อิสราเอลโจมตีที่ตั้งทางทหารของอิหร่าน ระบุเป็นการแก้แค้นกรณีที่เตหะรานยังยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัฐยิวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในการยิงตอบโต้กันไปมาล่าสุด ในความขัดแย้งที่ดูเหมือนกำลังลุกลามบานปลายระหว่าง 2 คู่อริในตะวันออกกลาง
.
แม้กองทัพอิสราเอลประกาศว่าภารกิจการโจมตีเสร็จสิ้นแล้วและบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ พร้อมกับเตือนอิหร่านอย่าคิดตอบโต้ แต่ดูเหมือนสถานการณ์ส่อเค้าหลุดจากการควบคุม เมื่อสื่อมวลชนกึ่งรัฐของเตหะราน รายงานว่า อิหร่านประกาศจะตอบโต้อย่างทัดเทียมต่อปฏิบัติการของอิสราเอล
.
ท่ามกลางการยิงตอบโต้กันทางอากาศพิสัยไกล สำนักข่าวรอยเตอร์จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพอากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศของทั้ง 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน
.
กองทัพอากาศอิหร่านมีบุคลากร 37,000 นาย แต่มาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่บังคับใช้มานานหลายทศวรรษ ได้ตัดขาดอิหร่านอออกจากยุทโธปกรณ์ทางทหารล้ำสมัยล่าสุดเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยยุทธศาสตร์ศึกษา (IISS)
.
ข้อมูลระบุว่า กองทัพอากาศอิหร่านมีเครื่องบินโจมตีที่ใช้งานได้เพียงไม่กี่สิบลำ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินสัญชาติรัสเซียและเครื่องบินรุ่นเก่าๆ ของสหรัฐฯ ที่จัดซื้อก่อนหน้าเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามปี 1979
.
IISS บอกว่าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านมีฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4 และ F-5 จำนวน 9 ลำ และฝูงบินซูคอย-24 ที่ผลิตโดยรัสเซีย 1 กองบิน และมีเครื่องบิน MiG-29s, F7 และ F14 อยู่อีกจำนวนหนึ่ง
.
นอกจากนี้ อิหร่านยังมีเครื่องบินไร้คนขับที่ออกแบบมาเพื่อบินสู่เป้าหมายและจุดชนวนระเบิด ขณะที่พวกนักวิเคราะห์ประมาณการว่าคลังแสงโดรนของเตหะรานอยู่ในระดับต่ำไม่กี่พันลำ ยิ่งไปกว่านั้น แม้อิหร่านมีขีปนาวุธยิงจากพื้นผิวสู่พื้นผิวมากกว่า 3,500 ลูกและบางส่วนสามารถบรรทุกหัวรบได้หนักกว่าครึ่งตัน แต่มีจำนวนไม่มากนักที่มีศักยภาพพุ่งไปถึงอิสราเอล
.
กองบัญชาการกองทัพอิหร่านเคยระบุเมื่อเดือนเมษายน ว่า ฝูงบินซูคอย-24 ของพวกเขา "อยู่ในสถานะพร้อมเต็มขั้น" สำหรับตอบโต้การโจมตีใดๆ ของอิสราเอล แต่การที่อิหร่านพึ่งพิงซูคอย-24 ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคสมัยทศวรรษ 1960 เน้นย้ำว่ากองทัพอากาศของพวกเขาอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างอ่อนแอ
.
สำหรับการป้องกันตนเอง อิหร่านพึ่งพิงขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั้งจากรัสเซียและที่ผลิตเองภายในประเทศ

อิหร่านเคยได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 จากรัสเซียในปี 2026 โดย S-300 คือขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่อากาศ ศักยภาพโจมตีเป้าหมายต่างๆ หลายเป้าหมายพร้อมกัน ในนั้นรวมถึงเครื่องบินและขีปนาวุธ
.
นอกจากนี้ อิหร่านยังมีแท่นยิงขีปนาวุธจากภาคพื้นสู่อากาศ "บาวาร์-373" เช่นเดียวกับระบบป้องกันตนเอง Sayyad และ Raad
.
ในส่วนของอิสราเอล พวกเขามีกองทัพอากาศล้ำสมัยที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-15, F-16 และ F-35 จำนวนหลายร้อยลำ เครื่องบินเหล่านี้มีบทบาทในการสอยร่วงโดรนของอิหร่านเมื่อเดือนเมษายน ครั้งที่เตหะรานปล่อยโดรนระเบิดและรัวยิงขีปนาวุธโจมตีโดยตรงเข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
.
อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศอิสราเอลไม่มีฝูงบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล แม้มีเครื่องบินโบอิ้ง 707 ฝูงเล็กๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นเครื่องเติมน้ำมัน ที่จะคอยช่วยเหลือให้บรรดาเครื่องบินขับไล่บินไปถึงอิหร่าน เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายที่เล็งเอาไว้
.
กองทัพอากาศอิสราเอลเคยพิสูจน์ถึงศักยภาพในการโจมตีเป้าหมายพิสัยไกลต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ฝูงบินขับไล่ของพวกเขาโจมตีพื้นที่ต่างๆ ใกล้ท่าเรือโฮเดดาห์ของเยเมน แก้แค้นที่พวกฮูตีส่งโดรนโจมตีเมืองเทลอาวีฟ
.
ในการบุกเบิกสู่เทคโนโลยีโดรน อิสราเอลมีเครื่องบินไร้คนขับ "เฮรอน" ที่สามารถบินไปนานกว่า 30 ชั่วโมง เพียงพอที่จะปฏิบัติการเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล กระสุนร่อนขีปนาวุธ Delilah ของมัน คาดการณ์ว่าระยะทำการราว 250 กิโลเมตร ใกล้เคียงกับภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่อิหร่านตั้งอยู่ แต่กองทัพสามารถปิดช่องว่างดังกล่าวด้วยการส่งกระสุนเข้าไปใกล้ชายแดนของอิหร่านมากขึ้น
.
เชื่อกันว่า อิสราเอลกำลังพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่ภาคพื้น แต่พวกเขาไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว
.
นอกจากนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเช่นกัน โดยมันมอบทางเลือกเพิ่มเติมหลายทางเลือกแก่อิสราเอล สำหรับสอยร่วงการโจมตีพิสัยไกลด้วยโดรนและขีปนาวุธโดยอิหร่าน
.
ระบบดังกล่าวคือ Arrow-3 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยไกลที่เคลื่อนที่ไปในแนวโค้งสูงสุดนอกชั้นบรรยากาศของโลก ขณะที่รุ่นก่อนหน้านี้ Arrow-2 ทำงานในระดับความสูงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ อิสราเอลยังมีระบบพิสัยกลาง David's Sling ไว้ตอบโต้ขีปนาวุธและขีปนาวุธร่อน ส่วนระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธ Iron Dome มีไว้จัดการกับจรวดและกระสุนปืนครกที่พวกกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในกาซาและเลบานอนใช้ยิงเข้าใส่ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถยิงสกัดขีปนาวุธทรงอานุภาพใดๆ ที่เล็ดลอด Arrow หรือ avid's Sling มาได้
.
ทั้งนี้ ระบบต่างๆ ของอิสราเอลถูกออกแบบให้เข้ากับตัวสกัดกั้นต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในภูมิภาค เพื่อเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองของพันธมิตร
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103386
..............
Sondhi X
อิสราเอลโจมตีที่ตั้งทางทหารของอิหร่าน ระบุเป็นการแก้แค้นกรณีที่เตหะรานยังยิงขีปนาวุธเข้าใส่รัฐยิวเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ในการยิงตอบโต้กันไปมาล่าสุด ในความขัดแย้งที่ดูเหมือนกำลังลุกลามบานปลายระหว่าง 2 คู่อริในตะวันออกกลาง . แม้กองทัพอิสราเอลประกาศว่าภารกิจการโจมตีเสร็จสิ้นแล้วและบรรลุเป้าหมายที่วางเอาไว้ พร้อมกับเตือนอิหร่านอย่าคิดตอบโต้ แต่ดูเหมือนสถานการณ์ส่อเค้าหลุดจากการควบคุม เมื่อสื่อมวลชนกึ่งรัฐของเตหะราน รายงานว่า อิหร่านประกาศจะตอบโต้อย่างทัดเทียมต่อปฏิบัติการของอิสราเอล . ท่ามกลางการยิงตอบโต้กันทางอากาศพิสัยไกล สำนักข่าวรอยเตอร์จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพอากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศของทั้ง 2 ประเทศมาเปรียบเทียบกัน . กองทัพอากาศอิหร่านมีบุคลากร 37,000 นาย แต่มาตรการคว่ำบาตรของนานาชาติที่บังคับใช้มานานหลายทศวรรษ ได้ตัดขาดอิหร่านอออกจากยุทโธปกรณ์ทางทหารล้ำสมัยล่าสุดเป็นส่วนใหญ่ จากข้อมูลของสถาบันระหว่างประเทศว่าด้วยยุทธศาสตร์ศึกษา (IISS) . ข้อมูลระบุว่า กองทัพอากาศอิหร่านมีเครื่องบินโจมตีที่ใช้งานได้เพียงไม่กี่สิบลำ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินสัญชาติรัสเซียและเครื่องบินรุ่นเก่าๆ ของสหรัฐฯ ที่จัดซื้อก่อนหน้าเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามปี 1979 . IISS บอกว่าสาธารณรัฐอิสลามอิหร่านมีฝูงบินเครื่องบินขับไล่ F-4 และ F-5 จำนวน 9 ลำ และฝูงบินซูคอย-24 ที่ผลิตโดยรัสเซีย 1 กองบิน และมีเครื่องบิน MiG-29s, F7 และ F14 อยู่อีกจำนวนหนึ่ง . นอกจากนี้ อิหร่านยังมีเครื่องบินไร้คนขับที่ออกแบบมาเพื่อบินสู่เป้าหมายและจุดชนวนระเบิด ขณะที่พวกนักวิเคราะห์ประมาณการว่าคลังแสงโดรนของเตหะรานอยู่ในระดับต่ำไม่กี่พันลำ ยิ่งไปกว่านั้น แม้อิหร่านมีขีปนาวุธยิงจากพื้นผิวสู่พื้นผิวมากกว่า 3,500 ลูกและบางส่วนสามารถบรรทุกหัวรบได้หนักกว่าครึ่งตัน แต่มีจำนวนไม่มากนักที่มีศักยภาพพุ่งไปถึงอิสราเอล . กองบัญชาการกองทัพอิหร่านเคยระบุเมื่อเดือนเมษายน ว่า ฝูงบินซูคอย-24 ของพวกเขา "อยู่ในสถานะพร้อมเต็มขั้น" สำหรับตอบโต้การโจมตีใดๆ ของอิสราเอล แต่การที่อิหร่านพึ่งพิงซูคอย-24 ที่พัฒนาขึ้นเป็นครั้งแรกตั้งแต่ยุคสมัยทศวรรษ 1960 เน้นย้ำว่ากองทัพอากาศของพวกเขาอยู่ในสถานะที่ค่อนข้างอ่อนแอ . สำหรับการป้องกันตนเอง อิหร่านพึ่งพิงขีปนาวุธยิงจากภาคพื้นสู่อากาศและระบบป้องกันภัยทางอากาศ ทั้งจากรัสเซียและที่ผลิตเองภายในประเทศ อิหร่านเคยได้รับระบบป้องกันภัยทางอากาศ S-300 จากรัสเซียในปี 2026 โดย S-300 คือขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่อากาศ ศักยภาพโจมตีเป้าหมายต่างๆ หลายเป้าหมายพร้อมกัน ในนั้นรวมถึงเครื่องบินและขีปนาวุธ . นอกจากนี้ อิหร่านยังมีแท่นยิงขีปนาวุธจากภาคพื้นสู่อากาศ "บาวาร์-373" เช่นเดียวกับระบบป้องกันตนเอง Sayyad และ Raad . ในส่วนของอิสราเอล พวกเขามีกองทัพอากาศล้ำสมัยที่จัดหาให้โดยสหรัฐฯ ในนั้นรวมถึงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ F-15, F-16 และ F-35 จำนวนหลายร้อยลำ เครื่องบินเหล่านี้มีบทบาทในการสอยร่วงโดรนของอิหร่านเมื่อเดือนเมษายน ครั้งที่เตหะรานปล่อยโดรนระเบิดและรัวยิงขีปนาวุธโจมตีโดยตรงเข้าใส่ดินแดนของอิสราเอลเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ . อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศอิสราเอลไม่มีฝูงบินทิ้งระเบิดพิสัยไกล แม้มีเครื่องบินโบอิ้ง 707 ฝูงเล็กๆ ที่ถูกปรับเปลี่ยนวัตถุประสงค์เป็นเครื่องเติมน้ำมัน ที่จะคอยช่วยเหลือให้บรรดาเครื่องบินขับไล่บินไปถึงอิหร่าน เพื่อทำการโจมตีเป้าหมายที่เล็งเอาไว้ . กองทัพอากาศอิสราเอลเคยพิสูจน์ถึงศักยภาพในการโจมตีเป้าหมายพิสัยไกลต่างๆ เมื่อเดือนกรกฎาคม ครั้งที่ฝูงบินขับไล่ของพวกเขาโจมตีพื้นที่ต่างๆ ใกล้ท่าเรือโฮเดดาห์ของเยเมน แก้แค้นที่พวกฮูตีส่งโดรนโจมตีเมืองเทลอาวีฟ . ในการบุกเบิกสู่เทคโนโลยีโดรน อิสราเอลมีเครื่องบินไร้คนขับ "เฮรอน" ที่สามารถบินไปนานกว่า 30 ชั่วโมง เพียงพอที่จะปฏิบัติการเล่นงานเป้าหมายที่อยู่ห่างไกล กระสุนร่อนขีปนาวุธ Delilah ของมัน คาดการณ์ว่าระยะทำการราว 250 กิโลเมตร ใกล้เคียงกับภูมิภาคอ่าวเปอร์เซีย บริเวณที่อิหร่านตั้งอยู่ แต่กองทัพสามารถปิดช่องว่างดังกล่าวด้วยการส่งกระสุนเข้าไปใกล้ชายแดนของอิหร่านมากขึ้น . เชื่อกันว่า อิสราเอลกำลังพัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลยิงจากภาคพื้นสู่ภาคพื้น แต่พวกเขาไม่ยืนยันหรือปฏิเสธรายงานข่าวดังกล่าว . นอกจากนี้ ระบบป้องกันภัยทางอากาศหลายชั้นที่พัฒนาขึ้นภายใต้ความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ หลังสงครามอ่าวเปอร์เซียปี 1991 ก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยเช่นกัน โดยมันมอบทางเลือกเพิ่มเติมหลายทางเลือกแก่อิสราเอล สำหรับสอยร่วงการโจมตีพิสัยไกลด้วยโดรนและขีปนาวุธโดยอิหร่าน . ระบบดังกล่าวคือ Arrow-3 ซึ่งออกแบบมาเพื่อสกัดกั้นขีปนาวุธพิสัยไกลที่เคลื่อนที่ไปในแนวโค้งสูงสุดนอกชั้นบรรยากาศของโลก ขณะที่รุ่นก่อนหน้านี้ Arrow-2 ทำงานในระดับความสูงที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ อิสราเอลยังมีระบบพิสัยกลาง David's Sling ไว้ตอบโต้ขีปนาวุธและขีปนาวุธร่อน ส่วนระบบโล่ป้องกันขีปนาวุธ Iron Dome มีไว้จัดการกับจรวดและกระสุนปืนครกที่พวกกลุ่มติดอาวุธที่ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในกาซาและเลบานอนใช้ยิงเข้าใส่ แต่ในทางทฤษฎีแล้ว มันสามารถยิงสกัดขีปนาวุธทรงอานุภาพใดๆ ที่เล็ดลอด Arrow หรือ avid's Sling มาได้ . ทั้งนี้ ระบบต่างๆ ของอิสราเอลถูกออกแบบให้เข้ากับตัวสกัดกั้นต่างๆ ของกองทัพสหรัฐฯ ที่มีอยู่ในภูมิภาค เพื่อเสริมความเข้มแข็งแก่การป้องกันตนเองของพันธมิตร . อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000103386 .............. Sondhi X
Like
Haha
7
0 Comments 0 Shares 1327 Views 1 Reviews