้น ปัญญาคือ ดอกผล เราต้องการให้ต้นไม้เจริญงอกงาม ก็ต้องหมั่นรดน้ำพรวนดิน และต้องคอยระมัดระวังมิให้ตัวหนอนคือ โลภ โกรธ หลง มากัดกิน ๔. ถ้าเป็นโลกแล้ว จะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา แต่ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้ว ต้องวกกลับเข้ามาหาตัวเอง เพราะธรรมแท้ๆ ย่อมเกิดในตัวของเรานี้ทั้งนั้น ๕. “โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม” เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้นไม่มีที่สิ้นสุด เราไปแก้ ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง... ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง ๖. ให้พยายามภาวนาไว้เรื่อยๆ ไม่ว่ายืน เดิน นั่ง นอน ทำได้ตลอดเวลาถ้าเราจะทำ ดีกว่านั่งร้องเพลง จะซักผ้า หุงข้าว ต้มแกง นั่งรถ ทำได้ทั้งนั้น เขาเรียกว่า พยายามเกลี่ยจิตใจให้เข้าที่ ถ้าจะรอเวลาปฏิบัติ (นั่งสมาธิภาวนา) ทีเดียวมันยาก เพราะจิตมันแตกมาตลอดวัน ๗. ของดีอยู่ที่ตัวเรา ให้หมั่นดูจิต รักษาจิต ๘. คนดีน่ะ เขาไม่ตีใคร ๙. ศีล สมาธิ ปัญญา ก็เหมือนรสแกงส้ม ศีล เปรียบได้กับรสเปรี้ยว ความเปรี้ยวทำหน้าที่กัดกร่อนความสกปรกออก ทำนองเดียวกัน ศีลจะช่วยขัดเกลาความหยาบออกจากทางกาย วาจา ใจ สมาธิ เปรียบได้กับรสเค็ม เพราะความเค็มช่วยรักษาอาหารต่างๆ ไม่ให้เน่าเสีย สมาธิก็เหมือนกัน สามารถรักษาจิตของเราให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณงามความดีได้ ปัญญา เปรียบได้กับรสเผ็ด เพราะปัญญามีลักษณะคิด อ่าน ตริตรอง โลดแล่นไป เพื่อขจัดอวิชชาความหลง ๑๐. การปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย เลยไม่เป็นอีกเหมือนกัน อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ในกรรมฐานที่ตั้งไว้ ภาวนาเรื่อยไป เหมือนกับเรากินข้าว ไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม ค่อยๆ กินไป มันก็อิ่มเอง ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ หน้าที่ของเราคือภาวนาไป ก็จะถึงของดีของวิเศษในตัว แล้วเราจะรู้ชัดว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป ๑๑. รวยกับซวยมันใกล้กันนะ จะเอารวยน่ะ จะหามายังไงก็ทุกข์ กลัวคนจะมาจี้มาปล้น หมดไปก็เป็นทุกข์อีก ไปคิดดูเถอะ มันไม่จบหรอก มีแต่เรื่องยุ่ง เอา “ดี” ดีกว่า ๑๒. ความสำเร็จนั้น มิใช่อยู่ที่การสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประทานให้ หากแต่ต้องลงมือทำด้วยตนเอง ถ้าตั้งใจทำตามแบบแล้วทุกอย่าง รับรองว่าต้องสำเร็จ ไม่ใช่จะสำเร็จ พระพุทธเจ้าท่านวางแบบเอาไว้แล้ว ครูบาอาจารย์ทุกองค์มีพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด ก็ได้ทำตามแบบ เป็นตัวอย่างให้เราดูอัฐิของท่านก็เลยกลายเป็นพระธาตุกันหมด ๑๓. รอให้แก่เฒ่าหรือจวนตัวแล้วจึงสนใจภาวนา ก็เหมือนคนหัดว่ายน้ำตอนเรือหรือ แพใกล้แตก มันจะไม่ทันการณ์ ๑๔. ที่ว่านิมิต แสงสว่างเป็นกิเลสก็ถูก แต่เบื้องแรกต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส (อาศัยกิเลสละเอียดไปละกิเลสอย่างหยาบ) แต่ไม่ได้ให้ติดแสงสว่างหรือหลง แสงสว่าง ท่านให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เกิดประโยชน์เหมือนอย่างกับเราเดินทางผ่านไปในที่มืด ก็ต้องอาศัยแสงไฟช่วยนำทาง หรืออย่างว่าเราจะข้ามแม่น้ำ ก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ เมื่อถึงฝั่งแล้ว เราจะแบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไปด้วยทำไม ๑๕. อย่าต้มน้ำทิ้งเปล่า ๆ โดยไม่ได้เอาน้ำร้อนไปใช้ประโยชน์ (หมายถึงอย่าเอาแต่ทำสมาธิโดยไม่พิจารณาธรรม) ๑๖. อย่าปฏิบัติแบบไฟไหม้ฟาง (หมายถึงไหม้วูบเดียวแล้วก็ดับ กล่าวคือ ขยันก็ทำ ขี้เกียจก็หยุด อย่างนี้ใช้ไม่ได้ ต้องทำ (ปฏิบัติธรรม) ให้สม่ำเสมอให้ได้ทั้งในยามขยันและขี้เกียจ) 🙏🙏🙏0 ความคิดเห็น 2 การแบ่งปัน 105 มุมมอง 0 รีวิว -
-
เรื่องราวเพิ่มเติม