ปูตินปลุกเร้าสร้าง “ระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วอำนาจ” ในงานประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ที่มีผู้นำจากนานาประเทศเข้าร่วมหารือ และประมุขทำเนียบเครมลินมุ่งใช้เป็นบทพิสูจน์ว่า ความพยายามโดดเดี่ยวมอสโกของฝ่ายตะวันตกล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง สี จิ้นผิง พันธมิตรสำคัญซึ่งเข้าประชุมครั้งนี้ด้วย เรียกร้องบริกส์กระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจ ชี้จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนยิ่งขึ้น
.
การประชุมสุดยอดคราวนี้ที่จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ทางด้านตะวันตกกลางของแดนหมีขาว ถือเป็นการประชุมทางการทูตใหญ่ที่สุดซึ่งรัสเซียเป็นเจ้าภาพ นับจากที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สั่งยกทัพบุกยูเครนในปี 2022 ส่งผลให้รัสเซียถูกตะวันตกรุมประณามและแซงก์ชัน
.
มีผู้นำราว 20 คนจากนานาชาติ รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่อย่าง จีน อินเดีย ตุรกี และอิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าร่วมการประชุมที่เมืองคาซานครั้งนี้ ในหัวข้อต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนของบริกส์ และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
.
มอสโกมองว่า ที่ประชุมนี้เป็นทางเลือกซึ่งกำลังทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพวกองค์การระหว่างประเทศรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็นที่นำโดยฝ่ายตะวันตก เช่น กลุ่มจี7 และนี่ก็เป็นจุดยืนที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ผู้เป็นพันธมิตรสำคัญของปูติน
.
ปูตินกล่าวเปิดประชุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธ (23 ต.ค.) ว่า การสร้างระเบียบโลกแบบที่ยอมรับให้มีหลายขั้วอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และเป็นขั้นตอนที่มีพลวัตและไม่อาจย้อนกลับได้ พร้อมกับเรียกร้องให้เหล่าชาติสมาชิกของบริกส์ พิจารณาว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงระดับภูมิภาค
.
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันอังคาร (22) ปูตินยังได้ประชุมข้างเคียงกับพวกผู้นำของหลายประเทศที่มารวมการประชุมซัมมิตบริกส์ รวมทั้ง สี และนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดีย ซึ่งผู้นำรัสเซียได้กล่าวยกย่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดและการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน
.
ขณะที่ สี ก็กล่าวยกย่องความสัมพันธ์แนบแน่นที่จีนมีอยู่กับรัสเซีย ในโลกที่ “วุ่นวาย” และเสริมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนา การฟื้นฟู และการปรับปรุงให้ทันสมัยสำหรับทั้งสองประเทศ
.
ด้านปูตินขานรับว่า ความสัมพันธ์กับปักกิ่งเป็นรากฐานเสถียรภาพของโลก
.
ในวันพุธ ระหว่างกล่าวปราศรัยกับที่ประชุมซัมมิตกลุ่มบริกส์ สี ได้กล่าวเรียกร้องให้สมาชิกบริกส์กระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจ พร้อมชี้ว่าจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเรียกร้องให้ปลดชนวนความขัดแย้งในวิกฤตยูเครน และให้มีการหยุดยิงในเลบานอนและกาซา
.
กลุ่มบริกส์ (BRICS) ตอนแรกใช้ชื่อว่า บริก (BRIC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยมีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน จากนั้นจึงขยายเป็นบริกส์ เมื่อรับแอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิกรายที่ 5 และในปีที่แล้ว ก็ได้เปิดกว้างรับพวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่อีกหลายราย เป็นต้นว่า อียิปต์ เอธิโอเปีย เวเนซุเอลา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิหร่าน ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียก็ได้สมัครและได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ทว่ายังไม่ได้ทำกระบวนการรับรองให้สัตยาบัน ขณะที่อาร์เจนตินา ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม หลังจากมีการเลือกตั้งและประธานาธิบดีคนใหม่เป็นพวกโปรตะวันตกเข้มข้น
.
เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการท้าทายตะวันตก ในวันพุธปูตินยังมีนัดหมายหารือแบบประชุมข้างเคียงกับประธานาธิบดีมาซูด เปเซชเคียนของอิหร่าน และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโรของเวเนซุเอลา รวมทั้งจะพบกับประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ซึ่งกำลังแสดงความสนใจขอสมัครเป็นสมาชิกของบริกส์ ตลอดจนหารือกับอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ในวันพฤหัสฯ (24 ต.ค.) ในประเด็นความขัดแย้งในยูเครน
.
รายงานระบุว่า กูเตอร์เรสเดินทางถึงรัสเซียในวันพุธ ซึ่งเป็นการเยือนรัสเซียครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้แก่ยูเครน
.
กระทรวงการต่างประเทศยูเครนโพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ต่อว่ากูเตอร์เรสว่า ปฏิเสธคำเชิญร่วมงานประชุมสุดยอดสันติภาพโลกครั้งแรกของเคียฟที่จัดขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อหลายเดือนก่อน แต่กลับรับคำเชิญจากอาชญากรอย่างปูติน
.
ทางด้านโฆษกกูเตอร์เรสอธิบายว่า ทริปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมงานประชุมในองค์กรที่มีชาติสมาชิกจำนวนมากที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติปกติของกูเตอร์เรส อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีในการย้ำจุดยืนเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครนและเงื่อนไขสำหรับสันติภาพที่เป็นธรรม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000102300
..............
Sondhi X
.
การประชุมสุดยอดคราวนี้ที่จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ทางด้านตะวันตกกลางของแดนหมีขาว ถือเป็นการประชุมทางการทูตใหญ่ที่สุดซึ่งรัสเซียเป็นเจ้าภาพ นับจากที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สั่งยกทัพบุกยูเครนในปี 2022 ส่งผลให้รัสเซียถูกตะวันตกรุมประณามและแซงก์ชัน
.
มีผู้นำราว 20 คนจากนานาชาติ รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่อย่าง จีน อินเดีย ตุรกี และอิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าร่วมการประชุมที่เมืองคาซานครั้งนี้ ในหัวข้อต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนของบริกส์ และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
.
มอสโกมองว่า ที่ประชุมนี้เป็นทางเลือกซึ่งกำลังทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพวกองค์การระหว่างประเทศรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็นที่นำโดยฝ่ายตะวันตก เช่น กลุ่มจี7 และนี่ก็เป็นจุดยืนที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ผู้เป็นพันธมิตรสำคัญของปูติน
.
ปูตินกล่าวเปิดประชุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธ (23 ต.ค.) ว่า การสร้างระเบียบโลกแบบที่ยอมรับให้มีหลายขั้วอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และเป็นขั้นตอนที่มีพลวัตและไม่อาจย้อนกลับได้ พร้อมกับเรียกร้องให้เหล่าชาติสมาชิกของบริกส์ พิจารณาว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงระดับภูมิภาค
.
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันอังคาร (22) ปูตินยังได้ประชุมข้างเคียงกับพวกผู้นำของหลายประเทศที่มารวมการประชุมซัมมิตบริกส์ รวมทั้ง สี และนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดีย ซึ่งผู้นำรัสเซียได้กล่าวยกย่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดและการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน
.
ขณะที่ สี ก็กล่าวยกย่องความสัมพันธ์แนบแน่นที่จีนมีอยู่กับรัสเซีย ในโลกที่ “วุ่นวาย” และเสริมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนา การฟื้นฟู และการปรับปรุงให้ทันสมัยสำหรับทั้งสองประเทศ
.
ด้านปูตินขานรับว่า ความสัมพันธ์กับปักกิ่งเป็นรากฐานเสถียรภาพของโลก
.
ในวันพุธ ระหว่างกล่าวปราศรัยกับที่ประชุมซัมมิตกลุ่มบริกส์ สี ได้กล่าวเรียกร้องให้สมาชิกบริกส์กระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจ พร้อมชี้ว่าจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเรียกร้องให้ปลดชนวนความขัดแย้งในวิกฤตยูเครน และให้มีการหยุดยิงในเลบานอนและกาซา
.
กลุ่มบริกส์ (BRICS) ตอนแรกใช้ชื่อว่า บริก (BRIC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยมีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน จากนั้นจึงขยายเป็นบริกส์ เมื่อรับแอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิกรายที่ 5 และในปีที่แล้ว ก็ได้เปิดกว้างรับพวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่อีกหลายราย เป็นต้นว่า อียิปต์ เอธิโอเปีย เวเนซุเอลา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิหร่าน ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียก็ได้สมัครและได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ทว่ายังไม่ได้ทำกระบวนการรับรองให้สัตยาบัน ขณะที่อาร์เจนตินา ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม หลังจากมีการเลือกตั้งและประธานาธิบดีคนใหม่เป็นพวกโปรตะวันตกเข้มข้น
.
เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการท้าทายตะวันตก ในวันพุธปูตินยังมีนัดหมายหารือแบบประชุมข้างเคียงกับประธานาธิบดีมาซูด เปเซชเคียนของอิหร่าน และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโรของเวเนซุเอลา รวมทั้งจะพบกับประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ซึ่งกำลังแสดงความสนใจขอสมัครเป็นสมาชิกของบริกส์ ตลอดจนหารือกับอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ในวันพฤหัสฯ (24 ต.ค.) ในประเด็นความขัดแย้งในยูเครน
.
รายงานระบุว่า กูเตอร์เรสเดินทางถึงรัสเซียในวันพุธ ซึ่งเป็นการเยือนรัสเซียครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้แก่ยูเครน
.
กระทรวงการต่างประเทศยูเครนโพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ต่อว่ากูเตอร์เรสว่า ปฏิเสธคำเชิญร่วมงานประชุมสุดยอดสันติภาพโลกครั้งแรกของเคียฟที่จัดขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อหลายเดือนก่อน แต่กลับรับคำเชิญจากอาชญากรอย่างปูติน
.
ทางด้านโฆษกกูเตอร์เรสอธิบายว่า ทริปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมงานประชุมในองค์กรที่มีชาติสมาชิกจำนวนมากที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติปกติของกูเตอร์เรส อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีในการย้ำจุดยืนเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครนและเงื่อนไขสำหรับสันติภาพที่เป็นธรรม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000102300
..............
Sondhi X
ปูตินปลุกเร้าสร้าง “ระเบียบโลกแบบมีหลายขั้วอำนาจ” ในงานประชุมสุดยอดกลุ่มบริกส์ที่มีผู้นำจากนานาประเทศเข้าร่วมหารือ และประมุขทำเนียบเครมลินมุ่งใช้เป็นบทพิสูจน์ว่า ความพยายามโดดเดี่ยวมอสโกของฝ่ายตะวันตกล้มเหลวโดยสิ้นเชิง ขณะที่ในอีกด้านหนึ่ง สี จิ้นผิง พันธมิตรสำคัญซึ่งเข้าประชุมครั้งนี้ด้วย เรียกร้องบริกส์กระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจ ชี้จำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนยิ่งขึ้น
.
การประชุมสุดยอดคราวนี้ที่จัดขึ้นที่เมืองคาซาน ทางด้านตะวันตกกลางของแดนหมีขาว ถือเป็นการประชุมทางการทูตใหญ่ที่สุดซึ่งรัสเซียเป็นเจ้าภาพ นับจากที่ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน สั่งยกทัพบุกยูเครนในปี 2022 ส่งผลให้รัสเซียถูกตะวันตกรุมประณามและแซงก์ชัน
.
มีผู้นำราว 20 คนจากนานาชาติ รวมทั้งประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่อย่าง จีน อินเดีย ตุรกี และอิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เข้าร่วมการประชุมที่เมืองคาซานครั้งนี้ ในหัวข้อต่างๆ เช่น การพัฒนาระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนของบริกส์ และความขัดแย้งในตะวันออกกลาง
.
มอสโกมองว่า ที่ประชุมนี้เป็นทางเลือกซึ่งกำลังทวีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับพวกองค์การระหว่างประเทศรุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเย็นที่นำโดยฝ่ายตะวันตก เช่น กลุ่มจี7 และนี่ก็เป็นจุดยืนที่ได้รับการสนับสนุนจากประธานาธิบดีสี จิ้นผิงของจีน ผู้เป็นพันธมิตรสำคัญของปูติน
.
ปูตินกล่าวเปิดประชุมอย่างเป็นทางการเมื่อวันพุธ (23 ต.ค.) ว่า การสร้างระเบียบโลกแบบที่ยอมรับให้มีหลายขั้วอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และเป็นขั้นตอนที่มีพลวัตและไม่อาจย้อนกลับได้ พร้อมกับเรียกร้องให้เหล่าชาติสมาชิกของบริกส์ พิจารณาว่าจะช่วยแก้ปัญหาที่เร่งด่วนที่สุดได้อย่างไร ซึ่งรวมถึงสถานการณ์ความขัดแย้งรุนแรงระดับภูมิภาค
.
ก่อนหน้านี้ตั้งแต่วันอังคาร (22) ปูตินยังได้ประชุมข้างเคียงกับพวกผู้นำของหลายประเทศที่มารวมการประชุมซัมมิตบริกส์ รวมทั้ง สี และนายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดีของอินเดีย ซึ่งผู้นำรัสเซียได้กล่าวยกย่องความสัมพันธ์ใกล้ชิดและการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกัน
.
ขณะที่ สี ก็กล่าวยกย่องความสัมพันธ์แนบแน่นที่จีนมีอยู่กับรัสเซีย ในโลกที่ “วุ่นวาย” และเสริมว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นแรงผลักดันสำคัญในการพัฒนา การฟื้นฟู และการปรับปรุงให้ทันสมัยสำหรับทั้งสองประเทศ
.
ด้านปูตินขานรับว่า ความสัมพันธ์กับปักกิ่งเป็นรากฐานเสถียรภาพของโลก
.
ในวันพุธ ระหว่างกล่าวปราศรัยกับที่ประชุมซัมมิตกลุ่มบริกส์ สี ได้กล่าวเรียกร้องให้สมาชิกบริกส์กระชับความร่วมมือด้านการเงินและเศรษฐกิจ พร้อมชี้ว่าจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างระบบการเงินระหว่างประเทศอย่างเร่งด่วนยิ่งขึ้น รวมทั้งยังเรียกร้องให้ปลดชนวนความขัดแย้งในวิกฤตยูเครน และให้มีการหยุดยิงในเลบานอนและกาซา
.
กลุ่มบริกส์ (BRICS) ตอนแรกใช้ชื่อว่า บริก (BRIC) ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 โดยมีสมาชิกเพียง 4 ประเทศ ได้แก่ บราซิล รัสเซีย อินเดีย และจีน จากนั้นจึงขยายเป็นบริกส์ เมื่อรับแอฟริกาใต้เข้าเป็นสมาชิกรายที่ 5 และในปีที่แล้ว ก็ได้เปิดกว้างรับพวกประเทศเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่อีกหลายราย เป็นต้นว่า อียิปต์ เอธิโอเปีย เวเนซุเอลา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอิหร่าน ทั้งนี้ ซาอุดีอาระเบียก็ได้สมัครและได้รับเชิญเข้าเป็นสมาชิกแล้ว ทว่ายังไม่ได้ทำกระบวนการรับรองให้สัตยาบัน ขณะที่อาร์เจนตินา ปฏิเสธที่จะเข้าร่วม หลังจากมีการเลือกตั้งและประธานาธิบดีคนใหม่เป็นพวกโปรตะวันตกเข้มข้น
.
เพื่อตอกย้ำวิสัยทัศน์ในการท้าทายตะวันตก ในวันพุธปูตินยังมีนัดหมายหารือแบบประชุมข้างเคียงกับประธานาธิบดีมาซูด เปเซชเคียนของอิหร่าน และประธานาธิบดีนิโคลัส มาดูโรของเวเนซุเอลา รวมทั้งจะพบกับประธานาธิบดีเรเจป ไตยิป แอร์โดอัน ของตุรกี ซึ่งกำลังแสดงความสนใจขอสมัครเป็นสมาชิกของบริกส์ ตลอดจนหารือกับอันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการสหประชาชาติ ในวันพฤหัสฯ (24 ต.ค.) ในประเด็นความขัดแย้งในยูเครน
.
รายงานระบุว่า กูเตอร์เรสเดินทางถึงรัสเซียในวันพุธ ซึ่งเป็นการเยือนรัสเซียครั้งแรกในรอบกว่า 2 ปี และสร้างความไม่พอใจอย่างยิ่งให้แก่ยูเครน
.
กระทรวงการต่างประเทศยูเครนโพสต์บนแพลตฟอร์มเอ็กซ์ ต่อว่ากูเตอร์เรสว่า ปฏิเสธคำเชิญร่วมงานประชุมสุดยอดสันติภาพโลกครั้งแรกของเคียฟที่จัดขึ้นในสวิตเซอร์แลนด์เมื่อหลายเดือนก่อน แต่กลับรับคำเชิญจากอาชญากรอย่างปูติน
.
ทางด้านโฆษกกูเตอร์เรสอธิบายว่า ทริปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการร่วมงานประชุมในองค์กรที่มีชาติสมาชิกจำนวนมากที่ถือเป็นแนวทางปฏิบัติปกติของกูเตอร์เรส อีกทั้งยังเป็นโอกาสดีในการย้ำจุดยืนเกี่ยวกับความขัดแย้งในยูเครนและเงื่อนไขสำหรับสันติภาพที่เป็นธรรม
.
อ่านเพิ่มเติม..https://sondhitalk.com/detail/9670000102300
..............
Sondhi X